คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน ผนึกกำลังจัดงาน SCGC-Mahidol Science Symposium: “Healthcare, Well-being & Sustainability” เดินหน้าความร่วมมือสร้างสรรค์งานวิจัยเชิงพาณิชย์ ผลักดันนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี และความยั่งยืนให้กับผู้คนทั้งในประเทศไทยและระดับสากล

ตอบรับเมกะเทรนด์ ภายในงานได้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือ Research and Innovation for the Future Materials โดยรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และดร.สุรชา อุดมศักดิ์ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม SCGC ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข พญาไท คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีทีมผู้บริหารจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์ วราภรณ์ รองคณบดี และ ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี พร้อมทั้งทีมผู้บริหารจาก SCGC นายนิวัฒน์ อธิวัฒนานนท์ ผู้อำนวยการเทคโนโลยี SCGC และ ดร.สุเมธ เจริญชัยเดช หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนา SCGC เข้าร่วมงาน

 

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ SCGC ได้ร่วมมือทางวิชาการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 พร้อมทั้งได้จัดตั้ง “ศูนย์วิจัยนวัตกรรม SCG-MUSC Innovation Research Center” ขึ้นในปี 2562 ณ อาคารเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาพอลิเมอร์ชนิดพิเศษ โดยใช้องค์ความรู้ในศาสตร์เคมีเชิงลึกของมหาวิทยาลัยมหิดล ประสานกับเทคโนโลยีชั้นนำระดับสเกลอัปเชิงอุตสาหกรรมของ SCGC เพื่อต่อยอดในการสร้างวัสดุและผลิตภัณฑ์แห่งอนาคต

สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการขยายขอบเขตความร่วมมือให้ครอบคลุมถึงนวัตกรรมด้านสุขภาพเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (Healthcare & Well-being) และความยั่งยืน (Sustainability) โดยยังคำนึงถึงหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ขาดแคลนทรัพยากร ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างความยั่งยืนในอุตสาหกรรมเคมี รวมถึงส่งเสริม Open Innovation ผ่านความร่วมมือของสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน (Public-Private Partnership) ที่ประสานความเข้มแข็งขององค์กรพันธมิตรเข้าด้วยกัน เพื่อร่วมวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้สอดคล้องกับเมกะเทรนด์โลก นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างผู้เชี่ยวชาญและนวัตกรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ เพื่อคิดค้นนวัตกรรมที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไปในอนาคต

 

ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม SCGC กล่าวว่า “ SCGC มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมเคมีภัณฑ์เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง โดยนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนและเมกะเทรนด์มาเป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการ โดย SCGC ยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนนวัตกรรมผ่านการสร้างเครือข่ายด้าน R&D กับองค์กรและสถาบันชั้นนำทั้งในประเทศและระดับโลก เพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง หรือ HVA (High Value Added Products & Services) อย่างต่อเนื่อง สำหรับการลงนามความร่วมมือด้าน “Research and Innovation for the Future Materials” ระหว่าง SCGC กับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในครั้งนี้ เป็นการยกระดับและขยายกรอบการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม ครอบคลุมทั้งหมด 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) การวิจัยพัฒนาพอลิเมอร์ชนิดพิเศษที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การพัฒนาสารประกอบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของตัวเร่งปฏิกิริยาให้ครอบคลุมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ Green Polymer โดยเน้นโซลูชัน 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ Reduce, Recyclable, Recycle, Renewable 2) การวิจัยพัฒนาสินค้านวัตกรรมเพื่อสุขภาพ มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ ให้มีความสะดวกสบายขึ้น และป้องกันหรือลดความเสี่ยงของการเกิดโรคและโรคอุบัติใหม่ และ 3) การวิจัยพัฒนาเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่การลดของเสียและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี รวมถึงการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยตรงให้เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี หรือการนำสารตั้งต้นที่มีคาร์บอนฟุตพริ้นต์ต่ำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ”

 

รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี กล่าวว่า “การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ รวมถึงการลงนามต่ออายุข้อตกลงความร่วมมือ จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้นระหว่างบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด มหาชน (SCGC) และ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมงานวิจัยที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจ และส่งเสริมงานวิจัยเชิงพาณิชย์ให้กับประเทศไทย ซึ่งเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศในระดับสากล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เรามีอาจารย์และนักวิจัย ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยที่หลากหลาก โดยเฉพาะในสาขาวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ตรงกับความต้องการของ

ภาคเอกชน กิจกรรมครั้งนี้จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเพิ่มขยายความร่วมมือไปในด้านอื่น ๆ อาทิ ด้านนวัตกรรมด้านสุขภาพเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (Healthcare & Well-being) และความยั่งยืน (Sustainability) ทั้งยังเป็นโอกาสอันดีที่ในการแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมของบุคลากรและนักศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจหมุนเวียนและเมกะเทรนด์โลก และแลกเปลี่ยนมุมมองทางด้านงานวิจัยและนวัตกรรมต่าง ๆ กับทีมนักวิจัยของ SCGC เพื่อหารือต่อยอดความร่วมมือนำไปสู่การทำวิจัยร่วม รวมถึงการให้ทุนนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาในอนาคตอันใกล้นี้ นอกจากนั้น ยังเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรและนักศึกษาได้พัฒนาแนวคิดต่อยอดสู่การผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ด้วย”

นอกจากนี้ ภายในงาน SCGC-Mahidol Science Symposium: “Healthcare, Well-being & Sustainability” ยังมีการ หารือต่อยอดความร่วมมือทางการวิจัยและนวัตกรรมระหว่างทีมนักวิจัยของ SCGC และคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ เคมี, เทคโนโลยีชีวภาพ, ฟิสิกส์, ชีวเคมี, วัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ, ยางและพอลิเมอร์, เภสัชวิทยา, สรีรวิทยา, กายวิภาคศาสตร์ รวมทั้งได้มีการนำเสนองานวิจัยต่างๆ เช่น การตรวจหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ, การนำส่งยา, เอนไซม์, วัสดุและเซนเซอร์ ฯลฯ พร้อมเดินหน้าหารือความร่วมมือ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกับทีมนักวิจัยจาก SCGC อย่างเข้มข้น รวมถึงการให้ทุนนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาอีกด้วย

ด้วยความสำเร็จครอบคลุมทั้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ป่าไม้ และความมั่นคงทางน้ำ ลอรีอัลเป็นบริษัทเดียวที่ได้รับการยกย่องเป็นเวลา 7 ปีติดต่อกัน

เนื่องในวันสิทธิมนุษยชนสากล ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย (อียู) ร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดงานฉายภาพยนตร์ สารคดีภายใต้หัวข้อ ‘Our Right to Live on a Healthy Planet’ ระหว่างวันที่ 9 - 12 ธันวาคมนี้ โดยเปิดให้ประชาชนที่สนใจเข้าชมโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

 

การจัดงานครั้งนี้ยังได้รับความร่วมมือจาก Documentary Club โรงภาพยนตร์เฮ้าส์ สามย่าน และสื่อออนไลน์ ด้านสิ่งแวดล้อม Environman ในการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างประเด็นทางด้าน สิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม โดยถ่ายทอดผ่านทางภาพยนตร์ของผู้กำกับทั้งจากประเทศไทยและทวีปยุโรป ที่สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการปกป้องสิ่งแวดล้อมจากการทำธุรกิจและอุตสาหกรรม นอกจากการสร้างความตระหนักรู้ของสังคมแล้ว การจัดงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรป และประเทศไทยในการส่งเสริมสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อไป

พิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการ ณ โรงภาพยนตร์เฮ้าส์ สามย่านในวันนี้ มีประชาชนและตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมกว่า 100 คน รวมทั้งนักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักปกป้องสิ่งแวดล้อม ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ และสถานเอกอัครราชทูต โดยในงานยังได้มีการเน้นย้ำถึงความสำคัญของมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ที่เห็นชอบและประกาศว่า การเข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ดีต่อสุขภาพ และยั่งยืน เป็นสิทธิมนุษยชนสากล

ฯพณฯ นายเดวิด เดลี เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย กล่าวระหว่างสุนทรพจน์เปิดงานว่า “พวกเรามีสิทธิมนุษยชนไม่ใช่เพราะเราเป็นชาวยุโรปหรือชาวเอเชีย พวกเรามีสิทธิเหล่านี้ เพียงเพราะว่าพวกเรา เป็นมนุษย์ นอกจากนี้สิทธิมนุษยชนแบ่งแยกไม่ได้ สิทธิมนุษยชนล้วนมีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างเท่าเทียมกันในการปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หากปราศจากการเคารพสิทธิมนุษยชน สันติภาพและความมั่นคง อย่างยั่งยืน การพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองในระยะยาวก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้”

ผู้ร่วมพิธีเปิดงานยังได้เข้าชมภาพยนตร์เรื่อง สายเลือดแม่น้ำโขง: Special Edition (Blood on the River: Special Edition) อันเป็นผลงานของ ธีรยุทธ์ วีระคำ ผู้กำกับชาวไทยที่พาเราไปสำรวจผลกระทบของระบบนิเวศน์และวิถีชีวิตของชุมชนรอบแม่น้ำโขงที่เกิดขึ้นจากโครงการพัฒนาทางด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ

ในระหว่างวันที่ 10 - 12 ธันวาคม ยังมีการเปิดให้ชมภาพยนตร์สารคดีฟรีอีก 3 เรื่อง ที่โรงภาพยนตร์ 4 เฮ้าส์ สามย่าน อันได้แก่ เรื่อง Losing Alaska (ไอร์แลนด์) ในวันที่ 10 ธันวาคม; เรื่อง สายน้ำติดเชื้อ - By the River (ไทย) วันที่ 11 ธันวาคม; และเรื่อง Thank You for the Rain (นอร์เวย์) วันที่ 12 ธันวาคม ภาพยนตร์ทุกเรื่องจะจัดฉาย เวลา 19.00 น. – 21.00 น. ผู้ที่สนใจสามารถสำรองที่นั่งผ่านทางเว็บไซต์ https://bit.ly/3EKEg4v หรือรับตั๋ว หน้าโรงภาพยนตร์ตามวัน - เวลาที่ฉาย จนกว่าที่นั่งจะหมด

 

นายจิรวัฒน์ ระติสุนทร รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวในพิธีเปิดงานว่า “สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชื่อว่างานนี้เป็นโอกาสที่ดีสำหรับการดำเนินงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมาย โดยพร้อมเป็นพันธมิตรที่ดี และร่วมมืออย่างเต็มที่เพื่อให้คนไทย ทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่บนโลกที่มีสุขภาวะที่ดี”

สหภาพยุโรปและประเทศไทยได้ต่างผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในมิติทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยสหภาพยุโรปได้มีการระบุความคุ้มครองดังกล่าวไว้ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตย (พ.ศ. 2563 -2567) แผนดังกล่าวเน้นย้ำถึงพันธะสัญญาในการจัดการความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพที่มีต่อสิทธิมนุษยชน สำหรับประเทศไทย แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562 –2566) ได้ประกาศพันธกิจความมุ่งมั่น ของประเทศในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและปกป้องดูแลสุขภาพของประชาชนจากผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

นายเกิดโชค เกษมวงศ์จิตร รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กล่าวในระหว่างพิธีเปิดต่อไปว่า “สิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันอย่างที่สุด โดยสิทธิมนุษยชนนั้นไม่อาจ เฟื่องฟูได้ หากสิ่งแวดล้อมถูกทิ้งขว้างหรือละเลย”

 

ล่าสุด Booking.com ได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ภายใต้โปรแกรมการเดินทางอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบหนึ่งปีหลังจากเปิดตัว ป้ายสัญลักษณ์ ‘ที่พักสำหรับเดินทางอย่างยั่งยืน’ ในปี 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งใช้รับรองความน่าเชื่อถือของที่พักรักษ์โลกที่มีเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก เพื่อให้ผู้เดินทางสามารถเข้าถึงข้อมูลที่น่าเชื่อถือ มีมาตรฐาน และเข้าใจง่าย สำหรับบ่งชี้ความเป็นที่พักรักษ์โลกได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น

โดยฟีเจอร์ใหม่ที่ Booking.com นำเสนอให้กับผู้เดินทางมีตั้งแต่ ป้ายสัญลักษณ์ที่พักสำหรับเดินทางอย่างยั่งยืนแบบหลายเลเวล การเพิ่มตัวกรองใหม่สำหรับตัวเลือกรถยนต์ไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้า รวมไปถึงการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของที่พักและเที่ยวบินบนแพลตฟอร์ม ป้ายสัญลักษณ์ที่พักสำหรับเดินทางอย่างยั่งยืนแบบหลายเลเวล

การเพิ่มระดับหรือเลเวลของการรับรองที่พักรักษ์โลก ด้วย ‘ป้ายสัญลักษณ์ที่พักสำหรับเดินทางอย่างยั่งยืนแบบหลายเลเวล’ นั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยนำเสนอและทำให้ที่พักที่มีความพยายามในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม แต่ยังไม่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการถูกมองเห็นมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ผู้เดินทางได้เห็นถึงความมุ่งมั่นของที่พักเหล่านี้บนเส้นทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ที่นำไปสู่การได้รับใบรับรองและป้ายกำกับพิเศษจากหน่วยงานด้านความยั่งยืนต่าง ๆ รวมถึงยกย่องที่พักที่มีความมุ่งมั่นและการลงทุนจำนวนมากเพื่อให้บรรลุหนึ่งในใบรับรองและป้ายกำกับพิเศษด้านความยั่งยืนที่เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง

ฟีเจอร์ ‘ป้ายสัญลักษณ์ที่พักสำหรับเดินทางอย่างยั่งยืน แบบหลายเลเวล’ จะเป็นตัวช่วยแสดงให้เห็นถึงแนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืนที่ชัดเจนขึ้นสำหรับที่พัก เพื่อดำเนินธุรกิจไปสู่เป้าหมายในการได้ใบรับรองมาตรฐาน และเป็นแรงบันดาลใจให้ที่พักอื่น ๆ ก้าวเข้าสู่เส้นทางแห่งความยั่งยืนด้วยเช่นกัน ซึ่งป้ายสัญลักษณ์ดังกล่าวจะมีทั้งหมด 3 ระดับ

โดยเรียงลำดับตามความก้าวหน้าในการดำเนินการด้านความยั่งยืนของที่พัก ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนหรือการดำเนินธุรกิจตามแนวทางปฎิบัติที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยผู้ให้บริการที่พักที่มีความมุ่งมั่นและการลงทุนจำนวนมากเพื่อให้ได้รับหนึ่งใน ‘ใบรับรองและป้ายกำกับพิเศษ’ จากหน่วยงานด้านความยั่งยืนที่มีมากกว่า 40 องค์กรที่ทำงานร่วมกับแพลตฟอร์ม Booking.com จะได้รับการยืนยันมาตรฐานการเป็นที่พักรักษ์โลกด้วยป้ายสัญลักษณ์ ‘ที่พักที่ผ่านการรับรอง’ หรือ Certified property

ข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดตัวฟีเจอร์ ‘ป้ายสัญลักษณ์ที่พักสำหรับเดินทางอย่างยั่งยืนแบบหลายเลเวล’ และแนวทางแนะนำต่าง ๆ ได้ถูกนำเสนอให้กับที่พักคู่ค้าทั่วโลกของ Booking.com และจะเริ่มปรากฏบนแพลตฟอร์ม Booking.com ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า และจากการเปิดตัวป้ายสัญลักษณ์ใหม่นี้เอง ทำให้ล่าสุดมีที่พักมากกว่า 400,000 แห่งทั่วโลกได้รับการรับรองถึงความพยายามในการดำเนินธุรกิจบนเส้นทางแห่งความยั่งยืน สำหรับประเทศไทยมีที่พักกว่า 5,000 แห่งได้รับป้ายสัญลักษณ์ที่พักสำหรับเดินทางอย่างยั่งยืน

ตัวกรองใหม่สำหรับค้นหารถเช่าแบบไฟฟ้าและแบบไฮบริด

ตัวกรองใหม่สำหรับค้นหารถยนต์ไฟฟ้าแบบ 100% สำหรับเช่า รวมไปถึงรถยนต์แบบไฮบริดสำหรับเช่าบน Booking.com จะช่วยให้ผู้เดินทางสามารถเข้าถึงตัวเลือกการเดินทางด้วยรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น ด้วยตัวเลือกรถเช่าแบบไฮบริดและรถไฟฟ้าที่มีให้บริการแล้วใน 60 ประเทศทั่วโลก และคาดว่าตัวเลือกเหล่านี้จะมีให้บริการในประเทศอื่น ๆ มากยิ่งขึ้นในปีหน้า

ข้อมูลการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับที่พักและเที่ยวบิน ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง Booking.com และ CHOOOSE องค์กรด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ข้อมูลการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของที่พักในทวีปยุโรปจะถูกนำเสนอผ่านแพลตฟอร์ม Booking.com เป็นครั้งแรก เพื่อนำร่องนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเลือกที่พักให้กับผู้เดินทางที่ต้องการเลือกเดินทางแบบยั่งยืนมากยิ่งขึ้น และเพื่อค้นหาแนวทางที่ดีที่สุดในการนำเสนอข้อมูลดังกล่าวให้กับผู้เดินทางทั่วโลก

นอกจากนี้เพื่อเป็นการต่อยอดความร่วมมือกับ CHOOOSE และกรอบความร่วมมือด้านการบินที่พัฒนาร่วมกับ Travalyst Coalition ทาง Booking.com จะเริ่มนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของเที่ยวบินที่มีให้บริการบนแพลตฟอร์ม ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ส่วนฟีเจอร์การแนะนำตัวเลือกเที่ยวบินที่ถูกจัดเรียงตามปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จะเปิดให้ผู้เดินทางได้ใช้งานในปี 2566 ที่จะถึงนี้

“เราเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาโปรแกรมด้านการเดินทางอย่างยั่งยืนไปอีกขั้น เพื่อเป้าหมายในการทำให้ทุกคนเข้าถึงตัวเลือกด้านความยั่งยืนได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น สำหรับทริปเดินทางครั้งต่อไปของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นอพาร์ตเมนต์แบบรักษ์โลกสำหรับพักผ่อนในวันหยุด รถยนต์ไฟฟ้าสำหรับ Road Trip ที่กำลังจะมาถึง หรือข้อมูลการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของเที่ยวบินที่เขาจะจอง โดยเราจะคอยส่งเสริมลูกค้าและให้คำแนะนำพาร์ตเนอร์ไปตลอดเส้นทางแห่งความยั่งยืน เพื่อโลกของเราทุกคน” Danielle D’Silva ผู้ดำรงแหน่ง Head of Sustainability ของ Booking.com กล่าว

 

 

 

 

 

ในงาน “2022 The Annual Petroleum Outlook Forum : เติบโตอย่างยั่งยืน ท่ามกลางความผันผวนของพลังงานโลก” โดย กลุ่ม ปตท. และกลุ่มฯ โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ส.อ.ท.

Page 3 of 6
X

Right Click

No right click