×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 10976

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 10972

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

ก.ล.ต. และพันธมิตร จัดพิธีมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณให้นายจ้างในโครงการ “บริษัทเกษียณสุข” 77 ราย  ส่งเสริมสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กว่า 1.6 แสนคน ให้เห็นความสำคัญของการออมและลงทุนเพื่อวัยเกษียณ และการวางแผนการเงินระยะยาวอย่างจริงจัง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่ลูกจ้างจะมีเงินไม่พอใช้ในวัยเกษียณ

จากการที่ ก.ล.ต. ร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมบริษัทจัดการลงทุน และสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมถึงบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่ให้บริการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จัดโครงการ “บริษัทเกษียณสุข” เชิญชวนบริษัทนายจ้างที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) เข้าร่วม โดยมีเป้าหมายเพื่อรณรงค์ให้นายจ้างเห็นความสำคัญและนำไปสู่การปฏิบัติจริงในการเตรียมความพร้อมทางการเงินให้ลูกจ้างมีเงินพอใช้สำหรับวัยเกษียณโดยการออมและลงทุนผ่าน PVD ในปี 2562 มีนายจ้างที่มี PVD ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 77 ราย* โดยแบ่งเป็นรางวัลระดับทอง 28 ราย ระดับเงิน 37 ราย และระดับทองแดง 12 ราย ซึ่งมีสมาชิก PVD รวมกันกว่า 1.6 แสนคน จากนายจ้างที่สมัครเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 181 ราย ครอบคลุมสมาชิกกว่า 3 แสนคน

ในจำนวนนี้มีนายจ้าง 64 ราย เพิ่มแผนการลงทุนที่หลากหลายให้เหมาะกับลูกจ้าง และมีเงินสมทบให้ลูกจ้างตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไป ขณะที่ลูกจ้างมีความกระตือรือร้นที่จะเพิ่มเงินสะสม โดยมีนายจ้าง 28 ราย ที่สมาชิก PVD มากกว่าครึ่งส่งเงินสะสมเข้ากองทุนมากกว่าร้อยละ 10

พิธีมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณบริษัทเกษียณสุข ได้จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ โดยมีนายวรวิทย์ จำปีรัตน์ ประธานกรรมการ ก.ล.ต. ให้เกียรติเป็นผู้มอบรางวัล โดยมีผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานพันธมิตร และผู้แทนจากบริษัทที่เข้าร่วมโครงการรวมกว่า 300 คน ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ สโมสรทหารบก

ทั้งนี้ นายจ้างเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างมากในการกระตุ้นและสนับสนุนให้ลูกจ้างตระหนักถึงความจำเป็นของการออมเพื่อวัยเกษียณ ซึ่งข้อมูลที่นายจ้างและคณะกรรมการกองทุนได้รับจากการร่วมกิจกรรมในโครงการ อาทิ การกระตุ้นให้ลูกจ้างสะสมเงินเต็มสิทธิร้อยละ 15 ของเงินเดือน การมีแผนลงทุนที่หลากหลายให้เลือกตามความเสี่ยง รวมถึงมีแผนการลงทุนแบบสมดุลตามอายุ (life path) ที่ปรับสัดส่วนการลงทุนอัตโนมัติตามช่วงอายุของสมาชิก จะช่วยกระตุ้นให้ลูกจ้างเห็นความสำคัญของการวางแผนการเงิน การออมและลงทุนเพื่อวัยเกษียณผ่าน PVD จนสามารถมีเงินพอใช้ในวัยเกษียณได้

โครงการ “บริษัทเกษียณสุข” เป็นกิจกรรมหนึ่งของ ก.ล.ต. ที่มีนโยบายส่งเสริมให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการออมเงินในระยะยาว เนื่องจาก ก.ล.ต. พบว่า สมาชิก PVD ประมาณร้อยละ 60 ได้รับเงินก้อนไม่ถึง 1 ล้านบาทในวันเกษียณอายุ ในขณะที่ข้อมูลจากงานวิจัยพบว่า คนไทยควรมีเงินอย่างน้อย 3-5 ล้านบาท ณ วันเกษียณเพื่อให้เพียงพอที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้หลังเกษียณ จึงสะท้อนให้เห็นว่า คนไทยส่วนใหญ่อาจมีเงินไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตหลังจากไม่มีรายได้จากการทำงานแล้ว โดยสาเหตุหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของการออมและลงทุนเพื่อวัยเกษียณ

กระทรวงพาณิชย์ เดินหน้าอำนวยความสะดวกภาคธุรกิจ เตรียมปลดล็อก 4 ธุรกิจ ออกจากบัญชีสามท้าย พ.ร.บ ต่างด้าวฯ ได้แก่ ธุรกิจบริการโทรคมนาคม สำหรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่ 1 ธุรกิจศูนย์บริหารเงิน ธุรกิจบริการซ่อมบำรุงอากาศยาน และ ธุรกิจบริการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูง ส่งผลให้นักธุรกิจต่างชาติไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ 4 ประเภทอีกต่อไป คาดดึงเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้าไทยเพิ่มขึ้น ลดความซ้ำซ้อนในการกำกับดูแลของภาครัฐ ลดอุปสรรคในการทำธุรกิจ สร้างสภาพแวดล้อมที่น่าลงทุนเพื่อประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า “อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์) ได้มอบหมายให้เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาทบทวนประเภทธุรกิจ ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 เมื่อวันพุธที่ 25 กันยายน 2562 โดยผลของการประชุมฯ เบื้องต้น เตรียมเสนอคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ปลดล็อค 4 ธุรกิจ ออกจากบัญชีท้ายฯ ได้แก่ 1) ธุรกิจบริการโทรคมนาคม สำหรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่ 1 (ไม่มีโครงข่าย) 2) ธุรกิจศูนย์บริหารเงิน (Treasury Center) 3) ธุรกิจบริการซ่อมบำรุงอากาศยาน ที่ได้รับใบรับรองหน่วยซ่อมประเภทสอง สำหรับบำรุงรักษาส่วนประกอบสำคัญของอากาศยาน และประเภทสาม สำหรับบำรุงรักษาบริภัณฑ์และชิ้นส่วนของอากาศยานตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ และ 4) ธุรกิจบริการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูง ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนต่างชาติลดภาระค่าใช้จ่าย ระยะเวลา และลดความยุ่งยากซ้ำซ้อนในการขออนุญาตจากหน่วยงานรัฐ ก่อให้เกิดความรวดเร็วและความคล่องตัวด้านการประกอบธุรกิจในประเทศไทย สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการประกอบธุรกิจช่วยดึงดูดเม็ดเงินลงทุน และผู้มีความสามารถจากต่างประเทศให้สนใจเข้ามาลงทุนส่งเสริมในการพัฒนาประเทศมากขึ้น”

“ธุรกิจท้ายบัญชี 3 ที่กระทรวงฯ เตรียมถอดออกนั้น ส่วนหนึ่งเป็นธุรกิจที่มีกฎหมายเฉพาะกำกับอยู่แล้ว จึงเป็นการลดความซ้ำซ้อนในการกำกับดูแลของภาครัฐ เช่น ธุรกิจบริการโทรคมนาคม สำหรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่ 1 มีกฎหมายเฉพาะกำกับ คือ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 โดย กสทช. และ ธุรกิจศูนย์บริหารเงิน มีกฎหมายเฉพาะกำกับ คือ พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งกำหนดว่าธุรกิจศูนย์บริหารเงินต้องได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจจากกระทรวงการคลัง และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนด รวมถึง ธุรกิจบริการซ่อมบำรุงอากาศยานฯ ซึ่งมีกฎหมายเฉพาะกำกับ คือ พ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ศ. 2497 โดย สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.)”

รองอธิบดีฯ กล่าวต่อว่า “ทั้ง 4 ธุรกิจ เป็นธุรกิจที่สอดคล้องกับสภาพการทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม และคนไทยมีความพร้อมในการแข่งขันการประกอบธุรกิจกับคนต่างชาติ อีกทั้งเห็นว่า การเปิดเสรีในธุรกิจดังกล่าวจะเป็นการดึงดูดให้บริษัทต่างชาติเข้ามาตั้งศูนย์การพัฒนาและซ่อมบำรุงในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่คนไทย ส่งเสริมให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัล เป็นการสร้างโอกาสในการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับคนไทย ซึ่งจะสามารถยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในระดับสากล

“นอกจากนี้ ยังเป็นธุรกิจที่สอดคล้องกับสภาพการทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม โดยธุรกิจบริการซ่อมบำรุงอากาศยาน และธุรกิจบริการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูง จะสอดคล้องกับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาลในการเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) ของประเทศ ประเภทอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ด้านการบินและโลจิสติกส์ (ธุรกิจบริการซ่อมบำรุงอากาศยาน) และด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล (ธุรกิจบริการพัฒนาซอฟต์แวร์) ดังนั้น การปลดล็อก 4 ธุรกิจดังกล่าว จึงเป็นการขานรับนโยบายรัฐบาลทั้ง Thailand Plus Package และ Thailand 4.0 โดยเป้าหมายสำคัญ คือ การอำนวยความสะดวกแก่ชาวต่างชาติในการประกอบธุรกิจ พร้อมลดอุปสรรคด้านการลงทุน ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าเดินทางเข้ามาลงทุนเป็นลำดับต้นๆ ของภูมิภาคเอเชียและของโลก อีกทั้ง ลักษณะของภูมิประเทศและชัยภูมิที่เหนือกว่าประเทศอื่น และมีโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ประเทศไทยสามารถก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของอาเซียนได้ไม่ยาก” รองอธิบดีฯ กล่าวทิ้งท้าย

การดำรงชีวิตอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยต่ำติดดินในขณะที่ตลาดหุ้นก็ร้อนแรง เป็นอะไรที่น่าอึดอัด และเป็นโจทย์ยากสำหรับการบริหารสินทรัพย์ของคนทั่วไป ภาคธุรกิจ และเจ้าของกิจการ

สำหรับหลายคนการลงทุนเป็นเรื่องเข้าใจยาก ต้องอ่านข้อมูลที่ไม่เข้าใจมากมาย คิดว่ามีเงินไม่มากพอจึงไม่กล้าลงทุน ขณะที่บริการให้คำปรึกษาและแนะนำการลงทุนแบบครบวงจรก็มักจะให้บริการกับกลุ่มผู้ลงทุนที่มีเงินลงทุนจำนวนมาก การทำให้เรื่องการลงทุนเป็นเรื่องง่ายสำหรับคนทั่วไปจึงเป็นหนึ่งในภารกิจที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้ความสำคัญ

โดย ก.ล.ต. ร่วมกับพันธมิตรภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุน เปิดโครงการ “5 ขั้นมั่นใจลงทุน” สร้างประสบการณ์ใหม่ของการแนะนำการลงทุนอย่างครบวงจร ผ่านบริการออกแบบการลงทุน 5 ขั้นตอน มุ่งให้ประชาชนได้รับการดูแลการลงทุนที่ครบวงจร ตอบโจทย์ความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว

รพี สุจริตกุล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ประชาชนทั่วไปมักประสบปัญหาในการลงทุน เนื่องจากได้รับข้อมูลมากมาย แต่ไม่สามารถวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์การลงทุนที่มีอยู่หลากหลายได้ หรือได้รับคำแนะนำให้ซื้อผลิตภัณฑ์เป็นรายตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่ผู้ขายได้รับค่าตอบแทนการขายสูงหรือต้องการเพิ่มยอดขาย รวมทั้งขาดผู้ติดตามดูแลการลงทุนให้หลังจากที่ได้ลงทุนไปแล้ว จึงทำให้คนทั่วไปไม่สามารถใช้ตลาดทุนเพื่อสร้างอิสรภาพทางการเงินได้

 “โครงการ 5 ขั้นมั่นใจลงทุน” เกิดจากความตั้งใจของ ก.ล.ต. ร่วมกับพันธมิตรภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุน ประกอบกับพัฒนาการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงินในปัจจุบัน มีส่วนสำคัญที่ทำให้การให้บริการดูแลการลงทุนที่ครบวงจรเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยต้นทุนที่ต่ำ ตั้งแต่ (1) การสำรวจและทำความเข้าใจลูกค้า (2) การกำหนดแผนจัดสรรการลงทุน (asset allocation) (3) การแนะนำการลงทุนแบบองค์รวม (4) การติดตามและปรับปรุงการลงทุน และ (5) การรายงานภาพรวมการลงทุนของลูกค้า  จึงทำให้ผู้รับบริการมีความพร้อมในการจัดการบริหารทรัพย์สินของตนเองเพื่อสร้างอิสรภาพทางการเงิน

 ปัจจุบันมีผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. แล้ว  26 ราย โดยมี 20 รายที่เปิดให้บริการแล้วและ อีก 6 รายอยู่ระหว่างทยอยเปิดดำเนินการ และคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกตามลำดับ โดยผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับความเห็นชอบจะสามารถให้บริการออกแบบการลงทุนทั้ง 5 ขั้นตอนได้ ภายใต้ขอบเขตธุรกิจที่ได้รับอนุญาตของตน ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น ๆ ที่สนใจสามารถยื่นขอรับความเห็นชอบต่อ ก.ล.ต. ได้ โดย ก.ล.ต. จะพิจารณาคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

สำหรับผู้ที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ www.5ขั้นมั่นใจลงทุน.com และเฟซบุ๊คเพจ 5 ขั้นมั่นใจลงทุน  

รายชื่อผู้ประกอบธุรกิจ 26 ราย ที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ออกแบบการลงทุนได้รับอนุญาตแล้ว ได้แก่

  1. กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ จำนวน 7 ราย ได้แก่

  • บล. เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) : KTBST
  • บล. กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) : KS
  • บล. ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด : DBSV
  • บล. ธนชาต จำกัด (มหาชน) : TNS
  • บล. บัวหลวง จำกัด (มหาชน) : BLS
  • บล. ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) : Phillip
  • บล. หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด : YUANTA
  1. กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จำนวน 7 ราย ได้แก่

  • บลจ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน) : KTAM*
  • บลจ. กรุงศรี จำกัด : KSAM*
  • บลจ. กสิกรไทย จำกัด : KASSET
  • บลจ. ทหารไทย จำกัด : TMBAM
  • บลจ. ไทยพาณิชย์ จำกัด : SCBAM
  • บลจ. เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด : MPAM
  • บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด : UOBAM*
  1. กลุ่มธนาคารพาณิชย์ จำนวน 6 ราย ได้แก่

    • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) : BBL
    • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) : KTB*
    • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK
    • ธนาคารซิตี้แบงก์ สาขากรุงเทพฯ : Citibank*
    • ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) : TMB*
    • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) : SCB
  2. กลุ่มบริษัทประกันชีวิต จำนวน 2 ราย ได้แก่

    • บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
    • บริษัท เอไอเอ จำกัด
  1. กลุ่มฟินเทคสตาร์ทอัพ (4 ราย) ได้แก่

    • บลน. ฟินโนมีนา จำกัด : Finomena
    • บลป. เทรเชอริสต์ จำกัด : Treasurist*
    • บลน. โรโบเวลธ์ จำกัด : Robowealth
    • บลน. เว็ลธ์ เมจิก จำกัด : WealthMagik
หมายเหตุ : *ผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ระหว่างจะทยอยเปิดให้บริการ

 

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ขอนำเสนอรายการโครงการที่อยู่อาศัยที่ขายดีในรอบ 6 เดือนแรกของปี 2561 ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยที่ขายได้ช้า และขายได้น้อยมาก ทำให้การลงทุนพัฒนาหรือลงทุนซื้ออาจมีปัญหาได้ ในทีนี้ได้จัดอันดับไว้ 20 รายการ ดังนี้:

            อันดับที่ 1 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.990 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล E1: หทัยราษฎร์ มีจำนวน 33 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 99 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 3 หน่วย ยังเหลืออีก 30 หน่วย หรือเหลืออีก 91% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.1% ต่อเดือน

            อันดับที่ 2 ได้แก่ ที่ดินจัดสรร ที่มีระดับราคา 0.500-1.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 0.770 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล E1: หทัยราษฎร์ มีจำนวน 35 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 27 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 3 หน่วย ยังเหลืออีก 32 หน่วย หรือเหลืออีก 91% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.1% ต่อเดือน

            อันดับที่ 3 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา >20.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 39.000 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A4: รังสิต คลอง 1-7 มีจำนวน 26 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 1014 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 3 หน่วย ยังเหลืออีก 23 หน่วย หรือเหลืออีก 88% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.2% ต่อเดือน

            อันดับที่ 4 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 7.541 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล D2: สะพานใหม่ มีจำนวน 130 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 980 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายไม่ได้ ยังเหลืออีก 130 หน่วย หรือเหลืออีก 100% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.3% ต่อเดือน

            อันดับที่ 5 ได้แก่ ตึกแถว ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 5.590 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล D1: สายไหม มีจำนวน 170 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 950 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 5 หน่วย ยังเหลืออีก 165 หน่วย หรือเหลืออีก 97% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.3% ต่อเดือน

            อันดับที่ 6 ได้แก่ ตึกแถว ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.990 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล K3: มหาชัย เศรษฐกิจ มีจำนวน 115 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 344 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 7 หน่วย ยังเหลืออีก 108 หน่วย หรือเหลืออีก 94% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 7 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 9.000 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล H7: บางปู มีจำนวน 67 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 603 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 8 หน่วย ยังเหลืออีก 59 หน่วย หรือเหลืออีก 88% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 8 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 7.000 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A5: รังสิต คลอง 7-16 มีจำนวน 86 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 602 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 2 หน่วย ยังเหลืออีก 84 หน่วย หรือเหลืออีก 98% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 9 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 8.120 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล D3: บางบัว มีจำนวน 35 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 284 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 1 หน่วย ยังเหลืออีก 34 หน่วย หรือเหลืออีก 97% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.5% ต่อเดือน

            อันดับที่ 10 ได้แก่ ตึกแถว ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.734 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A2: บางขัน คลองหลวง มีจำนวน 60 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 164 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 4 หน่วย ยังเหลืออีก 56 หน่วย หรือเหลืออีก 93% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.5% ต่อเดือน

            อันดับที่ 11 ได้แก่ ที่ดินจัดสรร ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.888 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล H8: บางนา ตราด กม.10-30 มีจำนวน 504 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 1456 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 6 หน่วย ยังเหลืออีก 498 หน่วย หรือเหลืออีก 99% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.5% ต่อเดือน

            อันดับที่ 12 ได้แก่ ทาวน์เฮาส์ ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 3.329 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล N2: วงแหวนรอบนอก-คลองมหาสวัสดิ์ มีจำนวน 53 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 176 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 4 หน่วย ยังเหลืออีก 49 หน่วย หรือเหลืออีก 92% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.5% ต่อเดือน

            อันดับที่ 13 ได้แก่ บ้านแฝด ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 6.440 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล N4: บางบัวทอง มีจำนวน 33 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 213 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายไม่ได้ ยังเหลืออีก 33 หน่วย หรือเหลืออีก 100% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.6% ต่อเดือน

            อันดับที่ 14 ได้แก่ ที่ดินจัดสรร ที่มีระดับราคา >20.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 25.000 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A4: รังสิต คลอง 1-7 มีจำนวน 34 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 850 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 3 หน่วย ยังเหลืออีก 31 หน่วย หรือเหลืออีก 91% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.6% ต่อเดือน

            อันดับที่ 15 ได้แก่ ที่ดินจัดสรร ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 5.292 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล M1: ตลิ่งชัน มีจำนวน 30 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 159 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 6 หน่วย ยังเหลืออีก 24 หน่วย หรือเหลืออีก 80% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.6% ต่อเดือน

            อันดับที่ 16 ได้แก่ ที่ดินจัดสรร ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.500 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล H8: บางนา ตราด กม.10-30 มีจำนวน 44 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 66 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 3 หน่วย ยังเหลืออีก 41 หน่วย หรือเหลืออีก 93% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.6% ต่อเดือน

            อันดับที่ 17 ได้แก่ ทาวน์เฮาส์ ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.604 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล E1: หทัยราษฎร์ มีจำนวน 253 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 406 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 15 หน่วย ยังเหลืออีก 238 หน่วย หรือเหลืออีก 94% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.6% ต่อเดือน

            อันดับที่ 18 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.970 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล B4: ชินเขต ท่าทราย มีจำนวน 463 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 912 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 16 หน่วย ยังเหลืออีก 447 หน่วย หรือเหลืออีก 97% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 19 ได้แก่ บ้านแฝด ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 3.490 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A5: รังสิต คลอง 7-16 มีจำนวน 211 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 736 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 7 หน่วย ยังเหลืออีก 204 หน่วย หรือเหลืออีก 97% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 20 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา >20.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 42.091 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล K1: พระรามที่ 2 กม.1-10 มีจำนวน 143 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 6019 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 4 หน่วย ยังเหลืออีก 139 หน่วย หรือเหลืออีก 97% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.7% ต่อเดือน

            อย่างไรก็ตามบางโครงการในทำเล ประเภทบ้านและระดับดังกล่าว ก็อาจขายดีสวนกระแส ทั้งนี้เพราะมีการบริหารจัดการที่ดี ก็เป็นได้เช่นกัน ต้องศึกษาในรายละเอียดด้วย

Page 5 of 7
X

Right Click

No right click