นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยภายหลังนำคณะกรรมการธนาคารและผู้บริหาร EXIM BANK เข้าร่วมการประชุมสุดยอดด้านการลงทุนในรัฐคุชราต (Vibrant Gujarat Global Summit 2019) โดยมีนายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย เป็นประธาน และมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 33,000 คน จากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ณ คานธีนคร แคว้นคุชราต อินเดีย เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า EXIM BANK ได้รับฟังนโยบายของรัฐบาลอินเดียที่สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะรัฐคุชราต ซึ่งเป็นรัฐสำคัญที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด ประชากร 63 ล้านคนมีรายได้เฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ เปิดรับการค้าและการลงทุนจากต่างชาติมากที่สุดในอินเดีย และมีมูลค่าส่งออกกว่า 22% ของทั้งประเทศ โดยอินเดียมองไทยเป็นมิตรประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดีและความเชื่อมโยงกับอินเดีย ทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ทั้งนี้ โอกาสของผู้ประกอบการไทยอยู่ในหลายภาคธุรกิจ อาทิ ชิ้นส่วนยานยนต์ ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ขั้นต้น ค้าปลีกและค้าส่ง

นายพิศิษฐ์ เปิดเผยต่อไปว่า EXIM BANK ได้ร่วมเดินทางพร้อมกับนายชุตินทร คงศักดิ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี และนางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์และคณะ เพื่อเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว และเยี่ยมชมนิทรรศการของกระทรวงพาณิชย์และผู้ประกอบการไทย รวมทั้งได้เข้าพบผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของไทยและอินเดียในกรุงนิวเดลีและเมืองมุมไบ อาทิ ทีมไทยแลนด์ประกอบด้วย สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองมุมไบ และสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมุมไบ สำนักงานส่งเสริมการลงทุนอินเดีย (Invest India) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งอินเดีย (EXIM India) ล็อตส์ โฮลเซล โซลูชันส์ (Lots Wholesale Solutions) ห้างค้าส่งของผู้ประกอบการไทยในเครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัท ไอทีดี ซีเมนท์เทชั่น อินเดีย จำกัด (ITD Cementation India Limited) บริษัทก่อสร้างของผู้ประกอบการไทยในอินเดีย กลุ่มบริษัทวีรับเบอร์ ผู้ผลิตและจำหน่ายยางล้อ เป็นต้น

กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า อินเดียเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศ New Frontiers ที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก เฉลี่ยปีละ 6-7% ประกอบกับขนาดตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกด้วยจำนวนประชากรกว่า 1,300 ล้านคน และกำลังซื้อเติบโตอย่างก้าวกระโดด ตลอดจนนโยบายภาครัฐของอินเดียที่มุ่งสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) โดยเฉพาะนโยบาย Make in India รวมถึงการปฏิรูปกฎระเบียบและอัตราภาษีที่ซ้ำซ้อน (GST Reform) และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรมและการเข้ามาลงทุนของบริษัทต่างชาติ ล้วนสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ แก่ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะการเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตระหว่างไทยกับอินเดียในหลายอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมี เป็นต้น ซึ่งผู้ประกอบการไทยมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างดี นอกจากนี้ ด้วยขนาดตลาดที่ใหญ่และมีความต้องการที่หลากหลาย ยังช่วยเพิ่มโอกาสการทำตลาดสินค้าและบริการไทยในหลายมิติด้วย ท่ามกลางโอกาสธุรกิจมหาศาลที่จะเกิดขึ้น EXIM BANK จึงดำเนินยุทธศาสตร์เชิงรุกสนับสนุนธุรกิจไทยให้สยายปีกในอินเดียได้อย่างเต็มศักยภาพ ตลอดจนพร้อมที่จะเป็นหนึ่งในจิ๊กซอว์สำคัญเพื่อเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตระหว่างไทยกับอินเดียผ่านบริการทางการเงินอย่างครบวงจร

“EXIM BANK ดำเนินตามยุทธศาสตร์ในการสนับสนุนการลงทุนให้แก่ผู้ประกอบการไทยในตลาดใหม่ โดยคาดหวังให้ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสามารถขยายการลงทุนไปยังตลาดใหม่ทั่วโลกได้อย่างมั่นใจ เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อและต้องการสินค้าไทยอีกจำนวนมาก โดยการให้ข้อมูลตามแผนยุทธศาสตร์ประเทศ พร้อมทั้งบริการทางการเงินที่เหมาะสมในรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของภาคการส่งออกและเศรษฐกิจไทย” นายพิศิษฐ์กล่าว

“เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จัดโปรโมชันดันยอดออนไลน์ในหมวดสินค้าแฟชั่น ไตรมาสแรก จับมือ 2 พันธมิตรแฟชั่นออนไลน์ Zilingo และ Looksi.com  มอบสิทธิพิเศษให้กับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี ดังนี้ Zilingo ออนไลน์แฟชั่นมาร์เกตเพลส รับส่วนลดสูงสุด 10% เมื่อซื้อสินค้าผ่าน Zilingo.com หรือแอปพลิเคชัน Zilingo และชำระด้วยบัตรเครดิตเคทีซีครบ 1,000 บาทขึ้นไปต่อยอดซื้อ พร้อมระบุรหัสส่วนลด “ZLGOKTC10” Looksi.com รับส่วนลด 5% ทันที เมื่อซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน Looksi และชำระด้วยบัตรเครดิตเคทีซีตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไปต่อรายการ พร้อมระบุรหัสส่วนลด “KTCCARD19” ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 – 31 มีนาคม 2562

พิเศษ สำหรับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีจะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม โดยสามารถแลกรับเครดิตเงินคืน 10% เมื่อใช้คะแนน KTC FOREVER เท่ากับยอดใช้จ่ายออนไลน์ต่อรายการ และรับคะแนน KTC FOREVER 5 เท่า (คะแนนปกติ 1 เท่า และคะแนนพิเศษ 4 เท่า) โดยสามารถลงทะเบียนแลกรับเครดิตเงินคืนและคะแนนสะสม X5 ได้ที่ www.ktc.co.th/shoponline ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 – 30 มิถุนายน 2562 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC PHONE 02 123 5000 สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี สามารถคลิกดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ http://bit.ly/2uPcS19  หรือติดต่อศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ

ตามที่ เอไอเอส และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการศึกษา วิจัย เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี 5G เมื่อเดือนธันวาคม 2561 ที่ผ่านมานั้น ล่าสุดนี้ รศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ร่วมกับ นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอส ตรวจความเรียบร้อย การติดตั้งเครือข่าย 5G ที่อาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เพื่อรองรับการเปิดตัว  “5G Garage Innovation LAB  ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง เอไอเอส และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อเป็นพื้นที่ให้นิสิต นักศึกษา รวมถึงนักพัฒนา ใน 5G Ecosystem ได้เข้ามาใช้ 5G Garage Innovation LAB  เป็นพื้นที่ทดลอง ทดสอบ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม 5G ในการพัฒนาประเทศ

                ภายใน 5G Garage Innovation LAB จะประกอบไปด้วยข้อมูลเทคโนโลยีเกี่ยวกับ 5G ที่จะเป็นองค์ความรู้พื้นฐานแบบครบวงจร ตั้งแต่ รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างการทำงานของเทคโนโลยี 5G, อุปกรณ์โครงข่าย, อุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณ ตลอดจนตัวอย่างรูปแบบการใช้งาน หรือ Use case ที่มาจากความร่วมมือของผู้ผลิตอุปกรณ์ระดับโลก พร้อมทั้งการ work shop เพื่อพัฒนาความรู้ ความชำนาญในทางเทคนิค รวมไปถึงร่วม Co-Develop บริการต้นแบบบน 5G เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนทุกระดับในประเทศไทย อย่างต่อเนื่อง โดยคณาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้งจากเอไอเอส และ พาร์ทเนอร์ในแวดวงโทรคมนาคมทั้งในและต่างประเทศ

5G Garage Innovation LAB ตั้งอยู่ที่อาคารวิศวฯ ๑๐๐ ปี จะพร้อมเปิดให้บริการแก่นิสิต นักศึกษา และเหล่านักพัฒนาภายในไตรมาส 1 ของปี 2562 โดยถือเป็นพื้นที่ทดลอง ทดสอบ 5G แห่งแรกในเมืองไทย ที่เปิดให้ได้ลงมือพัฒนาได้จริง ภายใต้เครือข่าย 5G LIVE ที่ กสทช. ให้การสนับสนุน

เบทาโกร จัดกิจกรรมแฟนมีท โป๊ป ธนวรรธน์ พรีเซ็นเตอร์ไส้กรอกรมควันเบทาโกร “Sport Day     เฮลั่น มันส์กับโป๊ป” แฟนคลับเข้าร่วมมหกรรมเกมและการแข่งขันกีฬาอย่างคึกคัก สนุกสุด ฟินสุด พร้อมชวนติดตามแคมเปญใหม่เบทาโกรร่วมกับโป๊ปในปีนี้

วสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเบทาโกร เปิดงาน BETAGRO Fan Meet Sport Day เฮลั่น มันส์กับโป๊ป” กิจกรรมขอบคุณลูกค้าและแฟนคลับ โป๊ป ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ พรีเซ็นเตอร์ไส้กรอกรมควัน BETAGRO โดยมีแฟนคลับและชาวเบทาโกรเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง ทั้งการแข่งขันเกม กีฬา ร่วมเชียร์ และร่วมสัมผัสความอร่อยกับไส้กรอกรมควัน BETAGRO       ณ อาคารเฉลิมราชสุดากีฬาสถาน (CU Sports Complex) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กิจกรรมเริ่มขึ้นอย่างคึกคัก เมื่อโป๊ปเดินเข้าสู่สนามพร้อมขบวนพาเหรด ทักทายแฟนคลับและพูดคุยอัพเดทผลงาน โดยมี ดีเจเชาเชา ชวลิต ศรีมั่นคงธรรม และ คิง-ก่อนบ่าย ณภัทร ชุ่มจิตตรี ร่วมเป็นพิธีกรสร้างสีสันความสนุกตลอดงาน ทั้งเกมการแข่งขันกีฬาสี ชักเย่อ 4 เส้นรวมใจให้โป๊ป  ฮูลาฮูปรวมพลังคล้องใจพี่โป๊ป กระดึ๊บสามัคคี…เส้นทางนี้เพื่อพี่โป๊ป และวิ่งผลัดท้าชิมไส้กรอกลอยฟ้า จนถึงไฮไลท์ของงานคือการแข่งขันฟุตซอล “รวมพลซัลโว Let’ s go ยิงประตูโป๊ป” โดยมี วสิษฐนำทีมผู้บริหารร่วมเตะบอลกับโป๊ป ท่ามกลางเสียงเชียร์ของเหล่าแฟนคลับและชาวเบทาโกรที่ร่วมลุ้นกันอย่างสนุกสนาน ภายหลังประกาศผลและมอบรางวัลให้กับ      สีเหลืองทีมชนะเลิศ เป็นช่วงที่ทุกคนรอคอยกับกิจกรรมแฟนมีทสุดฟิน ใกล้ชิดโป๊ปแบบเอ็กซ์คลูซีฟ และปิดท้ายสุดประทับใจด้วยบทเพลงเซอร์ไพรซ์โป๊ป “เป็นทุกอย่างให้เธอ” พร้อมมอบภาพถ่ายที่ระลึก-ข้อความให้กำลังใจ

นายวสิษฐ กล่าวว่า “ปีที่ผ่านมาเครือเบทาโกร ออกแคมเปญ อร่อยใช่…สัมผัสไหนก็โดน” โดยมี โป๊ป เป็นพรีเซ็นเตอร์ ชวนทุกคนมาเปิดสัมผัสความอร่อยกับไส้กรอกรมควัน BETAGRO ถือว่าได้รับการตอบรับอย่างดียิ่ง เพราะเราคัดสรรวัตถุดิบ เนื้อหมู เนื้อไก่คุณภาพ มาผลิตเป็นไส้กรอกคุณภาพดีและรสชาติอร่อย กิจกรรมในวันนี้เป็นความตั้งใจของเบทาโกรเพื่อขอบคุณลูกค้าและแฟนคลับโป๊ปที่ให้การสนับสนุนเรามาโดยตลอด ซึ่งเบทาโกรจะยังคงมุ่งมั่นพัฒนาสินค้าให้ดียิ่งขึ้น เพื่อส่งมอบอาหารคุณภาพให้ถึงมือผู้บริโภค และสำหรับปีนี้เราจะมีแคมเปญใหม่ร่วมกับโป๊ปอีกแน่นอน ฝากทุกคนติดตามและสนับสนุนกันด้วยนะครับ”

 

 

บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน) สนับสนุนการรับซื้อข้าวจากชุมชน เพื่อกระจายรายได้สู่เศรษฐกิจท้องถิ่น ภายใต้แคมเปญ “ให้ข้าว = ช่วย”

สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะหนึ่งในองค์กรร่วมก่อตั้งหน่วยงานริเริ่มธุรกิจเพื่อสังคมแห่งประเทศไทย (Thailand Social Business Initiative : TSBI) ได้ริเริ่มกิจกรรมสนับสนุนการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร ภายใต้แคมเปญ “ให้ข้าว = ช่วย” เพื่อชักชวนภาคเอกชนในการรับซื้อข้าวจากเกษตรกร เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการระบายผลผลิตสู่องค์กรธุรกิจโดยตรง โดย บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมเป็นองค์กรริเริ่ม (Pioneer Organization) ในโครงการ และรับซื้อข้าวจากเกษตรกร จนถึงปัจจุบัน รวมจำนวน 10 ตัน

นายสมบุญ ฟูศรีบุญ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การร่วมสนับสนุนโครงการ “ให้ข้าว = ช่วย” นี้ได้รับแรงบันดาลใจจากการที่ทุกภาคส่วนในสังคมปัจจุบันมีความตื่นตัวในการส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น (Local Economy) เพื่อเป็นช่องทางให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชน โดยสนับสนุนการรับซื้อผลผลิตหรือสินค้าจากกลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มผู้ผลิตในระดับครัวเรือน สร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจต้นทาง ให้สามารถเชื่อมโยงเข้ากับห่วงโซ่เศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่เป็นตลาดปลายทาง ซึ่งก็ตรงกับนโยบายการดำเนินธุรกิจของนำสินประกันภัย หรือ NSI ที่ต้องการร่วมพัฒนาและเติบโตเคียงบ่าเคียงไหล่ไปกับชุมชน ไม่ใช่แค่เพียงการให้บริการรับประกันภัยให้กับผู้ประกอบการขนส่งและประชาชนทั่วไปเท่านั้น แต่เรามีจุดยืนในการดำเนินธุรกิจเพื่อทำให้ทุกชีวิตดีขึ้น”

ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า “กิจกรรมสนับสนุนการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรริเริ่มขึ้น ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี 2559 มีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยกระจายผลผลิตให้แก่ชุมชน ไม่เพียงแต่ในระยะสั้น แต่คำนึงถึงการใช้ประโยชน์ได้ทั้งปี และสำหรับฤดูการผลิตต่อๆ ไปด้วย เอื้อให้เกิดการจับคู่ระหว่างกลุ่มผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการในชุมชน กับกลุ่มผู้ซื้อที่เป็นองค์กรธุรกิจหรือผู้ประกอบการขนาดใหญ่”

กิจกรรมสนับสนุนการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรดังกล่าว ได้ยกระดับการดำเนินการไปสู่สินค้าและผลผลิตอื่นๆ เพิ่มเติม นอกเหนือจากข้าว และได้ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับชุมชน หรือ Community-Friendly Business โดยมีองค์กรสมาชิกในปัจจุบันรวม 32 ราย ทั้งนี้ องค์กรธุรกิจที่สนใจ สามารถเข้าร่วมโครงการและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.communityfriendly.biz

ใกล้ฤดูเลือกตั้งแล้ว เราจึงได้ยินคำหวานบ่อยขึ้น จากผู้ปกครองและบรรดานักการเมืองที่คิดจะเข้ามาชิงหรือขอแชร์อำนาจในการปกครองกับเขาบ้าง

"รัฐบาลของเราต่อไปจะต้องเป็นรัฐบาลของประชาชน" หัวหน้าพรรคการเมืองหลายพรรค รวมทั้งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน พูดออกอากาศ ในความหมายคล้ายคลึงกันนี้

ยิ่งประเทศมุ่งผลักดันการผลิตในภาคอุตสาหกรรมให้มีความเติบโตบนพื้นฐานการเล็งผลด้านเศรษฐกิจ เพื่อเป้าหมายการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้คนในประเทศให้อยู่ดีและมีสุขสภาวะแห่งความสุข แต่ยิ่งการผลิตยิ่งขยาย ตัวเลขรายได้ประชากรเพิ่ม ผลสืบเนื่องต่อมาอาจไม่ได้ให้คำตอบของเป้าหมายในปลายทางในด้านของการพัฒนาอย่างเป็นเอกฉันท์ 

ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นในระดับโลกที่ไม่อาจละวางไปจากสายตา ในขณะที่เราพยายามจะสร้างการพัฒนาด้วยการนำมาซึ่งเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้ดีขึ้น แต่ดูเหมือนในแต่ละก้าวของเราจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา 

บนเวทีเสวนาในหัวข้อ “เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องของเรา” ซึ่งจัดขึ้นในวันสิ่งแวดล้อมไทย 4 ธันวาคม 2561 ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล มีการพูดคุยถึงประเด็นหลักในเรื่องการขับเคลื่อนประเทศไทยบนเส้นทางใหม่ด้วยยุทธศาสตร์ที่ 5

ภายใต้เป้าหมายหลักอย่างยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีการนำเสนอมุมมองที่น่าสนใจจากหน่วยงานที่มีส่วนร่วมในการปลุกปั้นยุทธศาสตร์ที่ 5 ขึ้นมาเพื่อพัฒนาประเทศของเราให้ เติบโต สมดุล ยั่งยืน เป็นมิตรต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ชาติด้านที่ 5 : เติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เริ่มต้นด้วยภาพรวมเพื่อให้ผู้เข้าร่วมเสวนาได้เห็นภาพและเข้าใจหลักการของยุทธศาสตร์ที่ 5 โดย ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านที่ 5 ว่าด้วยการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้อธิบายในส่วนนี้ไว้ว่า “กระทรวงอุตสาหกรรมและสภาอุตสาหกรรมมีการทำ MOU เพื่อจะทำงานร่วมกันโดยมุ่งเป้าการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในประเทศ โดยยึดเอายุทธศาสตร์ชาติเป็นแกนหลักโดยมีการขอความร่วมมือจากหลายๆ ภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วม จนเป็นที่มาของ Factory 4.0 ซึ่งโครงการมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายอันประกอบไปด้วยเรื่องต่างๆ ได้แก่

  1. โรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการกระบวนการผลิต
  2. ชุมชนและ SMEs ที่ดูแลสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน และการลงทุนต่างๆ
  3. ควบคุมเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งเน้นให้โรงงานอุตสาหกรรมมีระบบที่ส่งผลลบต่อสิ่งแวดล้อมเท่ากับศูนย์ หรือ น้อยที่สุด
  4. ทรัพยากรบุคคล ให้ภาคการศึกษาเข้ามามีบทบาทในการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นหรือจัดทำ Big Data เพื่อนำมาวิเคราะห์แล้วนำมาพัฒนาประเทศต่อไป

บนเวทีเสวนาได้หยิบประเด็นที่ประเทศไทยซึ่งกำลังพัฒนาไปข้างหน้าโดยมีบริบทแวดล้อมที่แตกต่างไปจากอดีต ซึ่งแบ่งได้เป็นสองมิติใหญ่ๆ คือ

เรื่องเทคโนโลยีซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับ Climate Change ที่อาจจะมีความรุนแรงมากขึ้นอีก ดังนั้น เราจึงจำเป็นจะต้องมียุทธศาสตร์มาเป็นตัวชี้เป้าว่าประเทศเราในอีก 20 ปีข้างหน้านั้นมีเป้าหมายอย่างไรในภาพกว้าง ระหว่างนั้นก็สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการได้ เพื่อให้การพัฒนาสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องในโลกที่มีความ uncertainty อย่างมาก”

อุตสาหกรรม แล การสร้างความเติบโต

ทั้งนี้ บนเวทีเสวนามีการกล่าวถึง ประเด็นเรื่องการเติบโต ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเรื่องนี้ อภิจิณ โชติกเสถียร รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ระบุถึงแนวนโยบายที่จะถูกนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศไทยควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้กล่าวบนเวทีว่า “หากมองย้อนกลับไปในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยของเรามีการพัฒนาจากประเทศยากจนขึ้นมาได้ แต่ช่วงระยะเวลา 50 ปีให้หลังมานี้ จะเห็นว่าเราติดอยู่ที่เดิม เนื่องจากเราพุ่งเป้าไปที่การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมโดยที่ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ในอนาคต เข็มทิศและแนวทางของการพัฒนาอุตสาหกรรม เราได้กำหนด motto หรือคติพจน์ว่า เติบโต สมดุล ยั่งยืน โดยมีวิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์ที่ 5 ที่จะถูกนำมาใช้ในการผลักดันให้ประเทศมีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมดีที่สุดในอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2580 โดยให้ความสำคัญกับ 6 ประเด็นหลัก บนหลักการ 3 สร้าง : 2 พัฒนา : 1 ยก

3 สร้าง : สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว สร้างความเติบโตในภาคทะเล และสร้างความเติบโตที่เป็นมิตรกับภูมิอากาศ

2 พัฒนา : พัฒนาพื้นที่การเกษตร อุตสาหกรรมและชุมชนให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาแหล่งทรัพยากรและพลังงาน และ

1 ยก : ยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อกำหนดอนาคตประเทศไทย

ทั้งนี้กลยุทธ์สูตร 3:2:1 เหล่านี้จะตั้งอยู่บนเป้าหมายอยู่ 4 ข้อ คือ 1.การอนุรักษ์ไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ, สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมให้คนรุ่นหลัง 2.ฟื้นฟูผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นในอดีต 3.บริหารจัดการการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า และ 4.สรรหาเครื่องมือและวิธีการใหม่ๆ มาใช้ในการพัฒนา

ในประเทศอื่นมีการวางยุทธศาสตร์ชาติมานานมากแล้ว อย่างในญี่ปุ่นอาจจะมียุทธศาสตร์ระยะยาวถึง 50 ปี เขาจึงสามารถพัฒนาประเทศขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว ทั้งๆ ที่มีแหล่งทรัพยากรไม่มากและภูมิประเทศเป็นเกาะ ประเทศไทยจะถอยหลังไปแบบเดิมไม่ได้อีกแล้ว เราต้องก้าวไปข้างหน้า ในส่วนของผู้ประกอบการหรือภาคอุตสาหกรรมเองเราก็ต้องการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำเอาเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้โดยตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย เพื่อให้ประเทศก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางไปให้ได้ อย่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยสร้างและผลิตคนที่มีความรู้ความสามารถมาช่วยพัฒนาประเทศในอนาคตได้ อภิจิน โชติกเสถียร รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : บนมิติความยั่งยืน

ผู้ทรงคุณวุฒิอีกท่านบนเวทีเสวนา ดร.อัษฎาพร ไกรพานนท์ ผู้ตรวจราชการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมบอกเล่าและแบ่งปันแง่มุมของเรื่องสิ่งแวดล้อมบนมิติของความยั่งยืน ว่า “กิจการใดๆ ก็แล้วแต่ไม่ว่าเราจะทำอะไรล้วนแล้วแต่มีผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ในสถานการณ์การพัฒนาประเทศไทยเราจากอดีตที่เราเริ่มต้นจากการเป็นประเทศเกษตรกรรม ทำให้เกิดผลกระทบแรกต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงพื้นที่ โดยมีการบุกรุกพื้นที่ป่า เป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง ต่อมาก็พัฒนาเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม มีกิจการหลายๆ ประเทศย้ายฐานการผลิตมาที่ประเทศไทย ซึ่งแม้จะมีการจำกัดเขตนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตเศรษฐกิจพิเศษไว้ในบางพื้นที่ก็ตาม แต่ก็ต้องยอมรับว่าในระยะแรกๆ เราเน้นไปที่เรื่องการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมากนัก ทำให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตามมาหลายอย่าง ทั้งมลพิษปริมาณมากส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชน ทั้งเรื่องแหล่งน้ำ และอีกหลายระลอกของผลกระทบต่อมา เมื่อภาคอุตสาหกรรมมีความเติบโต ก็ทำให้การเติบโตทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โตตามไปด้วย มีความแออัดจากการอพยพเข้ามาอยู่ในเมืองมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมคล้ายกับการทำการเกษตร นั่นคือสูญเสียพื้นที่บางส่วนไปเพื่อใช้ในการพัฒนา รวมถึงส่งผลในเรื่องมลพิษขยะและน้ำเสีย ดังนั้น สามส่วนนี้ต่างก็ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมทั้งหมดแต่แตกต่างกันในเรื่องสัดส่วนและลักษณะของการพัฒนดำเนินงาน”

ดร.อัษฏาพร ยังได้เปิดเผยถึงแนวทางนโยบายเรื่องนี้ว่า “ จริงๆ เรามีนโยบายในการดูแลเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมานานแล้ว ซึ่งสืบเนื่องมาจากกระแสโลกในการประชุม Earth Summit 1992 (Rio) ซึ่งให้ความสำคัญในเรื่องของผลกระทบจากการพัฒนาเมืองในด้านต่างๆ ต่อสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยได้มีการออกพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งมาดูแลในภาพรวม ต่อมาในปี พ.ศ.2545 ก็มีการตั้งกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมขึ้นมาโดยมีนโยบายในการดูแลเรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมต่อเนื่องมาโดยตลอด

ในเรื่องกฎหมาย ดร.อัษฎาพร ได้กล่าวถึงการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งเพิ่มเติมไปจากเดิมในประเด็นของผู้ประกอบการว่า จากนี้ไปหากกิจการหรือกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ ถ้าดำเนินการสร้างไปก่อนโดยไม่ทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กฎหมายจะบังคับปรับถึงวันละ 100,000 บาท

นอกจากนี้ พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ในมาตรา 7 ที่กำลังจะมีการแก้ไขโดยอนุญาตให้ประชาชนปลูกไม้มีค่าต่างๆ ในขอบเขต 58 ชนิด จะสามารถตัดขายหรือใช้เป็นหลักประกันกู้ยืมเงินได้ นอกจากนี้ยังมีการประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) โดยการมองภาพรวมทั้งพื้นที่เพิ่มเข้ามาด้วย

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ เรื่องนวัตกรรม ซึ่ง ดร.อัษฎาพร ได้แสดงความคิดต่อวงเสวนาว่า “ถ้าเราสามารถสร้างนวัตกรรมได้เองที่สามารถนำมาใช้พัฒนา Circular Economy และ Bio Economy ก็จะทำให้เราสามารถยืนหยัดได้ด้วยขาของเราเองอย่างยั่งยืนได้”

พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม : สามประสานภาครัฐ เอกชน และประชาชน

ลดาวัลย์ คำภา อดีตรองเลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านที่ 5 เปิดประเด็นบนเวทีอภิปรายว่า

การที่เราจะบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้นั้น ไม่ใช่แค่อาศัยการทำงานจากภาครัฐแต่เพียงเท่านั้น ต้องมีการร่วมมือกันทั้งภาคเอกชนและประชาชนด้วย กล่าวง่ายๆ คือ การดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของเราทุกคน

นอกเหนือไปจากการบรรยายให้รายละเอียดของแผนและนโยบายต่างๆ ของงานยุทธศาสตร์ชาติซึ่งถือเป็นแผนหลักของประเทศอันดับหนึ่ง โดยมีแผนสองคือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมถึงแผนปฏิรูป แผนแม่บทและแผนเรื่องความมั่นคง ส่วนแผนสามคือแผนของหน่วยกระทรวงต่างๆ ซึ่งจะต้องมีการทำงานที่สอดคล้องกันทั้งหมด หากหน่วยงานไหนดำเนินการไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันอาจมีบทลงโทษและถูกฟ้องร้องได้ ภายใต้แผนทั้งหมดยังมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชนเพื่อนำมาปรับ เพราะต้องมีความร่วมมือระหว่างประชาชนและภาคเอกชนด้วยถึงจะทำให้ทำงานสำเร็จตามที่ตั้งเป้าเอาไว้

ลดาวัลย์ คำภา ได้กล่าวถึงเป้าหมายของความสำเร็จของยุทธศาสตร์ชาติ ที่กำหนดไว้ 4 ประเด็นสำคัญด้วยกัน คือ

1.สาระในยุทธศาสตร์ชาติต้องเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์จริงๆ

2.กลไกปฏิบัติ ในเบื้องต้นจะเริ่มจากภาครัฐ แล้วค่อยขยายไปภาคประชาชน

3.กฎหมาย ต้องมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัย

4.เป็นที่ยอมรับของสังคม โดยให้ทุกคนตระหนักและการยอมรับเป้าหมายร่วมกัน

ภายใต้การทำยุทธศาสตร์ทั้งหมด 6 ด้าน แบ่งเป็นแผนแม่บททั้งหมด 23 แผน โดยครอบคลุมเรื่องการเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การพัฒนาเมือง ระบบขนส่ง ค่านิยมวัฒนธรรม การสร้างความสุขและการบริหารจัดการ ซึ่งแผนที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ชาติโดยตรงคือแผนแม่บทที่ 18 และ 19 ซึ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งหมดล้วนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก “ ในอีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศของเรามีแนวโน้มเข้าสู่ Aging Society อย่างรวดเร็วกว่าในประเทศอื่นๆ เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญซึ่งอยู่ในยุทธศาสตร์ที่ 5 เช่นกัน นั่นคือ การปรับกระบวนทัศน์ในเรื่องของสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ในอดีตถ้าเราขับรถไปต่างจังหวัดอาจจะเห็นคนทิ้งขยะตามข้างถนนค่อนข้างเยอะ บางทีไปสร้างความเดือดร้อนให้รถคันอื่นบนท้องถนน ดังนั้น การปรับทัศนคติต่อเรื่องเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมีจิตสำนึกร่วมกัน เราต้องเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วย” คือคำกล่าวของ ลดาวัลย์ คำภา บนเวทีเสวนา เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องของเรา อีกหนึ่งเวทีที่เริ่มขับเคลื่อนการก้าวไปข้างหน้าบนแนวทางของยุทธศาสตร์ด้านที่ 5 ซึ่งจัดขึ้นที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ


เรื่อง บรรณาธิการ

ภาพ ภัทรวรรธน์ พงษ์บริพันธ์

Prida Tangtrongchit, a director of the Thai Traditional Medicine at Wat PhraChettuphon Wimon Mangkhalaram (Wat Pho), an expert and a highly-respected pharmacist in the Traditional Thai Medicine (TTM), had indicated there are only 126-128 listed species in the Thai’s Ancient Medicine Textbook and there is an awful lot more of kingdom of plants and animals’ species that has yet to be discovered.

‘Traditional Thai Medicine (TTM)’ is focused on ‘natural therapy’ where body and mind function in harmony. Disharmony between the two will bring a distress to the body and that will cause ailments’, said Prida. All in all, the different ingredients from ‘Traditional Thai Medicine’ are meant to bring a harmony to the body’s elements inherent from mother’s earth’s sources: earth, water, wind, fire. These four elements must be kept in balance and it is the basis for Thai traditional healing.

Also, there are three basic ways to classify medicinal herbs: those taken internally, applied externally, and inhaled. Many, though, fall under two or even all three of these classifications. Herbal drugs can have from two to as many as 40 different ingredients, which are also classified by species and medicinal attributes.

Prida also explained that Thai herbal medicine can be effectively used to build and enhance our immune system since it is nature-derived. And we can prove it through gene sequencing.

‘To eat well, to sleep well and to digest well will bring a harmony to life’, explained Dr. Prida.

‘Moreover, a harmony thus means that we (human and diseases) must live together in peace and will not trespass against each other. This is the way of the nature.

“And since nature is the creator of all things, she will always prevail”, said Prida.

Traditional Thai Medicine based its merits on ‘taste and flavor’ as having the healing properties through human’s sense, and where medicine be rendered in a variety forms of pill, dose, tablet, ointment, capsule, poultices, suppositories. Thai Traditional Medicine can also be used in forms of solutions by drinking teas, tonics, alcoholic macerates.

Thai cuisine has been famous for its flavors (as mentioned earlier that its merits on ‘taste and flavor’ as having the healing properties through human’s sense), is also known for its healing properties.

There are four basic flavors in Thai cooking—hot, salty, sweet, and sour. Restaurant or food street in Thailand are equipped with seasonings on the table while customers enjoy putting these seasonings from a little jar-pot of chilly, salt, sugar and lime to season their food according to their preferred tastes. Characteristic ingredients are fragrant lemon grass and lime leaves, hot spicy chilly, fish sauce and aromatic herbs. The different spices and herbal ingredients are meant to achieve a harmony of the body’s elements, serving as a proactive, a preventive and curative approach to heal symptoms and ailments.

For example: 1) A disharmony of the earth element may manifest as a disease of the organs, bones or muscles. 2) A disharmony of the water element may show symptoms such as urniary trouble, blood or lymph disease. 3) A disharmony of the air element may show as respiratory problems like bronchitis, dizziness, stiffness, arhtiritis. 4) A disharmony of the fire element may cause heart problems.

Thailand is located in the region known as ‘Indochina’ where it received medicinal knowledge from ancient countries from India and from China. From India, the ‘Ayurveda’ a combination discipline between arts and sciences, is based on maintaining a balanced flow of energy through meridians in the body also including the use of massage and herbal remedies. The Chinese has brought treatments like acupressure and acupuncture, as well a plethora of animal and herbal concoctions. Again, Chinese medicine and its treatments are based on the creation of harmony in human’s body (as Ying-Yang is the case in point).

Prida also said that Chinese medicine has undergone a rapid development after China became the ‘People’s Republic of China’ in 1949 due to the lack of access to world’s medicine after China closed its door to the world. China was pressured to invent new drugs to treat her people thus a research and development for Chinese medicine was heavily invested by the Chinese government to that effect.

Ancient Thailand must also have already been concocting Thai herbal remedies for healing. And through trial and error and through serendipity, ancient people in Thailand have found and learned the usefulness of herbal and animal properties to be used for healing ailments. Later on the settled farmers would systematically, through the obtained knowledge, begin to grow plant in their gardens for specific herbs and species. Thai Traditional Medicine thus has begun with ethno-practices having been performed by local healers, shamans, and midwives onwards. All in all, the practices have always been based on a holistic approach that focus on creating a ‘harmony’ from the four elements inherent from the Mother Earth’s sources (earth, water, wind, fire).

Prida said furthermore that traditional Thai medicine knows how to perform herbal concoctions to make active ingredients. Different species of herbs can also significantly be interchanged to make active ingredients.

As mentioned earlier, traditional Thai medicine recognizes herbal properties on the merits of taste or flavor since it is a primary consideration by flavor or taste that the healing properties of herbs are determined. Depending on its flavor or taste, herbs can increase a particular element and decrease others. Different tastes are as follows:

However, as it has mentioned earlier that Thai’s herbal medicine often places an emphasis on flavor and taste, the characteristic of these have somehow stalled a development of Thai herbs to move up to a higher stage.

We tend to lack the insight to really appreciate their undiscovered properties. ‘The lack to get to the insights of our herbal properties has created problems when ailments in our body have become drug-resistant, we need to look and study much more on this’, said Prida.

Last but not least, Prida quotes the famous saying from Shivago Komarpaj, the Ayurvedic practitioner who treated the Lord Buddha and is considered the father of Thai traditional medicine, ‘All plants are medicine’.

And as we have mentioned earlier that Thailand possess about 8-10% of micro-organisms of the entire world’s micro-organisms which creating kingdom of plants and animals, it is not an overstatement to say that Thailand’s biodiversity is the mother of all asset classes!.

X

Right Click

No right click