บริษัท ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) จำกัด ฉลองครบรอบ30 ปีตอกย้ำการเป็นผู้นำธุรกิจด้านถ่ายภาพแบบครบวงจรเปิดนิทรรศการภาพถ่าย “Power of Print ให้รูปนี้มีความหมาย” Global Photo Exhibition ครั้งยิ่งใหญ่ครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้บอกเล่าเรื่องราว สะท้อนภาพถ่ายที่สัมผัสได้ถึงพลัง มุมมองต่างๆ และกระตุ้นให้คนไทยรักการปริ้นท์ภาพเพื่อเก็บบันทึกเรื่องราวที่ผ่านมาเพราะรูปภาพคือการจดจำที่วิเศษสุดในทุกช่วงเวลาที่สวยงามและยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจถึงคุณค่าของภาพถ่ายซึ่งนิทรรศการ Power of Print ได้รวบรวมผลงานภาพถ่ายของศิลปิน ดารา เซเลบริตี้ ที่มีชื่อเสียง ช่างภาพระดับแถวหน้าของเมืองไทย และผู้ที่รักการถ่ายภาพมาถ่ายทอดผลงานผ่านภาพถ่าย มากกว่า5,000 ภาพสร้างปรากฏการณ์พลังแห่งภาพถ่ายในครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกของฟูจิฟิล์มประเทศไทยที่ได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่หลงใหลการถ่ายภาพได้แสดงผลงานของตัวเองผ่านนิทรรศภาพถ่ายในครั้งนี้

มร.ซึโตมุ วาตะนาเบ้ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ฟูจิฟิล์มได้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับด้านการถ่ายภาพ เป็นเวลามากกว่า 80 ปี ซึ่งเริ่มผลิตฟิล์ม กระดาษอัดภาพ และอุปกรณ์เพื่อการถ่ายภาพในญี่ปุ่นมานานภายใต้สโลแกน ของบริษัท “Value from Innovation” นวัตกรรมอันทรงคุณค่า ซึ่งหมายความว่า ฟูจิฟิล์ม ได้มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูง พัฒนาสินค้าและบริการที่ดีที่สุดสู่ผู้บริโภคมาโดยตลอด  พร้อมการรองรับตลาดและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว   ดังนั้นนวัตกรรมการพัฒนาทางด้านดิจิตอลปริ้นท์ติ้งของฟูจิฟิล์ม จึงดำเนินตามปรัญญา Culture of Photography” ที่เป็นเอกลักษณ์ของฟูจิฟิล์ม  และถ่ายทอดถึง “รูปภาพคือสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะสามารถสะท้อนถึงวัฒนธรรมของมนุษย์ และรูปภาพคือการจดจำที่วิเศษสุดในทุกช่วงเวลาที่สวยงามและดีเยี่ยมในชีวิต” โดยที่บริษัทฟูจิฟิล์มประเทศญี่ปุ่นได้ส่งเสริมการปริ้นท์ติ้ง จัดนิทรรศการ Global Photo Exhibition ระดับโลก และจัดนิทรรศการภาพถ่ายขึ้นที่หลายประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น เยอรมัน อเมริกา แคนาดา สเปน มาเลเซีย ในปีที่แล้ว และปีนี้ สำหรับประเทศไทย ได้จัดนิทรรศการภาพถ่าย “Power of Print ให้รูปนี้มีความหมาย” นี้เป็นครั้งแรก  ในช่วงวันที่ 21-24 กุมภาพันธ์ ที่เซ็นทรัลเวิลด์ โดยได้รับเกียรติจากศิลปินดารา เซเลบริตี้ ที่มีชื่อเสียงช่างภาพระดับแถวหน้าของเมืองไทยและผู้ที่สนใจเรื่องการถ่ายภาพส่งภาพมาแสดงนิทรรศการ มาร่วมใจกันถ่ายทอดเรื่องราวที่แตกต่างอย่างมีศิลปะ สะท้อนมุมมองที่หลากหลายผ่านภาพถ่ายจำนวนมากกว่า5,000 ภาพที่สัมผัสได้ถึงพลังและความรู้สึก กระตุ้นให้คนไทยรักการปริ้นท์ภาพเพื่อเก็บบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้ แทนความประทับใจ และความทรงจำซึ่งครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

นางสาวสภารัตน์ ประดิษฐ์ ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด แผนกโฟโต้อิมเมจจิ้ง บริษัท ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “การจัดนิทรรศการภาพถ่ายในครั้งนี้ เราได้เปิดโอกาสให้กับผู้ที่สนใจเพียงนำรูปถ่ายที่คุณชื่นชอบ ภายใต้ความหมาย Power of Print โดยสามารถใช้กล้องดิจิตอลยี่ห้อใดก็ได้นำภาพไปปริ้นท์ลงบนกระดาษสีฟูจิฟิล์ม ขนาด 8x10 นิ้วหรือ8x12 นิ้วที่ร้าน Wonder Photo Shop, ร้าน FUJIFILM Photo Station(FPS) และร้านอัดรูปที่ร่วมรายการทั่วประเทศ ซึ่งได้รวบรวมผลงานจากผู้ที่สนใจ มานำเสนอผ่านงาน Photo Exhibition โดยเริ่มเปิดรับภาพตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2561- 13 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา

โดยมีเป้าหมายให้คนไทยกลับมารักการปริ้นท์ภาพเพื่อเก็บบันทึกเรื่องราวต่างๆไว้ แทนความประทับใจและความทรงจำกันมากขึ้น เพราะปัจจุบันคนส่วนใหญ่นิยมShare ภาพผ่าน Social Mediaเท่านั้น แต่ถ้าเราได้ปริ้นท์ภาพเก็บไว้ยังสามารถนำภาพมาชื่นชม และรำลึกถึงเรื่องราวต่าง ๆ ที่ประทับใจ ซึ่งถือว่าเป็นการบันทึกความทรงจำที่ควรจะเก็บรักษาไว้

การจัดนิทรรศการในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่ฟูจิฟิล์มในประเทศไทยได้จัดขึ้น โดยจัดบนเนื้อที่กว่า 1,800 ตารางเมตร ของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์เพื่อแสดงถึงพลัง การสร้างแรงบันดาลใจให้คนหันกลับมารักการปริ้นท์ภาพมากขึ้น และกระตุ้นให้ตลาดการปริ้นท์ภาพกลับมาคึกคักอีกครั้งนิทรรศการภาพถ่ายนี้ได้รวบรวมผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียงในประเทศมาจัดแสดงมากมาย อาทิอาจารย์วรนันทน์ ชัชวาลทิพากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่าย) ปี 2552 ดร.สงคราม โพธิ์วิไล ศิลปินนักถ่ายภาพไทย/ผู้ทรงคุณวุฒิทางการถ่ายภาพไทย คุณอิสระ เสมือนโพธิ์, คุณธาดา วารีช  รวมไปถึงนักแสดงชื่อดังอย่างคุณเจมส์ จิรายุ,คุณซันนี่ สุวรรณเมธานนท์, คุณแป้งโกะ จินตนัดดา, คุณอนันดา  เอเวอริ่งแฮม, คุณปั๊ป โปเตโต้ และศิลปิน BNK48 อื่นๆ อีกมากมายได้นำผลงานมาร่วมจัดแสดงในครั้งนี้ด้วยรวมไปถึงภาพ Top 100 Celebrity Selection ที่ให้เหล่าเซเลบริตี้ คนดังช่วยกันคัดเลือกภาพ 100 ภาพ ที่ให้พลังและสร้างแรงบันดาลใจมาจัดนิทรรศการอีกด้วย

นอกจากนี้ภายในงานยังมีกิจกรรมให้ร่วมสนุกมากมายตลอด 4 วันอาทิเช่นGFX workshopจากช่างภาพแฟชั่นมืออาชีพ คุณจอร์จ ธาดา และ Couple Portrait จากคุณโอ๊ต ชัยสิทธิ์ ร่วมพูดคุย สนุกกับการถ่ายภาพ Instax กับ คุณเมทัล  และ คุณกุ๊บกิ๊บ(สุมณทิพย์)  และมินิคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดังอย่างวง Scrubb, BNK48 และ POTATO พร้อมกันนี้ ยังมีกิจกรรมถ่ายภาพ Fujifilm Photo Charity ที่เชิญชวนให้ทุกท่านได้ถ่ายภาพ เป็นการกุศล โดยรายได้ทั้งหมดจะนำไปบริจาคสมทบทุนสร้างอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล และมูลนิธิเล็ทส์ บีฮีโร่ (Let’s be Heroes) ของคุณหมอเจี๊ยบ ลลนา  สามารถเข้าชมนิทรรศการแสดงผลงานภาพถ่าย ได้ตั้งแต่วันที่ 21-24 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้บริษัทฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) จำกัด โทร.02-270-6000 ต่อ463 หรือ www.fujifilm-th.com/PowerofPrint

บริษัท ซีพีแรม จำกัด ร่วมกับ สาขามีเดียอาตส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  ร่วมดำเนินโครงการ การประกวดคลิปวิดีโอภายใต้หัวข้อ “คนรุ่นใหม่ไร้ Food Waste” เพื่อสร้างความตระหนักในเรื่องลดความสูญเปล่าของอาหารในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีส่วนสำคัญในการร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงในการลดความสูญเปล่าของอาหาร รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม โดยการแชร์ไอเดีย สร้างพลังผ่านวีดีโอคลิปความยาว 3 นาที ซึ่งได้รับความสนใจจากนักเรียน นักศึกษา เป็นอย่างมาก ส่งผลงานเข้าร่วมโครงการกว่า 259 ผลงาน อีกทั้งยังได้มีการดำเนินกิจกรรมสร้างความตระหนักในเรื่องลดความสูญเปล่าของอาหาร หรือ FOOD WASTE ในสถาบันการศึกษาทั่วประเทศกว่า 20 แห่ง รวมถึงได้จัดงานประกาศรางวัลการประกวดคลิปวิดีโอภายใต้หัวข้อ “คนรุ่นใหม่ไร้ Food Waste” ขึ้น ณ โรงละครอักษรา คิงเพาเวอร์ กรุงเทพฯ โดยภายในงานดังกล่าวได้รับเกียรติจากคุณวิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด และผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญเลี้ยง แก้วนาพันธ์ ประธานสาขาวิชามีเดียอาตส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ประธานในการมอบรางวัล

สำหรับผลการประกาศรางวัลคลิปวิดีโอภายใต้หัวข้อ คนรุ่นใหม่ไร้Food Waste ระดับมัธยมศึกษา รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม ABSTRACT ชื่อเรื่อง   Eat Time Trash . (รับประทาน กาลเวลา อนาคต) จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม HOT MONEY  ชื่อเรื่อง PLEDGE จาก โรงเรียนสตรีวิทยา และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม  Inspiration ชื่อเรื่อง พ้นภัยต่อ Food Waste จากโรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง พร้อมด้วยรางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ ทีม Work เรื่อง FoodWar จากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย กับรางวัลชมเชย ทีม Hazel Digital เรื่อง Vision จาก โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม

สำหรับผลการประกาศรางวัลคลิปวิดีโอภายใต้หัวข้อ คนรุ่นใหม่ไร้Food Waste ระดับอุดมศึกษา รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม ทำไมไม่กินข้าวหลามในตู้เย็น ชื่อเรื่อง ทิ้งกันไป ใครเจ็บสุด จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม G-Noon Film  ชื่อเรื่อง อ้าวเดือน จาก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม  3511 ชื่อเรื่อง ME จาก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมด้วยรางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ ทีม Satuboon Production (สาธุบุญ โปรดักชั่น) เรื่อง ขาหมู “ไม่ใช่เพลงแต่เป็นข้าว” จาก มหาวิทยาลัยรังสิต กับทีม ตาปรือ โปรดักชั่น เรื่อง The Value  จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

พร้อมกันนี้ยังได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญเลี้ยง แก้วนาพันธ์, คุณคงเดช จาตุรันต์รัศมี ผู้กำกับภาพยนตร์, คุณคมกฤษ ตรีวิมล ผู้กำกับภาพยนตร์ และคุณสุปราณี ชนะชัย ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ซีพีแรม จำกัด  ร่วมเสวนาในหัวข้อ “สถานการณ์ Food Waste กับการเปลี่ยนแปลง” และคุณวีรยุทธ ล้อทองพานิชย์ Executive Producer ร่วมสร้างแรงบันดาลใจ “เทคนิคการทำหนังสั้นสร้างสรรค์สังคมในยุคดิจิตอล” อีกด้วย

ทั้งนี้ ซีพีแรม ดำเนินธุรกิจเคียงข้างสังคมอย่างเกื้อกูล ยังคงเดินหน้าสร้างความตระหนักในการลดความสูญเปล่าของอาหาร ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ลุยปลูกฝังสังคมลดการกินทิ้งขว้าง เพื่อยกระดับสู่ความยั่งยืนทางอาหาร ซีพีแรมยังคงใช้รายได้ 1% ของยอดขายหรือปีละ 150-200 ล้านบาท เดินหน้าวิจัยเพื่อให้เกิดนวัตกรรมอาหารรากฐานแห่งความยั่งยืนของอุตสาหกรรมอาหาร และร่วมส่งมอบความเป็นอยู่ที่ดีให้ทุกคน

เอปสัน ประเทศไทย เปิดเกมรุกธุรกิจกระดานใหม่ ชู 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์หลัก อิงค์เจ็ท พรินเตอร์ความเร็วสูง พรินเตอร์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม เลเซอร์โปรเจคเตอร์ และหุ่นยนต์แขนกล มุ่งสร้าง รายได้เติบโตต่อเนื่องอีกไม่ต่ำกว่า 5 ปี นายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการ บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในปี 2561 ของบริษัทฯ ว่า “ถึงแม้ตลาดไอทีโดยรวมของประเทศในปีที่ผ่านมาจะมีอัตราการเติบโตถดถอยลงอยู่ที่ -3% แต่ เอปสันยังคงสามารถรักษาระดับการเติบโตทางธุรกิจไว้ได้อยู่ที่ 5% โดยที่กลุ่มผลิตภัณฑ์หลักส่วนใหญ่ของบริษัทฯ ยังคงทำผลงานได้ดี สามารถสร้างการเติบโตได้ทั้งหมด โดยคาดการณ์ว่าเมื่อสิ้นปีงบประมาณของบริษัทฯ (31 มีนาคม 2562) ผลิตภัณฑ์โปรเจคเตอร์จะเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่า 10% ซึ่งมีโปรเจคเตอร์ความสว่างสูงเป็นกลุ่มที่เติบโตมากที่สุด ขณะที่พรินเตอร์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมจะเติบโตขึ้น 6% โดยที่ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มโฟโต้ มินิแล็บ และอุตสาหกรรมสิ่งทอต่างยังได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ส่วนกลุ่มอิงค์เจ็ทพรินเตอร์จะขยายตัวขึ้น 5% โดยมาจากพรินเตอร์แท็งค์แท้ หรือ EcoTank เป็นหลัก”

“ปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของเอปสันในตลาดประเทศไทยมาจากการที่บริษัทฯ ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและ ผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำเสนอความคุ้มค่าในการลงทุนที่ดียิ่งขึ้นต่อลูกค้า รวมถึงมีความต่อเนื่องในการออก ผลิตภัณฑ์ใหม่และทำตลาดเพื่อเข้าถึงตลาดใหม่ๆ มากขึ้น เช่น การเปิดตัวพรินเตอร์ความเร็วสูงเพื่อรองรับงาน พิมพ์สิ่งทอระดับโรงงานอุตสาหกรรม อย่าง SureColor F9330 หรือเลเซอร์โปรเจคเตอร์ความสว่างสูง ในระดับ 6,000-15,000 ลูเมน ที่เน้นเจาะกลุ่มธุรกิจบันเทิงและการจัดงานอีเวนท์เอาท์ดอร์ รวมทั้งกลุ่มอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ ความเร็วสูงรุ่น WF-C869R สำหรับเอสเอ็มอีที่ใช้เทคโนโลยีหัวพิมพ์รุ่นล่าสุดของเอปสัน PrecisionCore และระบบ หมึก RIPs (Replaceable Ink Pack) ชุดหมึกที่ถอดเปลี่ยนได้สามารถรองรับการพิมพ์ปริมาณสูงถึง 86,000 แผ่น”

“ส่วนตลาดต่างประเทศที่บริษัทฯ ดูแลอยู่ ได้แก่ เมียนมาร์ กัมพูชา ลาว และปากีสถาน มีอัตราการเติบโตโดยรวม  6% โดยมีปัจจัยจากการที่บริษัทฯ ได้ป้อนผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง อาทิ ในกลุ่มอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ EcoTank ทั้ง L-Series และ M-Series เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับกลุ่มลูกค้าธุรกิจโซโหและเอสเอ็มอี รวมถึงทำการ ตลาดเชิงรุกมากยิ่งขึ้น เพื่อแย่งมาร์เก็ตแชร์จากเลเซอร์พรินเตอร์ นอกจากนี้ ยังได้นำโปรเจคเตอร์ความสว่างสูง เข้าไปทำตลาดกับกลุ่มลูกค้าในธุรกิจบันเทิงและสถาบันศึกษาที่กำลังขยายตัวอย่างมาก โดยชูจุดเด่นด้านความ ทนทานและคุณภาพที่ดีกว่าคู่แข่ง ซึ่งทำให้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี”

นายยรรยง กล่าวต่อว่า “หลังจากที่สร้างความสำเร็จขึ้นมาจากดอทเมทริกซ์พรินเตอร์เมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว จนกลาย เป็นแบรนด์เดียวที่มีมาร์เก็ตแชร์มากกว่า 90% ต่อมาบริษัทฯ ได้นำผลิตภัณฑ์อิงค์เจ็ทพรินเตอร์และโปรเจคเตอร์ 3LCD เข้ามาทำตลาดจนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และเมื่อ 9 ปีก่อน บริษัทฯ ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้ กับวงการพรินเตอร์ด้วยการเปิดตัวพรินเตอร์แท็งค์แท้รุ่นแรกของโลก ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากจนสามารถ เข้าไปแทนที่อิงค์เจ็ทพรินเตอร์แบบใช้ตลับหมึกและเลเซอร์พรินเตอร์ได้ในหลายตลาด จนทำให้เอปสันได้กลาย เป็นเจ้าตลาดมาจนถึงทุกวันนี้  ในช่วงเดียวกัน บริษัทฯ ยังได้เปิดตัวโปรเจคเตอร์ความสว่างสูงหลายรุ่น โดยเน้น จุดขายที่คุณภาพของภาพฉาย ความทนทาน ความประหยัด และฟังก์ชั่นที่ครบครัน พร้อมตอกย้ำความมั่นใจของ ลูกค้าด้วยตำแหน่งโปรเจคเตอร์ที่มียอดขายสูงสุดในโลกติดต่อกันถึง 17 ปีซ้อน ในวันนี้ เอปสัน ประเทศไทยกำลัง ก้าวเข้าสู่เฟสใหม่ของวงจรธุรกิจ หรือ S-Curve ใหม่​ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องไปอีกไม่น้อยกว่า 5 ปี โดย จะเน้นที่การสร้างตลาดและขยายฐานลูกค้าให้กับ 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์สำคัญของบริษัทฯ ได้แก่ อิงค์เจ็ทพรินเตอร์ ความเร็วสูง พรินเตอร์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม เลเซอร์โปรเจคเตอร์ความสว่างสูง และหุ่นยนต์แขนกล ซึ่งล้วน แต่เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง มีแนวโน้มการเติบโตในระยะยาว และเป็นที่ต้องการอย่างมากในกลุ่มลูกค้า องค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรม”

“ในช่วงแรกของการสร้าง S-Curve ใหม่ บริษัทฯ ได้ตั้งเป้าเติบโตไว้ที่ 5% สำหรับประเทศไทย และ 10% สำหรับ ตลาดต่างประเทศ ซึ่งในปี 2562 นี้ ยังมีปัจจัยอีกมากที่ต้องจับตา ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ทางการเมืองหลังการ เลือกตั้งในประเทศ หรือปัจจัยภายนอก อาทิ การชะลอตัวของเศรษฐจีนและเศรษฐกิจโลก สงครามการค้าระหว่าง จีนและสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินเกิดความผันผวน ขณะเดียวกันก็มีปัจจัยที่เอื้อต่อการขยายตัวของธุรกิจอยู่ ไม่ว่า จะเป็นการผลักดันให้เกิดการใช้เทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจตามยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 ของรัฐบาล กระแส การเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีด้านการผลิตและการปฏิบัติงานสู่ระบบดิจิทัล รวมไปถึงเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ยังอยู่ในช่วงขาขึ้น นอกจากนี้ ในหลายวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม ยังเกิดกระแสความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างจริงจังมากขึ้นเรื่อยๆ  บริษัทฯ จึงมั่นใจว่าจะสามารถสร้างการเติบโตใน S-Curve ใหม่นี้ได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการกำหนดกลยุทธ์เพื่อผลักดัน S-Curve ใหม่นี้ไว้ 4 ด้าน ครอบคลุมด้านผลิตภัณฑ์ การบริการ ช่องทางจัดจำหน่าย และการสื่อสารการตลาด”

สำหรับกลยุทธ์ทางด้านผลิตภัณฑ์ เอปสัน ประเทศไทยมีแผนที่จะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ใน 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์เข้ามาทำ ตลาดมากขึ้น โดยในกลุ่มอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ความเร็วสูง บริษัทฯ จะทยอยเปิดตัวสินค้าใหม่ครบทั้งไลน์อัพ เพื่อตอบ โจทย์ความต้องการขององค์กรธุรกิจทุกขนาด ตั้งแต่เอสเอ็มอี โซโห ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ โดยมีเป้าหมายที่จะ เข้าไปแทนที่การใช้งานเลเซอร์พรินเตอร์ ซึ่งอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ความเร็วสูงของเอปสันในปัจจุบันถูกพัฒนาให้ก้าว ข้ามเลเซอร์พรินเตอร์ไปแล้ว ทั้งด้านคุณภาพงานพิมพ์ที่ดีเยี่ยม การใช้พลังงานที่น้อยกว่า การดูแลรักษาที่ง่ายและ ประหยัดกว่า ทั้งยังเป็นมิตรต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับกลุ่มพรินเตอร์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม ที่จะมีการเปิดตัวสินค้าใหม่อีกหลายรุ่น ทั้งในกลุ่มโฟโต้ มินิแล็บ อุตสาหกรรมสิ่งทอ หรืองานพิมพ์ป้ายโฆษณาทั้ง ภายในและภายนอกอาคาร เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำและเติมเต็มความต้องการของตลาดที่ยังมีโอกาสอยู่อีกมาก เช่น เครื่องพิมพ์อุตสาหกรรมความเร็วสูง ที่สามารถพิมพ์ตรงลงบนผ้าม้วนได้ (Direct to Fabric หรือ DTF) ซึ่งเป็น เครื่องพิมพ์สิ่งทอระบบดิจิทัลที่รองรับการพิมพ์แบบออนดีมานด์ ทั้งยังใช้หมึกพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ผ้าได้หลายชนิด และยังช่วยลดการใช้สารเคมีและของเสียในการผลิตลายผ้าได้อย่างมาก เมื่อเทียบกับการผลิตลายผ้าแบบเดิม

ในขณะที่กลุ่มเลเซอร์โปรเจคเตอร์ เอปสันยังคงให้ความสำคัญ เพราะต้องการรักษาตลาด และตำแหน่งอันดับหนึ่ง ของตลาดนี้ โดยล่าสุดได้มีการเปิดตัวเลเซอร์โปรเจคเตอร์ความสว่างสูง 20,000 ลูเมน และเลเซอร์โปรเจคเตอร์ ความละเอียดระดับ 4K สำหรับหุ่นยนต์แขนกล ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะนำเข้ามาจะมีราคาถูกลงถึง 35% เพื่อรองรับ ตลาดการศึกษาและเพิ่มโอกาสให้กับผู้ประกอบการรายเล็กสามารถนำหุ่นยนต์แขนกลเข้าไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพ ในการผลิต รวมทั้งจะมีการเปิดตัวหุ่นยนต์รุ่นใหม่ที่สามารถยกวัตถุหรือชิ้นงานที่มีน้ำหนักมากขึ้นได้

ด้านกลยุทธ์ในการบริการ นายยรรยง ให้ข้อมูลว่า “การบริการหลังการขายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่แยกจากการ ขายสินค้าไม่ได้ บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญอย่างมากในการพัฒนา Service Excellence หรือความเป็นเลิศในการ บริการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความพึงพอใจในระดับสูงและประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า บริษัทฯ ได้จัดตั้งหน่วยงาน พิเศษขึ้นมาเพื่อตรวจสอบและพัฒนาการให้บริการ พร้อมติดตามผลการทำงานอย่างใกล้ชิด ทั้งยังเพิ่มความรวด เร็วในการให้บริการซ่อมสินค้า โดยตั้งเป้า 90% จะซ่อมเสร็จภายใน 1-3 วัน นอกจากนี้ ยังมีแผนจะลงทุนขยาย ศูนย์บริการเพิ่มขึ้นจาก 154 แห่ง เป็น 170 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ในการให้บริการมากยิ่งขึ้น ทั้งยัง จะเพิ่มจำนวนจุดรับสินค้าหรือดรอปพอยท์ในบางจังหวัดโดยร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ รวมถึงพัฒนาระบบการ บริหารจัดการและจัดส่งชิ้นส่วนอะไหล่ให้มีความรวดเร็วมากขึ้น”

“นอกจากนี้ยังมีแผนสำหรับการให้บริการลูกค้าองค์กรที่ซื้อผลิตภัณฑ์ใน 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นอิงค์เจ็ท พรินเตอร์ความเร็วสูง พรินเตอร์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม เลเซอร์โปรเจคเตอร์ความสว่างสูง และหุ่นยนต์แขนกล ให้มีบริการดูแลเครื่องถึงสำนักงานของลูกค้าทุกแห่งทั่วประเทศ รวมถึงยังมีทีมงานพิเศษ เพื่อมอนิเตอร์ การทำงานของเครื่องหรือมีเครื่องสำรองให้ใช้งานแทนในกรณีที่เครื่องลูกค้าที่ใช้งานอยู่เกิดปัญหาขึ้น”

“เอปสันยังลงทุนเพิ่มเติมในส่วนระบบการวิเคราะห์ประมวลผล สำหรับงานด้าน CRM ซึ่งจะสามารถนำข้อมูลและ ความรู้ด้านต่างๆ จากลูกค้ามาช่วยพัฒนาระบบการให้บริการ ตั้งแต่ Call Center การจัดการฐานข้อมูลสินค้าและ การใช้งาน การบริหารศูนย์บริการและทีมงานบริการนอกสถานที่ รวมถึงฐานข้อมูลการรับประกันสินค้า เพื่อสร้าง ประสบการณ์การใช้งานสินค้าและการบริการหลังการขายที่ดีให้กับลูกค้า” นายยรรยง กล่าว

ด้านกลยุทธ์สำหรับช่องทางจำหน่ายสินค้า ในปีนี้เอปสันจะทำการเพิ่มจำนวน Epson Authorized Partner (EAP) สำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มอิงค์เจ็ทพรินเตอร์และโปรเจคเตอร์เป็น 170 รายทั่วประเทศ กลุ่มพรินเตอร์เชิงพาณิชย์และ อุตสาหกรรมเป็น 13 ราย และกลุ่มหุ่นยนต์แขนกลเป็น 10 ราย ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ สามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น และเจาะเข้าตลาดใหม่ๆ ได้

สำหรับกลยุทธ์ทางการสื่อสารการตลาด จะมุ่งเน้นด้านการผสมผสานเครื่องมือการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อให้สามารถเข้าถึงลูกค้าแต่ละกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด นอกจากนี้ บริษัทฯ จะเดินหน้าทำ Technology Showcase เพื่อแสดงศักยภาพของเทคโนโลยีในกลุ่มต่างๆ ผ่านอีเวนท์ที่สามารถสร้างประสบการณ์พิเศษให้กับ ลูกค้า โดยร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในภาคธุรกิจและภาครัฐ เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา เอปสันได้ร่วมกับจังหวัดสุโขทัย ในการจัดแสดงแสงเสียงงานประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ โดยนำเลเซอร์โปรเจคเตอร์รุ่น EB-L25000U ที่มีความสว่างสูงถึง 25,000 ลูเมน ไปจัดแสดงเทคนิค Projection Mapping

“การสร้าง S-Curve ใหม่ทางธุรกิจในปีนี้ถือเป็นจังหวะที่ดีของบริษัทฯ เพราะเอปสันมีผลิตภัณฑ์ครบทุกไลน์ และมี จำนวนรุ่นมากเพียงพอที่จะทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเอปสันยังเป็นบริษัทเจ้าของเทคโนโลยีเอง จึงสามารถ พัฒนาเทคโนโลยีในแต่ละด้านให้ทันสมัย นำหน้าความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ และมีสินค้าใหม่ๆ ป้อนเข้าสู่ ตลาดอย่างต่อเนื่องไม่ขาดช่วง ที่สำคัญผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 กลุ่มใน S-Curve ใหม่นี้ล้วนแต่เป็นที่รู้จักคุ้นเคยและได้รับ ความมั่นใจจากลูกค้าในหลากหลายวงการธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศไทยอยู่แล้ว เอปสัน ประเทศไทยจึง เชื่อมั่นว่า S-Curve ใหม่นี้จะไม่เพียงแต่จะสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา 5 ปีได้ แต่ยังจะทำให้มิติทาง ธุรกิจของเอปสันในประเทศไทยกว้างออกไป และแบรนด์ของเอปสันจะเติบโตมากยิ่งขึ้นด้วย” นายยรรยง ทิ้งท้าย

พฤกษาผู้นำอันดับหนึ่งในวงการอสังหาฯ โชว์ผลประกอบการปี 61 ทำผลงานนิวไฮเรคดอร์ดสร้างยอดขาย 51,101 ล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 25 ปี มีรายได้ 44,901 ล้านบาท และกำไร 6,022 ล้านบาท เตรียมเดินหน้าชูแผนกลยุทธ รักษาความเป็นผู้นำอันดับ ด้วย Portfolio ที่แข็งแกร่ง ชูนวัตกรรมเทคโนโลยี INNO-TECH ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า พร้อมเปิดตัว The Living Application ที่ทำให้ทุกเรื่องบ้าน ครบ จบในแอปเดียว ตลอดจนใส่ใจในเรื่องของคุณภาพเป็นเลิศและบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ

นางสุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “ผลการดำเนินงานในปี 2561 บริษัทฯ สามารถทำได้อย่างยอดเยี่ยม โดยทำยอดขายได้สูงถึง 51,101 ล้านบาท  ซึ่งถือว่าเป็นยอดขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 25 ปี นับจากก่อตั้งพฤกษา เติบโตเพิ่มขึ้น 7.5% จากปี 2560 ที่มียอดขายรวม 47,535 ล้านบาท มีรายได้อยู่ที่ 44,901 ล้านบาท เติบโต 2.2% จากปี 2560 ที่มีรายได้ 43,935 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 6,022 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 10.4% จากปี 2560 ที่มีกำไรอยู่ที่ 5,456 ล้านบาท

ด้านภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ ปี 2562 ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ท่ามกลางสถานการณ์การแข่งขันที่เข้มข้นในปีนี้ คาดว่าจะเติบโตขึ้นเล็กน้อยที่ประมาณ 5% โดยในปีนี้บริษัทฯ ตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 54,000 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 5.7% เป้ารายได้ 47,000 ล้านบาท เติบโต 4.7% โดยมาจากแผนการเปิดโครงการใหม่ จำนวน 55 โครงการ มูลค่า 68,100 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทฯ ยังมียอดขายที่รอรับรู้ราย ณ สิ้นปี 2561 ที่ 33,233 ล้านบาท ซึ่งเป็นยอดที่สูงสุดเท่าที่ผ่านมา และเป็นยอดขายรอรับรู้รายได้ในปี 2562 อยู่ที่ 21,638 ล้านบาท

สำหรับแผนกลยุทธ์หลักในปี 62 บริษัทฯ มุ่งเน้นรักษาความเป็นผู้นำอันดับ 1 อย่างต่อเนื่อง โดยมีแผนปรับ Portfolio ของกลุ่มธุรกิจทาวน์เฮาส์ เพื่อขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มระดับกลางบนเพิ่มมากขึ้น และขยายโครงการใหม่ไปยังจังหวัดที่มีศักยภาพ อาทิ ขอนแก่น ระยอง สระบุรี และนครปฐม พร้อมรักษาฐานลูกค้าเดิมในตลาดแวลู โดยในปีนี้มีแผนเปิดตัวโครงการไฮไลท์หลายโครงการ อาทิ โครงการบ้านเดี่ยวสำหรับกลุ่มตลาดบนกับแบรนด์ The Palm รวมถึงมีการนำแบรนด์ IVY กลับมาพัฒนาเป็นคอนโดมิเนียมเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าไฮเอนด์มากขึ้น และรุกตลาดพรีเมียมเพื่อก้าวสู่ความเป็นผู้นำตลาดโดยเตรียมเปิดตัวแบรนด์ “Chapter” ซึ่งเป็นแบรนด์น้องใหม่ของพฤกษา เพื่อขยายตลาดไปยังกลุ่มลูกค้าในระดับราคา 5 – 10 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย

ทั้งนี้พฤกษาได้ต่อยอดความสำเร็จ ขับเคลื่อนองค์กรผ่าน Digital Transformation เดินหน้าด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยี INNO -TECH เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนไทย สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างตรงจุด ด้วยการนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาปรับใช้ในทุกกระบวนการทำงานตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ เริ่มตั้งแต่การนำ Big Data ที่มีอยู่มาวิเคราะห์พฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ของลูกค้าเพื่อนำมาใช้พัฒนาในด้านต่างๆ อาทิ การนำข้อมูลมาพัฒนาด้าน Product and Innovation Design สำหรับที่อยู่อาศัยเพื่อสร้างความแตกต่างและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ตรงกับความต้องการมากขึ้น การทำการตลาดที่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในทุก Customer Journey ได้เฉพาะเจาะจง รวมไปถึงการพัฒนาด้านการบริการด้วยการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อมอบความสะดวกสบายแก่ลูกบ้านในการอยู่อาศัยแบบครบวงจรอย่าง The Living Application ที่ทำให้ทุกเรื่องบ้าน ครบ จบ ในแอปเดียว ตั้งแต่เริ่มค้นหาบ้าน ข่าวสารและโปรโมชั่น ไปจนถึงการตรวจรับบ้านและเข้าอยู่อาศัย ได้แก่ การชำระค่าผ่อนดาวน์ รวมไปถึงระบบ Smart Home (สั่งการเปิด-ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านผ่านมือถือ), Smart Facilities (จองพื้นที่ส่วนกลาง), Mail & Parcel แจ้งเตือนรับจดหมายหรือพัสดุ และในแอปพลิเคชันยังมีข้อมูลสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้า Pruksa Member และบริการต่างๆ จากผู้ช่วยอัจฉริยะ อาทิ บริการทำความสะอาด ล้างแอร์ รับ-ส่งพัสดุ งานช่าง เป็นต้น สำหรับลูกค้าพฤกษาสามารถดาวน์โหลดผ่าน Play Store และ App Store ได้แล้ววันนี้

นอกเหนือจากแผนกลยุทธ์ตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ในเรื่องของคุณภาพเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่พฤกษายังคงมุ่งเน้นใส่ใจอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นแผนรุกธุรกิจเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้บริษัทฯ มากยิ่งขึ้น” นางสุพัตรา กล่าว

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) แถลงข่าว EXIM BANK ครบรอบ 25 ปี พร้อมทำหน้าที่เติมเต็มช่องว่างเครือข่ายธุรกิจ การเงิน และองค์ความรู้ ช่วยให้ผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ตลาดใหม่ และสร้างผู้ส่งออก SME ที่แข่งขันได้ในทุกตลาดทั่วโลก พร้อมเปิดบริการ “สินเชื่อส่งออกเพิ่มสุข” เป็นสินเชื่อหมุนเวียนที่ไม่ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยส่งออก และต้องการเริ่มต้นส่งออก ขณะที่ EXIM BANK มีผลดำเนินงานปี 2561 เป็นที่น่าพอใจ มีเงินสินเชื่อคงค้างสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 108,589 ล้านบาท ทั้งยังมีปริมาณธุรกิจสะสมบริการประกันที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดถึง 92,448 ล้านบาท ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็วๆนี้

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า เตรียมพร้อมจัดงาน NIDA International Business Conference 2019 ขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ช่วงวันที่ 1 และ 2 มีนาคม พ.ศ. 2562 ณ ชั้น 9 – 10 อาคารบุญชนะ อัตถากร นิด้า ภายในงานเป็นการผนึกกำลังระหว่างผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิชาการและภาคส่วนธุรกิจ เพื่อเป็นการสร้างเครือข่าย แลกเปลี่ยนและเรียนรู้ประสบการณ์ภายใต้ธีมที่กำลังเป็นที่จับตามองของปีนี้คือ “Transforming Business to the Future”

รศ.พ.ต.ต.ดร.ดนุวศิน เจริญ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เผยถึงจุดประสงค์ของการจัด Conference ในครั้งนี้ว่านอกเหนือไปจากรวบรวมและนำเสนอผลงานวิจัยโดยนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยเรื่องใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารธุรกิจ ยังมีประเด็นว่าในยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจเกิดขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องการเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น Blockchain, AI (Artificial intelligence) หรือ IoT (Internet of Things) จนหลายๆ ธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องมีการ Transform จึงอยากจะให้มีการศึกษาเรื่องผลกระทบต่อการเข้ามาเทคโนโลยีว่าจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงธุรกิจในด้านไหน และอะไรคือสิ่งที่ธุรกิจจะต้องจัดเตรียมแผนและกลยุทธ์รองรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

สำหรับปีนี้ NIDA International Business Conference 2019 นี้ มีการัดงานขึ้น 2 วัน

Day 1 : พันเอก ดร ดนุวสิน เผยว่า “สำหรับวันที่ 1 มีนาคม ซึ่งเป็นวันแรกของ Conference จะมีการจัด Cases Development Workshop โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นอาจารย์และนักวิจัยที่ต้องการเขียนเคส หรือกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในองค์กรจริง สามารถนำเอาความรู้ คอนเซ็ปต์หรือทฤษฎีที่เรียนมาไปประยุกต์ใช้ได้ ที่ผ่านมาคณะบริหารธุรกิจในประเทศไทยหลายแห่งมักจะใช้เคสจากอเมริกาและยุโรปในการเรียนการสอน ปัญหาคือ เคสเหล่านั้นไม่ได้อยู่ในบริบทประเทศไทย ดังนั้น นิด้า โดยเฉพาะคณะบริหารธุรกิจ เราต้องการเป็นผู้นำในการพัฒนาเคสที่เป็นบริบทของประเทศไทย ทางคณะมีการสนับสนุนให้อาจารย์เขียนเคสหรือกรณีศึกษาเพื่อใช้ในการสอนและการวิจัยมาเป็นระยะเวลาเกือบสิบปีทำให้เรามีจำนวนเคสค่อนข้างเยอะ

เราต้องการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคในเรื่องการเขียนกรณีศึกษาเพื่อให้อาจารย์มหาวิทยาลัยอื่นๆ หรือนักวิจัยผู้ที่สนใจสามารถมีความรู้ความเข้าใจหากเขาต้องมีการพัฒนากรณีศึกษาที่จะนำมาใช้ในการสอน เขาจะเขียนอย่างไร มีประเด็นอะไรที่เขาต้องให้ความสำคัญ รูปแบบของเคสที่ดีเป็นอย่างไร รูปแบบการเขียน Teaching note เทคนิคในการเขียนเคส การเลือกเคส รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้เคส สำหรับวิทยากรและโค้ชใน workshop ครั้งนี้ก็จะมีผมเป็นวิทยากร ซึ่งผมเองมีประสบการณ์ในการตีพิมพ์เคสมากกว่า 12 เคสซึ่งส่วนใหญ่เป็นเคสของบริษัทหรือองค์กรในประเทศไทย และอีท่านหนึ่งที่เป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ คือ Lee Meng Foon รองประธาน The Case Writers’ Association of Malaysia (CWAM) เป็นสมาคมใหญ่ที่สนับสนุนการพัฒนาเคสแห่งหนึ่งในประเทศมาเลเซีย

Workshop ในช่วงบ่ายจะเป็นการจัดให้ผู้ที่เข้าอบรม พัฒนา Case Outline โดยจะมี Coach 5 ท่าน เป็นอาจารย์คณะบริหารธุรกิจที่เคยตีพิมพ์เคสไปแล้วไม่ว่าจะเป็นท่านอาจารย์จงสวัสดิ์ อาจารย์ปิยะ อาจารย์นิตยา อาจารย์กฤษฎา และเรายังได้รับเกียรติจาก Dr. Hillol Bala อาจารย์จาก Indiana University ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยระดับชั้นนำ Ranking ในอันดับ TOP 20 ของโลก และท่านเป็นผู้มีประสบการณ์ในการเขียนเคสจะมาเป็นผู้ที่ให้คำปรึกษาร่วมด้วย หลายคนเข้าใจว่าเคสจะใช้เฉพาะในคณะบริหารธุรกิจ แต่จริงๆ แล้วผมมองว่าจะเป็นประโยชน์ในด้านอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมเศรษฐกิจหรือการท่องเที่ยว ก็สามารถที่จะใช้เคสเป็นมาเป็นสิ่งที่ทำให้นักศึกษาได้เห็นถึงสถานการณ์จริง ปัญหาจริงในโลกธุรกิจ ในชุมชนว่าเป็นอย่างไร และสามารถ Apply ความรู้ผสมทฤษฎีที่เรียนมาไปใช้ในการแก้ปัญหาได้

Day II : สำหรับวันที่ 2 มีนาคม จะเป็นงานสัมมนา NIDA International Business Conference ในวันนั้นงานจะเริ่มต้นเปิดในช่วงเช้าโดยท่านอธิการบดีนิด้าซึ่งจะกล่าวเรื่องของการปรับตัวของมหาวิทยาลัยและ การ Transform ของมหาวิทยาลัย ในส่วนของ Keynote speaker ของปีนี้ ถือว่าเป็น highlight สำคัญเพราะได้รับเกียรติจาก Prof. Thomas Robinson ประธานและ CEO ของสมาคม AACSB ซึ่งเป็นหนึ่งผู้กำหนดมาตรฐานชี้วัดด้านคุณภาพของคณะบริหารธุรกิจทั่วโลก โดย Prof. Thomas Robinson จะมากล่าวถึงทิศทางของการเรียนการสอนในหลักสูตรบริหารธุรกิจที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเพื่อรองรับต่อการเข้ามาของเทคโนโลยีและอนาคต จากนั้นจะมีการนำเสนอผลงาน แบ่งออกมาเป็น 4 Tracks ที่เชื่อมโยงกับเรื่อง Transformation ด้านต่างๆ ของธุรกิจตั้งแต่เทคโนโลยี การตลาด องค์กร และการบริหาร ต่อด้วย Transformation Leader’ s Forum

พันเอก ดร ดนุวสิน บอกเล่าถึง Transfomation Leader’ s Forum ในปีนี้ที่ได้เชิญผู้บริหารผู้เคยมีประสบการณ์ในการเข้าไปเปลี่ยนแปลงองค์กรใหญ่ๆ อาทิ ดร.ทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดร.จีราวรรณ บุญเพิ่ม อดีตปลัดกระทรวงไอซีที ผู้เข้าไปมีส่วนผลักดันนโยบายในเรื่องการนำไอซีทีเข้ามาใช้ในประเทศไทยหลายนโยบาย อีกท่านคือ คุณชุติมา สีบำรุงสาสน์ เป็น VP ของบริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ซึ่งจะมากล่าวในประเด็น Culture เรื่องคนในองค์กรระดับโลกอย่างไมโครซอฟท์ นอกจากนั้นก็จะมี Keynote อีกท่านหนึ่งคือ Prof. Hillol Bala อาจารย์จาก Kelley School of Business ที่ Indiana University หนึ่งในทีมผู้สร้างทฤษฎี Technology Acceptance Model (TAM) ที่กล่าวได้ว่าเป็นหนึ่งในทฤษฎีที่ถูกอ้างอิงมากที่สุดในการบริหารธุรกิจ โดยท่านจะพูดเรื่องที่ต้องพิจารณาเมื่อมีการ Transform ในองค์กร หลังจากนั้นจะเป็นการนำเสนอ เปเปอร์ ซึ่งจะมีอีก 4 Tracks ที่เชื่อมโยงเรื่อง Transformation กับชุมชนและสังคม, กับการเงิน, กับเรื่อง New Role Marketing และกับการบริหารหรือ Management ส่วนช่วงสุดท้ายของงานจะเป็นพิธีมอบรางวัล Best Paper Award

NIDA International Business Conference 2019

สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ ที่  คลิ๊กที่นี่

 


เรื่อง : กองบรรณาธิการ

ภาพ : ภัทรวรรธน์ พงษ์บริพันธ์

ตลอดเวลากว่า 53 ปีที่ นิด้า หรือ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์  ได้สร้างคุณูปการอันทรงคุณค่าให้แก่ สังคมไทยอย่างสืบเนื่องยาวนานและไม่เคย หยุดยั้ง คือ การสร้าง คนและองค์ความรู้  ดุษฎีบัณฑิตและมหาบัณฑิตกว่า 70,000 คน ที่สร้างผลงานทั้งในภาครัฐและเอกชน อีกทั้ง ผลิตผลองค์ความรู้ด้านงาน วิจัย ในสาย Policy Research อันเป็นที่ยอมรับและถูกใช้ ในการแก้ปัญหาในการพัฒนาทั้งภาคชุมชน สังคมและเศรษฐกิจอย่างครบครัน จวบจน วันนี้ที่บริบทของสังคมเริ่มเปลี่ยนไป ปรากฏ ความท้าทายต่อบทบาทของ นิด้า และ อนาคตที่ถึงวันแห่งการประกาศจุดเปลี่ยน แห่งศตวรรษ

Change หรือ NIDA Transformation  คือวิสัยทัศน์ และพันธกิจ ของ ศ.ดร.กำพล ปัญญาโกเมศ อธิการบดีคนใหม่ของนิด้า  ผู้ก้าวขึ้นมารับตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคม  พ.ศ. 2561 พร้อมคณะผู้บริหารสถาบันฯชุดใหม่ หลังการหมดวาระของผู้บริหารชุดเดิม ภายใต้ นโยบายและเป้าหมายสำคัญ ที่จะต้องขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ของการปรับตัว เพื่อนำพาประชาคมนิด้า ทุกภาคส่วนก้าวสู่อนาคตด้วยกระบวนทัศน์ใหม่  ไปสู่การตอบโจทย์ด้านการศึกษาของสังคม และประเทศชาติ โอกาสนี้ นิตยสาร MBA ได้เข้าพบ และสัมภาษณ์เพื่อรับฟังถึงแนวทางแห่งอนาคตใหม่ ของ นิด้า

MBA : เรื่อง Disruptive Education ซึ่งเริ่มเป็นกระแสและ ประเด็นร้อนอยู่ ณ ตอนนี้ สร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการ ศึกษาไทยอย่างไรบ้าง?

ศ.ดร.กำพล : ในช่วงที่เริ่มร่างและจัดทำแผนวิสัยทัศน์ ทำให้ผมและคณะฯ ได้สำรวจข้อมูลความเป็นไปในอุตสาหกรรม การศึกษาทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศอย่างละเอียดอีกครั้ง ทำให้พบกับคำตอบเรื่องความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดจากผลกระทบ ด้านเทคโนโลยี โดยส่วนใหญ่มักมีข้อสรุปได้ว่า เทคโนโลยีสร้าง ผลกระทบกับภาคการศึกษาน้อยมาก แต่ ณ ตอนนี้ข้อสรุปเดิม  เริ่มไม่จริงอีกต่อไป เพราะในปัจจุบันภาคการศึกษาเริ่มได้รับ ผลกระทบจากเทคโนโลยีอย่างมาก และมากอย่างที่ไม่เคย เป็นมาก่อน

MBA : นิด้ามองเรื่อง Disruption และมีแนวทางในการตั้งรับ อย่างไร?

ศ.ดร.กำพล : ประเด็นเรื่อง Disruption เป็นเรื่องที่  รศ.ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ซึ่งท่านเป็นนายกสภาสถาบัน รวมทั้งกรรมการสภาฯมองกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ตอนนั้น ผมก็เป็นหนึ่งในกรรมการอยู่ด้วย มีการหารือและคิดเรื่องนี้แล้ว สุดท้ายก็ได้มีมติในเรื่องนี้ออกมาว่าจะต้องเตรียมในเรื่องการ Transform นิด้า ให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลง ทางสภาฯ  มีมติออกมาเป็นโครงการชื่อว่า NIDA Transformation และนั่น คือพันธกิจสำคัญในการเสนอวิสัยทัศน์ของผมในวาระนี้ด้วย

MBA : NIDA Transformation และ Keywords สำคัญ จะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?

ศ.ดร.กำพล : ถือว่าเป็นนโยบายของวาระสมัยนี้ซึ่งกำหนดบนคีย์เวิร์ด 3 เรื่องคือ ความเป็นเลิศ (Excellence)  การมีส่วนร่วม (Inclusion) และความเชื่อมโยง (Connectivity)  โดยความหมายของคีย์เวิร์ดเหล่านี้นั้น เริ่มที่คำาว่า ‘ความเป็นเลิศ  หรือ Excellence’ ประกอบไปด้วยนโยบาย 4 ด้านคือ วิชาการ งานวิจัย การเรียนการสอน และการปฏิบัติงานเพื่อความ ก้าวหน้าในอาชีพ ส่วนคีย์เวิร์ดต่อมาคือเรื่อง Inclusion  ความหมายคือการมีส่วนร่วม เพราะเรามีเป้าหมายที่ต้องการ ให้ทุกภาคส่วนในประชาคมของนิด้าเข้ามามีส่วนร่วมในทุกๆ กระบวนการที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ต่อไป เพราะคณะผู้บริหาร ต้องการรับฟังความคิดเห็นจากทุกๆ คน ผู้มีส่วนได้เสียของนิด้า ไม่ว่าจะเป็นคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ตลอดจนศิษย์เก่า เราอยากกระตุ้นให้ทุกๆ คนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนานิด้า ในทุกๆ ก้าวของการเปลี่ยนแปลง และคีย์เวิร์ดที่สามเป็นเรื่องความเชื่อมโยง หรือ Connectivity ประเด็นนี้คือความมุ่งหมาย ที่ต้องการจะสร้างความเชื่อมโยงภาคส่วนต่างๆ ภายใต้แนวคิด Quadruple helix model ซึ่งจะมี 4 องค์ประกอบในคอนเซ็ป ของการพัฒนา คือ การผสานภาคการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เข้าด้วยกัน โดยนิด้า คือ 1 ใน 4 ขององค์ ประกอบของแนวคิดตามโมเดลนี้อยู่แล้ว เราต้องการสร้างความ เชื่อมโยงกับอีก 3 แกนที่เหลือ

MBA : กลยุทธ์ในการขับเคลื่อน NIDA Transformation  ในครั้งนี้จะออกมาในรูปแบบใด ?

ศ.ดร.กำพล : เราจะออกแคมเปญใหญ่ เรียกว่า  REDESIGN NIDA Together ความหมายในภาษาไทยคือ  มาร่วมกันออกแบบอนาคตนิด้า โดยสิ่งที่จะ Launch ในแคมเปญนี้ ขั้นแรก คือ เราจะสื่อสารและสร้างความรับรู้ต่อสถานการณ์ของ ภาคการศึกษาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยในเมืองไทย และในต่างประเทศ ทั้งข้อเท็จจริง สิ่งที่เกิด สถิติและตัวเลข  เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน จากนั้นก็เดินหน้าสู่เป้าหมาย ของการสร้างความเปลี่ยนแปลง

ซึ่งแคมเปญ REDESIGN NIDA Together นี้มีเป้าหมาย ที่ต้องการให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การแสดงความเห็น จนไปถึงแผนและภาคปฏิบัติในที่สุด ต้องถือว่านิด้ามีความโชคดี ที่ในระยะหลังเรามีอาจารย์รุ่นใหม่ๆ เข้ามาในสถาบัน จำนวนมาก ซึ่งหมายความว่า การที่พวกเขาได้มีส่วนร่วมในการ จัดทำแผนกำหนดอนาคตนั้น ต่อไปพวกเขาจะกลายเป็นผู้ได้รับ ผลจากการได้มีส่วนร่วมในครั้งนี้ เพราะเขาจะต้องเติบโตขึ้นมา และเป็นผู้บริหารของนิด้าต่อไปในอนาคต ดังนั้น ผมจึงต้องการ กระตุ้นให้อาจารย์รุ่นใหม่ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในแคมเปญและ โครงการให้ได้มากที่สุด เพราะถ้ามหาวิทยาลัยยังไม่สร้างความ เปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมตั้งรับ และหากสิ่งคาดการณ์กันเรื่อง Disruptive Education ที่ เคย์ตัน คริสเทนเซ่น ได้คาดการณ์ไว้ เป็นจริง เราก็ยังไม่อาจล่วงรู้ได้ว่ามหาวิทยาลัยกี่แห่งที่จะหายไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องการความร่วมมือจากอาจารย์รุ่นใหม่  แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องการประสบการณ์จากอาจารย์ รุ่นอาวุโส ที่จะเข้ามาเป็นพี่เลี้ยง คอยสนับสนุน คอยชี้แนะและ ให้ความคิดเห็น เพื่อให้อาจารย์รุ่นใหม่สามารถขับเคลื่อนองค์กร ต่อไปในอนาคต

MBA : Kick Off ของแคมเปญ REDESIGN NIDA Together กำาหนดไว้อย่างไรบ้าง?

ศ.ดร.กำพล : เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เป็นวันที่ นิด้าจัดงานปีใหม่ เป็นวาระเดียวกับที่ผู้บริหารชุดใหม่ เปิดเวทีแถลงวิสัยทัศน์ และนโยบาย เราจึงกำหนดเปิดตัว แคมเปญ REDESIGN NIDA Together กับประชาคม และถือว่า โครงการ NIDA Transformation ของสภาสถาบันฯ ซึ่งเป็น โครงการยุทธศาสตร์ปรับกระบวนทัศน์เพื่อสร้างความเปลี่ยน ผ่านโดยรวมของสถาบัน ทั้งเรื่องคน การบริหารจัดการ และ  Infrastructure ได้เริ่มขึ้นควบคู่กันไป ซึ่ง REDESIGN NIDA  Together ก็คือหนึ่งในแคมเปญของโครงการ NIDA Transformation  นั่นเอง

ส่วนเรื่องหลักๆ ที่ต้องผลักดันเป็นสเต็ปแรกของโครงการ ออกแบบอนาคตนิด้า เป็นเรื่อง Mindset เรื่องของการ สร้างความตระหนักรู้เรื่องความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง  ส่วนในกระบวนการสร้างความเปลี่ยนแปลงนั้น จะมีกิจกรรม เข้ามารองรับเพื่อเปิดเส้นทางของการเข้ามาร่วมกันของทุกฝ่าย หลังวันประกาศนโยบาย สัญลักษณ์ของโครงการ REDESING NIDA Together จะปรากฏในทุกหนแห่งภายในพื้นที่ของสถาบัน ทั้งโลโก้ โปสเตอร์ ป้ายประกาศ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์  จากนั้น ทางสถาบันจะจัดให้มีกิจกรรม Workshop ขึ้นในเดือน มกราคมปี พ.ศ. 2562 เราจะนำเอาเครื่องมือใหม่ในการระดมสมอง ที่เรียกว่า Strategic Foresight ซึ่งเป็นแนวทางการมองอนาคต ข้างหน้ามาเป็นศาสตร์ในการทำ Workshop ในครั้งนี้ และเราจะใช้ Concept เรื่อง Design Thinking และ Business Canvas  มาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมครั้งนี้ด้วย ทั้งหมดนี้คือ เฟสแรกของ โครงการออกแบบอนาคตของนิด้า

MBA : สาระสำาคัญของ REDESING NIDA Together คือ อะไร?

ศ.ดร.กำพล : เป็นกระบวนการเชิญชวนให้ทุกคนใน ประชาคมมาร่วมออกแบบอนาคตของนิด้า เพื่อที่เราจะได้ดีไซน์ บ้านแห่งใหม่ จากการเปิดรับฟังเสียงสะท้อนความคิดเห็นต่างๆ จากเหล่าคณาจารย์ การร้องเรียน หรือความคิดเห็นต่อ ข้อบกพร่อง สิ่งควรแก้ไขหรือปรับปรุง แม้แต่สิ่งที่ทำไปแล้วไม่ได้ ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ ก็สามารถเสนอยกเลิกหรือตัดทิ้งได้  ข้อเสนอหรือโครงการใหม่ๆ ที่อยากให้มี อยากให้พัฒนา หรือ แม้แต่กฎระเบียบหรือข้อบังคับที่ทำให้เกิดความจำกัดในการ ก้าวไปข้างหน้า ก็สามารถส่งความคิดเห็นเข้ามาได้ในวาระของการระดมความเห็นเพื่อการปรับกระบวนทัศน์ในครั้งน  ถือเป็นจังหวะที่ดีที่ทุกฝ่ายจะมาร่วมด้วยช่วยกัน

MBA : ในส่วนของ Action Plan ของแคมเปญหลัง กระบวนการปรับ Mindset แล้วจะเป็นอย่างไรต่อ?

ศ.ดร.กำพล : จะเป็นเรื่อง Execution อันนี้คือเราจะ ทำให้ทุกสิ่งมีระบบมากขึ้น เราคาดว่า Workshop จะให้คำตอบ กับเราว่า อนาคตเราจะไปทางไหน? อย่างไร? มีอะไรต้อง ทำบ้าง? แล้วเราก็จะตั้ง Project ขึ้นมาเป็น Project Base  ยกตัวอย่าง โครงการที่นิด้าไปชนะการแข่งขัน เช่น โครงการ Smart City เราก็นำมาสานต่อ โดยนำแนวคิดที่ชนะการประกวด มาพัฒนาอาคารนวมินทร์เพื่อให้เป็น Smart Building โดย ทำเป็นโครงการประหยัดพลังงานด้วย Solar Rooftop ซึ่งก็จะ สอดคล้องและเข้าทางเป้าหมายในเรื่อง Excellence ที่เป็น หนึ่งในนโยบายแกนกลาง

อีกเรื่องสำคัญที่จะต้องปรับพัฒนา คือ เรื่องการเรียน การสอน ซึ่งตอนนี้เรากำลังพัฒนาห้องเรียนอัจฉริยะหรือ Smart Classroom เพื่อเป็นโซนการเรียนรู้ใหม่ อันนี้เป็นการ ตอบโจทย์ในเรื่องเทรนด์การเรียนรู้ของอนาคต แผนที่เรากำหนดไว้ คือ จะแบ่งเป็น Computer Lab เพื่อตอบสนองอนาคตเรื่อง AI เรื่อง Data Analytic รวมไปถึงเรื่อง Fintech และที่สำคัญเราจะมี ห้อง Design Thinking เพื่อตอบโจทย์เรียนรู้ที่สำคัญ

ส่วนเรื่อง E-Learning เราพยายามวางแผนให้เป็นเรื่อง ในระยะยาว จะทำเป็นลำดับขั้นไป ซึ่งการลงทุนจะเริ่มจาก งบประมาณรัฐ จากนั้นจะหางบเพิ่มเติมจากแหล่งทุนอื่น โดยเรา มีแนวทางความร่วมมือกับเอกชนอยู่ ล่าสุดมีหลายองค์กรที่ เข้ามานำเสนอเรื่องการนำเทคโนโลยีมาใช้สำหรับห้อง Smart Classroom ที่กำลังดำเนินการอยู่ เพื่อเป็น Showcase  ทั้งในเรื่อง Face Recognition Data Analytic และอื่นๆ ขณะนี้ เรากำลังพิจารณาเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่าง Win Win กันใน ทุกฝ่าย

MBA : นอกเหนือไปจากประเด็นเรื่อง Disruption และ การปรับตัวแล้ว นิด้ามี Change เรื่องอื่นๆ หรือไม่?

ศ.ดร.กำพล : เรื่องใหญ่ของนิด้าอีกประการคือ เรื่องการ ออกนอกระบบ’ เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ คืออีกก้าวของ ภารกิจสำคัญและถือเป็นอีกความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของนิด้า จำเป็นมากที่ประชาคมของนิด้าต้องรับรู้และต้องเข้าใจตรงกัน ให้ได้ว่า การออกนอกระบบและเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับนั้น เป็นได้ทั้งโอกาสและความท้าทาย ซึ่งสถานภาพใหม่กำลังจะมา ถึงในไม่ช้า เราต้องใช้โอกาสนี้เตรียมตัวให้พร้อม ซึ่งก็จะมี แคมเปญ REDESIGN NIDA Together อยู่ในประเด็นนี้ด้วย 

MBA : พูดเรื่อง ‘ความยาก’ ของการสร้างความเปลี่ยนแปลง หรือ Change ในความเห็นของอธิการบดี?

ศ.ดร.กำพล : เป็นคำถามเดียวกับที่ คุณบัณฑูร ล่ำซำ เคยถูกถามเมื่อครั้งที่ทำ Re-Engineering ให้ธนาคารกสิกรไทย ในอดีต ตอนนั้นท่านตอบว่า การเปลี่ยนแปลงที่ยากที่สุดคือ การเปลี่ยนแปลงในตอนที่ทุกคนในองค์กรยังมีความรู้สึกว่า องค์กรยังไปได้อยู่ แล้วจะเปลี่ยนแปลงทำไม ทุกคนยังอยู่ใน Comfort Zone” และตอนนั้น คุณบัณฑูร ยังกล่าวต่อว่า  การเปลี่ยนแปลงที่ทุกข์ทรมานที่สุดคือ การเปลี่ยนแปลงที่ถูกบังคับให้ต้องเปลี่ยน

ผมอยากตอบว่า นิด้าเราตอนนี้ก็ไม่ต่าง หลายคนยังมอง ว่า ผลกระทบยังไม่มีและเรายังไปได้ แต่เมื่อเราเห็นสัญญาณ บางอย่างปรากฏแล้ว จำเป็นมากที่เราชาวนิด้า ต้องปรับ Mind Set ในเรื่องนี้ เราถึงจุดที่ต้องเปลี่ยนแปลงแล้ว ไม่เช่นนั้น  เมื่อเราก้าวไปถึงจุดที่ถูกบังคับให้ต้องเปลี่ยนแปลงเมื่อไหร่ มันคือสายเกินไป

MBA : หลักการบริหารจัดการในอนาคตของนิด้า กำหนดไว อย่างไรบ้าง?

ศ.ดร.กำพล : ก่อนอื่นสิ่งที่ผมอยากเน้นให้เห็นเป็น ความสำคัญคือ การเล็งผลเรื่องความสำเร็จ หากปราศจาก แผนกลยุทธ์เพื่อการลงมือปฏิบัตินั่นคือความไร้ทิศทางแต่ ปราศจากการลงมือทำ แผนกลยุทธ์ดียังไงก็เปล่าประโยชน์  ซึ่งแคมเปญ REDESIGN NIDA Together ครั้งนี้ การวางแผน และการลงมือปฏิบัติล้วนถูกออกแบบให้เกิดขึ้นจากความร่วมมือ ร่วมแรงของทุกๆ ฝ่าย ตั้งแต่กระบวนการค้นหาเป้าหมาย  การดีไซน์แผนงาน ไปจนถึงการปฏิบัติ เมื่อเป็นเช่นนี้ หากทุกฝ่าย ร่วมกัน ความสำเร็จย่อมเป็นไปได้

อย่างไรก็ตามจากประสบการณ์ของผมที่ผ่านมา มีอยู่เรื่องหนึ่ง ซึ่งสำคัญมากคือ การที่เราจะบริหารองค์กรและขับเคลื่อน โครงการต่างๆ ไปสู่ความสำเร็จได้อย่างราบรื่นนั้น เรื่องผลประโยชน์ของบุคลากรจะต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกับ ผลประโยชน์ขององค์กร ผมจึงมีนโยบายในเรื่องการปรับ ระบบทิศทางเรื่องแรงจูงใจ หรือ Incentive Alignment  ของบุคลากรภายในนิด้า ไม่ว่าจะเป็นคณาจารย์ รวมไปถึง เจ้าหน้าที่ในปฏิบัติการทั้งหมด

ถัดจากเรื่องแรงจูงใจแล้ว ต่อมาเป็นเรื่องหลักการบริหาร ที่เป็นความพยายามที่จะนำเอาแนวทางการบริหารแบบ ภาคเอกชนเข้ามาผสมกับการบริหารมหาวิทยาลัย โดยจะ ประยุกต์แนวคิดการบริหารและ Concept ที่กำลังเป็นที่นิยม ในยุคนี้ ทั้ง Lean Management และ Agile Management ซึ่งเป็น แนวคิดที่สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายแกนกลางในการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ โดยเน้นรูปแบบการทำงานที่คล่องตัว มีความ รวดเร็วและกระฉับกระเฉงในการทำงาน

อย่างเรื่อง Lean Management เราให้แต่ละหน่วยงานจัดทำ Work Flow เพราะเราต้องการให้ได้มาตรฐานสากล ตอนนี้หลาย หน่วยงานของนิด้าได้มาตรฐาน ISO อย่างเช่น ITC (Information Technology Center) สำนักวิจัย กองบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นต้น แน่นอนว่าการจะได้รับรองมาตรฐาน ISO ย่อมหมายถึง ระบบงานต้องมีความชัดเจน เป็นจุดเริ่มต้น หลังจากจัดทำ  Work Flow แล้ว เราจะใช้กลไกในการปรับปรุงกระบวนการ ทำงานให้เกิดประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ทั้งในเรื่องขั้นตอน เอกสาร และต้นทุน โดยที่ยังคำนึงถึงเรื่องความพึงพอใจที่ต้องการให้มี เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

MBA : นโยบายในเรื่องหลักสูตร และทิศทางการปรับเปลี่ยน เพื่อรองรับกับอนาคตเป็นอย่างไร?

ศ.ดร.กำพล : เรื่องหลักสูตร เรามีเป้าหมายว่าแต่ละคณะ จะต้องสร้าง Flag Ship ของตนเอง บนความเข้มแข็งที่มีอยู่  เป็นจุดขายและแข่งขันได้ โดยส่วนกลางจะทำหน้าที่ Facilitate และทุ่มทรัพยากรเต็มที่ เพื่อช่วยให้หลักสูตรหรือสาขาที่ต้องการ พัฒนาหลักสูตรใหม่ หรือมีโปรเจคอะไรที่เป็น Initiative ได้รับ การสนับสนุนเต็มที่ โดยเราอยากให้เกิดปีละ 4 หลักสูตรจาก  4 คณะ ใน 3 ปีก็จะครบ 12 คณะนิด้า

จากนั้นจะเป็นเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างสาขาภายใน ของนิด้า เรามีเป้าหมายเรื่องการสร้างความเชื่อมโยงกันใน แต่ละคณะอยู่แล้ว เพราะอนาคตต่อไปจะเสนอเพียงศาสตร์ สาขาเดียวไม่ได้ จะต้องเป็นสหสาขาวิชาชีพ (Multidisciplinary) ซึ่งนอกจากความร่วมมือภายในแล้ว ยังจำเป็นต้องเชื่อมโยงกับ มหาวิทยาลัยอื่นทั้งในและต่างประเทศให้มากขึ้นอีกด้วย ผมคิดว่า การนำจุดแข็งมารวมกัน เป็นแนวทางที่สร้างสรรค์กว่าการจะมา แข่งขันกันเองระหว่างมหาวิทยาลัยอื่นๆ แม้กับมหาวิทยาลัย ในต่างประเทศก็ตาม ที่ผ่านมา เราเริ่มทำและประสบความสำเร็จ ไปบ้างแล้ว เช่น เรามีความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมเปิดหลักสูตรที่ชื่อว่า Financial Engineering เป็นหลักสูตรปริญญาตรีควบ ปริญญาโท โดยนักศึกษา คณะวิศวะ สจล. ที่สมัครเข้าร่วม ในหลักสูตรนี้ ตอนเรียนปี 3-4 จะต้องลงเรียนบางวิชาที่นิด้า เป็นวิชาในสาขาการเงิน และ เมื่อจบปริญญาตรีที่วิศวะ สจล. จึงมาเรียนต่อที่นิด้าอีก 1 ปี  ก็จะได้วุฒิปริญญาโทอีก 1 ดีกรี จากคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ อันนี้เป็นตัวอย่างของการสร้าง ความเชื่อมโยง ซึ่งโมเดลนี้ นิด้า ยังมีอีกหลายโปรแกรมที่ทำ ร่วมกับมหาวิทยาลัยใน ต่างประเทศ เช่น หลักสูตร ออนไลน์ร่วมกับมหาวิทยาลัย อินเดียน่า และหลักสูตรด้าน สถิติประยุกต์กับ University of Hull และแน่นอนว่า ยังมีอีก หลายความร่วมมือที่กำลังจะทยอยเปิดต่อไปในอนาคต

นโยบายในเรื่องคน นิด้า ส่งเสริมให้อาจารย์ขอตำแหน่ง ทางวิชาการ อย่างน้อย ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ (รศ.) เป็นต้นโดยสถาบันจะสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ อย่าง เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินรางวัลการตีพิมพ์ผลงาน ตลอดจน งานวิจัยแบบ Policy Research เพื่อเป็น Think Tank และเป็นที่ พึ่งให้กับรัฐและเอกชน

MBA : Strength ของนิด้า คืออะไรบ้าง?

ศ.ดร.กำพล : ชื่อเสียง ความสำเร็จและการยอมรับ ของนิด้ากว่า 53 ปี คือความเข้มแข็งที่นิด้ามีมาอย่างต่อเนื่อง รากฐานและการสร้างทรัพยากรทั้งบุคคลและองค์ความรู้ให้กับ ประเทศชาติ ศิษย์เก่าของสถาบันกว่า 70,000 คนทั่วประเทศ ที่ทำงานให้กับทั้งภาครัฐและเอกชน คือผลงานที่ยืนยันความ เข้มแข็ง และเชื่อว่าภายใต้ความผูกพันกับสถาบัน ศิษย์เก่านิด้า เหล่านี้ ล้วนรักและผูกพันกับสถาบัน พร้อมจะร่วมกันผลักดัน การพัฒนานิด้าในเรื่องที่สร้างสรรค์

ในด้านวิชาการและองค์ความรู้ นิด้ามีผลงานด้านงานวิจัย เพื่อการพัฒนาที่รับใช้สังคมสืบเนื่องต่อมาอย่างยาวนาน และ อีกเรื่องที่สำคัญคือ หลายปีที่ผ่านมานิด้าเราได้พัฒนาการเขียนเคส  หรือ Case Study ที่เป็นเคสของไทยเราขึ้นมา และกำลังพัฒนา ให้เป็น Case Center แห่งเดียวของประเทศที่รวม Local Case ซึ่งถือเป็น Local Content ที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาการเรียนการ สอนที่สำคัญ

MBA : ในฐานะผู้บริหารกิจการสถาบัน นิด้ามีโครงการ พัฒนาการลงทุนอื่นๆ หรือไม่ อย่างไร?

ศ.ดร.กำพล : โดยโมเดลของมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ในต่างประเทศ พึ่งพิงค่าเทอม หรือ Tuition Fee เป็นสัดส่วน ที่น้อยมาก แต่มหาวิทยาลัยในเมืองไทย ส่วนใหญ่ต้องพึ่งพิง ค่าธรรมเนียมการศึกษาและงบประมาณจากภาครัฐเป็นหลัก  มีแค่บางแห่งที่มีรายได้จากสินทรัพย์อื่นๆ ซึ่งนิด้าในขณะนี้ กำลังศึกษาโครงการพัฒนาทรัพย์สินของสถาบัน ไม่ว่าจะเป็น ที่ดินของสถาบันที่มีอยู่ในหลายจังหวัด หรืออาคารสถานที่  ตลอดจนห้องเรียน Smart Classroom ก็อยู่ในวิสัยของแนวคิด เรามีโครงการที่กำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาการ สร้างรายได้ให้กับสถาบันในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำ ศูนย์ฝึกอบรม ซึ่งหากศิษย์เก่าหรือผู้ที่เล็งเห็นศักยภาพก็สามารถ นำเสนอโครงการเข้ามาได้

MBA : ปรัชญาการบริหารและการทำงานคืออะไร?

ศ.ดร.กำพล :  ‘Be Able But Be Humble’ คือหลักคิด ประจำใจ ความหมายคือ การเป็นคนที่มีความสามารถ แต่ยังคง ซึ่งความอ่อนน้อมและถ่อมตน ซึ่งผมคิดว่าคุณสมบัติของความ ถ่อมตนแม้เป็นคนเก่ง ก็ไม่ใช่สิ่งเสียหาย ผมถือว่านั่นคือ Plus อีก ประการของผู้บริหารที่จะประสบความสำเร็จได้ นอกจากความ สามารถเฉพาะตัวแล้ว การสนับสนุนจากข้างบนที่คอยดึง และ การสนับสนุนจากผู้ใต้บังคับบัญชาที่คอยดัน ถ้ามีทั้ง สองอย่างนี้คอยผลักดัน การบรรลุเป้าหมายของความสำเร็จ ย่อมเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้การเชื่อมโยงของ ทั้งสองส่วน

 

 


เรื่อง : กองบรรณาธิการ 
ภาพ : เตชนันท์ จิรโชติรวี

นโยบายที่ทางสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ สสว. ได้วางเป้าไว้โดยต้องการพา SMEs ไทยสู่ตลาดโลก  มีการแบ่งกลไกกระบวนการดำเนินงานเป็น 3 ส่วนหลักๆ  คือ Transformation, Internationalization และ Cooperative  Networking ก่อให้เกิดกิจกรรมและโครงการต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ ผู้ประกอบการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ กับธุรกิจของตัวเองมากมาย หนึ่งในนั้นคือ SME ONE ซึ่งเป็น  Platform กลางที่ผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงกับองค์กรต่างๆ ที่ทาง สสว. มีความร่วมมือด้วย ทำให้การติดต่อและติดตามข่าวสารต่างๆ ง่ายและสะดวกมากขึ้น สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยกร สำนักงนส่งเสริมวิสหกิจขนดกลงและขนดย่อม ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของ Platform เหล่านี้ในช่วงปี  พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมาว่า

เราเปิดตัว SME ONE ไปเมื่อช่วงต้นเดือนกันยายนปี พ.ศ. 2561 มีภาคส่วนต่างๆ  มาเข้าร่วมกว่า 69 หน่วยงาน เพื่อต้องการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน SMEs ประเทศไทยให้ก้าวหน้าไปด้วยกัน และยังมีอีกหนึ่ง Platform คือ SME CONNEXT เป็นแอปพลิเคชันที่เปรียบเสมือนหน้าต่างประจำตัวของแต่ละหน่วยงานเพื่อใช้เชื่อมโยงสู่ SME ONEโดยหวังผลเป็น Big Data กลางในอนาคตข้อมูลประเภทต่างๆ ที่ได้จะรวบรวมแล้วส่งให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านนั้นๆ เป็นผู้ดูแลโดยตรง อย่างเช่น ข้อมูลด้านการเงินก็จะถูกส่งให้กับทางสถาบันการเงินเพื่อนำไปใชวิเคราะห์หรือช่วยเหลือต่อไป”

ในปี พ.ศ.2562 ทาง สสว. ก็อยากจะชวนให้ผู้ประกอบการ SMEs ทุกรายมา Born Digital ด้วยกันทั้งประเทศ หมายความว่า ต่อจากนี้ไปการสมัครหรือเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ กับ สสว. จะทำ ผ่านแอปพลิเคชัน SME CONNEXT โดยจะมีองค์ความรู้และ ข่าวสารให้ผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้นำในแต่ละธุรกิจคอยอัปเดต ความรู้อยู่เสมอผ่านระบบการสะสมเหรียญ รวมถึงหาก ผู้ประกอบการมีการเปิดเผยข้อมูลการทำธุรกิจก็จะสามารถ ยกระดับสมาชิกเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้คู่ค้า โดยข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์ในการนำไปเป็นพื้นฐานของการพัฒนา โครงการต่างๆ และยังจะมีการต่อยอดจากระบบเหล่านี้เพื่อให้มี การส่งเสริมผู้ประกอบการแบบ Individual Solution ผ่าน  SME Coach ด้วยการนำเอาองค์ความรู้ชุดใหม่แบบ 4.0 เพื่อให้ ผู้ประกอบการยุคใหม่นั้นมีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่โลกอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Transformation, Technology, IOT,  Blockchain, Robotics และ Development ต่างๆ มา Plug In  ให้กับ SMEs เขาจะได้มีที่พึ่งจากหน่วยงานยุคใหม่ที่มองเห็น เทรนด์และการเติบโตในอนาคต มีการเรียนรู้ในเรื่องที่ SMEs สนใจ  การประเมินทดสอบเพื่อให้ได้ใบรับรองและนำเอาองค์ความรู้ ที่ได้ไปปฏิบัติจริงด้วยการช่วยเหลือให้คำปรึกษา SMEs อื่นๆ ได้ จริงด้วย ทำให้เกิดการยกระดับของผู้เชี่ยวชาญ โดยเป้าหมาย ของ Platform นี้คือภายใน 3 ปี ต้องการมีผู้เข้าร่วมเพิ่มขึ้น ในระบบจนถึง 2,200 Coaches

การทำงานของ สสว. ในปี พ.ศ. 2562 คือ SMEs Modernization  โดยเน้นให้ผู้นำทุกคนกล้าที่จะก้าวออกมาจากกรอบเดิมๆ เพื่อ ให้เกิดการเติบโตที่จะส่งผลไปสู่รุ่นลูกหลาน สุวรรณชัยตีโจทย์ ในเรื่องการส่งเสริมที่ต้องการปรับเปลี่ยนทัศนคติในการทำงาน ของผู้ประกอบการด้วยกระบวนการภายใต้แนวคิด SMEs SPEED  โดยที่มาคือ

  • มาจาก Smart การมีความรู้ที่สดใหม่และสามารถ คาดการณ์แนวโน้มอนาคตได้
  • มาจาก Proactive การจัดการบริหารกระบวนการผลิต และบริการได้ดี
  • มาจาก Efficiency การเพิ่มประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ และการบริการ
  • มาจาก Exclusive การสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจ เจาะกลุ่ม Niche Market ให้ได้
  • มาจาก Digitalization การใช้เทคโนโลยีเพื่อนำพาธุรกิจไปสู่ กลุ่ม Global Niche

สุวรรณชัย ชี้ว่า ผู้ประกอบการและผู้นำต้องให้ความสำคัญ กับกระบวนการเหล่านี้ เพราะเราต้องเดินหน้าด้วยความเร็ว ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยทาง สสว. ก็จะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริม SMEs ภายใต้ Born Scenario ช่วยให้ผู้ประกอบการที่สนใจในการเริ่มทำธุรกิจผ่าน Track ต่างๆ ซึ่งจะเฉพาะทางและเหมาะกับเป้าหมายของเขา โดยจะมีทั้ง  Born Strong คือ เติบโตอย่างแข็งแรงด้วยการนำเอาองค์ความรู้ จากงานวิจัยต่างๆ มาประยุกต์ใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์และการ จัดการให้มีความโดดเด่น Born Global คือ สามารถเปิดตลาด ทำการค้ากับต่างประเทศได้ทันทีตั้งแต่วันที่เริ่มต้นทำธุรกิจ โดย เขาเองก็ต้องมีต้นทุนทางการสื่อสารภาษาในกลุ่มเป้าหมาย มาด้วย ก่อนที่จะเข้าสู่เส้นทางในการพบปะหรือทำ Business Matching ต่อมาเป็น Born@50plus เพื่อส่งมอบกระบวนการ เรียนรู้และการตัดสินใจที่เหมาะกับผู้ประกอบการในวัย 50 กว่า หรือคนในวัยเกษียณซึ่งก็จะมีวิธีการที่แตกต่างไปจากคน รุ่นใหม่ๆ และสุดท้ายคือ Born General เหมาะสำหรับ ผู้ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ SMEs แบบทั่วไปไม่เฉพาะกลุ่ม

ทั้งนี้ ทุก Track จะต้อง Born Digital หรือเข้าสู่โลกดิจิทัลและ นำเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้ในธุรกิจจนเกิด SMEs Modernization ผ่านกระบวนการแบบ SMEs SPEED ผู้นำหรือคนที่จะพาธุรกิจ ไปสู่จุดที่ประสบความสำเร็จได้ต้องเริ่มต้นด้วยการคิด ต้องมี Systems Thinking เพื่อนำไปสู่การลงมือทำ การวัดผลประเมิน และปรับปรุงสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น

สุวรรณชัย เผยว่า “จากการสำรวจ ข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าคนไทยมีความ ต้องการที่จะเป็นผู้ประกอบการค่อนข้างสูง  แต่ยังไม่ค่อยกล้าคิดที่จะทำเรื่องใหม่ๆ ทำให้ หลายคนไม่กล้าลงมือทำเพราะกลัว อย่างไร ก็ตามช่วงสองสามปีที่ผ่านก็มีสัญญาณที่ เรามองเห็นว่าผู้ประกอบการของไทยเริ่มมี การขยับขยายการเติบโตส่งออกสินค้าไป ต่างประเทศมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าเรา เริ่มที่จะเปิดกว้างและก้าวออกจากข้อจำกัด ของเราแล้ว”

สำหรับความท้าทายของการเติบโตในกลุ่ม ธุรกิจ SMEs ก่อนหน้านี้หลายคนอาจจะคิดว่าเป็น ปัญหาเรื่องการเงินที่ทำให้การพัฒนาธุรกิจกลุ่มนี้ เติบโตไม่ได้เท่าที่ควร แต่ทาง สสว. มีการสำรวจ เก็บข้อมูลเชิงลึกระดับโครงการในกลุ่ม SMEs  รายย่อยระดับ Micro จังหวัดละ 6 ราย ทั้งหมด 462 ราย พบว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้ประกอบการ อยากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในเรื่องการ ทำการตลาด รองมาคือการจัดการระบบมาตรฐาน การผลิต การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร และอันดับสุดท้ายเป็นเรื่องเงินซึ่งมีสัดส่วนเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น จะเห็นได้ว่าเราต้องมีการ ปรับเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติใหม่ๆ เพื่อ สามารถช่วยเหลือทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาและ การเปลี่ยนแปลงที่ตรงจุดมากยิ่งขึ้น ดังนั้น เป้าหมาย สูงสุด สสว. ในปี พ.ศ. 2562 ที่จะเห็นเป็นรูปธรรม คือ การเดินหน้าทำโครงการทางการตลาดและ ช่วยเหลือบริการในเรื่ององค์ความรู้ต่างๆ โดยจะมี การกระจายไปสู่ธุรกิจระดับท้องถิ่นให้มากขึ้นเพื่อ นำมาซึ่งตัวชี้วัดคือ รายได้ที่เพิ่มขึ้นของกลุ่ม SMEs ให้มากขึ้นเป็น 4.5 เท่าของงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน

สุวรรณชัยกล่าวถึงจังหวะการก้าวต่อไปของประเทศไทยใน อนาคตว่า เราต้องวิ่งให้เร็วขึ้น เริ่มต้นง่ายๆ จาก ตัวเราเองก่อนเป็นอันดับแรก เราต้องมีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตัวเองอย่าง ชัดเจน จากนั้นเรียนรู้ระบบการทำงานและพัฒนา ให้ดีขึ้นด้วยการนำเอาดิจิทัลและเทคโนโลยีเข้ามา ช่วย มีการเชื่อมต่อกันระหว่างระบบความคิดเดิม และระบบความคิดจากคนรุ่นใหม่ ที่มองเห็น อนาคตที่จะก้าวไปด้วยกัน เพิ่มประสิทธิภาพการ ทำงานระหว่างรุ่นให้ดีมากขึ้น สิ่งเหล่านี้จะทำให้ เราขับเคลื่อนไปได้รวดเร็ว ทั้งนี้ ต้องมีการรักษา สมดุลระหว่างกฎระเบียบและความยืดหยุ่นควบคู่ กันไปด้วย ทาง สสว. เองก็จะทำหน้าที่เป็นสะพาน เพื่อเชื่อมต่อสิ่งใหม่ๆ และส่งต่อสิ่งที่ดีให้กับ คนรุ่นใหม่ ผ่านการตีความทุกอย่างในมุมมองที่ แตกต่างจากเดิม อย่างสุภาษิตสมัยก่อนที่ บอกว่าช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม ที่ผ่านมาเรามัก ตีความผิด คนเลยเลือกทำงานในนาทีสุดท้ายแล้ว บอกตัวเองว่าไม่เป็นไร ถึงทำงานช้าแต่ได้งานที่ดี  แต่กลายเป็นทำให้เราเดินหน้าช้าและผลงานที่ออกมา ก็ไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หากตีความในมุมที่เหมาะสมกว่าน่าจะเป็นการที่เรา ต้องมีความประณีต อดทน ละเอียดรอบคอบ ในการทำงานจึงจะได้งานที่มีคุณภาพ ไม่ใช่การ ผัดวันประกันพรุ่งแล้วมาลุ้นผลสำเร็จเอาใน นาทีสุดท้าย

เพราะฉะนั้น การจะก้าวมาเป็นผู้ประกอบการหรือผู้นำในยุคแบบนี้จึงต้อง กล้าคิดนอกกรอบเดิมๆ กล้าลงมือทำสิ่งใหม่ๆ และเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพจึงจะสามารถประสบความสำเร็จได้


เรื่อง : พิรพลอย พูนขำ
ภาพ : สาธิดา พิชณุษากร

ความสำเร็จของ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (Asset Pro Management Co.,Ltd) หรือ APM ตลอด 22 ปี นับตั้งแต่วันก่อตั้งเติบโตมาจนถึงวันนี้ พบว่า ความสำเร็จเกิดขึ้นได้จากวิสัยทัศน์และแนวการทำงานสไตล์ เชิงรุกและบุกหนัก ของ สมภพ ศักดิ์พันธ์พนม หรือ พี่ป้อม’  ผู้ก่อตั้งและรั้งตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท เป็นพ่อหัวเรือใหญ่ ของ APM ผู้กำหนดพันธะกิจที่ต้องการให้ APM มีบทบาทในการ ประสานและสนับสนุนผู้ประกอบการทั้งในประเทศไทยและ ในภูมิภาค CLMV ให้มีโอกาสขยายฐานการเติบโตของธุรกิจ  ด้วยกลไกการระดมเงินผ่านตลาดทุน ดังปรากฏที่เห็นได้จาก ผลงานบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ อย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมา

Update

พี่ป้อม’ เปิดประเด็นการอัปเดตความเป็นไปของ สถานการณ์และความคืบหน้าด้านการดำเนินธุรกิจของ APM ทั้ง ในประเทศไทยและในกลุ่ม CLMV ตลอดปี พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา และทิศทางการเดินหน้าของปี พ.ศ. 2562 ต่อทีมงาน MBA ว่า "ในฝั่งของประเทศไทย ความยาวนานนับตั้งแต่ที่เราได้รับการ ให้ความเห็นชอบเป็นที่ปรึกษาการเงิน (Licence) ในการเป็น ที่ปรึกษาทางการเงินจาก ก.ล.ต ผลงานและฐานลูกค้าในส่วน Primary Market จนทุกวันนี้เรามีมากพอควร APM มีเป้าหมายที่ กำหนดการขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับประชาชนครั้งแรก (IPO : Initial Public Offering) ให้ได้ปีละ 3 – 6 ราย อย่างปี พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา  ภาพรวมทั้งประเทศมี IPO โดยรวม 19 ราย สัดส่วนที่ APM ทำ ในปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 3 ราย สำหรับปีนี้คาดว่าจะมี IPO ของเรา เข้าตลาดประมาณ 5-6 ราย ถ้าหากทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่ กำหนดไว้ โครงสร้างของ APM เรามี CEO แบ่งออกเป็นสองกิ่งใหญ่ คือ คุณเสกสรรค์ ธโนปจัย และคุณสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ในสายงาน ก็แบ่งสาขาและแยกย่อยออกไป ทำให้ APM มีศักยภาพและ ความพร้อมมากในการที่จะดูแลลูกค้าในสายงาน Primary Market  อย่างเต็มที่ หรือพูดได้ว่าไม่น้อยกว่า 8 -10 รายขึ้นไปต่อปี  ทุกวันนี้ APM มีทีมงานครบพร้อมในทุกสายงานร่วม 70 คน ครอบคลุมการให้บริการได้ทั้งในประเทศไทยและใน CLMV อย่างเช่น สปป.ลาว ที่กล้าพูดได้ว่า APM เราเข้มแข็งมาก"

‘พี่ป้อม’ เปิดเผยความคืบหน้าของ APM ใน สปป.ลาว ว่า ตั้งแต่ บริษัท APM (LAO) Securities Co.,Ltd ได้รับการให้ความ เห็นชอบเป็นที่ปรึกษาการเงิน (Licence) จาก ก.ล.ต. สปป.ลาว (The Lao Securities Exchange and Commission Office : LSCO) ในปี พ.ศ. 2556 อย่างเป็นทางการ มีผลงานนำบริษัทใน สปป.ลาว เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไปแล้ว 3 บริษัท และกำลังจะออก IPO อีก 2 - 3 ราย ซึ่งเป็นธุรกิจที่หลากหลาย อาทิ ธุรกิจฟาร์มหมู บริษัท Laos Star ซึ่งดำเนินธุรกิจรายการ โทรทัศน์ และธุรกิจน้ำประปาที่สะหวันนะเขต ซึ่งตั้งอยู่ในเขต เศรษฐกิจพิเศษสะหวัน – เซโน (Savan – Seno Special Eco-Nomic Zone) โดยเหล่านี้คือดีลที่กำลังทำอยู่ ซึ่งใน สปป.ลาว หากจะมีดีลเพิ่มอีกสัก 3 – 5 ราย APM ก็สามารถจะดูแลได้อย่าง ทั่วถึง เพราะมีทีมงานเป็นบุคลากรอยู่ในฝั่งลาวที่พรั่งพร้อมถึง 10 คน ดำเนินงานภายใต้ผู้บริหารจากฝั่งไทย ร่วมกับเจ้าหน้าที่ ในฝั่ง สปป.ลาว โดยที่ยังมีเจ้าหน้าที่จากฝั่งไทยคอยสนับสนุน และพร้อมให้การช่วยเหลือตลอดเวลา

ในส่วนประเทศกัมพูช หลังจากที่พี่ป้อม ได้เข้าไปศึกษา โอกาส ศึกษาตลาด จนถึงเริ่มลงทุนจัดตั้งสำนักงานในพนมเปญ ล่าสุดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา APM (Cambodia)  Securities Co.,Ltd ได้รับการให้ความเห็นชอบเป็นที่ปรึกษาการเงิน  (Licence) อย่างเป็นทางการ จาก ก.ล.ต. ประเทศกัมพูชา  (The Securities and Exchange Commission of Cambodia : SECC)  ซึ่งส่งผลให้ดีลต่างๆ ที่เจรจาและให้คำปรึกษาไปก่อนหน้านั้น สามารถประกาศเดินหน้าได้อย่างเป็นทางการ อย่างเช่น  Park Cafe ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage)  ที่กำลังเติบโตและมาแรง มีสาขาในกัมพูชา 14 สาขา และกำลัง จะเปิดเพิ่มอีก 9 สาขาภายในปี พ.ศ. 2562 ได้ประกาศแต่งตั้ง ให้ APM เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (FA : Financial Advisor) อย่าง เป็นทางการเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เพื่อเตรียมตัว เข้าสู่กระบวนการออก IPO ภายในปี พ.ศ. 2563  ก็คือภายใน ปีหน้า นอกเหนือจากนี้ยังมีธุรกิจด้านทันตกรรม (Dental) และ ธุรกิจด้านบริการอื่นๆที่สนใจเข้าตลาดหลักทรัพย์ในกระดาน Growth ของตลาด CSX อีกด้วย

‘พี่ป้อม’ กล่าวย้ำด้วยความมั่นใจว่า สถานภาพของ APM ณ วันนี้ ที่ถือ FA License อยู่ในมือถึง 3 ประเทศ ทำให้มี Potential ที่จะทำงานในสายงานตลาดทุน ครอบคลุมกลุ่มประเทศ CLMV อย่างเต็มที่ ส่วนอีกสองประเทศในกลุ่ม ได้แก่ ประเทศ เวียดนามและประเทศเมียนมาร์นั้น แนวทางใน การทำงานจะต่างออกไปภายใต้บริบทของ ประเทศที่ไม่เหมือนกัน เช่นว่า

ประเทศเวียดนามมีตลาดหลักทรัพย์ อยู่แล้วถึงสองที่ คือ ฮานอยและโฮจิมินห์ เมื่อรวมกันแล้วมีกิจการจดทะเบียนอยู่ใน ตลาดมากกว่า 700 บริษัท เป้าหมายของ เราจึงไม่ใช่การเข้าไปชักชวนบริษัทต่างๆ เพื่อขายหุ้นเพิ่มทุนในรูปแบบ IPO แต่ แนวทางจะเป็นการทำ Dual listing ซึ่ง แนวทางนี้ APM มีเป้าหมายที่ต้องการ จะนำบริษัทที่จดทะเบียนอยู่แล้วในตลาด ที่เวียดนามมาทำ Secondary Listing เพื่อ ขายหุ้นเพิ่มทุนในตลาดหลักทรัพย์ของไทย เปรียบเสมือนการมา Raise Fund เท่ากับ ขนาดการยื่น IPO ของประเทศไทย คือ ไม่น้อยกว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้กลไกตลาดหุ้นของสอง ประเทศคึกคักขึ้น

ยังมีอีกสัญญาณที่เป็นเรื่องดีคือ เมื่อเร็วๆ นี้ทาง ก.ล.ต ไทย ก็กำลังจะเปิดนโยบายในเรื่องการเชื่อมโยงระบบด้านการซื้อขาย หลักทรัพย์ กับประเทศกัมพูชา เพื่อให้สามารถซื้อขายหุ้น ผ่านกระดานที่ 3 ซึ่งจะเป็นกระดานของกลุ่ม CLMV โดยเฉพาะ เนื่องจากเกณฑ์การจดทะเบียนทุนและกำไรของแต่ละประเทศ ต่างกัน จึงต้องมีกระบวนการผ่านการยอมรับร่วมกันระหว่าง สองประเทศ ซึ่งตอนนี้ทางประเทศกัมพูชาก็ได้มีการทำข้อตกลง กับไทยเป็นประเทศแรกแล้วอย่างเป็นทางการ

ผมหวังว่าบริษัทในกัมพูชาที่จะเข้ามา List ในบอร์ดนี้ ตัวแรกจะเป็นบริษัท Phnom Penh Special Economic Zone  (PPSEZ) ซึ่งได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กัมพูชาเมื่อปี  พ.ศ. 2560 โดยขณะนี้มีทุนจดทะเบียน 30 กว่าล้านเหรียญสหรัฐ เขามีแผนอยากจะเข้ามาระดมทุนขายหุ้นเพิ่มทุน หรือ Secondary  Listing ในประเทศไทย 10 - 15 เปอร์เซ็นต์ โดยตอนนี้ อยู่ระหว่างการทำ Regulatory Mapping เพื่อให้เกิดเป็น Dual Listing ตามนโยบายของ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ของ ทั้งสองประเทศ” พี่ป้อมกล่าว

ภายใต้การผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศ ในกลุ่ม CLMV ในแง่ของกลุ่ม Non-Listed Company หรือ SMEs  ขนาดเล็กที่ยังไม่มีการจดทะเบียนตลาดทุนในประเทศไทย  อาจจะด้วยเหตุผลของขนาดกิจการที่เล็กเกินไป อาจจะเหมาะ ในการไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศกลุ่ม CLMV ซึ่งมีเงื่อนไขทุนและกฎเกณฑ์ที่เบาลง และเมื่อผ่านไป 3 – 5 ปี  มีการเติบโต จึงจะสามารถขายหุ้นเพิ่มทุนแล้วมาจดทะเบียน เป็น Dual Listing ตามเกณฑ์ประเทศไทยในอนาคตได้ ดังนั้น แนวทางเช่นนี้จึงเป็น Opportunity ของการขยายกิจการใน ระยะยาวที่มั่นคง ซึ่งก็ควรจะมีการกำหนดมาตรฐานร่วมกัน โดยเฉพาะเรื่องรทำบัญชี ซึ่งพี่ป้อมและ APM เน้นย้ำว่า เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ สำหรับกิจการที่ ต้องการจะขายหุ้นระดมทุนผ่าน IPO

ในส่วนของประเทศเมียนมาร์ ‘พี่ป้อม’ เผยว่า ตลาดหลักทรัพย์เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาเพียง 4 ปี ตอนนี้บริษัทในเมียนมาร์ มีบริษัทจดทะเบียนอยู่แล้ว 5 บริษัท โดยที่ 4 บริษัทแรกเป็นการ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แบบโอนมาจาก OTC Market เนื่องจากเป็นบริษัทมหาชน ไม่ใช่ IPO ทำให้ไม่มีการขายหุ้นเพิ่ม ทุนใหม่ เช่น บริษัท First Myanmar Investment Public Co., Ltd เป็นต้น แต่ล่าสุด บริษัท TMH Telecom Public Co .,Ltd (TMH) ซึ่งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา (Thilawa Special Economic Zone: SEZ) จะเป็นกิจการแรกที่ขายหุ้น IPO ให้กับประชาชน เมียนมาร์ และตอนนี้เริ่มมีการผ่อนคลายและอนุญาตให้ขายหุ้น ให้กับนักลงทุนต่างประเทศได้ จึงถือเป็นสัญญาณที่ดี ซึ่งต่อไป บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่เมียนมาร์ ก็สามารถมาทำ Dual Listing ในไทยได้ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นในความเห็นของพี่ป้อมคิดว่าน่าจะ ต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 5 ปีสำหรับเมียนมาร์ เพื่อพัฒนาตลาด ให้เติบโตและมีความพร้อมทั้งในแง่ระเบียบ กฎเกณฑ์ และ รายละเอียดต่างๆ อย่างลงตัว

‘พี่ป้อม’ ระบุถึงการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ในกลุ่ม CLMV และประเทศไทยได้เริ่มมีการทำข้อตกลงเพื่อสร้าง โอกาสในการขับเคลื่อนกลไกการเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกัน มากขึ้น อย่างเช่นเรื่องการเปิดกระดานที่ 3 เพื่อรองรับการทำ  Dual Listing ซึ่งเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการในภูมิภาค ที่จะสามารถระดมทุนเพื่อการขยายกิจการได้อย่างกว้างขึ้น และ ยังเป็นการขยายโอกาสและความง่ายให้กับนักลงทุนที่สนใจ ตลาดและโอกาสใหม่ๆ

โอกาส SMEs ไทยออก IPO ในกลุ่ม CLMV

‘พี่ป้อม’ ได้กล่าวถึงปัจจัยและโอกาสสำหรับ SMEs ไทย  ที่สนใจหรือขยายกิจการไปยังประเทศในกลุ่มประเทศ CLMV  ที่สามารถใช้กลไกตลาดทุนในการผลักดันการเติบโต เพราะ เงื่อนไขในการขายหุ้นเพิ่มทุน หรือ IPO ของประเทศเพื่อนบ้าน กำหนดกฎเกณฑ์และเงื่อนไขผ่อนปรนกว่าในประเทศไทยมาก ด้วยเหตุผลที่ GDP ของประเทศมีความแตกต่างกัน ทุนของเขา ไม่จำเป็นต้องใหญ่เหมือนในประเทศไทย อย่างตลาดหลักทรัพย์ ในกัมพูชามีอยู่ 2 กระดาน อันแรกคือ Main Board กำหนดทุน จดทะเบียนของบริษัทที่ต้องการออก IPO ไว้ที่ 5 ล้านเหรียญสหรัฐ  (ประมาณ 150 ล้านบาท) ส่วนอีกกระดานหลักทรัพย์ที่เพิ่งเกิดขึ้น เมื่อปีที่แล้วคือ Growth Board ลักษณะคล้าย MAI Board ของไทยเรา  แต่ทุนจดทะเบียนกำหนดเพียง 5 แสนเหรียญสหรัฐ หรือ ประมาณ 15 ล้านบาท ก็สามารถจดทะเบียนออก IPO ได้แล้ว

 

สำหรับทิศทางตลาดหุ้นในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2562 พี่ป้อม ให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยนั้นขับเคลื่อนด้วยตลาดทุนเป็นหลัก โดยวิเคราะห์จากอัตรามูลค่าที่สูงกว่าตลาดเงินร่วมสองเท่าตัว อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจก็ต้องมีการพึ่งพาทั้งสองทาง หากปีนี้การเมืองมีเสถียรภาพ รัฐบาลมีนโยบายทางการเงินเชิง Aggressive ที่ผลักดัน SMEs เชิงประจักษ์ชัดเจน ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมทางตลาดทุนระหว่างประเทศกลุ่ม CLMV มากขึ้น คิดว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงปลายไตรมาสที่สองเป็นต้นไปจะ Rebound และสร้างความเชื่อมั่นได้มากขึ้น และคิดว่าในช่วงปลายปีกลไกการลงทุน Portfolio Investment ก็จะทำให้เกิดห่วงโซ่ รวมถึงการเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างประเทศมาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษก็จะทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้ามาในประเทศ ก่อเกิดสภาพคล่องตามมาและลดแรงกดดันในการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 

ผู้ประกอบการรายใหญ่ๆ เองก็ต้องเตรียมเต้น Footwork ศึกษา Alternative หรือ Scenario ไว้ก่อน พอนโยบายออกมาชัดเจนเมื่อไหร่ ก็จะเดินหน้าได้เร็วและแรงขึ้น ไม่เสียโอกาสทางธุรกิจ


เรื่อง ณัฐพัชธ์ สุมา

ภาพ ภัทรวรรธน์ พงษ์บริพันธ์

ในแวดวงภาคการศึกษาเรามักจะเห็นสถาบันต่างๆ มีการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนมาอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น หลายแห่งมีความมุ่งมั่นที่จะเปิดประตูสู่ระดับสากลเพื่อต้องการก้าวขึ้นไปมีบทบาทบนเวทีระดับโลก

X

Right Click

No right click