• เรียนรู้ความสำคัญของ Family Business Management เพื่อสานต่อ ‘ธุรกิจกงสี’ ที่ดีต่อทุกฝ่าย
  • แนะวิธีรับช่วงต่อ ‘ธุรกิจกงสี’ และแก้ Pain Point ด้วยวิชา Family Business Management

การบริหาร ‘ธุรกิจครอบครัว’ หรือที่คนไทยพูดกันติดปากว่า ‘ธุรกิจกงสี’ มักมีประเด็นปัญหาภายในที่คนในครอบครัวถกเถียงกันแล้วไม่รู้จะตัดสินใจอย่างไร หนำซ้ำบางเรื่องหาทางออกไม่ได้ บางเรื่องมีความขัดแย้งจนบานปลาย ส่วนหนึ่งนั่นเป็นเพราะขาดองค์ความรู้และความเข้าใจด้านการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัวโดยเฉพาะ ซึ่งต้องมีความเข้าใจในชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรม รวมถึงจริยธรรม

สำหรับประเด็นที่มีความซับซ้อนเช่นนี้ รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดี คณะวิทยพัฒน์ (Extension School) ผู้อำนวยการศูนย์ธุรกิจครอบครัว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และเป็น ผู้ก่อตั้ง บริษัท แฟมซ์ จำกัด (FAMZ Co., Ltd.) ธุรกิจที่ปรึกษาด้านการบริหารธุรกิจครอบครัวชั้นนำของประเทศไทย ซึ่งก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ 7 ของการดำเนินธุรกิจได้แบ่งปันมุมมอง พร้อมสะท้อนแง่มุมปัญหาและแนวทางแก้ไขของธุรกิจครอบครัวกับกองบรรณาธิการ MBA อย่างน่าสนใจ

ความสำคัญของศาสตร์ด้านการบริหารธุรกิจครอบครัว

เนื่องจากการบริหารธุรกิจของแต่ละครอบครัวมีอัตลักษณ์แตกต่างกัน อีกทั้งยังมีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงซ้อน เช่น ความเกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึก ความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติ ความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ ตลอดจนความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ สิทธิประโยชน์ อำนาจการบริหาร ความสนใจส่วนบุคคล ฯลฯ ซึ่งยากจะบริหารให้บรรลุผลและลงตัว อีกทั้งไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว เนื่องจากแต่ละครอบครัวก็มีมิติปัญหาที่แตกต่างกัน

ที่สำคัญ การบริหารธุรกิจ ก็มีความแตกต่างกับ การบริหารธุรกิจครอบครัวด้วย

จากผลการสำรวจภาพรวมของธุรกิจครอบครัวโดย FAMZ พบว่า ธุรกิจในประเทศไทยมากกว่า 80% เป็นธุรกิจครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ เช่น ซีพี ไทยเบฟ กลุ่มเซ็นทรัล แต่หากสำรวจเฉพาะบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะพบว่า มีธุรกิจครอบครัวอยู่ราว 70% ซึ่งมีผลประกอบการค่อนข้างดี

“สำหรับธุรกิจครอบครัวนั้นถ้าหากสามารถบริหารจัดการได้ดีก็จะเป็นผลดีหลายประการ ทั้งชื่อเสียง ความมั่งคั่ง และภายในครอบครัวเองก็มีความเข้มแข็ง ถ้าหากสามารถบริหารความขัดแย้ง และไม่ทะเลาะกัน”

ทั้งนี้ รศ.ดร.เอกชัยกล่าว และยกตัวอย่างหลายกรณีที่เป็นประเด็นปัญหาความละเอียดอ่อนต่างๆ อาทิ

กรณีแรก: หากผู้บริหารต้องการนำรายได้จากธุรกิจครอบครัวไปจับจ่ายใช้สอยส่วนตัว เช่น หากต้องการซื้อรถให้หลาน สามารถทำได้หรือไม่

เรื่องการใช้เงินเพื่อซื้อสิ่งของต่างๆ ให้สมาชิกในครอบครัว หากต้องการบริหารเพื่อความมั่งคั่ง รศ.ดร.เอกชัยระบุว่า ต้องจัดการหรือแก้ไขด้วยระบบ เพื่อเป็นการสร้างสภาพคล่อง โดยให้กลับไปกำหนดหลักการ หรือทบทวนหลักการก่อน อาทิ คนทำงานในตำแหน่งใดจะได้ใช้รถอะไร คนที่ไม่มีตำแหน่งงานสามารถใช้รถอะไรได้ และจะนำเงินจากส่วนไหนไปซื้อ จะจัดสรรผลประโยชน์อย่างไร ฯลฯ

กรณีที่สอง: ผู้บริหารหญิงที่รับหน้าที่แบกรับภาระ และ ทำงานเต็มที่อยู่คนเดียว แต่เมื่อมีลูกแล้วต้องการเปลี่ยนโหมด ขอทำงานน้อยลง เนื่องจากต้องการเวลาไปดูแลลูก แล้วธุรกิจครอบครัวควรจะทำอย่างไร

การให้ทายาท (Successor) เพียงคนเดียวบริหารงานของธุรกิจครอบครัวถือเป็นความเสี่ยงของบริษัท เพราะหากผู้ที่ทำหน้าที่หลักไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ก็จะส่งผลให้คนอื่นๆ จะไม่สามารถทำอะไรต่อได้ หรือต้องใช้เวลาเรียนรู้อีกพักใหญ่ สำหรับการมอบหมายความรับผิดชอบให้กับสมาชิกที่เป็นหญิงแบกรับภาระเพียงผู้เดียว แล้วเมื่อมีการสมรส มีบุตรในภายหลังก็อาจทำให้ความทุ่มเทที่มีต่อธุรกิจครอบครัวเป็นไปอย่างไม่เต็มที่นัก ดังนั้น “ความเป็นผู้หญิง” จึงทำให้ถูกมองได้ว่า ทำให้การบริหารภายในธุรกิจครอบครัวมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

จากกรณีดังกล่าวจึงเกิดวัฒนธรรมและแนวคิดที่ต้องการให้ผู้ชายมาบริหารธุรกิจครอบครัวก่อนหากว่าสามารถเลือกได้ โดยต้องสร้างแรงจูงใจ สร้างทายาทธุรกิจหลายคน เช่น มีทายาทอันดับ 1, 2, 3 เพราะเมื่อใดที่สมาชิกครอบครัวที่เป็นหญิงแต่งงานไปก็มักจะไปช่วยกิจการของครอบครัวคู่สมรส แต่อย่างไรก็ตาม หากว่า บ้านใดเตรียมตัวก่อน หรือมีการเจรจาเพื่อทำข้อตกลงกันก่อน ปัญหาในธุรกิจครอบครัวก็จะน้อยลง

กรณีที่สาม: หากทายาทไม่มีต้องการสืบทอดหรือทำธุรกิจครอบครัวต่อ แบรนด์ธุรกิจครอบครัวที่มีอายุยาวนานก็จะต้องปิดตัวลงหรือไม่

โดยทั่วไป สมาชิกในครอบครัวก็ย่อมอยากจะให้คนในครอบครัว หรือเครือญาติเข้ามาบริหาร หรือสืบทอดกิจการ เนื่องจากมีความเชื่อถือและไว้วางใจกับสมาชิกในครอบครัว และสมาชิกร่วมสายโลหิตว่าเป็นคนบ้านเดียวกันเติบโตมาด้วยกัน เป็นคนกลุ่มเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ในโลกความจริงก็ไม่เป็นแบบนั้นเสียทีเดียว โดยเฉพาะธุรกิจครอบครัวที่มีขอบเขตธุรกิจมากมายที่ต้องบริหารอยู่แล้วก็อาจจำเป็นต้องเลือกว่า ธุรกิจใดหรือช่วงเวลาใดควรจะให้สมาชิกในครอบครัวดำเนินการ หรือบริหาร หรือควรที่จะจ้างมืออาชีพจากภายนอกเข้ามาบริหารธุรกิจครอบครัว

รศ.ดร.เอกชัยแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า "การวางตัวผู้บริหารธุรกิจต่อไปนั้นจะเป็นใครก็ได้ เพียงแต่คนที่เป็นเจ้าของต้องมีความเข้าใจก่อนและวางระบบบริหารธุรกิจครอบครัวของตนเอง เพื่อทำให้การบริหารธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น โดยส่วนตัว ผมอยากให้มี One Family, One Wisdom หรือ หนึ่งครอบครัว หนึ่งภูมิปัญญา” เพื่อให้ธุรกิจครอบครัวส่งต่อองค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญเฉพาะจากรุ่นสู่รุ่น เติบโตไปกับ Soft Power ซึ่งเป็นนโยบายของภาครัฐ และจะช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจครอบครัวอยู่ต่ออย่างยั่งยืนได้"

แน่นอนว่า การให้สมาชิกครอบครัวบริหารธุรกิจของครอบครัวย่อมเป็นทางเลือกที่ดี ดังนั้น ผู้บริหารจึงมีหน้าที่ที่จะต้องให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัวอย่างต่อเนื่องก่อนที่จะมีการเปลี่ยนผ่าน เช่น ความรู้ด้านการตลาด ด้านการเงิน ฯลฯ รวมทั้งการดูแลใส่ใจ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว

ทว่า หลังจากที่ธุรกิจเติบโต มีมาตรฐานมากขึ้น งานซับซ้อนยิ่งขึ้น แต่หากทายาทไม่สนใจรับช่วงต่อ เพราะไม่มีการพูดคุยกันให้ชัดเจน ไม่มีการเตรียมแผนการสืบทอดกิจการ การคัดเลือกทายาททางธุรกิจ ฯลฯ ดังนั้น ผู้นำธุรกิจครอบครัวก็อาจเลือกใช้วิธีจ้างมืออาชีพ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถจากภายนอกเข้ามาบริหารงานแบบเต็มตัว ขณะเดียวกัน เจ้าของกิจการก็สามารถเปลี่ยนบทบาทของตนเองไปเป็น ‘ผู้ลงทุน’ คล้ายกับองค์กรที่มีบริษัทแม่คุมและถือหุ้นบริษัทลูกก็ได้

อย่างไรก็ตาม กรณีที่ยกมาเล่าสู่กันฟังนี้ ไม่สามารถใช้เป็นแนวทางแก้ปัญหาหรือยึดคำแนะนำดังกล่าวเป็นสูตรสำเร็จได้ เนื่องจากบริบทของแต่ละธุรกิจครอบครัวนั้นแตกต่างกัน ที่สำคัญ ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมตามสภาพความเป็นจริงและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมด้วย

เปลี่ยนผ่านธุรกิจครอบครัว ด้วยชุดวิชาบริหารจัดการที่เป็นรากฐานความเข้าใจ

ในการสร้างรากฐานความเข้าใจ และเพื่อให้ธุรกิจครอบครัวเดินหน้าได้อย่างยั่งยืนนั้น จากคุณสมบัติสำคัญของการเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจครอบครัวมาอย่างยาวนานของ ศูนย์ธุรกิจครอบครัว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ บริษัท แฟมซ์ จำกัด ซึ่งมีความเข้าใจกับปัญหาของการบริหารธุรกิจครอบครัวอย่างหลากหลายแง่มุม อีกทั้งมีมุมมองปัญหาด้วยทัศนคติที่ดี มีหลักการเชิงวิชาการ พร้อมทั้งมีการศึกษา ตลอดจนงานวิจัยที่ FAMZ ศึกษามาอย่างยาวนาน เพื่อใช้ในการวางแผนและการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัว ขณะเดียวกัน ก็เป็นการดำเนินการในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น เพื่อตอบโจทย์สังคมในยุคที่มีคนต่างเจเนอเรชันก้าวขึ้นมาสืบทอดหรือบริหารกิจการ ซึ่งมี Pain Point ที่คล้ายคลึงและต่างกันไป กอปรกับต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจให้เข้ากับโลกดิจิทัล

ทั้งนี้ รศ.ดร.เอกชัยได้เปิดเผยเพิ่มเติมถึงการพัฒนาหลักสูตรปริญญาโทบริหารธุรกิจ (MBA) ว่า

กลุ่มวิชาการจัดการธุรกิจครอบครัว (Concentration in Family Business Management) ซึ่งพัฒนาโดย คณะวิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในรูปแบบออนไลน์ 100% นั้นสอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจครอบครัวยุคใหม่ เหมาะกับสมาชิกในครอบครัวรุ่นถัดไป ผู้สืบทอดกิจการ หรือผู้ประกอบการที่มุ่งรักษาและบริหารความมั่งคั่งให้กิจการของครอบครัวตัวเอง โดยผู้เรียนจะได้เรียนกลุ่มวิชาการจัดการธุรกิจครอบครัวที่มีคณาจารย์ออกแบบและใช้สอนมานานกว่า 15 ปี ทั้งยังเป็นผู้ให้คำปรึกษามาแล้วกว่า 500 ธุรกิจ อาทิ การบริหารความเสี่ยงสำหรับธุรกิจครอบครัว, การบริหารความขัดแย้ง, การบริหารนวัตกรรมในธุรกิจครอบครัว, กฎหมายและภาษีของธุรกิจครอบครัว, การวางแผนสืบทอดธุรกิจและการเปลี่ยนผ่านในธุรกิจครอบครัว, การบริหารความมั่งคั่ง ฯลฯ เพื่อใช้ปฏิบัติได้จริง”

ธุรกิจครอบครัว ยั่งยืนด้วย ESG

สำหรับแนวคิดเรื่อง ESG ที่มีพูดถึงกันมากในขณะนี้ รศ.ดร.เอกชัยเผยว่า "ผู้บริหารธุรกิจครอบครัวสามารถดำเนินการได้ควบคู่กันไประหว่าง “ธุรกิจ” และ ESG ได้ โดยเมื่อธุรกิจสามารถทำกำไรได้แล้วก็สามารถดำเนินการ เพื่อส่งเสริมแนวทางด้าน ESG ไปได้ด้วย โดยเริ่มจาก E (Environment สิ่งแวดล้อม) S (Social สังคม) แล้ว G (Governance ธรรมาภิบาล) ก็จะตามมา และถ้าอยากให้ระบบเป็นไปได้ยาวๆ ธุรกิจครอบครัวก็จำเป็นที่จะต้องมี ‘ระบบธรรมาภิบาลที่ดี’ เพื่อลดปัญหาความอยุติธรรม ความไม่เป็นมืออาชีพ พร้อมกันนี้ ก็ร่วมปลูกฝังให้รุ่นลูกรุ่นหลานเป็นผู้ให้ ผู้เสียสละ และดึงทายาทรุ่นใหม่ให้เข้าไปมีส่วนร่วมและสานต่อธุรกิจกันต่อไป และแนวทางการบริหารธุรกิจครอบครัวกับหลักการความยั่งยืนอย่าง ESG นั้นเป็นประเด็นที่ผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นรายเล็กหรือใหญ่ก็ล้วนหลีกเลี่ยงไม่ได้"

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.famz.co.th 

 

  • เรียนรู้ความสำคัญของ Family Business Management เพื่อสานต่อ ‘ธุรกิจกงสี’ ที่ดีต่อทุกฝ่าย
  • แนะวิธีรับช่วงต่อ ‘ธุรกิจกงสี’ และแก้ Pain Point ด้วยวิชา Family Business Management

การบริหาร ‘ธุรกิจครอบครัว’ หรือที่คนไทยพูดกันติดปากว่า ‘ธุรกิจกงสี’ มักมีประเด็นปัญหาภายในที่คนในครอบครัวถกเถียงกันแล้วไม่รู้จะตัดสินใจอย่างไร หนำซ้ำบางเรื่องหาทางออกไม่ได้ บางเรื่องมีความขัดแย้งจนบานปลาย ส่วนหนึ่งนั่นเป็นเพราะขาดองค์ความรู้และความเข้าใจด้านการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัวโดยเฉพาะ ซึ่งต้องมีความเข้าใจในชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรม รวมถึงจริยธรรม

สำหรับประเด็นที่มีความซับซ้อนเช่นนี้ รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดี คณะวิทยพัฒน์ (Extension School) ผู้อำนวยการศูนย์ธุรกิจครอบครัว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และเป็น ผู้ก่อตั้ง บริษัท แฟมซ์ จำกัด (FAMZ Co., Ltd.) ธุรกิจที่ปรึกษาด้านการบริหารธุรกิจครอบครัวชั้นนำของประเทศไทย ซึ่งก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ 7 ของการดำเนินธุรกิจได้แบ่งปันมุมมอง พร้อมสะท้อนแง่มุมปัญหาและแนวทางแก้ไขของธุรกิจครอบครัวกับกองบรรณาธิการ MBA อย่างน่าสนใจ

ความสำคัญของศาสตร์ด้านการบริหารธุรกิจครอบครัว

เนื่องจากการบริหารธุรกิจของแต่ละครอบครัวมีอัตลักษณ์แตกต่างกัน อีกทั้งยังมีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงซ้อน เช่น ความเกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึก ความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติ ความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ ตลอดจนความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ สิทธิประโยชน์ อำนาจการบริหาร ความสนใจส่วนบุคคล ฯลฯ ซึ่งยากจะบริหารให้บรรลุผลและลงตัว อีกทั้งไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว เนื่องจากแต่ละครอบครัวก็มีมิติปัญหาที่แตกต่างกัน

ที่สำคัญ การบริหารธุรกิจ ก็มีความแตกต่างกับ การบริหารธุรกิจครอบครัวด้วย

จากผลการสำรวจภาพรวมของธุรกิจครอบครัวโดย FAMZ พบว่า ธุรกิจในประเทศไทยมากกว่า 80% เป็นธุรกิจครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ เช่น ซีพี ไทยเบฟ กลุ่มเซ็นทรัล แต่หากสำรวจเฉพาะบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะพบว่า มีธุรกิจครอบครัวอยู่ราว 70% ซึ่งมีผลประกอบการค่อนข้างดี

“สำหรับธุรกิจครอบครัวนั้นถ้าหากสามารถบริหารจัดการได้ดีก็จะเป็นผลดีหลายประการ ทั้งชื่อเสียง ความมั่งคั่ง และภายในครอบครัวเองก็มีความเข้มแข็ง ถ้าหากสามารถบริหารความขัดแย้ง และไม่ทะเลาะกัน”

ทั้งนี้ รศ.ดร.เอกชัยกล่าว และยกตัวอย่างหลายกรณีที่เป็นประเด็นปัญหาความละเอียดอ่อนต่างๆ อาทิ

กรณีแรก: หากผู้บริหารต้องการนำรายได้จากธุรกิจครอบครัวไปจับจ่ายใช้สอยส่วนตัว เช่น หากต้องการซื้อรถให้หลาน สามารถทำได้หรือไม่

เรื่องการใช้เงินเพื่อซื้อสิ่งของต่างๆ ให้สมาชิกในครอบครัว หากต้องการบริหารเพื่อความมั่งคั่ง รศ.ดร.เอกชัยระบุว่า ต้องจัดการหรือแก้ไขด้วยระบบ เพื่อเป็นการสร้างสภาพคล่อง โดยให้กลับไปกำหนดหลักการ หรือทบทวนหลักการก่อน อาทิ คนทำงานในตำแหน่งใดจะได้ใช้รถอะไร คนที่ไม่มีตำแหน่งงานสามารถใช้รถอะไรได้ และจะนำเงินจากส่วนไหนไปซื้อ จะจัดสรรผลประโยชน์อย่างไร ฯลฯ

กรณีที่สอง: ผู้บริหารหญิงที่รับหน้าที่แบกรับภาระ และ ทำงานเต็มที่อยู่คนเดียว แต่เมื่อมีลูกแล้วต้องการเปลี่ยนโหมด ขอทำงานน้อยลง เนื่องจากต้องการเวลาไปดูแลลูก แล้วธุรกิจครอบครัวควรจะทำอย่างไร

การให้ทายาท (Successor) เพียงคนเดียวบริหารงานของธุรกิจครอบครัวถือเป็นความเสี่ยงของบริษัท เพราะหากผู้ที่ทำหน้าที่หลักไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ก็จะส่งผลให้คนอื่นๆ จะไม่สามารถทำอะไรต่อได้ หรือต้องใช้เวลาเรียนรู้อีกพักใหญ่ สำหรับการมอบหมายความรับผิดชอบให้กับสมาชิกที่เป็นหญิงแบกรับภาระเพียงผู้เดียว แล้วเมื่อมีการสมรส มีบุตรในภายหลังก็อาจทำให้ความทุ่มเทที่มีต่อธุรกิจครอบครัวเป็นไปอย่างไม่เต็มที่นัก ดังนั้น “ความเป็นผู้หญิง” จึงทำให้ถูกมองได้ว่า ทำให้การบริหารภายในธุรกิจครอบครัวมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

 

“จากกรณีดังกล่าวจึงเกิดวัฒนธรรมและแนวคิดที่ต้องการให้ผู้ชายมาบริหารธุรกิจครอบครัวก่อนหากว่าสามารถเลือกได้ โดยต้องสร้างแรงจูงใจ สร้างทายาทธุรกิจหลายคน เช่น มีทายาทอันดับ 1, 2, 3 เพราะเมื่อใดที่สมาชิกครอบครัวที่เป็นหญิงแต่งงานไปก็มักจะไปช่วยกิจการของครอบครัวคู่สมรส แต่อย่างไรก็ตาม หากว่า บ้านใดเตรียมตัวก่อน หรือมีการเจรจาเพื่อทำข้อตกลงกันก่อน ปัญหาในธุรกิจครอบครัวก็จะน้อยลง”

กรณีที่สาม: หากทายาทไม่มีต้องการสืบทอดหรือทำธุรกิจครอบครัวต่อ แบรนด์ธุรกิจครอบครัวที่มีอายุยาวนานก็จะต้องปิดตัวลงหรือไม่

โดยทั่วไป สมาชิกในครอบครัวก็ย่อมอยากจะให้คนในครอบครัว หรือเครือญาติเข้ามาบริหาร หรือสืบทอดกิจการ เนื่องจากมีความเชื่อถือและไว้วางใจกับสมาชิกในครอบครัว และสมาชิกร่วมสายโลหิตว่าเป็นคนบ้านเดียวกันเติบโตมาด้วยกัน เป็นคนกลุ่มเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ในโลกความจริงก็ไม่เป็นแบบนั้นเสียทีเดียว โดยเฉพาะธุรกิจครอบครัวที่มีขอบเขตธุรกิจมากมายที่ต้องบริหารอยู่แล้วก็อาจจำเป็นต้องเลือกว่า ธุรกิจใดหรือช่วงเวลาใดควรจะให้สมาชิกในครอบครัวดำเนินการ หรือบริหาร หรือควรที่จะจ้างมืออาชีพจากภายนอกเข้ามาบริหารธุรกิจครอบครัว

รศ.ดร.เอกชัยแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า "การวางตัวผู้บริหารธุรกิจต่อไปนั้นจะเป็นใครก็ได้ เพียงแต่คนที่เป็นเจ้าของต้องมีความเข้าใจก่อนและวางระบบบริหารธุรกิจครอบครัวของตนเอง เพื่อทำให้การบริหารธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น โดยส่วนตัว ผมอยากให้มี One Family, One Wisdom หรือ หนึ่งครอบครัว หนึ่งภูมิปัญญา” เพื่อให้ธุรกิจครอบครัวส่งต่อองค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญเฉพาะจากรุ่นสู่รุ่น เติบโตไปกับ Soft Power ซึ่งเป็นนโยบายของภาครัฐ และจะช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจครอบครัวอยู่ต่ออย่างยั่งยืนได้"

แน่นอนว่า การให้สมาชิกครอบครัวบริหารธุรกิจของครอบครัวย่อมเป็นทางเลือกที่ดี ดังนั้น ผู้บริหารจึงมีหน้าที่ที่จะต้องให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัวอย่างต่อเนื่องก่อนที่จะมีการเปลี่ยนผ่าน เช่น ความรู้ด้านการตลาด ด้านการเงิน ฯลฯ รวมทั้งการดูแลใส่ใจ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว

ทว่า หลังจากที่ธุรกิจเติบโต มีมาตรฐานมากขึ้น งานซับซ้อนยิ่งขึ้น แต่หากทายาทไม่สนใจรับช่วงต่อ เพราะไม่มีการพูดคุยกันให้ชัดเจน ไม่มีการเตรียมแผนการสืบทอดกิจการ การคัดเลือกทายาททางธุรกิจ ฯลฯ ดังนั้น ผู้นำธุรกิจครอบครัวก็อาจเลือกใช้วิธีจ้างมืออาชีพ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถจากภายนอกเข้ามาบริหารงานแบบเต็มตัว ขณะเดียวกัน เจ้าของกิจการก็สามารถเปลี่ยนบทบาทของตนเองไปเป็น ‘ผู้ลงทุน’ คล้ายกับองค์กรที่มีบริษัทแม่คุมและถือหุ้นบริษัทลูกก็ได้

อย่างไรก็ตาม กรณีที่ยกมาเล่าสู่กันฟังนี้ ไม่สามารถใช้เป็นแนวทางแก้ปัญหาหรือยึดคำแนะนำดังกล่าวเป็นสูตรสำเร็จได้ เนื่องจากบริบทของแต่ละธุรกิจครอบครัวนั้นแตกต่างกัน ที่สำคัญ ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมตามสภาพความเป็นจริงและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมด้วย

เปลี่ยนผ่านธุรกิจครอบครัว ด้วยชุดวิชาบริหารจัดการที่เป็นรากฐานความเข้าใจ

ในการสร้างรากฐานความเข้าใจ และเพื่อให้ธุรกิจครอบครัวเดินหน้าได้อย่างยั่งยืนนั้น จากคุณสมบัติสำคัญของการเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจครอบครัวมาอย่างยาวนานของ ศูนย์ธุรกิจครอบครัว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ บริษัท แฟมซ์ จำกัด ซึ่งมีความเข้าใจกับปัญหาของการบริหารธุรกิจครอบครัวอย่างหลากหลายแง่มุม อีกทั้งมีมุมมองปัญหาด้วยทัศนคติที่ดี มีหลักการเชิงวิชาการ พร้อมทั้งมีการศึกษา ตลอดจนงานวิจัยที่ FAMZ ศึกษามาอย่างยาวนาน เพื่อใช้ในการวางแผนและการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัว ขณะเดียวกัน ก็เป็นการดำเนินการในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น เพื่อตอบโจทย์สังคมในยุคที่มีคนต่างเจเนอเรชันก้าวขึ้นมาสืบทอดหรือบริหารกิจการ ซึ่งมี Pain Point ที่คล้ายคลึงและต่างกันไป กอปรกับต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจให้เข้ากับโลกดิจิทัล

ทั้งนี้ รศ.ดร.เอกชัยได้เปิดเผยเพิ่มเติมถึงการพัฒนาหลักสูตรปริญญาโทบริหารธุรกิจ (MBA) ว่า

กลุ่มวิชาการจัดการธุรกิจครอบครัว (Concentration in Family Business Management) ซึ่งพัฒนาโดย คณะวิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในรูปแบบออนไลน์ 100% นั้นสอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจครอบครัวยุคใหม่ เหมาะกับสมาชิกในครอบครัวรุ่นถัดไป ผู้สืบทอดกิจการ หรือผู้ประกอบการที่มุ่งรักษาและบริหารความมั่งคั่งให้กิจการของครอบครัวตัวเอง โดยผู้เรียนจะได้เรียนกลุ่มวิชาการจัดการธุรกิจครอบครัวที่มีคณาจารย์ออกแบบและใช้สอนมานานกว่า 15 ปี ทั้งยังเป็นผู้ให้คำปรึกษามาแล้วกว่า 500 ธุรกิจ อาทิ การบริหารความเสี่ยงสำหรับธุรกิจครอบครัว, การบริหารความขัดแย้ง, การบริหารนวัตกรรมในธุรกิจครอบครัว, กฎหมายและภาษีของธุรกิจครอบครัว, การวางแผนสืบทอดธุรกิจและการเปลี่ยนผ่านในธุรกิจครอบครัว, การบริหารความมั่งคั่ง ฯลฯ เพื่อใช้ปฏิบัติได้จริง”

ธุรกิจครอบครัว ยั่งยืนด้วย ESG

สำหรับแนวคิดเรื่อง ESG ที่มีพูดถึงกันมากในขณะนี้ รศ.ดร.เอกชัยเผยว่า "ผู้บริหารธุรกิจครอบครัวสามารถดำเนินการได้ควบคู่กันไประหว่าง “ธุรกิจ” และ ESG ได้ โดยเมื่อธุรกิจสามารถทำกำไรได้แล้วก็สามารถดำเนินการ เพื่อส่งเสริมแนวทางด้าน ESG ไปได้ด้วย โดยเริ่มจาก E (Environment สิ่งแวดล้อม) S (Social สังคม) แล้ว G (Governance ธรรมาภิบาล) ก็จะตามมา และถ้าอยากให้ระบบเป็นไปได้ยาวๆ ธุรกิจครอบครัวก็จำเป็นที่จะต้องมี ‘ระบบธรรมาภิบาลที่ดี’ เพื่อลดปัญหาความอยุติธรรม ความไม่เป็นมืออาชีพ พร้อมกันนี้ ก็ร่วมปลูกฝังให้รุ่นลูกรุ่นหลานเป็นผู้ให้ ผู้เสียสละ และดึงทายาทรุ่นใหม่ให้เข้าไปมีส่วนร่วมและสานต่อธุรกิจกันต่อไป และแนวทางการบริหารธุรกิจครอบครัวกับหลักการความยั่งยืนอย่าง ESG นั้นเป็นประเด็นที่ผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นรายเล็กหรือใหญ่ก็ล้วนหลีกเลี่ยงไม่ได้"

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.famz.co.th 

 

KBank Private Banking ผู้ให้บริการที่ปรึกษาการบริหารทรัพย์สินภายในครอบครัวครบวงจรและครอบคลุมทุกมิติได้ถอดบทเรียนจากซีรีส์เกาหลี เผย 4 เทคนิค ยุติศึกชิงธุรกิจครอบครัว “วางแผน-กำหนดกติกา-สร้างการมีส่วนร่วม-บริหารอย่างมืออาชีพ

พร้อมรักษาสายสัมพันธ์ของครอบครัวให้การส่งต่อธุรกิจเป็นไปอย่างยั่งยืน แม้การทำธุรกิจร่วมกับคนในครอบครัวจะเป็นเรื่องยาก แต่ก็มีหลายครอบครัวที่ประสบความสำเร็จ สามารถบริหารและส่งต่อธุรกิจครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่นได้

นายพีระพัฒน์ เหรียญประยูร Managing Director, Wealth Planning and Non Capital Market Head, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า สิ่งที่มาควบคู่กับธุรกิจครอบครัว ก็คือความอ่อนไหวและความเคยชินในการเป็นสมาชิกครอบครัว การข้ามผ่านความเป็นครอบครัวไปสู่การบริหารธุรกิจอย่างมืออาชีพจึงเป็นเรื่องยากสำหรับหลายๆ ครอบครัว แต่ก็ไม่ใช่ว่าการก้าวผ่านความเป็นธุรกิจครอบครัวจะไม่สามารถทำได้ ในประเทศไทยเองก็มีหลายธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จและสามารถส่งต่อธุรกิจกันมาหลายต่อหลายรุ่น\

ล่าสุด เรื่องราวประเด็นปัญหาของการส่งต่อธุรกิจ ได้ถูกนำมาถ่ายทอดเป็นซีรีส์เกาหลีที่ได้รับความนิยม เล่าเรื่องเกี่ยวกับตระกูลมหาเศรษฐีที่บริหารธุรกิจกันโดยสมาชิกในครอบครัว สะท้อนให้เห็นถึงปมปัญหาธุรกิจครอบครัวที่กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากรุ่นพ่อไปสู่รุ่นลูก โดยที่พ่อยังยึดมั่นในธรรมเนียมดั้งเดิมที่ต้องการส่งต่อธุรกิจให้กับลูกชายคนโต เมื่อเกิดความรู้สึกไม่เป็นธรรม พี่น้องจึงพร้อมแย่งชิงธุรกิจและทรัพย์สมบัติกันเองจนแทบไม่เหลือความเป็นครอบครัว

KBank Private Banking ได้ถอดบทเรียนจากซีรีส์เกาหลี สรุปปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การส่งต่อธุรกิจครอบครัวประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 4 ประการได้แก่ “วางแผน-กำหนดกติกา-สร้างการมีส่วนร่วม-บริหารอย่างมืออาชีพ” โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. วางแผน สมาชิกในครอบครัวต้องร่วมกันกำหนดเป้าหมาย และร่วมกันวางแผนเพื่อให้สามารถเดินไปถึงเป้าหมายนั้นได้ ซึ่งนอกจากจะต้องวางแผนในเชิงธุรกิจแล้ว ระบบการจัดการภายในเป็นสิ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ดังนั้น ครอบครัวที่ประสบความสำเร็จจึงต้องมีการตั้งเป้าหมาย วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของครอบครัว วางแผน และลงมือปฏิบัติเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้ เช่น ตั้งเป้าหมายให้ผลิตภัณฑ์ของครอบครัวเป็นสินค้าระดับโลก ธุรกิจครอบครัวจะต้องมีการปรับตัวอย่างไร สมาชิกต้องมีบทบาทและหน้าที่อะไรบ้าง สิ่งใดเป็นข้อดี สิ่งใดที่ยังขาด จะต้องมีการนำเรื่องเหล่านี้มากำหนดเป็นแผน และทำให้สมาชิกทุกคนเข้าใจตรงกัน เป็นต้น

2. กำหนดกติกา สมาชิกครอบครัวจะต้องมีการกำหนดกติกาต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ลดความขัดแย้ง โดยสมาชิกจะต้องรับรู้ถึงบทบาท สิทธิและหน้าที่ของตนเอง รวมถึงผลประโยชน์ที่สมาชิกครอบครัวแต่ละคนจะได้รับ ซึ่งหากเป็นการตกลงร่วมกัน จะช่วยลดความรู้สึกไม่เป็นธรรม นอกจากกติกาแล้ว การบริหารจัดการยังจะต้องแยกเสาหลักของการจัดการ “ธุรกิจ” และ “ครอบครัว” ออกจากกัน แต่ยังต้องมีความเชื่อมโยงซึ่งประสานประโยชน์ระหว่างสองเรื่องนี้ได้ เช่น การบริหารจัดการธุรกิจอาจทำเป็นระบบเช่นเดียวกับองค์กรธุรกิจทั่วไป แต่ในขณะเดียวกันการตัดสินใจในฐานะผู้ถือหุ้น การปันผลเพื่อประโยชน์ของสมาชิกในครอบครัว ยังคงเป็นเรื่องภายในครอบครัว เป็นต้น

3. สร้างการมีส่วนร่วม สมาชิกในครอบครัวไม่จำเป็นต้องเข้าไปมีส่วนในการดำเนินธุรกิจหรือระบบการจัดการภายในครอบครัวทุกคน แต่สิ่งสำคัญคือการยึดถือและมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามกติกาที่ครอบครัวได้ตกลงร่วมกันไว้ นอกจากนี้ การสื่อสารภายในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอจะช่วยสร้างความเข้าใจ ลดความเคลือบแคลงที่อาจเกิดเป็นปัญหาผิดใจกัน และส่งผลกระทบต่อธุรกิจได้ ในปัจจุบัน หลายๆ ครอบครัวจะมีการจัดกิจกรรมระหว่างสมาชิกครอบครัวในรุ่นต่างๆ เพื่อให้คนในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็น ลูกพี่ลูกน้อง ป้าหลาน ปู่ย่าตายาย มีความใกล้ชิดกัน ซึ่งนอกจากจะส่งผลดีในแง่ของความสัมพันธ์ในครอบครัวแล้ว ยังจะช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจครอบครัวมีความเข้มแข็งอีกด้วย

4. บริหารอย่างมืออาชีพ หนึ่งในการข้ามผ่านความเป็นธุรกิจครอบครัวคือการบริหารอย่างมืออาชีพ บางครอบครัวอาจมีข้อตกลงร่วมกันที่จะว่าจ้างผู้บริหารมืออาชีพเข้ามาบริหารธุรกิจครอบครัว เพื่อทำให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้ บางครอบครัวอาจจะยังให้สมาชิกในครอบครัวบริหารเองอยู่ แต่ก็จำเป็นจะต้องเรียนรู้ทักษะและประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อให้มีความพร้อมในการบริหารมากขึ้น นอกจากตัวบุคคลแล้ว โครงสร้างของธุรกิจครอบครัว จะต้องมีการจัดระบบที่สามารถรองรับการบริหารอย่างมืออาชีพได้แทนการบริหารจัดการธุรกิจแบบครอบครัวอย่างเดิม

สำหรับการส่งมอบบริการบริหารจัดการทรัพย์สินครอบครัว KBank Private Banking นำประสบการณ์และองค์ความรู้กว่า 225 ปีที่ได้รับถ่ายทอดจาก Lombard Odier ซึ่งยังเป็นธุรกิจครอบครัวที่ส่งต่อกันมาถึง 7 รุ่นด้วยกัน ทำให้สามารถส่งมอบบริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัวได้อย่างครบวงจร เพื่อช่วยให้ทุกครอบครัวสามารถวางแผนและดำเนินการบริหารธุรกิจครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างการเติบโตให้สินทรัพย์ครอบครัวงอกเงยอย่างยั่งยืน ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นอย่างเป็นระบบได้ และเป็นกำลังขับเคลื่อนที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจไทยต่อไป” นายพีระพัฒน์ กล่าวปิดท้าย

 

รายงานฉบับใหม่ของ ของ PwC เปิดเผยว่า NextGens มองว่าตัวเองเป็นตัวแทนของการพลิกโฉมสู่ความเป็นดิจิทัล แต่ต้องการแรงสนับสนุนและความไว้วางใจจากผู้นำรุ่นปัจจุบัน

Page 2 of 2
X

Right Click

No right click