DPU มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยชั้นนำ ร่วมกับ TikTok Shop แพลตฟอร์มยอดฮิต จัดเวิร์คชอปให้ GEN Z สร้างความเข้าใจธุรกิจ รู้ช่องทางสร้างเงินบน TikTok เจาะลึกการเรียนรู้เทรนด์การตลาดยุคใหม่ นำความรู้โลกธุรกิจสู่การลงมือทำ คิกออฟเส้นการเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์สู่เส้นทางการสร้างรายได้

นางสาวเกล็ดทราย อินทรพล ผู้อำนวยการสายงานการตลาดและประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เปิดเผยว่า DPU มุ่งเน้นการสร้างทักษะใหม่ ๆ ที่ก้าวทันเทรนด์โลกให้กับนักศึกษาอยู่ตลอดเวลา โดยหนึ่งในภารกิจหลัก คือ การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Skills) และพัฒนาความรู้ความสามารถที่ทันสมัยให้กับนักศึกษา ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด DPU ร่วมกับ TikTok Shop จัดกิจกรรม ภายใต้ชื่อ ‘DPU x TikTok Shop ปั้น Shoppertainment ชี้ช่องทางสร้างเงินสายคอนเทนต์ครีเอเตอร์’ โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจาก TikTok Shop ร่วมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ‘เทคนิคการทำคอนเทนต์ติดตะกร้า สร้างยอดขายให้ปังบน TikTok’ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำธุรกิจและการตลาดบนโลกออนไลน์ในปัจจุบัน โดยจุดประสงค์ของการจัดกิจกรรมครั้งนี้เพื่อสร้างทักษะ และ แรงบันดาลใจให้นักศึกษา DPU ไปสู่การเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่โดดเด่น สามารถสร้างรายได้บนแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ในอนาคต

กิจกรรมดังกล่าวเกิดขึ้น เนื่องจาก DPU เห็นถึงความสำคัญของแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยเฉพาะแพลตฟอร์ม TikTok ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก และกำลังมาแรงในกลุ่ม GEN Z เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถนำมาต่อยอดในการสร้างรายได้ โดยเฉพาะ Affiliate marketing รวมถึงการสร้างแบรนด์ผ่านคอนเทนท์บนแพลตฟอร์ม TikTok

“DPU ให้ความสำคัญกับการมอบประสบการณ์และพัฒนาทักษะนักศึกษามาอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมที่ทำร่วมกับ TikTok ในครั้งนี้ นักศึกษาจะมองเห็นภาพของธุรกิจผ่านการลงมือทำ ได้เรียนรู้เทคนิคการสร้างรายได้ และเพิ่มยอดขายให้ประสบความสำเร็จบนแพลตฟอร์ม TikTok ในขณะเดียวกันก็เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างนักศึกษาซึ่งเป็น User กลุ่มคนรุ่นใหม่ กับ TikTok Shop และยังถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่าง DPU กับ TikTok เพื่อต่อยอดและพัฒนาโครงการดี ๆ ร่วมกันในอนาคต” นางสาวเกล็ดทราย กล่าว

นางสาวกรณิการ์ นิวัติศัยวงศ์ ห้วหน้าฝ่าย เอฟเอ็มซีจี ธุรกิจ อีคอมเมิร์ซ ติ๊กต็อก ช็อป ประเทศไทย กล่าวว่า TikTok Shop รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มาแบ่งปันองค์ความรู้และทักษะเชิงดิจิทัลให้กับนักศึกษาซึ่งถือเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จะกลายเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคตอันใกล้นี้ เราเล็งเห็นว่าตลาดแรงงานในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตทุกด้านรวมไปถึงการทำงาน เกิดอาชีพใหม่ ๆ ที่สามารถสร้างรายได้ ทำให้เข้าถึงโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ง่ายขึ้น TikTok ในฐานะแพลตฟอร์มเต็มเปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และความบันเทิง เรามุ่งมั่นที่จะปลดล็อคโอกาสดังกล่าวให้กับทุกคนโดยไม่มีข้อจำกัดทั้งในเรื่องอายุ เพศ และการศึกษา เพียงแค่มีความตั้งใจในการนำเสนอเรื่องราว สินค้า หรือ บริการ ที่โดนใจผู้ชมก็สามารถได้รับการมองเห็นและสร้างรายได้บนแพลตฟอร์มเราได้ TikTok Shop หวังว่าการมาแบ่งปันความรู้ในครั้งนี้จะช่วยจุดประกายแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษาและคนรุ่นใหม่ในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ดี ๆ ให้กับสังคมไทย ตลอดจนนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดความสำเร็จในอนาคต

สำหรับบรรยากาศงานเต็มไปด้วยความคึกคักจากนักศึกษากว่า 100 คนที่เข้าฟังการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การทำคอนเทนต์ โดยวิทยากกรจาก TikTok Shop Creator ซึ่งมีเนื้อหาน่าสนใจ ได้แก่ การสร้างคอนเทนต์ Short Clip ให้โดนใจคนดู, การเล่าเรื่อง Storytelling, กฎและนโยบายการทำคอนเทนต์บน TikTok และ How to การติดตะกร้าในคอนเทนต์บน TikTok นอกจากการบรรยายเนื้อหาที่น่าสนใจแล้ว ยังมีกิจกรรมเวิร์กช็อปให้นักศึกษาได้นำความรู้มาต่อยอด สร้างสรรค์คอนเทนต์และโพสต์เผยแพร่คอนเทนต์บนแพลตฟอร์ม TikTok

ทั้งนี้ จากเทรนด์การตลาดบนโลกออนไลน์ที่มาแรงในปัจจุบัน TikTok เป็นทั้งช่องทางการแสดงตัวตนและสร้างโอกาสให้กับหลายคนได้แจ้งเกิด หนึ่งในนั้นคือ นางสาวอัญชิการ์ กุมาร อโรร่า นักศึกษาปีที่ 3 หลักสูตรสื่อดิจิทัลและการสร้างสรรค์ (DCM) คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ คนรุ่นใหม่ที่ทำให้เห็นว่า ใคร ๆ ก็เป็นครีเอเตอร์ได้ ขอแค่มีความตั้งใจ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ก็สามารถต่อยอดเป็นช่องทางหารายได้เป็นหลักหมื่นหลักแสนต่อเดือนได้

“เริ่มต้นเปิดช่อง Jennyarora10 ใน TikTok ตั้งแต่ช่วงโควิด โดยทำคลิปคอนเทนต์ไลฟ์สไตล์ตามที่ตัวเองชอบ ลงมือทำเองทั้งในส่วนของการเขียนสคริปต์ ตัดต่อ แล้วก็โพสต์บนแพลตฟอร์ม TikTok อย่างต่อเนื่อง เนื้อหาที่เรียนในคลาสและกิจกรรมที่ DPU จัด ยิ่งทำให้เราสามารถทำคอนเทนต์ได้ดี ตรงใจคนดูมากขึ้น ตอนนี้มีผู้ติดตามถึง 3.1 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นเด็กและวัยรุ่น ทำให้สามารถสร้างรายได้จากการรีวิวสินค้าและผลิตคอนเทนต์ ประมาณ 15,000-60,000 บาทต่อเดือน นับว่าเป็นโอกาสหาเงินสำหรับเป็นค่าเรียนของตัวเองโดยที่ไม่ต้องรบกวนพ่อแม่” นางสาวอัญชิการ์ กล่าว

สำหรับกิจกรรม “DPU x TikTok Shop ปั้น Shoppertainment ชี้ช่องทางสร้างเงินสายคอนเทนต์ครีเอเตอร์” ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในกิจกรรมส่งเสริมทักษะที่สำคัญในยุคดิจิทัลที่ DPU ให้ความสำคัญและจัดให้นักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ติดตามกิจกรรมต่าง ๆ ของ DPU มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ที่ Facebook : @dpu.ac.th

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) จัดมหกรรมงาน DPU Wonder Fest @ คลองประปา มหัศจรรย์ Wonder ทางการเรียนรู้ยกขบวนความบันเทิงแบบจัดเต็ม ทั้งแสง สี เสียง พร้อมหมอลำคณะ “ระเบียบวาทะศิลป์” เต็มวง! ความบันเทิงผ่าน Soft Power ที่กำลังโด่งดังที่สุดในเวลานี้ ผสมผสานในงานด้วยมนต์เสน่ห์งานวัดไทย กับมหกรรมงานแสดงผลงานทางวิชาการแบบครบวงจร เพื่อเปิดโลกการศึกษายุคใหม่แนะแนวการเรียนให้กับน้องๆ มัธยมศึกษาที่กำลังค้นหาเส้นทางมุ่งสู่อนาคต เสริมด้วยกิจกรรมสำหรับ GEN Z ที่สนใจเรื่อง “Future Education is NOW : การเรียนสมัยใหม่ เด็กไทยควรอยู่ตรงไหน?” รวมถึงความสนุกสนานแบบสร้างสรรค์ โดยมี ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมคณะผู้บริหารร่วมในพิธีเปิด ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เมื่อเร็วๆ นี้ที่ผ่านมา

ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) กล่าวว่า DPU มีความภูมิใจที่ได้จัดมหกรรมงาน “DPU Wonder Fest @ คลองประปา” ขึ้นมาโดยมีงานทั้งด้านวิชาการและความบันเทิง ส่วนไฮไลต์ของงานเป็นการแสดงจากหมอลำมหาชน “ระเบียบวาทะศิลป์” หมอลำที่กำลังเป็นกระแสและดังที่สุดแห่งยุค ซึ่งเป็นหนึ่งใน Soft Power ของไทยบนเวทีโลก และทางผู้บริหารวงยังเป็นอนุกรรมการ Soft Power ด้านดนตรีแห่งชาติอีกด้วย

งานนี้เป็นการรวม Wonder Edutainment นำเสนอความอัศจรรย์ของโลกการเรียนรู้ที่ DPU อยากให้ทุกคนเข้าใจว่าการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นภายในห้องเรียนและไม่จำเป็นต้องอยู่ในตำราเสมอไป แต่ยังเกิดขึ้นกับทุกโปรเจกต์ ทุกไอเดีย ทุกฝีมือการผลิตสินค้าต้นแบบที่อัดแน่นไปด้วยประสบการณ์ ความสุข ความสนุก ความคิดสร้างสรรค์

“การจัดงานทุกปี จะมีทั้งด้านวิชาการและด้านบันเทิง ที่ผ่านมาจะมีการจัดคอนเสิร์ตให้กับน้อง ๆ แต่ปีนี้เราอยากทำพิเศษทีมงานก็เสนอจัดเป็นการแสดงหมอลำและได้สอบถามนักศึกษาส่วนใหญ่ก็มีความเห็นสอดคล้องกัน ถือเป็นมิติใหม่ของมหาวิทยาลัย ครั้งแรกที่มีหมอลำวงใหญ่ระดับประเทศ “ระเบียบวาทะศิลป์” โปรดักชันอลังการมาจัดแสดงที่DPUจึงคิดว่าเราจัดให้นักศึกษาเข้าชมอย่างเดียวไม่ได้แล้ว ต้องเชิญศิษย์เก่า บุคลากรและครอบครัว รวมถึงประชาชนทั่วไปเข้ามาร่วมงานด้วย

กระแสตอบรับดีมากคนลงทะเบียนเข้าร่วมงานเกือบหมื่นคน ถือว่าปีนี้ประสบความสำเร็จมาก ที่สำคัญนักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง เช่น เรื่องของโปรดักชันที่อลังการ ซึ่งถือเป็นนโยบายของ DPU ในการฝึกนักศึกษาด้านกิจกรรม ในรายวิชาทุกสาขาของ DPU จะเน้นเรื่องการทำโปรเจกต์ การประเมินผลงานนักศึกษาก็ไม่ได้ประเมินแค่วิชาการอย่างเดียว เราประเมินด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การทำงานร่วมกันเป็นทีม เป็นต้น ดีใจที่งานออกมาดี กระแสตอบรับดี คนแน่นตั้งแต่ช่วงเช้า ถือว่าการจัดงานประสบความสำเร็จมาก ๆ” ดร.ดาริกา กล่าว

ดร.ดาริกา กล่าวในตอนท้ายว่า งานครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ทาง DPU เน้นเรื่องการเรียนและการมีความสุขไปกับการเรียนด้วย  เราพยายามที่จะจัดงานวิชาการควบคู่ไปกับงาน Entertain ตลอดเวลา เพราะมันคือ DNA ของ DPU ซึ่งงานนี้อยากนำเสนอให้กับนักเรียน นักศึกษา รวมถึงพี่น้องชาว DPU ทุกคน มั่นใจได้เลยว่านักศึกษาที่จบจากที่นี่ ทำงานได้จริง อดทน สู้งาน ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ต่างเป็นเสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการที่กลับมายังมหาวิทยาลัย

ด้าน พ่อเอ๊ะ-นายภักดี พลล้ำ ผู้นำทีมงาน “ระเบียบวาทะศิลป์” และในฐานะอนุกรรมการ Soft Power ด้านดนตรีแห่งชาติ กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่คนรุ่นใหม่หันมาสนใจหมอลำซึ่งเป็นศิลปวัฒนธรรม การแสดงพื้นบ้านอีสาน โดยมีสมัครเข้ามาเป็นหมอลำจำนวนมาก

สำหรับการแสดงบนเวที ปัจจุบันเราก็ปรับการสื่อสาร สัดส่วนของการแสดง ให้เข้ากับความสนใจ ของเด็กวัยรุ่น คนรุ่นใหม่ ผสมผสานกับคนรุ่นเก่าด้วย เพื่อให้ได้ความสนุกสนาน ไปพร้อม ๆ กัน รู้สึกดีใจที่หมอลำในวันนี้สามารถทำให้คนทุกภาคมารวมกันหน้าเวทีได้ มาดูหมอลำจะได้ทั้งความบันเทิง ความสนุกสนานจากการแสดงบนเวที เห็นความสวยงามของศิลปวัฒนธรรม การแต่งกาย ความเป็นไทย ในฐานะที่เป็นอนุกรรมการ Soft Power ด้านดนตรีแห่งชาติ อนาคตก็อยากจะผลักดัน หมอลำให้เป็น Soft Power ที่รู้จักของชาวต่างชาติ ให้เขาหันมาสนใจศิลปวัฒนธรรมไทยมากขึ้น

ฝึกทักษะ - แนวคิดการสร้างนวัตกรรมธุรกิจใส่ใจสิ่งแวดล้อม ตั้งเป้าปั้นบัณฑิตตอบโจทย์เทรนด์โลกธุรกิจเพื่อความยั่งยืน

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) โดยฝ่ายนวัตกรรมหลักสูตรและการสอน สายงานวิชาการ เปิดเวทีให้นักศึกษา เรียนรู้ประสบการณ์จริง จัดโครงการ DPU Hackathon  ประจำปีการศึกษา 2566 ภายใต้แนวคิด Carbon Hero” ครั้งที่ 4  มีนักศึกษาสมัครเข้าร่วมโครงการ 18 ทีม โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู รองอธิการบดีสายงานวิชาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน และวิทยากรพิเศษ “สรัญธรณ์ สุนทรโอฬารรัตน์” ศิษย์เก่า DPU และ CEO กระเป๋าแบรนด์ Ally Bag มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการสร้างธุรกิจจากสิ่งที่ชอบในหัวข้อ “ประสบการณ์ตัวแม่กับธุรกิจตัวโฮ่ง” และ อติยา อาวัชนาการ จากทีม Sustainability Management บริษัท พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน)  ณ ห้องประชุมสนม สุทธิพิทักษ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU)

ผศ.ไพรินทร์ ชลไพศาล ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ในฐานะหัวหน้าโครงการ DPU Hackathon กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้ว่า DPU มุ่งมั่นในการจัดการเรียนการสอนส่งเสริมให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์จริง และเป็นการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา การคิดเชิงวิเคราะห์ การทำงานเป็นทีม การนำเสนอ การคิดเชิงสร้างสรรค์ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และการเป็นผู้ประกอบการ โครงการ DPU Hackathon  เป็นอีกหนึ่งเวทีที่ช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้จากวิทยากรที่มาร่วมถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์จริง

จากเทรนด์ของโลกรวมถึงประเทศไทยที่กำลังเปลี่ยนไปสู่องค์กรธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน (Low Carbon and Sustainable Business) ทางมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในฐานะสถาบันการศึกษาซึ่งมีหน้าที่ในการสร้างบัณฑิตให้เป็นบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีศักยภาพ และสามารถก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก โจทย์สำหรับโครงการ DPU Hackathon ปี 4 จึงจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Carbon Hero” โดยนักศึกษาทั้ง 18 ทีมต่างนำเสนอโครงงานที่มีแนวคิดในการช่วยลดการปล่อยก๊าซ CO2 สู่ชั้นบรรยากาศ การลดปริมาณขยะ หรือ การนำขยะกลับมา Reuse ให้กลายเป็นสินค้าใหม่แทน รวมถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในรูปแบบที่หลากหลาย อาทิ CARBON GAME ซึ่งจะเป็นเกมที่นอกจากจะได้ความสนุกสนานแล้วยังทำให้ผู้เล่นได้เข้าใจและตระหนักถึงสาเหตุของการเกิดก๊าซเรือนกระจกรวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น และแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ส่วน FOOD’N WASTE การ์ดเกม ที่เกิดจากความคิดที่จะให้คนหันมาสนใจและใส่ใจปัญหาเศษขยะจากอาหารเหลือและถูกทิ้งกันมากขึ้น เพื่อสร้างการตระหนักรู้และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า  หรือ ตู้จำหน่ายลิปสติกรีฟิลอัตโนมัติ ช่วยลดปัญหาขยะ  และ  UNDER SEA BOARD GAME เกมที่จะให้ผู้เล่นได้รับความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศทางทะเลและสัตว์น้ำ พร้อมสร้างความตระหนักรู้ถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล ฯลฯ

สำหรับผู้ชนะเลิศการประชันไอเดียในโครงการ DPU Hackathon ภายใต้แนวคิด “Carbon Hero”  ปีนี้ คือ ทีม Day Dreamers (Shin Shop) ซึ่งได้เสนอแนวคิดในการนำเสื้อผ้าเก่าหรือเศษผ้ามาทำให้เกิดเป็นสินค้าใหม่ ลดการปล่อยก๊าซตคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สู่ชั้นบรรยากาศ

คุณศิริพร วุฒิกุล CEO and Director: Mind2Market Company Limited (BizzUp) หนึ่งในคณะกรรมการตัดสินโครงการนี้ กล่าวว่า  ทีม Day Dreamers ชนะเลิศอันดับ 1 เป็นทีมที่มีความแตกต่างจากทีมอื่น ๆ ในด้านของ Model Business ที่ไม่ใช่แค่การลงไปในภาคสนามเพื่อจะสำรวจตลาดเก็บข้อมูลตัวอย่างจริงจากผู้บริโภคเหมือนทีมอื่น ๆ เท่านั้น แต่ยังสร้างความแตกต่างและตรงกับความต้องการของคณะกรรมการ คือ เป็นทีมเดียวที่มีการเปิด Workshop ให้ผู้บริโภคสามารถนำเสื้อผ้าเก่าของตนเองมาสร้างให้เกิดงาน Craft จนเกิดเป็นสินค้าใหม่ได้จริง

นอกจากนี้ยังเปิดให้บริการหลากหลายไม่ว่าจะเป็นงานปัก การเย็บ การเพ้นท์ การสกรีน สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างงาน Craft ที่หลากหลายรูปแบบ เป็นการพิสูจน์ให้เห็นเป็นรูปธรรมที่สามารถจับต้องได้จริงในการนำเศษผ้า และเสื้อผ้าเก่าไม่ใช้แล้ว มาสร้างให้เป็นสินค้าใหม่ก่อให้เกิดรายได้จริง แทนการทิ้งให้กลายเป็นขยะเหลือใช้ไป

นางสาวกิตติยา พานิชชา นักศึกษาชั้นปี 3 สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) ตัวแทนทีม Day Dreamers กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการทำเรื่องนี้ มาจาก Pain Point เรื่อง Fast Fashion ของเสื้อผ้าที่มีคนจำนวนมากที่ซื้อเสื้อผ้ามาแล้วบางครั้งก็ใส่แป๊บเดียว สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดการสร้างมลพิษ จากการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่มาจากกระบวนการผลิตเสื้อผ้าจำนวนมาก โดยอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1.7 พันล้านตันต่อปี ส่งผลกระทบต่อโลกมาก ทั้งปัญหามลพิษทางอากาศ ปัญหาภัยแล้ง ฯลฯ

ทีมเราจึงอยากมีส่วนช่วยลดปัญหาเรื่องนี้ ด้วยการนำขยะที่มาจากเศษผ้า และเสื้อผ้าเก่า มาทำให้เกิดธุรกิจหมุนเวียนด้วยการเปิดเป็นร้าน Shin Shop เชิญชวนให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามามีส่วนร่วมในการนำเศษผ้า และเสื้อผ้าเก่า มาสร้างสรรค์ให้กลายเป็นงาน Craft  ชิ้นใหม่ เพื่อช่วยลดปริมาณการทิ้งขยะเหลือใช้ และ ลดการปล่อยก๊าซ CO2 ที่เกิดจากการผลิตและทอผ้า อนาคตก็อยากจะเปิดร้าน Shin Shop ขึ้นมาจริง ๆ 

เพิ่มทักษะแต่งหน้าให้กับ นศ. เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์และบุคลิกภาพที่ดีสู่มืออาชีพด้านการบริการ

Page 1 of 9
X

Right Click

No right click