นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ (ที่ 4 จากขวา) ประธานกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) พร้อมด้วยกรรมการธนาคารและผู้บริหาร EXIM BANK มอบทุนการศึกษา 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่เยาวชนกัมพูชาที่มีฐานะยากจนและสนใจประกอบอาชีพในธุรกิจโรงแรมผ่านมูลนิธิจินตมณี ซึ่งดำเนินการโดยโรงแรมจินตมณี ลูกค้าของ EXIM BANK โดยมีนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ (ที่ 4 จากซ้าย) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้เกียรติร่วมเป็นสักขีพยานกิตติมศักดิ์ และมีนายสุคนธ์ ชาญปรีดา (ที่ 2 จากซ้าย) ประธานกรรมการ บริษัท จินตมณี จำกัด และนายแบรด เอกิ้นส์ (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้อำนวยการมูลนิธิจินตมณี เป็นผู้รับมอบ ณ โรงแรมจินตมณี แช็ค อังกอร์ เมื่อเร็วๆ นี้ ทั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่ EXIM BANK ริเริ่มดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนสำคัญร่วมกับพันธมิตรในประเทศเพื่อนบ้าน โดยสอดคล้องกับนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ EXIM BANK

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จับมือกับ SkillLane บริษัท Online Learning  Platform และ Digital Training Platform อันดับหนึ่งของประเทศไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงในความร่วมมือกันจัดทำหลักสูตรปริญญาโทออนไลน์ เพื่อเผยแพร่ความรู้และทักษะของยุคดิจิทัล โดยจะเปิดเผยรายชื่ือหลักสูตรและรายละเอียดเพิ่มเติมในเดือนพฤษภาคม

การร่วมมือครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญในการขยายโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงองค์ความรู้ของโลกยุคใหม่โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นนักศึกษาภาคปกติของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เท่านั้น ซึ่งจะเป็นการเรียนออนไลน์ 100% เรียนได้จากทุกที่ และตามเวลาที่สะดวก ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเพื่อเพิ่มพูนความรู้เพียงอย่างเดียว หรือจะเรียนเพื่อเก็บหน่วยกิตไปจนถึงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทได้เช่นเดียวกัน โดยผู้เรียนจะสามารถเก็บหน่วยกิตไว้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 8 หรือ 10 ปี 

รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ในโลกปัจจุบันที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ธรรมศาสตร์ต้องกล้าที่จะสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนการศึกษาไทยไปข้างหน้าท่ามกลางความท้าทายใหม่ๆ เราเห็นความสำคัญในการใช้เทคโนโลยีเพื่อเผยแพร่ความรู้ของคณาจารย์ธรรมศาสตร์และความเชี่ยวชาญของอาจารย์รับเชิญซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาอาชีพต่างๆ ไปสู่คนไทยในวงกว้าง

ทางธรรมศาสตร์มองว่าการร่วมมือกับ SkillLane เป็นโอกาสในการส่งเสริมความเท่าเทียมของการเข้าถึงการศึกษาเพราะการเรียนออนไลน์ช่วยลดอุปสรรคต่างๆ ในการเข้าถึงองค์ความรู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอายุ สุขภาพ เวลา สถานะ หรือที่อยู่อาศัย”

รองศาสตราจารย์ ดรชาลี เจริญลาภนพรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ในการคิดหลักสูตร เราใช้วิธีการคิดแบบ Learner First เริ่มจากการทำความเข้าใจว่ากลุ่มผู้เรียนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้อะไรในการทำงานในยุคปัจจุบัน จากนั้นเราจึงสร้างเนื้อหา และสรรหาอาจารย์ที่เหมาะสมมาร่วมสร้างหลักสูตรเพื่อตอบโจทย์ผู้เรียน วิชาส่วนใหญ่ในหลักสูตรจะเน้นเรื่องที่เป็น Practical Skills กล่าวคือสามารถนำไปประยุกต์ในการทำงาน เน้นความเข้าใจ สามารถนำไปคิดวิเคราะห์ ต่อยอด แทนที่จะเน้นการท่องจำ”

นายฐิติพงศ์ พิสิฐวุฒินันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ SkillLane กล่าวว่า “ทีมงาน SkillLane ทุกคนรู้สึกเป็นเกียรติและภูมิใจเป็นอย่างมาก ที่ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สร้างแนวทางใหม่ๆ ให้กับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย เราเชื่อมั่นว่าหลักสูตรปริญญาโทออนไลน์จะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย

จากการสำรวจของ SkillLane เราพบว่า มีคนไทยจำนวนมากที่คิดว่าองค์ความรู้ของการทำงานในยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากสมัยที่พวกเขาเรียนในสถาบันการศึกษาเมื่อหลายปีที่แล้ว เขามีความประสงค์ที่จะเรียนต่อเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของตัวเอง แต่ยังเข้าใจว่าการเรียนต่อต้องเรียนเต็มเวลาในเวลาปกติ ซึ่งต้องตัดสินใจว่าจะเรียนหรือทำงาน ทำให้เสียโอกาสในการเรียนรู้ ด้วยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane เขาเหล่านั้นจะสามารถเรียนทักษะของยุคดิจิทัลผ่านระบบออนไลน์ตามเวลาที่เขาสะดวก โดยที่สามารถทำงานควบคู่ไปได้”

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย มอบโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนไทย ที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 และมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ด้วยการเปิดรับสมัครนักเรียน เพื่อเข้าศึกษาในระดับ ปวช. และปริญญาตรี สาขาต่างๆ ในสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) และวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ (พีเอที) จำนวนกว่า 24,000 ทุน โดยผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดและสมัครเรียนได้ในงาน “วันแห่งโอกาสดี @ CP ALL” บริเวณชั้น 2 อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ ระหว่างวันที่ 27-29 มีนาคม 2562 นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมการจัดสัมมนาเติมความรู้ในหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.cpall.co.th/cp-all-opportunity-day/

เอปสัน ประเทศไทย เปิดเกมรุกธุรกิจกระดานใหม่ ชู 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์หลัก อิงค์เจ็ท พรินเตอร์ความเร็วสูง พรินเตอร์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม เลเซอร์โปรเจคเตอร์ และหุ่นยนต์แขนกล มุ่งสร้าง รายได้เติบโตต่อเนื่องอีกไม่ต่ำกว่า 5 ปี

นายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการ บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในปี 2561 ของบริษัทฯ ว่า “ถึงแม้ตลาดไอทีโดยรวมของประเทศในปีที่ผ่านมาจะมีอัตราการเติบโตถดถอยลงอยู่ที่ -3% แต่ เอปสันยังคงสามารถรักษาระดับการเติบโตทางธุรกิจไว้ได้อยู่ที่ 5% โดยที่กลุ่มผลิตภัณฑ์หลักส่วนใหญ่ของบริษัทฯ ยังคงทำผลงานได้ดี สามารถสร้างการเติบโตได้ทั้งหมด โดยคาดการณ์ว่าเมื่อสิ้นปีงบประมาณของบริษัทฯ
(31 มีนาคม 2562) ผลิตภัณฑ์โปรเจคเตอร์จะเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่า 10% ซึ่งมีโปรเจคเตอร์ความสว่างสูงเป็นกลุ่มที่เติบโตมากที่สุด ขณะที่พรินเตอร์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมจะเติบโตขึ้น 6% โดยที่ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มโฟโต้ มินิแล็บ และอุตสาหกรรมสิ่งทอต่างยังได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ส่วนกลุ่มอิงค์เจ็ทพรินเตอร์จะขยายตัวขึ้น 5% โดยมาจากพรินเตอร์แท็งค์แท้ หรือ EcoTank เป็นหลัก”

“ปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของเอปสันในตลาดประเทศไทยมาจากการที่บริษัทฯ ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและ ผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำเสนอความคุ้มค่าในการลงทุนที่ดียิ่งขึ้นต่อลูกค้า รวมถึงมีความต่อเนื่องในการออก ผลิตภัณฑ์ใหม่และทำตลาดเพื่อเข้าถึงตลาดใหม่ๆ มากขึ้น เช่น การเปิดตัวพรินเตอร์ความเร็วสูงเพื่อรองรับงาน พิมพ์สิ่งทอระดับโรงงานอุตสาหกรรม อย่าง SureColor F9330 หรือเลเซอร์โปรเจคเตอร์ความสว่างสูง ในระดับ 6,000-15,000 ลูเมน ที่เน้นเจาะกลุ่มธุรกิจบันเทิงและการจัดงานอีเวนท์เอาท์ดอร์ รวมทั้งกลุ่มอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ ความเร็วสูงรุ่น WF-C869R สำหรับเอสเอ็มอีที่ใช้เทคโนโลยีหัวพิมพ์รุ่นล่าสุดของเอปสัน PrecisionCore และระบบ หมึก RIPs (Replaceable Ink Pack) ชุดหมึกที่ถอดเปลี่ยนได้สามารถรองรับการพิมพ์ปริมาณสูงถึง 86,000 แผ่น”

“ส่วนตลาดต่างประเทศที่บริษัทฯ ดูแลอยู่ ได้แก่ เมียนมาร์ กัมพูชา ลาว และปากีสถาน มีอัตราการเติบโตโดยรวม  6% โดยมีปัจจัยจากการที่บริษัทฯ ได้ป้อนผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง อาทิ ในกลุ่มอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ EcoTank ทั้ง L-Series และ M-Series เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับกลุ่มลูกค้าธุรกิจโซโหและเอสเอ็มอี รวมถึงทำการ ตลาดเชิงรุกมากยิ่งขึ้น เพื่อแย่งมาร์เก็ตแชร์จากเลเซอร์พรินเตอร์ นอกจากนี้ ยังได้นำโปรเจคเตอร์ความสว่างสูง เข้าไปทำตลาดกับกลุ่มลูกค้าในธุรกิจบันเทิงและสถาบันศึกษาที่กำลังขยายตัวอย่างมาก โดยชูจุดเด่นด้านความ ทนทานและคุณภาพที่ดีกว่าคู่แข่ง ซึ่งทำให้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี”

นายยรรยง กล่าวต่อว่า “หลังจากที่สร้างความสำเร็จขึ้นมาจากดอทเมทริกซ์พรินเตอร์เมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว จนกลาย เป็นแบรนด์เดียวที่มีมาร์เก็ตแชร์มากกว่า 90% ต่อมาบริษัทฯ ได้นำผลิตภัณฑ์อิงค์เจ็ทพรินเตอร์และโปรเจคเตอร์ 3LCD เข้ามาทำตลาดจนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และเมื่อ 9 ปีก่อน บริษัทฯ ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้ กับวงการพรินเตอร์ด้วยการเปิดตัวพรินเตอร์แท็งค์แท้รุ่นแรกของโลก ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากจนสามารถ เข้าไปแทนที่อิงค์เจ็ทพรินเตอร์แบบใช้ตลับหมึกและเลเซอร์พรินเตอร์ได้ในหลายตลาด จนทำให้เอปสันได้กลาย เป็นเจ้าตลาดมาจนถึงทุกวันนี้  ในช่วงเดียวกัน บริษัทฯ ยังได้เปิดตัวโปรเจคเตอร์ความสว่างสูงหลายรุ่น โดยเน้น จุดขายที่คุณภาพของภาพฉาย ความทนทาน ความประหยัด และฟังก์ชั่นที่ครบครัน พร้อมตอกย้ำความมั่นใจของ ลูกค้าด้วยตำแหน่งโปรเจคเตอร์ที่มียอดขายสูงสุดในโลกติดต่อกันถึง 17 ปีซ้อน ในวันนี้ เอปสัน ประเทศไทยกำลัง ก้าวเข้าสู่เฟสใหม่ของวงจรธุรกิจ หรือ S-Curve ใหม่​ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องไปอีกไม่น้อยกว่า 5 ปี โดย จะเน้นที่การสร้างตลาดและขยายฐานลูกค้าให้กับ 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์สำคัญของบริษัทฯ ได้แก่ อิงค์เจ็ทพรินเตอร์ ความเร็วสูง พรินเตอร์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม เลเซอร์โปรเจคเตอร์ความสว่างสูง และหุ่นยนต์แขนกล ซึ่งล้วน แต่เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง มีแนวโน้มการเติบโตในระยะยาว และเป็นที่ต้องการอย่างมากในกลุ่มลูกค้า องค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรม”

“ในช่วงแรกของการสร้าง S-Curve ใหม่ บริษัทฯ ได้ตั้งเป้าเติบโตไว้ที่ 5% สำหรับประเทศไทย และ 10% สำหรับ ตลาดต่างประเทศ ซึ่งในปี 2562 นี้ ยังมีปัจจัยอีกมากที่ต้องจับตา ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ทางการเมืองหลังการ เลือกตั้งในประเทศ หรือปัจจัยภายนอก อาทิ การชะลอตัวของเศรษฐจีนและเศรษฐกิจโลก สงครามการค้าระหว่าง จีนและสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินเกิดความผันผวน ขณะเดียวกันก็มีปัจจัยที่เอื้อต่อการขยายตัวของธุรกิจอยู่ ไม่ว่า จะเป็นการผลักดันให้เกิดการใช้เทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจตามยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 ของรัฐบาล กระแส การเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีด้านการผลิตและการปฏิบัติงานสู่ระบบดิจิทัล รวมไปถึงเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ยังอยู่ในช่วงขาขึ้น นอกจากนี้ ในหลายวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม ยังเกิดกระแสความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างจริงจังมากขึ้นเรื่อยๆ  บริษัทฯ จึงมั่นใจว่าจะสามารถสร้างการเติบโตใน S-Curve ใหม่นี้ได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการกำหนดกลยุทธ์เพื่อผลักดัน S-Curve ใหม่นี้ไว้ 4 ด้าน ครอบคลุมด้านผลิตภัณฑ์ การบริการ ช่องทางจัดจำหน่าย และการสื่อสารการตลาด”

สำหรับกลยุทธ์ทางด้านผลิตภัณฑ์ เอปสัน ประเทศไทยมีแผนที่จะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ใน 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์เข้ามาทำ ตลาดมากขึ้น โดยในกลุ่มอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ความเร็วสูง บริษัทฯ จะทยอยเปิดตัวสินค้าใหม่ครบทั้งไลน์อัพ เพื่อตอบ โจทย์ความต้องการขององค์กรธุรกิจทุกขนาด ตั้งแต่เอสเอ็มอี โซโห ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ โดยมีเป้าหมายที่จะ เข้าไปแทนที่การใช้งานเลเซอร์พรินเตอร์ ซึ่งอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ความเร็วสูงของเอปสันในปัจจุบันถูกพัฒนาให้ก้าว ข้ามเลเซอร์พรินเตอร์ไปแล้ว ทั้งด้านคุณภาพงานพิมพ์ที่ดีเยี่ยม การใช้พลังงานที่น้อยกว่า การดูแลรักษาที่ง่ายและ ประหยัดกว่า ทั้งยังเป็นมิตรต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับกลุ่มพรินเตอร์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม ที่จะมีการเปิดตัวสินค้าใหม่อีกหลายรุ่น ทั้งในกลุ่มโฟโต้ มินิแล็บ อุตสาหกรรมสิ่งทอ หรืองานพิมพ์ป้ายโฆษณาทั้ง ภายในและภายนอกอาคาร เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำและเติมเต็มความต้องการของตลาดที่ยังมีโอกาสอยู่อีกมาก เช่น เครื่องพิมพ์อุตสาหกรรมความเร็วสูง ที่สามารถพิมพ์ตรงลงบนผ้าม้วนได้ (Direct to Fabric หรือ DTF) ซึ่งเป็น เครื่องพิมพ์สิ่งทอระบบดิจิทัลที่รองรับการพิมพ์แบบออนดีมานด์ ทั้งยังใช้หมึกพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ผ้าได้หลายชนิด และยังช่วยลดการใช้สารเคมีและของเสียในการผลิตลายผ้าได้อย่างมาก เมื่อเทียบกับการผลิตลายผ้าแบบเดิม

 

ในขณะที่กลุ่มเลเซอร์โปรเจคเตอร์ เอปสันยังคงให้ความสำคัญ เพราะต้องการรักษาตลาด และตำแหน่งอันดับหนึ่ง ของตลาดนี้ โดยล่าสุดได้มีการเปิดตัวเลเซอร์โปรเจคเตอร์ความสว่างสูง 20,000 ลูเมน และเลเซอร์โปรเจคเตอร์ ความละเอียดระดับ 4K สำหรับหุ่นยนต์แขนกล ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะนำเข้ามาจะมีราคาถูกลงถึง 35% เพื่อรองรับ ตลาดการศึกษาและเพิ่มโอกาสให้กับผู้ประกอบการรายเล็กสามารถนำหุ่นยนต์แขนกลเข้าไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพ ในการผลิต รวมทั้งจะมีการเปิดตัวหุ่นยนต์รุ่นใหม่ที่สามารถยกวัตถุหรือชิ้นงานที่มีน้ำหนักมากขึ้นได้

ด้านกลยุทธ์ในการบริการ นายยรรยง ให้ข้อมูลว่า “การบริการหลังการขายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่แยกจากการ ขายสินค้าไม่ได้ บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญอย่างมากในการพัฒนา Service Excellence หรือความเป็นเลิศในการ บริการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความพึงพอใจในระดับสูงและประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า บริษัทฯ ได้จัดตั้งหน่วยงาน พิเศษขึ้นมาเพื่อตรวจสอบและพัฒนาการให้บริการ พร้อมติดตามผลการทำงานอย่างใกล้ชิด ทั้งยังเพิ่มความรวด เร็วในการให้บริการซ่อมสินค้า โดยตั้งเป้า 90% จะซ่อมเสร็จภายใน 1-3 วัน นอกจากนี้ ยังมีแผนจะลงทุนขยาย ศูนย์บริการเพิ่มขึ้นจาก 154 แห่ง เป็น 170 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ในการให้บริการมากยิ่งขึ้น ทั้งยัง จะเพิ่มจำนวนจุดรับสินค้าหรือดรอปพอยท์ในบางจังหวัดโดยร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ รวมถึงพัฒนาระบบการ บริหารจัดการและจัดส่งชิ้นส่วนอะไหล่ให้มีความรวดเร็วมากขึ้น”

“นอกจากนี้ยังมีแผนสำหรับการให้บริการลูกค้าองค์กรที่ซื้อผลิตภัณฑ์ใน 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นอิงค์เจ็ท พรินเตอร์ความเร็วสูง พรินเตอร์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม เลเซอร์โปรเจคเตอร์ความสว่างสูง และหุ่นยนต์แขนกล ให้มีบริการดูแลเครื่องถึงสำนักงานของลูกค้าทุกแห่งทั่วประเทศ รวมถึงยังมีทีมงานพิเศษ เพื่อมอนิเตอร์ การทำงานของเครื่องหรือมีเครื่องสำรองให้ใช้งานแทนในกรณีที่เครื่องลูกค้าที่ใช้งานอยู่เกิดปัญหาขึ้น”

“เอปสันยังลงทุนเพิ่มเติมในส่วนระบบการวิเคราะห์ประมวลผล สำหรับงานด้าน CRM ซึ่งจะสามารถนำข้อมูลและ ความรู้ด้านต่างๆ จากลูกค้ามาช่วยพัฒนาระบบการให้บริการ ตั้งแต่ Call Center การจัดการฐานข้อมูลสินค้าและ การใช้งาน การบริหารศูนย์บริการและทีมงานบริการนอกสถานที่ รวมถึงฐานข้อมูลการรับประกันสินค้า เพื่อสร้าง ประสบการณ์การใช้งานสินค้าและการบริการหลังการขายที่ดีให้กับลูกค้า” นายยรรยง กล่าว

ด้านกลยุทธ์สำหรับช่องทางจำหน่ายสินค้า ในปีนี้เอปสันจะทำการเพิ่มจำนวน Epson Authorized Partner (EAP) สำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มอิงค์เจ็ทพรินเตอร์และโปรเจคเตอร์เป็น 170 รายทั่วประเทศ กลุ่มพรินเตอร์เชิงพาณิชย์และ อุตสาหกรรมเป็น 13 ราย และกลุ่มหุ่นยนต์แขนกลเป็น 10 ราย ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ สามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น และเจาะเข้าตลาดใหม่ๆ ได้

สำหรับกลยุทธ์ทางการสื่อสารการตลาด จะมุ่งเน้นด้านการผสมผสานเครื่องมือการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อให้สามารถเข้าถึงลูกค้าแต่ละกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด นอกจากนี้ บริษัทฯ จะเดินหน้าทำ Technology Showcase เพื่อแสดงศักยภาพของเทคโนโลยีในกลุ่มต่างๆ ผ่านอีเวนท์ที่สามารถสร้างประสบการณ์พิเศษให้กับ ลูกค้า โดยร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในภาคธุรกิจและภาครัฐ เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา เอปสันได้ร่วมกับจังหวัดสุโขทัย ในการจัดแสดงแสงเสียงงานประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ โดยนำเลเซอร์โปรเจคเตอร์รุ่น EB-L25000U ที่มีความสว่างสูงถึง 25,000 ลูเมน ไปจัดแสดงเทคนิค Projection Mapping

“การสร้าง S-Curve ใหม่ทางธุรกิจในปีนี้ถือเป็นจังหวะที่ดีของบริษัทฯ เพราะเอปสันมีผลิตภัณฑ์ครบทุกไลน์ และมี จำนวนรุ่นมากเพียงพอที่จะทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเอปสันยังเป็นบริษัทเจ้าของเทคโนโลยีเอง จึงสามารถ พัฒนาเทคโนโลยีในแต่ละด้านให้ทันสมัย นำหน้าความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ และมีสินค้าใหม่ๆ ป้อนเข้าสู่ ตลาดอย่างต่อเนื่องไม่ขาดช่วง ที่สำคัญผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 กลุ่มใน S-Curve ใหม่นี้ล้วนแต่เป็นที่รู้จักคุ้นเคยและได้รับ ความมั่นใจจากลูกค้าในหลากหลายวงการธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศไทยอยู่แล้ว เอปสัน ประเทศไทยจึง เชื่อมั่นว่า S-Curve ใหม่นี้จะไม่เพียงแต่จะสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา 5 ปีได้ แต่ยังจะทำให้มิติทาง ธุรกิจของเอปสันในประเทศไทยกว้างออกไป และแบรนด์ของเอปสันจะเติบโตมากยิ่งขึ้นด้วย” นายยรรยง ทิ้งท้าย

From FAM to FAMOUS

March 13, 2019

“We develop people, people develop country.” ดร.สุดาพร สาวม่วง คณบดี คณะการบริหารและจัดการ (FAM) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง (สจล.) กล่าวภายหลังได้รับ รางวัล Thailand Leadership Award 2019 ซึ่งจัดขึ้นโดย World Federal Education

ประโยคนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการ บริหารจัดการการศึกษาเพื่อสร้างคน เพื่อเป็นพลังในการพัฒนาชาติต่อไปของ คณบดีคนใหม่ของ FAM ที่มีผลงานเป็น ที่ประจักษ์ด้านการศึกษาจนได้รับรางวัล ดังกล่าวเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

ดร.สุดาพรเปิดเผยแนวนโยบายในการบริหารสถาบันในช่วงที่รับตำแหน่งว่า  มีนโยบายที่ทำให้จำกันง่ายๆ คือ ‘FAM to FAMOUS’ จากชื่อคณะในภาษาอังกฤษ  Faculty of Administration and Management (FAM) ก็จะต่อยอดให้ไปสู่คำว่า Famous ที่แปลว่ามีชื่อเสียง โดยเป็นตัวย่อของนโยบายที่ตั้งเป้าไว้คือ

Family คณะจะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมนำพา สจล. สู่มหาวิทยาลัย ที่ได้รับการจัดอันดับในระดับอาเซียนและภูมิภาค

Ability การผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะฝีมือ ประกอบด้วยนวัตกรรม

Management โดยคณะจะจัดการเรียนการสอนแบบมืออาชีพ เน้นการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและตรงกับ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นนวัตกรรมในการบริหารจัดการการเรียนการสอน การบริหารงาน การตัดสินใจดำเนินงานอย่างสร้างสรรค์ มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

Outstanding คือจะเป็นคณะการบริหารที่ได้รับการจัดอันดับ เป็นลำดับต้นๆ ของประเทศ ของอาเซียน และของโลก

Universal คือการก้าวสู่ความเป็นสากล มีความเป็นนานาชาติ (International Outlook) ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นอาคารสถานที่ หลักสูตร อาจารย์ บุคลากร สิ่งแวดล้อมต่างๆ

หลักสูตรสายพันธุ์ใหม่

การจะทำให้แนวนโยบายให้บรรลุผลสำเร็จได้ ดร.สุดาพร เตรียมใช้ประสบการณ์ ที่เคยทำงานในภาคเอกชนมาก่อนเข้ามาทำงานด้านการศึกษาเพื่อผสมผสานจุดเด่น ของ FAM เพื่อสร้างผลลัพธ์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

คณบดี FAM มองว่า การบริหารงานในยุคปัจจุบันต้องเน้นเรื่อง Disruption  เพราะการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นนั้นเป็นไปอย่างก้าวกระโดด เช่นเดียวกันกับ ทางสถาบันก็ที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสอดรับกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่  โดยคำนึงถึงคุณภาพของนักศึกษาเป็นหลัก

หากมองการบริหารการศึกษาในแง่ มุมของการตลาด ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของ สถาบันการศึกษานั่นก็คือหลักสูตร งานวิจัย  สิทธิบัตรต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมา ใน ส่วนของหลักสูตรซึ่งเรียกว่า หลักสูตร สยพันธุ์ใหม่’ แบ่งเป็น 5 สายพันธุ์ ประกอบด้วย

Entrepreneurial & Science-based Degree เป็นการผสมผสาน ความโดดเด่นของ สจล. ในด้าน วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับการบริหาร ด้วยหลักสูตรที่เปิดช่องให้นักศึกษา สามารถเรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ แล้วมาเรียนต่อ ในคณะบริหารธุรกิจ หรือหลักสูตร 4+1 เพื่อช่วยให้บัณฑิตที่จบไปมีความรู้ทั้ง ด้านการบริหารจัดการและวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี โดยจะเป็นหลักสูตรนานาชาติ ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็น อันดับแรก และมีโครงการขยายไปยัง คณะอื่นๆ ต่อไป

Corporate-based Degree เป็นหลักสูตรที่เชื่อมโยงกับภาค อุตสาหกรรม เช่น การจัดหลักสูตรร่วมกับ ผู้ประกอบการเครือเบทาโกร และไทยเบฟ  เพื่อให้บัณฑิตที่จบออกไปสามารถทำงานได้ทันที มีความรู้ความสามารถ ตรงตามความต้องการของภาค อุตสาหกรรม

Area-based Degree จะเป็นการจัดการศึกษาโดย คำนึงถึงพื้นที่ของผู้เรียน ทั้งในชุมชนท้องถิ่นและพื้นที่ที่คณะจะ ขยายตัวไป เช่น กลุ่มประเทศอาเซียน จีน รวมถึงการมีห้องเรียน ที่เชื่อมโยงกับศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ  ผ่านโครงการห้องเรียน 108 โลกจริง 108 อรหันต์ ที่จะให้ศิษย์เก่า มาเป็นวิทยากรถ่ายทอดเรื่องราวการทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จ ให้กับนักศึกษารุ่นน้อง

Global-based Sandwich Degree จะเป็นการ ทำหลักสูตรร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในต่างประเทศ เช่น MIT, Oxford, King College และ LSE ผ่านรูปแบบการเรียนที่ ประเทศไทยส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ในต่างประเทศ

Training Online Degree ที่มีการวางเป้าหมายไว้ 3 กลุ่ม  คือผู้เรียนในหลักสูตรปกติ ที่จะมีการใช้รูปแบบการเรียนการสอน ออนไลน์ผสมผสานกับการเรียนในห้องเรียน กลุ่มที่สองคือ  ผู้ที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจที่ต้องการเรียน วิชาต่างๆ และหากต้องการวุฒิก็สามารถนำเครดิตที่ได้มา ลงเทียบกับคณะได้ในอนาคต และกลุ่มที่สามคือกลุ่มที่ต้องการ มา Upskill และ Reskill (เพิ่มและปรับเปลี่ยนทักษะ) ที่จะเปิดเป็น คอร์สให้กับผู้สนใจทั้งศิษย์เก่าและผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆ มาเรียนคอร์สตามที่สนใจ ซึ่งเมื่อเรียนแล้วก็สามารถเทียบโอน รายวิชาได้หากต้องการจะได้วุฒิเพิ่มเติมเช่นกัน

FAM Impact

ดร.สุดาพรระบุว่าภายใต้แผนบริหารงานที่วางไว ต้องการให้ส่งผลกระทบใน 4 ด้านประกอบด้วย

  1. Academic คือเรื่องวิชาการวิจัย ที่อาจารย์และบุคลากรจะต้องมีการวิจัยเพื่อตอบโจทย์แก้ปัญหา สังคม มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ได้รับการ ยอมรับ รวมถึงการจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร เพื่อใช้ก่อประโยชน์ได้จริง
  2. Educational คือมีการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ มีหลักสูตรที่มีคุณภาพ สามารถสรรหา อาจารย์ที่มีคุณภาพ มีห้องเรียน อาคารสถานที่รวม ถึงเครื่องไม้เครื่องมือในการเรียนการสอนที่ทันสมัย
  3. Social ทางด้านสังคม โดยคณะจะคิดจะทำกิจกรรมใดเพื่อสังคมจะต้องสร้างผลกระทบในเชิงบวก ต่อสังคมและชุมชน เช่นงานวิจัยที่ทำขึ้นมาจะต้องมี ส่วนช่วยทำให้สังคมมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น คนในชุมชน มีรายได้เพิ่มขึ้น มีความสุขมากขึ้น
  4. Industry ภาคอุตสาหกรรมหรือภาคเอกชน ซึ่งจะต้องได้ผลผลิตที่ดีของคณะไปใช้งาน หมายถึง บัณฑิตผู้มีคุณภาพ สามารถเข้าไปทำงานได้ทันที เป็นคนดีคนเก่งขององค์กรบริษัท และสามารถตอบ โจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจได้

พัฒนาสู่ความเป็นนานาชาติ

แผนงานบริหารจัดการของ ดร.สุดาพร ที่ใช้แนวทาง การตลาดมาปรับใช้กับการบริหารจัดการสถาบันการศึกษา ยังมี ปัจจัยอื่นๆ ที่จะมาช่วยกันเสริมสร้างให้ FAM to FAMOUS โดย ปัจจัยต่อมาคือสถานที่ Place ที่ไม่ได้จำกัดแค่ตัวอาคารแต่ยัง รวมถึงโลกออนไลน์ที่ต้องมีแพลตฟอร์มที่ทันสมัยสามารถนำส่ง ความรู้ให้กับนักศึกษาได้ ขณะเดียวกันก็ทุ่มงบประมาณกว่า  100 ล้านบาทปรับปรุงอาคาร 5 ชั้น เพื่อจัดทำห้องเรียนที่ ทันสมัย มีพื้นที่ Co Working Space และสิ่งอำนวยความสะดวก ต่างๆ รองรับการเรียนการสอนรูปแบบใหม่

เรื่องต่อมา คือการทำโปรโมชันเพื่อรองรับการแข่งขันใน ระดับโลกของสถาบันการศึกษา ดังนั้นจะเน้นการประชาสัมพันธ์ ในส่วนของนานาชาติเพิ่มขึ้น เพื่อสื่อสารไปให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย ทั้งที่อยู่ในและต่างประเทศ ผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ การทำ โรดโชว์ จัดทำเว็บไซต์ภาษาอังกฤษที่ทันสมัย รวมถึงการมี ช่องทางในต่างประเทศเพื่อสื่อสารข้อมูลของคณะ

ทางด้านบุคลากร คณาจารย์คือผู้ที่มีความสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ให้กับผู้เรียน ดังนั้น FAM จะเน้นการเฟ้นหาอาจารย์ที่มีศักยภาพ มีแนวคิดเข้าใจในเรื่อง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีรูปแบบการสอนที่ทันสมัยเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันจะขยาย จำนวนอาจารย์ต่างชาติ เพื่อมาถ่ายทอดให้กับนักศึกษาในหลักสูตรนานาชาติโดย ตั้งเป้าจะให้อาจารย์ต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักสอนในหลักสูตร 90-100 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี พ.ศ. 2562 นี้

ในส่วนของบุคลากรที่ให้การสนับสนุนก็มีการพัฒนาด้านภาษาอังกฤษ โดย จัดหลักสูตรฝึกอบรมให้ทุกสัปดาห์และหากบุคลากรคนใดสามารถสอบผ่าน IELTS หรือ TOEFL ได้ก็จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น เป็นการเตรียมบุคลากรรองรับคณาจารย์และ นักศึกษาจากต่างประเทศที่จะมีจำนวนมากขึ้นตามแผนงานที่วางไว้

และปัจจัยที่สำคัญอีกด้าน คือการสร้างเครือข่าย ทั้งภายในสถาบันที่มีทั้งหมด 16 คณะ  ซึ่งจะต้องผสมผสานศาสตร์ด้านต่างๆ ผ่านการทำหลักสูตรร่วมกัน ขณะเดียวกันก็ต้อง มีความสัมพันธ์กับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและภาคสังคม ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย โดยจะเชื่อมโยงกับทั้งชุมชน อุตสาหกรรมทุกขนาด ผ่านการบริการทางวิชาการ และ การช่วยเหลือในด้านต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนและอุตสาหกรรม

FAM กับการช่วยเหลือชุมชน

ตัวอย่างหนึ่งของการสร้าง เครือข่ายให้ความช่วยเหลือชุมชน ของ FAM ที่ทำโดย ดร.สุดาพร คือ ชุมชนชาวนาที่ จ.สระบุรี ซึ่งมี ความต้องการจะกลับมาปลูกข้าวพันธุ์ เจ๊กเชย” ซึ่งเป็นข้าวของ จังหวัดสระบุรีที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือมีไฟเบอร์สูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ เหมาะกับผู้ที่ไม่ต้องการบริโภคแป้ง จำนวนมาก

“ก็ไปรณรงค์ให้มีเมล็ดพันธุ์ข้าว พันธุ์เจ๊กเชยเกิดขึ้น แล้วก็ให้ความรู้ ในเรื่องของเมล็ดพันธุ์ข้าว เรื่อง การปลูกข้าว เมื่อได้ผลผลิตออกมา  ชาวนาก็บอกว่าจะทำอย่างไรที่จะ แบ่งข้าวไว้ที่บ้านบางส่วนแล้วสีข้าว กินเอง หรือสีขายเชิงพาณิชย์ได้ อาจารย์ช่วยทำเครื่องสีให้หน่อย ได้ไหม ก็จัดงบประมาณโครงการ บริการวิชาการเพื่อสังคมออกมา ส่วนหนึ่งและพัฒนาออกแบบ สรรหาวิศวกรมาประจำโครงการ ทำตามการออกแบบของอาจารย์ และชาวนาที่ต้องการใช้ คือ ต้องการเครื่องสีขนาดเล็ก เคลื่อนที่ที่สามารถทำงานได้คนเดียว  เคลื่อนย้ายได้สะดวก เครื่องสีนี้ สามารถแยกได้เป็น 4 ช่อง มีแกลบ ข้าว รำ และมีข้าวท่อน เราพัฒนา จนได้ตามความต้องการของ ชาวนา เป็นต้นแบบและใช้งานได้จริง และเราก็ยื่นขอจดอนุสิทธิบัตรก็เป็น งานวิจัยที่สามารถต่อยอดจด อนุสิทธิบัตรได้ ผลิตขึ้นมาใช้งาน ได้จริงและสามารถต่อยอดขาย เชิงพาณิชย์ได้”

เมื่อได้ผลผลิตออกมา ทางด้านการตลาด เนื่องจากเป็นข้าว ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพจึงมีตลาดที่รองรับอย่างเช่นโรงพยาบาล ในจังหวัดสระบุรี และกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานในพื้นที่ที่มาหาซื้อ ข้าวชนิดนี้ไปบริโภค

โครงการนี้เป็นตัวอย่างการจัดการทั้งห่วงโซ่อุปทานที่ FAM เข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชนพัฒนาในเรื่องที่ชุมชนสนใจ และสร้าง มูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นทั้งแก่ชุมชนและสถาบันต่อมา

FAM for the next generation to ASEAN and to the world

คณะการบริหารและจัดการเพื่อคนรุ่นใหม่ก้าวไกล สู่อาเซียนและโลก’ คือวิสัยทัศน์ของ ดร.สุดาพร โดยมีเป้าหมาย ในการผลิตบัณฑิตผู้มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นคือ การมีมุมมอง ความเข้าใจในเรื่องธุรกิจที่ผสมผสานกับเรื่องวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

เพระใครก็รู้ว่พระจอมเกล้ดกระบังเป็นผู้นำ ด้นเทคโนโลยี ท่นอธิกรก็ให้นำมผสมผสนกับบริหร จึงต้องผลักดันให้มีหลักสูตร 4+1 กับคณะวิศวกรรมศสตร์ วิศวะต้องมี Mindset เรื่องบริหรธุรกิจเทคโนโลยี

ตัวอย่างที่ ดร.สุดาพร ยกขึ้นมา คือเรื่องปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่เป็นข่าวทางสื่อต่างๆ ว่าจะมาแย่งงานของมนุษย์ แต่ สำหรับนักศึกษาของ FAM แล้ว เรสร้งคนให้ประดิษฐ์ AI เรสร้งคนให้ทำงนร่วมกับ AI นี่คืออัตลักษณ์ของ สจล. เพระฉะนั้นสิ่งนี้ คือสิ่งที่ สจล. ทำอยู่แล้ว วิธีกรประเมินผล และวัดผลในรยวิชออนไลน์ อรย์ก็บอกว่ใช้ระบบ Computer Base AI Base สิ่งเหล่?นี้ก็ต้องคิดมกคน  คนของเรจะมีควมรู้ในกรจัดกร AI และยิ่งถ้เขา จบปริญญตรีสใดก็ได้มเรียนต่อยอดบริหรปริญญโท  ปริญญเอก ก็จะได้อัตลักษณ์นี้ออกไป เพระรยวิชต่งๆ ในหลักสูตรจะสะท้อนให้เรเกิดสติปัญญที่จะสั่งสม เรื่องเหล่นี้ไปควบคู่กับกรบริหร”

การสร้างคนรุ่นใหม่ให้กับโลกของ FAM จึงต้องเตรียมความ พร้อมในด้านต่างๆ ตามที่คณบดีได้อธิบายมาข้างต้น ขณะเดียวกัน ก็เพิ่มเติมด้วยการสร้างสมความเป็นนานาชาติให้กับสถาบัน เพิ่มขึ้นด้วยการเตรียมการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติปี และ 2-3 ครั้ง โดยตั้งใจจะเชิญนักวิชาการจากทั่วโลกมาเพื่อ ยกระดับมาตรฐานความเป็นนานาชาติของคณะ พร้อมกันก็มี แผนจะพัฒนาวารสารวิชาการภาษาอังกฤษขึ้นมาอีกหนึ่งฉบับ

เพื่อยกระดับมาตรฐานงานวิชาการของ คณะ ให้สามารถถูกบรรจุเข้าไปอยู่ใน ฐานข้อมูลทางวิชาการที่ได้รับการยอมรับ ในระดับโลกได้ ซึ่งจะเป็นเครื่องยืนยัน คุณภาพมาตรฐานของบัณฑิต มหาบัณฑิต  และคณาจารย์ของคณะ

แผนงานทั้งหมดจะผลักดันโดย โครงสร้างการบริหารจัดการที่ใช้รูปแบบ เดียวกันกับที่มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก คือ แบ่งการบริหารจัดการเป็น 2 สาย สายหนึ่งคือ สายวิชาการ และอีกทางคือ สายบริหารจัดการ ที่ดูแลเรื่องแผนงาน อาคารสถานที่ อุปกรณ์ต่างๆ

จะต้องเริ่มจกตรงนี้ก่อน แล้ว ข้อมูลก็จะไปในทิศทงเดียวกัน” ดร.สุดาพรกล่าวและอธิบายต่อว่า เรต้องจัดกองทัพเรให้ดี อรย์ก็ จะคุยแค่สองคนให้นโยบยไป ต่งประเทศเขทำแบบนี้ถึงไม่มีภพงน ช้า ไม่มีควมขัดแย้ง และข้อมูลอยู่ เป็นกลุ่มเป็นก้อนกระชับ ก่อนจะทำ แบบนี้ได้ ควมคิดอรย์ต้องเปลี่ยน แต่ก่อนผู้บริหรอยู่ลอยๆ ทำตมที่ คณบดีบอก แต่ตอนนี้ ท่นต้องทำตัว เหมือนเป็นคณบดีอีกคน เหมือนเรมี คณบดี 3 คน อรย์ก็ทำงนในเชิง พัฒนได้มกขึ้น ไม่ต้องมนั่งคิดเรื่อง ยิบย่อยเป็นลักษณะงนที่มหวิทยลัย ชั้นนำเขทำ คนทำงนมกขึ้นและ ทำงนเป็นทีม ทีมเวิร์กสำคัญมก  ทุกคนคือทีม ไม่ได้เก่งคนเดียว” ซึ่งทั้งหมดนั้นก็เพื่อเป้าหมายดังที่ ดร.สุดาพร กล่าวในงานรับรางวัล Thailand Leadership Award 2019 ว่า

We develop people, people develop country


เรื่อง : กองบรรณาธิการ

ภาพ : ฐิติชญาน์ แปลงกูล

ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทิพยประกันภัย คุณสมบูรณ์ พัฒนรัตน์เจริญ ประธานกรรมการ และคุณจิตรา วุฒิศิริศาสตร์ กรรมการผู้จัดการ บ.อะมิตี้ อินชัวร์รันซ์ โบรคเกอร์ มอบรางวัลรถยนต์ Toyota Yaris ATIV มูลค่า 479,000 บาท ให้แก่ คุณเมษยา หมื่นแก้ว ผู้โชคดีที่ซื้อกรมธรรม์รถยนต์ TIP Lady จาก แคมเปญ "TIP Lady แจกโชคลุ้นรถ" จัดโดย บ.อะมิตี้ อินชัวรันส์โบรกเกอร์ นอกจากนี้ ทิพยประกันภัยยังได้เพิ่มบริการเสริมพิเศษสำหรับลูกค้า TIP Lady โดยจัดทีมให้คำปรึกษาด้านกฏหมายในทุกเรื่องแก่ลูกค้าที่ทำประกันภัยรถยนต์ TIP Lady ให้คุณสุภาพสตรีได้อุ่นใจเมื่อต้องการที่ปรึกษาทางกฎหมาย ถือว่าเป็นอีกหนึ่งบริการเสริมพิเศษ โดยสามารถติดต่อขอคำปรึกษา ได้ที่สายด่วน 1736 กด 8 สำหรับลูกค้าเดิมก็สามารถใช้บริการเสริมนี้ได้เช่นกัน

ดีแทคเผย 6 ทักษะสำคัญทางดิจิทัล ลดความเหลื่อมล้ำทางเพศในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี พร้อมชูนโยบายสนับสนุนความหลากหลายทางเพศในองค์กร สร้างวัฒนธรรมเคารพซึ่งกันและกัน-ออฟฟิศปลอดภัย หนุนความเท่าเทียมทางเพศ เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม

ซีพี ออลล์ จับมือ 10 องค์กรชั้นนำระดับประเทศ ร่วมพัฒนานวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย จัดงาน “Thailand Synergy เพื่อ SMEs ไทย” พร้อมประกาศผลและมอบรางวัล สุดยอดนวัตกรรม “เซเว่น อินโนเวชั่น อวอร์ดส์ 2019” (7 Innovation Awards 2019) มอบรางวัลแก่เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพที่มีการพัฒนาผลงานนวัตกรรม โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และ ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นประธานมอบรางวัล

นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย กล่าวว่า การจัดประกวดรางวัล “สุดยอดนวัตกรรม 7 Innovation Awards 2019” เป็นโครงการที่จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 ภายใต้ความร่วมมือกับ 10 องค์กรระดับประเทศ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.), สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.), ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย , สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย(Thai-BISPA), หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, สมาคมธนาคารไทย และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) โดย ได้คัดเลือกสินค้าและบริการของผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ และเอสเอ็มอีไทย ที่คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ หรือรูปแบบสินค้า บริการ การดำเนินธุรกิจใหม่ๆ ที่จะช่วยให้เกิดมูลค่าและคุณค่ามากขึ้น รวมถึงเป็นการพัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอีให้เติบโตอย่างยั่งยืน ตามปณิธานของบริษัท “ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสให้ทุกคน”

นายก่อศักดิ์  กล่าวต่อว่า  ซีพี ออลล์ ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ และเอสเอ็มอีไทย โดยสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์  การสร้างสรรค์สินค้าที่มีความแปลกใหม่ออกสู่ตลาด เพื่อก่อให้เกิดมูลค่าและประโยชน์ต่างๆในทางเศรษฐกิจ และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้ต่อยอดธุรกิจ ผ่านช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ อันหลากหลาย ได้แก่ ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เว็บไซต์ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง รวมไปถึงช่องทางใหม่ๆในเครือข่ายความร่วมมือ เช่น ร้านริมปิง  ซูเปอร์มาร์เก็ต  ร้านกาแฟมวลชน  Makroclick.com ในกลุ่มธุรกิจของแม็คโคร  Weloveshopping.com ในกลุ่มธุรกิจของทรู และร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเกิดการพัฒนาต่อยอดไปสู่ผลงานนวัตกรรมที่สูงขึ้นในระดับประเทศต่อไป เพื่อกระจายรายได้ให้เป็นไปอย่างทั่วถึง

โดยเมื่อเร็วๆนี้ ได้มอบรางวัล “สุดยอดนวัตกรรมเซเว่น อินโนเวชั่น อวอร์ดส์ 2019” ในงาน “Thailand Synergy เพื่อ SMEs ไทย” ซึ่งมีผู้ประกอบการส่งผลงานเข้าประกวดทั้งสิ้น 120 ผลงาน และมีผลงานที่โดดเด่นผ่านการตัดสินให้ได้รับรางวัลทั้งสิ้น จำนวน 40 ผลงาน แบ่งเป็นผลงานนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ จำนวน 21 ผลงาน และผลงานนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ด้านสังคม จำนวน 19 ผลงาน และในงานนี้ยังมีการเสวนาพิเศษหัวข้อ “เทคนิคการนำเสนอโครงการนวัตกรรมให้ได้รางวัล (Innovation Pitching)” ซึ่งผลงานที่ชนะเลิศ ด้านก่อให้เกิดประโยชน์ทางสังคม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากโพรไบโอติกสายพันธุ์ใหม่ป้องกันฟันผุ จาก คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ 1 to 5 Brain Exercise จาก บริษัท ไรทว์วิว วิสาหกิจสังคม จำกัด ในส่วนของผลงานที่ชนะเลิศ ด้านก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ขนมบราวนี่กรอบอร่อยปราศจากกลูเตนสู่ตลาดอาหารอนาคต (Future Food) จาก บริษัท สมายล์ มีล จำกัด งานในนครั้งนี้จักขึ้น ณ ภิรัช ฮอลล์ ชั้น 2 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์นวัตกรรม

กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ เดินหน้ามอบประสบการณ์ใหม่แบบไร้ขีดจำกัดด้านการให้ความรู้เรื่องการลงทุนเพื่อบริหารความมั่งคั่งให้กับกลุ่มลูกค้าเวลธ์ (SCB Wealth) อย่างต่อเนื่อง ปูพรมเสริมแกร่งความรู้ด้วยซีรีส์สัมมนา  SCB Investment Talk 2019 ประเดิมด้วยงานสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ ภายใตคอนเซ็ปต์ “เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารการลงทุนของคุณ สู่กระบวนทัศน์การลงทุนยุคใหม่…Empowering You to the New Investment Paradigm” ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจด้านกลยุทธ์การลงทุนในตลาดหุ้น และเตรียมพร้อมรับมือตลาดผันผวนกับกองทุนเด่นปี 2019 พร้อมแท็คทีมบลจ.พันธมิตร นำเสนอผลิตภัณฑ์การลงทุนที่หลากหลายในรูปแบบของ Open Architecture Platform ที่ได้รับการคัดสรรเป็นพิเศษจากทีม SCB CIO Office เพื่อให้อิสระลูกค้าได้เลือกลงทุนตามต้องการ เป็นการสร้างประสบการณ์ในการบริหารความมั่งคั่งให้ลูกค้าแบบไร้ขีดจำกัดแบบมืออาชีพ สำหรับลูกค้า SCB Wealth โดยเฉพาะ โดยมี นางสาวศลิษา หาญพานิช (กลาง) ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน ผลิตภัณฑ์การลงทุนและเงินฝาก ธนาคารไทยพาณิชย์ พร้อมด้วย นายณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย (ที่ 2 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด นายสุกิจ อุดมศิริกุล (ที่ 2 จากขวา)  กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด นายพจน์ หะริณสุต (ซ้าย) กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด และนายยุทธพล ลาภละมูล (ขวา) กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด ร่วมเปิดงานสัมมนา เมื่อเร็วๆ นี้ ณ โรงแรมสยามเคมปินสกี้

ธนาคารยูโอบี (ไทย) เปิดตัว โครงการ Smart Business Transformation เพื่อสนับสนุนและพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในประเทศไทยให้สามารถเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลเต็มตัว ตลอดระยะเวลา 3 เดือนของโครงการ ผู้เชี่ยวชาญจากเดอะ ฟินแล็บ[1] จะช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถระบุปัญหาในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงแนะนำการใช้งานเครื่องมือต่างๆ ให้ความรู้และแนวทางการทำงานในการปรับตัว และสร้างความเชื่อมั่นในการใช้นวัตกรรมใหม่ หลังจากนั้น จะมีการจับคู่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกับผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีไปทดลองแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยโครงการนี้ ยังได้รับความร่วมมือจากองค์กรพันธมิตร ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค การก่อสร้าง การขนส่ง ค้าปลีก ค้าส่งและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถดูรายละเอียดและลงทะเบียนสมัครได้ที่เว็บไซต์ www.thefinlab.com/thailand โดยเปิดรับสมัครวันนี้ถึงเดือนเมษายน 2562 โดยผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการต้องมีความมุ่งมั่นในการใช้เทคโนโลยี พร้อมทั้งมีแผนขยายธุรกิจในระดับภูมิภาคและมีผลประกอบการตั้งแต่ 25 – 1,000 ล้านบาท

ยกระดับ SMEs ไทยคว้าโอกาสในเศรษฐกิจยุคดิจิทัล

ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 รัฐบาลไทยต้องการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศได้ถึงร้อยละ 50 ภายในปี2568 จากร้อยละ 36 ในปี2561 โดยข้อมูลในปี2561พบว่าประเทศไทยมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเกือบ 3 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 99.7 ของบริษัททั้งหมดในประเทศ จึงนับว่าเอสเอ็มอีมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศและการพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวม

ผลการสำรวจความคิดเห็นออนไลน์ที่จัดทำโดย เดอะ ฟินแล็บ[2] ระบุว่า บรรดาเอสเอ็มอีในประเทศไทยต่างระบุว่า กลยุทธ์เพื่อสร้างการเติบโต 2 อันดับแรกคือ การรุกตลาดใหม่ (ร้อยละ54) และการใช้การตลาดระบบดิจิทัลเพื่อเพิ่มยอดขาย (ร้อยละ51) อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยจะให้ความสำคัญกับการใช้โซลูชั่นดิจิทัลต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธภาพในการให้บริการออนไลน์ แต่ยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับต้นทุนค่าใช้จ่าย (ร้อยละ 67) และความซับซ้อนของการใช้งานโซลูชั่นในการดำเนินงาน (ร้อยละ 44)

เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหมดความกังวล โครงการ Smart Business Transformation  จึงมุ่งเน้นที่การช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการสามารถรุกสู่ตลาดใหม่และใช้การตลาดระบบดิจิทัลเพื่อเพิ่มยอดขายได้ ตัวอย่างเช่น ธนาคารยูโอบี (ไทย) จะสามารถให้คำแนะนำผู้ประกอบเอสเอ็มอีในการขยายธุรกิจไปในระดับภูมิภาค และสนับสนุนเรื่องเงินทุนกู้ยืมแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในโครงการที่มีการนำโซลูชั่นเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

นาย ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี (ไทย) กล่าวว่า “ธนาคารยูโอบี (ไทย) ได้ทำงานร่วมกับบริษัทต่าง ๆ ในประเทศไทยเพื่อช่วยให้พวกเขาบรรลุเป้าหมายด้านการเงินมาเป็นระยะเวลาหลายปี เรารู้สึกยินดีที่ได้สนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยให้สามารถปรับองค์กรให้เป็นดิจิทัลเต็มตัว  ผ่านโครงการ Smart Business Transformation โดยได้รับความร่วมมือจาก เดอะ ฟินแล็บ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เมื่อเอสเอ็มอีเหล่านี้สามารถปรับองค์กรสู่ดิจิทัลเต็มตัวและสามารถแข่งขันในตลาดได้แล้ว พวกเขาจะต้องการเงินทุนสนับสนุนเพื่อการเติบโต ซึ่งยูโอบีเอง จะให้การสนับสนุนแผนธุรกิจและการเงินของลูกค้าเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนทั้งในประเทศไทยและทั่วภูมิภาคเอเชียต่อไป”

เดอะ ฟินแล็บ ได้ดำเนินโครงการบ่มเพาะสำหรับกลุ่มสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอีในสิงคโปร์มาแล้ว 3 รุ่น  โดยครั้งนี้ จะเป็นผู้ดำเนินโครงการสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศไทยด้วยเช่นกัน โดย นาย เฟลิกซ์ ตัน กรรมการผู้จัดการ เดอะ ฟินแล็บ กล่าวว่า “ภารกิจของ เดอะ ฟินแล็บ คือการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วภูมิภาคอาเซียน ปรับตัวและขยายธุรกิจในยุคดิจิทัลได้ เพื่อให้พวกเขาสามารถแข่งขันในธุรกิจได้ดีขึ้นทั้งตลาดในประเทศและในภูมิภาค เรารู้สึกตื่นเต้นอย่างมากที่ได้เปิดตัวโครงการ Smart Business Transformation ในประเทศไทย และรอคอยที่จะได้ทำงานร่วมกับบรรดาผู้ประกอบการไทยในการเปลี่ยนแปลงการทำงานไปสู่ระบบดิจิทัล ในการดำเนินโครงการนี้ เราได้รับการสนับสนุนจากธนาคารยูโอบี (ไทย) รวมถึงสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เราจึงเชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมในกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศไทยได้แน่นอน”

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล จะเป็นผู้สนับสนุนด้านการจัดหาเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการในการใช้งานโซลูชั่นเทคโนโลยีใหม่และจะเป็นผู้จัดกิจกรรมเวิร์กชอปเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในวิธีการสมัครเพื่อขอรับทุนดังกล่าว โดยนายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงาน สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวว่า “ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 ที่เรากำลังก้าวเข้าสู่ขั้นต่อไปของการเติบโตทางเศรษฐกิจ เราเล็งเห็นว่าเอสเอ็มอีจำนวนมากต้องการปรับองค์กรไปสู่ดิจิทัล เรายินดีต้อนรับพันธมิตรที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันทั้งธนาคารยูโอบี (ไทย)  และ เดอะ ฟินแล็บ เพื่อมาร่วมสนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถเติบโตในเศรษฐกิจยุคดิจิทัลได้อย่างมั่นคง ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ Smart Business Transformation จะได้รับคำแนะนำในการค้นหาโซลูชันดิจิทัลที่เหมาะสมกับความจำเป็นทางธุรกิจ และสมัครขอรับเงินทุนจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อการใช้งานโซลูชันเหล่านั้น”

ด้าน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)   จะให้เงินทุนสนับสนุนในส่วนบริการให้คำปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล แก่ผู้ประกอบการอสเอ็มอีที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ โดยจะเป็นการให้เงินทุนสนับสนุนผ่านโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ ITAP (Innovation Technology Assistance Programme) ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า “สวทช ได้ริเริ่มโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม( Innovation Driven Enterprises ขึ้นในปีนี้ โดยได้ให้ความช่วยเหลือแก่เอสเอ็มอีมาแล้วมากกว่า 10,000 รายทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 1,800 ราย ในปีนี้  โดยเป็นการพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์และขั้นตอนการทำงาน การออกใบรับรอง การเพิ่มประสิทธิภาพและกำลังการผลิต ผ่าน ITAP โดย ITAPจะให้คำแนะนำทางด้านเทคนิคและการสนับสนุนด้านเงินทุนเพื่อช่วยลดความเสี่ยงของเหล่าผู้ประกอบการ โดยโครงการ Smart Business Tranformation นับเป็นอีกหนึ่งโครงการที่สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการในเมืองไทยสามารถบรรลุเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงองค์กรและการทำงานไปสู่ดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบรรดาผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการนี้ จะได้รับการสนุบสนุนจากเราทันที เรารอคอยที่จะได้ร่วมงานกับธนาคารยูโอบี (ไทย) เดอะ ฟินแล็บ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่องค์กรดิจิทัลเต็มตัวเพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจได้ในอนาคต”

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศไทย  จะดูแลในเรื่องนโยบายและแผนงานใหม่ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถยกระดับการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจ โดยนายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า “เอสเอ็มอีคือกุญแจสำคัญของการสร้างสรรค์อนาคตเศรษฐกิจไทย ด้วยเหตุนี้ สสว. จึงออกนโยบายส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถยกระดับการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจและ เพิ่มกำลังการผลิต โดยทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และ สวทช. ในการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว เรารู้สึกตื่นเต้นอย่างมากที่จะได้ทำงานร่วมกับธนาคารยูโอบี (ไทย) และ เดอะ ฟินแล็บ โดยเราได้ทำงานร่วมกันเพื่อรวบรวมองค์ความรู้เชิงลึกจากโครงการนี้ เพื่อนำไปพัฒนาและปรับนโยบายอันจะเอื้อต่อการส่งเสริมการเติบโตของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศไทย”


[1] ฟินแล็บ คือโครงการบ่มเพาะนวัตกรรมและสตาร์ทอัพกลุ่มฟินเทค (FinTech) ที่ดำเนินการภายใต้ธนาคารยูไนเต็ดโอเวอร์ซีส์ (UOB)

[2] ผลการสำรวจความคิดเห็นออนไลน์ จัดทำในระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2561 โดยมีกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จำนวนกว่า 800 ราย ในประเทศไทย

X

Right Click

No right click