หัวเว่ยจัดงาน Digital Sustainable University Day อัพเดทเทรนด์เทคโนโลยีและโซลูชันไฮไลต์เพื่อการเตรียมพร้อมโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสำหรับปรับตัวในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และลานนาคอม จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

นายวิลเลี่ยม จาง ประธานธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับภาคธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานด้านการศึกษา ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาในทุกๆด้าน และยังมีแนวโน้มที่จะมีพัฒนาการด้านความอัจฉริยะมากขึ้นทั้งการเรียน การสอน การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนถึงการจัดการระบบ ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

กิจกรรมการเรียนการสอนได้เปลี่ยนจากการใช้กระดานดำแบบดั้งเดิมมาเป็นเครื่องมือมัลติมีเดีย จากการเรียนรู้เริ่มทำได้ไร้ข้อจำกัด และจากการบรรยายแบบทางเดียวไปสู่การเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางมากขึ้นในฐานะผู้ให้บริการด้าน ICT ชั้นนํา หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะนําเครือข่ายแคมปัสอัจฉริยะ ศูนย์ข้อมูล การประมวลผลคลาวด์ ห้องเรียนอัจฉริยะ และเทคโนโลยีอื่น ๆ มาใช้ในการพัฒนาบุคลากรด้านนวัตกรรมในการศึกษาระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา เร่งให้เกิดนวัตกรรมในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล

โดยจากการจัดอันดับของ QS World University Rankings มหาวิทยาลัยกว่า 30 แห่งจาก 100 อันดับแรกของโลกได้เลือกให้หัวเว่ยเป็นพันธมิตรในการนำเทคโนโลยีเข้าไปประยุกต์ใช้เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษา ประสิทธิภาพในการวิจัย และความสามารถด้านนวัตกรรม

"การจัดงานเทคโนโลยีในครั้งนี้ ไม่เพียงแต่เป็นงานด้านเทคโนโลยีแบบฮาร์ดคอร์เท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้พบปะกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับฟังสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการจริงๆ เพื่อพัฒนาความร่วมมือให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ซึ่งเป็นสถานที่สําหรับการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับแถวหน้าของโลก หากเราสามารถใช้ข้อได้เปรียบของเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อสร้างคุณค่ามากมาย"

ในโอกาสนี้ยังได้จัดให้มีพิธีลงนามความร่วมมือในโครงการหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่ (Huawei ICT Academy) เพื่อร่วมกันผลักดันการพัฒนาความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยีขั้นสูง ตลอดจนเตรียมความพร้อมในเทคโนโลยีเฉพาะทาง เพื่อเป็นการบ่มเพาะบุคลากรในอนาคตให้มีทักษะความสามารถด้านดิจิทัลตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม

โดยผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมผ่านโครงการหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่ จะได้รับประกาศนียบัตรมาตรฐานวิชาชีพของหัวเว่ย ซึ่งเป็นการรับรองที่ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมระดับโลก อีกทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาสในการสมัครงานของนิสิตนักศึกษา รวมไปถึงโอกาสฝึกงานกับบริษัท หัวเว่ย ประเทศไทย ตลอดจนอาจได้เป็นพนักงานของหัวเว่ยหรือบริษัทในเครือพันธมิตร ซึ่งปัจจุบัน มีมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยเข้าร่วมในโครงการหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่แล้วมากกว่า 2,200 แห่งทั่วโลก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรชัย มุ่งไธสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับหัวเว่ย ซึ่งก็ถือเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก เพื่อร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมที่ไม่ได้โฟกัสเพียงเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะของบุคลากรและนักศึกษา รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาของมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนสู่การเป็น CRRU Smart University อีกด้วย และเชื่อว่าความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล และเกิดประโยชน์แก่ทั้งนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร รวมถึงการให้บริการสังคมแก่พี่น้องประชาชนทุกคนอย่างแน่นอน”

ณ งาน Huawei Analyst Summit ครั้งที่ 21 นายอีริค สวี ประธานกรรมการบริหารแบบหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย ประกาศขอความร่วมมือในกลุ่มนักพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาเนทีฟ แอปฯ สำหรับระบบปฏิบัติการ HarmonyOS ของหัวเว่ย ว่า “เราสนับสนุนให้นักพัฒนาและเจ้าของธุรกิจแอปพลิเคชันในจีนเข้าร่วมอีโคซิสเต็มเนทีฟ แอปฯ ของระบบปฏิบัติการ HarmonyOS (แอปพลิเคชันที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนระบบปฏิบัตการ HarmonyOS โดยเฉพาะ) เพื่อผนึกกำลังมอบประสบการณ์เหนือระดับให้กับลูกค้า”

HarmonyOS คือระบบปฏิบัติการเจเนอเรชันใหม่ของหัวเว่ยที่ทำงานบนอุปกรณ์อัจฉริยะได้หลากหลาย อาทิ สมาร์ทโฟน, อุปกรณ์อัจฉริยะสำหรับสวมใส่, แท็บเล็ตและสมาร์ท ทีวี ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2566 ระบบปฏิบัติการ HarmonyOS เป็นระบบปฏิบัติการหลักของอุปกรณ์อัจฉริยะมากกว่า 800 ล้านเครื่อง โดยข้อมูลจาก Counterpoint Research เผยว่า HarmonyOS มีส่วนแบ่งตลาดทั่วโลกถึง 4% และมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 16% ในประเทศจีนในไตรมาสที่สี่ของปี พ.ศ. 2566

นายอีริค สวี กล่าวว่า การพัฒนาอีโคซิสเต็ม HarmonyOS ของหัวเว่ยรุดหน้าอย่างมาก ในปัจจุบัน แอปพลิเคชันจำนวนกว่า 4,000 แอปจากเป้าหมาย 5,000 แอปได้เข้าสู่กระบวนการพัฒนาเพื่อรองรับระบบปฏิบัติการ HarmonyOS โดยหัวเว่ยตั้งเป้าพัฒนาหนึ่งล้านแอปพลิเคชันให้รองรับการใช้งานบนอีโคซิสเต็ม HarmonyOS

นายอีริค สวี เผยว่า HarmonyOS มาพร้อมสถาปัตยกรรมแบบใหม่ เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเทคโนโลยี IoT ได้รับการออกแบบให้ตอบโจทย์การใช้งานบนอุปกรณ์ทุกประเภทตั้งแต่อุปกรณ์ IoT, โทรศัพท์เคลื่อนที่ ตลอดจนอุปกรณ์อัจฉริยะในบ้าน, แล็ปท็อป, และเดสก์ท็อป ตอบโจทย์การใช้งานแบบระบบปฏิบัติการเดียวกันสำหรับทุกอุปกรณ์

“ในอดีต เรามุ่งปรับการใช้งาน HarmonyOS สำหรับอุปกรณ์อัจฉริยะทุกประเภท โดยแอปพลิเคชันต่าง ๆ ยังคงใช้ อีโคซิสเต็มของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ในประเทศจีน ผู้ใช้สมาร์ทโฟนหัวเว่ย ใช้เวลา 99% ไปกับแอปพลิเคชันประมาณ 5,000 แอป ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2567 เราจึงตัดสินใจพัฒนาแอปเหล่านี้ให้รองรับ HarmonyOS เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการผสานการทำงานระหว่างอีโคซิสเต็มของระบบปฏิบัติการและแอปพลิเคชันเข้าด้วยกันอย่างแท้จริง” นายอีริค สวี กล่าว

“ในปี พ.ศ. 2567 หัวเว่ยมุ่งบรรลุเป้าหมายการสร้างอีโคซิสเต็มสำหรับเนทีฟ แอปฯ ของ HarmonyOS การผลักดันอีโคซิสเต็ม HarmonyOS นับเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ แต่เราได้รับการสนับสนุนอย่างล้นหลามจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมและจากนักพัฒนาแอปพลิเคชัน ในวันที่เรามีแอปพลิเคชันที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์จำนวน 5,000 แอป และแอปอื่น ๆ จำนวนหลายพันแอปที่ได้รับการพัฒนาให้รองรับการทำงานบน HarmonyOS เราจะบรรลุเป้าหมายการสร้าง HarmonyOS ให้เป็นระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์อัจฉริยะอันดับที่สามของโลก เพิ่มเติมจาก Apple iOS และ Google Android” นายอีริค สวี กล่าวย้ำ

แม้ว่าในช่วงแรก หัวเว่ยมุ่งใช้งานระบบ HarmonyOS เฉพาะประเทศจีน นายอีริค สวี เปิดเผยว่าบริษัทจะเดินหน้าขยายการใช้ระบบ HarmonyOS ในประเทศอื่น ๆ โดยใช้กลยุทธ์การขยายแบบรายประเทศ

สรุปรายงานประจำปี พ.ศ. 2566 ของหัวเว่ย จัดพิมพ์เมื่อสิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 เผยว่า หัวเว่ยทุ่มทุนบ่มเพาะบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาอีโคซิสเต็ม HarmonyOS โดยนักพัฒนามากกว่า 380,000 ราย ได้รับการรับรองการทำงานบนระบบ HarmonyOS นอกจากนี้ หัวเว่ยได้ร่วมผลักดันโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและอุตสาหกรรมเพื่อร่วมพัฒนา HarmonyOS กว่า 150 โครงการ นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยมากกว่า 135 แห่งในประเทศจีนมีหลักสูตรการเรียนการสอนด้านระบบปฏิบัติการ HarmonyOS อีกด้วย

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 เคอร์เนลของระบบปฏิบัติการหงเหมิง (HongMeng) หรือ HarmonyOS ของหัวเว่ย ได้รับการรับรองการทดสอบและรับรองตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยระดับ 6 (Evaluation Assurance Level 6 Augmented - EAL6+) เป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรม จากมาตรฐานเกณฑ์การประเมินความปลอดภัยของข้อมูล Common Criteria for Information Technology Security Edging (CC) ซึ่งเป็นระดับความปลอดภัยสูงสุดของ เคอร์เนลของระบบปฏิบัติการเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป หัวเว่ยจึงเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์อัจฉริยะรายแรกของโลกที่ได้รับการรับรองในสาขานี้

นายอีริค สวี ยอมรับว่าการสร้างอีโคซิสเต็ม HarmonyOS เป็นภารกิจที่ท้าทายอย่างยิ่ง “ดังที่คุณทราบแล้วว่าก่อนหน้านี้การพัฒนา HarmonyOS มิได้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์หลักของเรา แต่ในเมื่อเราตัดสินใจดำเนินกลยุทธ์นี้แล้ว เราจะมุ่งมั่นขับเคลื่อนเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีที่สุด”

ยกระดับนวัตกรรมรักษ์โลก และการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างปลอดภัย

สนับสนุนการเติบโตพร้อมบุกเบิกโอกาสใหม่ในภาคอุตสาหกรรมยุคดิจิทัล

Page 1 of 26
X

Right Click

No right click