ตอกย้ำสุดยอดสำนักงานอัลตร้าลักชัวรีบนทำเล Real CBD สาทร เผยแผนรุกตลาดออฟฟิศเกรด A ดึงดูดองค์กรชั้นนำระดับโลก

บริษัท ชับบ์ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ จำกัด (มหาชน) (ชับบ์ ไลฟ์ ประเทศไทย) ประกาศแต่งตั้ง นางสาวอลิสา อารีพงษ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ชับบ์ ไลฟ์ ประเทศไทย โดยมีผลในวันที่  2 เมษายน 2567  ซึ่งอยู่ระหว่างการขอรับความเห็นชอบจากหน่วยงานกำกับดูแล

ด้วยบทบาทใหม่นี้ คุณอลิสาจะรับผิดชอบดูแลบริหารธุรกิจประกันชีวิตของ ชับบ์ ไลฟ์ ประเทศไทย ในการนำเสนอประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และความคุ้มครองอื่น ๆ ผ่านช่องทางตัวแทน ช่องทางการตลาดทางตรง และช่องทางพันธมิตรธุรกิจ โดยก่อนหน้านี้นางสาวอลิสาดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่สายงานพัฒนาและนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้กับ บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด

นางสาวอลิสามีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมประกันชีวิตกว่า 20 ปี ครอบคลุมทั้งด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การขาย การตลาด และด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย และยังมีประสบการณ์ในด้านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง และส่งมอบบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า นางสาวอลิสาจะรายงานตรงไปที่คุณแซง ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารส่วนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ นิวซีแลนด์ ของ ชับบ์ ไลฟ์

นายแซง ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารส่วนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ นิวซีแลนด์ ของ ชับบ์ ไลฟ์ กล่าวว่า “เรามีความยินดีที่จะได้ต้อนรับคุณอลิสาสู่ ชับบ์ ไลฟ์ ด้วยประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมในอุตสาหกรรมประกันชีวิต ประกอบกับความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างประสบการณ์อันดีแก่ลูกค้า และเครือข่ายพันธมิตรนี้ คุณอลิสาจะเป็นกำลังสำคัญสำหรับ ชับบ์ ไลฟ์ ประเทศไทย ในการขยายธุรกิจผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ การสร้างประสบการ์อันดีแก่ลูกค้า รวมทั้งสร้างความแข็งแกร่งโดยการทำงานร่วมกับพันธมิตรที่สำคัญของเรา เพื่อขยายการเติบโตให้กับธุรกิจของเรา และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในประเทศไทยที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น”

ทั้งนี้ คุณอลิสาจบปริญญาโทด้านประกันภัยจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (ประเทศไทย) และปริญญาตรีด้านสถิติประยุกต์จากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

SCB CIO  ปรับมุมมองเป็นบวกต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ ลดลง จาก Slightly Positive (ทยอยลงทุน) เป็น Neutral (ถือไว้) หลังตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในปี 2566 ให้ผลตอบแทน 26.29% สูงกว่าตลาดหุ้นทั่วโลก จากอนิสงค์หุ้น 7 นางฟ้าเป็นหลัก  มองมูลค่าเริ่มตึงตัว นักลงทุนรับรู้ความสามารถทำกำไรที่ดีของกลุ่มเทคฯ  และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดไปในดัชนีฯ ค่อนข้างมากแล้ว   คาดเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้ม Soft landing  ด้านตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง   ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีหุ้น “High Quality” ที่มีศักยภาพในการเติบโตในระยะยาว เป็นสัดส่วนที่มากจึงแนะนำให้รอ หาจังหวะสะสม เมื่อ Valuation ลดลง และมีระดับราคาที่ถูกลงมากกว่านี้

ดร.กำพล  อดิเรกสมบัติ  ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าทีม SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์  เปิดเผยว่า ในปี 2566 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาดหุ้นโลก โดยดัชนี S&P500 ให้ผลตอบแทนที่รวมส่วนต่างราคาและเงินปันผล(Total Return) อยู่ที่ 26.29% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2565 ในขณะที่ผลตอบแทนของดัชนี MSCI ACWI และ MSCI World ในปี 2566 ซึ่งเป็นตัวแทนของดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลก อยู่ที่ 22.20% และ 23.79% ตามลำดับ

ทั้งนี้ หากพิจารณาในรายละเอียด ผลตอบแทนในปี 2566 ส่วนใหญ่มาจาก 2 สาเหตุหลัก คือ 1) การปรับตัวเพิ่มขึ้นของหุ้นบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ 7 บริษัท ที่ถูกเรียกว่าเป็น “หุ้น 7 นางฟ้า” ได้แก่ Apple, Amazon, Alphabet, NVIDIA, Meta, Microsoft และ Tesla โดยหุ้นกลุ่มนี้ ให้ผลตอบแทนรวม 78.09% คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ผลตอบแทนที่ทำให้ (% Return Contribution) กับ S&P500 ที่ 15.32% หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของผลตอบแทน S&P500 ทั้งปี และหากไม่นับรวม 7 บริษัทขนาดใหญ่ บริษัทจดทะเบียนอื่นๆ ใน S&P500 ให้ผลตอบแทน 12.30% หรือคิดเป็น % Return Contribution ให้ S&P500 รวมกัน 10.97% เท่านั้น 2) ตลาดปรับตัวขึ้นแบบกระจายตัวทั้งตลาด แค่ช่วงไตรมาสที่ 4/2566 สาเหตุหลักมาจาก Fed ส่งสัญญาณผ่อนคลายการปรับดอกเบี้ยนโยบาย ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) ลดลงอย่างรวดเร็วและดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้น

อย่างไรก็ตาม  แม้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีหุ้นเทคโนโลยี ที่เติบโตโดดเด่น แต่ SCB CIO เริ่มมีมุมมองเป็นบวกต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ น้อยลง โดยเราคาดว่า การเติบโตของ GDP สหรัฐฯ กำลังเข้าสู่ช่วง “soft landing” หรือชะลอตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยอัตราการเติบของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วในไตรมาส 3/2566 และจะเริ่มเติบโตในอัตราที่ช้าลง นับตั้งแต่ ไตรมาส 4/2566 - ไตรมาส 2/2567 ก่อนจะกลับมาเร่งตัวอีกครั้งในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 ขณะที่ นักวิเคราะห์เริ่มปรับประมาณการกำไรบริษัทจดทะเบียนในระยะถัดไปลง หลังผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เริ่มให้มุมมองเป็นลบ (Negative Guidance) มากขึ้น

นอกจากนี้ มูลค่าเริ่มตึงตัว เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการเติบโตในปี 2567 และ การปรับปรุงมูลค่าใหม่ (Re-rating Valuation) มีความเป็นไปได้จำกัด เราตั้งข้อสังเกตว่า นักวิเคราะห์ที่ให้ราคาเป้าหมายระดับสูง ประมาณการ การเติบโตของกำไรต่อหน่วย (EPS) ของ S&P500 เฉลี่ยที่ 8.6% และ ให้ราคา 12-Month Forward Price-to-Earnings เฉลี่ย ที่ระดับ 21.1 เท่า ซึ่งเรามองว่าเป็นไปได้ค่อนข้างยาก ขณะที่ การประเมินราคา และอารมณ์ของตลาด (Pricing & Market Sentiment) เข้าสู่โซน “Greed” คือ เปิดรับความเสี่่ยงจากความคาดหวังที่สูง  

ขณะที่ กิจการที่มีความสามารถทำกำไรดี ถูกให้มูลค่า “Premium” พอสมควรแล้ว โดยในปี 2566 ตลาดคาดการณ์กำไร S&P500 จะไม่เติบโตเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (YoY) แต่จะเห็นการเติบโตที่กระจุกตัวอยู่ในหุ้นกลุ่ม Quality Growth อย่าง “หุ้น 7 นางฟ้า” ที่คาดว่าจะเติบโตขึ้นถึง 33%YoY ขณะที่ S&P 500 คาดว่าจะมีการเติบโตของกำไรอยู่ในช่วง 0-1%YoY อย่างไรก็ตาม นักลงทุนส่วนใหญ่รับรู้ความสามารถในการทำกำไรที่ดีกว่าของกลุ่มบริษัทนี้ไปพอสมควรแล้ว เห็นได้จากการกระจุกตัวของมูลค่าตามราคาตลาด (Market Cap.) กลุ่มหุ้นเทคโนโลยี เทียบกับ S&P500 ที่สะท้อนว่าตลาดให้มูลค่า Premium ของกลุ่มอุตสาหกรรมในระดับใกล้เคียงกับในช่วงฟองสบู่ดอทคอม หรือ  Tech Bubble ปี 2543

ดร.กำพล กล่าวว่า จากเหตุผลทั้งหมดนี้ เราจึงปรับคำแนะนำตลาดหุ้นสหรัฐฯ จาก Slightly Positive (ทยอยลงทุน) เป็น Neutral (ถือ) เนื่องจาก Valuation มีความตึงตัวมากขึ้น และโอกาสการปรับตัวขึ้น (upside) จำกัดมากขึ้นหลังดัชนี S&P500 ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในระยะเวลา 9 สัปดาห์สุดท้ายของปี 2566 ซึ่งการปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บ่งชี้ว่า นักลงทุนได้ Pricing การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ไปในดัชนีฯ ค่อนข้างมากแล้ว โดยคาดว่าจะลดประมาณ 6 ครั้งในปี 2567 จากการคาดการณ์ของตลาด  ขณะที่ ตัวเลขเศรษฐกิจและเงินเฟ้อล่าสุดของสหรัฐฯ ในมุมมองของ SCB CIO  ยังมองว่า Fed จะลดดอกเบี้ยในช่วงไตรมาส 3/2567 ทั้งหมด 3 ครั้งในปี 2567 ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในระยะสั้น มีโอกาสเผชิญความเสี่ยงของการปรับฐาน หากการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ไม่เป็นไปตามตลาดคาด หรือ การเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงเร็วกว่าที่คาด

อย่างไรก็ตาม เรายังมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้ม Soft landing และตลาดแรงงานจะยังคงแข็งแกร่ง ด้วยตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่มีองค์ประกอบของหุ้น “High Quality” ที่มีศักยภาพในการเติบโตในระยะยาว เป็นสัดส่วนที่มาก เราจึงแนะนำให้รอโอกาส หาจังหวะสะสม เมื่อ Valuation ตึงตัวลดลง และมีระดับราคาที่ถูกลงมากกว่านี้

วันนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่ากระแสการเติบโตของ Social Commerce กำลังมาแรงและมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในประเทศไทยถือเป็นตลาดใหญ่ที่มีมูลค่าสูงถึง 4 แสนล้านบาท และในอนาคต 5 ปีข้างหน้าจะเติบโตสูงถึง 1 ล้านล้านบาท (อ้างอิงข้อมูลจากผลสำรวจจากบริษัทวิจัยการตลาด Research and Markets) จึงถือเป็นโอกาสทองของผู้ประกอบการไทยที่ไม่ควรพลาด LINE SHOPPING ในฐานะผู้นำแพลตฟอร์มโซเชียลคอมเมิร์ชของไทยที่มุ่งมั่นเติมเต็มประสบการณ์ด้านการช้อปปิ้งบนแอปพลิเคชัน LINE ล่าสุดเผยข้อมูลทุกเรื่องการขายที่ร้านค้าควรรู้ผ่านงาน LINE SHOPPING CONNECT พร้อมแชร์เคล็ดลับการขายและเครื่องมือใหม่รับปี 2024 เพื่อให้ร้านค้าสามารถสร้างการเติบต่อได้อย่างยั่งยืน

หมดยุคการแข่งขันด้วยราคา ถึงเวลาสร้าง “ความสัมพันธ์”

การลดราคาอาจไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีเสมอไป แต่การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ผ่านประสบการณ์และการบริการที่ดี จะเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยให้ร้านค้าหลุดออกจากการแข่งขันด้านราคาและก่อให้เกิดผลดีในระยะยาว โดยการสร้างความสัมพันธ์ต้องทำควบคู่กับการสร้างช่องทางการขายของตัวเอง เพื่อให้ผู้ขายมีข้อมูลมากและลึกพอที่จะทำความเข้าใจลูกค้า ซึ่ง LINE SHOPPING สามารถตอบโจทย์ได้อย่างครบวงจรตลอดการซื้อขายและสร้างความสัมพันธ์ รวมทั้งยังมีจุดเด่นในการต่อยอดการขายร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ ของ LINE อาทิ การยิง LINE Ads การใช้ฟีเจอร์ LIVE รวมถึงการบรอดแคสต์บน LINE Official Account

ปั้นธุรกิจให้โตไกลไม่มีหยุดด้วย Humanized Engagement

หัวใจของการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จต้องเกิดจาก “Humanized Engagement” หรือการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าแบบมนุษย์บนพื้นฐานของการเป็นคนรู้ใจ ซึ่งช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันมากกว่าแค่เรื่องปัจจัยด้านราคาเพียงอย่างเดียว LINE SHOPPING จึงสร้างสรรค์เครื่องมือและฟีเจอร์บนแนวคิด 3 ประการ ได้แก่

  • Ownership การเสริมอำนาจให้ร้านค้าเป็นเจ้าของช่องทางและฐานลูกค้าของตัวเอง เพื่อเพิ่มความสามารถในการสื่อสารและเข้าถึงลูกค้า ช่วยลดต้นทุนการปิดการขายให้ถูกลง  

  • More Flexibility การเสริมศักยภาพร้านค้าด้วยเครื่องมือ ฟีเจอร์ และการขนส่งที่สามารถเลือกใช้ได้ตามใจ ล่าสุด LINE SHOPPING ได้จับมือกับ 21 พันธมิตร เพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการออเดอร์ให้ดียิ่งขึ้น โดยหนึ่งในนั้น คือ LINE MAN MESSENGER ผู้ช่วยอันดับหนึ่งของร้านค้าออนไลน์และออฟไลน์ ด้วยบริการส่งของด่วนภายใน 1 วัน เพื่อตอบโจทย์เทรนด์นักช้อปที่ต้องการรับของแบบทันใจ

  • Closer & Longer relationship การเสริมความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน ให้ร้านค้าใกล้ชิดลูกค้าได้มากกว่า ผ่านฟีเจอร์การขายอย่าง การออกออเดอร์ผ่านแชต, ไลฟ์บน LINE SHOPPING และการส่งของขวัญ

ถอดเทคนิคมัดใจลูกค้าจาก 3 แบรนด์ดังที่ประสบความสำเร็จ

  • Sulwasoo สกินแคร์เคาน์เตอร์แบรนด์ ปิดทุกการขายด้วย Chat & Shop ทางแบรนด์จะมีแอดมินที่เป็นเหมือน Personal Shopper ในการแนะนำถามตอบข้อมูลสินค้า และอำนวยความสะดวกในการซื้อผ่านฟีเจอร์ออกออเดอร์ผ่านแชต เพื่อสรุปรวบรวมสินค้าให้ลูกค้าสามารถกดเช็คเอาท์ได้ง่ายขึ้น 
  • SHU แบรนด์รองเท้าสัญชาติไทย กระตุ้นยอดขายด้วยการไลฟ์ ควบคู่กับการบรอดแคสต์และแจ้งเตือนลูกค้าผ่าน LINE OA โดยในระหว่างไลฟ์ทางแบรนด์จะเน้นโชว์และลองสวมใส่สินค้าตามเสียงของลูกค้าเป็นหลัก เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์แบบเรียลไทม์ และกระตุ้นการซื้อสินค้าระหว่างไลฟ์ รวมทั้งลูกค้าที่พลาดการไลฟ์ยังสามารถรับชมย้อนหลังได้ ทำให้แบรนด์ SHU สามารถเพิ่มยอดขายหลังการไลฟ์ได้
  • KARMAKAMET ผลิตภัณฑ์เครื่องหอม ที่ขยายฐานลูกค้าด้วยฟีเจอร์ SEND GIFT โดยทางแบรนด์จะจัดเซตของขวัญตามช่วงเทศกาลสำคัญต่าง ๆ ซึ่งเทคนิคหนึ่งที่น่าสนใจคือ การจัดเซตของขวัญตามกลุ่มราคาสินค้า ทำให้ลูกค้าเลือกซื้อได้สะดวก และช่วยเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าหน้าใหม่ได้รู้จักและทดลองใช้สินค้า 

แนวทางการพัฒนาฟีเจอร์ LINE SHOPPING ให้เก่งและง่ายขึ้น

สำหรับแผนการพัฒนาฟีเจอร์ของ LINE SHOPPING ในปีนี้ มุ่งเน้นไปที่ 3 เรื่องหลัก ได้แก่

  • Checkout Link ฟีเจอร์ช่วยสรุปออเดอร์การซื้อ และแชร์เป็นลิงก์ผ่านช่องทางต่าง ๆ ให้ลูกค้าสามารถชำระเงินผ่านลิงก์ได้เลย ในขณะที่ร้านค้าก็ได้เก็บสะสมข้อมูลของลูกค้าไปในตัว ลดความยุ่งยากในการสะสมฐานลูกค้า และลดอัตราการ Drop off จากการสลับหน้าแชต
  • LINE SHOPPING Ads เสริมศักยภาพการโฆษณาให้ได้ Conversion Rate เพิ่มขึ้น และ Retargeting กลุ่มลูกค้าเดิมได้ดียิ่งขึ้น ผ่านการ tracking พฤติกรรมลูกค้าที่ละเอียดขึ้น สามารถวัดผลและนำไปต่อยอดทางการตลาดได้
  • Logistic Connection ส่งข้อมูลการขนส่งให้ลูกอย่างอัตโนมัติหลังจากพิมพ์ใบปะหน้า ช่วยลดเวลาและขั้นตอนแบบเดิม

บทสรุปสำหรับร้านค้าที่ต้องการทำการตลาดแบบ Humanization เพื่อมัดใจลูกค้า และต่อยอดธุรกิจอย่างยั่งยืน

  • สร้างประสบการณ์การซื้อ-ขาย แบบ Personalization

LINE SHOPPING จะเป็นอีก 1 ปัจจัยสำคัญ ที่ช่วยเสริมพลังให้ธุรกิจบน Social Commerce ด้วยเครื่องมือ Chat & Shop และ Chat Invoice link จะเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ให้การให้บริการลูกค้าแบบ Personalization และการขายแบบ Customization เป็นไปอย่างง่ายขึ้น เปิดประสบการณ์ช้อปปิ้งออนไลน์ให้ลูกค้าแบบไม่มีสะดุด ครบจบผ่าน MyShop ช่วยลดโอกาสสูญเสียยอดขาย จากการ Drop off 

  • สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ง่ายขึ้น ช่วยให้เกิดการซื้อซ้ำ

ตามวิสัยทัศน์ของ LINE SHOPPING ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทำการตลาดอย่างยั่งยืน ส่งเสริมให้การทำ Chat Commerce เข้มแข็งยิ่งขึ้น และช่วยสะสมฐานแฟนบน LINE Official Account ให้ลูกค้าเดิม กลับมาซื้อซ้ำ อีกทั้ง นำข้อมูลจาก Shopping Behavior ที่เกิดขึ้น นำไปทำ Retargeting และต่อยอดทางการตลาดได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

  • สร้างฐานลูกค้าประจำให้เติบโต

LINE SHOPPING เสริมพลังการขายด้วยเครื่องมือการขายแบบ Social Commerce ที่ช่วย Advocate ให้ผู้ประกอบธุรกิจ สามารถเติบโตผ่าน Network of friends และเสริมสร้าง Customer engagement ทำให้ลูกค้ายิ่ง ช้อปปิ้ง ยิ่งมีความสุข!

ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ LINE SHOPPING มอบให้กับนักขายออนไลน์ทุกคน ตอบโจทย์คลอบคลุมในทุกมิติการซื้อขาย ช่วยเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจครบ จบ ในที่เดียว สามารถรับชมย้อนหลังได้ทาง

 

บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) (SET: S) ก้าวสู่ปีที่ 10 อย่างมั่นคง     กางแผนทิศทางการดำเนินธุรกิจปี 2567 ตอกย้ำความมุ่งสู่การเป็น “นักพัฒนา” ผ่านการลงทุนและสร้างผลงานระดับมาสเตอร์พีซ ภายใต้ปรัชญา “Go Beyond Dreams” เดินหน้าสร้างซินเนอร์จีธุรกิจภายในเครือ ตลอดจนผนึกกำลังพันธมิตร พร้อมชูกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน  โดยตั้งเป้ารายได้โต 20% อยู่ที่ 1.8 หมื่นล้านบาท

นางฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. สิงห์ เอสเตท กล่าวว่า กลยุทธ์ในการสร้างความเป็นเลิศในทุกมิติการลงทุนของ สิงห์ เอสเตท ในปี 2566 ที่ผ่านมา ได้ส่งผลให้ทุกพอร์ตธุรกิจมีความแข็งแกร่งอย่างมาก เช่น กลุ่มธุรกิจที่พักอาศัย ที่มีการเปิดตัวโครงการบ้านแนวราบขยายฐานลูกค้าครบทุก       ลักซ์ชัวรีเซ็กเมนต์ และการขยายสัดส่วนการถือครองโครงการ The ESSE Sukhumvit 36 รับการฟื้นตัวของความต้องการในกลุ่ม Ready-to-move-in ของตลาดคอนโดมิเนียม อีกทั้งการลงทุนในที่ดินในทำเลศักยภาพที่รองรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสำหรับโครงการในอนาคตตามกลยุทธ์หลักของบริษัทที่สร้างการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ขณะที่กลุ่มธุรกิจโรงแรมภายใต้การบริหารงานของ ‘เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท’ (SET: SHR) ก็มีความโดดเด่นจากการเปิดตัว SO/ Maldives โรงแรมไลฟ์สไตล์หรูระดับ 5 ดาว ซึ่งตั้งอยู่ในโครงการครอสโรดส์ มัลดีฟส์ และการยกระดับห้องพักโรงแรมในเครืออีก 5 แห่ง เพื่อตอบรับโอกาสจากความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงเสริมการให้บริการในโรงแรมเพื่อให้สามารถเก็บอัตราห้องพักต่อวันและรายได้จากบริการอื่น ๆ ได้สูงขึ้นและเพิ่มมากขึ้น และการต่อยอดแบรนด์ ทราย (“SAii”)  ในการให้บริการที่มีความหลากหลายยิ่งขึ้นและเพิ่มรายได้อื่น ๆ นอกจากราคาห้องโรงแรมของกลุ่ม ในส่วนของกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้า บริษัทมีการนำโมเดลธุรกิจที่มีความยืดหยุ่น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการใช้พื้นที่ของคนทำงานยุคใหม่ และกลุ่มธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ด้วยจุดแข็งของนิคมอุตสาหกรรม เอส อ่างทอง ที่มีการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ของโรงไฟฟ้าเพิ่มอีก 2 แห่ง และแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ภายในพื้นที่รองรับการลงทุนในอนาคต

 

“โดยในปี 2567 นี้ เราตั้งเป้ารายได้รวมของบริษัทให้เติบโตขึ้นสูงถึง 20% หรือมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 18,000 ล้านบาทผ่านแนวคิด Go Beyond Dream ที่ใช้ 3 แนวทางสนับสนุนสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตครั้งนี้ ได้แก่ 1) Go Expertise การสร้างซินเนอร์จีจากความชำนาญของทีมระหว่าง 4 กลุ่มธุรกิจ โดยดึงเอาจุดแข็งและความชำนาญที่แตกต่างและโดดเด่นของแต่ละธุรกิจเพื่อเกื้อหนุนกันและกัน เพื่อการสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำและส่งมอบคุณค่าแก่ลูกค้า  2) Go Elixir การผนึกกำลังกับพันธมิตรใหม่ เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจและการลงทุน 3) Go Exceed, Go Exit ความมุ่งมั่นในการพัฒนาอย่างยั่งยืน SDG13 Climate Change สู่การเป็นองค์กร Carbon Neutrality ของสิงห์ เอสเตท ในปี 2573 เพื่อสร้างความสมดุลของธุรกิจทั้งกับชุมชุน สังคมและสิ่งแวดล้อม” นางฐิติมา เผย

กลุ่มธุรกิจที่พักอาศัย จากความสำเร็จในการพัฒนาโครงการระดับมาสเตอร์พีซอย่าง โครงการสันติบุรี เดอะเรสซิเดนเซส โครงการลาซัวว์ เดอ เอส และโครงการศิรนินทร์ เรสซิเดนเซส ทำให้เกิดความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในโครงการใหม่ ๆ อาทิ SMYTH, S’RIN และ SHAWN ในปี 2567 นี้ สิงห์ เอสเตท เตรียมต่อยอดความสำเร็จโครงการบ้านแนวราบที่มีครบทุกเซ็กเมนลักซ์ชัวรีตามแผนงาน และยังคงไว้ซึ่งการถ่ายทอด DNA ที่ยึดถือในการพัฒนาโครงการให้ได้คุณภาพระดับ “Best in Class” ด้วยอัตลักษณ์ในแบบฉบับของสิงห์ เอสเตท โดยได้มีการลงทุนในที่ดินทำเลศักยภาพที่รองรับการพัฒนาสำหรับโครงการที่จะเกิดขึ้นระยะ 3-5 ปีต่อจากนี้ นอกจากนี้ ยังคาดว่าจะสามารถรับรู้รายได้จากยอดโอนเพิ่มขึ้นอีก 50% ในปีนี้

กลุ่มธุรกิจโรงแรมภายใต้การบริหารงานของ SHR ยังคงมีแผนที่จะปรับปรุงโรงแรมตามแผนการยกระดับพอร์ตโฟลิโออย่างต่อเนื่อง จำนวน 5 โรงแรมในเครือที่ประเทศไทยและต่างประเทศ โดยคาดว่าจะสามารถเพิ่มอัตราเฉลี่ยต่อห้องต่อคืน (RevPAR) ได้มากกว่า 25% รวมถึงแผนการเสริมการให้บริการด้านอื่น ๆ ให้สอดคล้องกับการยกระดับห้องพักที่จะสร้างรายได้เพิ่มเติม นอกเหนือจากรายได้การเข้าพัก (Non-Room Revenue) จากการใช้จ่ายต่อคนในการใช้บริการ ภายในโรงแรมเพิ่มขึ้นอีก 15% ขณะที่การหมุนเวียนสินทรัพย์ (Asset Rotation) ยังเป็นปัจจัยหนึ่งในการเสริมความแข็งแกร่งด้านผลประกอบการ โดยมุ่งเน้นไปที่สินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง รวมถึงการมองหาโอกาสในการควบรวมกิจการของธุรกิจที่ทำให้เกิดโอกาสรับรู้รายได้อย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นด้วย

กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้า ยังคงมุ่งเน้นกลยุทธ์ในการใช้โมเดลธุรกิจที่มีความยืดหยุ่น ควบคู่ไปกับการชูจุดเด่นด้านที่ตั้งของโครงการต่าง ๆ ในเครือ ซึ่งจะทำให้มีอัตราการเช่าพื้นที่เฉลี่ยของอาคารสำนักงานในเครือที่มากกว่าในช่วงปี 2562 ด้วยอัตราการเช่าพื้นที่เฉลี่ย 85% ในทุกโครงการที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้  

กลุ่มธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน มีการตั้งเป้ายอดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม เอส อ่างทอง อยู่ที่ 40% ของพื้นที่ขายรวม โดยใช้ทำเลยุทธศาสตร์ที่เป็นจุดศูนย์กลางระหว่างแหล่งวัตถุดิบและเส้นทางการขนส่ง ความพร้อมด้านระบบสาธารณูปโภคทั้งกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีสูงถึง 400 MW และปริมาณน้ำซึ่งเป็นหัวใจสำคัญสำหรับผู้ประกอบการเฉพาะทาง อาทิ กลุ่ม Semi-Conductor หรือ กลุ่ม Data Center นอกเหนือจากธุรกิจทางด้านอาหาร และความร่วมมือกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เป็นแรงหนุนสำคัญในการทำให้สำเร็จตามเป้าหมาย

การดำเนินงานด้านความยั่งยืน มีแผนที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality ด้วยกลยุทธ์ Climate Resilience Model เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  รวมถึงการให้ความสำคัญของพื้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยตั้งเป้าขยายพื้นที่ความหลากหลายทางทะเลถึง 30% นอกจากนี้ยังมุ่งเป็นศูนย์กลางในการสร้างสังคมคุณภาพ ผ่านโครงการต่าง ๆ ถึงกว่า 30 โครงการ นับเป็นจำนวนมากกว่า 100,000 คน ครอบคลุมพื้นที่การดำเนินงาน 5 ประเทศในทุกกลุ่มธุรกิจ  ได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐมัลดีฟส์ สาธารณรัฐมอริเชียส สหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ

“ภายใต้แนวคิด Go Beyond Dreams เราพร้อมก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ 10 ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยเตรียมที่จะพัฒนาโครงการคุณภาพระดับ “Best in Class” ในทุกกลุ่มธุรกิจ อย่างที่เราได้ประสบความสำเร็จมาแล้วกับโครงการระดับมาสเตอร์พีซ อาทิ โครงการสันติบุรี เดอะ เรสซิเดนเซส โครงการ  ครอสโรดส์ มัลดีฟส์ และโครงการสิงห์ คอมเพล็กซ์ แม้ว่า ปี 2567 จะเป็นอีกหนึ่งปีที่ท้าทายสำหรับเศรษฐกิจโลก แต่กลุ่มบริษัท สิงห์ เอสเตท มีกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจไปพร้อมกับการเตรียมตั้งรับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เพื่อตอกย้ำแนวทางการทำธุรกิจแบบมั่นคงและยั่งยืน” นางฐิติมา กล่าว

วัตสัน ประเทศไทย ผู้นำร้านเพื่อสุขภาพและความงามอันดับหนึ่งของประเทศไทย จัดงานเฉลิมฉลองสุดยิ่งใหญ่ ”Watsons 700 Stores Celebration” ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญในการเปิดสาขาครบ 700 สาขาทั่วประเทศ ณ เซ็นทรัล เวสต์วิลล์ โดยได้รับเกียรติจากแขกผู้มีเกียรติและพาร์ทเนอร์คนสำคัญมาร่วมแสดงความยินดีและเฉลิมฉลองประวัติศาสตร์ครั้งนี้มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณมาลิน่า ไหง ประธานกรรมการบริหาร เอเอส วัตสัน (เอเชียและยุโรป) และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการกลุ่ม แขกคนสำคัญที่เดินทางมาเข้าร่วมงานและแสดงความยินดีในพิธีเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการนี้ด้วย

ความสำเร็จของวัตสันในการเปิดสาขาครบ 77 จังหวัดและการขยายสาขาครบ 700 สาขาทั่วประเทศไทยในครั้งนี้ ทำให้วัตสันกลายเป็นร้านเพื่อสุขภาพและความงามรายแรกที่มีจำนวนสาขามากที่สุด ตอกย้ำความเป็นผู้นำของวัตสันในการมีเครือข่ายหน้าร้านที่แข็งแกร่งและครอบคลุม รวมถึงการเป็นจุดหมายปลายทางชั้นนำด้านสุขภาพและความงามของประเทศไทย ซึ่งนอกจากจะตอกย้ำความเป็นผู้นำในตลาดค้าปลีกแล้ว ยังแสดงถึงความมุ่งมั่นของวัตสันในการตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้า พร้อมดำเนินธุรกิจด้วยแนวคิดที่ยั่งยืน มุ่งหน้าคืนสิ่งดีๆ สู่สังคม รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกค้าในการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้นผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Sustainable Choices ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่ช่วยให้ลูกค้าได้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่งผลให้วัตสันได้รับความไว้วางใจ พร้อมครองใจลูกค้าชาวไทยมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน

คุณพสิษฐ์ มั่นคงขันติวงศ์ กรรมการผู้จัดการ วัตสัน ประเทศไทย กล่าวว่า “วัตสัน เติบโตมาพร้อมๆ กับสังคมไทย ซึ่งไม่ใช่เพียงการเติบโตทางธุรกิจเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความมุ่งมั่นของเราในการตอบแทนคืนสู่สังคม อันจะเห็นได้จากกิจกรรมด้านความยั่งยืนต่างๆ รวมถึงกิจกรรมสำหรับสมาชิก ซึ่งเรารู้สึกภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ เราขอขอบคุณสมาชิกปัจจุบันที่มีจำนวนกว่า 6 ล้านคน ที่ได้ให้การสนับสนุนเรามาโดยตลอด รวมถึงเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญที่ทำให้เราประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้”

งานเฉลิมฉลอง Watsons 700 Stores Celebration ณ เซ็นทรัล เวสต์วิลล์ในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากศิลปินชั้นนำระดับประเทศ อย่าง นิว ฐิติภูมิ และ เต ตะวัน, ศิลปินกลุ่มสุดฮอตอย่าง ATLAS และนักแสดงสาวขวัญใจประชาชนอย่าง ปราง กัญญ์ณรัณ ซึ่งได้มามอบความสุขให้กับผู้ที่เข้าร่วมงานด้วยกิจกรรมแฟชั่นโชว์และมินิคอนเสิร์ต ช่วยแต่งแต้มสีสันให้กับงานครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการกุศลบริจาคเงินสนับสนุนให้แก่สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีในพระอุปถัมภ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ (บ้านพักฉุกเฉิน) ซึ่งเป็นองค์กรที่วัตสันให้ความสนับสนุนมาอย่างยาวนาน เพื่อส่งเสริมความแข็งแกร่งของผู้หญิงให้เกิดขึ้นในสังคม สะท้อนถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของวัตสันในการตอบแทนสิ่งดีๆ พร้อมเติบโตอย่างยั่งยืนเคียงข้างสังคมไทย

 

งานเฉลิมฉลองครบ 700 สาขา “Watsons 700 Stores Celebration” และความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของวัตสันในครั้งนี้ ไม่เพียงเป็นการฉลองให้กับความสำเร็จตลอด 27 ปีแห่งการดำเนินธุรกิจเคียงคู่สังคมไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นการฉลองให้กับความมุ่งมั่นและทุกๆ ความสำเร็จของวัตสันที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งยังตอกย้ำวิสัยทัศน์ของวัตสันในการมุ่งคิดค้นเพื่อพัฒนาสินค้าและบริการอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อสร้างประสบการณ์ชอปปิ้งที่น่าประทับใจ ให้ลูกค้าชาวไทยทุกคน Look Good. Do Good. Feel Great ในทุกๆ วัน

ได้รับแรงสนับสนุนจากธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในต่างประเทศ และกลยุทธ์บริหารความเสี่ยงที่แข็งแกร่ง

เมื่อเร็วๆ นี้ นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดแถลงข่าวแนวนโยบายและทิศทางการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ประจำปี 2567 ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง สำนักงาน คปภ. ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ โดยมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า ภายหลังจากที่ตนเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการ คปภ. อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 จึงได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและธุรกิจประกันภัยในมิติต่าง ๆ ตลอดจนโครงการและแนวนโยบายในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยก่อนหน้านี้ เพื่อนำมาปรับปรุงและต่อยอดให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ตนจึงให้ความสำคัญกับ
การทำงานร่วมกับพนักงาน คปภ. และได้รับความร่วมมือจากพนักงาน คปภ. อย่างดียิ่ง จึงสามารถกำหนดแนวนโยบายและทิศทางในการกำกับธุรกิจประกันภัยนับจากนี้ให้ออกมาชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ธุรกิจประกันภัยไทยเติบโตอย่างยั่งยืน

จากข้อมูลการเติบโตของเบี้ยประกันภัยในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 ได้ส่งสัญญาณการฟื้นตัวอย่างชัดเจนว่าหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจประกันภัยมีความเข้มแข็ง โดยเห็นได้จากการที่ธุรกิจมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน และมีอัตราการเติบโตของเบี้ยประกันภัยของธุรกิจประกันชีวิต 3.92% ส่วนธุรกิจประกันวินาศภัย มีอัตราการเติบโต 5.16% โดยคาดการณ์ว่า ณ สิ้นปี 2566 เบี้ยประกันภัยจะอยู่ที่ (891,621 – 927,377 ล้านบาท)

สำหรับแนวโน้มและความท้าทายที่ส่งผลกระทบต่อสำนักงาน คปภ. และธุรกิจประกันภัยไทยมี 7 ประเด็นหลัก คือ ประเด็นแรก ตลาดรถยนต์ไฟฟ้า EV ในประเทศไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐาน และสถานีหรือจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังถูกพัฒนาและเพิ่มจำนวนขึ้น ประเด็นที่ 2 สังคมผู้สูงอายุและชีวิตหลังเกษียณ ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยระดับสุดยอด (Super-Aged Society) ในปี 2575 ถือเป็นโอกาสของภาคธุรกิจประกันภัยที่จะออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภท ประกันภัยสุขภาพ ประกันชีวิตแบบบำนาญ เพื่อรองรับความต้องการของตลาดผู้สูงอายุ ประเด็นที่ 3 ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ นอกเหนือจากสังคมผู้สูงอายุที่เป็นปัจจัยเร่งแล้ว การแพร่ระบาดของโควิด-19 และ Medical inflation ส่งผลให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญของการประกันภัยสุขภาพ และมีความต้องการประกันภัยสุขภาพที่เพิ่มขึ้น ประเด็นที่ 4 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โจทย์คือทำอย่างไร ธุรกิจประกันภัยจะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในระดับที่สูงขึ้น ภายใต้การดูแลลูกค้าที่เหมาะสมและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้ ประเด็นที่ 5 การเข้าถึงลูกค้า โดยสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้เฉพาะบุคคลมากขึ้น ประเด็นที่ 6 การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (ESG) และประเด็นที่ 7 การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยการออกกฎเกณฑ์และมาตรฐานใหม่ ๆ เช่น PDPA TFRS17 ICPs และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ เลขาธิการ คปภ. กล่าวถึง แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายและทิศทางการดำเนินงานของสำนักงาน คปภ. ใน 5 มิติหลัก ๆ คือ มิติแรก การยกเครื่องการกำกับดูแลความเสี่ยงและการตรวจสอบบริษัทประกันภัย มุ่งสร้างความแข็งแกร่ง มั่นคง และความน่าเชื่อถือให้กับระบบประกันภัย เพื่อตอกย้ำความมั่นใจและสร้างศรัทธาให้กับประชาชน โดยยกระดับมาตรฐานการกำกับความมั่นคงและการตรวจสอบบริษัทประกันภัย อาทิ มุ่งสู่การตรวจสอบเชิงรุก ยกระดับระบบตรวจสอบความเสี่ยงและสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า
การเพิ่มศักยภาพในการบริหารความเสี่ยงของธุรกิจประกันภัย ยกระดับการอนุมัติกรมธรรม์ และส่งเสริมบทบาทของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย มิติที่ 2 สร้างความแข็งแกร่ง มั่นคง และความน่าเชื่อถือให้กับระบบประกันภัย เพื่อตอกย้ำความมั่นใจและสร้างศรัทธาให้กับประชาชน โดยกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อมุ่งสู่ Consolidation แก้ไขกฎหมายในกลุ่มที่ 2 และ 3 เพื่อยกระดับมาตรฐานธุรกิจประกันภัย และขับเคลื่อนธุรกิจประกันภัยไปพร้อมกับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน โดยการจัดทำ Service Level Agreement (SLA) ของธุรกิจประกันภัย มิติที่ 3 ผลักดันให้การประกันภัยเป็นกลไกขับเคลื่อนชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมของคนในชาติ “ประชาชนทำประกันภัยด้วยความเชื่อมั่น บริษัทเติบโตอย่างมั่นคง ประเทศมีความมั่งคั่ง” โดยส่งเสริมให้การประกันภัยเป็น Financial Well-being ของประชาชนทุกคน “ประกันภัยที่ประชาชนเข้าถึงได้ เข้าถึงง่าย และอยากเข้าถึง” ผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ประกันภัยเข้าไปรองรับทุกช่วงการใช้ชีวิตของคนตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ และตาย อย่างตรงจุด ยุติธรรม เต็มไปด้วยคุณค่า และเปิดให้มีการลงทุนประเภทใหม่ของบริษัทประกันภัย ภายใต้หลัก Risk Proportionality มิติที่ 4 ยกระดับประกันภัยไทยให้ก้าวล้ำนำสมัยในระดับสากล โดยเตรียมความพร้อมเพื่อเข้ารับการประเมินโครงการ Financial Sector Assessment Program หรือ FSAP และผลักดันให้มี Insurance Community หรือ Insurance Institute ระดับนานาชาติ และมิติที่ 5 การสร้างคนให้มีความสามารถอย่างโดดเด่น มีคุณภาพสูง และมีเป้าหมายเดียวกันในการขับเคลื่อนให้สำนักงาน คปภ. เป็นองค์กรแห่งความภาคภูมิใจของคนไทย โดยการปรับโครงสร้างการทำงานของสำนักงาน คปภ. ให้เป็น Team-based Structure หรือ Matrix Structure เพื่อให้การกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยในภาพรวมมีประสิทธิภาพ ผลักดันให้บุคลากรแสดงศักยภาพโดยมุ่งเน้นความสำเร็จของงานผ่านการวางเป้าหมายและวัดผลที่ชัดเจน

เลขาธิการ คปภ. ขอเน้นย้ำว่า ปัจจุบันธุรกิจประกันภัยมีความมั่นคงและแข็งแกร่ง รวมถึงสำนักงาน คปภ. ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมประกันภัยไทย และมุ่งหวังให้บริษัทเติบโตอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม หากพบว่ามีบริษัทที่อาจมีความเสี่ยงด้านฐานะและความมั่นคงทางการเงิน สำนักงาน คปภ. จะใช้มาตรการเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต อาทิ สั่งให้บริษัทวางเงินสำรองเพิ่มเติมให้ครอบคลุมกับภาระหนี้สินที่มีต่อผู้เอาประกันภัย เพื่อเป็นหลักประกันและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน

“ในช่วง 4 ปี นับจากนี้ไป ผมอยากเห็นอุตสาหกรรมประกันภัยมีความมั่นคง มั่งคั่ง และมุ่งเน้นการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัยของประชาชนอย่างยั่งยืน และสนับสนุนประกันภัยให้เป็นอีกหนึ่งเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการบริหารความเสี่ยงทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

ยกขบวนสินค้าราคาสุดคุ้มมาให้ช้อป พร้อมแจกโค้ดส่วนลดเพิ่มอีก 15%

ภูมิทัศน์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั่วโลกได้ส่งผลกระทบต่อแนวทางการดำเนินธุรกิจขององค์กรต่าง ๆ รวมถึงวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนในทุกมิติ ในปัจจุบัน หลายองค์กรได้บูรณาการความปลอดภัยทางไซเบอร์เข้าเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักของกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ ซึ่งหมายความว่าหลายภาคอุตสาหกรรมจะต้องการผู้เชี่ยวชาญเข้ามาเติมเต็มความต้องการที่กำลังเติบโตในสายงานด้านนี้ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมความปลอดภัยทางไซเบอร์ยังขาดแคลนความแตกต่างหลากหลายของผู้มีความรู้ความสามารถ ความไม่สมดุลของจำนวนเพศชายและหญิงยังคงปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจนในสายงานด้านนี้ โดยพบว่า ในปี 2565 มีผู้หญิงจำนวนคิดเป็นสัดส่วนแค่ 25%[1] ที่ทำงานในด้านนี้ ทั้งนี้ ในยุคที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์ทวีความรุนแรงขึ้นทั่วโลก ทั้งหน่วยงานภาครัฐและองค์กรต่าง ๆ ต่างพยายามอย่างเต็มที่ในการส่งเสริมผู้มีความรู้ความสามารถเพื่อให้รองรับกับความท้าทายที่เกิดจากอาชญากรไซเบอร์ในปัจจุบัน  หนึ่งในความพยายามดังกล่าวคือความร่วมมือระหว่างหัวเว่ย และ สกมช. ในการจัดการแข่งขัน 'Women Thailand Cyber Top Talent 2023' โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมความรู้ความสามารถให้แก่แรงงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างภูมิทัศน์ดิจิทัลที่แข็งแกร่งและสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้ดียิ่งขึ้น

พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ได้กล่าวถึงโครงการจัดการแข่งขันครั้งนี้ว่า “ในประเทศไทยมีจำนวนผู้หญิงที่ทํางานในสายไซเบอร์ซีเคียวริตี้คิดเป็น 3% ของแรงงานทั้งหมด เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 10% เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกับหัวเว่ยในการเพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์หญิงในประเทศและส่งเสริมความหลากหลายทางเพศให้กับอุตสาหกรรมไอทีด้วยการจัดการแข่งขัน ‘Women Thailand Cyber Top Talent 2023’ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้เรียนรู้ เพิ่มทักษะ และพัฒนาประสบการณ์ ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ นอกจากนี้ หัวเว่ย และ สกมช. ไม่เพียงแต่มองเห็นการเสริมศักยภาพของผู้หญิงในด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์เท่านั้น แต่ทั้งสององค์กรมุ่งมั่นที่จะสร้างอนาคตซึ่งให้ความสำคัญกับความหลากหลายซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญของนวัตกรรมและความเป็นเลิศในโลกดิจิทัลที่พัฒนารุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว”

การแข่งขัน ‘Women Thailand Cyber Top Talent 2023’ ประกอบไปด้วยการแข่งขันในรอบคัดเลือกผ่านระบบออนไลน์ มีทีมเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 218 ทีมจากสามระดับ ได้แก่ ระดับนักเรียน (Junior) ระดับนักศึกษา (Senior) และระดับประชาชนทั่วไป (Open) รวมผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 ระดับ กว่า 407 คน และมีการจัดการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศแบบออนไซต์ เพื่อเฟ้นหาทีมชนะเลิศในแต่ละระดับจากทีมที่ได้รับคัดเลือกจํานวน 30 ทีม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะด้าน ICT ให้แก่ผู้หญิงและผู้มีเพศสภาพหญิง ซึ่งจะปูทางไปสู่การสร้างผู้มีความรู้ความสามารถด้านดิจิทัลที่หลากหลายและครอบคลุมมากขึ้น นอกจากนี้ การแข่งขันยังเป็นการยกระดับความรู้ ทักษะ ให้ผู้เข้าร่วมได้แสดงศักยภาพด้านต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและความท้าทายด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงได้ และยังช่วยให้ประเทศไทยมีแรงงานความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเพียงพอกับความต้องการในปัจจุบันและในอนาคต

น.ส. พิมพ์ชนก อุตตะมี ตัวแทนผู้ชนะจากทีม 'NR01' ในระดับนักเรียน (Junior) กล่าวว่า "การได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน ‘Women Thailand Cyber Top Talent 2023’ ถือเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าในชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการเข้าร่วมการแข่งขันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นครั้งแรก ประสบการณ์ที่ได้รับค่อนข้างเป็นสิ่งใหม่ซึ่งช่วยเปิดโอกาสอันมากมายให้ได้เรียนรู้และแสดงความสามารถ และทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยทางไซเบอร์มากขึ้น ในฐานะผู้หญิงยุคใหม่ซึ่งมีความสนใจในสายงานด้านนี้ บทบาทสำคัญที่สุดประการหนึ่งคือ การเผยแพร่ความรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้แก่ผู้อื่นเท่าที่จะทำได้ และเราทุกคนล้วนแล้วแต่สามารถส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกของเยาวชนไทยในการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ ด้วยการเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นการใช้โซเชียลมีเดียอย่างมีสติหรือการรู้เท่าทันถึงภัยคุกคามไซเบอร์”

“เทคโนโลยีจากหัวเว่ยและองค์กรเอกชนอื่น ๆ จะมีบทบาทอย่างมากในการช่วยยกระดับความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศไทยในมิติต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีที่สามารถตรวจจับและป้องกันกิจกรรมที่ละเมิดกฎหมายไซเบอร์ เช่น การใช้ประโยชน์จาก AI ในการตรวจจับและคาดการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ นอกจากนี้ การสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการทำงานร่วมกันและการแลกเปลี่ยนความรู้ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ในการเสริมสร้างความเข้าใจอันแข็งแกร่งเกี่ยวกับความรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับคนไทย” น.ส. พิมพ์ชนก กล่าวเสริม

ร.ท.หญิง รติรส แผ่นทอง ร.น. และ จ.ส.ต.หญิง ณัฐธยาน์ เรื่อศรีจันทร์ จากทีม ‘hacKEr4nDtHECA7-1’ ในระดับประชาชนทั่วไป (Open) กล่าวว่า “ในฐานะตัวแทนศูนย์ไซเบอร์ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ซึ่งปฏิบัติงานด้านไซเบอร์ของกองทัพไทยโดยตรง เรารู้สึกภาคภูมิใจที่ได้รับรางวัลชนะเลิศครั้งนี้ เพราะแสดงให้เห็นถึงศักยภาพหน่วยงานของเราในการปกป้องความปลอดภัยระบบนิเวศทางไซเบอร์ของประเทศไทย อีกทั้งเป็นการวัดระดับขีดความสามารถของพวกเราเมื่อเทียบกับบุคคลภายนอก พร้อมเป็นการส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและการพัฒนาทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยี ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริงในกับหน่วยงานได้”

“เราอยากจะสนับสนุนให้ผู้หญิง หรือผู้ที่มีเพศสภาพเป็นหญิง รวมไปถึงเพศสภาพอื่นๆ (LGBTIQA+) ให้ลองออกมาทำในสิ่งที่ท้าทายตัวเองมากขึ้น เช่น การเพิ่มความรู้ด้านเทคโนโลยี ด้วยการยกระดับทักษะและการเพิ่มทักษะใหม่ ๆ ซึ่งจะนำไปสู่การเสริมศักยภาพแรงงานดิจิทัลของทั้งอุตสาหกรรม นอกจากนี้ การสร้างสรรค์ให้เกิดความหลากหลายภายในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีด้วยการเพิ่มจำนวนผู้หญิงและผู้ที่มีเพศสภาพเป็นหญิง (LGBTIQA+) จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มจำนวนผู้มีความรู้ความสามารถและส่งเสริมไอเดียนวัตกรรมใหม่ ๆ ทั้งนี้ ความก้าวหน้าด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศไม่ได้ขึ้นอยู่กับความพยายามของหน่วยงานภาครัฐเท่านั้น ภาคเอกชนก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน ดังเช่นหัวเว่ยซึ่งให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยี ความเชี่ยวชาญ และบุคลากรมาโดยตลอด ความร่วมมือนี้จะมีส่วนช่วยในการสร้างภูมิทัศน์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่งสำหรับประเทศต่อไป” ร.ท.หญิง รติรส กล่าวเสริมในตอนท้าย

ทั้งนี้ หัวเว่ยดำเนินงานในประเทศไทยมาเป็นเวลา 24 ปี และบริษัทได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านดิจิทัลอย่างรวดเร็วของประเทศ เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลมาอย่างต่อเนื่อง หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะบ่มเพาะผู้มีความสามารถด้านดิจิทัลและเพิ่มศักยภาพให้กับบุคลากรด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับเหล่าพาร์ทเนอร์รายสำคัญ สร้างสรรค์มาเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะ ช่วยให้ประเทศเตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น ตามพันธกิจ ‘เติบโตในประเทศไทย เพื่อประเทศไทย’ (In Thailand, For Thailand) และ ‘ก้าวไปข้างหน้า โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง’ (Leading Everyone Forward and Leaving No One Behind) ของหัวเว่ย บริษัทจะยังคงลงทุนในประเทศไทยต่อไปเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และยกระดับสถานะของประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางด้านดิจิทัลของภูมิภาค


[1] https://cybersecurityventures.com/women-in-cybersecurity-report-2023/

X

Right Click

No right click