×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 806

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ขอนำเสนอรายการโครงการที่อยู่อาศัยที่ขายดีในรอบ 6 เดือนแรกของปี 2561 ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยที่น่าจะพัฒนา มีอนาคต และผู้ซื้อให้การต้อนรับมากเป็นพิเศษ

            อันดับที่ 1 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.567 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล G5: ลาดกระบัง มีจำนวน 41 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 64 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 27 หน่วย ยังเหลืออีก 14 หน่วย หรือเหลืออีก 34% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 76.3% ต่อเดือน

            อันดับที่ 2 ได้แก่ ทาวน์เฮาส์ ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.990 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล G2: พัฒนาการ มีจำนวน 30 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 90 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 27 หน่วย ยังเหลืออีกเพียง 3 หน่วย หรือเหลืออีก 10% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 72.1% ต่อเดือน

            อันดับที่ 3 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.529 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล F1: วิภาวดี-รัชดา มีจำนวน 625 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 1581 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 516 หน่วย ยังเหลืออีก 109 หน่วย หรือเหลืออีก 17% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 68.1% ต่อเดือน

            อันดับที่ 4 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 10.001-20.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 12.900 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล D1: สายไหม มีจำนวน 176 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 2270 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 17 หน่วย ยังเหลืออีก 159 หน่วย หรือเหลืออีก 90% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 68.0% ต่อเดือน

            อันดับที่ 5 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.693 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล D6: นวมินทร์ มีจำนวน 23 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 39 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 8 หน่วย ยังเหลืออีก 15 หน่วย หรือเหลืออีก 65% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 52.1% ต่อเดือน

            อันดับที่ 6 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.550 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A2: บางขัน คลองหลวง มีจำนวน 952 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 1476 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 521 หน่วย ยังเหลืออีก 431 หน่วย หรือเหลืออีก 45% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 49.9% ต่อเดือน

            อันดับที่ 7 ได้แก่ บ้านแฝด ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 5.276 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล K6: วงแหวนรอบนอก-เพชรเกษม มีจำนวน 275 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 1451 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 167 หน่วย ยังเหลืออีก 108 หน่วย หรือเหลืออีก 39% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 49.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 8 ได้แก่ บ้านแฝด ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 4.900 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล K1: พระรามที่ 2 กม.1-10 มีจำนวน 28 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 137 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 26 หน่วย ยังเหลืออีกเพียง 2 หน่วย หรือเหลืออีก 7% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 46.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 9 ได้แก่ ทาวน์เฮาส์ ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.794 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล E1: หทัยราษฎร์ มีจำนวน 23 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 41 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 7 หน่วย ยังเหลืออีก 16 หน่วย หรือเหลืออีก 70% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 43.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 10 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.690 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล B3: แจ้งวัฒนะ มีจำนวน 1,655 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 2798 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 770 หน่วย ยังเหลืออีก 885 หน่วย หรือเหลืออีก 53% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 43.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 11 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 4.014 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล I1: พหลโยธิน มีจำนวน 1,166 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 4680 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 510 หน่วย ยังเหลืออีก 656 หน่วย หรือเหลืออีก 56% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 43.2% ต่อเดือน

            อันดับที่ 12 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 3.553 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล B3: แจ้งวัฒนะ มีจำนวน 145 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 515 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 66 หน่วย ยังเหลืออีก 79 หน่วย หรือเหลืออีก 54% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 42.2% ต่อเดือน

            อันดับที่ 13 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.460 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล E6: เจ้าคุณทหาร มีจำนวน 72 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 105 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 41 หน่วย ยังเหลืออีก 31 หน่วย หรือเหลืออีก 43% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 41.3% ต่อเดือน

            อันดับที่ 14 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.576 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล G1: รามคำแหง มีจำนวน 36 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 57 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 8 หน่วย ยังเหลืออีก 28 หน่วย หรือเหลืออีก 78% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 36.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 15 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.523 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล F5: รัชดา-ลาดพร้าว มีจำนวน 2,010 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 5070 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 1323 หน่วย ยังเหลืออีก 687 หน่วย หรือเหลืออีก 34% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 35.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 16 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 6.778 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล I1: พหลโยธิน มีจำนวน 2,107 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 14281 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 1209 หน่วย ยังเหลืออีก 898 หน่วย หรือเหลืออีก 43% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 35.0% ต่อเดือน

            อันดับที่ 17 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.486 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล F6: เทพลีลา-มหาดไทย มีจำนวน 96 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 143 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 40 หน่วย ยังเหลืออีก 56 หน่วย หรือเหลืออีก 58% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 32.9% ต่อเดือน

            อันดับที่ 18 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.826 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล L3: บางพลัด มีจำนวน 378 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 690 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 183 หน่วย ยังเหลืออีก 195 หน่วย หรือเหลืออีก 52% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 32.9% ต่อเดือน

            อันดับที่ 19 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 3.709 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล F1: วิภาวดี-รัชดา มีจำนวน 1,218 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 4518 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 554 หน่วย ยังเหลืออีก 664 หน่วย หรือเหลืออีก 55% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 32.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 20 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.696 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล C2: ติวานนท์ มีจำนวน 139 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 236 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 59 หน่วย ยังเหลืออีก 80 หน่วย หรือเหลืออีก 58% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 31.5% ต่อเดือน

            อย่างไรก็ตามก็พึงระวัง หากแห่กันไปพัฒนาแบบเดียวกันก็อาจ "พากันลงเหว" ได้

เอสซีจี เดินหน้าโครงการปิโตรเคมีครบวงจรรายแรก ในประเทศเวียดนาม ล่าสุดได้ลงนามในสัญญาเงินกู้จำนวนกว่า 3,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 110,000 ล้านบาท) กับ 6 สถาบันการเงินชั้นนำ โดยจะเริ่มการก่อสร้างในไตรมาสที่สาม ปี 2561 และคาดว่าจะสามารถดำเนินการผลิตในเชิงพาณิชย์ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566  เพื่อรองรับความต้องการภายในเวียดนามที่ปัจจุบันสูงถึงปีละ 2.3 ล้านตัน และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ในระดับสูง

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า “โครงการ Long Son Petrochemicals หรือ LSP เป็นโครงการปิโตรเคมีครบวงจรขนาดใหญ่ระดับ World Scale มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 5,400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 180,000 ล้านบาท ถือเป็นการลงทุนหลักของเอสซีจีในปัจจุบัน การลงทุนในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในธุรกิจเคมิคอลส์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  นอกจากนี้ยังนำเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกที่มีความยืดหยุ่นในการเลือกใช้วัตถุดิบสูงทำให้ได้เปรียบทางการแข่งขัน รวมทั้งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาคิดค้นนวัตกรรมเพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น”

การลงนามในสัญญาเงินกู้เป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐกับ 6 สถาบันการเงินชั้นนำได้แก่ ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น ธนาคารมิซูโฮ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีวงเงินจำนวนกว่า 3,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 110,000 ล้านบาท) และมีระยะเวลาเงินกู้ประมาณ 14 ปี โดยมีธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

LSP ตั้งอยู่ที่เมือง Ba Ria – Vung Tau ห่างจากนครโฮจิมินห์ประมาณ 100 กิโลเมตร มีกำลังการผลิตโอเลฟินส์ 1.6 ล้านตันต่อปี สำหรับผลิตเม็ดพลาสติกชนิด HDPE LLDPE และ PP โดยโครงการมีการดำเนินงานอย่างเข้มงวดตามมาตรฐานความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมระดับโลก เพื่อให้การดำเนินธุรกิจสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนและสังคมของเวียดนามได้อย่างยั่งยืน

 

บุคคลในข่าว (ซ้ายไปขวา)

1. เยาวดี นาคะตะ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
2. วีระพงศ์ ศุภเศรษฐ์ศักดิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
3. วรางคณา วงศ์ข้าหลวง รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
4. เชาวลิต เอกบุตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การเงินการลงทุน เอสซีจี
5. ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม General Director, Long Son Petrochemical Company Limited
6. รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี
7. ชลณัฐ ญาณารณพ รองผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์
8. ยูอิชิ นิชิมุระ Regional Head of Greater Mekong Sub-Region, Country Head of Thailand, General Manager of Bangkok Branch, ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
9. ราจีฟ คันนัน Executive Officer - Head of Investment Banking Asia, ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
10. มาซายูกิ สุงาวาร่า, Executive Officer and General Manager, ธนาคารมิซูโฮ
11. วศิน ไสยวรรณ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุด Corporate Banking ธนาคารไทยพาณิชย์

กระทรวงอุตสาหกรรมนำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจการค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ และคณะนักลงทุนกว่า 300 ราย ลงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 

จุดพลุสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 130 ปี จับมือหน่วยงานเศรษฐกิจพร้อม ด้วยคณะผู้บริหารภาครัฐและเอกชน ระดับสูงจากญี่ปุ่นกว่า 500 ราย หารือแนวทางการยกระดับและสร้างอนาคตทางเศรษฐกิจครั้งประวัติศาสตร์ร่วมกัน เผยญี่ปุ่นให้ความสนใจในนโยบายไ ทยแลนด์ 4.0 พร้อมเตรียมให้การสนับสนุนการพั ฒนาEEC หรือ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทยด้วยกา รถ่ายทอดการประยุกต์เทคโนโลยีดิ จิทัลและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ยังได้เชิญชวนผู้ประกอบการ นักลงทุนจากไทยและญี่ปุ่นอีกกว่า 1,400 รายเข้าร่วมรับฟังโอกาสแห่งความ ร่วมมือของภาครัฐบาล ภาคเอกชนไทยและญี่ปุ่น ในการส่งเสริมและยกระดับการค้าการลงทุนของทั้งสองประเทศ

ICN ผู้ให้บริการรับเหมาวางระบบ ควง FSS ที่ปรึกษาทางการเงินและแกนนำการเสนอขายหลักทรัพย์ โรดโชว์ให้ข้อมูลนักลงทุนวันที่ 31 ส.ค. 60 ที่กรุงเทพฯ ตอกย้ำปัจจัยพื้นฐานธุรกิจแกร่ง “มนชัย มณีไพโรจน์” ซีอีโอ เผย ICN มีศักยภาพการเติบโตสูง จากงานในมือที่รอรับรู้รายได้แน่นอนในปีนี้

Page 2 of 3
X

Right Click

No right click