×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 813

FLOYD อวดผลงานงวดครึ่งปีแรกของปี 2561 ออกมาสวย มีกำไรสุทธิ 30.14 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากกว่า 141%  โกยรายได้จากการให้บริการ 185.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50.09% จากการทยอยรับรู้รายได้งานคอนโดฯ และงานห้างสรรพสินค้าอย่างต่อเนื่อง “ทศพร จิตตวีระ” ประเมินแนวโน้มผลงานปี 2561 ฟื้นตัว เชื่อแนวโน้มผลงานครึ่งปีหลังเติบโตดีกว่าในช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจและการเมืองในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น สนับสนุนรายได้เติบโต 10-15% ตามเป้าหมาย จากการเร่งลงทุนงานโครงการภาครัฐ โดยเฉพาะรถไฟฟ้าสีต่างๆ ทำให้ภาคเอกชนมีความมั่นใจในการลงทุน เผยบริษัทอยู่ระหว่างรอผลการประมูลงานภาคเอกชน 2-3 โครงการ มูลค่าราว 100-200 ล้านบาท จากปัจจุบันมีงานในมืออยู่ราว 450 ล้านบาท

นายทศพร จิตตวีระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟลอยด์ จำกัด (มหาชน) หรือ FLOYD ผู้ให้บริการรับเหมาติดตั้งงานระบบไฟฟ้า งานวิศวกรรมระบบสาธารณูปโภค และเครื่องกลแบบครบวงจร เปิดเผยว่า ผลประกอบการของบริษัทฯในงวดครึ่งปีแรกของปี 2561  (1 ม.ค.- 30 มิ.ย.61) บริษัทฯ มีรายได้จากการให้บริการ 185.34  ล้านบาท เพิ่มขึ้น 61.86 ล้านบาท คิดเป็น 50.09% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวม 123.48 ล้านบาท โดยรายได้จากการให้บริการของบริษัทฯมาจากการรับรู้รายได้งานอาคารสูง งานแนวราบซึ่งเป็นงานห้างสรรพสินค้า และงานปรับปรุงงานเพิ่มอื่นๆ ทำให้บริษัทฯทยอยรับรู้รายได้จากการให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง   ส่งผลให้มีกำไรสุทธิ 30.14 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าครึ่งปีแรกของปีที่ผ่านมา 17.66 ล้านบาท  คิดเป็น 141.50%  

“ผลงานในงวด 6 เดือนแรกของปีนี้ออกเป็นที่น่าประทับใจ ทั้งรายได้และกำไร โดยกำไรสุทธิโตมากถึง 141.50% เช่นเดียวกับรายได้ที่เพิ่มขึ้นกว่า  50.09%  จากภาพรวมศรษฐกิจ และการลงทุนในประเทศกลับมาฟื้นตัวต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ FLOYD ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้รับเหมาติดตั้งงานวางระบบครบวงจร 
ที่ได้รับการยอมรับทั้งในเรื่องคุณภาพงานและการบริการที่รวดเร็ว ด้วยทีมงานวิศวกรที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในธุรกิจ  ทำให้กำไรขั้นต้นของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 57.81 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 29.01 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นถึง 99.28%” นายทศพร กล่าว

ทั้งนี้ กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจที่จะเพิ่มลูกค้าใหม่ๆเข้ามาในช่วงครึ่งปีหลังและในอนาคต บริษัทฯเน้นมองหาลูกค้าที่มีความมั่นคงทางการเงินและเป็นที่รู้จัก และเป็นลักษณะงานที่มีโอกาสทำซ้ำ ซึ่ง FLOYD มีความชำนาญ รวมทั้งการรุกตลาดด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)  ขณะที่แนวโน้มผลประกอบการในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะเติบโตดีกว่าในช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจและการเมืองในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการเอกชนมีความมั่นใจในการลงทุน ซึ่งจะทำให้ช่วงที่เหลือของปีนี้มีงานประมูลโครงการใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น ทั้งงานโครงการโครงสร้างพื้นฐาน อาคารที่พักอาศัย และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น โดย FLOYD มีความพร้อมที่จะเข้าประมูลงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อสะสมงานในมือ (Backlog) เข้ามาเพิ่มเติมจากปัจจุบันที่มีอยู่ประมาณ 450 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้ในช่วงที่เหลือของปีนี้

สำหรับการเข้าประมูลงานใหม่ๆ ในปีนี้ ในกลุ่มลูกค้าเก่ายังคงมีอย่างต่อเนื่อง ส่วนในกลุ่มลูกค้าใหม่ขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการประมูล ปัจจุบันมี 2-3 โครงการ  ซึ่งเป็นงานเกี่ยวกับอาคารที่พักอาศัยและห้างสรรพสินค้าใหม่ มูลค่ารวมประมาณ 100-200 ล้านบาท ผลการประมูลคาดว่าจะทยอยทราบผลในช่วงที่เหลือของปีนี้ทั้งหมด

“ภาพรวมผลประกอบการทั้งปี 2561 มองว่าทิศทางอุตสาหกรรมในภาคเอกชนยังทรงตัวและยังไม่น่าเป็นห่วง แม้จะยังเติบโตไม่หวือหวามาก แต่คาดว่าจะฟื้นหลังจากมีการเลือกตั้งเสร็จสมบูรณ์  โดยแนวโน้มรายได้ของบริษัทฯ ปีนี้ยังเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้เติบโตราว 10-15% เมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ตาม บริษัทฯมีนโยบายหลักที่จะใช้การบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ โดยการจัดทำข้อมูลในระบบคลาวด์มาช่วยในด้านต่างๆ การติดตามปัญหาหน้างาน เพื่อลดการสูญเสียทั้งเวลาและต้นทุน และเป็นการเก็บข้อมูลค่าใช้จ่าย เพื่อนำไปพัฒนาโครงการใหม่” นายทศพร กล่าว

ทางด้านความคืบหน้าแผนการก่อสร้างสำนักงานและศูนย์อบรมพนักงาน มูลค่าการลงทุนราว 80 ล้านบาท ตามแผนการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการยื่นขอใบอนุญาตก่อสร้างกับหน่วยงานราชการ โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2562 ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 1 ปี ทั้งนี้ หากอาคารดังกล่าวแล้วเสร็จและสามารถฝึกพนักงานจนถึงระดับชำนาญและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ทำให้บริษัทฯสามารถรับงานได้มากขึ้น

 รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยในงาน The Flagship Summit : Future Fast – Forward ว่า ปี 2561 จะเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงและเป็นปีแห่งโอกาส เพราะการเปลี่ยนแปลงเท่ากับโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งคาดการณ์ว่าภาพรวม GDP เศรษฐกิจไทยในปีหน้าน่าจะเติบโตที่ 4.5% ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ค่าเงินบาท และการเลือกตั้ง

โดยอุตสาหกรรมที่ได้รับอานิสงส์จากการเติบโตของเศรษฐกิจ และการสนับสนุนจากรัฐบาล ได้แก่ ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจส่งออกด้านเกษตร อาหาร ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมที่อยู่ตามแนวโครงการรถไฟฟ้า

ในขณะที่อุตสาหกรรมสื่อสารบันเทิง ธุรกิจการเงิน ธุรกิจการสื่อสารโทรคมนาคม ธุรกิจค้าปลีก จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการก้าวล้ำของเทคโนโลยี AI, Fintech, Algorithmic Trading, Blockchain, Smart Data ข้อมูลที่แปลงสภาพมาจาก Big Data ที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งาน นอกเหนือจากนี้ยังมี ช่องว่างระหว่างวัยในองค์กร, เทรนด์ธุรกิจ และพฤติกรรมผู้บริโภค เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ถือเป็นโอกาสทางธุรกิจ ดังนั้นองค์กรธุรกิจจึงต้องมีการปรับตัว ด้วยการเรียนรู้เทรนด์ทางกลยุทธ์ เช่น การสร้างตลาดใหม่ โดยที่ตลาดเดิมยังคงอยู่ สร้างความต้องการใหม่ๆ และการเพิ่มศักยภาพและผสมผสานการใช้งานเทคโนโลยี Digital Transformation หรือกลยุทธ์ในการสร้าง Shared Value รวมถึงการนำเอา Smart Data มาช่วยวางแผนกลยุทธ์ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล ในขณะที่ต้องศึกษา Business Model ใหม่ๆ เช่น 020 (online to offline) ที่กำลังมาแรง ซึ่งการเรียนรู้เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเป็นผู้นำ หรือพนักงานในองค์กรก็ตาม ต้องพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องปรับตัว รวมถึงเร่งการลงทุนในด้านเทคโนโลยี และมองหาโอกาสการเติบโตให้กับธุรกิจ

ผู้นำองค์กรในปี 2561 จะต้องเป็นคนถ่อมตัวทางปัญญา พร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา และยังต้องทันสมัย รู้ทันไม่หยุดนิ่งที่จะติดตามการเปลี่ยนแปลงต่างๆ รวมถึงเปิดใจยอมรับ เรียนรู้ต่อความแตกต่าง วิธีการใหม่ๆ หรือความล้มเหลว และยังต้องตัดสินใจจากข้อมูล ข้อเท็จจริง พร้อมที่จะปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ข้อมูลใหม่ๆ ทำงานเป็นทีม ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่าง และต้องมีการเคลื่อนไหว หรือมีการตัดสินใจที่รวดเร็ว

รศ.ดร.พสุ ให้สัมภาษณ์กับ MBA เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการจัดการเรียนการสอนของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ในปี 2561ว่า จะเน้นด้านนวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอน ปรับปรุงสื่อออนไลน์ของคณะเพื่อให้บริการกับประชาชนทั่วไปและหน่วยงานธุรกิจเพิ่มเติมจากที่ให้ความรู้กับนิสิตของคณะ

ทางด้านการวิจัยจะเน้นงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงมากขึ้น เป็นงานวิจัยที่มีผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจ เช่น  ผู้นำในยุคดิจิทัลจะมีวิธีการปรับตัวอย่างไร เป็นต้น

ในส่วนของหลักสูตร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชียกตัวอย่างว่า จะเห็นการปรับตัวครั้งใหญ่ของหลักสูตร MBA โดยจะร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Victoria ประเทศแคนานา มหาวิทยาลัย Glasgow ประเทศสก็อตแลนด์ เปิดหลักสูตร Master of Global Business  (MGB)  ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับความรู้ในระดับสากลเพิ่มมากขึ้น  

 

 

นักวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เผยประเทศไทยกำลังประสบสภาวะเศรษฐกิจ “ต้มกบ” เนื่องจากไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต สินค้าและบริการในประเทศไทยไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้เท่าที่ควร อันเกิดมาจากความเหลื่อมล้ำทางโอกาสของประชากรในประเทศ ที่ประชากรส่วนใหญ่ขาดโอกาสการเข้าถึง  ทรัพยากรหลัก ได้แก่ ทรัพยากรที่ดิน เงินทุน

Page 4 of 4
X

Right Click

No right click