เคทีซีเปิดงบการเงินรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยครึ่งปีแรก กำไรสุทธิ 3,678 ล้านบาท ในขณะที่กำไรสุทธิไตรมาส 2/2566 เท่ากับ 1,806 ล้านบาท พอร์ตสินเชื่อทุกผลิตภัณฑ์เติบโตตามเป้าหมาย โดยมูลค่าพอร์ตรวมอยู่ที่ 105,589 ล้านบาท เติบโต 11.1% ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรขยายตัวที่อัตรา 16.3% หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ มั่นใจสามารถทำกำไรทั้งปีได้ตามเป้าหมาย

 

นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “อุตสาหกรรมสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคขยายตัวดีต่อเนื่อง จากความต้องการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับดีขึ้นตามแนวโน้มเศรษฐกิจ โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 เคทีซีมีสัดส่วนของลูกหนี้บัตรเครดิตเทียบกับอุตสาหกรรมเท่ากับ 14.9% ส่วนแบ่งตลาดของปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเคทีซีอยู่ที่ 12.2% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2565 และมีสัดส่วนของลูกหนี้สินเชื่อบุคคล (ไม่รวมสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน) เทียบกับอุตสาหกรรมเท่ากับ 6.2%”

“ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา เคทีซีมีผลการดำเนินงานน่าพอใจในหลายด้าน ทั้งการเติบโตของพอร์ตรวมที่เป็นไปตามเป้าหมาย ด้วยมูลค่า 105,589 ล้านบาท เติบโต 11.1% และยังคุมระดับ NPL ได้ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนที่ 2.0% สำหรับพอร์ตบัตรเครดิตยังคงขยายตัวได้ดีด้วยอุปสงค์ในประเทศ ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรดีดตัวสูงขึ้นมาก ขณะที่พอร์ตสินเชื่อบุคคลขยายตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามบริษัทฯ ยังเน้นการคัดกรองคุณภาพสินเชื่อบุคคลผ่านกระบวนการอนุมัติที่เข้มข้น โดยจะคัดเลือกสมาชิกที่มีความเสี่ยงเหมาะสมกับระดับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคลที่กำหนดไว้ สำหรับสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” มีกระแสตอบรับดีขึ้นทุกเดือน แม้จำนวนที่เข้ามาจะช้ากว่าที่ประมาณการ แต่ได้พอร์ตที่มีคุณภาพ ทำให้มั่นใจว่า “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” จะสามารถสร้างฐานรายได้ที่เติบโตอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต”

“สำหรับครึ่งหลังของปี 2566 “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” จะมีปริมาณการเพิ่มยอดลูกค้าใหม่ (New Booking) แบบทวีคูณ พิจารณาจากอัตราเร่งของการเพิ่มลูกหนี้ใหม่ในปัจจุบัน การเติบโตของพอร์ตบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลจะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ สำหรับ NPL อยู่ในระดับที่ไม่น่ากังวล เพราะบริษัทฯ ยังสามารถบริหารจัดการได้ ทำให้บริษัทฯ มั่นใจว่าจะสามารถทำกำไรทั้งปีได้ตามเป้าหมายที่มากกว่า 7,079 ล้านบาท พอร์ตลูกหนี้สิ้นเชื่อรวมเติบโต 15% ปริมาณใช้จ่ายผ่านบัตรเติบโต 10% พอร์ตลูกหนี้สินเชื่อบุคคลเติบโต 7%”

“ผลการดำเนินงานของเคทีซีในช่วงครึ่งปีแรก สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 งบการเงินรวมมีกำไรสุทธิครึ่งปีแรกและไตรมาส 2/2566 เท่ากับ 3,678 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 1.0%) และ 1,806 ล้านบาท (ลดลง 4.6%) ตามลำดับ งบการเงินเฉพาะกิจการของเคทีซี มีกำไรสุทธิครึ่งปีแรก และไตรมาส 2/2566 เท่ากับ 3,648 ล้านบาท และ 1,805 ล้านบาท ตามลำดับ ฐานสมาชิกรวม 3,358,994 บัญชี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับรวม 105,589 ล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อรวม (NPL) 2.0% แบ่งเป็นพอร์ตสมาชิกบัตรเครดิต 2,605,984 บัตร เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรเครดิตและดอกเบี้ยค้างรับรวม 68,664 ล้านบาท ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรครึ่งปีแรกเท่ากับ 127,644 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.3% NPL บัตรเครดิตอยู่ที่ 1.2% พอร์ตสมาชิกสินเชื่อบุคคลเคทีซี 753,010 บัญชี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” และดอกเบี้ยค้างรับ 31,727 ล้านบาท เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” เท่ากับ 1,658 ล้านบาท NPL สินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 3.0% ยอดสินเชื่อลูกหนี้ใหม่ (New Booking) ของ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” ในรอบครึ่งแรกของปี 2566 เท่ากับ 1,132 ล้านบาท โดยยอดการปล่อยสินเชื่อใหม่มีกระแสตอบรับที่ดีขึ้นในทุกเดือน”

“ผลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ ในไตรมาส 2/2566 มีการเติบโตในรายได้รวมที่ 8.8% เท่ากับ 6,240 ล้านบาท จากรายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น 18.7% เท่ากับ 3,988 ล้านบาท ส่วนหนึ่งจากการขยายตัวของพอร์ต ทำให้มี NPL เพิ่มขึ้นบ้าง ส่งให้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss - ECL) เพิ่มขึ้น รวมถึงการตัดหนี้สูญเพิ่มขึ้นด้วย ส่วนของต้นทุนทางการเงินสูงขึ้นเล็กน้อย ตามการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงิน ทั้งนี้ ข้อมูลวันที่ 30 มิถุนายน 2566 เคทีซีมีวงเงินกู้ยืมทั้งสิ้นเท่ากับ 35,371 ล้านบาท เป็นวงเงินกู้ยืมระยะสั้น 29,371 ล้านบาท (รวมวงเงินจากธนาคารกรุงไทย 19,061 ล้านบาท) และวงเงินกู้ยืมระยาวจากธนาคารกรุงไทย 6,000 ล้านบาท โดยมีวงเงินคงเหลือ (Available Credit Line) จำนวน 20,480 ล้านบาท ต้นทุนการเงิน 2.6% และอัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 2.18 เท่า ต่ำกว่าภาระผูกพันซึ่งกำหนดไว้ที่ 10 เท่า”

“เคทีซียังได้ดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ตามแนวทางการบริหารจัดการด้านการให้สินเชื่ออย่างเป็นธรรม โดยข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 บริษัทฯ ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ในทุกสถานะตามประกาศ ธปท. ฝคง.ว.951/2564 จำนวน 1,876 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1.9% ของพอร์ตลูกหนี้รวม”

“สืบเนื่องจากวันนี้ (21 กรกฎาคม 2566) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยแพร่ “มาตรการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน” เพื่อเป็นทางออกในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนในระยะยาว โดยอันดับแรกธปท. จะออกมาตรการกำหนดเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ (Responsible Lending: RL) สำหรับลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสียให้ได้รับความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม ทันเวลา มีคุณภาพและเพียงพอ ในส่วนของลูกหนี้ใหม่ต้องไม่โฆษณากระตุ้นให้เกิดการกู้ยืมอย่างเกินตัว ซึ่งธปท. จะบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2567”

“สำหรับหนี้ปกติที่เป็นหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt: PD) จะสร้างทางเลือกให้ลูกหนี้สามารถปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้ปิดจบการเป็นหนี้ได้ ซึ่งธปท. มุ่งให้ความสำคัญกับลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล ที่เป็นสินเชื่อหมุนเวียนที่มีรายได้ไม่เกิน 20,000 บาทต่อเดือน และมีเกณฑ์การบ่งชี้ว่าลูกหนี้ดังกล่าวมีการจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งธปท. จะให้มีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน 2567 นั้น เคทีซีจะให้ทางเลือกแก่ลูกหนี้ที่สนใจ สามารถเปลี่ยนสินเชื่อหมุนเวียนมาเป็นแบบมีระยะเวลา (Term Loan) และให้คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี โดยจะกำหนดให้การผ่อนชำระสามารถปิดจบภายใน 5 ปี ซึ่งลูกหนี้ต้องสมัครใจเข้าร่วมโครงการด้วยตนเองและปิดวงเงินเดิมที่มีอยู่ โดยเคทีซีได้ประเมินผลกระทบต่อมาตรการดังกล่าว หากลูกหนี้เคทีซีที่เข้าเกณฑ์ทุกรายเข้าร่วมโครงการฯ จะมีผลกระทบต่อรายได้ดอกเบี้ยลดลงประมาณ 18 ล้านบาทต่อเดือน”

นายณัฐสิทธิ์ สุนทราณู ผู้บริหารสูงสุด ฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ความต้องการผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เคทีซีจึงต้องการช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี โดยคัดสรรสิทธิพิเศษเพื่อให้สมาชิกได้รับประสบการณ์ที่ดีในการใช้จ่ายที่คุ้มค่า ซึ่งล่าสุดได้ร่วมกับบริษัท เพาเวอร์บาย จำกัด จัดแคมเปญช้อปท้าฝนให้กับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี เมื่อซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่พาวเวอร์บาย ทุกสาขา สามารถผ่อนชำระ 0% นานสูงสุด 10 เดือน และนำคะแนน KTC FOREVER ที่ไม่มีวันหมดอายุ มาแลกรับส่วนลดเพิ่มได้สูงสุดถึง 18% พร้อมรับความคุ้มค่าทุกการใช้จ่ายถึง 3 คุ้ม คุ้มที่ 1 รับส่วนลดทันทีสูงสุด 15% (เฉพาะรุ่นที่ร่วมรายการ) คุ้มที่ 2 ใช้คะแนน KTC FOREVER เริ่มต้นเพียง 1,000 คะแนน แลกรับส่วนลดเพิ่มทันทีสูงสุด 18% ทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ และแลกรับส่วนลดเพิ่มทันทีสูงสุด 15% ในวันอื่นๆ คุ้มที่ 3 รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 25,000 บาท สำหรับรายการผ่อนชำระ  หรือรับคะแนนพิเศษสูงสุด 25,000 คะแนน สำหรับรายการชำระเต็มจำนวนต่อสมาชิกบัตรตลอดรายการ เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรฯตามกำหนด ในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2566 – 31 สิงหาคม 2566 โดยคาดว่าการจัดแคมเปญในครั้งนี้ จะมีสมาชิกบัตรฯ นำคะแนน KTC FOREVER แลกกว่า 20 ล้านคะแนน”

รองรับนักท่องเที่ยวจีน มาเลเซีย เกาหลีใต้และฮ่องกง

เมื่อเร็วๆ นี้ นางประณยา นิถานานนท์ ผู้บริหารสูงสุด สายงานการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ ดร. สุชิต พูลทอง นายกทันตแพทยสภา ใน “โครงการพัฒนาระบบสิทธิประโยชน์สำหรับสมาชิกทันตแพทยสภา” เพื่อส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิกฯ และกระตุ้นการศึกษาต่อเนื่องของทันตแพทย์ โดยเคทีซีให้บริการบัตรเครดิตที่ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต และครอบคลุมทุกเครือข่ายบัตรเครดิตชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็นวีซ่า มาสเตอร์การ์ด เจซีบีและยูเนี่ยน เพย์ สมาชิกทันตแพทยสภาสามารถเลือกบัตรเครดิตที่ตอบโจทย์ความต้องการ เช่น บัตรเครดิต KTC JCB ULTIMATE สามารถใช้บริการห้องรับรองในสนามบินสำหรับสมาชิก JCB ทั้งในเอเชียและยุโรป และรับคะแนน x2 เมื่อใช้จ่ายสกุลเงินต่างประเทศ รวมถึงยังได้รับส่วนลดจากร้านค้ามากมายในประเทศญี่ปุ่น หรือบัตรเครดิต KTC WORLD REWARDS MASTERCARD สามารถใช้บริการห้องรับรองพิเศษ Royal Orchid Lounge 2 ครั้งต่อปี รวมถึงรับคะแนน x2 เมื่อใช้จ่ายสกุลเงินต่างประเทศ

นอกจากนี้เคทีซีได้คัดสรรสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม เพื่อมอบให้กับสมาชิกทันตแพทยสภา รับสิทธิ์อัพเกรดบัตรเครดิตเป็นระดับที่สูงขึ้น เพื่อรับสิทธิประโยชน์ที่มากกว่า รวมทั้งสมาชิกทันตแพทยสภาสามารถขอเพิ่มวงเงินถาวร เพื่อความสะดวกและคล่องตัวในการใช้จ่ายผ่านบัตรฯ พร้อมรับสิทธิพิเศษมากมายจากการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่ร้านค้าต่างๆ เช่น ส่วนลดร้านอาหาร การใช้คะแนนสะสมแลกเป็นส่วนลดที่ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น นอกจากนี้ สมาชิกทันตแพทยสภาที่เปิดคลีนิกทันตกรรรม สามารถแจ้งความประสงค์ขอเครื่องรูดบัตร หรือเข้าร่วมโปรแกรมผ่อนชำระได้อีกด้วย ทั้งนี้ สมาชิกทันแพทยสภาที่มีบัตรเครดิตเคทีซี สามารถรับสิทธิประโยชน์ได้ง่ายๆ เพียงดาวน์โหลดแอปฯ ทีดีซี คอนเน็คท์ (TDC Connect) และกดเข้าหน้าสิทธิประโยชน์ของบัตรเครดิตเคทีซี เลือกรายการที่ต้องการ และกรอกชื่อ-นามสกุล และเบอร์โทรศัพท์ เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายในเวลาอันสั้น

สำหรับสมาชิกทันตแพทยสภาที่สมัครสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี (บัตรหลักใหม่) จะได้รับบัตรกำนัลสตาร์บัคส์อิเล็คทรอนิกส์ (Starbucks e-Coupon) มูลค่า 500 บาท เมื่อบัตรเครดิตได้รับการอนุมัติและใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ตั้งแต่ 3 รายการขึ้นไป ภายใน 30 วันนับจากวันอนุมัติบัตรฯ ตามเงื่อนไขที่กำหนด (1 มิถุนายน 2566 – 31 ธันวาคม 2566) เราเชื่อว่า ด้วยจุดแข็งของบัตรเครดิตเคทีซีที่สามารถตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต และยังครอบคลุมทุกเครือข่ายบัตรเครดิตชั้นนำ จึงน่าจะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางการเงินที่อำนวยความสะดวกให้กับทันตแพทย์ ในการวางแผนการใช้จ่ายที่คุ้มค่าทุกการใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้าน Device Pay ออกแคมเปญ “แตะ จ่าย ง่าย ได้เงินคืน” ที่คาเฟ่ดัง กับบัตรเครดิตเคทีซี วีซ่า เพียงสมาชิกแตะจ่ายด้วยบัตรเครดิตเคทีซี วีซ่า ที่มีสัญลักษณ์ Contactless หรือผ่าน Google Pay / Swatch Pay หรือ Device Pay อื่นๆ ตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไปต่อเซลส์สลิป รับเครดิตเงินคืน 40 บาท ณ ร้านคาเฟ่ที่ร่วมรายการดังนี้ Bottomless (บอททอมเลส) / Café Kitsuné (คาเฟ่ คิทสึเนะ) / Karun (การัน) / Kay’s (เคย์) / Red Diamond (เรด ไดมอนด์) / Rolling Roasters (โรลลิ่ง โรสเตอร์) / Sarnies (ซานี่ส์) และ  Ve/La (เวลา) และรับเครดิตเงินคืน 20 บาท เมื่อแตะจ่ายด้วยบัตรเครดิตเคทีซี วีซ่า ที่มีสัญลักษณ์ Contactless ตั้งแต่ 300 บาทขึ้นไปต่อ เซลส์สลิปที่ KOI Thé (โคอิ เตะ) และ Casa Lapin (คาซ่า ลาแปง) ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2566 - วันที่ 30 กันยายน 2566

เคทีซีจัดเป็นผู้นำด้านการใช้จ่ายผ่าน Device Pay หลังวิกฤตโควิด-19 พฤติกรรมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของสมาชิกปรับเปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากสมาชิกคุ้นชินกับการใช้จ่ายแบบไร้สัมผัส หรือ Contactless Payment มากขึ้นส่งผลให้จำนวนสมาชิกและจำนวนรายการใช้จ่ายผ่านบัตรฯ แบบไร้สัมผัสเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 มีจำนวนสมาชิกที่ใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ด้วยรูปแบบดังกล่าว คิดเป็น 70% ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่ใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ที่ร้านค้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 5% ในช่วงก่อนวิกฤตโควิด-19 ในปี 2562 และมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต ในขณะที่จำนวนรายการใช้จ่าย (Transaction) ผ่านบัตรฯ แบบไร้สัมผัส เติบโตสูงขึ้น 60% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

X

Right Click

No right click