ดร.วิลาสินี ยนต์วิกัย คณบดี บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยดุสิตธานี กล่าวถึงหลักสูตรปริญญาโทของวิทยาลัยดุสิตธานีว่า เปิดขึ้นมาปีนี้เป็นปีที่ 15 แล้ว โดยผู้ที่เข้ามาเรียนแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ ผู้บริหารในอุตสาหกรรมทั้งทางด้านโรงแรม ร้านอาหาร และอีกกลุ่มคือทายาทธุรกิจ

บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) นำโดย คุณนพพร บุญลาโภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ร่วมสนับสนุน และร่วมพิธีบวงสรวงละครเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เรื่อง “รักแลกภพ” ซึ่งธนาคารออมสิน บริษัท เจ เอส แอล มีเดีย จำกัด และ บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ผู้ทรงก่อตั้งคลังออมสิน โดยมีนักแสดงนำ อาทิ ฟิล์ม - ธนภัทร กาวิละ, วิว - วรรณรท สนธิไชย, ใบเฟิร์น - อัญชสา มงคลสมัย ร่วมในพิธีบวงสรวง เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2562 ณ บริเวณลานด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 6 ธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ

สมิติเวชจับมือไทยประกันชีวิต  เปิดมิติใหม่ “Healthy Life Plus” สร้าง EcoHealth System เชื่อมโยงการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันอย่างครบวงจร ผสานบริการ Samitivej Virtual Hospital เอื้อลูกค้าเข้าถึงบริการทางการแพทย์ทุกที่ ทุกเวลา #คลิกเดียวถึง พร้อมมอบหลากหลายสิทธิพิเศษที่มากกว่า

นายแพทย์ชัยรัตน์ ปัณฑุรอัมพร กรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า  ความท้าทายของธุรกิจด้านสุขภาพ (Healthcare) คือ การก้าวข้ามผ่าน  Digital Disruptive  หรือการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจให้บริการทางการแพทย์ จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงต่อจากนี้ โดยผู้ให้บริการจะต้องคิดค้น พัฒนารูปแบบการให้บริการใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้ทุกช่องทางอย่างต่อเนื่อง

ความร่วมมือกับไทยประกันชีวิตในครั้งนี้ เนื่องจากทั้งสององค์กรมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน คือ #เราไม่อยากให้ใครป่วย อยากให้คนไทยมีสุขภาพดี รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย  ภายใต้เป้าหมายการสร้าง EcoHealth System เพื่อให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาสุขภาพในเชิงป้องกัน หรือ Preventive Medicine จึงเกิดการสร้าง  Brand Collaboration  ขึ้น และขยายฐานการดูแลสุขภาพสู่วงกว้างมากขึ้น โดยสมิติเวชจะอำนวยความสะดวก ให้ลูกค้าไทยประกันชีวิตสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ ได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่าน Samitivej Virtual Hospital และแอปพลิเคชัน Samitivej Plus  รวมถึงจัดโปรแกรมการดูแลสุขภาพ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล การบริการข้อมูลทางด้านสุขภาพ การจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ด้านสุขภาพ  เป็นต้น

Samitivej Virtual Hospital เป็นการนำเทคโนโลยี Telehealth เชื่อมโยงกับบริการทางการแพทย์ที่มีอยู่เดิม ก่อให้เกิดบริการทางการแพทย์แบบรูปแบบใหม่ภายใต้แนวคิด #คลิกเดียวถึง  ถือเป็นการเปลี่ยนมิติของการดูแลสุขภาพด้าน  Healthcare ของสมิติเวช โดยให้บริการด้านต่างๆ ประกอบด้วย Teleconsultation บริการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ผ่าน Video Call ด้วยทีมแพทย์และพยาบาลของสมิติเวชโดยเฉพาะตลอด 24 ชั่วโมง บริการเจาะเลือดถึงบ้าน Test @Home แล้วนำส่งห้องปฏิบัติการทันที บริการจัดส่งยา Medicine Delivery บริการ Vaccine @Home การฉีดวัคซีนถึงบ้านโดยพยาบาลวิชาชีพ และ Virtual Weight Management Program ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการลดน้ำหนักเฉพาะบุคคล

“ผู้ใช้บริการสามารถวางใจในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล เพราะสมิติเวชใช้ระบบรักษาข้อมูลตามมาตรฐานสากล HIPAA (Health Insurance Portability and Accountability Act) ส่วนแอปพลิเคชัน Samitivej Plus  โดยแอปฯ ดังกล่าวจะเป็นเสมือนผู้ช่วยด้านสุขภาพที่ให้ข้อมูลครอบคลุมตั้งแต่ก่อนเดินทางเข้าใช้บริการ (Pre Hospital) ระหว่างใช้บริการที่โรงพยาบาล (Hospital) จนถึงหลังจากกลับบ้านเพื่อพักฟื้นหรือดูแลตัวเอง (Post Hospital) เรียกว่า ให้บริการนัดหมายแพทย์ พบแพทย์ ชำระค่ารักษา ดูประวัติการรักษา ทั้งหมดจบในแอปฯ เดียว”  นายแพทย์ชัยรัตน์กล่าว

นายไชย ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่บริษัทฯ ประกาศปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ หรือ Reinvent Business Model เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงในยุค Digital Disruptive ซึ่งผู้บริโภคในปัจจุบันมีความต้องการคุณค่าที่แท้จริงของสินค้าและบริการ

ไทยประกันชีวิตจึงมุ่งสู่การเป็น Life Solutions หรือทุกคำตอบของการประกันชีวิต ผ่านการสร้าง Life Innovation เพื่อส่งเสริมให้ลูกค้ามีสุขภาพที่ดี มีชีวิตที่ยืนยาว และมีความสุขกับเงินออมในยามเกษียณ โดยมุ่งปรับ Mindset ของคนในองค์กร เพื่อให้ทุกคนก้าวไปสู่เป้าหมายเดียวกัน คือ การเป็น Life Solutions เป็นเพื่อนคู่คิดที่เคียงข้าง วางแผนดูแลลูกค้าในทุกช่วงชีวิต

แนวทางการส่งเสริมให้ลูกค้ามีสุขภาพที่ดี ส่วนหนึ่งต้องมาจากการใส่ใจ ดูแลสุขภาพในเชิงป้องกัน หรือ Preventive Healthcare ไทยประกันชีวิตจึงได้ร่วมมือกับพันธมิตรที่ดี  ซึ่งมี Business Goal เดียวกันในด้าน Wellness Strategy คือ สมิติเวช เพื่อสร้าง EcoHealth System คือ การเชื่อมโยงระบบการดูแลสุขภาพ และการส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้กับลูกค้าอย่างครบวงจร ผ่านการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงการร่วมกับพันธมิตรด้านสุขภาพมอบสิทธิประโยชน์ที่มากกว่าให้กับลูกค้า

ความร่วมมือโครงการ Healthy Life Plus กับสมิติเวชในครั้งนี้ จะเอื้อให้ลูกค้าไทยประกันชีวิตสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ ทุกที่ทุกเวลา ผ่านแอปพลิเคชัน “Samitivej Plus” ซึ่งป็นแอปพลิเคชันที่ดูแลลูกค้าตั้งแต่ก่อนมาโรงพยาบาล ระหว่างอยู่ในโรงพยาบาล และกลับจากโรงพยาบาล โดยเฉพาะการให้บริการที่ปรึกษาทางการแพทย์ Samitivej Virtual Hospital หรือโรงพยาบาลเสมือนจริง ซึ่งลูกค้าสามารถปรึกษาแพทย์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกที่ ง่าย สะดวกสบาย ด้วยค่าบริการที่เหมาะสม เหมือนกับการมารับบริการที่โรงพยาบาลด้วยตัวเอง

ทั้งนี้ ลูกค้าไทยประกันชีวิตสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Samitivej Plus ได้ฟรี ทั้งระบบปฏิบัติการ IOS และ Android รวมถึงใช้บริการต่างๆ ในแอปพลิเคชันได้ฟรี อาทิ การนัดหมายแพทย์ การแจ้งเตือนการนัดหมาย ยกเว้นการใช้บริการ Samitivej Virtual Hospital ซึ่งจะมีค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย ในการใช้บริการ Samitivej Virtual Hospital ลูกค้าไทยประกันชีวิตสามารถใช้บริการ ผ่าน 3 ช่องทางหลัก คือ แอปพลิเคชัน “Samitivej Plus”, แอปพลิเคลชัน “Thailife Card” และเว็บไซต์ www.thailife.com ผ่านบริการ iService

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังสามารถนำความต้องการของลูกค้ามาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการบริการในลักษณะ Personalized เฉพาะรายบุคคลได้ในอนาคต รวมถึงการร่วมกับสมิติเวชจัดกิจกรรมพิเศษด้านสุขภาพสำหรับลูกค้า หรือการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ด้านสุขภาพ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันให้กับลูกค้า

“ในเบื้องต้นไทยประกันชีวิตร่วมกับสมิติเวช มอบสิทธิพิเศษให้กับลูกค้า สำหรับลูกค้าที่รับบริการตรวจสุขภาพ 5 โปรแกรม ได้แก่ การตรวจยีน 50 ยีน เพื่อดูความเสี่ยงโรคมะเร็ง การตรวจยีน 139 ยีน เพื่อดูภาวะสุขภาพ การตรวจดูความยาวของปลายสาย DNA คือตรวจดูอายุชีวภาพ (Telomere Program) การตรวจยีนเพื่อดูความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ Precision Alzheimer's disease1 และการตรวจยีนเพื่อดูความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ Precision Alzheimer's disease2 จะได้รับสิทธิ์ตรวจ Fibroscan หรือการตรวจไขมันพอกตับฟรี เฉพาะการเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท” นายไชยกล่าว

ในฐานะผู้ก่อตั้งและซีอีโอบริษัท Finema ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ และโฟกัสความสนใจไปที่เรื่อง Digital Identity หรือการยืนยันตัวตนในโลกดิจิทัล ผ่านเทคโนโลยียอดฮิตนั่นคือ Blockchain และยังมีอีกบทบาทของการเป็นหนึ่งในสมาชิกของสมาคม DIF (Decentralize Identity Foundation) ที่เป็นเหมือนหัวหอกในการเคลื่อนไหวเรื่อง Digital Identity ในโลก ซึ่งเขาเชื่อว่าเรื่องนี้จะเป็น Gateway สำคัญในการเชื่อมสู่โลกดิจิทัลเต็มอย่างรูปแบบ ปกรณ์ ลี้สกุล เปิดโอกาสให้ MBA ได้พูดคุยและสัมภาษณ์ ในแนวคิด และเป้าหมายของ Finema ในเรื่อง Digital identity รวมถึงการอัปเดตเทรนด์เทคโนโลยีในอนาคตอันใกล้ หลังงานแถลงข่าวเปิดหลักสูตร Blockchain for Enterprise Transformation ที่จัดขึ้นที่คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เมื่อปลายเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา

MBA: ความเป็นมาถึงความสนใจเรื่อง Digital Identity

ปกรณ์: จริงๆ มันเริ่มมาจากที่ผมได้เข้าไปทำเหรียญ Hardware Token ให้กับธนาคาร แล้วธนาคารเขาอยากจะให้มันไปอยู่บนมือถือหรือที่เรียกว่า Software Token ซึ่งเราก็สงสัยว่าไอเดียของมันคืออะไรกันแน่ จนกระทั่งได้เข้าใจว่า มันเกี่ยวกับการ Authenticator หรือการยืนยันตัวตนของเจ้าของบัญชีว่าเป็นเจ้าของมันจริงๆ ซึ่งก็คือเรื่องเดียวกันกับการใช้ Username, Password หรือ Google Two Factor Authentication ที่ใช้กันเยอะๆ พูดง่ายๆ คือ ส่วนหนึ่งของการพิสูจน์ตัวตน (Identification) ว่าคนที่จะเข้าถึงข้อมูลเป็นคนๆ นี้ จริงๆ นะ แล้วเราก็ค้นคว้าเพิ่มอีกประมาณสองปี ก่อนจะเริ่มทำโปรดักต์ครับ

MBA: ความสำคัญและปัญหาของ Digital Identity

ปกรณ์: ตอนที่เราค้นคว้า เราพยายามมองหาว่าปัญหาในเรื่อง Identity ในโลกนี้มันเป็นยังไง ก็พบว่าทุกวันนี้เรามีอินเทอร์เน็ตอยู่ทุกที่ แต่การ Identify ตัวตนหรือระบบ Identity มันกลับเป็น Physical หรือ Hard Copy หมดเลย ทั้งบัตรประชาชน ใบขับขี่ หนังสือรับรอง วุฒิปริญญาบัตร ทะเบียนบ้าน มันไม่มีอะไรที่เหมาะกับการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตเลยครับ

ต่อมาก็พบว่าในโลกอินเทอร์เน็ตก็มีการยืนยันตัวตนที่ทุกคนใช้กัน ก็คือ อีเมล แต่หลายๆ คนอย่างผมเอง ก็มีอีเมลเป็นสิบอีเมลไว้เลือกใช้ในจุดประสงค์ที่ต่างกัน อีเมลนี่แหละที่กลายเป็น Identifier หรือเครื่องยืนยันตัวตนบนโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่งเข้าถึงข้อมูลผ่านระบบพาสเวิร์ด แต่ปัญหาก็คือว่าถ้าเกิดมันถูกแฮกขึ้นมา เราจะเอาอีเมลไปทำธุรกรรมอื่นใดไม่ได้อีก เพราะว่ากันตามจริง เราใช้มันเป็นพื้นฐานของทุกระบบ ทั้งเฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ กูเกิล ทุกอย่างที่ผูกกับอีเมลที่ใช้ฟรีนี้ ก็จะโดนไปด้วย

เท่ากับว่าอีเมลก็ยังไม่เหมาะกับโลกอินเทอร์เน็ต เราเลยคิดว่าการแก้ปัญหาคือการทำ Identity ที่เหมาะสมกับโลกอินเทอร์เน็ต หรือ Digital Identity ซึ่งไม่ใช่แค่เอา Identity ไปวิ่งบนระบบดิจิทัลนะครับ ไม่ใช่พยายามเปลี่ยนบัตรประชาชนไปใช้ในอินเทอร์เน็ต แต่คือการสร้าง Identity ที่เหมาะกับอินเทอร์เน็ต ที่สามารถ Verify ได้ทันที ร้อยเปอร์เซ็นต์

MBA: Finema ตอบโจทย์ตรงนี้อย่างไร

ปกรณ์: โจทย์ของ Finema คือพอเราพบว่า Identity มันจะมีปัญหามากเมื่อมันถูกรวมศูนย์หรือ Centralize ลองนึกภาพง่ายๆ ว่า เฟสบุ๊คมีผู้ใช้ประมาณสองพันล้านคน เขาต้องเก็บ Identity ทุกคนด้วยพาสเวิร์ดแล้วก็ Encrypt ไว้ไม่ให้ใครรู้ แต่ก็ดันมีข่าวไม่นานมานี้ว่า เฟสบุ๊คไม่ได้ Encrypt พาสเวิร์ดของผู้ใช้ประมาณห้าร้อยล้านคน ซึ่งเป็นความผิดพลาดของวิศวกรเฟสบุ๊ค พนักงานเฟสบุ๊คก็รับรู้พาสเวิร์ดของคนเหล่านั้นที่อาจจะเป็นคุณหรือผมก็ได้ โชคดีที่มันไม่ได้หลุดไปไหน

ความยากอีกระดับคือคนมักจะใช้พาสเวิร์ดเดียวกับทุกๆ แพลตฟอร์ม ฉะนั้น ถ้าโดนอันนึงก็คือโดนหมด เราก็เลยคิดว่าการกระจายศูนย์หรือ Decentralize น่าจะเป็นทางออก ยิ่งถ้าประกอบกับเทคโนโลยี Distributed Ledger หรือ Blockchain ก็จะสามารถช่วยให้การเก็บ Digital Identity ของเราดีขึ้นได้

ผมกับทีมที่ศึกษาเรื่อง Blockchain ที่รับรู้ว่าประโยชน์ของมันคือ Transparency ที่ปลอดภัย ฉะนั้นเราน่าจะเอามาทำระบบพิสูจน์ยืนยันตัวตนได้ ซึ่งก็คือสิ่งที่เราทำอยู่ครับ มันมีหลายชื่อเรียกมาก ทั้ง Digital Identity หรือ Internet Identity หรือ Decentralize Identity หรือชื่อที่สามารถอธิบายความหมายของมันได้ชัดมากที่สุดคือ "Self-Sovereign Identity" (คนไทยอาจจะไม่คุ้นหูคำนี้ซักเท่าไร) ก็คือการที่เราเอาสิทธิในการใช้ Identity คืนให้กับผู้ใช้ กล่าวคือ เราบอกว่าจะทำทุกอย่างผ่านมือถือ ถ้าคุณเป็นผู้ครอบครองมือถือเครื่องนี้ ก็จะมีเพียงคุณเท่านั้นที่สามารถเข้าไปในระบบของมันได้ คุณจะทำธุรกรรมอะไร ก็จะมีลายเซ็นอยู่บนมือถือเครื่องนั้นเลย สามารถพิสูจน์ ยืนยันตัวตนได้เลย โดยผ่าน Identifier ที่เหมาะกับโลกอินเทอร์เน็ต ที่ใช้ชื่อย่อว่า DID (Decentralized Identifier)

จริงๆ เราพบปัญหาเยอะมาก ในการพิสูจน์ตัวตนของคน เช่นว่า จะทำธุรกรรมอะไร แบงก์ชาติก็จะมากำกับ ประกันก็ต้องคอยประสาน ขอบัตรเครดิต ขอสินเชื่อ ทุกอย่างมันคือปัญหาของการยืนยันตัวตนหมดเลย ถ้าเราแก้ปัญหานี้ได้ เราจะไม่ต้องมีสำเนาบัตรต่างๆ ไม่ต้องมีแมสเซนเจอร์วิ่งมอเตอร์ไซต์เต็มถนน ถ้าแก้ได้ มันจะสร้าง Transactions บนดิจิทัลอีกมหาศาล ลดกระดาษลงเป็นจำนวนมาก ลดพื้นที่ในการเก็บเอกสาร ลดค่าน้ำมันในการขนส่งเอกสารสำคัญ ลดไปได้หลายเรื่อง และที่สำคัญคือจะทำให้ Transactions เกิดขึ้นได้เร็วได้จริง ไม่ต้องรอ Approve กันอีก

MBA: ปลายทางของเป้าหมายหรือ Dream Goal ของ Finema คืออะไร

ปกรณ์ปัจจุบัน Finema คือผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งมีผลิตภัณฑ์เป็นของเราเองชื่อว่า IDIN (https://idin.network) ซึ่ง Provide ให้กับลูกค้าองค์กรทั้งรูปแบบ Private Solution หรือ Private Blockchain แล้วก็ Public Permission Blockchain ก็คือใครจะเข้ามาก็ต้องขออนุญาตก่อนแล้วก็จ่าย Subscription ให้เรา ตอนนี้โจทย์ของเราก็คือทำให้ซอฟต์แวร์เป็นที่รู้จักและแพร่หลาย ลูกค้าจะใช้ Private ก็ได้ หรือ Public Solution เรา Support ได้ทั้งหมด เราต้องการ Subscriber เพิ่ม นี่คือ Business ที่ทำอยู่

ในส่วนของ Finema ตอนนี้เราอยู่ใน Consortium ที่มีชื่อว่า Decentralize Identity Foundation (DIF) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ Microsoft ตั้งขึ้น แล้วมียักษ์ใหญ่อย่าง IBM, Hyperledger, RSA, Accenture มาเข้าร่วม รวมแล้วมีสมาชิกประมาณหกถึงเจ็ดสิบรายที่เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้งาน แต่ไม่มี South East Asia (SEA) เลย Finema เป็น SEA เพียงรายเดียว ซึ่งเราก็พยายามจะ Sync กับยุโรปและอเมริกา เพราะเขากำลังขยับเรื่องนี้ เราก็ดูว่าเขาขยับยังไง ซึ่งจริงๆ ก็มี WeBank ของจีนมาจอยด้วยแม้ว่าประเทศเขาจะปิดและ Centralize สุดๆ แต่ก็แสดงว่าเขามีความสนใจอยู่ไม่น้อย

ในส่วนของเป้าหมาย ผมอยากจะให้เรามีซอฟต์แวร์ที่ ‘ผู้ก่อตั้ง’ เป็นคนไทย เพราะสุดท้ายก็คงทำให้แบรนด์เป็น Global Brand ที่เป็นเทคโนโลยีที่ส่งออกและแข่งขันได้ในเรื่องนี้ ก็เลยกระโดดมาทำ อยากให้ซอฟต์แวร์ที่เราผลิตกระจายไปอย่างน้อยก็ทั่ว APAC (Asia Pacific)

อีกจุดแข็งสำคัญของซอฟต์แวร์เราก็คือ เราเป็น Blockchain Layer 2 เพราะใน Consortium นี้ Blockchain ของทุกคนจะ Interoperable กันได้ อันนี้คือการก้าวข้ามอุปสรรคสำคัญของ Blockchain ฺBlockchain Layer 1 ที่มันเป็น Walled-Garden ซึ่งหมายถึงทุกคนต้องเข้ามาอยู่ใน Network ของเราเท่านั้น ถึงจะใช้งานกับเราได้ เช่น อยากใช้ Blockchain จอยกับบริษัทนี้ แต่เขาใช้ Ethereum เราก็ไม่สามารถเลือกซอฟต์แวร์อีกยี่ห้อแล้ว Interoperable กับเขาได้ แต่ Blockchain ของ Finema เป็น Blockchain Layer 2 คือ Interoperable กับคนที่ในสแตนดาร์ดเดียวกันได้เลย

MBA: คุณปกรณ์จะเป็นหนึ่งในผู้บรรยาย ของหลักสูตร ‘Blockchain for Enterprise Transformation’ ที่ทางนิด้า ร่วมจัดกับ SIAM ICO อยากทราบถึงเรื่องที่จะบรรยาย และจุดเด่นของหลักสูตร รวมทั้งสิ่งที่ผู้อบรมจะได้รับ

ปกรณ์: ตอนนี้คำว่า Blockchain ในตลาดคือโคตร Hype เลย ซึ่งส่วนใหญ่จะเข้าใจแค่เรื่องราคา ซึ่งมันก็เป็นส่วนหนึ่งแหละ แต่คุณค่าของ Blockchain จริงๆ สำหรับผมคือมันสามารถตอบโจทย์บางอย่างของระบบเศรษฐกิจในอนาคตได้ ทุกวันนี้โลกมันรวมศูนย์มากขึ้นทุกวัน ก็คือมีหน่วยงานที่มีอำนาจคอยกำกับดูแลหน่วยงานย่อยๆ ตัวอย่างเช่นธนาคาร ซึ่งผมเชื่อว่าอะไรที่มันใหญ่เกินไป มันจะถูกทำให้เล็กลง ประวัติศาสตร์เป็นแบบนั้นเสมอครับ อาณาจักรใหญ่ๆ ทั้งเปอร์เซีย หรือจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์ สุดท้ายมันจะถูกตีให้เล็กลง มันเป็นวัฏจักรของโลกที่ถ้า Centralization มากเกินไป มันจะถูก Decentralize โดยธรรมชาติ

สำหรับหลักสูตร Blockchain for Enterprise Transformation ผมเชื่อว่าผู้บรรยายทุกท่านได้กลั่นกรองเอาประโยชน์หรือคุณค่าที่แท้จริงมาคุยกัน โอเค เรื่อง Pricing หรือ Valuation ของมันเราเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว แม้ Bitcoin จะยังเป็นเพียงตลาดเฉพาะ แต่ Libra ก็กำลังมา เราคงไปขวางโลกไม่ได้ เพียงแต่เราจะเจาะลงไป เช่น ทำไมมันถึงต้องมี Libra ที่มาที่ไปของมัน ทำไมต้องมีแนวร่วม 27 องค์กร ซึ่งพูดถึง Libra แล้ว ถ้ากลับไปดูงบการเงินเฟสบุ๊คจะรู้ทันทีว่า ทำไมเขาถึงทำ Libra ก็เพราะว่า ปกติเงินมันไหลผ่านเฟสบุ๊คตลอดเวลาด้วยค่าโฆษณา ซึ่งนับเป็นรายได้ 98% ของรายได้ทั้งหมด อีก 1.5% มาจากค่าธรรมเนียมจาก VISA, Master Card ที่นี่ถ้าเขามีสกุลเงินของตัวเอง เขาก็จะสามารถขยายท่อ 1.5% นี้ให้ใหญ่ขึ้นได้ เพราะเขาจะเป็นคนควบคุมค่าธรรมเนียมทั้งหมด

แต่ถ้าพูดถึง Libra ในเชิงคุณค่าทางเทคนิค ผมว่ามันไม่ได้ยิ่งใหญ่มาก มันไม่ใช่สิ่งใหม่ มันเป็นภาษาที่คนเขาใช้อยู่แล้ว มาตกแต่งใหม่ แล้วก็สร้าง Governance Model ดีๆ คือหลักการของ Blockchain Decentralize System จริงๆ คือเรื่องของ Governance Model ที่จัดแจงว่า ใครจะมีสิทธิทำนั่นนู่นนี่ได้ แล้วทำไมเขาถึงจะไม่โกง พูดง่ายๆ คือ เทคโนโลยีมันจะดีจริงๆ มันอยู่ที่ Consensus (มติร่วม) อย่างเฟสบุ๊คเขาจะใช้ระบบ BFT ก็จะเป็น Libra BFT ซึ่ง BFT ย่อมาจาก Byzantine Fault Tolerance หมายถึงอาณาจักรไบเซนไทน์ในอดีต ที่เวลาหน่วยข่าวกรองหาข่าวกลับมา มันจะต้องมีวิธีหรืออัลกอริทึมในการบอกว่าข้อความไหนจริงไม่จริง หรือคนสมัยก่อนแค่จะเดินเข้าประตูเมือง เขาก็จะต้องมีรหัสผ่าน มันคือเรื่อง Information เหมือนกัน ฉะนั้น จริงๆ BFT ก็คือวิธีการโหวต Consensus หรือวิธีการลงมติแบบออริจินัลของมนุษย์ เฟสบุ๊คก็เอามาปรับแต่งนิดหน่อย ให้กลายเป็น Libra BFT

อีกสิ่งหนึ่งที่ทรงพลังก็คือการที่เขามี 27 องค์กรอยู่ในมือ แต่ข้อเสียก็คือมันเป็นเอกชนทั้งหมด แล้วทำไมถึงเป็นข้อเสีย เหล่านี้คือเรื่องที่อยากจะมาเล่าให้ทุกคนฟัง เอาจริงๆ แล้ว ตัวเทคโนโลยีเอง เทคโนโลยี Blockchain แต่ละตัว มันก็แทบจะเท่าๆ กันหมดแล้วครับ เพราะมันมาจบที่ Computing Power ที่มันตันไปแล้ว มันก็จะไม่มีอะไรเร็วไปกว่านี้ได้ ฉะนั้น ถ้าจะเกิดได้ก็ต้องสร้าง Governance Model ดีๆ แล้วประโยชน์ของมันจะเกิดจริงๆ

MBA: ถ้าบอกว่าเทคโนโลยีมาถึงทางตันที่ถูกจำกัดโดยประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ อย่างนี้แล้วเทรนด์ของเทคโนโลยีมันจะมีทิศทางยังไงต่อ

ปกรณ์: ผมมองว่าเทคโนโลยีมันมีหลายแกน Computing Power คือแกนหนึ่ง ซึ่งตันไปแล้ว ไม่งั้นก็ต้องรอ Quantum Computer ไปเลย หรือ 5G ก็อีกแกน ที่ทำให้เน็ตเวิร์คเร็วขึ้น แต่สุดท้ายแล้วพอทุกอย่างมันเร็วเท่ากันก็จะตันอีก ฉะนั้น เทคโนโลยีใหม่ๆ จะเกิดขึ้น ก็ต้องเกิดจากการเอามา Combine กัน ให้เป็นท่าใหม่ เป็น Business model ใหม่ ที่มันจะต้องมายุ่งเกี่ยวกับเรื่องของ Framework หรือ Governance Model เปลี่ยนถ่ายช่องทางการเงิน มันจะเป็น Business Model Innovation มากกว่าครับ

เอาจริงๆ เลยในปัจจุบัน การโอนเงินข้ามประเทศมันไม่ได้มีปัญหาที่ความเร็วเลย แต่ปัญหามันอยู่ที่การคุยกันระหว่างองค์กร ที่ผมจะบอกก็คือ เทคโนโลยีไม่ได้ช้าเลยครับ แต่ช้าตรงต้องมานั่ง Approve นู่นนี่นั่น แล้วก็มีคนพยายามเอา Blockchain มาแก้ปัญหา ยกตัวอย่างเฟสบุ๊คอีกทีครับ เขาบอกเขาอยากแก้สองปัญหา หนึ่งคือการโอนเงินข้ามประเทศ แต่ตอนนี้เราก็มีบัตร KTB Travel Card หรือ TMB ที่มีหกสกุลเงินในหนึ่งบัญชี ถ้าเป็นแบบนี้ทั้งหมด สมมุติยี่สิบสามสิบประเทศคุยกันได้ ปัญหาก็แก้แล้วครับ เราจะขี่ช้างจับตั๊กแตนทำไม Blockchain จะมีประโยชน์อะไร

อีกเรื่องคือ เฟสบุ๊คพยายามบอกว่าจะแก้ปัญหาคนที่เข้าไม่ถึงแหล่งเงินหรือสถาบันการเงิน ซึ่ง ณ ปัจจุบันไม่ใช่ว่าเขาเข้าไม่ถึงครับ ปัญหาคือเขาไม่มีเงินด้วยซ้ำ และไม่สามารถทำให้ตัวเองมีเงินได้ พูดง่ายๆ ว่า Libra มันจะไม่ได้ทำให้คนรวยขึ้น ซึ่งก็เป็นความย้อนแย้งในตัวเองอยู่เหมือนกันครับ

เรื่อง คุณากร วิสาลสกล || ภาพ ณัฐพงศ์ เปรุนาวิน


สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมและเข้าร่วมหลักสูตร
คลิ๊ก >>> http://bit.ly/nidablockchain

 

นายวุธินันท์ สุวิมลพันธุ์ ผู้จัดการอาวุโส – ธุรกิจร้านค้า “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ผนึกกำลังคุณชิตชัย เธียรกาญจนวงศ์ รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพาณิชย์ บริษัท บิ๊ก คาเมร่า คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จัดโปรโมชั่นสุดพิเศษสำหรับคนรักกล้องในงาน “BIG CAMERA BIG PRO DAYS 13” ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 – 31 กรกฎาคม 2562 ณ ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ สมาชิกบัตรเคทีซี รับสิทธิพิเศษ คุ้มที่ 1 สินค้าราคาพิเศษ เช่นกล้อง Fuji X-A5 ปกติราคา 19,990 บาท แลกซื้อได้ในราคา 14,990 บาท เมื่อชำระด้วยบัตรเครดิตเคทีซีร่วมกับใช้คะแนน KTC FOREVER 13,000 คะแนน และกล้องรุ่นอื่นๆอีกหลายรายการ  คุ้มที่ 2 แลกรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13% เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรฯทั้งชำระเต็มจำนวน หรือผ่อนชำระ เพียงใช้คะแนน KTC FOREVER ทุกๆ 1,000 คะแนนในการแลกรับ คุ้มที่ 3 ผ่อนชำระ 0% นานสูงสุด 15 เดือน พร้อมรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 7% ตามเงื่อนไขที่กำหนด

ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC PHONE 02 123 5000 หรือเว็บไซต์ www.ktc.co.th สมัครบัตรเครดิตได้ที่ศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือคลิกลิงค์ได้ที่นี่ : http://bit.ly/2uPcS19 #สุขไม่จำกัด กับบัตรเคทีซี

เอไอเอส โดยนายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กร บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ในเครือเอไอเอส และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  โดย ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ นิเวศน์ นันทจิต  อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการศึกษา วิจัย ทดลอง ทดสอบ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี 5G ที่กำลังจะมาถึง เพื่อสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการและบ่มเพาะบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งจะเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนภาคเหนือและประเทศไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

โดยการทดลอง ทดสอบ 5G ในพื้นที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะดึงจุดเด่นของอัตลักษณ์ทางภูมิศาสตร์ โอกาส ความสนใจ และความท้าทายในแต่ละภูมิภาคเป็นตัวกำหนด เพื่อให้นิสิต นักศึกษา นักวิจัย ประชาชน และทุกภาคส่วนใน 5G Ecosystem เห็นถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีแห่งอนาคต ตลอดจนสามารถวางแผน ต่อยอด และพัฒนานวัตกรรมและการบริการบนระบบ 5G ให้เหมาะสมกับพื้นที่หรือภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดรับกับเจตนารมณ์ของ กสทช. ที่สนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาให้ทดลองทดสอบ 5G ทั้งในกรุงเทพฯ และในส่วนภูมิภาค

นางสาวรวิสรา เลิศปัญญาโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอแอมไชน่าทาวน์ จำกัด ร่วมแสดงความยินดี กับนายณรัล วิวรรธนไกร กรรมการบริหาร บริษัท สยามเวลเนสกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการเล็ทส์ รีแลกซ์ สปา (Let’s Relax Spa) บูติคเดย์สปาระดับ 4 ดาว เนื่องในโอกาสที่ Let’s Relax Spa ฉลองการก้าวสู่ทศวรรษที่ สามกับการเปิดสาขาที่ 20 ในโครงการ I’m Chinatown โครงการมิกซ์ยูสที่ใหญ่สุดของย่านเยาวราช โดย Let’s Relax Spa จะเป็นสปาระดับพรีเมี่ยมแห่งแรกและใหญ่ที่สุดของไชน่าทาวน์ ขนาด 500 ตรม. บนชั้น 3 ของส่วน ศูนย์การค้า มีจำนวน 30 เตียง แบ่งออกเป็น 3 โซน ได้แก่ โซนนวดเท้า นวดไทย และนวดน้ำมัน  ซึ่งจะเปิดให้ บริการตั้งแต่ 10.00 ถึงเที่ยงคืน เพื่อรองรับกลุ่มนักเที่ยวชาวจีน ไต้หวัน และฮ่องกง เป็นหลัก พร้อมกลุ่มเจ้าของ ธุรกิจในย่านเยาวราชและนักท่องเที่ยวชาวไทย

Let’s Relax Spa ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก ด้วยเทคนิคการนวดและแนวทางการบำบัดทั้ง 5 สัมผัส ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแบรนด์เอง บริการระดับพรีเมี่ยม คอร์สการนวดที่หลากหลาย ทั้งยังขึ้นชื่อในด้านการ ตกแต่งร้านที่สวยงาม มีความแตกต่างกันในทุกสาขา โดยสาขาโครงการ I’m Chinatown จะตกแต่งในคอนเซ็ปต์ Modern Contemporary Chinese เพื่อสอดรับกับเอกลักษณ์ของทำเลไชน่าทาวน์ของกรุงเทพฯ ในปี 2561 บริษัท สยามเวลเนสกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) สามารถทำสถิติยอดลูกค้ามาใช้บริการได้มากกว่า 1.1 ล้านคน ทำให้สามารถ รักษาระดับการเติบโตของยอดรายได้อย่างต่อเนื่อง โดยปีล่าสุดมียอดขาย 1,152 ล้านบาท

พบกับโปรโมชั่นพิเศษในช่วงเปิด Let’s Relax Spa สาขาโครงการ I’m Chinatown  ซื้อ Cash Card ที่ Let's Relax Spa มูลค่า 10,000 บาท รับเพิ่มทันที 2,000 บาท รวมมูลค่า 12,000 บาท

การเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด มีความสำคัญอย่างมากทั้งต่อการอยู่รอด และความสำเร็จ ในโลกที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างในวันนี้

Capstone Project for Entrepreneur Workshop กิจกรรมที่จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่สอง เป้าหมายอยู่ที่การ “สร้างและส่งต่อ” พร้อมกับ “ต่อยอด” ความรู้ให้นั้นไปยังสองกลุ่มเป้าหมายหลักได้แก่ อาจารย์ผู้สอน และนักศึกษา โดยในปีนี้จัดขึ้น ณ Makerspace มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU)

กิจกรรมพิเศษครั้งนี้จัดขึ้นสำหรับอาจารย์ DPU  เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การเป็น Startup University ที่พร้อมก้าวเข้าสู่การสอนในยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ยังได้ร่วมแบ่งปัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจด้านต่างๆ จากองค์กรชั้นนำ

ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู รองอธิการบดีสายงานภาคีสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยว่า ​โครงการ capstone จัดขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มพูนทักษะความรู้ให้อาจารย์มีความเชี่ยวชาญที่จะเป็น accelerator ในวิชา capstone project โดยที่อาจารย์ที่เข้าร่วมติวเข้มความรู้ในครั้งนี้จะนำไปใช้ Coach กับนักศึกษาปี 3

ในชั้นเรียนปี 1 และ 2 นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาทักษะความเป็นผู้ประกอบการ เทคโนโลยี และ Soft skills เมื่อขึ้นปี 3 เด็กๆ จะต้องมารวมกลุ่มจากเพื่อนต่างคณะ ต่างหลักสูตร เพื่อทำโปรเจ็คร่วมกัน ซึ่งในกระบวนการนี้จำเป็นที่จะต้องมีอาจารย์ที่มีทักษะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญที่จะสามารถดูแลเด็กได้  กิจกรรมในเวิร์คชอปนี้จะเลือกอาจารย์ที่เป็นดรีมทีมขึ้นมาก่อนในชุดแรก จากนั้นมองถึงการขยายไปสู่การพัฒนาอาจารย์ทุกคนในมหาวิทยาลัยต่อไป

นอกจากการเวิร์คชอปเพื่อให้อาจารย์ไปสร้างเด็ก ในอีกมุมหนึ่งอาจารย์ก็ได้รับการ Re-skills โดยคนที่ผ่านกระบวนการนี้จะเป็น New work force ที่สำคัญต่อไปของ DPU  

ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม ผู้อำนวยการสถาบัน DPU X แห่งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยว่า อาจารย์แต่ละท่านที่เข้าร่วมกิจกรรมเวิร์คชอปจะมาจากทุกคณะ เช่น ศิลปกรรม วิศวกรรม บริหาร ท่องเที่ยว นิเทศน์ โดยเป็นบุคคลที่เปิดรับและ อยากทดลองทำอะไรใหม่ ๆ

สิ่งที่สนใจเป็นเรื่อง  mind set กระบวนการความคิดมากกว่า เทคโนโลยีเป็นแค่เครื่องมือในการใช้งาน แต่หลักคิดในความเป็นมนุษย์ ในความเป็นผู้เชี่ยวชาญในงานกับเครื่องมือใหม่ ๆ ควรจะเป็นอย่างไร เราจะพัฒนามันอย่างไรเพื่อให้เราใช้ศักยภาพ จุดประสงค์หลักของ Capstone วัดได้ที่นักศึกษา แม้ไม่คาดหวังว่าเด็กทุกคนต้องได้ แค่ให้ส่วนใหญ่รับรู้และเข้าใจในแนวคิดนี้ในเชิงลึก ทำซ้ำไปเรื่อย ๆ แล้วจะเห็นผล ค่อยๆ สะสมไปเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นวัฒนธรรมระหว่างอาจารย์กับเด็ก

ดร. รชฏ ขำบุญ รองคณบดีสายงานวิชาการ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี เปิดเผยว่า ทักษะความรู้ที่ได้เข้าร่วมในโครงการนี้เกิดข้อดีในสองส่วนด้วยกัน ส่วนแรกนักศึกษาสามารถสร้างธุรกิจใหม่ได้ กับ สอง การปรับมุมมองคิดที่จะปรับธุรกิจเดิมๆ แล้ว สร้างสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น

ไม่ใช่เด็กทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ที่จบไปแล้วจะไปเป็นสตาร์ทอัพ ส่วนหนึ่งอาจต้องการทำงานในบริษัทใหญ่ซึ่งก็ต้องมีความรู้ด้านการสร้างนวัตกรรมหรือคิดปรับปรุงช่วยประโยชน์ให้องค์กร เพราะไม่ว่าจะเป็นสตาร์ทอัพ หรือทำงานในองค์กร หลักการเดียวกัน คือ การเข้าใจลูกค้า หาความต้องการของลูกค้าแล้วสนองตอบให้ได้มากที่สุด

ในกิจกรรมเวิร์คชอปสองวันเป็นการอบรมที่พยายามนำเสนอเครื่องมือที่หลากหลายที่จะเอาไปใช้ในการค้นหาความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า

“ผมสอนในระดับปริญญาโท ก็ได้เอาประสบการณ์จากการอบรมไปสอน โดยให้นักศึกษา ให้จับกลุ่มสามคน เช่น วิศวะ การตลาด บัญชี แล้วไปทำธุรกิจอาหารเสริม ผลปรากฏว่าได้กำไรเป็นสิบๆ ล้านเมื่อปีที่แล้ว”

ผศ.ณธกร อุไรรัตน์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์​ หนึ่งในผู้ร่วมกิจกรรมเวิร์คชอป Capstone Project เปิดเผยว่า  After school hub เป็นผลงานที่นำเสนอภายใต้การเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้   เริ่มจากมองปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเองและคนใกล้ตัว รวมถึงการได้ไปสอบถามกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นคนพ่อแม่วัยทำงานทำให้พบว่า การเดินทางไปรับลูกวัยประถมศึกษาหลังเลิกเรียนไม่ใช่ปัญหาเล็กๆ อีกต่อไป

“โรงเรียนเลิกเวลาบ่ายสามโมง การจะเดินทางไปรับที่ต้องฝ่าจราจรติดขัดทำให้หลายๆ ครั้งไปไม่ทันกับเวลาที่ได้นัดหมายเอาไว้ คลาดกัน และทำให้ต้องวนรถหลายต่อหลายครั้ง ทำให้เริ่มมาคิดถึงแนวทางแก้ปัญหา

ไอเดียที่ทางทีมเรานำเสนอว่าควรจะทำศูนย์​รับดูแลเด็กหลังเลิกเรียนเพื่อรอจนกว่าผู้ปกครองจะมารับในตอนเย็นหรือค่ำไปแล้ว นอกจากเป็นจุดศูนย์รวมของเด็กหลังเลิกเรียนแล้ว ยังมีกิจกรรมต่างๆ เสริมด้วย เช่น สอนการบ้าน อาหารเย็น พ่อแม่เลิกสองทุ่มก็มารับได้”

โดยข้อดีของกิจกรรมนี้ อาจารย์ผู้สอนเอาโปรเซสการสอนนี้ไปปรับใช้กับการสอนจริงในคลาสกับนักศึกษาแม้ในตอนที่เรียนก็ได้เรียนรู้จากของจริงซึ่งได้ผลมากกว่าการเลคเชอร์เพียงอย่างเดียว ที่สำคัญในบางไอเดียที่นำเสนออาจพัฒนาเป็นธุรกิจจริงได้ในอนาคตของจริง

เราเริ่มรู้แล้วถึงวิธีคิด และการพัฒนาเป็นธุรกิจ ต่อไปจะเอาตรงนี้ไปพัฒนาเป็นสคริปในการสอน เปลี่ยนบทบาทจากอาจารย์ เป็นโค้ช ซึ่งจะเกิดประโยชน์ได้มากกว่าสำหรับนักศึกษา  

ผศ.ดร.เนื่องวงศ์ ทวยเจริญ รองคณบดีฝ่ายวิชาการวิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์​(CITE) เปิดเผยว่า ทางกลุ่มได้นำเสนอโปรเจ็คเว็บสอนภาษาไทยสำหรับนักศึกษากัมพูชา เนื่องจากมองว่ามีความต้องการของแรงงานกัมพูชาที่เข้ามาในไทยต้องการเรียนภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

“ก่อนจะทำโมเดล เห็นแล้วว่ามีเว็บไซต์สอนภาษาต่างประเทศเยอะมาก แต่ไม่มีภาษากัมพูชา ซึ่งจากการสอบถามชาวกัมพูชาที่มาทำงานในไทยก็พบว่ามีปัญหาเรื่องการสื่อสาร อยากมาทำงานในไทย ก็ลำบากเพราะไม่รู้ภาษาไทย   เมื่อมาทำงาน และเรียนในไทย ก็หาที่เรียนลำบาก ทำให้ทางกลุ่มเราคิดที่จะทำโมเดลการเรียนออนไลน์ขึ้นมา ทั้งการเรียนเป็นกลุ่ม ไลฟ์สอนสดโดยนัดเวลาเรียน”

จากปีแรกที่ได้เข้าร่วมเวิร์คชอป Capstone จนถึงปีนี้ ผศ.ดร.เนื่องวงศ์ บอกว่า ได้นับโมเดลวิธีคิดและการโค้ชไปใช้กับนักศึกษามาแล้วในปีที่ผ่านมา ทั้งการสอดแทรกมุมมองความเป็นผู้ประกอบการ การให้นักศึกษาได้ฝึกเขียนแผนธุรกิจ (Business Canvas) รวมถึงการเชิญผู้รู้จากในประเทศและต่างประเทศมาถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ ทำให้ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก

“ในช่วงแรกที่เด็กๆ คิดหัวข้อโปรเจ็คจะเลือกจากสิ่งที่อยากทำ หรือไม่ก็เว็บขายของ  แต่มาวันนี้วิธีคิดเปลี่ยนไป เริ่มคิดจากลูกค้าว่ามีปัญหาอะไร แล้วไปช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง ตัวอย่างในปีที่แล้วนักศึกษาเสนอ โปรเจ็ค คนขายหอย มาจากที่บ้านทำธุรกิจฟาร์มหอย แต่ก็เจอปัญหาไม่สามารถจัดการการเงิน ปัญหาพ่อค้าคนกลาง จึงได้พัฒนาแอพพลิเคชันมาเป็นตัวกลางในการแก้ปัญหา” ผศ.ดร.เนื่องวงศ์ กล่าว

ด้าน ชิน วังแก้วหิรัญ ผู้บริหารจาก Vonder chatbot หนึ่งในเมนเทอร์ที่เข้าร่วมถ่ายทอดประสบการณ์การทำธุรกิจสตาร์ทอัพใน Capstone Project กล่าวว่า Vonder เป็นสตาร์ทอัพที่ทำทางด้านการศึกษา โดยพัฒนาการเรียนรู้ในนรูปแบบของเกม เมื่อกดเข้าไป เลือกวิชาที่อยากเรียน ซึ่งมีวิชาที่เรียน ได้แก่ อังกฤษ ประวัติศาสตร์ ​วิทยาศาสตร์ (เคมี ฟิสิกส์) ที่เน้นการประสบการเรียนรู้ในแบบ Interactive

จนถึงวันนี้ Vonder ทำธุรกิจมาแล้วปีเศษ ประสบการณ์จากการทำธุรกิจทำให้เรียนรู้ว่า บิสิเนสโมเดล และการหารายได้เป็นเรื่องสำคัญ​ ในปีแรกๆ ทำเฉพาะเกมการเรียนรู้ในกลุ่มนักเรียนแม้จะเป็นโปรดักท์ที่น่าสนใจและสร้างการเรียนรู้ได้ดี แต่ในด้านรายได้กลับไม่เป็นเช่นนั้น ทำให้เริ่มมองหาโอกาสใหม่ๆ ซึ่งก็พบว่า HR ในแต่ละองค์กรที่วันนี้นำโปรดักส์ของ Vonder เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้กับพนักงานซึ่งตลาดตรงนี้ก็เริ่มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

“สิ่งที่นำมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในครั้งนี้อยากชี้ให้เห็นว่า ความล้มเหลวไม่ใช่เรื่องน่ากลัวเสมอไป ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นได้ง่ายที่สุด และใหญ่ที่สุดคืออารมณ์ของตัวเอง ต้องรู้จักบริหารจัดการอารมณ์ในสถานการณ์ที่เจอให้ได้ รวมทั้งเรื่องของเงินทุน อย่าประมาท

การทำธุรกิจสมัยนี้ เริ่มต้นมีแค่คอมพิวเตอร์​ และทีมอีกสองคนก็เพียงพอ เมื่อเทียบกับการลงทุนเริ่มต้นธุรกิจที่ต้องมีสเกลที่ใหญ่กว่านี้มาก อย่างไรก็ดี ขอแค่มีความพร้อม และไม่ประมาทในการประเมินต้นทุน เชื่อว่าอย่างไรก็ได้อะไรที่ล้ำค่ากลับไป แม้ไม่เป็นตัวเงิน แต่ก็ได้ประสบการณ์ในการทำธุรกิจ”

จากภาพรวมของปีนี้ "Capstone Business Project" นับเป็นอีกโมเดลการเรียนรู้ที่สำคัญในโลกยุคปัจจุบันที่ให้มุ่งเน้นพัฒนาทักษะแห่งอนาคตให้กับบุคลากรและนักศึกษา DPU ในการมีมุมมองความคิดการเป็นผู้ประกอบการ รวมถึงการทำ Startup ให้ประสบความสำเร็จอย่างมืออาชีพ ชี้วัดจากปีที่ผ่านมา DPU  ส่งนักศึกษาเข้าแข่ง startup Thailand เป็นปีแรกจำนวน 10 ทีม สามารถทะลุ เข้ารอบ 4 ทีม ที่สุดคว้ารางวัลที่ 2 ของภูมิภาคได้เป็นผลสำเร็จ

บมจ.ทิพยประกันชีวิต นำโดย คุณนพพร บุญลาโภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จับมือธนาคารออมสิน และบมจ.ทิพยประกันภัย ร่วมจัดการประชุมสัมมนาไตรภาคี ประจำปี 2562 ระหว่างวันที่ 19-21 กรกฎาคม 2562 ณ ห้องแกรนด์บอลลูม โรงแรมฮอลิเดย์อิน วานา นาวา หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งจัดขึ้น ด้วยแนวคิด We are Together : Drive Success with Highest Performance Delivered เพื่อหารือแลกเปลี่ยนมุมมองและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการด้านการประกันภัยและการประกันชีวิตที่ตอบโจทย์ร่วมกัน โดยมีผู้บริหารระดับสูงของทั้ง 3องค์กร เข้าร่วมฟังและแลกเปลี่ยนมุมมองในบรรยากาศเป็นกันเอง

บมจ.กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต ร่วมออกบูธในงาน งานวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 20 โดยได้รับเกียรติจาก คุณชูฉัตร ประมูลผล (ที่ 4 จากขวา) รองเลขาธิการ คปภ. เข้าเยี่ยมชมบูธโดยมี คุณภควิภา เจริญตรา (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าบริหาร ฝ่ายลูกค้าและผู้บริหารฝ่ายตัวแทน  ให้การต้อนรับและร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึก กิจกรรมภายในบูธกรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต  ลูกค้าได้พบกับที่สุดของผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองทุกความต้องการทั้งด้านสุขภาพ ความคุ้มครอง และการวางแผนทางการเงิน พร้อมตรวจสุขภาพฟรี และแคมเปญพิเศษ ที่ได้จัดขึ้น ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต จ.นนทบุรี เมื่อเร็วๆ นี้

X

Right Click

No right click