องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลีจับมือเคทีซี วางกลยุทธ์ระยะยาว กระตุ้นคนไทยวางแผนท่องเที่ยวเกาหลีมากขึ้น หลังปีที่ผ่านมาประสบความสำเร็จเกินเป้าหมาย เปิดตัวแคมเปญ “Korea Everything” ทุกสิ่งเป็นจริงที่เกาหลี นำเสนอแกนการท่องเที่ยวเกาหลีใน 3 มิติ : K – Food   K – Fun และ K – Culture  ให้อิสระนักท่องเที่ยวเลือกวางแผนตามไลฟ์สไตล์ ด้านเคทีซีจัดเต็มสิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก รับคะแนน KTC FOREVER สูงสุด 10 เท่า / เลือกผ่อนชำระ 0% นาน 6 เดือน หรือใช้คะแนน KTC FOREVER แลกรับส่วนลด พร้อมลุ้นรับแพ็กเกจท่องเที่ยว 5 วัน 3 คืน เส้นทางปูซานฟรี !!! เพียงมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซีสูงสุดที่ KTC World Travel Service หรือห้างสรรพสินค้าที่ร่วมรายการ

นายลี ซาง อู ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลี KTO (Korea Tourism Organization) เปิดเผยว่า ในปี 2566 ที่ผ่านมา มีจำนวนนักท่องเที่ยวจากประเทศไทยเดินทางไปยังเกาหลีราว 380,000 คน สะท้อนให้เห็นว่าการท่องเที่ยวฟื้นตัวเทียบเท่ากับช่วงก่อนวิกฤตโควิดแล้ว โดยเกาหลีและรัฐบาลไทยได้ร่วมกันเปิดโครงการ Korea – Thailand Visit Year 2566 - 2567 เพื่อส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวเกาหลี และนักท่องเที่ยวไทยเดินทางท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศมากขึ้น องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลีจึงได้จัดแคมเปญ Korea Everywhere พร้อมกัน 4 สถานที่ทั่วกรุงเทพมหานคร ด้วยโปรโมชันครั้งยิ่งใหญ่ในปีที่ผ่านมา

สำหรับในปี 2567 นี้ KTO ได้จัดงานอีเว้นท์ YES, Korea Travel เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาใน 3  หัวเมืองหลัก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ และภูเก็ต ซึ่งได้รับการตอบรับด้วยดีจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ต้องการสัมผัสวัฒนธรรมเกาหลี รวมถึงวางแผนที่จะเดินทางท่องเที่ยวไปยังเกาหลี และ KTO ยังมีแผนจะเปิดตัวอีกหลายโครงการโดยยึดธีมเรื่องวัฒนธรรมเกาหลีและเน้นเรื่องการใช้สื่อโซเชียลเป็นหลัก หนึ่งในโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นก็คือ  “Korea-Thailand Food Travel Week” ซึ่งได้ร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดอีเว้นท์เกี่ยวกับอาหารทั้งในประเทศไทยและเกาหลีช่วงเดือนพฤษภาคมและเดือนกรกฎาคม โดยเชฟไทยชื่อดังระดับโลก “เจ๊ไฝ” จะเข้าร่วมงานอีเว้นท์ที่เกาหลีเพื่อสัมผัสประสบการณ์อาหารเกาหลีถึงถิ่น และ “เจ๊ไฝ” ยังจะได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนของ Korea-Thailand Visit Year อีกด้วย นอกจากนี้ KTO ยังให้การสนับสนุนตัวแทนสำนักงานท่องเที่ยวและสื่อมวลชนด้วยการเชิญไปสัมผัสประสบการณ์การท่องเที่ยวที่เกาหลี รวมถึงให้บริการข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจของการท่องเที่ยวเกาหลี เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์ให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทย

นางสาวอริญชยา เลิศวัฒนชัย ผู้จัดการฝ่ายการตลาดองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลี KTO (Korea Tourism Organization) กล่าวว่า ปัจจุบันเทรนด์การท่องเที่ยวเกาหลีของนักท่องเที่ยวไทยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบจากการซื้อแพ็กเกจทัวร์เป็นการวางแผนเดินทางด้วยตนเอง หรือที่เรียกว่า FIT (Free Independent Travelers) โดยนิยมเดินทางเป็นกลุ่มเล็กๆ เช่น กลุ่มเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัว เนื่องจากเกาหลีเป็นประเทศที่มีความสะดวกสบาย นักท่องเที่ยวสามารถวางแผนเดินทางเองได้  เช่น สำรองที่นั่งสายการบิน ที่พัก หรือกิจกรรมต่างๆ ผ่านช่องทางของเคทีซี ได้แก่ KTC World Travel Service  เว็บจองโรงแรม หรือ OTA (Online Travel Agent) ซึ่งถือเป็นการให้บริการแบบ One Stop Service  จากพฤติกรรมดังกล่าว KTO จึงได้วางกลยุทธ์การตลาดสำหรับปี 2567 ด้วยการจับมือกับเคทีซี เปิดตัวแคมเปญ “Korea Everything” ทุกสิ่งเป็นจริงที่เกาหลี นำเสนอมิติการท่องเที่ยว 3 แกนหลัก ได้แก่ K-Food K-Fun และ K-Culture เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวสามารถเลือกกิจกรรมตามไลฟ์สไตล์หรือความชอบที่แตกต่างโดยไฮไลท์ที่ 2 เส้นทางหลัก ได้แก่ โซลและปูซาน

K-Food: ลิ้มลองเมนูพิเศษอย่าง ฮันจองซิก อาหารชุดเกาหลีที่มีต้นกําเนิดมากจากพระราชวังและ บ้านขุนนางในสมัยก่อน  หรือเมนูซีฟู้ดหม้อไฟทะเลซึ่งปูซานมีความโดดเด่นมากในด้านความสดใหม่ของอาหารทะเล

K-Fun: สนุกกับความน่ารักของอัลปาก้า ที่อัลปาก้าเวิลด์ โซล หรือ นั่งรถไฟปูซาน สกาย แคปซูล เทรนด์  ขบวนรถสีสันสุดน่ารักที่วิ่งเรียบชายหาดเเฮอุนแด

K-Culture: สัมผัสประวัติศาสตร์อันยาวนานของหมู่บ้านบุกชอนฮันอก ซึ่งเดิมเป็นย่านที่อยู่อาศัย ของข้าราชการระดับสูงและขุนนางตั้งแต่สมัยราชวงศ์โชซอน หรือหมู่บ้านวัฒนธรรมคัมซอน เมืองปูซาน ที่มีลักษณะการสร้างบ้านเรือนเรียงรายไปตามภูเขาเป็นขั้นบันได บ้านและหลังคามีสีสันสลับไปมา กลายเป็นเอกลักษณ์จนได้ฉายาว่า “มาซูปิกชูแห่งปูซาน”   

นางประณยา นิถานานนท์ ผู้บริหารสูงสุด สายงานการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลอดปี 2566ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลับมาคึกคักอย่างมาก ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซีในหมวดท่องเที่ยวก็ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะเส้นทางเกาหลีในช่วงครึ่งปีหลัง 2566 เคทีซีได้ร่วมกับองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลี (KTO) ออกแคมเปญ Korea Everywhere ส่งผลให้ยอดรวมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซีที่เกาหลีเติบโตขึ้น 35% เมื่อเปรียบเทียบกับครึ่งปีหลังของปี 2565 มีจำนวนสมาชิกบัตรฯ ที่เดินทางไปใช้จ่ายที่เกาหลีเพิ่มขึ้น 38% และยอดเฉลี่ยการใช้จ่ายต่อสมาชิกอยู่ที่ 17,500 บาท ในส่วนของ KTC World Travel Service มีจำนวนสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีที่ใช้บริการสำรองบัตรโดยสารสายการบิน ที่พัก และแพ็กเกจเส้นทางเกาหลีในปี 2566 เพิ่มขึ้น 378% (เทียบกับปี 2565) ซึ่งถือว่ากลับมาใกล้เคียงกับช่วงปี 2562 ก่อนเกิดการระบาดของโควิด19

สำหรับในปี 2567 นี้ เคทีซียังคงร่วมมือกับ KTO วางกลยุทธ์การตลาดเพื่อกระตุ้นให้สมาชิกบัตรเครดิต

เคทีซีเลือกเกาหลีเป็นจุดหมายในการเดินทาง ด้วยการออกแคมเปญ “Korea Everything” ทุกสิ่งเป็นจริงที่เกาหลี มอบความคุ้มค่าและสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายให้กับสมาชิกใน 3 มิติ ประกอบด้วย K-Food / K-Fun และ  K-Culture โดย KTC World Travel Service ได้ออกแบบแพ็กเกจท่องเที่ยวในราคาพิเศษ 5 วัน 3 คืน “K-Everything in Seoul” เริ่มต้นที่ 41,900 บาท / ท่าน และ “K-Everything in Busan” เริ่มต้นที่ราคา 32,900 บาท / ท่าน (รวมบัตรโดยสารสายการบิน ที่พัก และกิจกรรม) หรือสมาชิกที่ชอบท่องเที่ยวแบบอิสระ สามารถเลือกใช้บริการสำรองบัตรโดยสารสายการบินราคาพิเศษ บริการรถรับส่ง บัตรเข้าชมกิจกรรมต่างๆ ได้ตามไลฟ์สไตล์ของตนเอง ทั้งในกรุงโซล อินชอน เมืองใกล้เคียง และปูซาน และทุกยอดการใช้จ่ายในเส้นทางเกาหลี สมาชิกยังได้สิทธิ์รับคะแนน KTC FOREVER สูงสุด 10 เท่า / เลือกผ่อนชำระ 0% นาน 6 เดือน หรือใช้คะแนน KTC FOREVER ทุก 1,000 คะแนนแลกรับส่วนลด 130 บาท นอกจากนี้ เคทีซียังได้ร่วมมือกับสายการบินโคเรียนแอร์ (Korean Air) เอเชียน่าแอร์ไลน์ (Asiana Airlines) และการบินไทย (Thai Airways) มอบสิทธิพิเศษส่วนลดและสิทธิพิเศษอื่นๆเมื่อสำรองบัตรโดยสารสายการบินตรงกับเว็ปไซต์สายการบิน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 – 30 พฤศจิกายน 2567

พิเศษ! ลุ้นเป็นคู่ผู้โชคดี รับฟรีแพ็กเกจท่องเที่ยว 5 วัน 3 คืน “Korea Everything in Pusan” สัมผัสประสบการณ์เกาหลีที่แตกต่างทั้ง K-Food K-Fun และ K-Culture เส้นทางปูซาน จำนวน 4 รางวัลๆ ละ 2 ท่าน มูลค่ากว่า 640,000 บาท เพียงมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซีสูงสุด ที่ KTC World Travel Service และห้างสรรพสินค้าชั้นนำที่ร่วมรายการ

นายปภพ สุวรรณวิศลกิจ เจ้าของเพจ Megamaxx Journey  กล่าวว่า เกาหลีเป็นประเทศที่สามารถท่องเที่ยวได้ทุกฤดูกาล เพราะแต่ละช่วงเวลาจะมีไฮไลท์ และจุดเด่นของแต่ละสถานที่แตกต่างกันออกไป ล่าสุดเพิ่งได้มีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวที่เมืองปูซาน ประเทศเกาหลี เพื่อชมเทศกาลดอกซากุระ (Cherry Blossom Season) ซึ่งได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ด้วยการเช่ารถยนต์เพื่อขับท่องเที่ยวเองเป็นครั้งแรก ซึ่งมีข้อดีแตกต่างจากการนั่งรถสาธารณะ เพราะสามารถวางแผนการท่องเที่ยวได้ด้วยตนเอง แวะชมสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ ได้ตลอดเส้นทาง ซึ่งทริปนี้ได้มีขับรถไปถึงเมืองอุลซาน ซึ่งเป็นเมือง Unseen ที่มีความน่าสนใจ แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวมากนัก

ผู้สนใจสิทธิพิเศษด้านการเดินทางท่องเที่ยวสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC World Travel Service โทรศัพท์ 02 123 5050 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์ https://www.ktc.co.th/KoreaEverything  สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี สามารถคลิกดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ https://ktc.today/apply-card หรือติดต่อศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ


หมายเหตุ : บัตรเครดิตใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้ตามกำหนดจะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี

เคทีซีจับมือคาเธ่ย์ ปลูกต้นโกงกางที่ป่าชายเลนในประเทศไทยภายใต้โครงการ “บิน 1 เที่ยว ปลูก 1 ต้น” โดยโครงการ “บิน 1 เที่ยว ปลูก 1 ต้น” เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการเสริมสร้างความยั่งยืนที่คาเธ่ย์ได้ดำเนินมาเป็นเวลา 3 ปี เพื่อสนับสนุนชุมชนท้องถิ่น ฟื้นฟูถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ และรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความยั่งยืน และสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ชุมชนท้องถิ่น เคทีซีจึงได้ร่วมสนับสนุนและต่อยอดโครงการดังกล่าว ด้วยการสมทบจำนวนต้นไม้สำหรับปลูกในป่าชายเลนเท่าจำนวนบัตรโดยสารของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค ที่จำหน่ายผ่าน KTC World Travel Service และชำระด้วยบัตรเครดิต KTC ในปี 2566 ทั้งนี้ ทีมงานเคทีซีและคาเธ่ย์ ได้ร่วมกันปลูกต้นไม้รวม 4,000 ต้น ณ ป่าชายเลนบางปู สมุทรปราการในวันที่ 23 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา

นางประณยา นิถานานนท์ ผู้บริหารสูงสุด สายงานการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เคทีซีดำเนินธุรกิจบนแนวคิดด้านความยั่งยืนโดยคำนึงถึงทั้งมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล การร่วมมือกับพันธมิตรเปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีส่วนร่วมแสดงความรับผิดชอบและบรรเทาปัญหาภาวะสิ่งแวดล้อมก็เป็นแนวคิดของเคทีซีด้วยเช่นกัน การร่วมมือกับ คาเธ่ย์ เพื่อต่อยอดโครงการ “บิน 1 เที่ยว ปลูก 1 ต้น”  เป็นส่วนหนึ่งที่เคทีซีต้องการสนับสนุนความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ชุมชนท้องถิ่น และรณรงค์ให้สมาชิกเห็นความสำคัญของการปลูกต้นโกงกางในป่าชายเลน ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ช่วยลดโลกร้อนได้ดีเมื่อเทียบกับป่าบกทั่วไป ด้วยป่าชายเลนสามารถสะสมคาร์บอนไดออกไซด์ได้ในปริมาณที่มากกว่า เคทีซีจึงได้ร่วมสมทบต้นโกงกางเพิ่ม 1 ต้น เมื่อสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีจองบัตรโดยสารเครื่องบินสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค ทุกๆ 1 ใบ ผ่าน KTC World Travel Service โดยโครงการดังกล่าวนี้ เป็นความร่วมมือระยะยาวระหว่างสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคและเคทีซี เริ่มต้นขึ้นในปี 2566 ซึ่งตลอดทั้งปีที่ผ่านมา มีจำนวนต้นโกงกางที่ได้รับจากโครงการนี้ถึง 4,000 ต้น  และในปีนี้ สมาชิกเคทีซียังคงสามารถเป็นส่วนหนึ่งใน โครงการ “บิน 1 เที่ยว ปลูก 1 ต้น”  ได้ตลอดทั้งปี 2567 คาเธ่ย์ ดำเนินโครงการ “บิน 1 เที่ยว ปลูก 1 ต้น”  เป็นครั้งแรกในปี 2564 ที่ประเทศไทย และได้ขยายผลไปยังประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนำไปสู่การปลูกป่าชายเลนมากกว่า 27,000 ต้นทั่วทั้งภูมิภาค

นางสาวเคอรี่ ลุย ผู้จัดการประจำประเทศไทยและเมียนมาร์ สายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค กล่าวว่า “เราภูมิใจที่ได้สานต่อความพยายามในการส่งเสริมความยั่งยืนและตอบแทนชุมชนที่เราให้บริการ เรามุ่งมั่นที่จะสร้างอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้นสำหรับคนรุ่นต่อ ๆ ไป และต้องการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนในสังคมมาร่วมมือกันเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นแก่โลกของเรา ในโอกาสนี้ เราจึงได้เชิญเด็กด้อยโอกาส 10 คนมาร่วมกิจกรรมกับเรา เพื่อให้พวกเขาได้รับประสบการณ์ตรงในการปลูกป่า และฟูมฟักแนวความคิดด้านความยั่งยืน ยิ่งไปกว่านั้น เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับเคทีซี พันธมิตรที่มีแนวคิดเดียวกันในการเดินทางเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น”

ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC World Travel Service โทรศัพท์ 02 123 5050 สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี สามารถคลิกดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ https://ktc.today/apply-card หรือติดต่อศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ 

หมายเหตุ : บัตรเครดิตใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้ตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ยสูงสุด 16% ต่อปี

นางสาวสิรีรัตน์ คอวนิช (กลางซ้าย) ผู้บริหารสูงสุด ฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทนมอบเงินจำนวน 29,402,285 บาท สมทบทุนเข้าโครงการอุปการะเด็กในมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย เพื่อร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก ครอบครัวและชุมชนยากไร้ ซึ่งเผชิญกับปัญหาความยากจน รวมทั้งช่วยให้ครอบครัวและชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีได้ร่วมกันบริจาคผ่านการใช้คะแนนสะสม KTC FOREVER และบัตรเครดิตเคทีซี โดยมีดร.สราวุธ ราชศรีเมือง (กลางขวา) ผู้อำนวยการ มูลนิธิศุภนิมิตฯ ให้เกียรติรับมอบ ณ มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย เขตห้วยขวาง เมื่อเร็วๆ นี้ 

มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรสาธารณกุศลเพื่อการพัฒนาและการรณรงค์เพื่อสร้างความยุติธรรมในสังคม โดยดำเนินพันธกิจช่วยเหลือเด็ก ผ่านการทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชน เพื่อเอาชนะปัญหาความยากจนและความไม่ยุติธรรมในสังคม ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตเด็ก และชุมชนที่เปราะบางยากไร้ที่สุดโดยไม่มีการแบ่งแยกเพศ เชื้อชาติ ภาษาและศาสนา โดยมูลนิธิฯ มีเป้าหมายจะช่วยเหลือเด็ก 3 ล้านคนที่อยู่ในภาวะเปราะบางให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นภายในปี 2025 ปัจจุบันมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย มีพื้นที่ดำเนินงานใน 36 จังหวัดทั่วทุกภาคของประเทศไทย และมีเด็กในความอุปการะ 38,479 คน

เคทีซีเผยไตรมาส 1/2567 กลุ่มบริษัทสามารถทำกำไร 1,803 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.4% จาก ไตรมาส 4/2566 สำหรับปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและพอร์ตสินเชื่อเพิ่มขึ้นในลักษณะชะลอตัว ตามภาพรวมเศรษฐกิจที่โตช้ากว่าคาด เชื่อมั่นผลการดำเนินงานจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เดินหน้ากลยุทธ์การตลาด และมีเป้าหมายการดำเนินงานที่ชัดเจน รวมทั้งเน้นบริหารพอร์ตสินเชื่อรวมให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ตามแนวทางการให้สินเชื่อด้วยความรับผิดชอบและเป็นธรรม

นางพิทยา วรปัญญาสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “อุตสาหกรรมสินเชื่อผู้บริโภคเติบโตแบบชะลอตัว ด้วยแรงกดดันจากความสามารถในการชำระหนี้ รวมถึงหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ในเดือนมีนาคม 2567 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังสะท้อนภาพรวมความเชื่อมั่นในเกณฑ์ดี โดยเคทีซีมีสัดส่วนของลูกหนี้บัตรเครดิตและลูกหนี้สินเชื่อบุคคล (ไม่รวมสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน) เทียบกับอุตสาหกรรม ระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 เท่ากับ 13.2% และ 6.1% ตามลำดับ ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดของปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรของเคทีซีเท่ากับ 12.4%”

“ภาพรวมการดำเนินงานของเคทีซีในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมายังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องด้วยสภาวะเศรษฐกิจมีความอ่อนตัวลงมากกว่าที่คาด อย่างไรก็ตาม เคทีซียังสามารถทำกำไรสุทธิตามงบการเงินรวมได้เท่ากับ 1,803 ล้านบาท และงบการเงินเฉพาะกิจการ 1,893 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4/2566 เท่ากับ 2.4% และ 7.4% ตามลำดับ โดยเชื่อว่ากลยุทธ์การสร้างฐานลูกค้าบัตรเครดิตในกลุ่มที่มีรายได้สูงขึ้น รวมทั้งการ คัดกรองคุณภาพพอร์ตทั้งบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล อีกทั้งมีการสื่อสารเชิงรุกถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในผลิตภัณฑ์สินเชื่อเคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน จะสามารถทำให้เคทีซีบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในที่สุด”

“เคทีซีได้ดำเนินการปรับเพิ่มอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิตจาก 5% เป็น 8% ซึ่งมีผลในรอบบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 นั้น ในช่วงไตรมาส 1/2567 พบว่าลูกหนี้ส่วนใหญ่ของเคทีซีสามารถจ่ายชำระขั้นต่ำที่ 8% ได้ มีเพียงลูกหนี้ส่วนน้อยที่ประสบปัญหา นอกจากนี้ เคทีซีจะนำเสนอแนวทางการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ที่ยังไม่ด้อยคุณภาพ (non-NPL) ซึ่งเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในลักษณะเชิงป้องกัน (Pre-emptive DR) ตั้งแต่เริ่มมีสัญญาณว่าลูกหนี้กำลังจะประสบปัญหาในการชำระหนี้อย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อให้ลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ ไม่กลายเป็นหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) อีกทั้งจะเสนอแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยเฉพาะก่อนการดำเนินการตามกฎหมาย โอนขายหนี้ บอกเลิกสัญญา หรือยึดทรัพย์ โดยจะพิจารณาให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ และไม่ทำให้ลูกหนี้มีภาระหนี้เพิ่มขึ้นจากภาระหนี้เดิมเกินสมควร ทั้งนี้ เป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ธปท. ที่ สกช. 7/2566 เรื่อง การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending: RL)”

“เคทีซีเชื่อมั่นว่าการให้ความช่วยเหลือตามเกณฑ์ดังกล่าว จะไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อภาพรวมการดำเนินงานของบริษัทฯ และสำหรับการช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt: PD) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 คาดว่าหากลูกหนี้ที่เข้าเกณฑ์ทุกรายเข้าร่วมโครงการจะมีผลกระทบต่อรายได้ดอกเบี้ยลดลงประมาณ 18 ล้านบาทต่อเดือน”   

ทั้งนี้ สินทรัพย์เคทีซี ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 พอร์ตสินเชื่อรวมขยายตัวสร้างรายได้เติบโตดี และมีปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อีกทั้งสามารถรักษาคุณภาพสินทรัพย์ได้ดี โดยมีฐานสมาชิกรวม 3,423,147 บัญชี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับรวม 105,347 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 2.0%) อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อรวม (NPL) 2.0% แบ่งเป็นสมาชิกบัตรเครดิต 2,695,453 บัตร (เพิ่มขึ้น 4.0%) เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรเครดิตและดอกเบี้ยค้างรับรวม 69,213 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 2.3%) NPL บัตรเครดิตอยู่ที่ 1.2% ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรมูลค่า 69,419 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 8.5%) สมาชิกสินเชื่อบุคคลเคทีซี 727,694 บัญชี (ลดลง 2.6%) เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้สินเชื่อบุคคลและดอกเบี้ย ค้างรับรวม 33,149 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 2.4%) NPL สินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 2.1% และลูกหนี้ตามสัญญาเช่าในบริษัท กรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง จำกัด (KTBL) 2,985 ล้านบาท (ลดลง 9.6%) เนื่องจากได้หยุดปล่อยสินเชื่อใหม่ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 แล้ว ในส่วนยอดลูกหนี้ใหม่ (New Booking) ของสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” เท่ากับ 611 ล้านบาท ขยายตัว 82.6%

ในส่วนของรายได้รวมช่วงไตรมาส 1/2567 เพิ่มขึ้น 11.7% จากช่วงเดียวกันของปี 2566 เท่ากับ 6,763 ล้านบาท ทั้งจากรายได้ดอกเบี้ยรวม (รวมรายได้ค่าธรรมเนียมในการใช้วงเงิน) รายได้ค่าธรรมเนียม และหนี้สูญได้รับคืนที่เพิ่มขึ้น 5.4% 14.7% และ 26.7% ตามลำดับ ขณะที่ค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น 20.4% จากช่วงเดียวกันของปี 2566 เท่ากับ 4,504 ล้านบาท ตามการขยายตัวของปริมาณธุรกรรม พอร์ตสินเชื่อรวม และการลงทุนพัฒนาระบบงาน รวมถึงมูลค่าการตัดหนี้สูญที่มากขึ้นจากการเปลี่ยนกรอบเวลาการตัดหนี้สูญให้เร็วขึ้น เพื่อให้พอร์ตสินเชื่อรวมหลังสิ้นสุดการใช้เกณฑ์ผ่อนปรนการจัดชั้นลูกหนี้ NPL สะท้อนภาพความเป็นจริงมากขึ้น โดยแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร 2,369 ล้านบาท ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) 1,683 ล้านบาท และต้นทุนทางการเงิน 451 ล้านบาท โดยมีอัตราค่าใช้จ่ายในการบริหารรวมต่อรายได้ (Cost to Income Ratio) ที่ 35.0% เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาส 1/2566 อยู่ที่ 32.8%

นอกจากนี้ ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 กลุ่มบริษัทมีเงินกู้ยืมทั้งสิ้น 59,344 ล้านบาท โดยมีโครงสร้างแหล่งเงินทุนเป็นเงินกู้ยืมระยะสั้น (รวมส่วนของเงินกู้ยืมและหุ้นกู้ที่ครบกำหนดชำระภายในหนึ่งปี) และเงินกู้ยืมระยะยาว คิดเป็นสัดส่วน 23.3% ต่อ 76.7% อัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 1.83 เท่า ลดลงเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ 2.0 เท่า ซึ่งต่ำกว่าภาระผูกพัน (Debt Covenants) ที่ 10 เท่า และมีวงเงินสินเชื่อคงเหลือ (Available Credit Line) 24,990 ล้านบาท

 

นางสาวพิชามน จิตรเป็นธรรม ผู้บริหารสูงสุด – สายงานสินเชื่อบุคคล “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในเดือนเมษายนและพฤษภาคมเป็นช่วงของเทศกาลวันหยุดยาว และใกล้เปิดเทอม ผู้บริโภคส่วนใหญ่อาจมีความต้องการเงินสดเพื่อใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น เคทีซีจึงได้จัดกิจกรรมพิเศษสำหรับผู้สมัครขอสินเชื่อบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” และได้รับการอนุมัติระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2567 – 31 สิงหาคม 2567 จะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 19.99% ต่อปี สำหรับเงินกู้ก้อนแรกที่โอนเข้าบัญชี 50,000 บาทขึ้นไป และเลือกผ่อนชำระรายเดือน (ตั้งแต่ 12 เดือนถึง 60 เดือน) สำหรับคุณสมบัติของผู้สมัครสินเชื่อบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” จะต้องมีสัญชาติไทย อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และเป็นพนักงานประจำของบริษัทเอกชน หน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ที่มีรายได้ขั้นต่ำ 12,000 บาทต่อเดือน โดยสามารถสมัครสมาชิกสินเชื่อบัตรกดเงิน “เคทีซี พราว” ได้ที่ศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” และธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือคลิก https://ktc.today/KTC-PROUD  ทั้งนี้ ผู้ถือบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” ควรกู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว”   

“บัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” โดดเด่นด้วยฟังก์ชันครบทั้งรูด-โอน-กด-ผ่อน โดยสามารถช้อปออนไลน์ได้ทุกร้านค้า ทุกที่ ทุกเวลา รวมทั้งสามารถโอนเงินเรียลไทม์ผ่านแอปฯ “KTC Mobile” เข้าบัญชีธนาคารได้ถึง 13 ธนาคาร และกดเงินสดจากตู้เอทีเอ็มได้ตลอด 24 ชั่วโมง ฟรีค่าธรรมเนียมการกดเงิน  นอกจากนี้ยังใช้ผ่อนสินค้า 0% ได้นานสูงสุดถึง 24 เดือน ณ ร้านค้าที่ร่วมรายการ”

Page 1 of 65
X

Right Click

No right click