นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่นส์ จำกัด บริษัทวิจัยและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือ บริษัท แอล พี เอ็น ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน) กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า เป็นความร่วมมือในการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ระหว่างกันของสองบริษัท จะมีส่วนช่วยในการพัฒนางานวิจัยและสำรวจตลาดอสังหาริมทรัพย์ของแอล ดับเบิลยู เอส ให้มีความทันสมัยโดยใช้ฐานข้อมูลจากราคาประเมินที่ดินที่เป็นราคาตลาด ทำให้สามารถประเมินราคาที่ดินในแต่ละทำเลได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงเพื่อนำมาใช้เป็นฐานข้อมูลในการวิเคราะห์ภาพรวมตลาดและราคาที่ดินที่เหมาะสมในการลงทุนสำหรับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการงานวิจัยและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทฯ ในขณะที่นายสุเทพ รอดจากภัย ประธานที่ปรึกษาผู้บริหาร บริษัท โปรสเปค แอพเพรซัล จำกัด บริษัทประเมินราคาทรัพย์สินที่มีสาขาและสำนักงานทั่วประเทศ  กล่าวว่าปัจจุบันบริษัท โปรสเปค แอพเพรซัล จำกัด ได้มีการพัฒนานวัตกรรมการประเมินราคาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์ทั่วไป รวมถึงการพัฒนาเครื่องมือและออกแบบแนวทางการประเมินราคาทรัพย์สินให้มีความทันสมัย  ความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลราคาตลาดที่อยู่อาศัยระหว่างโปรสเปค แอพเพรซัล และ    แอล ดับเบิลยู เอสฯ จึงเป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่ข้อมูลวิจัยและองค์ความรู้เกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์สินที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และจะมีการนำข้อมูลมาวิจัยร่วมกันเพื่อพัฒนางานด้านการประเมินราคาทรัพย์สินต่อไป “ความร่วมมือที่เกิดขึ้นจะทำให้ทั้งสองบริษัทได้นำเอาฐานข้อมูลที่มีอยู่มาบูรณาการร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการทำวิจัยและพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในอนาคต” นายสุเทพ กล่าว

ผู้ประกอบการที่สนใจขยายธุรกิจสู่ตลาดการค้าออนไลน์ระดับโลกเข้าร่วมอบรมโครงการ “The Road to Global E-Commerce 2024” ในวันอังคารที่ 26 มีนาคม 2567 เวลา 9.00-16.30 น. EXIM BANK สำนักงานใหญ่

ผู้เข้าอบรมจะได้รับการ “เติมความรู้” Global E-commerce Trends 2024 ชี้โอกาสการค้าขายออนไลน์และการเริ่มต้นธุรกิจส่งออกแบบ B2B และ B2C ช่องทางขยายธุรกิจสู่ตลาดโลกกับ E-commerce Platform ระดับโลก เช่น Alibaba ซึ่งมีจำนวนสมาชิก 305 ล้านคน และ Amazon ร้านค้าปลีกออนไลน์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วยจำนวนลูกค้ากว่า 300 ล้านคนทั่วโลก การจัดการขนส่งสินค้า การบริหารความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศ พร้อมรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อ “เติมโอกาส” ความสำเร็จบนตลาดการค้าออนไลน์ รวมทั้ง “เติมเงินทุน” เพื่อเริ่มต้นธุรกิจส่งออกจาก EXIM BANK

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ EXIM Contact Center โทร. 0 2169 9999 และติดตามข่าวสารของ EXIM BANK ได้ที่ Facebook Fanpage : EXIM Bank of Thailand และ Line Official : @EXIMThailand

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วยคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) นำโดย ดร.พสุ โลหารชุน ประธานกรรมการ EXIM BANK เข้าพบและประชุมกับหน่วยงานพันธมิตรและบริษัทลูกค้าของธนาคารในประเทศญี่ปุ่น เพื่อสานสัมพันธไมตรีและหารือแนวทางการขยายความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่าง ๆ อาทิ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อต่อยอดไปสู่การขยายการค้าการลงทุนไทย-ญี่ปุ่น การจัดหาเงินทุนร่วมกัน (Co-financing) และการให้กู้ยืม (Lending) แก่ผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่นที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะการลงทุนในธุรกิจพลังงานสะอาด ซึ่งถือเป็นเป้าหมายของ EXIM BANK ที่มุ่งสู่บทบาท Green Development Bank โดยมีนายชิน โฮซากะ ปลัดกระทรวงเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม (METI) ประเทศญี่ปุ่น นายมาเอดะ ทาดาชิ ประธานกรรมการธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) และนายอัตสึโอะ คุโรดะ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร องค์กรรับประกันแห่งประเทศญี่ปุ่น (NEXI) ให้การต้อนรับ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเร็ว ๆ นี้

ในโอกาสนี้ ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ได้นำเสนอทิศทางการดำเนินงานและเป้าหมายของ EXIM BANK สู่บทบาท Green Development Bank พร้อมแนวทางขยายความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการค้าและการลงทุนไทย-ญี่ปุ่น ขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามเป้าหมายของประเทศไทยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) โดยมุ่งเน้นแนวทางสร้าง End-to-End Supply Chain สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและการผลิตรถยนต์ เพื่อบริหารจัดการกับยานพาหนะที่หมดอายุการใช้งานแล้วในประเทศไทยต่อไป และแลกเปลี่ยนข้อมูลนโยบาย Soft Power ซึ่งญี่ปุ่นใช้ตัวการ์ตูนมังงะและเกมเป็นส่วนหนึ่งในการดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าประเทศ ขณะที่รัฐบาลไทยมุ่งสนับสนุนการใช้ Soft Power เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

ชวนร่วมประกวดถ่ายภาพบ้าน 4 โครงการใหม่ ในคอนเซ็ปต์ “สวยอยู่ได้” ลุ้นรางวัลกว่า 240,000 บาท

จับมือพันธมิตรเสริมแกร่งทักษะ ‘ภาษา-บิสิเนส’ กุญแจสู่ความสำเร็จในอาชีพ

ชูเรทติ้ง A+ พร้อมเสนอขายประชาชนทั่วไป วันที่ 22 และ 25-26 มีนาคม 2567

บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย เดินหน้าขยายธุรกิจ บุกตลาดองค์กรขนาดกลางและใหญ่ในประเทศไทย มุ่งต่อยอดความเชี่ยวชาญด้านประกันภัย เครือข่ายธุรกิจ และความแข็งแกร่งของสถานะการเงินระดับโลก มั่นใจเติบโตแบบก้าวกระโดด 20% ภายในสิ้นปี 2567 นี้

มร.ลาร์ส  ไฮบุทสกี้ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย กล่าวว่า ปี 2566 ที่ผ่านมา ถือเป็นปีที่บริษัทเติบโตได้เป็นอย่างดี โดยภาพรวม เติบโตเร็วกว่าตลาดถึงสองเท่า สำหรับปีนี้ หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญ คือ ขยายธุรกิจประกันภัยองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับกับความเสี่ยงขององค์กรขนาดใหญ่ ทั้งจากเหตุการณ์ที่ทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก ความเสี่ยงด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความเสี่ยงด้านไซเบอร์ หรือ เทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงอันดับต้นของประเทศไทย จากผลสำรวจ Risk Barometer ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปี วันนี้ จึงได้มีการเปิดตัว Allianz Commercial ซึ่งเป็นหน่วยธุรกิจดูแลลูกค้าองค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่ภายใต้ อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย ทั้งยังได้รับการสนับสนุน ด้านองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ เครือข่ายของกลุ่มอลิอันซ์ ที่มีในกว่า 70 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งความแข็งแกร่งทางการเงิน เพื่อขับเคลื่อนการเติบโต และสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นองค์กรข้ามชาติ มีธุรกิจในหลายประเทศ หรือ มีลักษณะธุรกิจที่พิเศษ ต้องใช้ความรู้เฉพาะทางด้านการพิจารณาประกันภัย เพื่อดูแลความเสี่ยง

มร.คริสเตียน แซนดริก ผู้อำนวยการบริหารภูมิภาคเอเชีย Allianz Commercial กล่าวเสริมว่า แผนการเติบโตในไทย สอดคล้องกับการขยายธุรกิจอย่างแข็งแกร่งทั่วภูมิภาคเอเชีย ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญของอลิอันซ์ ที่เราจะสามารถใช้ความเชี่ยวชาญด้านประกันภัยในการนำเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าองค์กรได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น ความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตต่อเนื่อง ในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจและการค้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กอปรกับความพร้อมของโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ทำให้ประเทศไทยเป็นตลาดที่น่าดึงดูดในแง่ของการพัฒนาเศรษฐกิจ  

สำหรับในประเทศไทย การดำเนินงานของธุรกิจองค์กร นำโดย นางเดือนฉาย โกศลเมธากุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานลูกค้าองค์กร ซึ่งจะเน้นขยายธุรกิจผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่

  • ผลิตภัณฑ์ประกันภัยสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่ครบวงจร หลากหลายสำหรับทุกธุรกิจ
  • ต่อยอดความเชี่ยวชาญและเครือข่ายระดับโลกของอลิอันซ์ ที่จะทำให้อลิอันซ์ อยุธยา กลายเป็นศูนย์กลางของการให้บริการประกันภัยในเอเชีย สำหรับบริษัทข้ามชาติที่ดำเนินธุรกิจในเอเชีย
  • โซลูชั่นประกันภัยที่ตอบโจทย์ทุกช่องทางการขาย ไม่ว่าจะช่องทางตัวแทน โบรกเกอร์ ช่องทางพันธมิตร และช่องทางขายตรง รวมทั้งการรับประกันภัยต่อ

สำหรับกลุ่มความเสี่ยงที่ อลิอันซ์ อยุธยา ให้ความสนใจ มี 5 กลุ่ม ด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มประกันภัยสินทรัพย์ (Property) โดยมุ่งเน้นไปที่บริษัทข้ามชาติที่มีสำนักงานใหญ่ในประเทศไทยและมีเครือข่ายธุรกิจในประเทศอื่นๆทั่วโลก ที่มองหาความคุ้มครองที่ครอบคลุมจากบริษัทเดียวที่มีศักยภาพรอบด้าน กลุ่มธุรกิจก่อสร้าง (Engineer) ที่ดำเนินโครงการสาธารณูปโภคต่างๆ โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ มีมูลค่าสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจก่อสร้างด้านพลังงานหมุนเวียนและโรงงานไฟฟ้า กลุ่มประกันความรับผิดชอบ (Liability) เช่น สินค้าส่งออก ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่สาม ความเสียหายของสินค้าในการดำเนินธุรกิจ กลุ่มธุรกิจที่อาศัยความเชี่ยวชาญพิเศษ เช่น ธุรกิจบันเทิง (Specialty eg entertainment) เช่น การจัดคอนเสิร์ตการแสดงขนาดใหญ่ระดับชาติ และ กลุ่มธุรกิจเดินเรือและการขนส่งทางทะเล (Marine) ทั้งเพื่อธุรกิจส่งออกและนำเข้า รวมถึงเรือยอร์ชและเรือเพื่อการท่องเที่ยวด้วย

“เราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า การขับเคลื่อนที่มุ่งการประกันภัยสู่องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ครั้งนี้ จะช่วยสนับสนุนการเติบโตแบบก้าวกระโดดให้กับ อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัยได้เป็นอย่างดี ด้วยการสนับสนุนจากกลุ่มอลิอันซ์ และความมั่นคงแข็งแกร่ง ในฐานะบริษัทประกันภัยระดับโลก เชื่อมั่นว่า จะสามารถเติบโตพอร์ทธุรกิจองค์กรได้ 20%” มร.ลาร์ส ไฮบุทสกี้ กล่าวสรุป

ตอกย้ำความเป็นแบรนด์อสังหาฯ อันดับ 1 ที่คนรุ่นใหม่อยากร่วมงานมากที่สุด

X

Right Click

No right click