FWD ประกันชีวิต เปิดโมเดลต้นแบบโครงการพัฒนาชุมชนกับชุมชนลาหู่ ดอยปู่หมื่น อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่

นายชนะ ภูมี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การบริหารความยั่งยืน เอสซีจี นายวรการ พงษ์ศิริกุล Cement  Plant Director บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พร้อมด้วยนายอนุชาติ สุปัญญา ผู้อำนวยการส่วนจัดการป่าชุมชน สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 (ลำปาง) ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรจังหวัดลำปาง สมาคมเพื่อการเรียนรู้ป่าชุมชน จ.ลำปาง และคณะกรรมการจัดการป่าชุมชน 5 พื้นที่ ได้แก่ ป่าชุมชนบ้านหาดปู่ด้าย, ป่าชุมชนบ้านขอใต้, ป่าชุมชนบ้านแม่เชียงรายลุ่ม, ป่าชุมชนบ้านร่องเคาะและป่าชุมชนบ้านสบลืน ได้ร่วมมือทำบันทึกข้อตกลงอนุรักษ์ บำรุง และปลูกเสริมป่าชุมชนอย่างยั่งยืนบนพื้นที่ป่าชุมชนจำนวน 3,000 ไร่ ณ ชุมชนบ้านขอใต้ จังหวัดลำปาง

นายชนะ ภูมี กล่าวว่า “เอสซีจีดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลตามแนวทาง ESG 4 plus คือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2050 ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลดความเหลื่อมล้ำ และร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ โครงการอนุรักษ์ บำรุง และปลูกเสริมป่าชุมชนอย่างยั่งยืนนี้ ดำเนินการบนพื้นที่ 3,000 ไร่ ที่เอสซีจี มุ่งหวังให้เป็นโมเดลต้นแบบที่ดำเนินการโดยชุมชนเพื่อประโยชน์ของชุมชน ในการดูแลแหล่งต้นน้ำให้อุดมสมบูรณ์ สร้างอาหาร สร้างรายได้ให้กับชุมชน ตลอดจนเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามธรรมชาติ นอกจากนี้ จะมีการประเมินการกักเก็บคาร์บอนและขึ้นทะเบียนขอคาร์บอนเครดิต เพื่อแหล่งกักเก็บดูดซับคาร์บอน เอสซีจี เชื่อมั่นว่าจะช่วยให้เกิดการปลูก ฟื้นฟูป่าแบบมีส่วนร่วม ต่อยอดแนวทางการปลูกป่าอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปขยายผลในพื้นที่อื่นๆ ได้ต่อไป” 

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), กรุงเทพมหานคร (กทม.), สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, แผนงานคนไทย 4.0, สมาคมโรงแรมไทย และบมจ.ซีพี ออลล์ ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และ เซเว่น เดลิเวอรี่ จัดกิจกรรม BKK Zero Waste ต่อยอดแคมเปญไม่เทรวม เพื่อแสดงพลังองค์กรภาคีทุกภาคส่วนรวมกว่า 100 องค์กรที่ต้องการแก้ปัญหาขยะอย่างยั่งยืนด้วยการจัดการขยะที่ต้นทาง และส่งเสริมให้องค์กร/หน่วยงานและสาธารณชนตระหนักถึงปัญหาขยะและมีส่วนร่วมในการลดการสร้างขยะและคัดแยกขยะที่ต้นทางโดยเรียนรู้ผ่านองค์กรต้นแบบ 

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้เป็นการประกาศเจตนารมณ์ร่วมกับภาคีเครือข่าย ในเฟสที่ 2 ของโครงการไม่เทรวม หรือ BKK ZERO WASTE ซึ่งเป็นการดำเนินการเรื่องการกำจัดขยะในกรุงเทพมหานคร โดยได้รับการสนับสนุนสำคัญจากทางสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่เป็นเหมือนผู้ประสานงานกับกลุ่มภาคีเครือข่าย

“สำหรับเรื่องขยะ ถือเป็นเรื่องใหญ่ของกรุงเทพมหานคร เราใช้งบประมาณจำนวนมากในการดูแลขยะ โดยปีที่แล้วใช้งบประมาณมากถึง 7,000 ล้านบาท เฉพาะการจัดเก็บขยะของกรุงเทพมหานคร และการจ้างเก็บขน ซึ่งถ้าเราสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ก็จะทำให้เรามีงบประมาณไปดูแลในส่วนอื่นๆ ได้มากขึ้น” นายชัชชาติกล่าว

ด้าน ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวว่า ปัญหาขยะมูลฝอยนับเป็นปัญหาเรื้อรังของประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม และการร้องเรียนของประชาชนจากการจัดการขยะมูลฝอยอยู่เสมอ ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID19 ทำให้ขยะติดเชื้อและขยะพลาสติกมีปริมาณเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว โดยขยะมูลฝอยก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและสุขอนามัยของประชาชน ตลอดจนมีการปนเปื้อนของโลหะหนัก/สารพิษลงสู่สิ่งแวดล้อม เกิดการปนเปื้อนของน้ำชะขยะสู่แหล่งดิน/แหล่งน้ำ และเกิดก๊าซมีเทนจากบ่อฝังกลบขยะที่เป็นก๊าซเรือนกระจกและเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญของประเทศ จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า ปี 2564 กรุงเทพมหานครสร้างขยะมูลฝอยสูงถึง 12,214 ตันต่อวัน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18 ของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั้งประเทศ

“สสส. มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร และภาคีเครือข่าย ที่ให้ความสำคัญในการจัดการขยะมูลฝอย โดยการสร้างพื้นที่ต้นแบบการคัดแยกขยะ การต่อยอดการคัดแยกให้สมบูรณ์ครบวงจร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การส่งเสริมให้แหล่งกำเนิดในพื้นที่นำร่องมีระบบลดและคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ด้วยการสนับสนุนและการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและภาคประชาสังคม” ดร.สุปรีดา กล่าวเสริม

ทั้งนี้ นายตรีเทพ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา รองผู้จัดการทั่วไป ส่วนงานยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมและคอนเน็กซ์ อีดี บมจ.ซีพี ออลล์  กล่าวว่า ซีพี ออลล์ ได้ร่วมสนับสนุนองค์ความรู้การจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางโดยใช้วิถี "ต้นกล้าไร้ถัง" ขยายผลมาสู่โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พร้อมร่วมลงนาม MOU สร้างภาคีเครือข่าย "โรงเรียน กทม. ไร้ถัง"ส่งแนวคิด “เปลี่ยนขยะเป็นทรัพย์สิน” สู่เยาวชน-ชุมชน สร้างเครือข่ายจัดการขยะแข็งแกร่งสุดในไทย เมื่อปลายปี 2565 ที่ผ่านมา และเริ่มนำร่องในพื้นที่ 9 เขต จำนวน 24 โรงเรียน และมีแผนขยายผลให้ครบ 437 โรงเรียนสังกัด กทม.ภายในปีการศึกษา 2568 เพื่อปลูกฝังให้เกิดการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางให้กับเยาวชนและชุมชน แก้ปัญหาการจัดการขยะ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่และเป็นวาระสำคัญของประเทศ

“สิ่งสำคัญที่สุดของการแก้ปัญหาระดับชาติ คือการสร้างความร่วมมือ รวมพลังกันแก้ปัญหาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ภาคีของเรามีองค์ความรู้หรือ Knowhow ในการจัดการขยะที่ประสบความสำเร็จอย่างทับสะแกโมเดล มีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะครบวงจร ขณะที่ กทม.เองก็มีนโยบายและวิสัยทัศน์ชัดเจนว่าต้องการให้เกิดการคัดแยกขยะอย่างจริงจังตั้งแต่ต้นทาง รวมถึงมีบุคลากร โรงเรียน ชุมชน ภาคีทุกภาคส่วนรวมกว่า 100 องค์กร ความร่วมมือกันในครั้งนี้ จึงนับเป็นการรวมพลังครั้งสำคัญ เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาขยะอย่างยั่งยืน ตามปณิธานองค์กร ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสต่อกัน”  นายตรีเทพกล่าว

ส่งมอบความสุขให้น้องโรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ

บมจ.กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต ในฐานะผู้นำด้านบริษัทฯ ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม หรือ Green Insurer

ปัจจุบัน ธุรกิจสีเขียว (Green Business) กลายเป็นสิ่งที่ทุกภาคธุรกิจหันมาให้ความสนใจและมุ่งบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่

เล็งต่อยอดการสร้าง Life Long Learning สร้างอาชีพและรายได้ยั่งยืน สู่ “School Enterprise”

บทพิสูจน์ความสำเร็จของการเดินทางสู่ความเป็นเศรษฐีอย่างยั่งยืน ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ตัวแทนภาครัฐและเอกชนประสานเสียงบนเวที Blue Carbon Conference 2022 ชี้ “ชุมชน” คือพลังสำคัญของการปลูกป่าชายเลนอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแหล่งอาหาร แหล่งท่องเที่ยว ลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน และสร้างมั่นคงทางรายได้ให้คนในชุมชน

กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) จัดเสวนาร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่าย ภายใต้โครงการ Dow & Thailand Mangrove Alliance ในงาน Blue Carbon Conference 2022 “คาร์บอนทะเล: หนุนธุรกิจสู่ Net Zero เสริมระบบนิเวศและชุมชน” โดยมีตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ความสำเร็จในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ป่าชายเลนในประเทศไทย

นายขยาย ทองหนูนุ้ย ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 ได้ถ่ายทอดประสบการณ์การปลูกป่าชายเลนที่จังหวัดระนองใน 2 โครงการสำคัญ คือ โครงการปลูกป่าชายเลนเชื่อมมิตรภาพไทย-ญี่ปุ่น เพิ่มศักยภาพชุมชนอนุรักษ์ป่าชายเลน และโครงการพัฒนาชุมชนชายฝั่งจังหวัดระนองให้เข้มแข็งรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยระบุว่า ปัจจุบัน จังหวัดระนองมีพื้นที่ป่าชายเลนสมบูรณ์ 171,737 ไร่ และกำลังเสนอให้ป่าชายเลนระนองเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ สำหรับโครงการแรก ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 6 ร่วมกับ OISCA (Thailand) และองค์กรภาคเอกชนและอาสาสมัครปลูกป่าชาวญี่ปุ่นได้จัดทำโครงการปลูกป่าชายเลน ด้วยการคัดเลือกพื้นที่เข้าโครงการ ซึ่งเป็นที่ป่าชายเลนเสื่อมโทรมหลังสิ้นสุดสัมปทาน เหมืองแร่เก่า บ่อกุ้งเก่า และพื้นที่พิเศษหรือพื้นที่เสื่อมโทรมขั้นวิกฤต มีอาสาสมัครมาทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อปลูกป่าเชิงคุณภาพ สามารถฟื้นฟูป่าชายเลนกว่า 9,000 ไร่ โครงการนี้มีแคมเปญปลูกป่าชายเลนที่น่าสนใจคือ แคมเปญ “Homerun Mangrove หนึ่งโฮมรันปลูกพันต้นโกงกาง” โดยนับยอดโฮมรันที่นาย Nobuhiko Mutsunaka นักเบสบอลชื่อดังทำได้ใน 1 ปี ซึ่งตอนนั้นมีการปลูกป่าโกงกางกว่า 4,000 ต้น 

การมีส่วนร่วมของชุมชนคือวิธีที่ได้ผลดีและยั่งยืนในการปลูกป่าชายเลน เจ้าหน้าที่ภาครัฐต้องเป็นสะพานเชื่อมกับชุมชน โดยปลูกป่าเชิงคุณภาพบนพื้นฐานวิชาการและข้อมูลที่เป็นจริงว่าพื้นที่ใดปลูกได้ พื้นที่ใดปลูกแล้วจะไม่รอด ยิ่งไปกว่านั้นต้องเปลี่ยนการปลูกป่าให้เป็นการสร้างงานและรายได้ให้คนในชุมชน

ส่วนโครงการพัฒนาชุมชนชายฝั่งจังหวัดระนองให้เข้มแข็งรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เน้นทำให้ชุมชนมีองค์ความรู้ สามารถปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด และมีอาชีพมีรายได้ที่มั่นคง โดยมีเป้าหมาย คือ ชุมชนบ้านเกาะคณฑี ชุมชนบ้านเกาะเหลา ชุมชนบ้านเกาะสินไห และชุมชนบ้านฉาง-ท่าต้นสน

“ปัจจุบัน มีทุนที่จะลงไปพัฒนาชุมชนมาก ควรเตรียมความพร้อมชุมชนอย่างเข้มข้น ทำให้เห็นว่าการรวมกลุ่มจะทำให้มีโอกาสมากขึ้น ต้องลดช่องว่างระหว่างภาคนโยบายกับการปฏิบัติให้ได้” นายขยายกล่าวสรุป

นายชัยรัตน์ เอื้อตระกูล นายกเทศมนตรีตำบลปากน้ำประแส จังหวัดระยอง กล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างระบบนิเวศชายฝั่งและความมั่นคงทางอาหาร ว่า หลังจากทุกภาคส่วนได้ช่วยกันปลูกป่าอย่างต่อเนื่องเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่า ชายเลนเสื่อมโทรมที่เกิดจากการทำบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทำให้ตอนนี้พื้นที่ปากน้ำกระแสมีพื้นที่ป่าสมบูรณ์ประมาณ 600 ไร่ โดยมีคนในชุมชนช่วยกันดูแลอย่างเข้มแข็ง เพราะได้รับประโยชน์จากป่าสมบูรณ์ ทั้งการเป็นแหล่งอาหาร มีสัตว์น้ำเยอะกว่าเดิม นำมาเป็นอาหารและขายสร้างรายได้ให้ครอบครัว นอกจากนี้ป่าชายเลนยังเป็นแหล่งพักอาศัยของนกอพยพหายาก มีความหลากหลายทางชีวภาพ และดึงดูดให้คนมาท่องเที่ยวสัมผัสธรรมชาติ ทำให้คนในชุมชนมีรายได้จากการท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง

นายชัยรัตน์ยังกล่าวถึงปัจจัยสำคัญอีกอย่างของความสำเร็จในการอนุรักษ์ป่าชายเลน คือ การสนับสนุนจากภาคเอกชน ซึ่งชุมชนปากน้ำประแสเองได้รับความอนุเคราะห์จากบริษัทเอกชนหลายแห่งมาโดยตลอด และที่สำคัญคือ “ความต่อเนื่อง” ตัวอย่างเช่น กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ที่ได้เข้ามาปลูกป่าและส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนปากน้ำประแสอย่างต่อเนื่องทุกปีเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว รวมทั้ง Dow ยังช่วยสร้างแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ และทำกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น พาสื่อมวลชนมารีวิว และจัดประกวดถ่ายภาพซึ่งทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ความต่อเนื่องจึงเป็นหนึ่งในเคล็ดลับความสำเร็จเพื่อสร้างให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนในการอนุรักษ์

นางสาวมณีวรรณ สันหลี กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิอันดามัน กล่าวถึง ภัยคุกคามต่อระบบนิเวศและท้องทะเลอันดามัน ความท้าทายของระบบนิเวศและชุมชน กรณีศึกษาการจัดการทรัพยากรโดยชุมชนมีส่วนร่วม จังหวัดตรัง ว่าที่ผ่านมาชุมชนชายฝั่งได้รับผลกระทบจากการที่มีปริมาณสัตว์น้ำลดลง เพราะการทำประมงที่ไม่เหมาะสม คนในชุมชนจึงรวมตัวกันจัดทำข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหา มีการแบ่งประเภทป่าชายเลนเป็นประเภทต่างๆ แบ่งพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ใช้สอย และเพื่อใช้กันคลื่นลม

ในจังหวัดตรัง มีการกำหนดพื้นที่อนุรักษ์ 4 หมู่บ้าน เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ห้ามใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายที่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำวัยอ่อนและพะยูน ห้ามตัดไม้โกงกาง และมีการอนุรักษ์พื้นที่หญ้าทะเล ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์น้ำ นอกจากนี้ เครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดตรังมีการประชุมเพื่อติดตามเฝ้าระวังปัญหาในพื้นที่ชายฝั่งด้วย มีการข้อเสนอต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การดำเนินการเหล่านี้ทำให้จำนวนพะยูนและพื้นที่หญ้าทะเลในจังหวัดตรังเพิ่มขึ้น รวมทั้งเกิดกิจกรรมท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนบ้านน้ำราบ ช่วยสร้างงาน และกระจายรายได้ให้คนในชุมชน

ชุมชนชายฝั่งยังคงเผชิญกับภัยคุกคามหลายอย่าง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงมากขึ้น ภาวะน้ำทะเลหนุนสูง คลื่นลมแปรปรวนส่งผลต่อประมงชายฝั่ง ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ปัญหาขยะทะเลบริเวณชายฝั่ง นอกจากนี้ ก็ยังมีปัญหาพื้นที่หญ้าทะเลในเกาะลิบงได้รับความเสียหายจากการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อการทำประมงชายฝั่ง การท่องเที่ยว และการดูดซับและกักเก็บคาร์บอน ขณะเดียวกัน กฎหมายและนโยบายบางอย่างก็ส่งผลกระทบต่อชุมชน เช่น พรบ.สิ่งก่อสร้างล่วงล้ำลำน้ำกระทบต่อชาวบ้านรายได้น้อย พรบ.อุทยานแห่งชาติทำให้ชาวประมงพื้นบ้านไม่สามารถทำประมงนอกพื้นที่ได้ นโยบายทวงคืนพื้นป่าได้ยึดพื้นที่คืนจากชาวประมงพื้นบ้าน เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องการให้ทุกฝ่ายร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยเฉพาะพื้นที่หญ้าทะเล ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำ และต้องการให้ภาครัฐออกนโยบายที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากร เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาต่างๆ

ด้านนายรวี ถาวร นักวิจัยศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (RECOFTC) กล่าวถึง การมีส่วนร่วมและผลประโยชน์ของชุมชนจากการฟื้นฟูป่าชายเลน กรณีศึกษาป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน จังหวัดตราด ว่า ชุมชนบ้านเปร็ดในมีป่า ชายเลน 10,557 ไร่ มีการฟื้นฟูมาตั้งแต่ปี 2530 คนในชุมชนทำสวนผลไม้ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามระบบธรรมชาติ และทำประมงจับหาสัตว์น้ำ ทั้งนี้ ช่วงแรกของการฟื้นฟูป่าชายเลนเป็นการฟื้นฟูตามธรรมชาติ และต่อมาชุมชนเข้าไปช่วยฟื้นฟูโดยได้รับการสนับสนุนจาก RECOFTC และภาคีเอกชน มีการจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์แบ่งพื้นที่ดูแลฟื้นฟูระบบนิเวศ บริหารจัดการเพิ่มจำนวนสัตว์น้ำ เช่น ธนาคารปูดำ และบ้านปลา ปลูกป่าชายเลนเพิ่ม วางแผนการจัดการป่า และร่วมมือกับพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อดูแลปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ให้พื้นที่ป่าชายเลนมีความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น มีปริมาณสัตว์น้ำ พื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น อัตราการพังของชายฝั่งลดลง ช่วยสร้างรายได้เพิ่มให้คนในชุมชน ลดความยากจน และเมื่อคนในชุมชนตระหนักถึงประโยชน์ที่ได้รับก็กลายเป็น Forest Watch คอยดูแลป่าและคอยแจ้งเตือนเมื่อพบเห็นส่งปกติในพื้นที่ป่าเพื่อให้แก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที

ในปี 2554-2556 โครงการ Mangroves for the Future ได้ช่วยขยายพื้นที่ฟื้นฟูสู่เครือข่ายอีก 6 ตำบล ผ่านการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ในอ่าวตราด การทำวิจัยเรื่องการฟื้นฟูป่าชายเลนจากนากุ้งร้างทำให้เกิดองค์ความรู้ในการฟื้นฟูป่าชายเลนที่ผสมผสานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และภูมิปัญญาชาวบ้าน มีการจัดทำคู่มือการสำรวจ ประเมินผลและติดตามการฟื้นฟูป่าชายเลนโดยชุมชน เพื่อขยายผลองค์ความรู้สู่ชุมชนอื่นๆ ต่อไป ทั้งนี้ ความสำเร็จด้านการฟื้นฟูป่าชายเลนทำให้ชุมชนบ้านเปร็ดในได้รับรางวัล Equator ของ UNDP เมื่อปี 2555

สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างของชุมชนนี้คือ การตั้งกองทุนป่าชุมชน...เพื่อความยั่งยืน โดยจัดสรรงบประมาณเพื่อฟื้นฟูจัดการป่าอย่างต่อเนื่อง มีการใช้เงินทุนซื้อนากุ้งร้างเพื่อปลูกป่าชายเลนเพิ่ม ใช้เป็นเงินสวัสดิการของคนทำงาน รวมถึงซื้อน้ำมันและซ่อมเรือรวมถึงอุปกรณ์ดูแลจัดการป่า และพัฒนาบุคลากร

นายรวี เล่าถึง การฟื้นฟูนากุ้งขนาด 45 ไร่ ตั้งแต่ปี 2554  ว่า เป็นการฟื้นฟูป่าควบคู่การทำวิจัย ที่ผสมผสานความรู้ทางวิทยาศาสตร์และความรู้ของชาวบ้านที่ร่วมกันวิเคราะห์เลือกรูปแบบการปลูกฟื้นฟูพื้นที่ เช่น วิเคราะห์ชนิดดิน การจัดการระบบน้ำ วิธีการปลูกป่าโกงกางแบบใช้ฝัก และได้ร่วมกันฟื้นฟูพื้นที่ มีการเรียนรู้และติดตามผลการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง เช่น ข้อมูลต้นไม้ สัตว์หน้าดิน สัตว์น้ำที่ใช้ประโยชน์จากแปลงฟื้นฟู ซึ่งผลการฟื้นฟูพบว่า ต้นไม้รอดตาย 80% มีสัตว์หน้าดินอย่างน้อย 10 ชนิด พบสัตว์น้ำอย่างน้อย 25 ชนิด โดย 5 ชนิดเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้ชาวบ้าน ขณะที่เดียวกัน คนในชุมชนได้เรียนรู้การฟื้นฟูป่าชายเลน มีการวิจัยชุมชน ซึ่งขยายผลไปยังชุมชนชายฝั่งอื่นได้

ผู้ที่สนใจสามารถรับฟังการสัมมนา 1 ชั่วโมงเต็มได้ที่ https://youtu.be/DuAOJvUfq-U

ยกระดับคุณภาพชีวิตคนทุกช่วงวัย สร้างคุณค่าสู่ทั่วสังคมไทยให้ยั่งยืน “จากภูผา ผืนนา สู่มหานที”

X

Right Click

No right click