ครั้งแรกของการผนึกกำลังกันของสี่องค์กรชั้นนำ ไทยพาณิชย์, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa), ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เปิดตัวโครงการส่งเสริมทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์ สำหรับบุคลากรและกำลังคนเพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับการจ้างงาน (Artificial Intelligence for Increasing Job Opportunity) เร่งสร้างคน AI เข้าภาคอุตสาหกรรม สนับสนุน New S-Curve ให้เศรษฐกิจไทย

เคยมีคำกล่าวว่า “แนวทางการตลาดที่ถูกเปลี่ยนแปลงไปนานกว่าหกเดือน จะไม่มีวันย้อนกลับมาทำเหมือนเดิมได้อีกแล้ว”

“เซเว่น อีเลฟเว่น” ผนึกทัพหลากพันธมิตรองค์กร Tech และหลากมืออาชีพด้าน AI จัดค่าย Creative AI Camp ปีที่ 4 แบบเข้มข้นเกือบ 2 เดือนผ่านออนไลน์ ชูแนวคิด “AI Altering The World” หวังร่วมพัฒนาเยาวชนไทยพร้อมรับมือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เปลี่ยน Landscape ทุกอาชีพ ทุกธุรกิจและ ทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก ลุยติวทักษะเทคโนโลยีกลุ่ม ABCD ควบคู่องค์ความรู้ด้านธุรกิจโดยเจ้าของ Use case สร้าง “พลเมือง AI สร้างสรรค์” ผสานหลากองค์ความรู้ สู่ไอเดียผลงานนวัตกรรมตอบโจทย์สังคม

 

นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และ เซเว่น เดลิเวอรี่ กล่าวว่า "การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) แก่เยาวชนไทย ถือเป็นวาระสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องในทุกสถานการณ์ บริษัทจึงได้ร่วมมือกับหลากหลายพันธมิตรทั้งไทยและนานาชาติ จัดค่าย Creative AI Camp ปีที่ 4 ขึ้นภายใต้แนวคิด “AI Altering The World” ในรูปแบบ Phenomena Work-based Education Learning สร้างการเรียนรู้ผ่าน VDO Conference บนแพลตฟอร์มออนไลน์ ระยะเวลาเกือบ 2 เดือนเต็ม เพื่อให้เยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษา ได้มีโอกาสศึกษาศาสตร์และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ AI ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทรงอิทธิพลต่อการพลิกโฉมทั้งสังคมและธุรกิจโลก"

 

โลกของเรากำลังอยู่ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เป็นโลกในยุค Digitization ที่ทุกอาชีพ ทุกธุรกิจ ทุกอุตสาหกรรม กำลังถูกเปลี่ยนภูมิทัศน์หรือ Landscape ไปอย่างสิ้นเชิง และ AI คือตัวแปรสำคัญที่สุดตัวหนึ่งที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิต กระบวนการทำงาน พร้อมทั้งสร้างสรรค์ Business Model ใหม่ๆ ขึ้นบนโลกแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แนวคิดการจัดค่ายในครั้งนี้ จึงมุ่งหวังการเข้าไปสร้างความตระหนักให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง ว่า AI ในวันนี้ไม่ใช่แค่ Gimmick แต่เป็นปัจจัยสำคัญที่จะสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ตัวเยาวชนเองอาจเป็นทั้งผู้ได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลง และเป็นผู้มีศักยภาพในการสร้างสรรค์ AI มาพลิกโฉมโลกในอนาคต” นายก่อศักดิ์ กล่าว

 

ด้าน รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล หนึ่งในที่ปรึกษากรรมการจัดค่าย Creative AI Camp กล่าวว่า AI เข้ามาสัมผัสและเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งโดยรู้ตัวและโดยไม่รู้ตัว ค่าย Creative AI Camp จะเปิดโอกาสให้เยาวชนจากหลากหลายพื้นที่ทั่วประเทศได้ตระหนักถึงสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ และได้เข้ามาเรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อนใหม่ สร้างสรรค์ไอเดียในการพัฒนานวัตกรรม โดย

ปีนี้ ทางค่ายได้เชิญวิทยากรที่ทำงานจริงในด้าน AI จากหลากหลายบริษัทชั้นนำของโลก มาร่วมเป็นวิทยากร เพื่อให้เยาวชนเห็นภาพความต้องการใช้งานจริงของแต่ละองค์กร และเข้าถึงแนวคิดที่จำเป็นสำหรับการสร้างสรรค์ผลงาน

 

สำหรับพันธมิตรและวิทยากรหลักในการจัดค่ายปีนี้ มีมากกว่า 20 ราย อาทิ คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM), ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI จากบริษัท โกซอฟต์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ไอโนว์พลัส จำกัด, SUNPLEX GROUP, Ambient Group, Data Scientist จากบริษัท AI ชั้นนำในญี่ปุ่น, Amazon Web Service (AWS) ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มคลาวด์และให้บริการระบบคลาวด์ระดับโลก และ บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ให้บริการด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสำหรับงานบริการและอุตสาหกรรมแบบครบวงจร

 

ด้านนายป๋วย ศศิพงศ์ไพโรจน์ ผู้จัดการทั่วไปอาวุโส สำนักปัญญาประดิษฐ์สร้างสรรค์ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นอกเหนือจากการบูรณาการวิธีสร้างสรรค์ AI ผ่านปรัชญาการเล่นหมากล้อม (Creative AI Convergence by Go Philosophy) และการเพิ่ม IQ ผ่านความรู้เกี่ยวกับกลุ่มเทคโนโลยี ABCD อันประกอบด้วย AI (ปัญญาประดิษฐ์), Blockchain (บล็อกเชน), Cloud และ Digital Data แล้ว ปีนี้จะมีการแบ่งกลุ่มเยาวชนเพื่อการเรียนรู้ใน 2 สายงาน ได้แก่ 1.Business AI มุ่งเน้นองค์ความรู้เชิงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ AI และ 2.Technical AI มุ่งเน้นทักษะเชิงลึกด้านเทคโนโลยี

 

ความสำเร็จของการสร้างสรรค์ AI ไม่ได้เกิดขึ้นจากแค่เข้าใจการเขียนอัลกอริทึม หรือมีทักษะการเขียนโปรแกรม เทรนด์ที่เราเห็นบนโลกขณะนี้คือ สตาร์ทอัพหรือ Tech Company จำนวนมาก ประสบความสำเร็จในการพลิกโฉมโลก เพราะเข้าใจ User Experience หรือ UX เข้าใจภูมิทัศน์ของสังคม เข้าใจภูมิทัศน์ของธุรกิจต่างๆ จึงสร้างสรรค์ AI ที่เข้าไปช่วยพัฒนาหรือช่วยแก้ปัญหาอย่างตรงจุดได้ ปีนี้เราจึงเน้นให้วิทยากรมืออาชีพมาช่วยสอดแทรกประสบการณ์จริงที่สัมผัสกับภาคส่วนต่างๆ ให้เยาวชนเห็นภาพมากขึ้น เช่น เรื่อง Robotics Process Automation หรือ RPA เรื่อง Automation จะนำมาเกี่ยวข้องกับสังคมและธุรกิจอย่างไร ขณะเดียวกัน ก็จะปรับกระบวนการคิดของเยาวชนให้มีความยืดหยุ่น พร้อมที่จะ Reskills หรือ Re-training ตัวเองทุก 4-5 ปี ให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้ในอนาคต นายป๋วย กล่าว

 

ทั้งนี้ ค่ายในปีนี้ ถือเป็นปีที่มีกระแสตอบรับสูงมาก โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมค่ายถึง 439 คนจากทั่วประเทศ ก่อนคัดเหลือเพียง 40 คนเพื่อเข้าร่วมค่ายจริง สะท้อนถึงความสนใจของเยาวชนต่อด้าน AI และความสนใจต่อค่าย Creative AI Camp โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือก นอกจากจะได้เป็นสมาชิกร่วมเรียนรู้ในค่ายแล้ว ยังได้สิทธิเป็นสมาชิก Creative AI Club ชุมชนและพื้นที่การเรียนรู้ด้าน AI ที่มีอุปกรณ์จำเป็นสำหรับการเรียนรู้และ

Workshop อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ผู้ที่ไม่ผ่านการคัดเลือก ยังสามารถยื่นสมัครเข้ามาเพื่อพิจารณาได้ในค่ายปีถัดไป

 

สำหรับค่าย Creative AI Camp จัดขึ้นภายใต้ปณิธานองค์กร  'ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสต่อกัน' มุ่งเน้นให้เหล่าเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นกำลังสำคัญของชาติ ได้พัฒนาทักษะความสามารถจนกลายเป็น “คนพันธุ์ AI หัวใจโกะ” (CreativeAIness) วิถีความเป็นมนุษย์ AI สร้างสรรค์ สามารถสร้างสรรค์ AI ผสมผสานปรัชญาหมากล้อม เพื่อประโยชน์ของสังคม และกลายเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งการเปลี่ยนโลกในอนาคต

 

ใครที่เป็นแฟน Tom Cruise ต้องเคยดูหนัง The Minority Report ซึ่งดัดแปลงมาจากนวนิยายชื่อเดียวกันของ Philip K. Dick ที่เคยตีพิมพ์ไว้ตั้งแต่ปี 1656 โน่นแล้ว

หากกลับมาดูใหม่ในยุคนี้ ต้องยอมรับว่า Dick นั้นคาดการณ์อนาคตได้แม่นยำพอดู

เหตุการณ์ตามท้องเรื่อง เกิดขึ้นในยุคอนาคต ราวกลางศตวรรษที่ 21 นี้แหล่ะ โดยมีตัวละครที่เรียกว่า “Precogs” เป็นตัวหลัก

Precogs นี้ อันที่จริงคือเด็ก 3 คนซึ่งเกิดมาพร้อมความสามารถพิเศษ อันเนื่องมาแต่ความผิดปกติของพันธุกรรม (Genetic Mutations) ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีทักษะในการเล็งเห็นอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้นได้ (Precognition)

เด็กเหล่านี้ถูกนำมาทดสอบและฝึกพัฒนาให้เพ่งอนาคต โดยพวกเขาจะได้รับการป้อนข้อมูลจำนวนมาก จนสามารถมองเห็นเหตุการณ์บางอย่างที่ยังไม่เกิดขึ้นได้ล่วงหน้าประมาณ 1-2 อาทิตย์ ก่อนเหตุการณ์จริงจะเกิดขึ้น

แม้ว่าข้อมูลส่วนใหญ่ที่ Precogs มองเห็นจะเป็นข้อมูลขยะ แต่มันกลับมีข้อมูลบางอย่างที่เป็นประโยชน์มาก

ตามท้องเรื่องนี้ มี Precogs จำนวน 3 ตัว ที่เชื่อมต่อกัน รับข้อมูลจำนวนมาก แล้วประมวลผล และด้วยความสามารถพิเศษที่กล่าวมาแล้วของพวกเธอ ส่งผลให้พวกเธอฉายภาพ “อาชญากรรม” ได้ก่อนที่มันจะเกิดขึ้นจริง

และเมื่อพวกเธอลงความเห็นเป็นที่สุด (ถือมติเสียงส่วนใหญ่คือ 2 ใน 3) หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบต้องดำเนินการจับกุมผู้ที่คาดว่าจะประกอบ “อาชญากรรม” เสียก่อนที่เขาจะไปประกอบอาชญากรรมจริงในอนาคต

เรียกว่า “ตัดไฟเสียแต่ต้นลม”

หน่วยงานนี้ จึงมีชื่อเรียกซะเก๋ว่า “Precrime Division” (หน่วยป้องปรามอาชญากรรม ซะก่อนที่มันจะเกิดขึ้นจริง...555)

หน้าที่ของหน่วยนี้คือบริหารจัดการ Precogs และป้องปรามมิให้อาชญากรรมเกิดขึ้นจริง โดยเป้าหมายของสังคมนั้น คือป้องปรามอาชญากรรมให้ได้แบบสมบูรณ์ จนไม่จำเป็นต้องมีคุกตาราง และกระบวนการลงโทษตามกฎหมาย อีกต่อไป

ฟังแล้วคุ้นๆ ใช่ไหม?

ปัจจุบันเราเรียกความสามารถในการทำนายอนาคตโดยอาศัยข้อมูลจำนวนมาก (แบบที่บรรดา Precogs ทำจนล้า) นี้ว่า “AI” (Artificial Intelligence) และ Machine Learning นั่นเอง

เพียงแต่ตัว Precogs สมัยนี้คือคอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์ แทนที่จะเป็นเด็กซึ่งเกิดมาพร้อมกับการกลายพันธุ์ของยีน (ที่ส่งผลให้เกิดทักษะพิเศษในการเล็งเห็นอนาคตได้ด้วยการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง)

เชื่อไหมว่าแนวคิดแบบนี้ เป็นที่มาของการป้องปรามอาชญากรรมสำคัญในสมัยนี้เช่นกัน

นั่นคือ “อาชกรรมไซเบอร์” (Cybercrime)

โดยบริษัทซึ่งทำหน้าที่ป้องปรามอาชกรรมคอมพิวเตอร์จำนวนมาก (Cyber Securities) ได้ใช้แนวคิดนี้ในการออกแบบโครงสร้าง Operation ของตัวเองเช่นกัน

พวกเขาออกแบบระบบ AI ของพวกเขาให้มีความสามารถในการค้นหา รับรู้ เล็งเห็น รู้จัก (Recognize) ผู้ร้าย และกำจัดมัน เสียก่อนที่มันจะลงมือขโมยหรือทำลายข้อมูลหรือทำมิดีมิร้ายต่อระบบของเรา

เดี๋ยวนี้ เรามีคำเก๋ๆ เรียกธุรกิจของกิจการเหล่านี้ด้วยภาษาสมัยใหม่ว่า “Privileged Access Management”

ซึ่งแม้ชื่อเรียกจะฟังดูซับซ้อน ทว่าซอฟท์แวร์ของพวกนี้มีเป้าหมายพื้นๆ คือการจับฆาตกร ก่อนที่พวกมันจะลงมือ นั่นเอง

ซอฟท์แวร์ของพวกเขาช่วยจัดการ ควบคุม ติดตามการทำงาน และแจ้งเตือนสิ่งผิดปกติ ที่เกิดขึ้นในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรลูกค้า

อย่าลืมว่า ในการปฏิบัติงานนั้น ผู้บริหารและพนักงานทุกคนในองค์กร จำเป็นต้องเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และระบบข้อมูลขององค์กร ไม่มากก็น้อย

บางคนใช้แค่อีเมล์ หลายคนใช้อินทราเน็ต บางคนต้องเข้าถึงข้อมูลสำคัญใน File Storage และบางคนต้องเข้าถึงทุกอย่าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน ตลอดจนอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละคน

หลายคนในจำนวนนี้ จำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลสำคัญขององค์กร ที่เป็นหัวใจและความลับหรือเคล็ดลับซึ่งคู่แข่งขันไม่ควรได้รู้...พวกเขาจำเป็นต้องเข้าออกวันละหลายครั้ง มิฉะนั้นการงานก็จะไม่เดิน

เหล่านี้ย่อมเป็นหน้าที่ของ Precogs หรือ AI ซึ่งเป็นหัวใจของระบบ Privileged Access Management ต้องช่วยให้สิ่งเหล่านี้มีความปลอดภัยขั้นสูงสุด

นอกจากนั้น เจ้า AI นี้ ยังตามไปตรวจสอบเครื่องมือทุกชิ้นที่ขอเข้ามาเชื่อมต่อกับระบบข้อมูลกลางอีกด้วย เพื่อหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น

ปัจจุบัน กิจการระดับโลกที่มีชื่อเสียงว่าได้ใช้แนวคิดนี้ในการป้องปรามอาชญากรรมไซเบอร์ ก็มีอย่าง CyberArk, Thycotic, Beyoun Trust, Centrify เป็นต้น

กิจการเหล่านี้โตมากในระยะหลัง เพราะองค์กรใหญ่หันมาใช้บริการกันมาก เพราะพวกเขาไม่อยากเสี่ยงที่จะถูกแฮ็กระบบหรือขโมยข้อมูล

แต่ก็ยังมีกิจการ Cyber Security อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้แนวคิดการออกแบบระบบทหารของตัวเอง ให้เหมือนประหนึ่งระบบภูมิต้านทานของร่างกายมนุษย์

คือกิจการกลุ่มหลังนี้ เชื่อว่าการป้องปรามมิให้อาชญากรเล็ดลอดเข้ามาในระบบนั้นยากมาก และอาจเป็นไปไม่ได้เลย

พวกเขาจึงไม่ได้ไปเน้นที่จุดนั้น

ทว่า พวกเขากลับไปให้ความสำคัญกับระบบทหารที่ตั้งป้อมไว้อย่างดีแล้วในระบบขององค์กร

พร้อมรับมือกับผู้ไม่หวังดีที่แอบเข้ามา

โดยการล้อมจับและนำไปทำลายในเขต Sandbox ที่จัดเตรียมไว้แล้ว

ซึ่งเราจะได้กล่าวถึงกิจการที่ยึดแนวคิดแบบนี้ในโอกาสต่อไป


บทความโดย:

 ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว

ชูเทคโนโลยี AI และการสตรีมวิดีโอสด เพื่อเพิ่มความปลอดภัย ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ด้วยดีไซน์ที่ทันสมัย และคว้ารางวัล IF Design Award 2020

X

Right Click

No right click