ดีแทคเผย 6 ทักษะสำคัญทางดิจิทัล ลดความเหลื่อมล้ำทางเพศในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี พร้อมชูนโยบายสนับสนุนความหลากหลายทางเพศในองค์กร สร้างวัฒนธรรมเคารพซึ่งกันและกัน-ออฟฟิศปลอดภัย หนุนความเท่าเทียมทางเพศ เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม

ซีพี ออลล์ จับมือ 10 องค์กรชั้นนำระดับประเทศ ร่วมพัฒนานวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย จัดงาน “Thailand Synergy เพื่อ SMEs ไทย” พร้อมประกาศผลและมอบรางวัล สุดยอดนวัตกรรม “เซเว่น อินโนเวชั่น อวอร์ดส์ 2019” (7 Innovation Awards 2019) มอบรางวัลแก่เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพที่มีการพัฒนาผลงานนวัตกรรม โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และ ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นประธานมอบรางวัล

นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย กล่าวว่า การจัดประกวดรางวัล “สุดยอดนวัตกรรม 7 Innovation Awards 2019” เป็นโครงการที่จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 ภายใต้ความร่วมมือกับ 10 องค์กรระดับประเทศ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.), สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.), ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย , สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย(Thai-BISPA), หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, สมาคมธนาคารไทย และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) โดย ได้คัดเลือกสินค้าและบริการของผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ และเอสเอ็มอีไทย ที่คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ หรือรูปแบบสินค้า บริการ การดำเนินธุรกิจใหม่ๆ ที่จะช่วยให้เกิดมูลค่าและคุณค่ามากขึ้น รวมถึงเป็นการพัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอีให้เติบโตอย่างยั่งยืน ตามปณิธานของบริษัท “ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสให้ทุกคน”

นายก่อศักดิ์  กล่าวต่อว่า  ซีพี ออลล์ ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ และเอสเอ็มอีไทย โดยสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์  การสร้างสรรค์สินค้าที่มีความแปลกใหม่ออกสู่ตลาด เพื่อก่อให้เกิดมูลค่าและประโยชน์ต่างๆในทางเศรษฐกิจ และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้ต่อยอดธุรกิจ ผ่านช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ อันหลากหลาย ได้แก่ ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เว็บไซต์ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง รวมไปถึงช่องทางใหม่ๆในเครือข่ายความร่วมมือ เช่น ร้านริมปิง  ซูเปอร์มาร์เก็ต  ร้านกาแฟมวลชน  Makroclick.com ในกลุ่มธุรกิจของแม็คโคร  Weloveshopping.com ในกลุ่มธุรกิจของทรู และร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเกิดการพัฒนาต่อยอดไปสู่ผลงานนวัตกรรมที่สูงขึ้นในระดับประเทศต่อไป เพื่อกระจายรายได้ให้เป็นไปอย่างทั่วถึง

โดยเมื่อเร็วๆนี้ ได้มอบรางวัล “สุดยอดนวัตกรรมเซเว่น อินโนเวชั่น อวอร์ดส์ 2019” ในงาน “Thailand Synergy เพื่อ SMEs ไทย” ซึ่งมีผู้ประกอบการส่งผลงานเข้าประกวดทั้งสิ้น 120 ผลงาน และมีผลงานที่โดดเด่นผ่านการตัดสินให้ได้รับรางวัลทั้งสิ้น จำนวน 40 ผลงาน แบ่งเป็นผลงานนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ จำนวน 21 ผลงาน และผลงานนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ด้านสังคม จำนวน 19 ผลงาน และในงานนี้ยังมีการเสวนาพิเศษหัวข้อ “เทคนิคการนำเสนอโครงการนวัตกรรมให้ได้รางวัล (Innovation Pitching)” ซึ่งผลงานที่ชนะเลิศ ด้านก่อให้เกิดประโยชน์ทางสังคม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากโพรไบโอติกสายพันธุ์ใหม่ป้องกันฟันผุ จาก คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ 1 to 5 Brain Exercise จาก บริษัท ไรทว์วิว วิสาหกิจสังคม จำกัด ในส่วนของผลงานที่ชนะเลิศ ด้านก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ขนมบราวนี่กรอบอร่อยปราศจากกลูเตนสู่ตลาดอาหารอนาคต (Future Food) จาก บริษัท สมายล์ มีล จำกัด งานในนครั้งนี้จักขึ้น ณ ภิรัช ฮอลล์ ชั้น 2 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์นวัตกรรม

กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ เดินหน้ามอบประสบการณ์ใหม่แบบไร้ขีดจำกัดด้านการให้ความรู้เรื่องการลงทุนเพื่อบริหารความมั่งคั่งให้กับกลุ่มลูกค้าเวลธ์ (SCB Wealth) อย่างต่อเนื่อง ปูพรมเสริมแกร่งความรู้ด้วยซีรีส์สัมมนา  SCB Investment Talk 2019 ประเดิมด้วยงานสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ ภายใตคอนเซ็ปต์ “เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารการลงทุนของคุณ สู่กระบวนทัศน์การลงทุนยุคใหม่…Empowering You to the New Investment Paradigm” ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจด้านกลยุทธ์การลงทุนในตลาดหุ้น และเตรียมพร้อมรับมือตลาดผันผวนกับกองทุนเด่นปี 2019 พร้อมแท็คทีมบลจ.พันธมิตร นำเสนอผลิตภัณฑ์การลงทุนที่หลากหลายในรูปแบบของ Open Architecture Platform ที่ได้รับการคัดสรรเป็นพิเศษจากทีม SCB CIO Office เพื่อให้อิสระลูกค้าได้เลือกลงทุนตามต้องการ เป็นการสร้างประสบการณ์ในการบริหารความมั่งคั่งให้ลูกค้าแบบไร้ขีดจำกัดแบบมืออาชีพ สำหรับลูกค้า SCB Wealth โดยเฉพาะ โดยมี นางสาวศลิษา หาญพานิช (กลาง) ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน ผลิตภัณฑ์การลงทุนและเงินฝาก ธนาคารไทยพาณิชย์ พร้อมด้วย นายณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย (ที่ 2 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด นายสุกิจ อุดมศิริกุล (ที่ 2 จากขวา)  กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด นายพจน์ หะริณสุต (ซ้าย) กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด และนายยุทธพล ลาภละมูล (ขวา) กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด ร่วมเปิดงานสัมมนา เมื่อเร็วๆ นี้ ณ โรงแรมสยามเคมปินสกี้

ธนาคารยูโอบี (ไทย) เปิดตัว โครงการ Smart Business Transformation เพื่อสนับสนุนและพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในประเทศไทยให้สามารถเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลเต็มตัว ตลอดระยะเวลา 3 เดือนของโครงการ ผู้เชี่ยวชาญจากเดอะ ฟินแล็บ[1] จะช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถระบุปัญหาในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงแนะนำการใช้งานเครื่องมือต่างๆ ให้ความรู้และแนวทางการทำงานในการปรับตัว และสร้างความเชื่อมั่นในการใช้นวัตกรรมใหม่ หลังจากนั้น จะมีการจับคู่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกับผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีไปทดลองแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยโครงการนี้ ยังได้รับความร่วมมือจากองค์กรพันธมิตร ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค การก่อสร้าง การขนส่ง ค้าปลีก ค้าส่งและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถดูรายละเอียดและลงทะเบียนสมัครได้ที่เว็บไซต์ www.thefinlab.com/thailand โดยเปิดรับสมัครวันนี้ถึงเดือนเมษายน 2562 โดยผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการต้องมีความมุ่งมั่นในการใช้เทคโนโลยี พร้อมทั้งมีแผนขยายธุรกิจในระดับภูมิภาคและมีผลประกอบการตั้งแต่ 25 – 1,000 ล้านบาท

ยกระดับ SMEs ไทยคว้าโอกาสในเศรษฐกิจยุคดิจิทัล

ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 รัฐบาลไทยต้องการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศได้ถึงร้อยละ 50 ภายในปี2568 จากร้อยละ 36 ในปี2561 โดยข้อมูลในปี2561พบว่าประเทศไทยมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเกือบ 3 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 99.7 ของบริษัททั้งหมดในประเทศ จึงนับว่าเอสเอ็มอีมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศและการพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวม

ผลการสำรวจความคิดเห็นออนไลน์ที่จัดทำโดย เดอะ ฟินแล็บ[2] ระบุว่า บรรดาเอสเอ็มอีในประเทศไทยต่างระบุว่า กลยุทธ์เพื่อสร้างการเติบโต 2 อันดับแรกคือ การรุกตลาดใหม่ (ร้อยละ54) และการใช้การตลาดระบบดิจิทัลเพื่อเพิ่มยอดขาย (ร้อยละ51) อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยจะให้ความสำคัญกับการใช้โซลูชั่นดิจิทัลต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธภาพในการให้บริการออนไลน์ แต่ยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับต้นทุนค่าใช้จ่าย (ร้อยละ 67) และความซับซ้อนของการใช้งานโซลูชั่นในการดำเนินงาน (ร้อยละ 44)

เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหมดความกังวล โครงการ Smart Business Transformation  จึงมุ่งเน้นที่การช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการสามารถรุกสู่ตลาดใหม่และใช้การตลาดระบบดิจิทัลเพื่อเพิ่มยอดขายได้ ตัวอย่างเช่น ธนาคารยูโอบี (ไทย) จะสามารถให้คำแนะนำผู้ประกอบเอสเอ็มอีในการขยายธุรกิจไปในระดับภูมิภาค และสนับสนุนเรื่องเงินทุนกู้ยืมแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในโครงการที่มีการนำโซลูชั่นเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

นาย ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี (ไทย) กล่าวว่า “ธนาคารยูโอบี (ไทย) ได้ทำงานร่วมกับบริษัทต่าง ๆ ในประเทศไทยเพื่อช่วยให้พวกเขาบรรลุเป้าหมายด้านการเงินมาเป็นระยะเวลาหลายปี เรารู้สึกยินดีที่ได้สนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยให้สามารถปรับองค์กรให้เป็นดิจิทัลเต็มตัว  ผ่านโครงการ Smart Business Transformation โดยได้รับความร่วมมือจาก เดอะ ฟินแล็บ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เมื่อเอสเอ็มอีเหล่านี้สามารถปรับองค์กรสู่ดิจิทัลเต็มตัวและสามารถแข่งขันในตลาดได้แล้ว พวกเขาจะต้องการเงินทุนสนับสนุนเพื่อการเติบโต ซึ่งยูโอบีเอง จะให้การสนับสนุนแผนธุรกิจและการเงินของลูกค้าเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนทั้งในประเทศไทยและทั่วภูมิภาคเอเชียต่อไป”

เดอะ ฟินแล็บ ได้ดำเนินโครงการบ่มเพาะสำหรับกลุ่มสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอีในสิงคโปร์มาแล้ว 3 รุ่น  โดยครั้งนี้ จะเป็นผู้ดำเนินโครงการสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศไทยด้วยเช่นกัน โดย นาย เฟลิกซ์ ตัน กรรมการผู้จัดการ เดอะ ฟินแล็บ กล่าวว่า “ภารกิจของ เดอะ ฟินแล็บ คือการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วภูมิภาคอาเซียน ปรับตัวและขยายธุรกิจในยุคดิจิทัลได้ เพื่อให้พวกเขาสามารถแข่งขันในธุรกิจได้ดีขึ้นทั้งตลาดในประเทศและในภูมิภาค เรารู้สึกตื่นเต้นอย่างมากที่ได้เปิดตัวโครงการ Smart Business Transformation ในประเทศไทย และรอคอยที่จะได้ทำงานร่วมกับบรรดาผู้ประกอบการไทยในการเปลี่ยนแปลงการทำงานไปสู่ระบบดิจิทัล ในการดำเนินโครงการนี้ เราได้รับการสนับสนุนจากธนาคารยูโอบี (ไทย) รวมถึงสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เราจึงเชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมในกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศไทยได้แน่นอน”

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล จะเป็นผู้สนับสนุนด้านการจัดหาเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการในการใช้งานโซลูชั่นเทคโนโลยีใหม่และจะเป็นผู้จัดกิจกรรมเวิร์กชอปเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในวิธีการสมัครเพื่อขอรับทุนดังกล่าว โดยนายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงาน สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวว่า “ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 ที่เรากำลังก้าวเข้าสู่ขั้นต่อไปของการเติบโตทางเศรษฐกิจ เราเล็งเห็นว่าเอสเอ็มอีจำนวนมากต้องการปรับองค์กรไปสู่ดิจิทัล เรายินดีต้อนรับพันธมิตรที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันทั้งธนาคารยูโอบี (ไทย)  และ เดอะ ฟินแล็บ เพื่อมาร่วมสนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถเติบโตในเศรษฐกิจยุคดิจิทัลได้อย่างมั่นคง ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ Smart Business Transformation จะได้รับคำแนะนำในการค้นหาโซลูชันดิจิทัลที่เหมาะสมกับความจำเป็นทางธุรกิจ และสมัครขอรับเงินทุนจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อการใช้งานโซลูชันเหล่านั้น”

ด้าน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)   จะให้เงินทุนสนับสนุนในส่วนบริการให้คำปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล แก่ผู้ประกอบการอสเอ็มอีที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ โดยจะเป็นการให้เงินทุนสนับสนุนผ่านโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ ITAP (Innovation Technology Assistance Programme) ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า “สวทช ได้ริเริ่มโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม( Innovation Driven Enterprises ขึ้นในปีนี้ โดยได้ให้ความช่วยเหลือแก่เอสเอ็มอีมาแล้วมากกว่า 10,000 รายทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 1,800 ราย ในปีนี้  โดยเป็นการพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์และขั้นตอนการทำงาน การออกใบรับรอง การเพิ่มประสิทธิภาพและกำลังการผลิต ผ่าน ITAP โดย ITAPจะให้คำแนะนำทางด้านเทคนิคและการสนับสนุนด้านเงินทุนเพื่อช่วยลดความเสี่ยงของเหล่าผู้ประกอบการ โดยโครงการ Smart Business Tranformation นับเป็นอีกหนึ่งโครงการที่สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการในเมืองไทยสามารถบรรลุเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงองค์กรและการทำงานไปสู่ดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบรรดาผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการนี้ จะได้รับการสนุบสนุนจากเราทันที เรารอคอยที่จะได้ร่วมงานกับธนาคารยูโอบี (ไทย) เดอะ ฟินแล็บ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่องค์กรดิจิทัลเต็มตัวเพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจได้ในอนาคต”

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศไทย  จะดูแลในเรื่องนโยบายและแผนงานใหม่ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถยกระดับการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจ โดยนายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า “เอสเอ็มอีคือกุญแจสำคัญของการสร้างสรรค์อนาคตเศรษฐกิจไทย ด้วยเหตุนี้ สสว. จึงออกนโยบายส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถยกระดับการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจและ เพิ่มกำลังการผลิต โดยทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และ สวทช. ในการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว เรารู้สึกตื่นเต้นอย่างมากที่จะได้ทำงานร่วมกับธนาคารยูโอบี (ไทย) และ เดอะ ฟินแล็บ โดยเราได้ทำงานร่วมกันเพื่อรวบรวมองค์ความรู้เชิงลึกจากโครงการนี้ เพื่อนำไปพัฒนาและปรับนโยบายอันจะเอื้อต่อการส่งเสริมการเติบโตของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศไทย”


[1] ฟินแล็บ คือโครงการบ่มเพาะนวัตกรรมและสตาร์ทอัพกลุ่มฟินเทค (FinTech) ที่ดำเนินการภายใต้ธนาคารยูไนเต็ดโอเวอร์ซีส์ (UOB)

[2] ผลการสำรวจความคิดเห็นออนไลน์ จัดทำในระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2561 โดยมีกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จำนวนกว่า 800 ราย ในประเทศไทย

โครงการอบรม “Epson Moverio Experience ” สร้างมุมมองใหม่ด้วยเทคโนโลยีแว่นตาอัจฉริยะเอปสัน ร่วมการถ่ายภาพมุมสูงจากอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) สมาคมส่งเสริมและพัฒนาการถ่ายภาพร่วมกับเครือข่ายนิเทศศาสตร์ EPSON และ DJI 13 STORE กิจกรรมดีๆสำหรับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย เครือข่ายนิเทศศาสตร์ พิเศษสุด!!! เปิดรับบุคคลทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เพียง 20 ที่นั่ง !! ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย รับจำนวนจำกัด จองก่อนมีสิทธิ์ก่อน!!!

เสวนาเปิดวิสัยทัศน์ด้วยรายละเอียด นำมาซึ่งความแตกต่าง สร้างแรงบันดาลใจ สร้างสรรค์ไอเดีย โดย ผศ.ภคมน ตั้งจิตติเลิศ สาขาศิลปะการถ่ายภาพภาควิชาออกแบบ วิทยาลับเพาะช่างอาจารย์ นท พูนไชยศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านสตูดิโอภาพยนตร์ สถาบันกันตนา และทีมงานEPSON และ DJI 13 STORE

กิจกรรมดีๆสำหรับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมกิจกรรมเครือข่ายนิเทศศาสตร์ วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม 2562 เวลา 8.30 – 16.00 น. ณ สถาบันกันตนา สตูดิโอ ศาลายา จ.นครปฐม พิเศษสุด!!! เปิดรับบุคคลทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เพียง 20 ที่นั่ง!! ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย รับจำนวนจำกัด จองก่อนมีสิทธิ์ก่อน กิจกรรมดีๆสำหรับคนรักการถ่ายภาพ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและจองอบรมได้ที่ Line ID : cherryiline

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประกาศความร่วมมือในงานวิจัยระยะเวลาสองปีร่วมกับไอบีเอ็ม เพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยในประเทศไทย โดยสวทช. และไอบีเอ็ม ร่วมด้วยกลุ่มมิตรผล ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่เป็นอันดับสามของโลกและรายใหญ่ที่สุดในเอเชียที่ให้การสนับสนุนความรู้เฉพาะทางในการวิจัยครั้งนี้ จะนำร่องพัฒนาแดชบอร์ดอัจฉริยะและแอพพลิเคชันบนมือถือ เพื่อช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสุขภาพของอ้อย ความชื้นของดิน ความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากโรคและศัตรูพืช การคาดการณ์ผลผลิต และดัชนีค่าคุณภาพความหวานของอ้อย (ซีซีเอส) โดยอาศัยเทคโนโลยีเอไอชั้นนำของโลกและข้อมูลสภาพอากาศที่แม่นยำที่สุดในโลกจากเดอะเวเธอร์คอมแพนี (The Weather Company) รวมถึงเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์และอนาไลติกส์

อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ใช้ในการผลิตน้ำตาลและพลังงานชีวภาพในประเทศไทยและทั่วโลก ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับสองของโลก และมีบทบาทสำคัญในการป้อนน้ำตาลสู่ตลาดโลกโดยมีส่วนแบ่งตลาด 9.4% ในปี 2560 [1] มีการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตน้ำตาลได้ 14.1 ล้านเมตริกตันในช่วงปี 2561-2562 โดยเพิ่มขึ้น 3% จากปีที่ผ่านมา

ปัจจุบันนักวิจัยไอบีเอ็มกำลังพัฒนา “อโกรโนมิคอินไซต์แอสซิสแทนท์” (Agronomic Insights Assistant) ซึ่งใช้แพลตฟอร์มไอบีเอ็มวัตสันดีซิชันสำหรับการเกษตร (IBM Watson Decision Platform for Agriculture) ร่วมกับระบบไอบีเอ็มแพร์สจีโอสโคป (IBM PAIRS Geoscope) ซึ่งเป็นการผสานรวมข้อมูลความสัมพันธ์เชิงเวลาและพื้นที่ (เช่น ภาพถ่ายพืชผลจากกล้องหลายช่วงคลื่นที่เก็บภาพมาจากดาวเทียมหลายตัว ข้อมูลดิน ข้อมูลแบบจำลองความสูงของภูมิประเทศในรูปแบบดิจิทัล) ร่วมกับข้อมูลทางการเกษตร (เช่น สุขภาพของอ้อย ระดับความชื้นของดิน พยากรณ์ความเสี่ยงโรคและศัตรูพืช ปริมาณผลผลิต และดัชนีค่าคุณภาพความหวานของอ้อย) โดยใช้โมเดลการพยากรณ์ที่แม่นยำจากเดอะเวเธอร์คอมแพนี จากนั้นจึงนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ร่วมกับเทคโนโลยีการสำรวจเฉพาะพื้นที่ที่ได้รับการปรับและพัฒนาให้เหมาะกับการทำไร่อ้อยในประเทศไทยโดยสวทช. และความรู้เฉพาะทางด้านการเกษตรจากกลุ่มมิตรผล เพื่อกลั่นกรองเป็นข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับภาวะการขาดน้ำและอาหารที่ส่งผลต่อการเติบโตของอ้อย ความเสี่ยงของโรคและศัตรูพืช ตลอดจนปริมาณผลผลิตทางการเกษตรและดัชนีคุณภาพของอ้อย

ทั้งนี้ จะมีการนำร่องใช้อโกรโนมิคอินไซต์แอสซิสแทนท์ในช่วงกลางปีนี้บนไร่อ้อยขนาดไม่เกินหนึ่งล้านตารางเมตรจำนวน 3 ไร่ โดยเมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์ คาดว่าจะทำให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จะช่วยประเมินและจัดการความเสี่ยงต่างๆ ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งจะนำไปสู่ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ด้วยข้อมูลเชิงลึกที่พยากรณ์ล่วงหน้าได้สูงสุดสองสัปดาห์ ร่วมด้วยการแจ้งเตือนเกี่ยวกับโรคและศัตรูพืชอย่างหนอนเจาะลำต้นข้าวและความเสี่ยงที่จะเกิดโรคใบขาว และการพยากรณ์อากาศระยะสั้นตามฤดูกาลแบบเจาะจงพื้นที่ คาดว่าจะช่วยให้เกษตรกรสามารถวางแผนการเพาะปลูกได้อย่างเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นการทดน้ำและระบายน้ำ การใส่ปุ๋ย และการกำจัดศัตรูพืช เพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่อาจนำไปสู่การสูญเสียผลผลิต

“ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับประเทศ สวทช.   มีความมุ่งมั่นที่จะเสริมความแข็งแกร่งให้กับการวิจัยและการพัฒนาของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอาหารและการเกษตร ซึ่งสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจหลายพันล้านบาทต่อปี และยังคงเป็นส่วนสำคัญในวิถีชีวิตของคนไทย” ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าว “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะช่วยให้มั่นใจได้ถึงการเติบโตอย่างยั่งยืนและความสามารถในการแข่งขันระดับโลกของประเทศไทย และ สวทช. มีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับกลุ่มมิตรผลและผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิจัยไอบีเอ็ม เพื่อร่วมกันสร้างเกษตรกรรมยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล โดยเริ่มต้นที่การทำไร่อ้อยในประเทศไทย”

“กลุ่มมิตรผลให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนนวัตกรรมและการวิจัยอย่างต่อเนื่อง รวมถึงนำมาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผลผลิตอ้อยทั้งในด้านของคุณภาพและปริมาณซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืนของทุกภาคส่วนที่อยู่ในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล” รศ.ดร.กล้าณรงค์ ศรีรอต Head of Innovation and Research Development Institute กลุ่มมิตรผล กล่าว “การร่วมมือกับสวทช. รวมถึงการนำเทคโนโลยีเอไอ การสำรวจระยะไกลผ่านดาวเทียม และระบบพยากรณ์อากาศขั้นสูงของไอบีเอ็มมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำไร่อ้อย จึงนับว่าเป็นอีกก้าวที่สำคัญในการทำเกษตรแม่นยำ (Precision Farming) ซึ่งอยู่ภายใต้แผนการปรับเปลี่ยนให้เกษตรกรไทยก้าวสู่การทำเกษตรสมัยใหม่ หรือ Modern Farming
ได้รวดเร็วขึ้น ทั้งยังสร้างประโยชน์ให้กับภาคเกษตรกรรมของไทยอย่างยั่งยืน”

“ไอบีเอ็มภูมิใจที่ได้ร่วมทำวิจัยภายใต้เป้าหมายในการนำข้อมูลเชิงลึกเข้าเป็นเครื่องมือเสริมศักยภาพการทำไร่อ้อยของไทย และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมหลักอย่างหนึ่งของประเทศ อันเป็นการสนับสนุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของไทย” นางสาวปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าว “การผนึกจุดแข็งของสวทช. และไอบีเอ็มในด้านการวิจัยและเทคโนโลยีขั้นสูงที่ใช้บิ๊กดาต้า อนาไลติกส์ เอไอ และอินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์ เข้ากับความรู้เชิงลึกด้านการเกษตรของกลุ่มมิตรผล เป็นการพลิกโฉมแนวปฏิบัติของหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เก่าแก่ที่สุด และแสดงให้เห็นถึงก้าวย่างใหม่ของเกษตรกรรมอัจฉริยะในประเทศไทย”

“ปัจจัยต่างๆ อย่างเช่นการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ประชากรที่เพิ่มขึ้น และความกังวลด้านความมั่นคงทางอาหาร ล้วนเป็นตัวผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐต้องแสวงหาโมเดลการทำงานร่วมกันรูปแบบใหม่บนพื้นฐานของข้อมูลและนวัตกรรมใหม่ๆ” แคทรีน กวารินี รองประธานฝ่ายวิจัยอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยไอบีเอ็ม กล่าว “สถาบันวิจัยไอบีเอ็มหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในลักษณะเดียวกันนี้เพิ่มเติมในอุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อรับมือกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก”

เอสซีจี โลจิสติกส์ ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ Digital Driven Logistics เดินหน้าใช้เทคโนโลยีดิจิทัล อาทิ Object Recognition, Robotic Process Automation (RPA) และ Chatbot ตอบสนองความต้องการของลูกค้า พร้อมขยายการให้บริการสู่ตลาดอาเซียน และจีน ตั้งเป้าสร้างยอดขาย 22,000 ล้านบาท ในปี 2562 หรือเติบโตร้อยละ 12 พร้อมตอบโจทย์กลุ่ม SMEs มุ่งเป็น One Stop Logistics Solution อย่างครบวงจร ด้วยบริการ Fulfillment by SCG Logistics ที่ให้บริการจัดเก็บ บรรจุหีบห่อ และจัดส่งสินค้าทุกขนาด สามารถรับบริการผ่าน  www.scglogistics.co.th

นายไพฑูรย์ จิรานันตรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด กล่าวว่า “ในช่วงที่ผ่านมา ธุรกิจโลจิสติกส์เติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยปัจจัยสนับสนุนต่างๆ เช่น สภาพเศรษฐกิจที่ขยายตัว เนื่องมาจากการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล และการส่งออกที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเติบโตของตลาด E-commerce ที่มีผู้ประกอบการรายใหม่จำนวนมากในตลาด ส่งผลให้มีการแข่งขันที่รุนแรงเช่นเดียวกัน โดยเอสซีจี โลจิสติกส์ มีการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 5.5 ต่อปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

จากปัจจัยดังกล่าว เอสซีจี โลจิสติกส์ในฐานะผู้นำด้านการขนส่ง และโลจิสติกส์ ที่ให้บริการอย่างครบวงจร (End to End Service) มีความพร้อมก้าวสู่ธุรกิจในรูปแบบ Digital Driven Logistics ด้วยการนำเทคโนโลยีและดิจิทัลที่นำสมัยมาใช้ในกระบวนการให้บริการตลอดทั้ง Supply Chain อาทิ Object Recognition, Robotic Process Automation (RPA), Chatbot เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพตลอดกระบวนการทำงาน และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เกิดความถูกต้อง รวดเร็ว และปลอดภัย อีกทั้ง ยังช่วยบริหารต้นทุนให้มีอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมรองรับการให้บริการลูกค้าทั้งภายในและภายนอกเอสซีจี ทั้งในประเทศไทย อาเซียน และ จีน โดยในปี 2562 นี้ เอสซีจี โลจิสติกส์ ตั้งเป้าสร้างยอดขาย 22,000 ล้านบาท หรือเติบโตร้อยละ 12

สำหรับเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการบริการโลจิสติกส์ที่ เอสซีจี โลจิสติกส์ นำมาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและบริการลูกค้าตลอดทั้ง Supply Chain เช่น เทคโนโลยี Robotic Process Automation  (RPA) หรือ ระบบการจัดการข้อมูลภายในคลังสินค้าที่ช่วยบันทึกข้อมูล เอกสารต่างๆ เพื่อความรวดเร็ว ถูกต้อง ตลอด 24 ชั่วโมง เทคโนโลยี Object Recognition หรือ ระบบตรวจจับและวิเคราะห์วัตถุ โดยระบบสามารถตรวจจับตัวเลขข้างรถเพื่อบันทึก และตรวจสอบความถูกต้องของรถขนส่ง เทคโนโลยี Route Optimization หรือ ระบบการจัดการเส้นทางการจัดส่ง เพื่อช่วยคำนวนเส้นทางที่รวดเร็ว และสามารถตรวจสอบได้แบบเรียลไทม์ และ Chatbot ที่สามารถโต้ตอบผ่านทางสมาร์ทโฟน เพื่อความสะดวก และสร้างความมั่นใจในการจัดส่งสินค้าที่ถูกต้อง ตรงตามเวลาที่กำหนด

นอกจากนี้ ด้วยการเติบโตของธุรกิจ E-commerce ที่มีมูลค่าตลาดกว่า 3.2 ล้านล้านบาท และพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้มีผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) จำนวนมากในยุคดิจิทัล และมีความต้องการด้านการจัดการโลจิสติกส์ที่ครบวงจร เอสซีจี โลจิสติกส์ เห็นถึงโอกาสดังกล่าว จึงได้นำเสนอบริการ Fulfillment by SCG Logistics ในรูปแบบ One Stop Logistics Solution ช่วยผู้ประกอบการออนไลน์ให้เติบโต ด้วยบริการจัดการคลังจัดเก็บสินค้า บรรจุหีบห่อ และจัดส่งสินค้าทุกขนาด ตั้งแต่สินค้าขนาดเล็ก เช่น เครื่องสำอาง จนถึงสินค้าขนาดใหญ่ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอรขนาดใหญ่ อีกทั้ง ยังมีบริการเสริม (Value Added Service) ที่ช่วยตอบสนองความต้องการพิเศษของลูกค้า ได้แก่ บริการบรรจุสินค้าตามความต้องการของลูกค้า (Customize) เช่น แนบการ์ด ผูกโบว์ ก่อนบริการจัดส่ง บริการ White Glove ส่งและติดตั้งสินค้ามูลค่าสูงที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ บริการ Reverse Logistics รับสินค้ากลับโรงงงาน หรือนำมาซ่อมเบื้องต้น รวมถึงบริการเสริม Data Analytic วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า เพื่อให้เจ้าของธุรกิจสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยลูกค้าสามารถตรวจเช็คสต็อคสินค้า และสถานะสินค้าได้จากระบบออนไลน์”

“โพลีเฮอร์บ” ยกทัพนักธุรกิจกว่า 1,000 คน เยี่ยมชมอาณาจักรคุ้มแสนสุข จ.เชียงราย พร้อมเผยผลประกอบการปี 2561 และทิศทางการดำเนินธุรกิจในเชิงรุกของปี 2562 อีกทั้งยังได้เปิดตัวทีมผู้บริหารชุดใหม่ โดยตั้งเป้าหมายภายในปี 2562 ทำยอดขาย 1,000 ล้านบาท

นายทองเปลว ศิริพรพิทักษ์ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท มิลลิเมด จำกัด และประธานที่ปรึกษา บริษัท โพลีเฮอร์บ เน็ตเวิร์ค จำกัด และ ดร.สุภัตรา แปงการิยา ประธานบริหาร บริษัท โพลีเฮอร์บ เน็ตเวอร์ค จำกัด ยกทัพนักธุรกิจกว่า 1,000 คนเยี่ยมชม “อาณาจักรคุ้มแสนสุข” บนพื้นที่ 2,500 ไร่ ณ อ.เวียงชัย จ.เชียงราย

โดย โพลีเฮอร์บ เน็ตเวอร์ค ได้จัดงานเลี้ยงอย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้ชื่อ "Poly Herb ร้อยใจพันดาว" เพื่อต้อนรับคณะผู้ร่วมงาน พร้อมเผยผลประกอบการปี 2561 และทิศทางการดำเนินธุรกิจในเชิงรุกของปี 2562 ตั้งเป้ายอดขาย 1,000 ล้านบาท อีกทั้งยังได้เปิดตัวทีมผู้บริหารชุดใหม่ เตรียมรุกหนักด้วยการเปิดแผนกคอลเซ็นเตอร์รับมือสมาชิกที่เติบโตต่อเนื่อง ปัจจุบันอยู่ที่ 40,000 รหัส คาดสิ้นปีนี้ทำได้ 100,000 รหัส วางแผนเปิดซุปเปอร์โมบาย 1 อำเภอ 1 ซุปเปอร์โมบาย ทำหน้าที่สาขาย่อย เริ่มปีนี้ 100 แห่งทั่วประเทศ พร้อมนำผลิตภัณฑ์ขึ้นทะเบียนฮาลาลขยายฐานกลุ่มมุสลิม รวมทั้งใช้การประชาสัมพันธ์ธุรกิจออกสู่วงกว้างมากขึ้น

โดยภายในงานมีการแสดง แสง สี เสียง การแสดงศิลปะล้านนาร่วมสมัยจากทัพนักแสดงกว่า 100 คน และการแสดงจากศิลปินลูกทุ่งชื่อดัง “หญิงลี ศรีจุมพล” ที่มามอบความบันเทิง สร้างรอยยิ้ม อย่างสนุกสนาน ปิดท้ายด้วยกิจกรรมจับรายชื่อผู้โชคดี แจกรางวัลต่างๆ มากมาย

นอกจากนี้ โพลีเฮอร์บ เน็ตเวอร์ค ยังได้ทำการมอบลูกฟุตบอลจำนวน 200 ลูก แก่สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย เพื่อสนับสนุนกิจกรรมกีฬาของเยาวชนในจังหวัดเชียงราย โดยมี “โค้ชเอก เอกพล จันทะวงษ์ ทีมหมูป่าอคาเดมี่” เป็นตัวแทนในการรับมอบลูกฟุตบอล และในโอกาสเดียวกัน โพลีเฮอร์บ เน็ตเวอร์ค ได้มอบทุนสนับสนุนกิจกรรมมูลค่า 50,000 บาท แก่วงโยธวาทิต โรงเรียนอนุบาลเชียงของ จังหวัดเชียงราย อีกด้วย

โออิชิ อีทเทอเรียม” (OISHI EATERIUM) นิยามใหม่ของร้านอาหารญี่ปุ่น เอาใจคนรักอาหารญี่ปุ่น คอซูชิ พร้อมเสิร์ฟเมนูพิเศษ!! 2 สุดยอดซูชิเนื้อวัว ที่โดดเด่นด้วยรสชาติเข้มข้นจาก ฮารามิ (Harami) หรือเนื้อพื้นท้อง...เนื้อนุ่ม มันน้อย สัมผัสรสชาติที่พาคุณเดินทางสู่ญี่ปุ่นผ่านซูชิหน้าใหม่ ๆ ทั้ง “นิกุสไปซี่ ซูชิ” (Niku Spicy Sushi) ข้าวปั้นหน้าเนื้อฮารามิผัดซอสพริกญี่ปุ่น และ “ทามาโกะนิกุ ซูชิ” (Tamago Niku Sushi) ข้าวปั้นหน้าเนื้อฮารามิผัดซอสยากินิกุ และไข่นกกระทา อร่อยได้ไม่อั้นที่ โออิชิ อีทเทอเรียม ทุกสาขา ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 – 31 มีนาคม 2562 เท่านั้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมคลิกแฟนเพจโออิชิฟู้ดสเตชั่น: www.facebook.com/OishiFoodStation หรือค้นหาสาขาใกล้บ้านคลิกโออิชิฟู้ดดอทคอม: www.oishifood.com

บมจ.ไทยสมุทรประกันชีวิต รักคือพลังของชีวิต โดย คุณนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ กรรมการผู้จัดการ ประกาศเดินหน้าเข้าสู่ปีที่ 70 ด้วยการส่งมอบพลังความรักให้ชุมชนสามารถก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างแข็งแกร่ง ด้วยการสร้างฐานรากที่มั่นคงทางอาชีพและรายได้ โดยในปี 2562 ได้ดำเนินโครงการ “ไทยสมุทร รักชุมชนไทย” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6  ภายใต้เจตนารมย์ “ปั้นแบรนด์ไทย ไปอินเตอร์”

ด้วยการคัดเลือกชุมชนภายในโครงการที่มีศักยภาพ นำมาพัฒนาอาชีพอย่างเจาะลึก ด้วยหลักสูตรที่เข้มข้นจากวิทยากรมืออาชีพ ตั้งแต่กระบวนการผลิต พัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับความสามารถและทักษะของสมาชิกในชุมชน ในขณะที่ยังคงดำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของชุมชน ทำให้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์จากกลุ่มจักสานจากต้นคล้า บ้านโนนสะอาด อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี ภายใต้แบรนด์ “มือดี” ได้รับการคัดเลือกให้จัดแสดงผลงาน และร่วมแฟชั่นโชว์ในงาน Bangkok Design Week 2019 จัดโดย Thailand Creative & Design Center (TCDC) ด้วยการยกระดับงานจักสานกระติ๊บข้าวในรูปแบบเดิม ๆ ปรับเปลี่ยนแนวคิดเป็นกระเป๋าดีไซน์เก๋ ทำให้ได้รับการยอมรับในวงกว้าง

 

OCEAN LIFE ไทยสมุทร ยังคงมุ่งมั่น สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์จากชุมชน ด้วยการผลักดันให้เป็นผลิตภัณฑ์ระดับประเทศ ที่สามารถก้าวไกลสู่ระดับโลกได้ในอนาคต สร้างชุมชนที่เข้มแข็ง ตอกย้ำการส่งผ่านความรัก และความปรารถนาดีให้กับชุมชนทั่วไทยต่อไป

X

Right Click

No right click