การปรับตัวของภาคธุรกิจ หลังวิกฤตโควิด-19

January 05, 2021 8589

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นพลังที่ขับเคลื่อนพฤติกรรมของผู้บริโภคให้เปิดรับและปรับใช้เทคโนโลยีอย่างมหาศาล

องค์กรหรือธุรกิจจำนวนมากที่พยายามปรับตัวให้ทันกับความท้าทายของ Digital Disruption ที่ถูกพูดถึงมากในช่วงก่อนหน้านี้ ทันทีที่ได้รับแรงกระเพื่อมเหมือนคลื่นลูกใหญ่จากสถานการณ์ COVID-19 สิ่งที่เคยขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป กลับกลายเป็นการความเร่งด่วนให้ต้องปรับมากขึ้น เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วขึ้น เท่าทันกับทุกย่างก้าวของสถานการณ์

ในมุมของธุรกิจจำเป็นต้อง ‘ปรับตัว’ อย่างยิ่ง การปรับตัวที่ว่าไม่เพียงแต่การมุ่งประหยัดต้นทุน ค่าใช้จ่าย รักษากระแสเงินสด เพื่อพยุงธุรกิจให้อยู่รอด แต่ต้องหันมาให้ความสำคัญกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จะช่วยผลักดันให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้

หลายๆ ธุรกิจปรับตัวและนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ซึ่งที่ผ่านมาเราอาจจะมากบ้างน้อยบ้าง แต่ก็นับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ไม่เว้นแม้แต่ในธุรกิจก๊าซหุงต้ม ซึ่งหากมองกันเพียงผิวเผินธุรกิจดังกล่าวเป็นเพียงการซื้อมาและขายไป แต่อันที่จริงแล้วมีการบริหารจัดการในเรื่องของกระบวนการซื้อ-ขายก๊าซ บรรจุก๊าซ และขนส่ง ทำให้เกิดความร่วมมือกันระหว่าง โออาร์ และกรุงศรี พัฒนา B2B QR Solution มาช่วยในธุรกิจก๊าซหุงต้ม ซึ่งคือ “Krungsri Cashless Chain” โดยเป็นการปรับกระบวนการในการชำระค่าก๊าซหุงต้มของร้านค้าตัวแทนจำหน่ายก๊าซหุงต้ม ปตท. กับโรงบรรจุก๊าซของ  โออาร์ โดยกระบวนการคือทุกครั้งที่พนักงานของร้านตัวแทนจำหน่ายฯ นำถังเปล่าไปรับการบรรจุที่โรงบรรจุก๊าชหุงต้ม ปตท. จะสามารถชำระค่าก๊าซด้วย Krungsri QR Code (แบบ Closed-loop) ที่ทางกรุงศรีออกแบบ โดยยอดเงินและรายละเอียดต่างๆ จะถูกส่งไปยังโมบายแอปพลิเคชันของกรุงศรี ซึ่งทางเจ้าของร้านค้าตัวแทนจำหน่ายฯ จะสามารถตรวจสอบรายละเอียด และอนุมัติจ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชันนี้ได้ทันที ซึ่งผลการชำระเงินนี้ ก็จะถูกส่งไปยังโรงบรรจุก๊าซโดยอัตโนมัติด้วย นับเป็น Solution การทำธุรกรรมแบบไร้เงินสด (Cashless) ระหว่างผู้ประกอบการ (B2B) ครบทั้งวงจรธุรกิจ อีกทั้งร้านค้าตัวแทนจำหน่ายฯ กับโรงบรรจุก๊าซของ โออาร์ ยังสามารถดูแลทุกยอดการใช้จ่ายผ่านช่องทาง Internet Banking สำหรับลูกค้าธุรกิจ (Krungsri Biz Online) ในการจัดการทางการเงินด้านอื่นๆ ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ Krungsri Cashless Chain ยังเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการถือเงินสด ทั้งการโจรกรรม การนับเงิน และ การทุจริต รวมถึง เป็นการลดระยะเวลาในการทำงาน เช่น เจ้าของร้านค้าก๊าซไม่จำเป็นต้องเดินทางไปด้วยตนเอง เจ้าของโรงบรรจุสามารถตรวจสอบจำนวนเงินเข้าออก โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ที่โรงบรรจุฯ

สำหรับโซลูชั่นดังกล่าวนี้ ยังได้รับรางวัลจากสถาบันที่น่าเชื่อถืออย่าง The Asset ในด้าน Best Payments and Collections Solution in Thailand สะท้อนถึงความสำเร็จในการพัฒนาระบบการทำธุรกรรมสำหรับภาคธุรกิจที่มีประสิทธิภาพตอบโจทย์ได้ครบวงจรธุรกิจ ถือเป็นต้นแบบสังคมไร้เงินสดของภาคธุรกิจในประเทศไทย ที่สามารถช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไปในอนาคต

X

Right Click

No right click