นวัตกรรมเรือดักจับขยะบนผิวน้ำด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง เป็นครั้งแรกในประเทศไทย

CIBA DPU จับมือ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในการบริหารจัดการโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพและอย่างยั่งยืน นำร่องใน 5 บริษัท 4  อุตสาหกรรม เป็นที่ปรึกษาช่วยผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง รองรับพฤติกรรมผู้บริโภคในรูปแบบการค้าตลาดอีคอมเมิร์ซ

ดร. รชฏ ขำบุญ คณบดีวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี  (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์(DPU) เปิดเผยว่าเมื่อเร็วๆ นี้ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม  ได้มอบหมายให้ CIBA  จัดโครงการเสริมสร้างความสามารถการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ด้วยการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าคงคลังเพื่อการค้าอิเล็กทรอนิกส์ และส่งเสริมศักยภาพองค์กรด้วยหลักการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ภายใต้กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ โดยได้มีการให้คำปรึกษา ช่วยผู้ประกอบการ ตลอดระยะเวลา 4 เดือน ซึ่งมีผู้เข้าร่วม 5 บริษัท ใน  4 อุตสาหกรรม ได้แก่อุตสาหกรรมยานยนต์ชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลาสติก

“ก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่างๆ จะมีการขายสินค้าเป็นล็อตใหญ่ๆ ให้แก่ห้างร้านใหญ่ ในลักษณะ B2B เพื่อส่งขายไปยังร้านขายปลีก แล้วจึงจำหน่ายให้กับผู้บริโภคต่อไป แต่ในปัจจุบัน เมื่อผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาซื้อสินค้าผ่านแพล็ตฟอร์มอีคอมเมิร์ซมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต้องหันมาขายในแพล็ตฟอร์มนี้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นในลักษณะ B2C คือขายสินค้าในลักษณะขายปลีก แบบแยกชิ้น ให้กับลูกค้าแต่ละราย การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับกระบวนการหลังบ้าน ตั้งแต่ระบบจัดเก็บสินค้า ระบบแพ็คสินค้าและการขนส่ง ให้สอดคล้องกับโมเดลธุรกิจประเภทนี้ นอกเหนือจากนั้น การที่แพล็ตฟอร์มออนไลน์ มีโปรโมชั่นเช่น 11/11, 12/12 บริษัทก็จะต้องมีระบบการทำงานที่ดีที่รองรับความต้องการในปริมาณมากๆ ได้ เพื่อให้สามารถส่งมอบสินค้าได้อย่างรวดเร็ว มีคุณภาพ และในราคาที่เหมาะสมที่สุด”ดร.รชฏ กล่าว

 

นางนิสารัตน์ ศุภสวัสดิ์กุล ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมโลจิสติกส์องค์กร กองโลจิสติกส์ กล่าวถึงหัวใจหลักของการบริหารจัดการสินค้าคงคลังที่ดี คือ 1) การมีข้อมูลปริมาณสินค้าในคลังที่ถูกต้องแม่นยำ 2) การเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ไปสู่หน่วยงานอื่นๆ เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายขนส่ง ฝ่ายควบคุมคุณภาพ และทุกหน่วยงาน อย่างมีประสิทธิภาพ และ 3) การพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าที่แม่นยำ ปัจจัยทั้ง 3 นี้ จะเป็นพื้นฐานของการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง สำหรับการค้าในรูปแบบออนไลน์ ปัญหาที่ผ่านมาพบว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยังขาดการพัฒนาระบบการจัดการพื้นฐานเหล่านี้ไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้บางครั้งไม่มีการจัดส่งสินค้าเพียงพอ ขาดสต็อก หรือบางครั้งของสต็อกมากเกินไป ทำให้ต้นทุนสูง ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ เพื่อที่จะทำให้การบริหารจัดการสินค้าคงคลังในรูปแบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความยืดหยุ่น

นายธนรัตน์ บาลทิพย์ นักวิชาการ กองโลจิสติกส์ กล่าวเสริมว่า โครงการนี้ จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถทราบจำนวนสินค้าที่คงเหลือและจัดการรายการสินค้าที่จะจำหน่ายในแพล็ตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ และจัดส่งไปยังลูกค้าได้อย่างรวดเร็วทันเวลา และลดการตีกลับของสินค้า สร้างความน่าเชื่อถือ ผ่านการลดเวลาการดำเนินงาน และลดต้นทุนโลจิสติกส์ได้ถึง 15%

ดร. รชฏ กล่าวต่อว่า เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของผู้ประกอบการ จึงต้องส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีการบริหารจัดการสินค้าเพื่อการค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ดี โดยมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพให้องค์กร ประกอบด้วยกิจกรรม การจัดซื้อจัดหาสินค้า การจัดการสต็อก ทาง CIBA DPU ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีการให้คำปรึกษา และความรู้ในการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง และมีการติดตาม โดยตั้งทีมเข้าไปช่วยแนะนำ เครื่องมือพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า  เครื่องมือการจัดการข้อมูลสินค้าคงคลัง การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน เพื่อแก้ปัญหาสินค้าคงคลัง ให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ

สำหรับกิจกรรมในโครงการนี้ มีบริษัทที่เข้าร่วมทั้งสิ้น 5 บริษัท ได้แก่ 1) บริษัท นิวสปอง จำกัด 2) บริษัท ศรีพิพัฒน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 3) บริษัท สยาม วอเตอร์ เฟลม จำกัด 4) บริษัท แสงรุ่งเรือง เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด และ 5) บริษัท เอื้ออารี ฟู้ดโปรดักท์ จำกัด โดยแต่ละบริษัทเลือกแนวทางและเครื่องมือในการปรับปรุงการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้บริหาร

การค้าอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ ต้องการการขับเคลื่อนด้วยระบบ “โลจิสติกส์” ที่มีประสิทธิภาพ และต้องย้ำอีกครั้งว่า โลจิสติกส์ ไม่ใช่เพียงเรื่องการขนส่ง แต่รวมไปถึงการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง  การจัดหาสินค้า กระบวนการผลิต การเก็บสต็อกสินค้าและบริการ รวมถึงการส่งมอบลูกค้า ดังนั้น เรื่องเหล่านี้ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้ และการจัดทำฐานข้อมูลต่างๆ เพื่อมาวิเคราะห์ต่อเนื่อง เพื่อทำให้ระบบหลังร้านตอบโจทย์กับระบบหน้าร้านแบบอีคอมเมิร์ช หากผู้ประกอบการธุรกิจใดสนใจเข้าร่วมการอบรม หรือ เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน CIBA  DPU

นอกจากนี้ CIBA DPU ยังเปิดสอนในระดับปริญญาตรี ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสอนโดยคณาจารย์ที่มีประสบการณ์ โดยเป็นที่ปรึกษาของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 100% ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่า บัณฑิตที่จบไปเป็นที่ต้องการของสถานประกอบการ ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://ciba.dpu.ac.th/program/bachelor/logistics/

นายสมใจนึก เองตระกูล ประธานกรรมการ ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ พร้อมด้วยคณะกรรมการ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ TIP ร่วมแถลงผลการดำเนินงาน ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ณ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ พระราม 3  โดยที่ประชุมมีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด ในอัตราหุ้นละ 1.60 บาท ซึ่งบริษัทฯ ได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลครั้งที่ 1ไปแล้ว  เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2566 ในอัตราหุ้นละ 0.50 บาท  และจ่ายเงินปันผลที่เหลืออีกในอัตราหุ้นละ 1.10 บาท ในวันที่ 23 เมษายน 2567  ให้แก่ผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผลตามที่ปรากฏรายชื่อ ณ วันปิดสมุดทะเบียน

ประสบสำเร็จอย่างงดงามสำหรับ STYLE Bangkok 2024 มหกรรมแสดงสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่นชั้นนำของเอเชีย ซึ่งจัดขึ้นโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่วันที่่ 20-24 มีนาคม 2567 โดยประกาศความสำเร็จที่เหนือความคาดหมายด้วยมูลค่าการค้าและจำนวนผู้เข้าชมงาน

โดยมูลค่าการค้าตลอด 5 วัน สามารถสร้างรายได้กว่า 1,756 ล้านบาท ทะลุเป้าหมายที่คาดไว้ที่ 1,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 จากมูลค่าการค้าของครั้งก่อน ในส่วนของมูลค่าการค้าวันเจรจาธุรกิจ ทั้งมูลค่าจากยอดสั่งซื้อทันทีและจากที่จะสั่งซื้อภายใน 1 ปี อยู่ที่  กว่า 1,732 ล้านบาท ยอดขายในวันสำหรับประชาชนทั่วไปอยู่ที่  กว่า 24 ล้านบาท ตอกย้ำตำแหน่งผู้นำอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์และแฟชั่นของไทย นอกจากนี้ จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมงานตลอด 5 วัน กว่า  25,000ราย จาก 49 ประเทศ/เขตการค้า เพิ่มขึ้นจากครั้งก่อนร้อยละ 4.40 ทำให้ประจักษ์ได้ถึงศักยภาพของงาน STYLE Bangkok ในการเป็นศูนย์รวมการค้าและโอกาสในการสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศ

ในงาน STYLE Bangkok ปีนี้ หมวดสินค้าที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัด ได้แก่ หมวดสินค้าแฟชั่นซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีมาก โดยมูลค่าการค้าของสินค้าในหมวดแฟชั่นเพิ่มขึ้นจากครั้งก่อน ร้อยละ  40.6 ตอกย้ำศักยภาพของไทยในฐานะเวทีการค้านานาชาติที่สำคัญของภูมิภาค

ภายในงานยังมีการลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) จำนวน 2 คู่ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน SMEs และ OTOP ภายใต้โครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก ตามแนวพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา โดยการพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการให้มีศักยภาพ และส่งเสริมต่อยอดด้านตลาดทั้งในและต่างประเทศ ประกอบด้วย (1) MOU ระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กับ กระทรวงมหาดไทย และ (2) MOU ระหว่าง บริษัท บางจากคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กับ วิชชาลัยผ้าทอหนองบัวลำภู (ศูนย์การเรียนรู้ออกแบบขวัญตา)

นอกจากนี้ยังมีการเจรจาการค้า ระหว่าง MUJI (มูจิ) แบรนด์ไลฟ์สไตล์ชั้นนำระดับโลกสัญชาติญี่ปุ่น กับผู้ประกอบการไทย 5 ราย  ประกอบด้วย Prodpran Craft, Boonyarat Thaicrafts, Mallavi Limited Partnership, Deesawat Industries Co., Ltd และ Divana Global Co., Ltd. ซี่งจะช่วยส่งเสริมและผลักดันผู้ประกอบการของไทยในตลาดโลก โดยความร่วมมือนี้เป็นการต่อยอดจากการเยือนประเทศญี่ปุ่นของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และคณะ เมื่อเดือนธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา

สำหรับนักธุรกิจ ผู้เข้าเยี่ยมชมจากต่างประเทศ 10 อันดับแรก ได้แก่ จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง อินเดีย เกาหลีใต้ และเวียดนาม แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในระดับโลกของงานนี้และผลกระทบเชิงบวกต่อตลาดในระดับภูมิภาค

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กล่าวชื่นชมความสำเร็จของงานว่า “STYLE Bangkok 2024 แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในด้านแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ โดยสามารถยกระดับมรดกทางวัฒนธรรมสู่มิติใหม่ของความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ Soft Power ของไทยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ”

STYLE Bangkok 2024 ได้รับการตอบรับอย่างดียิ่งจากผู้แสดงสินค้าที่หลากหลาย ตั้งแต่แบรนด์ที่มีชื่อเสียงในตลาดโลก SMEs รวมถึงผู้ประกอบการหน้าใหม่ ต่างนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีอัตลักษณ์ของมรดกวัฒนธรรมผสมผสานกับกลิ่นอายความร่วมสมัย

นายภูสิตกล่าวถึงแนวโน้มของอุตสาหกรรมและความสำเร็จอย่างต่อเนื่องของงานแสดงสินค้า STYLE Bangkok ว่า “มองไปข้างหน้า เราวางเป้าหมายที่จะทำให้งาน STYLE Bangkok มีส่วนช่วยยกระดับประเทศไทยให้ก้าวขึ้นไปอยู่แถวหน้าของอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์และแฟชั่นระดับโลก การเป็นแหล่งรวมของความคิดสร้างสรรค์ การนำเสนอสินค้าที่มีดีไซน์ การทำงานร่วมกัน และการเข้าถึงตลาด คาดว่าจะช่วยส่งผลให้งาน STYLE Bangkok ประสบความสำเร็จต่อไปในอนาคต”

STYLE Bangkok 2024 ได้เสียงตอบรับที่ดีจากผู้เยี่ยมชมงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ซื้อชาวต่างประเทศ เช่น Ms. Takako Kondo กล่าวว่า “มางาน STYLE Bangkok 2024 ได้รับประสบการณ์ที่ดี มีค่ามาก ได้พบสินค้าถูกใจมากมาย และพบว่า  STYLE Bangkok ให้ความสําคัญกับเรื่อง SDGs ซึ่งสำคัญมาก และให้มุมมองที่แตกต่าง”  มร. David Tucker ผู้ซื้อจากซิดนีย์ ออสเตรเลีย บอกว่าเขาตื่นตาตื่นใจกับความงดงามของงาน  STYLE Bangkok ตั้งแต่ยังไม่ได้เข้าไปในฮอลล์ด้วยซ้ำ  ที่จริงเขาและเจ้านายต่างมีความสนใจในผลิตภัณฑ์ประเภทของตกแต่งบ้านจากประเทศไทยมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น สินค้าทำมือ ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่มีความยั่งยืน “ผมคิดว่า เมื่อเราขายสินค้าให้ใคร เราจำเป็นที่จะต้องบอกเค้าได้ว่านี่เป็นสินค้าประเภทที่มีความยั่งยืนผลิตแบบออร์แกนิก ไม่สร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม”

นอกจากสินค้าที่โดดเด่น มากมายที่สร้างความประทับใจให้กับผู้ซื้อผู้ชมงานแล้ว STYLE Bangkok 2024 ยังได้รับการตอบรับในแง่การจัดนิทรรศการที่หลากหลาย การสัมมนาให้ความรู้เชิงลึก และกิจกรรมการจับคู่ทางธุรกิจที่คึกคัก ความสำเร็จของงานเป็นอีกหนึ่งประจักษ์พยานในความมุ่งมั่นของไทยบนเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืนและบทบาทของสินค้าไทยในเวทีระหว่างประเทศ

เชิดชูคนดี-สื่อมวลชน ช่วยเหลือชุมชน สังคมดีเด่น

ใครจะรู้ว่า ผักสลัดหนึ่งต้น จะมีความหมายกับน้องๆ ผู้บกพร่องทางสติปัญญา ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพราชานุกูล (บางพูน) จ.ปทุมธานี มากกว่า การเป็นผักคุณภาพดี ปลอดภัย รับประทานอร่อย

เพราะนี่คือ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการปลูกผักที่ทำให้น้องๆ ได้ฝึกการดำรงชีวิต ทักษะอาชีพ เพื่อลดภาระของครอบครัว

“การปลูกผัก อาจจะดูง่ายสำหรับคนทั่วไป แต่สำหรับผู้บกพร่องทางสติปัญญา เป็นเรื่องที่ยากมาก”

นางสาววรรณนภา เปรมปรีดา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพราชานุกูล (บางพูน)  จ.ปทุมธานี บอกเล่า “ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพราชานุกูล (บางพูน) จะรับดูแลผู้บกพร่องทางสติปัญญา วัยรุ่น ที่มีอายุตั้งแต่ 15-35 ปี ด้วยกระบวนการพยาบาลและโปรแกรมบางพูนโมเดล ที่พัฒนาขึ้นเพื่อฝึกทักษะต่างๆ ให้น้องๆ มีศักยภาพในการดำรงชีวิตและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ โดยไม่เป็นภาระแก่ครอบครัว”

กิจกรรมปลูกผัก นับเป็น โมเดล ที่ศูนย์ฯ นำมาใช้ในการฝึกทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมและส่งต่อน้องๆ กลุ่มนี้เข้าระบบการทำงานตามมาตรา 33 หรือ มาตรา  35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ซึ่งจะทำให้พวกเขามีอาชีพและรายได้ โดยเรียกโมเดลนี้ว่า “บางพูนโมเดล” ซึ่งมีบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ AIS สนับสนุนเทคโนโลยีการปลูกผักด้วย AIS iFarm และ โก โฮลเซลล์ (GO Wholesale) เข้ามาช่วยพัฒนาองค์ความรู้ในการปลูกผักสลัดที่ตลาดมีความต้องการ พร้อมรับซื้อผลผลิตมาจำหน่ายยังสาขา

“เราจะฝึกทักษะให้น้องๆ สามารถดำรงชีวิตขั้นซับซ้อน เช่น การหุงข้าวด้วยหม้อไฟฟ้า ซักผ้าด้วยเครื่อง การใช้เงินซื้อของ กวาดพื้น ถูพื้น เพื่อให้น้องๆ ได้ฝึกการใช้ชีวิตประจำวันกับครอบครัว ควบคู่ไปกับการปลูกผักสลัด ที่เป็นกิจกรรมที่สร้างสมาธิ  ทำให้น้องๆ จดจ่ออยู่กับงานที่ทำ มีความอดทน ซึ่งเป็นการเตรียมทักษะพื้นฐานการทำงาน”

หัวใจสำคัญของการฝึกทักษะของบางพูนโมเดลคือ “การทำซ้ำๆ ทำบ่อยๆ” จนกระทั่งน้องๆ เกิดความเข้าใจและรับรู้ว่าเป็นหน้าที่ ที่ต้องปฏิบัติเป็นประจำ และเมื่อพวกเขาออกไปใช้ชีวิตภายนอก พวกเขาก็จะสามารถช่วยเหลือตัวเองไม่เป็นภาระของครอบครัว

น้องๆ ที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพราชานุกูล (บางพูน) จะลงมือปฏิบัติเริ่มต้นตั้งแต่ การเพาะเมล็ดผักสลัด อาทิ ฟินเลย์ กรีนคอส กรีนโอ๊ค นำต้นกล้าลงแปลงปลูก รดน้ำ เก็บล้างทำความสะอาด และบรรจุถุง ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับผู้บกพร่องทางสติปัญญา  และเมื่อเขาทำได้ น้องๆ จะเกิดความภาคภูมิใจในการทำงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จ

นางสาววรรณนภา กล่าวอีกว่า “หลังจากเก็บผักสลัดแล้ว น้องๆ จะมาช่วยกันแพ็คผักใส่ถุง แปะสติ๊กเกอร์สีเหลืองบางพูน โมเดล และแช่ตู้เย็นไว้ เตรียมส่งให้กับทาง โก โฮลเซลล์ สัปดาห์ละครั้ง ประมาณ 100 ถุง หรือเฉลี่ย 20-30 กิโลกรัมต่อครั้ง แม้จะไม่มาก แต่นี่คือ  โอกาสสำคัญ ของเด็กๆ กลุ่มนี้”

ผักสลัดทุกถุง ของน้องๆ จากศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพราชานุกูล (บางพูน) จังหวัดปทุมธานี จะวางจำหน่ายที่แผนกผักสด ณ  “โก โฮลเซลล์ สาขารังสิต” ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน นี้เป็นต้นไป โดยสังเกตสติ๊กเกอร์สีเหลืองลวดลายการ์ตูนเด็ก พิมพ์ “บางพูน เกษตรปลอดภัย By Bangpoon Model” เป็นสัญลักษณ์ ซึ่งแม้จำนวนผักจากฝีมือน้องๆ จะมีไม่มาก แต่นี่จะเป็นไอเท็มสำคัญที่หลายคนตามหา

มาร่วมตามหาไอเท็มแห่งโอกาส เพื่อช่วยกันมอบโอกาส กับน้องๆ กลุ่มนี้กันเถอะ

กองทุนประกันวินาศภัย เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕  และที่แก้ไขเพิ่มเติม  มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ  ภายใต้กำกับของฝ่ายบริหาร  ประเภทกองทุนที่เป็นนิติบุคคล  ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2566  มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัย  ในกรณีที่บริษัทถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย  และเพื่อพัฒนาธุรกิจประกันวินาศภัยให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพ  โดยกองทุนประกันวินาศภัยไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ มีรายได้หลักมาจากเงินที่บริษัทประกันวินาศภัยมีหน้าที่ต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันวินาศภัย ตามอัตราที่คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยประกาศกำหนด โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งตามกฎหมายกำหนดไว้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.๕  ของเบี้ยประกันภัยที่บริษัทได้รับ  โดยบริษัทต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนประกันวินาศภัยปีละ 2 ครั้ง   ครั้งที่ 1 นำส่งภายในเดือนมกราคม  ในอัตราร้อยละ ๐.๕ ของ
เบี้ยประกันภัยที่บริษัทได้รับในรอบเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคมของปีที่ผ่านมา  และครั้งที่ 2 นำส่งภายในเดือนกรกฎาคม  ในอัตราร้อยละ ๐.๕  ของเบี้ยประกันภัยที่บริษัทได้รับในรอบเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนของปีเดียวกัน

นับแต่ปี  พ.ศ. 2551  ที่มีการจัดตั้งกองทุนประกันวินาศภัยขึ้นตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551  จนถึงปัจจุบัน  มีบริษัทประกันภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย  จำนวนทั้งสิ้น 14 บริษัท  โดยเฉพาะในช่วงปี พ.ศ. 2562 ถึง พ.ศ. 2565  ได้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)  เป็นครั้งแรกของโลก  และในปี พ.ศ. 2563 กระทรวงสาธารณสุข  ได้ตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) เป็นครั้งแรกในประเทศไทย  โดยเชื้อดังกล่าวได้มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว  จนทำให้บริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)  มีสถานะขาดสภาพคล่องทางการเงิน  และไม่มีเงินจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย จนส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ ทำให้บริษัทประกันภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยและปิดกิจการลงอย่างต่อเนื่อง  ได้แก่  บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน),  บริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน),  บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)  และบริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน)  ซึ่งการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยดังกล่าว  ส่งผลทำให้กองทุนประกันวินาศภัยต้องชำระหนี้แทนบริษัทประกันภัยที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามกฎหมาย  และทำให้กองทุนประกันวินาศภัยมีภาระหนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  โดยมีจำนวนประมาณ  60,000  ล้านบาท  และมีจำนวนเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยมากกว่า  600,000  ราย 

โดยที่ผ่านมา...

โดยที่ผ่านมา  กองทุนประกันวินาศภัยได้ดำเนินการตามภารกิจที่กฎหมายกำหนดไว้ ในพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558  ด้วยมีเจตนารมณ์ในการชำระหนี้และคุ้มครองเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยในกรณีที่บริษัทที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ซึ่งในระยะเวลาที่ผ่านมากองทุนประกันวินาศภัยได้ดำเนินการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เสร็จสิ้นแล้ว 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท ศูนย์สุขภาพประเทศไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท สัญญาประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท สัจจะประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดยปัจจุบันกองทุนประกันวินาศภัยอยู่ระหว่างการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อีกจำนวน 7 บริษัท ได้แก่ บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย จำกัด, บริษัท เอ.พี.เอฟ. อินเตอร์เนชั่นแนล อินชัวร์รันส์ จำกัด, บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน), บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน), บริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดยคิดเป็นเงินค่าสินไหมทดแทนที่กองทุนประกันวินาศภัย ได้พิจารณาอนุมัติชำระหนี้แทนบริษัทที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตแล้วจำนวนทั้งสิ้นมากกว่า 8,517 ล้านบาท รวมเป็นจำนวนเจ้าหนี้ที่ได้รับชำระหนี้แล้วทั้งสิ้น 145,948 ราย ทั้งนี้ยังไม่รวมอีก 4 บริษัท ที่อยู่ระหว่างการชำระบัญชีของบุคคลภายนอกและรอการนำส่งมาให้กองทุนประกันวินาศภัยชำระหนี้ต่อไป

กองทุนประกันวินาศภัย ตระหนักและทราบถึงความเดือดร้อนของประชาชนผู้เป็นเจ้าหนี้ ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากเอาประกันภัยเป็นอย่างดี และได้พยายามเพิ่มอัตราบุคลากร ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุนในการรองรับและเพื่อเร่งรัดการพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ และได้อนุมัติจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าหนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วงปี พ.ศ. 2566 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 กองทุนประกันวินาศภัยสามารถพิจารณาคำทวงหนี้ และเสนอขออนุมัติจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ได้ประมาณเดือนละ  7,000  ถึง 8,000 กรมธรรม์ คิดเป็นเงินที่ขออนุมัติจ่ายให้แก่เจ้าหนี้แต่ละเดือนไม่น้อยกว่า 350 ถึง 400 ล้านบาท โดยในขณะเดียวกันกองทุนประกันวินาศภัยได้พยายามจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ โดยได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับการจัดหาแหล่งเงินทุนของกองทุนประกันวินาศภัย และได้มีการดำเนินการ เช่น ประการแรก กองทุนประกันวินาศภัยได้ดำเนินการเสนอขอปรับเพิ่มอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนประกันวินา ตามมาตรา 80/3 จากเดิมอัตราร้อยละ 0.25 ปรับเพิ่มเป็นอัตราร้อยละ 0.50 ของเบี้ยประกันภัยที่บริษัทได้รับ ซึ่งเป็นอัตราเงินนำส่งสูงสุดที่กฎหมายกำหนด ประการที่สอง กองทุนประกันวินาศภัยได้เสนอแผนขอบรรจุวงเงินในแผนบริหารหนี้สาธารณะในวงเงิน 3,000 ล้านบาท ต่อสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โดยเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 1 และรับทราบตามที่คณะกรรมการนโยบายและกำกับบริหารหนี้สาธารณะเสนอ ซึ่งแผนดังกล่าวอยู่ระหว่างดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง  และประการสุดท้าย  กองทุนประกันวินาศภัยได้มีหนังสือถึงสำนักงบประมาณ  เพื่อดำเนินการขอรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลตามมาตรา 80 (11) ซึ่งจากการดำเนินการตามกฎหมายในด้านต่าง ๆ นี้ จะเป็นการเพิ่มช่องทางในการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อรองรับสถานะทางการเงินของกองทุนประกันวินาศภัย  เพื่อให้ได้เงินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้โดยเร็วที่สุด     

ดังนั้น …

ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการและการดำเนินการขออนุมัติการจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยให้เป็นไปโดยความเรียบร้อย ซึ่งต้องรอเงินเข้ากองทุนประกันวินาศภัยตามกำหนดระยะเวลาที่บริษัทจะต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนประกันวินาศภัย ตามมาตรา 80/3 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และกองทุนประกันวินาศภัยยังไม่ได้รับเงินจากช่องทางอื่น ๆ ด้วยเหตุดังกล่าวจึงเป็นข้อจำกัดในการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ อันเกิดจากการเอาประกันภัยแทนบริษัทที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ดังนั้น ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567  เป็นต้นไป กองทุนประกันวินาศภัยมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรอบการขออนุมัติการจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ให้มีความสัมพันธ์กับรายได้ และรอบการนำส่งเงินเข้ากองทุนประกันวินาศภัยของบริษัทประกันภัยตามที่กฎหมายกำหนด แต่อย่างไรก็ดีในระหว่างที่รอการอนุมัติจ่ายเงิน กองทุนประกันวินาศภัยจะเร่งรัดให้มีการพิจารณารับรองมูลหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อย่างต่อเนื่องเต็มกำลัง และหากกองทุนประกันวินาศภัยได้รับเงินจากช่องทางอื่น เช่น การกู้ยืมเงินหรือออกตราสารทางการเงิน หรือหากกองทุนประกันวินาศภัยได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลหรือจากแหล่งเงินอื่น ๆ กองทุนประกันวินาศภัยจะเร่งดำเนินการ
ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยโดยเร็วที่สุดต่อไป 


กองทุนประกันวินาศภัย

26 มีนาคม พ.ศ. 2567

ต่อยอดเชิงพาณิชย์ เพื่อการเข้าถึงและความมั่นคงของระบบสุขภาพไทย

X

Right Click

No right click