ความยั่งยืน Mobile ID และรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญในอันดับต้นๆ

HID ผู้นำระดับสากลในด้านโซลูชั่นการระบุตัวตนและความปลอดภัยทางกายภาพ (physical security) ได้เผยแพร่ผลรายงาน State of the Security Industry Report เกี่ยวกับอุตสาหกรรมด้านความปลอดภัย ที่รวบรวมความคิดเห็นจากพันธมิตร ผู้ใช้งาน และบุคลากรด้านความปลอดภัยและไอที ในตำแหน่งต่างๆ จำนวน 2,700 คน จากองค์กรหลากหลายขนาดกว่า 11 อุตสาหกรรม โดยการสำรวจได้จัดทำขึ้นเมื่อปลายปี 2565 โดยมีประเด็นที่ผู้ตอบแบบสำรวจเห็นตรงกัน 5 ประการ ดังนี้

1. เกือบ 90% มองว่าความยั่งยืนเป็นเรื่องสำคัญ

ผู้บริโภคต่างเรียกร้องให้ผู้จัดหาสินค้าและบริการแสดงความโปร่งใสเกี่ยวกับผลกระทบด้านต่างๆ ทั้งในขั้นตอนการจัดหาผลิตภัณฑ์ การวิจัยและพัฒนา โดย 87% ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่า ความยั่งยืนจัดอยู่ในอันดับ “สำคัญถึงสำคัญที่สุด” และ 76% กล่าวว่า ลูกค้าให้ความสำคัญกับความยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็สะท้อนแนวโน้มดังกล่าว

เพื่อรองรับความต้องการดังกล่าว ทีมงานที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยจึงมีการใช้ระบบคลาวด์และ IoT (Internet of Things) มากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการและลดการใช้ทรัพยากร นอกจากนี้ ก็กำลังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นใหม่ๆ เพื่อให้สามารถใช้พลังงานได้อย่างเหมาะสม ลดขยะและของเสีย และใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

2. องค์กรส่วนใหญ่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ Identity-as-a-Service (IDaaS) อย่างเต็มรูปแบบเพื่อรองรับการทำงานแบบไฮบริด

ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ จำนวน 81% เผยว่า ได้เสนอรูปแบบการทำงานแบบไฮบริด ตัวอย่างเช่น 67% ระบุว่า การยืนยันตัวตนแบบหลายขั้นตอน และแบบไม่ใช้รหัสผ่านมีความสำคัญที่สุดในการปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบการทำงานแบบไฮบริด และการทำงานทางไกล ในขณะที่ 48% ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ Mobile ID และการระบุตัวตนแบบดิจิทัล (Digital ID)

ที่น่าสนใจคือ การสำรวจยังเผยด้วยว่า เกือบครึ่งหนึ่งขององค์กรยังไม่พร้อมที่จะใช้กลยุทธ์ IDaaS อย่างครอบคลุม

 

3. การระบุตัวตนแบบดิจิทัล (Digital ID) และการยืนยันตัวตนผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ จะผลักดันให้มีการใช้โทรศัพท์มือถือในการเข้า-ออกอาคารมากยิ่งขึ้น

การระบุและยืนยันตัวตนมักจะดำเนินการผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ รวมถึงสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์สวมใส่ โดยความนิยมที่เพิ่มขึ้นของกระเป๋าเงินดิจิทัลจากผู้ให้บริการรายใหญ่ เช่น Google, Apple และ Amazon เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของแนวโน้มดังกล่าว การใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น ยังช่วยให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนสามารถเพิ่มกุญแจ บัตรประจำตัว และเอกสารดิจิทัลได้ ในแอปพลิเคชันกระเป๋าเงิน ซึ่งรวมถึง แต่ไม่จำกัดเพียงใบขับขี่ในแปดมลรัฐ ข้อมูลการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ตรวจสอบได้ บัตรประจำตัวพนักงาน บัตรประจำตัวนักศึกษา และกุญแจห้องพักโรงแรม

ผลสำรวจยังเผยอีกว่า บริษัทอสังหาริมทรัพย์ (40%) กำลังแซงหน้าธุรกิจประเภทอื่นๆ เนื่องจากบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่กำลังใช้ระบบการเข้า-ออกอาคารด้วยโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแอปพลิเคชันสำหรับผู้เช่าของบริษัทเหล่านี้

 

4. เกือบ 60% ของผู้ตอบแบบสำรวจเห็นประโยชน์ของการยืนยันตัวตนด้วยไบโอเมตริกซ์แบบไร้สัมผัส

เทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญจากวิธีการควบคุมการเข้า-ออกอาคารแบบเดิมๆ การใช้ข้อมูลไบโอเมตริกซ์ ที่เพิ่มความแน่นหนาในการรักษาความปลอดภัย (เช่น การสแกนไบโอเมตริกซ์เพื่อยืนยันตัวตนทางกายภาพของแต่ละบุคคล) จะช่วยให้องค์กรสามารถป้องกันการลักลอบเข้า-ออกอาคาร และการปลอมแปลงการยืนยันตัวตนได้

ผลสำรวจได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของแนวโน้มดังกล่าว โดย 59% ของผู้ตอบแบบสำรวจมีทั้งกำลังใช้เทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์อยู่ วางแผนที่จะนำมาใช้ หรืออย่างน้อยก็จะทดลองใช้ในอนาคตอันใกล้นี้

5. ปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานยังคงเป็นปัจจัยที่น่ากังวล แต่ก็เริ่มมีมุมมองในเชิงบวกมากขึ้น

จากการสำรวจครั้งนี้ 74% ของผู้ตอบแบบสำรวจเผยว่าได้รับผลกระทบจากปัญหาห่วงโซ่อุปทานในปี 2565 ที่ผ่านมา แม้ว่า 50% จะมีมุมมองในเชิงบวกว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในปี 2566 นี้ ส่วนผู้ที่ได้รับผลกระทบนั้น ส่วนใหญ่คือบริษัทอสังหาริมทรัพย์ โดย 78% ระบุว่า มีความกังวลกับปัญหาห่วงโซ่อุปทาน

กว่าสองในสามขององค์กรที่มีพนักงานน้อยกว่า 1,000 คน เผยว่าได้รับผลกระทบอย่างมากจากปัญหาห่วงโซ่อุปทานในปี 2565 แต่ในขณะเดียวกันก็มีมุมมองในเชิงบวกว่าปัญหาดังกล่าวจะได้รับการแก้ไขในปี 2566 นี้

การศึกษาทำความเข้าใจกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยสามารถเตรียมความพร้อมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และส่งมอบประสบการณ์ด้านความปลอดภัยที่ยอดเยี่ยมทั้งแบบดิจิทัลและทางกายภาพ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมที่ล้ำหน้า ทั้งโซลูชั่นและบริการต่างๆ ได้

การก้าวสู่เป้าหมายเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติหรือเมดิคัลฮับ และพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์หรือผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นน้ำยา ซอฟท์แวร์ เครื่องมือ เครื่องกล หรือวัตถุที่จะใช้ใส่เข้าไปในร่างกายมนุษย์ จำเป็นต้องแสดงคุณภาพมาตรฐานก่อนจำหน่ายหรือส่งออกตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อเร็วๆนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิด ห้องปฏิบัติการทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพของเครื่องมือทางการแพทย์ (Laboratory for Biocompatibility Testing of Medical Devices) โดยได้รับการรับรองมาตรฐานโลก ISO/IEC 17025:2017 จากสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อเปิดบริการทดสอบผลิตภัณฑ์การแพทย์อย่างครบวงจรแก่นักวิจัย นวัตกรและผู้ประกอบการ

 

รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ประเทศไทยได้รับการยกย่องจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ทางด้านการแพทย์ และเป็นอันดับ 6 ของโลกในด้านความมั่นคงทางสุขภาพ ซึ่งแสดงถึงศักยภาพ ความเชี่ยวชาญ และคุณภาพบริการ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่มุ่งพัฒนาตามแนวยุทธศาสตร์ให้ประเทศไทยเป็น ‘ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ’ (Medical Hub) ของภูมิภาคโลก ในการขับเคลื่อนดิจิทัลเฮลท์แคร์ การแพทย์สาธารณสุขและนวัตกรรมเฮลท์เทคของไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากล จึงจำเป็นที่ประเทศเราต้องมีห้องแล็บทดสอบที่ทันสมัยครบครันด้วยเทคโนโลยี การบริหารจัดการ และผู้เชี่ยวชาญตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 เพื่อยกระดับงานวิจัยพัฒนาและการผลิตเครื่องมือแพทย์ของไทยสู่ระดับสากลผ่านการทดสอบคุณภาพและความปลอดภัยของอุปกรณ์หรือเวชภัณฑ์

รศ.ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งมั่นในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน และคิดค้นวิจัยพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ เพื่อตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลง และสร้างคุณประโยชน์ให้แก่วงการสาธารณสุขไทยและประชาคมโลก นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ห้องปฏิบัติการทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพของเครื่องมือทางการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (Laboratory for Biocompatibility Testing of Medical Devices) ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 โดยแสดงให้เห็นถึงการมีประสิทธิภาพของห้องปฏิบัติการนั้น ผู้ใช้บริการสามารถมั่นใจได้ทั้งด้านคุณภาพและผลการทดสอบ (Certificate) ครบวงจรและน่าเชื่อถือ ถูกต้องตามหลักวิชาการซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล นับเป็นประโยชน์ยิ่งต่อนักวิจัย นวัตกร วิศวกร และผู้ประกอบการ ช่วยส่งเสริมการวิจัยพัฒนาด้านเครื่องมือทางการแพทย์ รวมถึงพัฒนาคุณภาพบุคลากรป้อนสู่อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และเฮลท์แคร์อีกด้วย

โดยมาตรฐาน ISO/IEC 17025 มีความสำคัญต่อนักวิจัย นวัตกร และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ อาทิ เช่น 1. ใช้เป็นเกณฑ์สำหรับห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบเทียบ ที่ต้องการแสดงให้เห็นว่าห้องปฏิบัติการมีการดำเนินงานด้านระบบคุณภาพ มีความสามารถทางวิชาการ ผลการทดสอบหรือสอบเทียบที่ออกโดยห้องปฏิบัติการเป็นที่เชื่อถือได้ว่าถูกต้องตามหลักวิชาการ 2.ใช้เป็นเกณฑ์สำหรับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบของหน่วยรับรอง 3.ใช้ในการยืนยันและยอมรับความสามารถของห้องปฏิบัติการโดยผู้ใช้บริการห้องปฏิบัติการ หรือองค์กรที่มีอำนาจตามกฎหมาย

สำหรับบริการครบวงจรของห้องปฏิบัติการทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพของเครื่องมือทางการแพทย์ (Laboratory for Biocompatibility Testing of Medical Devices) ที่ก้าวหน้าระดับโลกนี้ ครบครันด้วยเทคโนโลยีเครื่องมือทันสมัยและผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ ตั้งอยู่ที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ถนนพุทธมณฑล สาย 4 เปิดบริการทดสอบเครื่องมือแพทย์ตามข้อกำหนดของมาตรฐานสากล ได้แก่ 1. Cytotoxicity Testing ทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ 2. Hemolysis Testing ทดสอบปฏิกริยาที่มีต่อโลหิตการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง 3. Bioburden Testing การทดสอบหาการมีอยู่ของจุลินทรีย์ 4. Sterility Testing การทดสอบหาความปราศจากเชื้อของอุปกรณ์ หรือตัวอย่าง 5. Antibacterial Testing การทดสอบวิเคราะห์หาประสิทธิภาพการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์

เร่งสานต่อโครงข่ายความรู้และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนความแข็งแกร่งในโครงการอีอีซีต่อเนื่อง

กรุงเทพ, ตุลาคม 2564 , สมาคมประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร หรือ PRCA เอเชียแปซิฟิก (Public Relations & Communications Association Asia Pacific) ได้ประกาศมาสเตอร์แพลนการดำเนินงานในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนอาชีพนักประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมอุตสาหกรรมประชาสัมพันธ์ในภาพรวมทั้งหมด

 PRCA เป็นองค์กรด้านงานประชาสัมพันธ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นตัวแทนของนักประชาสัมพันธ์กว่า 35,000 คนจาก 70 ประเทศทั่วโลก และเมื่อต้นปี 2021 PRCA ได้ประกาศเปิดสาขาในกรุงเทพมหานคร และนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม เพิ่มเติมจากสาขาที่มีอยู่เดิมในกรุงลอนดอน สิงคโปร์ ดูไบ ฮ่องกง และกรุงบัวโนสไอเรส

 PRCA ประเทศไทยจะเปิดรับสมาชิกจากองค์กรและบริษัทต่างๆ, เอเจนซี่, องค์กรไม่แสวงหากำไร, ตัวแทนภาครัฐ, สื่อมวลชน, นักสร้างสรรค์ Content ตลอดจนบุคคลผู้สนใจ และนักวิชาการ

 แผนแม่บทของ PRCA ในประเทศไทยได้ถูกออกแบบเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจของ PRCA ในการสร้างสรรค์อุตสาหกรรมประชาสัมพันธ์ที่มีความเป็นมืออาชีพ, มีจริยธรรม และมีความสำเร็จมากยิ่งขึ้น โดยวัตถุประสงค์ของ PRCA มีวัตถุประสงค์หลักอยู่ 3 ข้อเพื่อให้แน่ใจได้ว่าอุตสาหกรรม PR ยังอยู่ในช่วงขาขึ้น ระหว่างการบริการด้านการตลาดผ่านบริษัทและองค์กร ตามคำกล่าวของ คาริณ โลหิตนาวี ประธาน PRCA ประเทศไทย ที่เป็นผู้นำการดำเนินงานในปีแรกนี้

 “ที่ผ่านมา PR ได้รับความสำคัญมาโดยตลอด และยิ่งในปัจจุบัน PR ได้มีหน้าที่สำคัญในระดับบริหาร มากกว่าที่ผ่านมา” คาริณ โลหิตนาวี ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ Midas PR Group กล่าว “ไม่ว่าจะเป็นงานด้านการจัดการชื่อเสียง, การสื่อสารในภาวะวิกฤต, การสื่อสารของพนักงาน, และการสร้างสรรค์ Content ล้วนแล้วแต่เป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับธุรกิจและองค์กรในวันนี้ PRCA ประเทศไทยจึงถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนขาขึ้นของอุตสาหกรรมและพัฒนาโอกาสในการทำงานของนักประชาสัมพันธ์ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

 วัตถุประสงค์แรกของ PRCA ในประเทศไทยคือการยกระดับวิธีการวัดผลงาน PR เราจะพบว่าบ่อยครั้งที่ PR Campaign ถูกวัดผลจากมาตรวัดที่ล้าสมัย ซึ่ง PRCA จะเข้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไปข้างหน้าเพื่อให้การวัดผล PR มีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับที่กว้างขวางมากขึ้น แม้ว่าการวัดผลของ PR ไม่ได้มีแค่แนวทางเดียว แต่เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าการใช้ Advertising Value Equivalency (AVE หรือที่นักประชาสัมพันธ์เรียกว่า PR Value) ในการวัดผลก็ไม่ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมอีกต่อไป

 วัตถุประสงค์ที่สอง เพื่อมอบโอกาสในการพัฒนานักประชาสัมพันธ์ผ่านการสัมมนา และฝึกอบรม รวมถึงการพัฒนาแพลตฟอร์มในการแบ่งปันข้อมูล และการค้นคว้าวิจัยเพื่อยกระดับความรู้ความเข้าใจในอุตสาหกรรมประชาสัมพันธ์

 วัตถุประสงค์ที่สาม เพื่อเตรียมความพร้อมของคนทำงานประชาสัมพันธ์ยุคต่อไป เพื่อความสำเร็จและการเติบโตในเส้นทางอาชีพ

 “PR เป็นอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตในประเทศไทย และยังเป็นงานที่มอบโอกาสให้คนทำงานรุ่นใหม่ได้รับรางวัลเพื่อเติมเต็มผลสำเร็จในหน้าที่การงาน” ทารา มิวนิส, หัวหน้า PRCA เอเชียแปซิฟิก กล่าว “ในท้ายที่สุด บุคคลากรด้าน PR จะไม่ใช่แค่นักสื่อสาร แต่ PR ยังผู้ให้คำปรึกษาทางธุรกิจอีกด้วย และในวันที่การบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กรสำคัญอย่างเช่นวันนี้ นักเรียนที่ดีที่สุด และเก่งที่สุดควรจะพิจารณาอาชีพในสายงานประชาสัมพันธ์ “

 ในประเทศไทย สมาชิกรุ่นก่อตั้งของ PRCA ประกอบไปด้วยเอเจนซี่ประชาสัมพันธ์ชั้นนำ เช่น ABM Connect, Hill+Knowlton Strategies, Midas PR, Moonshot Digital, MSL และ Vero

 ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ผู้นำของ PRCA ประเทศไทยจะประกาศแผนงานและกำหนดการกิจกรรมที่จะกำลังจะเริ่ม เช่น โครงการมอบรางวัล, เวทีอภิปราย, งานอีเวนต์สำหรับผู้นำในอนาคต, การค้นคว้าวิจัย และอีเวนต์ทางด้านอาชีพ

 นอกจาก คาริณ โลหิตนาวี แล้ว คณะกรรมการรุ่นก่อตั้งของ PRCA ประเทศไทย ยังรวมไปถึง บริษัท Moonshot Digital โดย จักรพงษ์ คงมาลัย ในฐานะ รองประธาน, บริษัท Vero โดย ภัทร์นีธิ์ จีริผาบ ในตำแหน่งเลขาธิการ, บริษัท MSL โดย วรศิษย์ ตุรงค์สมบูรณ์ ในตำแหน่งเหรัญญิก, บริษัท Hill+Knowlton Strategies โดย วชิรภรณ์ พรพิทยาเลิศ ในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ และบริษัท Vero โดย Brian Griffin ในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายการสื่อสาร และนอกจากนี้ยังมีหัวหน้าทีมประสานงานวิชาการได้แก่ วรศิษย์ ตุรงค์สมบูรณ์ จาก MSL พร้อมด้วยคุณเสรี ศิรินพวงศากร และ สุวิมล เดชอาคม จาก ABM Connect

 ***

จากการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลสำหรับปี 2562 (World Digital Competitiveness Ranking)

Page 3 of 4
X

Right Click

No right click