×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7636

 

นอกจากนี้  หัวเว่ยยังจับมือกับสายการบินไทยสมายล์ (THAI Smile) ออกโปรโมชันพิเศษสุดสำหรับผู้ใช้หัวเว่ย รับส่วนลดสุดคุ้มในการจองบัตรโดยสารไทยสมายล์ เพียงกดรับสิทธิ์ที่ Huawei Member Center และดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน THAI Smile Airways ลูกค้าจะได้รับรหัสส่วนลดการจองบัตรโดยสาร 10% ทันที เมื่อจองผ่านเว็บไซต์ THAI Smile โดยสามารถรับสิทธิ์กันได้ตลอดซัมเมอร์ ตั้งแต่วันนี้ - 15 พฤษภาคม 2564 โดยสามารถเดินทางได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคม 2564    

ทั้งนี้  พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจากสายการบินไทยสมายล์ ก็ไม่พลาดที่จะมาประชันเสียงร้องกับหนุ่มโต๋-ศักดิ์สิทธิ์ในแคมเปญนี้ ทุกคนก็สามารถร่วมประชันเสียงร้องกับหนุ่มโต๋-ศักดิ์สิทธิ์ได้ เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน JOOX และเข้าไปที่หน้ากิจกรรม HUAWEI FreeBuds 4i’s Challenge (*โปรดคลิกลิงก์ผ่านสมาร์ทโฟน) จากนั้นก็อวดพลังเสียงและลีลาการร้องกันให้เต็มที่ แล้วแชร์คลิปวิดีโอของคุณไปที่ Facebook พร้อมติดแฮชแท็ก #บัดดี้ยิ้มก็พอ และ #HUAWEIFreeBuds4i งานนี้กติกามีเพียงอย่างเดียว ใครร้องดีโดนใจจนได้รับการโหวตผ่านไอคอนของขวัญรูป HUAWEI FreeBuds 4i เป็นจำนวนสูงสุด 3 ท่าน รับไปเลยทันที HUAWEI FreeBuds 4i (สีขาว) ของจริง! มูลค่า 2,799 บาท โดยเปิดให้ร่วมสนุกกันได้ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2564 เวลา 12.00 น. – 4 เมษายน  2564 เวลา 11.59 น. เท่านั้นของรางวัลสุดพิเศษขนาดนี้ ต้องตามไปร่วมกิจกรรม “HUAWEI FreeBuds 4i’s Challenge” กับหนุ่มโต๋-ศักดิ์สิทธิ์กันแล้ว พร้อมติดตามประกาศผลผู้ชนะได้ในวันที่ 5 เมษายน 2564 ได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ HuaweiMobileTH และ JOOXTH 

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เสริมแกร่งธุรกิจในประเทศไทยที่มีอย่างยาวนาน พร้อมสนับสนุนทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2021

หัวเว่ยจัดงานประชุมสุดยอด Huawei Global Analyst Summit (HAS) ครั้งที่ 17 ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ที่เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน

กรุงเทพฯ/ 2 มีนาคม 2563 – บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ส์ จำกัด ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของโลก ครองอันดับ 5 ของบริษัทที่ทุ่มงบประมาณในด้านการวิจัยและพัฒนามากที่สุดของโลก ตามข้อมูลของ 2019 EU Industrial R&D Investment Scoreboard ต่อเนื่องกันเป็นปีที่สอง ซึ่งการศึกษานี้จัดทำโดยคณะกรรมาธิการยุโรป

หัวเว่ยมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในฐานะบริษัทที่ทุ่มเทเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ในแต่ละปีบริษัทจะทุ่มรายได้จากยอดขายราวร้อยละ 10 – 15 ไปกับงานด้าน R&D โดยเฉพาะ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา บริษัทได้ใช้งบราว 70,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (หรือราว 2.2 ล้านล้านบาท) ไปในด้านวิจัยและพัฒนา และได้เริ่มดำเนินการวิจัยเทคโนโลยี 5G ตั้งแต่ปี 2552 ด้วยการลงทุนงบกว่า 4,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (ราว 12.7 หมื่นล้านบาท)

ในขณะที่ทั่วโลกเริ่มเปิดให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ มร. เหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของหัวเว่ย ได้เปิดเผยเมื่อช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมาว่า บริษัทได้เริ่มศึกษาพัฒนาเทคโนโลยี 6G แล้ว ซึ่งจะมอบความเร็วที่สูงกว่า 5G ถึง 100 เท่า “ความจริงแล้วเราพัฒนา 5G และ 6G ไปพร้อม ๆ กัน โดยเราเริ่มงานวิจัย ด้าน 6G มานานแล้ว” มร. เหริน กล่าว “แต่ตอนนี้ยังเป็นแค่เฟสแรก ๆ และเราก็คิดว่าการใช้งาน 6G เชิงพาณิชย์ยังต้องรอไปอีกประมาณ 10 ปี” เขาอธิบาย

ปัจจุบันหัวเว่ยเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยี 5G ร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายทั่วโลกเพื่อมอบบริการที่ครอบคลุมและครบวงจรมากขึ้น บริษัทเปิดเผยเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าได้ลงนามในสัญญา 5G เชิงพาณิชย์ไปแล้วกว่า 90 ฉบับทั่ว

เซินเจิ้นจีน, 11 กุมภาพันธ์ 2563 – บริษัทหัวเว่ยประกาศว่าได้ดำเนินการยื่นฟ้องบริษัทเวอไรซอน (Verizon) บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของสหรัฐฯ ด้วยข้อหาละเมิดสิทธิบัตร ที่ศาลแขวงแห่งสหรัฐอเมริกาประจำแขวงตะวันออกและตะวันตกรัฐเทกซัส โดยหัวเว่ยเรียกร้องเงินชดเชยกรณีที่เวอไรซอนใช้เทคโนโลยีจดสิทธิบัตรและได้รับการคุ้มครองโดยสิทธิบัตรของหัวเว่ยในสหรัฐอเมริกา 12 รายการ

ดร. ซ่ง หลิ่วผิง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของหัวเว่ย ระบุว่า “ผลิตภัณฑ์และบริการของเวอไรซอนได้ผลประโยชน์จากเทคโนโลยีจดสิทธิบัตร ซึ่งเป็นผลงานที่หัวเว่ยใช้เวลาหลายปีทุ่มเทวิจัยและพัฒนา"

ในฐานะผู้ให้บริการสมาร์ทดีไวซ์และอุปกรณ์การสื่อสารชั้นนำ หัวเว่ยลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาด้วยงบประมาณร้อยละ 10-15 ของรายได้ต่อปี ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา บริษัททุ่มงบประมาณให้กับการวิจัยและพัฒนาไปมากกว่า 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.18 ล้านล้านบาท) ซึ่งให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นการยื่นจดสิทธิบัตรมากกว่า 80,000 รายการทั่วโลก และในจำนวนนี้มีสิทธิบัตรที่ยื่นจดในสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียวมากถึง 10,000 รายการ นวัตกรรมเหล่านี้ไม่ได้เป็นแค่เสาหลักแห่งความสำเร็จของหัวเว่ยแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ทว่ายังถูกนำไปใช้งานโดยบริษัทต่างๆ ทั่วโลก สร้างมูลค่าทั้งในสหรัฐฯ และในที่ต่างๆ มากมาย

ก่อนจะยื่นฟ้องในรัฐเทกซัส หัวเว่ยเคยเจรจากับเวอไรซอนมาแล้วเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งในช่วงเวลานั้น หัวเว่ยได้แจ้งรายละเอียดของสิทธิบัตรและหลักฐานข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ระบุว่าเวอไรซอนใช้สิทธิบัตรของหัวเว่ยแล้ว แต่ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้สิทธิได้

“เราลงทุนกับการวิจัยและพัฒนาไปอย่างมหาศาลก็เพราะว่าเราต้องการจะมอบโซลูชันด้านโทรคมนาคมที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ให้กับลูกค้าของเรา เราแบ่งปันนวัตกรรมเหล่านี้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ ในวงกว้างผ่านสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ” ดร.ซ่ง กล่าว

“ตลอดหลายปีที่ผ่านมาจนกระทั่งปัจจุบัน เราประสบความสำเร็จในการเจรจาสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรกับบริษัทหลายแห่ง แต่เมื่อไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ เราก็ไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากการชดใช้ตามกฎหมาย”

“นี่เป็นวิถีปฏิบัติทั่วไปของแวดวงอุตสาหกรรมนี้ หัวเว่ยเพียงขอให้เวอไรซอนเคารพการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของหัวเว่ย โดยจะชำระเป็นค่าใช้งานสิทธิบัตรของเราก็ได้ หรือจะเลิกใช้สิ่งที่เป็นสิทธิบัตรของเราในผลิตภัณฑ์และบริการของเวอไรซอนก็ย่อมได้”

หัวเว่ยเคารพและปกป้องลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา สนับสนุนการแบ่งปันเทคโนโลยีที่จดสิทธิบัตรอย่างถูกต้องตามกฎหมายผ่านสัญญาสิทธิบัตรแบบแลกเปลี่ยน (cross-license) หรือสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิแบบชำระเงิน (paid license agreements) ตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา หัวเว่ยมีส่วนร่วมกับการเจรจาสิทธิบัตรแบบแลกเปลี่ยนอย่างกว้างขวางกับผู้ถือสิทธิบัตรรายใหญ่หลายรายในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ลงนามในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิกับผู้ค้ารายใหญ่ในแวดวงไอซีทีมาแล้วมากกว่า 100 ฉบับ ทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

นับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา หัวเว่ยได้รับค่าธรรมเนียมสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรเป็นมูลค่ามากกว่า 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 43,736 ล้านบาท) และในปัจจุบัน หัวเว่ยยังคงชำระเงินเป็นมูลค่ามากกว่า 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 187,440 ล้านบาท) เพื่อใช้เทคโนโลยีที่ถือสิทธิบัตรโดยบริษัทร่วมแวดวงอุตสาหกรรมอย่างถูกกฎหมาย โดยร้อยละ 80 ของค่าธรรมเนียมสิทธิบัตรดังกล่าวถูกจ่ายให้กับบริษัทต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา

นวัตกรรมและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาคือเสาหลักแห่งความสำเร็จของหัวเว่ย ในปี 2018 ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของหัวเว่ยพุ่งแตะ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 468,600 ล้านบาท) เกือบเทียบได้กับ ร้อยละ 15 ของรายได้ต่อปีของบริษัท ชื่อหัวเว่ยจึงขึ้นมาเป็นอันดับที่ ของกระดานคะแนนอุตสาหกรรมและ    การลงทุนแห่งสหภาพยุโรป ปี 2019 (2019 EU Industrial R&D Investment Scoreboard) ซึ่งเผยแพร่โดยคณะกรรมาธิการยุโรป

หัวเว่ยยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้เดินหน้าแบ่งปันความสำเร็จชั้นนำทางด้านการวิจัยและพัฒนาของหัวเว่ยกับ  แวดวงอุตสาหกรรมและสังคมในภาพรวม ซึ่งรวมทั้งบริษัทและผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา เพราะการแบ่งปันนวัตกรรมออกสู่วงกว้างนั้นยิ่งผลักดันทั้งอุตสาหกรรมให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยเช่นกัน

X

Right Click

No right click