นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดงานสัมมนา “สู่เป้าหมายการเติบโตอย่างยั่งยืนด้วย Big Data สำหรับอุตสาหกรรมประกันภัย” เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องสุขุมวิท 1-3 ชั้น 3 โรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ ในโอกาสนี้ เลขาธิการ คปภ. ได้กล่าวโดยมีใจความที่สำคัญตอนหนึ่งว่า ตามที่ สำนักงาน คปภ. ได้จัดทำระบบฐานข้อมูลการประกันภัย (Insurance Bureau System: IBS) ขึ้น โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากสมาคมประกันวินาศภัยไทย และบริษัทประกันวินาศภัย ในการร่วมกันพัฒนาฐานข้อมูลประกันวินาศภัยให้มีความสมบูรณ์ ตลอดจนมีความร่วมมือระหว่างกันในการนำข้อมูลด้านประกันภัยต่าง ๆ ภายในระบบฐานข้อมูลการประกันภัยมาประมวลและวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ ซึ่งระบบ IBS จัดทำขึ้นจากการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการประกันภัยเพื่อเป็นฐานข้อมูล Big Data ของอุตสาหกรรมประกันภัย เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และยกระดับการดำเนินธุรกิจประกันภัยให้สามารถบริการประชาชนได้ดียิ่งขึ้น และจากความร่วมมืออย่างต่อเนื่องระหว่างสำนักงานคปภ. สมาคมประกันวินาศภัยไทย และบริษัทประกันวินาศภัยทุกแห่ง จึงประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง ส่งผลให้ฐานข้อมูลประกันวินาศภัย หรือ Non-Life Insurance Bureau System (Non-Life IBS) มีความครบถ้วนสมบูรณ์และมีคุณภาพ ทำให้สามารถนำข้อมูลมาใช้งานได้จริงอย่างเป็นรูปธรรมก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อภาครัฐ ภาคธุรกิจประกันภัย และประชาชน ในการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลด้านประกันภัยที่มีความครบถ้วน ถูกต้อง สมบูรณ์ และมีคุณภาพ

เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่า สำนักงาน คปภ. มีนโยบายในการส่งเสริมการพัฒนาฐานข้อมูลการทำประกันภัยกลางของประเทศ ที่ครอบคลุมข้อมูลในทุกมิติเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ทั้งในด้านการกำกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัยให้มีความมั่นคง แข็งแรง ให้เป็นหนึ่งในเสาหลักระบบเศรษฐกิจของประเทศเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการให้บริการดูแลสังคมและประชาชน ตลอดจนเพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาและการขยายธุรกิจ โดยสำนักงาน คปภ. ได้กำหนดกลยุทธ์หลักใน 4 ด้าน ประกอบด้วย 1. การนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์เชิงสถิติ เพื่อประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน เช่น การกำหนดแผนและกลยุทธ์องค์กร การบริหารความเสี่ยงภัยในการรับประกันภัย การบริหารต้นทุนในการดำเนินงาน การบริหารด้านสินไหมทดแทน การวิจัยในด้านต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งการวิเคราะห์ความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นข้อมูลสำคัญในการประเมินความเสี่ยงและการกำหนดนโยบายทั้งในส่วนของสำนักงาน คปภ. และบริษัทประกันวินาศภัย 2. การนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยเพื่อสนับสนุนการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมในการรับความเสี่ยงภัยของผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท การคำนวณต้นทุนความเสียหายของความเสี่ยงแต่ละประเภท การประเมินความมั่นคงทางการเงิน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถกำหนดเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมกับความเสี่ยงภัยเกิดความเป็นธรรมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เอาประกันภัยอย่างแท้จริง 3. การนำข้อมูลไปใช้ในการตรวจสอบในด้านต่าง ๆ เพื่อสร้างการบริการที่ดีและมีประสิทธิภาพให้กับประชาชน โดยการตรวจสอบการทำประกันภัยอย่างเป็นระบบเพื่อการให้บริการที่รวดเร็ว รวมถึงการตรวจสอบการฉ้อฉลประกันภัยที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้เกิดความระมัดระวังในการพิจารณารับประกันภัย การจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่ไม่เหมาะสม อันจะเป็นการรักษาระบบประกันภัยให้มีความยั่งยืน และ 4. การนำข้อมูลไปใช้เพื่อการวิเคราะห์เชิงลึก เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาและขยายธุรกิจประกันวินาศภัยในอนาคต เช่น การวิจัยด้านการสร้างช่องทางการตลาดประกันภัยใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ประกันภัยผ่านช่องทางการขายที่เหมาะสม การพัฒนากฎเกณฑ์ในการนำเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย การพิจารณารับประกันภัย หรือการจ่ายค่าสินไหมทดแทน โดยการนำเอาระบบ Generative AI เข้ามาช่วยเพื่อการให้บริการที่เป็นมาตรฐาน สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย และการให้บริการที่รวดเร็ว การพัฒนาต่อยอดการวิเคราะห์ความเสี่ยง เพื่อรองรับความเสี่ยงในรูปแบบใหม่ ๆ จากสภาวะโลกแปรปรวน การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เป็นต้น

 

“ระบบ Non-Life Insurance Bureau System จะช่วยการสร้างความไว้วางใจและความโปร่งใสในการดำเนินงาน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าระบบนี้จะช่วยให้บริษัทประกันภัยสามารถจัดการข้อมูล ประเมินความเสี่ยง และปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น และงานสัมมนาในครั้งนี้จะเป็นก้าวแรกที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาการนำฐานข้อมูลในระบบ Non-Life Insurance Bureau System ไปใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาและขยายธุรกิจ เพื่อการให้บริการที่ดีต่อประชาชนและสังคมต่อไป” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

 

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) เปิดเผยว่าในการประชุมคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คณะกรรมการ คปภ.) ครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2567 คณะกรรมการ คปภ. มีมติเห็นชอบตามที่สำนักงาน คปภ. เสนอให้แต่งตั้งรองเลขาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป ดังนี้

  1. นายอาภากร ปานเลิศ ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ ด้านกำกับ เพื่อทดแทนตำแหน่งเดิมที่ว่างลง ทั้งนี้ นายอาภากร ปานเลิศ เคยดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย ก่อนที่จะได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ ด้านกำกับ
  2. นางสาวชญานิน เกิดผลงาม ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ ด้านส่งเสริมและพัฒนา ทั้งนี้ นางสาวชญานิน เกิดผลงาม เคยดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขาธิการ สายพัฒนามาตรฐานการกำกับ ก่อนที่จะได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ ด้านส่งเสริมและพัฒนา
  3. นางมยุรินทร์ สุทธิรัตนพันธ์ ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ทั้งนี้ นางมยุรินทร์ สุทธิรัตนพันธ์ เคยดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกลยุทธ์องค์กร ก่อนที่จะได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ

พร้อมใจเปิดโครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลเกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัย

นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ในฐานะหนึ่งในคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนที่เป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก จึงได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานภาคีเครือข่ายรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวมาอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2567 ได้ลงพื้นที่ ณ จุดตรวจเยี่ยมหน้าสถานีตำรวจภูธรกำแพงแสน ตำบลทุ่งกระพังโหม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยมี นางสาวอโรชา นันทมนตรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ให้การต้อนรับ พร้อมด้วยนางจันทิมา มีโส ผู้อำนวยการภาค สำนักงาน คปภ. ภาค 7 (นครปฐม) ผู้อำนวยการสำนักงาน คปภ. จังหวัดในสังกัด เจ้าหน้าที่ อาสาสมัครประกันภัยจังหวัดนครปฐม และหัวหน้าส่วนราชการ ในการนี้ เลขาธิการ คปภ. ได้มอบน้ำดื่ม และเครื่องอุปโภค-บริโภคสนับสนุนให้จุดตรวจเพื่อเป็นขวัญและกำลังให้กับเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจ เพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567 ในจังหวัดนครปฐม

สำนักงาน คปภ. ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชนด้านการประกันภัยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยเฉพาะช่วงระหว่างวันที่ 11 เมษายน 2567 - วันที่ 17 เมษายน 2567 ซึ่งเป็นช่วงวันหยุดยาวที่จะมีประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาท่องเที่ยวและจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองเป็นจำนวนมาก อาจจะมีความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินจากอุบัติเหตุ   สูงกว่าช่วงปกติ โดยได้เปิดศูนย์บริการสายด่วน คปภ. 1186 และ LINE @OICConnect อย่างครบวงจร ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงตลอด 7 วันอันตรายในช่วงเทศกาลสงกรานต์

ตรวจสอบความคุ้มครองหลังซื้อได้ทันที (Realtime) พร้อมเชิญชวนทำประกันภัย พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ระยะยาว 3 ถึง 5 ปี ลดเบี้ยประกันภัยและลดปัญหาประกันภัย พ.ร.บ. ขาดต่ออายุ

Page 1 of 27
X

Right Click

No right click