×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 813

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ขอนำเสนอรายการโครงการที่อยู่อาศัยที่ขายดีในรอบ 6 เดือนแรกของปี 2561 ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยที่น่าจะพัฒนา มีอนาคต และผู้ซื้อให้การต้อนรับมากเป็นพิเศษ

            อันดับที่ 1 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.567 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล G5: ลาดกระบัง มีจำนวน 41 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 64 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 27 หน่วย ยังเหลืออีก 14 หน่วย หรือเหลืออีก 34% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 76.3% ต่อเดือน

            อันดับที่ 2 ได้แก่ ทาวน์เฮาส์ ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.990 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล G2: พัฒนาการ มีจำนวน 30 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 90 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 27 หน่วย ยังเหลืออีกเพียง 3 หน่วย หรือเหลืออีก 10% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 72.1% ต่อเดือน

            อันดับที่ 3 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.529 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล F1: วิภาวดี-รัชดา มีจำนวน 625 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 1581 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 516 หน่วย ยังเหลืออีก 109 หน่วย หรือเหลืออีก 17% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 68.1% ต่อเดือน

            อันดับที่ 4 ได้แก่ บ้านเดี่ยว ที่มีระดับราคา 10.001-20.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 12.900 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล D1: สายไหม มีจำนวน 176 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 2270 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 17 หน่วย ยังเหลืออีก 159 หน่วย หรือเหลืออีก 90% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 68.0% ต่อเดือน

            อันดับที่ 5 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.693 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล D6: นวมินทร์ มีจำนวน 23 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 39 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 8 หน่วย ยังเหลืออีก 15 หน่วย หรือเหลืออีก 65% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 52.1% ต่อเดือน

            อันดับที่ 6 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.550 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล A2: บางขัน คลองหลวง มีจำนวน 952 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 1476 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 521 หน่วย ยังเหลืออีก 431 หน่วย หรือเหลืออีก 45% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 49.9% ต่อเดือน

            อันดับที่ 7 ได้แก่ บ้านแฝด ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 5.276 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล K6: วงแหวนรอบนอก-เพชรเกษม มีจำนวน 275 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 1451 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 167 หน่วย ยังเหลืออีก 108 หน่วย หรือเหลืออีก 39% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 49.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 8 ได้แก่ บ้านแฝด ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 4.900 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล K1: พระรามที่ 2 กม.1-10 มีจำนวน 28 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 137 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 26 หน่วย ยังเหลืออีกเพียง 2 หน่วย หรือเหลืออีก 7% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 46.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 9 ได้แก่ ทาวน์เฮาส์ ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.794 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล E1: หทัยราษฎร์ มีจำนวน 23 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 41 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 7 หน่วย ยังเหลืออีก 16 หน่วย หรือเหลืออีก 70% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 43.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 10 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.690 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล B3: แจ้งวัฒนะ มีจำนวน 1,655 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 2798 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 770 หน่วย ยังเหลืออีก 885 หน่วย หรือเหลืออีก 53% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 43.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 11 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 4.014 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล I1: พหลโยธิน มีจำนวน 1,166 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 4680 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 510 หน่วย ยังเหลืออีก 656 หน่วย หรือเหลืออีก 56% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 43.2% ต่อเดือน

            อันดับที่ 12 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 3.553 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล B3: แจ้งวัฒนะ มีจำนวน 145 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 515 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 66 หน่วย ยังเหลืออีก 79 หน่วย หรือเหลืออีก 54% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 42.2% ต่อเดือน

            อันดับที่ 13 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.460 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล E6: เจ้าคุณทหาร มีจำนวน 72 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 105 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 41 หน่วย ยังเหลืออีก 31 หน่วย หรือเหลืออีก 43% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 41.3% ต่อเดือน

            อันดับที่ 14 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.576 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล G1: รามคำแหง มีจำนวน 36 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 57 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 8 หน่วย ยังเหลืออีก 28 หน่วย หรือเหลืออีก 78% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 36.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 15 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 2.001-3.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.523 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล F5: รัชดา-ลาดพร้าว มีจำนวน 2,010 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 5070 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 1323 หน่วย ยังเหลืออีก 687 หน่วย หรือเหลืออีก 34% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 35.4% ต่อเดือน

            อันดับที่ 16 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 5.001-10.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 6.778 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล I1: พหลโยธิน มีจำนวน 2,107 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 14281 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 1209 หน่วย ยังเหลืออีก 898 หน่วย หรือเหลืออีก 43% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 35.0% ต่อเดือน

            อันดับที่ 17 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.486 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล F6: เทพลีลา-มหาดไทย มีจำนวน 96 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 143 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 40 หน่วย ยังเหลืออีก 56 หน่วย หรือเหลืออีก 58% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 32.9% ต่อเดือน

            อันดับที่ 18 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.826 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล L3: บางพลัด มีจำนวน 378 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 690 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 183 หน่วย ยังเหลืออีก 195 หน่วย หรือเหลืออีก 52% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 32.9% ต่อเดือน

            อันดับที่ 19 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 3.001-5.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 3.709 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล F1: วิภาวดี-รัชดา มีจำนวน 1,218 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 4518 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 554 หน่วย ยังเหลืออีก 664 หน่วย หรือเหลืออีก 55% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 32.7% ต่อเดือน

            อันดับที่ 20 ได้แก่ ห้องชุด ที่มีระดับราคา 1.001-2.000 ล้านบาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ยหน่วยละ 1.696 ล้านบาท ตั้งอยู่ในทำเล C2: ติวานนท์ มีจำนวน 139 หน่วย รวมมูลค่าการพัฒนา 236 ล้านบาท ในรอบ 6 เดือนล่าสุด (มกรา-มิถุนา 2561) ขายได้แล้ว 59 หน่วย ยังเหลืออีก 80 หน่วย หรือเหลืออีก 58% เฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งขายได้ถึง 31.5% ต่อเดือน

            อย่างไรก็ตามก็พึงระวัง หากแห่กันไปพัฒนาแบบเดียวกันก็อาจ "พากันลงเหว" ได้

ตลาดทุนและตลาดเงินของไทยในช่วงครึ่งหลังของปีต้องเผชิญความผันผวนที่เพิ่มขึ้นจากเงินทุนที่เคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การไหลออกของเงินทุนจากต่างประเทศ จากความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้า และสภาพคล่องที่ลดลงจากการใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้นของสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมและความผันผวนของค่าเงินบาทเพิ่มสูงขึ้น นักลงทุนและผู้ประกอบการจึงควรเตรียมรับมือ

หลังจากวิกฤติการเงินปี 2008 ธนาคารกลางใหญ่ๆ ทั่วโลกเลือกใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายโดยการลดดอกเบี้ยนโยบายจนอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และอัดฉีดสภาพคล่องผ่านโปรแกรม QE ทำให้เกิดสภาวะสภาพคล่องล้นตลาด นักลงทุนจึงเลือกที่จะเอาเงินไปลงในสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงสูงขึ้นเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น เกิดเป็นพฤติกรรม Search for Yields ทำให้มีเงินทุนจำนวนมากไหลเข้ามาในตลาดเกิดใหม่ ทั้งในพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชน และตลาดหุ้น ทำให้ spread ของหุ้นกู้เอกชนลดลง ในขณะที่ตลาดหุ้นปรับตัวสูงขึ้น โดย spread ของหุ้นกู้ BBB rating ของไทยลดต่ำลง จากที่ระดับกว่า 300bps ก่อนที่จะมีมาตรการ QE ในปี 2009 ลงมาอยู่ที่ระดับ 170bps หลังเฟดยกเลิกมาตรการ QE ในปี 2014 ในขณะที่ SET Index ก็ปรับเพิ่มขึ้นจาก 500 จุด ไปเป็น 1600 จุด

ดังนั้น ตอนนี้ธนาคารกลางที่เคยเป็นคนเพิ่มสภาพคล่องให้ระบบ กลายเป็นคนที่ดูดสภาพคล่องของระบบออกไป โดยการยกเลิกการทำ QE และเริ่มลดขนาดงบดุล ประกอบกับการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่ทำให้สินทรัพย์ของสหรัฐฯน่าดึงดูดมากขึ้น ทำให้ที่ผ่านมามีเงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะประเทศที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจด้านต่างประเทศยังไม่แข็งแกร่ง เช่น เงินสำรองระหว่างประเทศต่ำ ในขณะที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด อย่างเช่น อาร์เจนตินา บราซิล ตุรกี และอินโดนีเซีย ทำให้ค่าเงินอ่อนลงไปตั้งแต่6% ถึง กว่า 30% จากเงินทุนที่ไหลออกรุนแรง จนทำให้ประเทศเหล่านี้ ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดความกดดันจากค่าเงินที่อ่อนค่าจากเงินทุนไหลออกและเงินเฟ้อที่ทยอยปรับขึ้น

นอกจากจะได้รับผลกระทบจากนโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้นของเฟดแล้ว ตลาดเกิดใหม่เหล่านี้ก็ยังถูกกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน แม้ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงยังไม่ชัดเจนก็ตาม โดยหลังจาก Trump เริ่มประกาศสงครามการค้ากับจีนตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2561 มีเงินไหลออกจากตลาดหุ้นเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ค่อนข้างรุนแรง จนค่าเงินในตลาดเอเชียอ่อนค่าลงโดยเฉลี่ยกว่า 5%

สำหรับประเทศไทย แม้จะมีเสถียรภาพด้านต่างประเทศที่ดี เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง และเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ประกอบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้เงินทุนยังไม่ไหลออกรุนแรงเมื่อเทียบกับตลาดเกิดใหม่อื่นๆ แต่หากนับจากช่วงต้นปีนี้ ตลาดทุนและตลาดเงินไทยก็มีเงินไหลออกสุทธิรวมกันแล้วกว่า 8 หมื่นล้านบาท เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2016 และ ปี 2017 ที่มีเงินทุนต่างชาติไหลเข้าสุทธิกว่า 2.8 แสนล้านบาทโดยเฉลี่ยต่อปี  ที่ประเทศไทยมีเงินทุนต่างชาติไหลเข้าสุทธิมาโดยตลอด ทำให้ค่าเงินบาทผันผวนมาก โดยตั้งแต่ช่วงต้นปีจนถึงตอนนี้ เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 31.10 ถึง 33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และอ่อนค่าจากต้นปีแล้วกว่า 2.2%

ความผันผวนในตลาดทุนและตลาดเงินจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเฟดขึ้นดอกเบี้ยได้เร็วกว่าที่ตลาดมอง จากตลาดแรงงานที่ร้อนแรงขึ้น เมื่อความต้องการแรงงาน 6.7 ล้านตำแหน่งสูงกว่าจำนวนคนว่างงาน 6.1 ล้านคน กดดันให้เงินเฟ้อสูงขึ้นเร็วกว่าที่ตลาดคาด ซึ่งอาจทำให้เกิด market correction รุนแรง เงินทุนไหลออก มูลค่าสินทรัพย์ลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการเงินเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนมาก ดังนั้นทั้งนักลงทุนและผู้ประกอบการ จึงควรเตรียมป้องกันความเสี่ยงในอนาคต ไว้ด้วย

      ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย เปิดตัวซิตี้โกลด์ เวลท์ เซ็นเตอร์ เต็มรูปแบบแห่งแรกในประเทศไทย ณ ศูนย์การค้าเดอะคริสตัล วีรันดา เป็นธนาคารสาขาไร้เงินสด ศูนย์รวมบริการธนาคารดิจิทัลทั้ งด้านการเงิน และการลงทุน

     ดอน จรรย์ศุภรินทร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบุคคลธนกิจ ธนาคารซิตี้แบงก์  เปิดเผยว่า “ซิตี้โกลด์ เวลท์ เซ็นเตอร์”  ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการด้านการบริหารการลงทุนและเสริมสร้าง ความมั่งคั่งเป็นหลัก รองรับการให้บริการกลุ่มลูกค้าซิตี้โกลด์โดยเฉพาะ และจากความสำเร็จในการพัฒนาการให้บริการผ่านทางรูปแบบดิจิทัล  “ซิตี้โกลด์ เวลท์ เซ็นเตอร์” จึงได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนรูปแ บบการบริหารจัดการไปจากซิตี้แบงก์สาขาทั่วไป ที่จากเดิมให้บริการฝาก ถอน และแนะนำการลงทุนผ่านเคาน์เตอร์ มาเป็นการเน้นให้บริการในรูปแบบ นวัตกรรมดิจิทัลมากขึ้น โดยจะเป็นธนาคารสาขาไร้เงินสดที่อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมและให้คำปรึกษาการลงทุน การรับฝากหรือให้บริการถอนเงินสดลูกค้าสามารถทำได้โดยใช้บริการ ฝากและถอนเงินได้จากเครื่องอัตโนมัติทั้ง ATM และ CDM ที่ตั้งอยู่ภายในสาขา

     ที่นี่ยังเป็นศูนย์รวมบริการดิจิทัลเพื่อการลงทุน อาทิ ระบบโทเทิล เวลท์ แอดไวเซอร์   เครื่องมือวางแผนทางการเงินตามเป้าหมาย ที่ให้ลูกค้าสามารถตั้งเป้าหมาย ทางการลงทุนให้ตรงกับความต้องการสูงสุด และช่วยจัด และวิเคราะห์พอร์ตการลงทุนที่เหมาะสม  รวมถึงมี ระบบซิตี้ ฟันด์ เอ็กซ์พลอเรอร์ ระบบประเมินผลการดำเนินงาน และราคาย้อนหลังของกองทุนแต่ละตัว   ซึ่งจะให้มุมมองด้านการลงทุนข องลูกค้าแบบองค์รวม รวมไปถึงการให้บริการธุรกรรมผ่านทางวิดี โอคอล ภายใต้แอพพลิเคชั่นของซิตี้ แบงก์ ซึ่งแพลตฟอร์มใหม่นี้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมที่มีความปลอดภัยได้ แบบเรียลไทม์พร้อมกับตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้อีกด้วย

     ที่ซิตี้โกลด์ เวลท์ เซ็นเตอร์นี้ จะพลิกโฉมพนักงานประจำเคาน์เตอร์ในธนาคาร ให้เป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุนที่มีความเชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำใน การจัดพอร์ตการลงทุนของลูกค้า ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นแบบการปรับตัวครั้งใหญ่ของธนาคารในประเทศไทยจากแนวโน้มพฤติกรรมการใช้บริการในสาขาลดลง   โดยปัจจุบันการคัดเลือกที่ปรึกษาด้านการลงทุนของธนาคารซิตี้แบงก์ จะต้องผ่านมาตรฐานการมีความรู้ ความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง โดยธนาคารซิตี้แบงก์ร่วมมือกับสถาบันที่มีชื่อเสียงระดับโลก จัดตั้ง Citi Wharton Global Wealth Institute เพื่อพัฒนาที่ปรึกษาด้านการลงทุนของธนาคารฯ ทั้งนี้ ซิตี้ยังมีบทวิเคราะห์ ทางเศรษฐกิจและข้อมูลเชิงลึกในการลงทุนทั่วโลกเพื่อให้ คำแนะนำด้านการลงทุนแก่ลูกค้าอย่างดีที่สุด

     ดอนคาดว่า   “ซิตี้โกลด์ เวลท์ เซ็นเตอร์” จะสามารถ อำนวยสะดวกสบายให้กับกลุ่ มลูกค้าซิตี้โกลด์มากยิ่งขึ้น   ตลอดจนสามารถตอบสนองความต้องการของนักลงทุนและผู้ใช้บริการย่านกรุงเทพฝั่งตะวันออกและละแวกใกล้เคียง

ดอน จรรย์ศุภรินทร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบุคคลธนกิจ และวีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบุคคลธนกิจ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย

     วีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบุคคลธนกิจ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า ในปี 2560 ซิตี้แบงก์มีการปรับปรุงธุรกิจการบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) รวมถึงเปิดตัวแคมเปญ Citigold Wealth on Your Terms ซึ่งจะเหมาะกับการลงทุนของแต่ละบุคคล โดยมี Total Wealth Advisor  ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บริการวางแผนการลงทุนตลอดจนติดตามผลการลงทุนให้กับผู้ลงทุน  

     นอกจากนี้ เพื่อตอกย้ำถึงประสบการณ์ของลูกค้าที่จะมีได้รับจากบริการของซิตี้โกลด์  จึงมีการเปิดตัวแคมเปญการสื่อสารใหม่ ภายใต้แนวคิด  “Wealth on Your Terms” ได้แก่   Travelling the World, Securing A Bright Future   และ   Pursuing Your Passion เป็นแคมเปญที่ทางซิติ้แบงก์ ทั่วเอเชียแปซิฟิกนำเสนอเพื่อตอบสนองความต้องการให้แก่กลุ่มลูกค้า High Net Worth investor (HNW)  โดยแคมเปญนี้จะสะท้อนถึงศักยภาพของผลิตภัณฑ์การลงทุน การบริการตลอดจนเครื่องมือดิจิทัลต่างๆ ที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถวางแผน เป้าหมายการลงทุนตามความต้องการ ที่หลากหลายของแต่ละบุคคล พร้อมทั้งการนำเสนอสิทธิประโยชน์ใหม่ๆ ทั้งด้านการเดินทางและไลฟ์สไตล์ ให้แก่ลูกค้าอีกด้วย เช่น การได้รับสิทธิเป็นสมาชิก Marriott Club Member หรือการรับบริการรถลิมูซีนในการเดินทางเส้นทางยุโรป เป็นต้น  

    ปัจจุบัน ซิตี้แบงก์  มีบริการภายใต้กลุ่มงานการบริหารความมั่งคั่งหรือ Wealth Management ให้แก่ลูกค้านักลงทุน 2 กลุ่ม ได้แก่  ซิตี้ไพรออริตี้ เป็นลูกค้าที่มีสินทรัพย์กับธนาคารตั้งแต่ 1 ล้านบาท ถึง 5 ล้านบาท และ ซิตี้โกลด์ เป็นลูกค้า High Net Worth ที่มีสินทรัพย์กับธนาคารตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ทั้งนี้จากแนวการขยายฐานลูกค้าดังกล่าว ซิตี้แบงก์ตั้งเป้าหมาย จะสามารถเพิ่มจำนวนฐานลูกค้าในกลุ่มซิตี้โกลด์มากขึ้นกว่า 40% ในปี พ.ศ. 2560  อีกทั้งยังตั้งเป้าเติบโต เป็น 2 เท่า  ในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งจากแผนการรุกตลาดในกลุ่มนัก ลงทุนระดับสูงคาดว่าจะทำเงินลงทุนสุทธิ และสินทรัพย์ภาพใต้การจัดการ (AUM) เพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัวในปี พ.ศ. 2563   

กระทรวงอุตสาหกรรมนำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจการค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ และคณะนักลงทุนกว่า 300 ราย ลงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 

จุดพลุสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 130 ปี จับมือหน่วยงานเศรษฐกิจพร้อม ด้วยคณะผู้บริหารภาครัฐและเอกชน ระดับสูงจากญี่ปุ่นกว่า 500 ราย หารือแนวทางการยกระดับและสร้างอนาคตทางเศรษฐกิจครั้งประวัติศาสตร์ร่วมกัน เผยญี่ปุ่นให้ความสนใจในนโยบายไ ทยแลนด์ 4.0 พร้อมเตรียมให้การสนับสนุนการพั ฒนาEEC หรือ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทยด้วยกา รถ่ายทอดการประยุกต์เทคโนโลยีดิ จิทัลและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ยังได้เชิญชวนผู้ประกอบการ นักลงทุนจากไทยและญี่ปุ่นอีกกว่า 1,400 รายเข้าร่วมรับฟังโอกาสแห่งความ ร่วมมือของภาครัฐบาล ภาคเอกชนไทยและญี่ปุ่น ในการส่งเสริมและยกระดับการค้าการลงทุนของทั้งสองประเทศ

Page 6 of 7
X

Right Click

No right click