“มหาวิทยาลัยขอนแก่นบริการชุมชน” เป็นหนึ่งในนโยบายละแผนงานที่สำคัญของ รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. เพื่อเป็นการบริการวิชาการสู่สังคม

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สสว. ติวเข้มผู้ประกอบการรายย่อย (Micro Enterprises) บุกตลาดต่างประเทศ ผ่าน Born Global Business Model พร้อมมั่นใจภายใน 5 ปี แผนส่งเสริมการใช้ดิจิทัลดันยอดส่งออกผู้เข้าร่วมโครงการได้ไม่น้อยว่าร้อยละ 25

ดร.วิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงาน Born Global Rising Star Demo Day ว่า กิจกรรมในวันนี้ เป็นความร่วมมือระหว่าง สสว. กับ ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นอีกแนวทางในการสรรหาช่องทางที่เหมาะสมในการนำผู้ประกอบการขนาดเล็กของไทย (Micro Enterprises) ออกสู่ตลาดต่างประเทศ ภายใต้ปัจจัยและทรัพยากรที่ผู้ประกอบการแต่ละรายมี โดยจะสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการรายเล็กในการก้าวสู่ตลาดต่างประเทศตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มประกอบธุรกิจ ด้วยเครื่องมือและการมีคู่มือ รวมถึงพี่เลี้ยงในการให้คำปรึกษาและค้นหาตลาดที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจของตนเองตลอดระยะเวลา 5 วัน ที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะมีการติวเข้มผู้ประกอบการอย่างเข้มข้น โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือก จำนวน 20 ราย จะได้รับการฝึกวิธีสร้างธุรกิจที่มีนวัตกรรม เรียนรู้และปฏิบัติในการกำหนดแผนและทำความเข้าใจกลุ่มคนที่จะมาเป็นลูกค้าหรือผู้ใช้สินค้าหรือบริการของตน

ดร.วิมลกานต์ เผยอีกว่า นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังได้ฝึกการมองปัญหาและการแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด และสามารถนำไปใช้ในการหา Customer pain point ซึ่งจะทำให้ออกแบบสร้างสินค้าหรือบริการที่ตรงความต้องการของลูกค้าได้ โดยผู้ประกอบการจะได้ลงมือปฏิบัติและคิดเองทั้งหมด โดยโครงการนี้ยังได้รับเกียรติจาก Mr.Hassan Moosa ผู้ก่อตั้ง UtooCentral จากประเทศอินโดนีเซีย กูรูเรื่องการสร้างแบรนด์ในตลาดโลก มาให้ความรู้ในการทำแบรนด์ให้ปัง ดังไปทั่วโลก และภายหลังเสร็จสิ้นการอบรม ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้ปฏิบัติจริงโดยจัดแสดงสินค้าและบริการของตนเอง (Business Show Case) พร้อมประกวดการนำเสนอไอเดียธุรกิจ (Pitching)   โดยไอเดียผู้ประกอบการรายใดน่าสนใจมากที่สุด จะมีรางวัล Born Global Rising Star Award มอบให้

รองผอ.สสว. กล่าวด้วยว่า นอกจาก Born Global Business Model จะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายย่อย กลุ่ม Micro Enterprises สามารถที่จะเปิดตลาดในต่างประเทศ ได้ตั้งแต่วันแรกที่เป็นผู้ประกอบการแล้ว สสว.ยังส่งเสริมการใช้ดิจิทัลในผู้ประกอบการรายย่อยซึ่งมีจำนวนมากกว่า 80 % ของผู้ประการทั้งหมดโดยถือเป็นสัดส่วนหลักในภาพรวมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและรายย่อยของไทย ทั้งนี้ สสว.มั่นใจว่าหากผู้ประกอบการดำเนินการตามแผนกลยุทธ์และรูปแบบที่เตรียมไว้ จะสามารถเป็นผู้ส่งออกได้ตั้งแต่วันแรกหรือปีแรกที่เริ่มก่อตั้งธุรกิจเลยทีเดียว โดยผู้ประกอบการแบบ Born Global Firm หมายถึง ธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อย ที่เข้าสู่ตลาดต่างประเทศภายในระยะเวลา 2 – 5 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้งธุรกิจ และในขณะเดียวกันต้องมียอดส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 25

“ตลอดระยะเวลาการอบรมแบบเข้มข้นตลอด 5 วัน สสว. เชื่อว่า สิ่งผู้ประกอบการจะได้รับคือ โอกาสในการเสริมสร้างทักษะและการติดอาวุธทางความคิดให้แก่ตนเองในเรื่องการค้าและการต่างประเทศแบบเจาะลึก รวมถึงการสร้างแผนพัฒนาธุรกิจของตนเอง การสร้างกลยุทธ์ต่างๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์ตนเองในตลาดต่างประเทศเพื่อการบุกตลาดสากล ให้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความตั้งใจของ สสว. เพื่อผู้ประกอบการ”  ดร.วิมลกานต์ กล่าวในที่สุด

ศาสตราจารย์.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผย ภายหลังรับรางวัลนักวิจัยผู้ได้รับรางวัลวิจัยเด่น ด้านพาณิชย์ ประจำปี 2561จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จากผลงาน "ไก่ 3 Low อาหารคุณภาพ เกาต์กินได้" ร่วมกับหน่วยงานรัฐและเอกชนกว่า 13 องค์กร ว่า งานวิจัยดังกล่าว เริ่มต้นจากปัญหาสุขภาพที่พบว่าคนทั่วโลกมีอัตรการป่วยเป็นเกาต์เพิ่มมากขึ้น ปัญหาการวิจัย คือ ทำอย่างไรให้ผู้บริโภคทานเนื้อไก่โดยลดอาการเกาต์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นภายใต้การสนับสนุนทุนจาก สกสว. จึงได้พัฒนาไก่สายพันธุ์ KKU ONE ผสมสายพันธุ์ระหว่าง ไก่พื้นเมือง (เนื้อเหนียว) กับไก่ทางการค้า (เนื้อหยุ่ย) ทำให้ได้เนื้อสัมผัสที่นุ่มแน่นกำลังดีเพราะมีจำนวนและขนาดของกล้ามเนื้ออยู่ระหว่างไก่เนื้อทางการค้าและไก่พื้นเมือง ทั้งนี้เมื่อใช้เครื่องมือแสงซินโครตรอน ที่สามารถบ่งชี้ปริมาณสารพิวรีน ซึ่งสัมพันธ์กับกรดยูริค อันเป็นสาเหตุการเกิดโรคเกาต์ในมนุษย์

จากผลการวิจัยพบว่า ไก่สายพันธ์ KKU ONE พบปริมาณกรดยูริคต่ำกว่าไก่เนื้อทางการค้าที่เลี้ยงในโรงเรือนปรับอากาศ เนื่องจากอาหารของไก่เนื้อมีสารพิวรีนสูง ในขณะเดียวกันพบว่า สายพันธุ์ KKU ONE พบไขมันในช่องท้องต่ำ และมีโปรตีนชนิดย่อยง่ายสูง มีปริมาณคอเลสเตอรอลต่ำกว่าไก่ทางการค้าลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ ฉะนั้นด้วยคุณสมบัติของการผสมสายพันธุ์ระหว่างไก่เนื้อกับไก่พื้นเมือง จึงได้สายพันธุ์ไก่ที่ตอบทุกโจทย์ปัญหาสุขภาพ นำไปสู่การขับเคลื่อนตลาดเชิงพาณิชย์ " KKU ONE เหมาะเป็นอาหารผู้สูงวัย นักกีฬา ซึ่งปัจจุบันโลกก็ก้าวสู่สังคมสูงวัยและผู้รักสุขภาพ ปัจจุบันมีการขยายไก่พันธุ์ KKU ONE ให้แก่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ เช่น กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ส่วนในประเทศได้ทำข้อตกลง เป็นไก่ประชารัฐ ตลาดร้านอาหารตำมั่วขึ้นห้าง ฟู้ดแลนด์ สร้างรายได้ให้เกษตรกร โดยประชารัฐส่งเสริมเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่นกว่า20อำเภอให้เลี้ยง และประชารัฐรับซื้อ เกษตรกรจะได้ 20 บาทต่อกิโลกรัม การันตีรายได้ขั้นต่ำ 1 หมื่นบาท ต่อเดือน โดยใช้เวลา เลี้ยงเพียง 35 วัน โดยไม่ต้องมีโรงเรือนปรับอากาศ ประชารัฐจะหักต้นทุนค่าอาหาร และโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารเกษตรกร ทั้งนี้ที่ผ่านมายังไม่มีเกษตรกรขาดทุน แต่กำลังการเลี้ยงไม่ทันต่อความต้องการของตลาด ซึ่งต้องการ 5 พันตัวต่อสัปดาห์

ศาสตราจารย์.ดร.มนต์ชัย กล่าวด้วยว่า หากสามารถขยายพันธุ์ไก่ ตอบสนองต่อตลาด ทั้งภายในและนอกประเทศใน 5 ปี ซี่งมีความต้องการ 5 ล้านตัว หรือราว 200 ล้านบาท จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจชาติได้อย่างดี ทั้งนี้ยืนยันว่าสายพันธุ์ไก่พันธุ์ต้นแบบถูกเพาะเลี้ยงสายพันธุ์แท้จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างไรก็ตามกรดยูริคนั้น ควบคุมด้วยสายพันธุ์มากกว่าอาหาร โดยมีแนวโน้มจะพัฒนาสายพันธุ์ทำให้ยูริคในไก่ต่ำกว่านี้ในอนาคต นำไปสู่การแก้ไขปัญหาสุขภาพ และขับเคลื่อนชาติด้วยวิจัยและนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ต่อไป

รองศาสตราจารย์นายแพทย์ ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมกับ มหาวิทยาลัยคิวชู      จัดโครงการถ่ายทอดนวัตกรรม เทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด เพื่อรองรับการเป็นเมดิคอลฮับ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยในช่วง 10 ปีนี้ หุ่นยนต์ผ่าตัดได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งปัจจุบันการพัฒนาหุ่นยนต์ผ่าตัด ได้ก้าวเข้าสู่ขั้นให้หุ่นยนต์ผ่าตัดตามการเคลื่อนไหวนิ้วและมือของศัลยแพทย์ (da vinci model) มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในเอเชียที่วิจัยคอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัด (หุ่นยนต์ผ่าตัด) เฉพาะทางนรีเวช ตั้งแต่ปี 2550 โดยทีมวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นทีมที่ประสบความสำเร็จ และมีงานวิจัยหุ่นยนต์ผ่าตัดที่ก้าวหน้าที่สุด หวังว่าการร่วมมือกัน ระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย และ มหาวิทยาลัยคิวชู ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งนับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวนี้ จะทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวไทยต่อไป

อย่างไรก็ตามหนึ่งในชุดผลงานหุ่นยนต์ผ่าตัดทางนรีเวช คือ หุ่นยนต์ช่วยถือและเคลื่อนกล้องผ่าตัด สำหรับการผ่าตัดในอุ้งเชิงกราน ได้รับรางวัลเหรียญทองจาก  The international Federation of Inventors’ Associations ในงานวันนักประดิษฐ์นานาชาติครั้งที่ 1 ปี พ.ศ.2551  เทคโนโลยี “หุ่นยนต์ช่วยถือกล้องผ่าตัด” ถูกพัฒนาคิดค้นโดยคณะแพทย์ไทยเพื่อช่วยให้การผ่าตัดทางนรีเวชสะดวก ปลอดภัย มีความถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็ว ช่วยให้คนไข้ฟื้นตัวเร็วขึ้น ทำให้พื้นผิวบริเวณที่ผ่าตัดได้รับความกระทบ กระเทือนน้อยที่สุด หุ่นยนต์มีลักษณะเป็นแขนกลช่วยจับกล้องที่ใช้ในการผ่าตัดเคลื่อนไปในมุมต่าง ๆ ตามที่แพทย์ต้องการได้อย่างแม่นยำ โดยแพทย์สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ผ่านการสัมผัสบนจอทัชสกรีน ช่วยให้การผ่าตัดผ่านกล้องของแพทย์สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น   

นอกจากนี้ยังมีการอบรมเทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด โดย ศาสตราจารย์ นพ.โกวิท  คำพิทักษ์  และรองศาสตราจารย์ นพ.เกรียงศักดิ์  เจนวิถีสุข ร่วมกับศาสตราจารย์จากประเทศญี่ปุ่น  เพื่อวางแนวทางรวมทั้งยกระดับวงการวิทยาศาสตร์สุขภาพ รองรับการเป็นเมดิคอลฮับ ของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงต่อไป

X

Right Click

No right click