ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดตัว DAPBot (แดปบอท) แพลตฟอร์มสนับสนุนการจำแนกศัตรูพืชและการเข้าถึงชีวภัณฑ์เกษตร ในรูปแบบ Line Official เพื่อให้เข้าถึงการใช้งานโดยง่ายของเกษตรกร

เป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อระหว่าง 3 หัวใจหลัก (เกษตรกร นักวิชาการ และผู้ผลิตชีวภัณฑ์) เป็นผู้ช่วยส่วนตัวเกษตรกรในไลน์ เพียงแค่กดเพิ่มเพื่อน โดย DAPBot จะให้บริการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของพืช ทั้งปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชต่าง ๆ พร้อมรวบรวมกลุ่มผู้ผลิตชีวภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมาตรฐานจากทั่วประเทศ รวมถึงยังให้บริการตรวจวัดสภาพอากาศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานชีวภัณฑ์ นอกจากนี้ยังเป็นระบบที่เผยแพร่ความรู้และแจ้งเตือนการระบาดของศัตรูพืช ช่วยให้เกษตรกรสามารถวินิจฉัยปัญหาในแปลงเกษตรได้อย่างตรงจุด เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดใช้สารเคมี เสริมสร้างความเข้มแข็งการใช้ชีวภัณฑ์ในประเทศอย่างยั่งยืน ยกระดับภาคเกษตรไทยเป็นเกษตรปลอดภัยตามนโยบาย BCG

 

ดร.อลงกรณ์ อำนวยกาญจนสิน หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ ไบโอเทค สวทช. ผู้พัฒนาระบบ DAPBot กล่าวว่า จากการถอดบทเรียนการทำงานของทางห้องปฏิบัติการและออกเผยแพร่ในแปลงทดสอบร่วมกับเกษตรกรในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย ทำให้ทีมวิจัยเราพบว่า ปัญหาหลักหนึ่งคือ เกษตรกรเข้าถึงเชื้อชีวภัณฑ์ที่มีคุณภาพได้จำกัดมาก ไม่ว่าจะเป็นแหล่งที่ซื้อ ซื้อที่ไหน ซื้อออนไลน์ได้ไหม หรือพอซื้อแล้วกลับได้ชีวภัณฑ์ปลอมเป็นน้ำผสมสี นำไปใช้แล้วไม่ได้ผล ทำให้มุมมองต่อการใช้ชีวภัณฑ์ติดลบ ไม่ใช้แล้ว กลับไปใช้สารเคมีดังเดิมดีกว่า และอีกหนึ่งปัญหาหลักคือ เกษตรกรมักมีความเข้าใจผิดค่อนข้างมากว่า สิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นเกิดจากแมลง แท้จริงแล้วเกิดจากเชื้อรา จึงใช้ยาไม่ถูกโรคเสียที เพิ่มการใช้สารเคมีมากขึ้นหรือใช้ชีวภัณฑ์ไม่ได้ผลอย่างที่ต้องการ เหตุผลเหล่านี้คือที่มาหลักในการพัฒนา DAPBot ขึ้นมา

DAPBot เป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมชีวภัณฑ์ในประเทศไทยไว้ โดยเฉพาะชีวพันธุ์ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานจากผู้ประกอบการไทย คือได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก สวทช. และได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร โดย DAPBot จะเป็นตัวช่วยส่วนตัวของเกษตรกรในการตอบคำถามความผิดปกติของพืช ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรคพืชแมลง เรื่องปุ๋ย เรื่องสภาพอากาศ เรื่องน้ำ แล้วยังมีการรวบรวมแอปพลิเคชัน ที่ช่วยตอบคำถามเรื่องสภาพอากาศ เพราะการจะใช้ชีวภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด หนึ่งจะต้องมีคุณภาพ สองใช้ให้ถูกโรคถูกแมลง และสามต้องตรวจสอบสภาพอากาศก่อนใช้งาน เช่น ถ้าใช้ก่อนฝนตกหนัก ชีวภัณฑ์จะหายไปหมดไม่ได้คุณภาพ หรือถ้าจะใช้วันนี้อากาศร้อนมากแต่พรุ่งนี้ฝนตก ให้รอใช้พรุ่งนี้ดีกว่า เป็นต้น

ด้าน น.ส.เชษฐ์ธิดา ศรีสุขสาม ผู้ช่วยวิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ ไบโอเทค สวทช. กล่าวเสริมว่า ทีมวิจัยมุ่งมั่นให้ DAPBot เป็นระบบที่ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน เกิดการอัพสกิลด้วยตัวเอง เช่น เมื่อเจออาการแบบนี้ส่งมาถามในแชทได้ความรู้ที่ถูกต้อง เกษตรกรจะเริ่มจำได้ในคราวต่อไป และทางทีมมีแผนจะรวบรวมภาพที่เกษตรกรส่งมานำไปทำ AI Training เพื่อที่ว่าต่อไปเมื่อเกษตรกรสอบถามมาจะได้คำตอบเร็วขึ้น ไม่ต้องรอผู้เชี่ยวชาญตอบ และจากที่ต้องรอสองชั่วโมงจะเหลือแค่หนึ่งวินาที เป็นต้น นอกจากนี้ DAPBot ยังนับเป็นช่องทางให้ผู้ผลิตชีวภัณฑ์ที่มีคุณภาพของประเทศไทยได้มาเจอกันกับลูกค้าที่เป็นกลุ่มผู้ใช้งานโดยตรงคือเกษตรกร ซึ่งผู้ใช้งาน DAPBot จะไม่ได้จำกัดเพียงแค่เกษตรกรในกลุ่มเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัยเท่านั้น แต่เกษตรทั่วไปที่อยากหันมาใช้ชีวภัณฑ์ในช่วงที่แมลงไม่ได้ระบาดมาก สามารถใช้ได้ หรือเกษตรกรตามบ้านที่ปลูกผักปลูกกุหลาบ ไม่อยากซื้อยามาฉีด อยากใช้ชีวภัณฑ์ก็ได้เช่นกัน โดย DAPBot นับเป็นตัวเชื่อมให้กลุ่มผู้ใช้งานและกลุ่มผู้ใหบริการชีวภัณฑ์ได้มาเจอกันนั่นเอง

ทั้งนี้ DAPBot จะมีแอดมินที่เป็นทีมวิจัยซึ่งมีความรู้เรื่องโรคและแมลงคอยดูแลตอบคำถามอยู่ และพร้อมส่งต่อคำถามให้ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัยหรือนักวิชาการเกษตร โดย DAPBot ตั้งใจทำถึง ทำมาก ด้วยความพยายามตอบทุก ๆ คำถามไม่เกิน 24 ชั่วโมง ผู้สนใจใช้งาน เพียงแค่แอดไลน์ @dapbot สามารถเริ่มใช้งานได้ทันที โดยทีมวิจัยคาดหวังว่าระบบนี้จะสามารถเป็นผู้ช่วยของเกษตรกรและเป็นประโยชน์สนับสนุนให้เกิดการใช้ชีวภัณฑ์เป็นวงกว้างและยั่งยืนต่อไป

สำหรับเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องที่สนใจ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทาง กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์ ไบโอเทค สวทช. โทร. 02-5646700 ต่อ 3378, 3364 อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. และช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ Facebook Page: ชีวภัณฑ์ไบโอเทค เพื่อผักผลไม้ปลอดภัย Blockdit: ชีวภัณฑ์ไบโอเทค เพื่อผักผลไม้ปลอดภัย X (Twitter): Green Crop Defender @GCD_Squad และ TikTok: ชีวภัณฑ์ไบโอเทค

Lord David Cameron อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 53 แห่งสหราชอาณาจักร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักร พร้อมด้วย นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาระดับอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (อว.) เข้าเยี่ยมชมห้องแล็บวิจัยด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพและชีววิทยาสังเคราะห์ ณ บริษัท ไบโอม จำกัด อาคารมหาวชิรุณหิศ (ชั้น11) คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. อลิสา วังใน Chief Technology Officer ของบริษัท ไบโอม จำกัด ให้การต้อนรับ ซึ่งบริษัทไบโอม เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างจุฬาฯ และบริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) (BBGI) ที่ได้วิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งแรก

ด้าน นายกิตติพงศ์ ลิ่มสุวรรณโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BBGI กล่าวว่า พร้อมผนึกความแข็งแกร่ง ร่วมต่อยอดสร้างมูลค่างานวิจัยกับทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อเสริมฐานผู้นำอุตสาหกรรมกลุ่มผลิตภัณฑ์ชีวภาพมูลค่าสูงในภูมิภาคเอเชีย ในการวางเป้าหมายใช้ไทยเป็นฐานในการส่งต่องานวิจัยผลิตภัณฑ์ชีวภาพมูลค่าสูง สู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ไปยังตลาดโลก

นอกจากนี้ BBGI ยังได้รุกธุรกิจผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูง (CDMO) ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลก ภายใต้บริษัทร่วมทุน BBFB (BBGI Fermbox Bio) ซึ่งเป็นโรงงานเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง (Precision Fermentation) เชิงพาณิชย์แห่งแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย คาดโรงงานแล้วเสร็จในช่วงต้นปี 2568 นับเป็นการตอกย้ำ BBGI แข็งแกร่งเตรียมพร้อมสู่โอกาสในอนาคต

X

Right Click

No right click