×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6847

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประจำปี 2561 ในงาน "รวมพลังรัฐวิสาหกิจพัฒนาเศรษฐกิจไทย ก้าวไกลอย่างยั่งยืน" ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) โดย นายผยง ศรีวณิชกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทยรับรางวัลการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสดีเด่น ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัล เวิลด์

FLOYD อวดผลงานงวดครึ่งปีแรกของปี 2561 ออกมาสวย มีกำไรสุทธิ 30.14 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากกว่า 141%  โกยรายได้จากการให้บริการ 185.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50.09% จากการทยอยรับรู้รายได้งานคอนโดฯ และงานห้างสรรพสินค้าอย่างต่อเนื่อง “ทศพร จิตตวีระ” ประเมินแนวโน้มผลงานปี 2561 ฟื้นตัว เชื่อแนวโน้มผลงานครึ่งปีหลังเติบโตดีกว่าในช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจและการเมืองในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น สนับสนุนรายได้เติบโต 10-15% ตามเป้าหมาย จากการเร่งลงทุนงานโครงการภาครัฐ โดยเฉพาะรถไฟฟ้าสีต่างๆ ทำให้ภาคเอกชนมีความมั่นใจในการลงทุน เผยบริษัทอยู่ระหว่างรอผลการประมูลงานภาคเอกชน 2-3 โครงการ มูลค่าราว 100-200 ล้านบาท จากปัจจุบันมีงานในมืออยู่ราว 450 ล้านบาท

นายทศพร จิตตวีระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟลอยด์ จำกัด (มหาชน) หรือ FLOYD ผู้ให้บริการรับเหมาติดตั้งงานระบบไฟฟ้า งานวิศวกรรมระบบสาธารณูปโภค และเครื่องกลแบบครบวงจร เปิดเผยว่า ผลประกอบการของบริษัทฯในงวดครึ่งปีแรกของปี 2561  (1 ม.ค.- 30 มิ.ย.61) บริษัทฯ มีรายได้จากการให้บริการ 185.34  ล้านบาท เพิ่มขึ้น 61.86 ล้านบาท คิดเป็น 50.09% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวม 123.48 ล้านบาท โดยรายได้จากการให้บริการของบริษัทฯมาจากการรับรู้รายได้งานอาคารสูง งานแนวราบซึ่งเป็นงานห้างสรรพสินค้า และงานปรับปรุงงานเพิ่มอื่นๆ ทำให้บริษัทฯทยอยรับรู้รายได้จากการให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง   ส่งผลให้มีกำไรสุทธิ 30.14 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าครึ่งปีแรกของปีที่ผ่านมา 17.66 ล้านบาท  คิดเป็น 141.50%  

“ผลงานในงวด 6 เดือนแรกของปีนี้ออกเป็นที่น่าประทับใจ ทั้งรายได้และกำไร โดยกำไรสุทธิโตมากถึง 141.50% เช่นเดียวกับรายได้ที่เพิ่มขึ้นกว่า  50.09%  จากภาพรวมศรษฐกิจ และการลงทุนในประเทศกลับมาฟื้นตัวต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ FLOYD ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้รับเหมาติดตั้งงานวางระบบครบวงจร 
ที่ได้รับการยอมรับทั้งในเรื่องคุณภาพงานและการบริการที่รวดเร็ว ด้วยทีมงานวิศวกรที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในธุรกิจ  ทำให้กำไรขั้นต้นของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 57.81 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 29.01 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นถึง 99.28%” นายทศพร กล่าว

ทั้งนี้ กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจที่จะเพิ่มลูกค้าใหม่ๆเข้ามาในช่วงครึ่งปีหลังและในอนาคต บริษัทฯเน้นมองหาลูกค้าที่มีความมั่นคงทางการเงินและเป็นที่รู้จัก และเป็นลักษณะงานที่มีโอกาสทำซ้ำ ซึ่ง FLOYD มีความชำนาญ รวมทั้งการรุกตลาดด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)  ขณะที่แนวโน้มผลประกอบการในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะเติบโตดีกว่าในช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจและการเมืองในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการเอกชนมีความมั่นใจในการลงทุน ซึ่งจะทำให้ช่วงที่เหลือของปีนี้มีงานประมูลโครงการใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น ทั้งงานโครงการโครงสร้างพื้นฐาน อาคารที่พักอาศัย และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น โดย FLOYD มีความพร้อมที่จะเข้าประมูลงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อสะสมงานในมือ (Backlog) เข้ามาเพิ่มเติมจากปัจจุบันที่มีอยู่ประมาณ 450 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้ในช่วงที่เหลือของปีนี้

สำหรับการเข้าประมูลงานใหม่ๆ ในปีนี้ ในกลุ่มลูกค้าเก่ายังคงมีอย่างต่อเนื่อง ส่วนในกลุ่มลูกค้าใหม่ขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการประมูล ปัจจุบันมี 2-3 โครงการ  ซึ่งเป็นงานเกี่ยวกับอาคารที่พักอาศัยและห้างสรรพสินค้าใหม่ มูลค่ารวมประมาณ 100-200 ล้านบาท ผลการประมูลคาดว่าจะทยอยทราบผลในช่วงที่เหลือของปีนี้ทั้งหมด

“ภาพรวมผลประกอบการทั้งปี 2561 มองว่าทิศทางอุตสาหกรรมในภาคเอกชนยังทรงตัวและยังไม่น่าเป็นห่วง แม้จะยังเติบโตไม่หวือหวามาก แต่คาดว่าจะฟื้นหลังจากมีการเลือกตั้งเสร็จสมบูรณ์  โดยแนวโน้มรายได้ของบริษัทฯ ปีนี้ยังเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้เติบโตราว 10-15% เมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ตาม บริษัทฯมีนโยบายหลักที่จะใช้การบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ โดยการจัดทำข้อมูลในระบบคลาวด์มาช่วยในด้านต่างๆ การติดตามปัญหาหน้างาน เพื่อลดการสูญเสียทั้งเวลาและต้นทุน และเป็นการเก็บข้อมูลค่าใช้จ่าย เพื่อนำไปพัฒนาโครงการใหม่” นายทศพร กล่าว

ทางด้านความคืบหน้าแผนการก่อสร้างสำนักงานและศูนย์อบรมพนักงาน มูลค่าการลงทุนราว 80 ล้านบาท ตามแผนการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการยื่นขอใบอนุญาตก่อสร้างกับหน่วยงานราชการ โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2562 ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 1 ปี ทั้งนี้ หากอาคารดังกล่าวแล้วเสร็จและสามารถฝึกพนักงานจนถึงระดับชำนาญและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ทำให้บริษัทฯสามารถรับงานได้มากขึ้น

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ขอนำเสนอรายการโครงการที่อยู่อาศัยที่ขายดีในรอบ 6 เดือนแรกของปี 2561 ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยที่ขายได้ช้า และขายได้น้อยมาก ทำให้การลงทุนพัฒนาหรือลงทุนซื้ออาจมีปัญหาได้ ในทีนี้ได้จัดอันดับไว้ 20 รายการ ดังนี้:

            อันดับที่ 1 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.990 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล E1: หทัยราษฎร์ มีจำนวน 33 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 99 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 3 หน่วย ยังเหลืออีก 30 หน่วย หรือเหลืออีก 91% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.1% ต่อเดือน

            อันดับที่ 2 ได้แก่ ที่ดินจัดสรร ที่มีระดับราคา 0.500-1.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 0.770 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล E1: หทัยราษฎร์ มีจำนวน 35 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 27 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 3 หน่วย ยังเหลืออีก 32 หน่วย หรือเหลืออีก 91% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.1% ต่อเดือน

            อันดับที่ 3 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา >20.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 39.000 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A4: รังสิต คลอง 1-7 มีจำนวน 26 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 1014 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 3 หน่วย ยังเหลืออีก 23 หน่วย หรือเหลืออีก 88% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.2% ต่อเดือน

            อันดับที่ 4 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 7.541 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล D2: สะพานใหม่ มีจำนวน 130 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 980 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายไม่ได้ ยังเหลืออีก 130 หน่วย หรือเหลืออีก 100% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.3% ต่อเดือน

            อันดับที่ 5 ได้แก่ ตึกแถว ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 5.590 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล D1: สายไหม มีจำนวน 170 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 950 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 5 หน่วย ยังเหลืออีก 165 หน่วย หรือเหลืออีก 97% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.3% ต่อเดือน

            อันดับที่ 6 ได้แก่ ตึกแถว ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.990 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล K3: มหาชัย เศรษฐกิจ มีจำนวน 115 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 344 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 7 หน่วย ยังเหลืออีก 108 หน่วย หรือเหลืออีก 94% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 7 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 9.000 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล H7: บางปู มีจำนวน 67 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 603 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 8 หน่วย ยังเหลืออีก 59 หน่วย หรือเหลืออีก 88% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 8 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 7.000 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A5: รังสิต คลอง 7-16 มีจำนวน 86 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 602 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 2 หน่วย ยังเหลืออีก 84 หน่วย หรือเหลืออีก 98% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 9 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 8.120 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล D3: บางบัว มีจำนวน 35 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 284 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 1 หน่วย ยังเหลืออีก 34 หน่วย หรือเหลืออีก 97% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.5% ต่อเดือน

            อันดับที่ 10 ได้แก่ ตึกแถว ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.734 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A2: บางขัน คลองหลวง มีจำนวน 60 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 164 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 4 หน่วย ยังเหลืออีก 56 หน่วย หรือเหลืออีก 93% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.5% ต่อเดือน

            อันดับที่ 11 ได้แก่ ที่ดินจัดสรร ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.888 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล H8: บางนา ตราด กม.10-30 มีจำนวน 504 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 1456 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 6 หน่วย ยังเหลืออีก 498 หน่วย หรือเหลืออีก 99% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.5% ต่อเดือน

            อันดับที่ 12 ได้แก่ ทาวน์เฮาส์ ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 3.329 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล N2: วงแหวนรอบนอก-คลองมหาสวัสดิ์ มีจำนวน 53 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 176 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 4 หน่วย ยังเหลืออีก 49 หน่วย หรือเหลืออีก 92% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.5% ต่อเดือน

            อันดับที่ 13 ได้แก่ บ้านแฝด ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 6.440 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล N4: บางบัวทอง มีจำนวน 33 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 213 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายไม่ได้ ยังเหลืออีก 33 หน่วย หรือเหลืออีก 100% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.6% ต่อเดือน

            อันดับที่ 14 ได้แก่ ที่ดินจัดสรร ที่มีระดับราคา >20.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 25.000 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A4: รังสิต คลอง 1-7 มีจำนวน 34 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 850 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 3 หน่วย ยังเหลืออีก 31 หน่วย หรือเหลืออีก 91% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.6% ต่อเดือน

            อันดับที่ 15 ได้แก่ ที่ดินจัดสรร ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 5.292 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล M1: ตลิ่งชัน มีจำนวน 30 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 159 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 6 หน่วย ยังเหลืออีก 24 หน่วย หรือเหลืออีก 80% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.6% ต่อเดือน

            อันดับที่ 16 ได้แก่ ที่ดินจัดสรร ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.500 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล H8: บางนา ตราด กม.10-30 มีจำนวน 44 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 66 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 3 หน่วย ยังเหลืออีก 41 หน่วย หรือเหลืออีก 93% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.6% ต่อเดือน

            อันดับที่ 17 ได้แก่ ทาวน์เฮาส์ ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.604 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล E1: หทัยราษฎร์ มีจำนวน 253 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 406 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 15 หน่วย ยังเหลืออีก 238 หน่วย หรือเหลืออีก 94% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.6% ต่อเดือน

            อันดับที่ 18 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.970 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล B4: ชินเขต ท่าทราย มีจำนวน 463 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 912 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 16 หน่วย ยังเหลืออีก 447 หน่วย หรือเหลืออีก 97% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 19 ได้แก่ บ้านแฝด ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 3.490 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A5: รังสิต คลอง 7-16 มีจำนวน 211 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 736 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 7 หน่วย ยังเหลืออีก 204 หน่วย หรือเหลืออีก 97% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 20 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา >20.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 42.091 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล K1: พระรามที่ 2 กม.1-10 มีจำนวน 143 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 6019 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้เพียง 4 หน่วย ยังเหลืออีก 139 หน่วย หรือเหลืออีก 97% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้แค่ 0.7% ต่อเดือน

            อย่างไรก็ตามบางโครงการในทำเล ประเภทบ้านและระดับดังกล่าว ก็อาจขายดีสวนกระแส ทั้งนี้เพราะมีการบริหารจัดการที่ดี ก็เป็นได้เช่นกัน ต้องศึกษาในรายละเอียดด้วย

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ขอนำเสนอรายการโครงการที่อยู่อาศัยที่ขายดีในรอบ 6 เดือนแรกของปี 2561 ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยที่น่าจะพัฒนา มีอนาคต และผู้ซื้อให้การต้อนรับมากเป็นพิเศษ

            อันดับที่ 1 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.567 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล G5: ลาดกระบัง มีจำนวน 41 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 64 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 27 หน่วย ยังเหลืออีก 14 หน่วย หรือเหลืออีก 34% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 76.3% ต่อเดือน

            อันดับที่ 2 ได้แก่ ทาวน์เฮาส์ ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.990 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล G2: พัฒนาการ มีจำนวน 30 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 90 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 27 หน่วย ยังเหลืออีกเพียง 3 หน่วย หรือเหลืออีก 10% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 72.1% ต่อเดือน

            อันดับที่ 3 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.529 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล F1: วิภาวดี-รัชดา มีจำนวน 625 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 1581 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 516 หน่วย ยังเหลืออีก 109 หน่วย หรือเหลืออีก 17% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 68.1% ต่อเดือน

            อันดับที่ 4 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 10.001-20.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 12.900 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล D1: สายไหม มีจำนวน 176 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 2270 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 17 หน่วย ยังเหลืออีก 159 หน่วย หรือเหลืออีก 90% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 68.0% ต่อเดือน

            อันดับที่ 5 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.693 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล D6: นวมินทร์ มีจำนวน 23 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 39 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 8 หน่วย ยังเหลืออีก 15 หน่วย หรือเหลืออีก 65% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 52.1% ต่อเดือน

            อันดับที่ 6 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.550 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A2: บางขัน คลองหลวง มีจำนวน 952 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 1476 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 521 หน่วย ยังเหลืออีก 431 หน่วย หรือเหลืออีก 45% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 49.9% ต่อเดือน

            อันดับที่ 7 ได้แก่ บ้านแฝด ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 5.276 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล K6: วงแหวนรอบนอก-เพชรเกษม มีจำนวน 275 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 1451 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 167 หน่วย ยังเหลืออีก 108 หน่วย หรือเหลืออีก 39% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 49.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 8 ได้แก่ บ้านแฝด ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 4.900 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล K1: พระรามที่ 2 กม.1-10 มีจำนวน 28 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 137 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 26 หน่วย ยังเหลืออีกเพียง 2 หน่วย หรือเหลืออีก 7% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 46.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 9 ได้แก่ ทาวน์เฮาส์ ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.794 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล E1: หทัยราษฎร์ มีจำนวน 23 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 41 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 7 หน่วย ยังเหลืออีก 16 หน่วย หรือเหลืออีก 70% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 43.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 10 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.690 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล B3: แจ้งวัฒนะ มีจำนวน 1,655 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 2798 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 770 หน่วย ยังเหลืออีก 885 หน่วย หรือเหลืออีก 53% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 43.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 11 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 4.014 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล I1: พหลโยธิน มีจำนวน 1,166 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 4680 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 510 หน่วย ยังเหลืออีก 656 หน่วย หรือเหลืออีก 56% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 43.2% ต่อเดือน

            อันดับที่ 12 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 3.553 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล B3: แจ้งวัฒนะ มีจำนวน 145 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 515 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 66 หน่วย ยังเหลืออีก 79 หน่วย หรือเหลืออีก 54% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 42.2% ต่อเดือน

            อันดับที่ 13 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.460 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล E6: เจ้าคุณทหาร มีจำนวน 72 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 105 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 41 หน่วย ยังเหลืออีก 31 หน่วย หรือเหลืออีก 43% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 41.3% ต่อเดือน

            อันดับที่ 14 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.576 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล G1: รามคำแหง มีจำนวน 36 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 57 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 8 หน่วย ยังเหลืออีก 28 หน่วย หรือเหลืออีก 78% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 36.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 15 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.523 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล F5: รัชดา-ลาดพร้าว มีจำนวน 2,010 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 5070 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 1323 หน่วย ยังเหลืออีก 687 หน่วย หรือเหลืออีก 34% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 35.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 16 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 6.778 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล I1: พหลโยธิน มีจำนวน 2,107 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 14281 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 1209 หน่วย ยังเหลืออีก 898 หน่วย หรือเหลืออีก 43% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 35.0% ต่อเดือน

            อันดับที่ 17 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.486 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล F6: เทพลีลา-มหาดไทย มีจำนวน 96 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 143 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 40 หน่วย ยังเหลืออีก 56 หน่วย หรือเหลืออีก 58% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 32.9% ต่อเดือน

            อันดับที่ 18 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.826 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล L3: บางพลัด มีจำนวน 378 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 690 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 183 หน่วย ยังเหลืออีก 195 หน่วย หรือเหลืออีก 52% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 32.9% ต่อเดือน

            อันดับที่ 19 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 3.709 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล F1: วิภาวดี-รัชดา มีจำนวน 1,218 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 4518 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 554 หน่วย ยังเหลืออีก 664 หน่วย หรือเหลืออีก 55% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 32.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 20 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.696 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล C2: ติวานนท์ มีจำนวน 139 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 236 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 59 หน่วย ยังเหลืออีก 80 หน่วย หรือเหลืออีก 58% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 31.5% ต่อเดือน

            อย่างไรก็ตามก็พึงระวัง หากแห่กันไปพัฒนาแบบเดียวกันก็อาจ "พากันลงเหว" ได้

 

 บริษัทบล็อกเชนไฮบริด XinFin  แพลตฟอร์มบล็อกเชนไฮบริดแบบเปิด ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผู้สนับสนุนระยะยาว เครือข่ายสาธารณูปโภค และนักพัฒนาเทคโนโลยี เรียกร้องให้ธนาคารกลาง ธนาคารเพื่อการพัฒนา กองทุนบำเหน็จบำนาญ และบริษัทประกัน ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือเพื่ออุดช่องว่างด้านโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลกที่มีมูลค่าสูงถึง 15 ล้านล้านดอลลาร์  

 โดย Joseph Appalsamy ประธานฝ่ายการพัฒนาธุรกิจของ XinFin  กล่าวถึงประโยชน์ของบล็อกเชนที่มีต่อกลุ่มความร่วมมือว่า มีนักลงทุนกลุ่ม Global Public Investors (GPI) เพียง 25% ที่ลงทุนในโครงการขั้นต้น เนื่องจากเหตุผลด้านความเสี่ยง แล้วบล็อกเชนสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการระดมทุน ลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม ช่วยให้กระบวนการต่างๆเป็นไปอย่างอัตโนมัติและราบรื่น ช่วยเตรียมข้อมูลประสิทธิภาพของสินทรัพย์แบบเรียลไทม์ รวมถึงจะช่วยในการแลกเปลี่ยนได้หรือไม่ คำตอบคือได้อย่างแน่นอน

 XinFin ยืนยันว่า การแปลงสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพด้วยเทคโนโลยี tokenization จะเปิดทางให้สถาบันต่างๆ สามารถนำสินเชื่อบางส่วนที่ปลอดความเสี่ยงออกมาขายให้กับบริษัทประกันที่ต้องการอัตราผลตอบแทนระดับสาธารณูปโภค

 XinFin เสนอกับบรรดานักลงทุนกลุ่ม GPI ว่า แม้ว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนกำลังอยู่ระหว่างการทดสอบ แต่ก็ควรมีการนำมาใช้ในกลุ่มความร่วมมือ เพื่อสร้างมาตรฐานของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในฐานะสินทรัพย์เพื่อการลงทุน (IAC) โดยใช้เทคโนโลยี tokenization ในสภาพแวดล้อมแบบ sandbox จึงเรียกโครงการนี้ว่า “Project Sandbox” ทั้งนี้ GPI ที่สนใจเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มความร่วมมือ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.tradefinex.org/publicv/partnership และมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระดับโลกนี้

 Atul Khekade ประธานฝ่ายการพัฒนาระบบนิเวศ กล่าวว่า การนำโทเคน ERC-721 และ DLT มาใช้กับ XDC Protocol เปิดทางให้นักลงทุนสถาบันสามารถระดมทุนเพื่อเป็นเจ้าของโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่บางส่วน อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มสภาพคล่อง นักลงทุนรายใหญ่สามารถกระจายการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานหลายๆโครงการ ขณะที่นักลงทุนรายย่อยเองก็สามารถลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานซึ่งอาจเคยเป็นโครงการที่ใหญ่เกินกว่ากำลังของตนเอง

 กลุ่มความร่วมมือ TradeFinex IAC มีเป้าหมายที่จะพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด พร้อมสร้างมาตรฐานให้กับเครื่องมือทางการเงินต่างๆ รวมถึงประสานงานกับหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อผลักดันให้เป็นนโยบายและกรอบการทำงานที่เหมาะสม

ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ XinFin ได้หารือกับธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ว่าด้วยเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นประเด็นที่ XinFin ให้ความสนใจ เพื่อพิสูจน์แนวคิดบล็อกเชนแบบ Proof of stake ที่แสดงให้เห็นว่า การทำเหมืองขุดเงินดิจิทัลแบบใช้พลังงานสูงไม่จำเป็นสำหรับบล็อกเชนไฮบริดระดับองค์กรอีกต่อไป ส่งผลให้กลายเป็น "กรีนบล็อกเชน"

X

Right Click

No right click