เราเป็นกลุ่มชาวสวนทุเรียนขนาดเล็ก ในจังหวัดระยอง ที่ผ่านมา ก็ต่างคนต่างขาย โดยมีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อ หรือขายเองที่หน้าสวน บางครั้งมาส่งขายที่ตลาดผลไม้ หลายครั้งระบายผลผลิตไม่ทัน ราคาตก แต่เมื่อรวมกลุ่มกับเกษตรกรรายเล็กด้วยกัน แล้วนำผลผลิตมาจำหน่ายที่แม็คโคร ก็ทำให้เราพบความแตกต่าง

นี่เป็นเสียงบอกเล่าของ  “ธันยาภัทร์ ศิริณทิพย์”  เจ้าของสวนทุเรียนในจังหวัดระยอง  ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรขนาดเล็ก ที่ได้พบโอกาสในการกระจายผลผลิตทุเรียนคุณภาพ สู่ตลาดค้าส่งอย่าง “แม็คโคร”

“เมื่อปีที่แล้ว เรารวมกลุ่มเกษตรกรในท้องถิ่น เพื่อนำผลผลิตมาจำหน่ายที่แม็คโคร ซึ่งเปิดโอกาสให้เรานำผลผลิตคุณภาพ โดยคัดเกรดทุเรียนระดับพรีเมียม สดจากสวน มาส่งตรงถึงมือผู้บริโภค กลุ่มเกษตรกรของเราเป็นพี่น้องชาวสวนขนาดเล็กที่มีพื้นที่เพาะปลูกรายละ 10 – 20 ไร่ แม็คโครทำให้เรามีช่องทางในการกระจายผลผลิตมากขึ้น ผลผลิตก็ได้ราคาดี เพราะไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง  ส่วนผู้บริโภค ได้เข้าถึงผลไม้คุณภาพดี ในราคาไม่แพง”

แม็คโครได้ทำงานใกล้ชิดกับเกษตรกร ตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อให้ได้ทุเรียนที่มีคุณภาพดี โดยมีมาตรฐานการรับซื้อจากกำหนดการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ระดับความแก่ 80% ขึ้นไป เพื่อให้มีรสชาติดี ซึ่งทุเรียนที่ขายผ่านสาขาของแม็คโครจะมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบชั่งกิโล แกะเนื้อ และบรรจุในแพ็คเกจ สร้างผลตอบแทนที่ดี รวมถึงสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรหลายคน 

ทุกวันนี้ ทุเรียนคุณภาพดีจากสวนของ “ธันยาภัทร์” เป็นหนึ่งในทุเรียนจากหลายสวนของเกษตรกรทีจำหน่ายอยู่ในสาขาของแม็คโคร  ซึ่งในยามนี้เป็นหนึ่งในสินค้าขายดี ที่ได้รับการตอบรับจากลูกค้าผู้ประกอบการ ผู้บริโภค ทั่วไป ที่ต้องการลิ้มรสราชาแห่งผลไม้ในช่วงฤดูกาลที่สมบูรณ์ที่สุด

ด้วยเจตนารมณ์อันมุ่งมั่นของแม็คโคร ในการทำธุรกิจเคียงข้างเกษตรกรไทย จึงเดินหน้าสนับสนุนผลผลิตจากเกษตรกรช่วงฤดูกาลผลไม้ออกสู่ตลาด โดยในปี 2566 นี้ ได้วางแผนการรับซื้อผลไม้ฤดูกาล ไม่ว่าจะเป็น ทุเรียน มะม่วง เงาะ มังคุด ลำไย สละ ฯลฯ กว่า 36 ล้านกิโลกรัม หรือประมาณ 36,000 ตัน เพิ่มขึ้น 20 % จากปีก่อน โดยกระจายไปจำหน่ายผ่านสาขาของแม็คโครทุกสาขาทั่วประเทศ รวมถึงช่องทางออนไลน์

จากโอกาสที่ “ธันยาภัทร์” ได้รับ ไม่เพียงทำให้เธอมีช่องทางระบายผลผลิตทุเรียนที่กำลังออกผลในตลาดค้าส่งชั้นนำ แต่ “แม็คโคร” ยังแนะนำองค์ความรู้ทางด้านการตลาด รวมถึงมาตรฐานต่างๆ เพื่อสร้างจุดเด่นให้ผลผลิตทุเรียนจากสวนเล็กๆ ในจังหวัดระยองเต็มไปด้วยเสน่ห์ ซึ่งทำให้เธออยากแบ่งปันโอกาสดีๆ นั้นให้เพื่อนชาวสวนทุเรียนในพื้นที่อื่นบ้าง 

ธันยาภัทร์ กล่าวอีกว่า “เราอยากให้ลูกค้าได้ลิ้มลองรสชาติที่แตกต่าง ซึ่งเป็นจุดเด่นของทุเรียนในแต่ละจังหวัด ที่ชาวสวนขนาดเล็กพยายามอนุรักษ์จุดเด่นของทุเรียนเอาไว้ เช่น ทุเรียน ระยอง จะมีเนื้อเหนียวนุ่ม หวานกำลังดี ขณะที่ทุเรียนจันท์ จะหวานกว่าและเนื้อไม่ค่อยเหนียว”

ปีนี้กระทรวงพาณิชย์คาดว่าจะมีผลผลิตผลไม้ออกสู่ตลาดไม่ต่ำกว่า 6.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3% จากปีที่ผ่านมา และหนึ่งในแนวทางสำคัญในการบริหารจัดการผลไม้ในประเทศ คือการกระจายผลผลิตผ่านช่องทางโมเดิร์น เทรด รวมถึง แม็คโคร ซึ่งจะเป็นการช่วยระบายผลไม้ตามฤดูกาลให้เกษตรกรชาวสวน ลดปัญหาผลผลิตล้นตลาด หรือผลผลิตราคาต่ำ

เพื่อสนับสนุนเกษตรกรไทย สร้างรายได้ที่ยั่งยืน แม็คโคร ยังได้จัดโปรแกรมส่งเสริมการขายต่อเนื่องทุกเดือน ภายใต้คอนเซ็ปต์ Amazing Thai Taste โดยเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน – เดือนสิงหาคม เป็นการกระตุ้นการบริโภคกับลูกค้าทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ประกอบการร้านอาหาร ที่ต้องการวัตถุดิบไปใช้ในการสร้างสรรค์เมนู รับกระแสการท่องเที่ยวที่กำลังคึกคัก

บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ฉลองครบรอบ 45 ปี เปิดตัวแทรกเตอร์คูโบต้า L-Metallic Edition (แอล เมทัลลิก อิดิชัน) สำหรับแทรกเตอร์ขนาด 40 และ 50 แรงม้า ครั้งแรกที่มาพร้อมสีพิเศษ Lava Orange Metallic เอกสิทธิ์เฉพาะของคูโบต้า ให้ความรู้สึกพรีเมี่ยม และกระทะล้อสีใหม่ สีเทาดำ เท่ ดุดัน ไม่เหมือนใคร จัดเต็ม Label ใหม่รอบคัน พร้อมสติกเกอร์ฉลองครบรอบ 45 ปี ลิมิเต็ดมีเพียง 1,000 คัน เท่านั้น

นายพิษณุ มิลินทานุช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไป สายงานขาย การตลาดและบริการ เปิดเผยว่า “เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 45 ปี บริษัทฯ ได้เปิดตัวแทรกเตอร์คูโบต้า L-Metallic Edition เป็นสีพิเศษ สี Lava Orange Metallic จัดทำขึ้นเฉพาะแทรกเตอร์รุ่นยอดนิยมของเกษตรกรไทยอย่างรุ่น L4018SP-ME ขนาด 40 แรงม้า และ L5018SP-ME ขนาด 50 แรงม้า มาพร้อมสี Lava Orange Metallic สีส้มประกายมุก ให้ความรู้สึกหรูหรา เหนือระดับ เอกสิทธิ์เฉพาะของคูโบต้าที่ต้องใช้ความพิถิพิถันในการพ่นสีถึง 3 ชั้น ชั้นแรกด้วยการชุบโลหะ (EDP) เคลือบพื้นผิวให้เรียบเนียน เพิ่มความทนทานต่อการกัดกร่อน ชั้นที่สองพ่นสีส้มประกายมุก ให้โดดเด่นกว่าใคร เสริมภาพลักษณ์ทันสมัย และชั้นสุดท้ายเพิ่มความเงาด้วยการเคลือบฟิล์มใส เพื่อช่วยปกป้องสีรถได้ยาวนานขึ้น นอกจากนี้อีกหนึ่งความพิเศษคือกระทะล้อสีเทาดำ เท่ ดุดัน สะท้อนตัวตนที่เหนือกว่า อีกทั้ง Label ใหม่รอบคันตกแต่งสไตล์ใหม่ โฉบเฉี่ยวมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และสติกเกอร์ฉลองครบรอบ 45 ปี สุดพรีเมียม มีเพียง 1,000 คันเท่านั้น มาพร้อมราคา 520,000บาท สำหรับรุ่น L4018SP-ME และ 650,000 บาท สำหรับ รุ่น L5018SP-ME”

ร่วมสัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษของแทรกเตอร์รุ่นพิเศษ สำหรับคนพิเศษ BE FIRST, BE UNIQUE, BE PROUD ได้แล้ววันนี้ ที่ร้านค้าผู้แทนจำหน่ายสยามคูโบต้าใกล้บ้านท่านหรือติดต่อศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์สยามคูโบต้า ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.siamkubota.co.th หรือ โทร. 02-029-1747

นายอภินันท์ เผือกผ่อง ผู้ว่าราชการ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานในพิธีมอบ “โครงการฟาร์มสาธิตการเลี้ยงสุกรขุนและไก่ไข่ระบบปิดอัตโนมัติ (Green Farm)” ที่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ สนับสนุนแก่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช เพื่อยกระดับภาคปศุสัตว์ไทยสู่ 4.0 หนุนศูนย์สมาร์ทฟาร์มของมหาวิทยาลัย และร่วมพัฒนาวิชาการเกษตรสมัยใหม่ ถ่ายทอดสู่นักศึกษา เกษตรกร และผู้สนใจ

 

นายสิริพงศ์ อรุณรัตนา ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการธุรกิจสัตว์บก ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และซีพีเอฟ ร่วมกันขับเคลื่อนและยกระดับภาคปศุสัตว์ของไทยด้วยนวัตกรรมสู่ยุค 4.0 ด้วยการดำเนินโครงการความร่วมมือทางวิชาการ “โครงการฟาร์มสาธิตการเลี้ยงสุกรขุนและไก่ไข่ระบบปิดอัตโนมัติ (Green Farm)” มาตั้งแต่ปี 2562 เพื่อให้เป็นฟาร์มเลี้ยงสัตว์มาตรฐานสากลภายใต้ระบบปิด (EVAP) เป็นฟาร์มรักษ์โลกที่เป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐานฟาร์มสีเขียว หรือกรีนฟาร์ม สำหรับพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ฝึกทักษะภาคปศุสัตว์ที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัย เป็นสถานที่ศึกษาทดลองและวิจัยด้านเทคโนโลยีการเกษตร ของนักศึกษาของสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร รวมถึงส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้แก่คณาจารย์ ตลอดจนการให้บริการทางวิชาการ พร้อมทั้งพัฒนาฟาร์มให้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาเรียนรู้ที่ทันสมัย ของนักศึกษาซึ่งถือเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่สามารถต่อยอดสู่การเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่นต่อไป

“โครงการฟาร์มสาธิตฯ ถือเป็นความร่วมมือทางวิชาการและกิจการเพื่อสังคมที่ซีพีเอฟตั้งใจส่งมอบให้กับมหาวิทยาลัย ช่วยผลักดันการพัฒนาทางวิชาการและองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัย สู่บุคลากรให้มีทักษะด้านการผลิตเกษตรอุตสาหกรรมแบบครบวงจร โดยบริษัทสนับสนุนงบประมาณ และผู้เชี่ยวชาญร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้กับบุคลากรและนักศึกษา กระทั่งสามารถนำเทคนิควิชาการไปขับเคลื่อนโครงการได้อย่างยั่งยืน" นายสิริพงศ์ กล่าว

 

นายสมพร เจิมพงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจสุกร ซีพีเอฟ กล่าวว่า ม.วลัยลักษณ์และซีพีเอฟ มีเป้าหมายเดียวกันในการมุ่งพัฒนากำลังคนด้านการเกษตรสมัยใหม่ และพัฒนาภาคเกษตรอุตสาหกรรมของไทย ตลอดระยะเวลาการผนึกกำลังในการดำเนินโครงการฯ มานานกว่า 3 ปี โรงเรือนสาธิตฯสุกรขุนและไก่ไข่ในระบบปิดอัตโนมัติ ภายใต้กระบวนการบริหารจัดการฟาร์มในรูปแบบกรีนฟาร์ม กลายเป็นศูนย์สาธิตและฝึกอบรมด้านปศุสัตว์ให้แก่นักศึกษาที่สามารถเรียนรู้และฝึกปฏิบัติงานในฟาร์ม เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ที่พวกเขานำไปเป็นพื้นฐานการทำงาน หรือประกอบอาชีพได้ในอนาคต ขณะเดียวกันยังเป็นการสนับสนุนนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรให้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ที่ได้รับ สู่ชุมชนและเกษตรกร ผ่านกลไกของศูนย์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้การผลิตสัตว์มีคุณภาพ ปลอดภัยเพื่อผู้บริโภค

 

ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่า ม.วลัยลักษณ์ มุ่งมั่นผลักดัน “ศูนย์สมาร์ทฟาร์ม” เพื่อพัฒนาฟาร์มมหาวิทยาลัยเดิม ให้เป็นการบริหารฟาร์มโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งด้านพืชสวน พืชไร่ ปศุสัตว์ และประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคปศุสัตว์ ซึ่งมหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากซีพีเอฟ ที่มีความพร้อมทั้งด้านเทคโนโลยีและองค์ความรู้ระดับโลก เข้ามาส่งเสริมและพัฒนาระบบการเลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นแหล่งฝึกประสบการณ์แก่นักศึกษา เกษตรกร และผู้สนใจ ให้สามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพ สามารถลดต้นทุน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิต อันเป็นการส่งเสริมความมั่นคงทางอาชีพให้แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน พร้อมสนับสนุนสู่การเป็นแหล่งค้นคว้า วิจัยพัฒนาที่ยั่งยืนของเกษตรกรชาวนครศรีธรรมราช และภูมิภาคใกล้เคียง อันจะนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีของเกษตรกรอย่างแน่นอน./

การเกษตรยุคใหม่ หรือ สมาร์ทฟาร์มมิ่ง (Smart Farming) เป็นการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการเพาะปลูกและเพิ่มผลผลิต โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญของโลก ได้มีการส่งเสริมเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องจากทั้งภาครัฐและเอกชน เพราะสมาร์ทฟาร์มมิ่งมีส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความอยู่ดีกินดีของเกษตรกรที่จะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการเพาะปลูกที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สมาร์ทฟาร์มมิ่งยังสอดคล้องกับทิศทางของประเทศในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถของภาคการเกษตร ด้วยการนำความหลากหลายทางชีวภาพ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้เพื่อช่วยให้บริหารจัดการการเกษตรได้ง่ายขึ้น มีต้นทุนลดลง แต่ได้ผลผลิตที่ดีและมากกว่าเดิม รวมทั้งเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรให้สูงขึ้น

ไทยวา ในฐานะผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์แป้งและอาหารชั้นนำ เป็นหนึ่งในภาคเอกชนที่ร่วมสนับสนุนการเกษตรยุคใหม่ จากแนวคิดของบริษัทที่ต้องการนำนวัตกรรมมาสร้างคุณค่าตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ บริษัทจึงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมชาวไร่มันสำปะหลังซึ่งเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบหลัก โดยตลอดหลายปีที่ผ่านมาไทยวาได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาเป็นเครื่องมือที่ช่วยแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกร และยกระดับการทำเกษตรกรรม โดยยึดหลักเกษตรยั่งยืน

 

นางสาวหทัยกานต์ กมลศิริสกุล ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายกลยุทธ์ ความยั่งยืน นวัตกรรม บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ไทยวาร่วมผลักดันการนำสมาร์ทฟาร์มมิ่งมาใช้ทั้งในแง่เทคโนโลยีและความรู้ เพื่อช่วยให้เกษตรกรได้ผลผลิตต่อไร่และผลตอบแทนเพิ่มมากขึ้น เช่น การบริหารจัดการน้ำ การพัฒนาสายพันธุ์มันสำปะหลัง ระบบขนส่งผลผลิต การใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตร รวมถึงวิธีการเพาะปลูกที่ถูกต้อง เพราะเราเชื่อว่าการเติบโตร่วมกับเกษตรกรเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างความมั่นคงให้กับอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรของไทยในระยะยาว”

ที่ผ่านมาไทยวาได้จัดโครงการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ให้แก่เกษตรกร ทดแทนการทำเกษตรแบบดั้งเดิมที่ใช้แรงงานจำนวนมากและมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ให้ผลผลิตไม่แน่นอน โดยในขั้นตอนการเตรียมแปลงเพาะปลูก ไทยวาได้แนะนำให้รู้จักการใช้เครื่องปลูกมันสำปะหลังพร้อมยกร่องและใส่ปุ๋ย ที่ช่วยประหยัดเวลา และลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานลงได้อย่างมาก จึงวางแผนและเพาะปลูกได้เร็วขึ้น ส่วนในขั้นตอนการเก็บเกี่ยว ไทยวาได้แนะนำให้เกษตรกรใช้เครื่องขุดเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังกึ่งอัตโนมัติ หรือ TW Raptor ที่เก็บเกี่ยวได้รวดเร็ว ทำให้สามารถเตรียมแปลงเพาะปลูกรอบถัดไปหรือปลูกพืชบำรุงดินได้เร็วกว่าเดิม

 

นอกจากการให้ความรู้เรื่องเครื่องจักรกลทางการเกษตรแล้ว ไทยวายังร่วมกับพันธมิตรในการนำ Precision agriculture หรือการเกษตรแม่นยำ มาประยุกต์ใช้ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการเกษตรแบบดิจิทัลที่ทำให้สามารถวิเคราะห์และวางแผนได้อย่างแม่นยำ เป็นแนวทางบริหารจัดการที่เกษตรกรในประเทศพัฒนาแล้วนำมาใช้เพื่อเพิ่มความสามารถในการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว สามารถให้น้ำ ปุ๋ย และผลิตภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชได้อย่างเหมาะสมทั้งในแง่ปริมาณและเวลา ถือเป็นหลักการบริหารจัดการเพาะปลูกในระดับแปลงหรือโรงเรือนที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยพบว่าเกษตรกรในเครือข่ายของไทยวาที่นำการเกษตรแบบแม่นยำมาใช้ ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าเมื่อเทียบกับวิธีการเพาะปลูกแบบดั้งเดิม

ตัวอย่างของเทคโนโลยีเกษตรแบบแม่นยำที่ไทยวาร่วมพัฒนาให้กับเกษตรกรในเครือข่าย เช่น ระบบระบุตำแหน่งความแม่นยำสูง และการตรวจสอบพื้นที่เพาะปลูกด้วยภาพถ่ายดาวเทียม ซึ่งให้ความแม่นยำในการตรวจวัดผลผลิตและพื้นที่เพาะปลูกได้สูงกว่า 90% นอกจากนี้ยังพัฒนาแอปพลิเคชันตรวจวัดสภาพอากาศที่สามารถวิเคราะห์และพยากรณ์อากาศและปริมาณน้ำฝนล่วงหน้าได้ถึง 9 เดือน และมีความละเอียดในระดับวันและสัปดาห์

ไทยวายังนำการเกษตรแบบแม่นยำมาใช้เพิ่มคุณภาพของผลผลิต ผ่านโมเดลวิเคราะห์และประเมินคุณภาพมันสำปะหลัง เพื่อช่วยให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวในช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและราคารับซื้อที่น่าพอใจ ปัจจุบันโมเดลดังกล่าวสามารถวัดเปอร์เซนต์เชื้อแป้งได้แม่นยำถึง 70% และไทยวาตั้งเป้าจะพัฒนาความแม่นยำให้ได้ 90% ในอนาคต

 

นอกจากนี้ บริษัทยังแนะนำมันสำปะหลังพันธุ์แวกซี่ให้แก่เกษตรกรในเครือข่าย ซึ่งเป็นมันสำปะหลังสายพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตและคุณภาพสูงกว่าเดิม และให้ลักษณะของแป้งที่เหนียวซึ่งเป็นที่ต้องการของหลายอุตสาหกรรม ทำให้มีราคารับซื้อสูงกว่าพันธุ์ทั่วไป นอกจากนี้ยังเพาะต้นพันธุ์ที่สะอาดปลอดโรคเพื่อแจกจ่ายให้กับชาวไร่ในเครือข่ายด้วย

นายอิษฎากร ดาราษฎร์ เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี เล่าว่า “ผมเพิ่งเปลี่ยนมาปลูกมันสำปะหลังได้ 10 ปี เริ่มแรกยังไม่มีความรู้เลย ทำให้ได้ผลผลิตไม่แน่นอนและไม่คุ้มทุนเพราะต้องใช้ปุ๋ยและสารเคมีมาก แต่หลังจากไทยวาเข้ามาให้ความรู้และคำแนะนำ ช่วยวางระบบน้ำหยดและสอนการทำปุ๋ยน้ำหมักเพื่อฉีดพ่นทางใบ ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 30% และเมื่อ 2 ปีที่แล้วไทยวายังแนะนำให้ลองปลูกมันสำปะหลังพันธ์แว็กซี่ที่มีราคารับซื้อสูงกว่าพันธุ์ปกติถึง 50% ทำให้ผมและครอบครัวมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม อยากเชิญชวนชาวไร่คนอื่นๆ มาลองปลูกมันสำปะหลังแบบสมาร์ทฟาร์มมิ่ง เพราะมีข้อดีมากกว่าเดิมจริงๆ”

ส่วน นางอารีรัตน์ หอมอ่อน เกษตรกรอีกท่านหนึ่งในอำเภอหนองวัวซอ เปิดเผยว่า “ครอบครัวเราเคยปลูกมันสำปะหลังแบบดั้งเดิม พอมีภัยธรรมชาติหรือฝนแล้งก็ไม่รู้จะปรับตัวยังไง แต่พอไทยวาเข้ามาแนะนำก็พบว่าได้ผลผลิตดีและมันสำปะหลังหัวใหญ่ขึ้น ถึงบางปีจะเจอฝนแล้งแต่ต้นมันสำปะหลังก็ยังแข็งแรงอยู่รอดเพราะเรารู้วิธีการดูแล

เช่น บำรุงดินด้วยปุ๋ยหมักจากเปลือกมันสำปะหลัง และเพิ่มอินทรีย์วัตถุในพื้นที่เตรียมปลูก แต่ก่อนจะเน้นใส่ปุ๋ยเคมีมากๆ แต่เมื่อลองใช้ปุ๋ยหมักพบว่าต้นทุนลดลง ได้ผลผลิตมากขึ้นจากเดิมที่ได้ไร่ละ 5 ตัน ก็สูงขึ้นเป็น 8 – 10 ตัน ตอนนี้ไทยวายังเข้ามาช่วยติดตั้งระบบน้ำหยด และแนะนำให้ปลูกมันสำปะหลังพันธ์แว็กซี่ที่มีราคารับซื้อดี อยากแนะนำให้ชาวไร่มันสำปะหลังคนอื่นๆ หันมาปลูกมันสำปะหลังพันธุ์นี้ และมาลองทำการเกษตรแบบใหม่ตามที่ไทยวาแนะนำ เพราะยังมีอะไรดีๆ อีกมากที่เรายังไม่เคยรู้”

ทั้งหมดนี้คือความสำเร็จในการส่งเสริมสมาร์ทฟาร์มมิ่งของไทยวา เพื่อช่วยให้เกษตรกรไทยอยู่ดีกินดี และทำให้อุตสาหกรรมการเกษตรของไทยแข่งขันได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ความร่วมมือร่วมใจเหล่านี้จะก่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพในการเพาะปลูกให้กับเกษตรกรไทยต่อไป

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ถ่ายทอดระบบ “ฟาร์มอัจฉริยะ หรือสมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm)” มุ่งสู่เกษตรกรคอนแทรคฟาร์มมิ่ง มุ่งใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม IOT ในฟาร์มสุกร ช่วยยกระดับการบริหารจัดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สวัสดิภาพสัตว์ระดับสากล ลดการพึ่งพายาปฏิชีวนะ และเพิ่มความเชื่อมั่นผู้บริโภค

นายสมพร เจิมพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า การวิจัยและพัฒนาเป็นก้าวย่างสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินงานของธุรกิจเลี้ยงสัตว์ (Farm) รุดหน้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สำหรับธุรกิจสุกรให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยผนึกกำลังกับซีพีเอฟไอที เซ็นเตอร์ และทรู คอร์ปอเรชั่น ในการพัฒนาระบบ “ฟาร์มอัจฉริยะ หรือสมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm)” มาผนวกกับกิจการเลี้ยงสัตว์ของซีพีเอฟ เมื่อข้อมูลจำนวนมากของบริษัทที่ถูกเก็บรวบรวมแบบออนไลน์ ทำให้ได้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์และประมวลผล อีกทั้งยังนำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาช่วยยกระดับและสร้างความเชื่อมั่นให้กับข้อมูลต่างๆ และบริษัทยังพัฒนาการเลี้ยงสุกรครบวงจร “SMART PIG” มาปรับใช้ในการเลี้ยงสุกรทุกช่วงอายุ เพื่อช่วยยกระดับการบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่ การเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิต 

ขณะเดียวกัน ยังผลักดันให้เกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แก่เกษตรกรรายย่อย หรือ Contract Farming นำระบบสมาร์ทฟาร์มมาปรับใช้อย่างต่อเนื่อง อาทิ การตรวจสอบและควบคุมสภาพแวดล้อมแบบอัตโนมัติ (Automatic) การติดตั้งระบบกล้อง CCTV โดยร่วมกับทรูติดตั้งจนครบ 100% ในฟาร์มเกษตรกร 3,700 ราย และมีระบบตรวจวัดการไอของหมู หรือ Sound Talks เพื่อติดตามสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมงผ่านออนไลน์ เพื่อลดโอกาสเกิดความเสียหายในฝูงสัตว์

“ซีพีเอฟใช้เทคโนโลยีระบบสมาร์ทฟาร์ม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มระบบปิด ที่สะอาด ถูกสุขอนามัย ทำให้สัตว์มีสุขภาวะที่ดีจากภายใน ลดการพึ่งพายาปฏิชีวนะ ได้เนื้อสัตว์ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ปลอดภัย ส่งผลดีต่อสุขภาพผู้บริโภค พร้อมถ่ายทอดระบบสู่เกษตรกร ส่งผลการผลิตเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยตรวจสอบการป้องกันโรคในฟาร์มอย่างเข้มงวด ด้วยเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และ IOT (Internet of Things) ทำให้ซีพีเอฟและเกษตรกรมีเทคโนโลยีการผลิต (Operation Tech) ที่สามารถผลิตสุกรในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคในราคาที่เข้าถึงได้ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน” นายสมพร กล่าว

สำหรับเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการเลี้ยงสุกร ได้แก่ ระบบ SMART Farm Solution ทำให้ทราบถึงปริมาณการกินน้ำและอาหาร อุณหภูมิ ความชื้น ความเร็วลม ก๊าซแอมโมเนียที่จะมีผลต่อสุขภาพสุกร และสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมในโรงเรือนให้สม่ำเสมอตลอดทั้งหลัง เหมาะสมกับสุกรมากที่สุด หากอุปกรณ์เกิดความผิดพลาด ระบบจะแจ้งเตือนไปยังเจ้าหน้าที่ทันที, ระบบ SMART Eye AI Detector ทำการบันทึกและวิเคราะห์พฤติกรรมและสุขภาพสุกรแม่พันธุ์ก่อนคลอดได้อย่างแม่นยำ เจ้าหน้าที่จึงบริหารจัดการได้อย่างมีประสทธิภาพ, ระบบ Smart Pig (QR Code) บันทึกข้อมูลในระบบออนไลน์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้านการจัดการสุกรแม่พันธุ์ผ่าน QR Code, ระบบตรวจวัดการไอของสุกร Sound Talks ตรวจวัดสุขภาพสุกรจากการไอ แล้วแปลงเป็นระบบคลื่นเสียง พร้อมแสดงแถบสีบนอุปกรณ์ และแจ้งข้อมูลในระบบทันที, ระบบกล้องวงจรปิด CCTV ติดตั้งในจุดที่สำคัญทั้งภายนอกและภายในโรงเรือน เพื่อตรวจสอบระบบการป้องกันโรค ลดโอกาสการนำเข้าเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม และ ระบบรายงานออนไลน์สำหรับเกษตรกร Chatbot เกษตรกรสามารถบันทึกข้อมูลสำคัญในกระบวนการผลิต ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งรวดเร็วกว่าการจดบันทึก และยังสามารถส่งภาพพฤติกรรมสุกรภายในโรงเรือนให้กับสัตวบาลและสัตวแพทย์ช่วยวิเคราะห์สุขภาพสุกรขุนได้ตลอดเวลา ช่วยให้ดำเนินแก้ปัญหาได้ทันท่วงที สามารถลดเวลาและประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง./ 

Page 2 of 4
X

Right Click

No right click