ในงานประชุมระดับโลกด้านเทคโนโลยีไร้สาย โมบายล์ เวิลด์ คองเกรส (MWC) หัวเว่ยต้อนรับผู้ให้บริการเครือข่าย พันธมิตรอุตสาหกรรม และผู้นำทางความคิดจากทั่วโลก ณ โซนจัดแสดง “Advance Intelligence” เพื่อหารือการผนึกกำลังด้านเครือข่าย-คลาวด์-เทคโนโลยีอัจฉริยะในอนาคต โดยหัวเว่ยมุ่งสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอัจฉริยะในหลากหลายอุตสาหกรรม พร้อมสร้างอีโคซิสเต็มอุตสาหกรรมให้เติบโต เร่งวงจรธุรกิจ 5G เชิงบวก พร้อมปูทางสู่ยุค 5.5G ที่กำลังจะมาถึง

บูธของหัวเว่ย ณ โถงจัดแสดง 1 ออกแบบเพื่อจำลองโลกดิจิทัลแห่งอนาคตพร้อมการเชื่อมต่ออัจฉริยะอย่างสมบูรณ์แบบ โดยโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของโลกอัจฉริยะในอนาคตจะได้รับการบูรณาการเพื่อตอบโจทย์ทุกด้านของชีวิต รวมถึงด้านอุตสาหกรรมและสังคม เนื่องจากศักยภาพของเทคโนโลยีทางด้านเครือข่ายจะต้องสอดรับกับ ความต้องการในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การใช้ชีวิตประจำวันของผู้คน ที่อยู่อาศัย ธุรกิจ และยานพาหนะ ได้ดียิ่งขึ้น ภายในงาน หัวเว่ยจัดแสดงผลิตภัณฑ์และโซลูชันแบบครบวงจรในรูปแบบ 5.5G, F5.5G และ Net5.5G ที่พร้อม ใช้งานในสถานการณ์หลากหลาย และมุ่งผนึกกำลังร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายระดับโลกและพันธมิตรในอุตสาหกรรม เดินหน้าเปิดวิสัยทัศน์ตอบรับทุกความท้าทายและโอกาส ปูทางสู่ความเป็นผู้นำระบบอัจฉริยะแห่งโลกอนาคต

ในปี 2556 ที่ผ่านมา หัวเว่ยได้เปิดตัวเครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์ทั่วโลกกว่า 300 เครือข่าย ให้บริการผู้ใช้งานมากกว่า 1,600 ล้านคน ในปัจจุบัน การพัฒนา 5G ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจำนวนผู้ใช้ 5G ทั่วโลกมีอัตราเติบโตสูงกว่าผู้ใช้ 4G ถึงเจ็ดเท่าในช่วงเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ ผู้ให้บริการเครือข่ายที่ใช้โซลูชันของหัวเว่ยยังครองอันดับ 1 ด้านประสบการณ์การใช้งานเครือข่าย จากการทดสอบประจำปี พ.ศ. 2566 ซึ่งจัดโดยองค์กรชั้นนำในเมืองสำคัญในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย และเนเธอร์แลนด์ หัวเว่ยยังมุ่งผนึกกำลังผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกและพาร์ทเนอร์เพื่อค้นหาโซลูชันที่มีนวัตกรรมล้ำสมัย ตอบสนองความต้องการที่สูงขึ้นด้านการใช้งานและการใช้ประโยชน์จาก 5.5G ในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งจากการทำงานร่วมกันทำให้สามารถสนับสนุนการทดสอบเทคโนโลยี 5.5G และการใช้งานเครือข่ายเพื่อขยายตลาด 5.5G ที่กำลังเติบโตได้

หัวเว่ยช่วยส่งเสริมผู้ให้บริการได้ตรวจสอบและทดสอบระบบ 5.5G เชิงพาณิชย์ในมากกว่า 20 เมืองทั่วโลก โดยภูมิภาคตะวันออกกลางได้ลงความเห็นเป็นเสียงเดียวกันในเรื่องการพัฒนา 5.5G โดยคณะมนตรีความร่วมมือรัฐ อ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council - GCC) ทั้ง 6 รัฐได้ทดสอบเครือข่าย 5.5G ที่อัตราความเร็ว 10 Gbps เสร็จสมบูรณ์ และเริ่มงานด้านบริการโซลูชันใหม่อย่าง RedCap และ IoT แบบ passive เป็นที่เรียบร้อย

ผู้ให้บริการเครือข่าย 3 รายใหญ่ในประเทศจีนต่างเริ่มใช้งานเครือข่าย 5.5G ในเมืองหลักเพื่อสำรวจบริการเครือข่ายที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างผู้คน สิ่งของ ยานพาหนะ อุตสาหกรรม และที่อยู่อาศัย โดยในฮ่องกงผู้ให้บริการทดสอบเครือข่าย 5.5G ในระดับความเร็ว 10 Gbps ในย่าน C-band และ mmWave เสร็จสิ้นและเริ่มให้บริการ 5.5G FWA แล้ว

ในยุโรป ผู้ให้บริการในประเทศฟินแลนด์สรุปผลการตรวจสอบเทคโนโลยี 5.5G เชิงพาณิชย์ โดยรายงานอัตราความเร็วสูงสุดที่สูงกว่า 10 Gbps และทำการทดสอบเทคโนโลยี IoT แบบ passive เสร็จสิ้น ในเยอรมนี ผู้ให้บริการที่ทำงานบนย่านความถี่ 6 GHz รายงานอัตราความเร็วสูงสุดที่ 12 Gbps โดยใช้เทคนิคแบบผู้ให้บริการหลายราย

นอกจากนี้ ในงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส หัวเว่ยได้เปิดตัวโมเดลพื้นฐานโทรคมนาคมรุ่นแรกของอุตสาหกรรม โดยโมเดลพื้นฐานนี้มอบการใช้งานอัจฉริยะตามบทบาทและตามสถานการณ์ เพื่อรองรับความต้องการของอุตสาหกรรม โดยเน้นบริการที่คล่องตัว รับรองประสบการณ์การใช้งานที่แม่นยำ ตลอดจนระบบการดำเนินงานและการบำรุงรักษา (O&M) ที่ทรงประสิทธิภาพทั้งโดเมน นอกจากนี้ยังเพิ่มศักยภาพการทำงานให้พนักงานของผู้ให้บริการและยกระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครือข่ายอย่างครอบคลุม

5.5G เชิงพาณิชย์จะเริ่มให้บริการในปีพ.ศ. 2567 หัวเว่ยตอกย้ำความมุ่งมั่นในการผนึกกำลังร่วมกับผู้ให้บริการ ทั่วโลกเพื่อยกระดับเครือข่าย 5.5G พร้อมมุ่งเป้าสร้างเครือข่ายที่ครอบคลุมและเปี่ยมประสิทธิภาพ โดยทำงานเชื่อมต่อกันทุกที่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีเสถียรภาพ และเป็นเครือข่ายอัจฉริยะที่สมบูรณ์แบบ เพื่อผลักดันให้ผู้ให้บริการส่งมอบประสบการณ์ใช้งานที่เหนือระดับ สร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมเพื่อนำการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอัจฉริยะไปสู่การใช้งานระดับลึกยิ่งขึ้น และนำเราเข้าสู่โลกอัจฉริยะได้อย่างรวดเร็วขึ้น

นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจองค์กรของหัวเว่ยจะเปิดตัวโซลูชันดิจิทัลอัจฉริยะใหม่สำหรับ 10 อุตสาหกรรม และทัพผลิตภัณฑ์เรือธงภายใต้หัวข้อ “โครงสร้างพื้นฐานชั้นนำเพื่อเร่งความอัจฉริยะทางอุตสาหกรรม” (Leading Infrastructure to Accelerate Industrial Intelligence) หัวเว่ยพร้อมร่วมมือกับลูกค้าและพาร์ทเนอร์ทั่วโลก เพื่อสำรวจนวัตกรรมใหม่และแนวทางปฏิบัติด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอัจฉริยะ นอกจากนี้ หัวเว่ยมุ่งมั่นเป็นพาร์ทเนอร์หลักที่น่าเชื่อถือเพื่อนำทางสู่การเปลี่ยนผ่านดิจิทัลแบบอัจฉริยะอย่างเต็มรูปแบบในอุตสาหกรรมต่าง ๆ

ในส่วนของกลุ่มอุปกรณ์สื่อสารสำหรับผู้บริโภค ของหัวเว่ย ได้จัดแสดงผลิตภัณฑ์เรือธงระดับไฮเอนด์ ล้ำหน้าด้านการออกแบบ และเทคโนโลยีอัจฉริยะภายในงาน โดยแบ่งเป็นโซนประสบการณ์ตามสถานการณ์ เช่น “การออกแบบสุดล้ำ” “การรังสรรค์ความงาม” และ “ฟิตเนสและสุขภาพ” มุ่งเน้นตัวอย่างโซลูชันของหัวเว่ยที่สอดรับกับชีวิตประจำวันด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำและสร้างประสบการณ์เหนือระดับตามรูปแบบสถานการณ์ กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์ของหัวเว่ยมุ่งมั่นลงทุนในนวัตกรรมเทคโนโลยีในปีพ.ศ. 2567 และสร้างประสบการณ์เหนือระดับสอดรับกับไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย ปรับเปลี่ยนได้เฉพาะบุคคลสำหรับผู้บริโภคทั่วโลก

งานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส (MWC) ครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 - 29 กุมภาพันธ์ ณ เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน โดยหัวเว่ยจัดแสดงทัพผลิตภัณฑ์และโซลูชันเรือธงใหม่ล่าสุด ที่บูธ 1H50 ใน Fira Gran Via Hall 1

การเปิดตัว 5.5G เชิงพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2567 หัวเว่ยร่วมมือกับผู้ให้บริการและพาร์ทเนอร์ทั่วโลกเพื่อค้นหานวัตกรรมใหม่ที่น่าตื่นเต้นในด้านเครือข่าย คลาวด์ และระบบอัจฉริยะ พร้อมร่วมกันขับเคลื่อนธุรกิจ 5G และส่งเสริมอีโคซิสเต็มอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต เพื่อผลักดันสู่ยุคใหม่ของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอัจฉริยะอย่างเต็มรูปแบบ โดยสามารถดูรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://carrier.huawei.com/en/events/mwc2024 

ขานรับสัญญาณส่งออกฟื้น ด้วยวงเงินสินเชื่อเต็มศักยภาพธุรกิจ พร้อมอัดฉีดสิทธิพิเศษเพิ่ม

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ยกระดับโครงการ UOB My Digital Space (MDS) มอบการศึกษาที่มีคุณภาพแก่นักเรียนขาดโอกาสกว่า 4,000 คน ขยายจาก 3 โรงเรียนสู่ 6 โรงเรียนใน 6 จังหวัดได้แก่กาญจนบุรี สุราษฎร์ธานี ขอนแก่น ชลบุรี พะเยา และลำปาง โครงการ UOB MDS เป็นโครงการหลักที่สนับสนุนด้านการศึกษาของกลุ่มธนาคารยูโอบี มีแผนดำเนินโครงการในระยะยาวเพื่อลดช่องว่างทางการศึกษาของเด็กที่ขาดโอกาสให้เข้าถึงโอกาสในการเรียนรู้ผ่านช่องทางดิจิทัล เพื่อเป็นเครื่องมือให้พวกเขาสามารถประสบความสำเร็จได้ในโลกดิจิทัล และพร้อมที่จะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของอาเซียนไปด้วยกัน โดยนอกเหนือจากการมอบห้องคอมพิวเตอร์และเครื่องมือการเรียนรู้ดิจิทัลวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โครงการ UOB MDS ได้ขยายไปสู่ความรู้ทางการเงินและการแนะแนวอาชีพ นับเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของยูโอบี ในการพัฒนาส่งเสริมเด็กและเยาวชนในอาเซียนให้พร้อมสำหรับเติบโตไปในอนาคต

นายตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “เพราะเทคโนโลยีได้กำหนดอนาคตแห่งการเรียนรู้ โครงการ UOB My Digital Space จึงมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนเด็กนักเรียนที่ขาดโอกาสให้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ด้วยการผสานเทคโนโลยีเข้ากับการศึกษา ที่จะช่วยพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่างๆ เพื่อให้เด็กพร้อมสำหรับอนาคต อาทิ การคิดเชิงวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และความรู้ทางดิจิทัล พร้อมปลูกฝังความรู้ทางการเงินที่เริ่มตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นของเราที่จะดูแลเคียงข้างชุมชนเพื่อพัฒนาผู้คนในอาเซียน ตอกย้ำบทบาทที่สำคัญของสถาบันการเงิน นับเป็นกลยุทธ์สำคัญการดำเนินงานของเราเพื่อให้แน่ใจว่าเยาวชนในวันนี้จะสามารถเติบโตได้ในระบบเศรษฐกิจอนาคต”

การขยายขอบเขตของโครงการ MDS นับเป็นการดำเนินงานที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการด้านการศึกษาในเวลาที่เหมาะสม ดังเช่นที่ปรากฏจากผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล หรือ PISA ปี 2565 ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) พร้อมชี้ให้เห็นว่าการริเริ่มการเรียนรู้แบบดิจิทัลหรือ e-learning ให้ประสบความสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของทรัพยากรด้านดิจิทัล การมีเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคที่เหมาะสม และความพร้อมใช้งานของแพลตฟอร์มการเรียนรู้

นางสาวกนกวรรณ โชว์ศรี ผู้อำนวยการโครงการร้อยพลังการศึกษา มูลนิธิยุวพัฒน์ กล่าวว่า “ปีนี้ โครงการ UOB My Digital Space ได้บูรณาการองค์ประกอบการเรียนรู้สำคัญเพิ่มเติมสำหรับนักเรียนอีก 2 วิชาได้แก่หลักสูตรการเงินออนไลน์เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีสุขภาพทางการเงินที่ดี และเครื่องมือการแนะแนวอาชีพ เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาตั้งเป้าหมายของตนเองให้เหมาะสมกับความสามารถและคุณค่าของชีวิตได้ ด้วยเครื่องมือดิจิทัลทั้งหมดนี้ทั้งในด้านวิชาการและทักษะชีวิต นักเรียนสามารถเข้าไปเรียนรู้บนระบบออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา

นอกจากเครื่องมือดิจิทัลแล้ว โครงการ MDS ยังมุ่งเสริมศักยภาพให้กับครูผู้สอนเพิ่มเติมในสาขาที่มีความต้องการสูงด้วยวิธีการสอนที่ทันสมัย นายประวิทย์ สิงห์เรือง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ่อพลอยรัชดาภิเษก จังหวัดกาญจนบุรี ยืนยันถึงผลกระทบในการเปลียนแปลงของโครงการ โดยสังเกตเห็นการพัฒนาที่ดีขึ้นเป็นสำคัญในการมีส่วนร่วมและประสิทธิภาพของนักเรียน อันเป็นผลมาจากทรัพยากรการเรียนรู้ดิจิทัลที่นักเรียนสามารถเข้าถึง

นายประวิทย์ สิงห์เรือง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ่อพลอยรัชดาภิเษก จังหวัดกาญจนบุรี หนึ่งในโรงเรียนใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนห้องเรียนรู้ดิจิทัล UOB My Digital Space กล่าวว่า “ก่อนหน้าที่เราจะได้รับการสนับสนุนจากโครงการ UOB My Digital Space นักเรียนต้องใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกันด้วยทางโรงเรียนมีคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ขอขอบคุณทางธนาคารยูโอบี ประเทศไทยที่ได้มอบห้องเรียนรู้ดิจิทัลให้กับทางโรงเรียน ซึ่งไม่เพียงแต่เด็กนักเรียนจะได้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์และวิชาเรียนดิจิทัลแล้ว นักเรียนยังได้เรียนกับครูรุ่นใหม่จาก Teach for Thailand อีกด้วย ซึ่งเราได้เห็นผลลัพธ์เชิงบวกที่เกิดขึ้นจากนักเรียนของเรา ที่พวกเขาต่างสนุกกับการเรียนรู้ในชั้นเรียนและมีผลการเรียนที่ดีขึ้น ในขณะเดียวกันยังสนับสนุนครูของเราในการเตรียมการสอนในชั้นเรียนได้ดีมีประสิทธิภาพขึ้น”

เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ ตอกย้ำ Brand essence “ประกันความรักคุณ” ในเดือนแห่งความรัก ชวนผู้บริหาร แชร์แนวคิดการทำงาน เพื่อให้พนักงานทุกฝ่ายได้เรียนรู้และเข้าใจรากฐานของธุรกิจที่มาจากความต้องการที่จะคุ้มครองสิ่งที่เรารักและให้ความสำคัญ ด้วยกิจกรรม “Everyday LOVE เพราะทุกความรักสำคัญเสมอ

 

โดยภายในงานได้รับเกียรติจากคณะผู้บริหารกลุ่มบริษัทเจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ อาทิ นางสาวสายฝน คงจิตต์งาม ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลและสนับสนุนองค์กร นางสาวช่อฟ้า ยุกตะนันท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดและบริหารลูกค้า กลุ่มบริษัท เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ พร้อมคณะผู้บริหารและพนักงานจากหลากหลายแผนกเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อร่วมแชร์แนวคิดการบริหารงานในด้านต่าง ๆ และตอกย้ำแนวคิดขององค์กรที่ให้ความสำคัญกับบุคคลากร ความหลากหลาย และความเท่าเทียม (DEI) โดยในงานได้มีการแชร์แนวคิด พูดคุยถึงที่มาของการพัฒนาสินค้าและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างการบริการลูกค้าให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ

โดยกิจกรรมนี้จัดขึ้นภายใต้โครงการ Lunch & Learn ที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้บริหารและพนักงานได้มาร่วมพูดคุย แชร์ความคิดเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ และแนวทางการทำงานในแต่ละแผนกในบรรยากาศที่เป็นกันเอง เมื่อเร็วๆ นี้ ณ เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ สำนักงานใหญ่

FWD ประกันชีวิต คว้ารางวัล Future Trends Awards 2023 ในสาขา Most Innovative Company รางวัลสำหรับองค์กรที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรม จากเวที Future Trends Ahead Awards 2024 การันตีศักยภาพความเป็นองค์กรที่นำนวัตกรรมมาใช้ในการขับเคลื่อนองค์กรทุกภาคส่วนด้วยเทคโนโลยีแบบครบองค์รวม ตั้งแต่การสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์และการบริการลูกค้า รวมไปถึงการสื่อสารแบรนด์ที่สร้างความแตกต่าง ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุด

นายเดวิด โครูนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประจำประเทศไทยและกัมพูชา บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ FWD ประกันชีวิต กล่าวว่า “นับเป็นอีกรางวัลแห่งความภูมิใจของ FWD ประกันชีวิต ที่ได้รับรางวัลองค์กรที่เป็นสุดยอดด้านนวัตกรรม หรือ Future Trends Awards 2023 สาขา Most Innovative Company หมวดธุรกิจประกันชีวิตและประกันภัย (Insurance & Assurance) จากเวที Future Trends Ahead Awards 2024 ที่จัดโดย Future Trends ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงการทำงานที่สม่ำเสมอในการนำนวัตกรรม และดิจิทัลมาใช้ทำงาน ตามแนวทาง “Digital by design” ที่เรานำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในทุกขั้นตอนการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานที่พร้อมตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันที โดยมีแนวทางการทำงานที่ยึดความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก หรือ customer led เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับลูกค้าของเรา”

ที่ FWD ประกันชีวิต นวัตกรรมและเทคโนโลยีถือเป็นส่วนสำคัญในการทำงาน เพื่อให้เข้าถึงความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด และทันเวลา เช่น การพัฒนา iFWD ช่องทางออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา ตามความสะดวกของลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าสามารถศึกษาข้อมูลประกันชีวิตที่เหมาะสมกับตัวเอง  โดยมีตัวช่วยสำคัญ Financial Need Analysis เพื่อแนะนำแบบประกันที่ตรงตามความต้องการที่แตกต่างกันไปของแต่ละคน ไปจนถึงบริการหลังการขายผ่าน Omne by FWD ซึ่งเป็น Mobile Application ที่สามารถดำเนินการชำระเบี้ยประกัน หรือเคลมประกันด้วยการประมวลค่าสินไหมผ่านระบบ AI ซึ่งมีความแม่นยำสูง ทราบผลได้อย่างสะดวกรวดเร็วผ่านหน้าจอมือถือของลูกค้า

“เรายังคงมุ่งมั่นสู่การเป็นบริษัทชั้นนำ พร้อมเดินตาม vision ที่ต้องการเปลี่ยนมุมมองของผู้คนที่มีต่อการประกันชีวิต ด้วยการทำให้ประกันเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ ไม่ยุ่งยาก สามารถเข้าใจได้ด้วยตัวเอง และเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกๆ คน  เรายังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พร้อมนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยขับเคลื่อนการทำงาน พร้อมสร้างความแตกต่างในอุตสาหกรรมประกันชีวิตเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับลูกค้าของเรา ” นายเดวิด กล่าวสรุป 


หมายเหตุ : *สื่อผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านเทคโนโลยี การตลาด และนวัตกรรมชั้นนำของประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้จัดงาน Future Trends Ahead & Awards 2024 ในรูปแบบของงานสัมมนาและงานมอบรางวัล ภายใต้แนวคิด Knowing The Future, Be The Winners of Tomorrow โดยรางวัล Future Trends Awards 2023 เป็นรางวัลที่ประกาศเพื่อเชิดชูความเป็นผู้นำแบรนด์ด้านต่างๆ ที่มีผลงานโดดเด่น ก่อให้เกิดคุณค่าต่อสังคมเป็นวงกว้าง

กรุงเทพประกันชีวิต ออกประกันสะสมทรัพย์ใหม่ ซื้อ 1 ได้ถึง 2 “กรุงเทพ สมาร์ท คิดส์” สนับสนุนทุกครอบครัวออมเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาลูก กับ 3 แบบประกัน ให้เลือกตามระยะเวลาคุ้มครองที่ต้องการ 15 ปี, 18 ปี และ 21 ปี ครบสัญญาจะได้รับเงินคืน 115%, 118% หรือ 121% ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมตามจริง พร้อมอุ่นใจกับความคุ้มครองพิเศษด้านอุบัติเหตุ และ 4 โรคร้ายแรงในเด็ก รวมทั้งคุ้มครองไปถึงคุณพ่อคุณแม่ที่เป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัย หากเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ลูกจะได้ยกเว้นการชำระเบี้ยประกันภัยและรับเงินก้อนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายยามฉุกเฉิน พร้อมมั่นใจได้ว่าลูกจะมีเงินทุนเรียนต่อจนจบการศึกษาเพราะครบกำหนดสัญญามีเงินก้อนคืนให้

นายโชน โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าที่บริหาร บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันการเลี้ยงดูบุตรตั้งแต่แรกเกิด จนเข้าสู่วัยเรียนและจบการศึกษาเป็นสิ่งที่ทุกครอบครัวตระหนักถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ไปจนถึงการคลอดบุตร และการเลี้ยงดูในแต่ละช่วงวัย ซึ่งค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียนมีการปรับตัวสูงขึ้นตามยุคสมัย โดยพบว่า *ค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาชั้นอนุบาล อายุ 4 – 6 ปี จะอยู่ระหว่าง 24,000 – 530,000 บาท/ ปี, ชั้นประถม อายุ 7 – 12 ปี จะอยู่ระหว่าง 26,000 – 668,000 บาท/ ปี , ชั้นมัธยม อายุ 13 – 18 ปี จะอยู่ระหว่าง 30,000 – 765,000 บาท/ ปี และระดับชั้นปริญญา อายุ 19– 22 ปี จะอยู่ระหว่าง 26,000 – 1,000,000 บาท/ ปี (*ข้อมูลค่าเทอมจากเว็บไซต์ของโรงเรียนต่าง ๆ ในประเทศไทย ปี 2566)

“จากตัวเลขดังกล่าว เราตระหนักได้ว่า หากทุกครอบครัวเริ่มต้นวางแผนทางการเงินที่ดีให้กับลูกตั้งแต่อายุน้อย จะช่วยสร้างความอุ่นใจทั้งในเรื่องทุนการศึกษาไม่ว่าจะเติบโตในช่วงวัยไหน โดยกรุงเทพประกันชีวิตได้ออกแบบประกันสะสมทรัพย์ใหม่เพื่อสนับสนุนให้ทุกครอบครัวได้สร้างวินัยในการออมเงินเพื่อเป้าหมายลูกน้อยในอนาคตกับ “กรุงเทพ สมาร์ท คิดส์” แบบประกันที่ตอบโจทย์สำหรับคุณพ่อคุณแม่ในการวางแผนเก็บเงินให้ลูกเพื่อเป็นทุนการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นชั้นมัธยมปลาย ปริญญาตรี หรือปริญญาโท”

“กรุงเทพ สมาร์ท คิดส์”  มีแบบประกันให้เลือกถึง 3 แบบ ตามระยะเวลาความคุ้มครองที่เหมาะสม  ประกอบด้วย กรุงเทพ สมาร์ท คิดส์ 15/9 ชำระเบี้ยประกันภัย 9 ปี คุ้มครอง 15 ปี เมื่ออยู่จนครบสัญญาจะได้รับเงินคืน 115% ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมตามจริง, กรุงเทพ สมาร์ท คิดส์ 18/12  ชำระเบี้ยประกันภัย 12 ปี  คุ้มครอง 18 ปี เมื่ออยู่จนครบสัญญาจะได้รับเงินคืน 118% ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมตามจริง และ กรุงเทพ สมาร์ท คิดส์ 21/15  ชำระเบี้ยประกันภัย 15 ปี คุ้มครอง 21 ปี เมื่ออยู่จนครบสัญญาจะได้รับเงินคืน  121%  ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมตามจริง สามารถสมัครได้ตั้งแต่แรกเกิด – อายุ 14 ปี และชำระเบี้ยประกันภัยคงที่เริ่มต้นเพียง 200 บาทต่อเดือน

“กรุงเทพ สมาร์ท คิดส์”  นอกจากช่วยสร้างวินัยการออมเงินแล้ว ยังได้รับความคุ้มครองพิเศษเพิ่มเติมที่หลากหลายและยังครอบคลุมสุขภาพของลูก อาทิ ความคุ้มครองด้านอุบัติเหตุด้วยวงเงินค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุสูงสุด 5 เท่าของเบี้ยรายเดือนต่อครั้งที่เข้ารักษา ความคุ้มครอง 4 โรคร้ายแรงในเด็ก ได้แก่ โรคไข้รูห์มาติก ที่ทำให้หัวใจผิดปกติ  โรคคาวาซากิ ที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนของหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคน้ำไขสันหลังในสมองมาก ซึ่งเกิดภายหลังและต้องใส่ท่อระบาย รับเงิน 50% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายและเพิ่มโอกาสในการรักษาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และยังเพิ่มความคุ้มครองให้กรณีพ่อหรือแม่ผู้ชำระเบี้ยประกันภัยเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน รับเงินทันที 50% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย โดยลูกจะยังคงได้รับความคุ้มครองของกรมธรรม์ต่อไปจนสิ้นสุดสัญญา

“จุดเด่นของแบบประกัน“กรุงเทพ สมาร์ท คิดส์” เป็นการซื้อ 1 ได้ถึง 2 คือ ได้ออมเงินให้ลูกได้มีกองทุนเพื่อการศึกษาตามที่ตั้งใจ ทั้งยังคุ้มครองผู้ชำระเบี้ยประกันภัย กรณีเกิดเหตุไม่คาดฝัน คุณพ่อคุณแม่ผู้ชำระเบี้ยประกันภัยเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ลูกจะได้ยกเว้นการชำระเบี้ยประกันภัย รวมทั้งยังจะได้รับเงินก้อนสำหรับเป็นค่าใช้จ่าย มั่นใจได้ว่าลูกจะมีเงินทุนเรียนต่อจนจบการศึกษา เพราะครบกำหนดสัญญามีเงินก้อนคืนให้ และสำหรับตัวลูกเอง คุณพ่อคุณแม่จะหมดกังวลกับค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเล็กๆน้อยๆ เช่น หกล้ม มีดบาด หรือเจ็บป่วยจากโรคร้ายแรง ตลอดจนยังมอบความคุ้มครองกรณีลูกเสียชีวิตทุกกรณี นอกจากนี้หากเสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะและสายตาจากอุบัติเหตุ รับเพิ่มอีก 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย” นายโชนกล่าว

พร้อมตั้งเป้าหมื่นล้านภายในปีนี้ ตอกย้ำความเป็นเบอร์หนึ่งพูลวิลล่าหรูแห่งภูเก็ต

ม.ศรีปทุม เผยประเทศไทยกำลังขาดกำลังคนสมรรถนะสูง 4 สาขาอาชีพ ได้แก่ วิศวกรระบบราง โลจิสติกส์ซัพพลายเชน การบินและคมนาคม การท่องเที่ยวและบริการ  หลังรัฐบาลเดินหน้าโครงการเมกะโปรเจกต์ เชื่อมโยงระบบ โลจิสติกส์ทั้งทางบก ราง น้ำ และอากาศ ของประเทศ รับเทรนด์เชื่อมระบบคมนาคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในอนาคตอันใกล้ จะมีความต้องการกำลังคนสมรรถนะสูง สนับสนุนเมกะโปรเจกต์กว่า 200,000 อัตรา ดัน 4 สาขาอาชีพ ได้แก่ วิศวกรรมศาสตร์ระบบราง โลจิสติกส์และซัพพลายเชน การบินและคมนาคม การท่องเที่ยวและบริการ เร่งปั้นบัณฑิตป้อนตลาดแรงงาน เป็นสายงานที่ไม่มีโอกาสตกงาน รับค่าตัวสูง หลังจบการศึกษามีบริษัทรอรับเข้าทำงานทันที หรือเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจ และอาชีพอิสระที่หลากหลายสาขา

ดร. รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเผยว่า จากการมุ่งหน้าขับเคลื่อนโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่(เมกะโปรเจกต์ ) ของรัฐบาล  ซึ่งครอบคลุม ทางบก ราง น้ำ อากาศ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศรวมถึงการเชื่อมโยงออกไปยังภูมิภาคตะวันออกและตะวันตก อาทิ โครงการพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่เริ่มพัฒนาไปก่อนหน้านั้น โครงการพัฒนาระบบรางเชื่อมโยงการขนส่งสาธารณะภายในประเทศและเชื่อมโยงออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง โครงการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ และการผลักดันประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศของภูมิภาค (Aviation Hub) โดยการปรับปรุงสนามบินหลักทั่วประเทศ ส่งผลให้ประเทศไทยมีความต้องการกำลังคนสมรรถสูงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ ด้านวิศวกรรมระบบราง ขนส่งและโลจิสติกส์ และการบิน เพิ่มสูงขึ้นราว 200,000 อัตรา ในอนาคตอันใกล้ จึงถือเป็นความสำคัญเร่งด่วนที่จะต้องเร่งผลิตออกสู่ตลาด ซึ่งบัณฑิตที่จบการศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องมีโอกาสได้งานและได้รับค่าตอบแทนสูง โดยการผลิตกำลังคนสมรรถสูง หรือแรงงานทักษะสูง  ให้ทันและเพียงพอต่อความต้องการของตลาด จะเป็นการเพิ่มประชากรรายได้สูงในประเทศ ส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจและสังคม ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยศรีปทุมเดินหน้าผลักดันให้ 4 คณะ ที่เกี่ยวข้องได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ โลจิสติกส์และซัพพลายเชน การบินและคมนาคม การท่องเที่ยวและบริการ เร่งพัฒนาบัณฑิตให้มีทักษะการทำงานพร้อมทำงานออกสู่ตลาดงาน

วิศวกรระบบรางเป็นที่ต้องการกว่า 20,000 อัตรา

ผศ.ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันสายงานระบบรางมีความต้องการแรงงานมากขึ้น เนื่องจากในช่วง 10 ปี การเดินทางได้พัฒนาเปลี่ยนผ่านจากรถไฟระบบเดิมเป็นระบบใหม่ รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้า  สายงานในระบบราง มีความต้องการบุคลากรมากกว่า 20,000 อัตรา ในตำแหน่งงานเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการทำงานด้านระบบราง การก่อสร้าง ติดตั้งระบบราง อาณัติสัญญาณ สถานี การควบคุมรถ บริการสถานี ซ่อมบำรุง และงานที่ใช้หลักการจัดการวิศวกรรม แม้เทคโนโลยีระบบรางมาแรง แต่เป็นสาขาใหม่สำหรับสถาบันการศึกษาของประเทศ ยังไม่มีมหาวิทยาลัยในประเทศ ที่ครอบคลุมเทคโนโลยีการเรียนการสอนครบทุกด้าน คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม จึงออกแบบการเรียนการสอน เชื่อมโยงเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และสถาบันต่างประเทศเกี่ยวข้อง ให้นักศึกษาได้ออกไปเรียนรู้ประสบการณ์จริงในสนามจริง อาทิ การไปเรียนรู้ปฏิบัติงาน กับเอกชนผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS MRT และ Airport rail link กับบริษัทเอกชนผู้รับเหมาระบบราง และส่งนักศึกษาไปเรียนเพิ่มเติมกับเจ้าของเทคโนโลยีที่ สถาบันระบบรางขนาดใหญ่ ณ เมืองหูหนาน ประเทศจีน เพื่อเก็บประสบการณ์จริงจากเจ้าของเทคโนโลยี โดยปัจจุบันทางคณะได้มีเปิดสอนสาขาระบบรางโดยตรง และยังเปิดเป็นวิชาเลือกให้นักศึกษาที่เรียน ในสาขาวิศวกรรม เครื่องกล ไฟฟ้า โยธา ได้เสริมวิชาชีพด้านระบบราง สำหรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม ไม่จำเป็นต้องจบสายวิทย์-คณิต ด้วยมหาวิทยาลัยมองว่า การเรียนรู้ไม่ควรจำกัดสาขา ทุกคนสามารถเรียนรู้ข้ามศาสตร์ได้

ธุรกิจโลจิสติกส์แนวโน้มเติบโต 200 เท่า ดันค่าตัวสูง

ผศ.ดร.ธรินี  มณีศรี คณบดีวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เปิดเผยว่า  วิทยาลัยได้เตรียมพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับ Mega Project ของภาครัฐมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งธุรกิจโลจิสติกส์มีแนวโน้มเติบโต 200 เท่า ส่งผลให้บุคลากรในสายอาชีพนี้มีค่าตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะการเปิดหลักสูตร “นักจัดการโลจิสติกส์มืออาชีพด้านสินค้าเกษตรและอาหารที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain)” ให้มีทักษะด้านการจัดการโลจิสติกส์ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อลดความสูญเสียของอาหาร (Food Loss) และลดขยะอาหาร (Food Wast) ที่เกิดจากการเก็บรักษา การขนส่งและการกระจายสินค้าไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ และเมื่อประเทศไทยเป็น “Aviation Hub” ความต้องการกำลังคนด้าน Cold Chain จะเพิ่มมากขึ้น เพราะเกิดการขนส่งสินค้าประเภทอาหารและสินค้าเกษตรจำนวนมหาศาลออกไปยังประเทศ ปัจจุบันมหาวิทยาลัย เปิดสอน ตั้งแต่ระดับ ปริญญาตรี โท และเอก ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ร่วมกับคณะบริหารธุรกิจ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยการท่องเที่ยวและบริการ เป็นต้น  นอกจากนี้ ยังเปิดหลักสูตรระยะสั้น (Non Degree) เพื่อเปิดโอกาสให้คนทำงานแล้วกลับมา Reskill/ Upskill  ในสายงานโลจิสติกส์ ที่ครอบคลุมตั้งแต่อาชีพนักจัดซื้อจัดหา นักควบคุมคลังสินค้าห้องเย็น นักวางแผนและจัดเส้นทางการขนส่ง ตัวแทนออกของ นักจัดการการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น พร้อมทำงานกับบริษัทโลจิสติกส์นำเข้าส่งออกชั้นนำ มากกว่า 200 แห่ง นอกจากนี้หลักสูตรยังสามารถบูรณาการการเรียนร่วมกับคณะการเป็นเจ้าของธุรกิจเพื่อให้ก้าวไปสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ได้ด้วย  ในสายงานโลจิสติกส์นี้มีความต้องการบุคลากร ราว 120,000 คน ในระหว่างปี 2564-2568  จึงเป็นโอกาสของนักศึกษาที่เรียนทางด้านนี้ จะได้ทำงานระหว่างเรียน และจบแล้วได้งานทันที

สายงานด้านการบินได้งานทันทีหลังสำเร็จการศึกษา

พลอากาศเอกพิธพร กลิ่นเฟื่อง คณบดีวิทยาลัยการบินและคมนาคม เปิดเผยว่า บุคลากรในสายวิชาชีพการบินเป็นที่ต้องการของตลาดกำลังคนสมรรถสูง อย่างมากทั้งในปัจจุบันและอนาคตด้วยปัจจัยเร่ง 2 ประการได้แก่ 1.เกิดความต้องการกำลังคนเร่งด่วนหลังจากลดช่วงโควิด การโดยสารและขนส่งเครื่องบินกับมาเดินเครื่องปกติทุกสายการบินมีแผนเพิ่มเที่ยวบิน โดยสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย อนุมัติให้ 8 สายการบินเพิ่มเที่ยวบิน 60 ลำตลอดปี 2567 2. รัฐบาลเดินหน้าโครงการเมกะโปรเจกต์ โดยเฉพาะแผนผลักดันเป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางวิทยาลัยฯได้เตรียมความพร้อมสร้างกำลังคนใน 6 สาขาอาชีพ คือ 1.การจัดการความปลอดภัยการคมนาคม 2.การจัดการสนามบินและสินค้าทางอากาศ 3.นักบินพาณิชย์ จบภายใน 4 ปี ได้รับใบรับรองและใบอนุญาตนักบินจากสำนักงานการบินพลเรือน เป็นนักบินได้ทันที  4. พนักงานอำนวยการเครื่องบิน วางแผนเส้นทางบิน (Fight Planning) 5.ผู้ควบคุมจราจรทางอากาศ โดยทุกหลักสูตรการเรียน 4 ปี พร้อมทำงานทันที ซึ่งปัจจุบันทุกสาขาบัณฑิตที่จบได้งานทำทันทีที่จบ  

ธุรกิจการบินและการท่องเที่ยวเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ผศ.ดร. อนุพงศ์ อวิรุทธา คณบดีวิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ กล่าวว่า  หลังจากสถานการณ์ Covid-19 คลี่คลายลง หลายประเทศได้ตระเตรียมมาตรการและการกระตุ้นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสร้างงานใหม่ในอุตสาหกรรม อาทิ นโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยว การลดค่าธรรมเนียมหรือภาษีท่องเที่ยว รวมไปถึงการลงทุนจากภาครัฐ ในโครงการ Mega Project ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง เชื่อมโยงทั้งทางอากาศ ทางบก ทางราง ทางน้ำ แบบไร้รอยต่อ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการเดินทางสู่แหล่งท่องเที่ยว ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศไทยที่ถูกจัดอันดับให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่น่าเดินทางไปเยือนมากที่สุดในโลก ที่ผ่านมาได้ผลิตบุคลากรคุณภาพเข้าสู่อุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย ยุโรป และอเมริกา ในสายการบินชั้นนำ โรงแรมระดับสากล และสายการเดินเรือสำราญขนาดใหญ่ระดับโลกที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว เช่น Princess, Dream Cruise และ Leisure American Line ก็มีศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาโดยตรงจากสาขาการบริการเรือสำราญทำงานอยู่ในเรือสำราญระดับโลก เหล่านี้อีกกว่า 100 คน

ทั้งนี้เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ และโครงการ Mega Project ของทางภาครัฐ และแผนผลักดันเป็น Aviation Hub ของภูมิภาค วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ ได้พัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างและพัฒนาให้นักศึกษามีความรอบรู้ทางด้านในอุตสาหกรรม โดยเชื่อมโยงการผลิตบัณฑิตร่วมกับภาคอุตสาหกรรมทั้งสายการบิน โรงแรม และเรือสำราญ ให้นักศึกษาได้เรียนกับตัวจริงและฝึกงานผ่านประสบการณ์จริงทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้นักศึกษามีความพร้อมในการทำงานและได้ทำงานทันทีที่เรียนจบ ด้วยค่าตอบแทนแรกเริ่มในอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วไป นอกจากนี้ยังได้เปิดหลักสูตรระยะสั้นที่ช่วยเพิ่มและพัฒนาทักษะที่สำคัญอื่น ๆ แก่ศิษย์เก่า และบุคลากรที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ เพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากรให้กับประเทศและตอกย้ำความเป็นผู้นำในการผลิตบุคลากรทางด้านการท่องเที่ยวและการบริการ

ระดมผู้บริหารระดับสูงเป็นโค้ช ร่วมกันสร้างสังคม “อยู่ดี มีสุข”  

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและคณะ พร้อมด้วย ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และผู้บริหาร EXIM BANK เข้าร่วมประชุมหารือกับสถาบันการเงินชั้นนำของฮ่องกง ในโอกาสเดินทางเยือนเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อสานสัมพันธไมตรีและหารือแนวทางการขยายความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่าง ๆ อาทิ การร่วมลงทุน (Co-financing) การจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) การระดมทุน (Debt Capital Market) การรับประกันสำหรับผู้ส่งออก (Export Insurance Business) บริการการค้าต่างประเทศ (Trade Finance) โอกาสในการใช้เงินหยวนเป็นเงินสกุลเงินกลางในการทำธุรกรรมในตลาดโลก (Yuan Settlement) การออกพันธบัตรสกุลเงินหยวน (Yuan Bond) พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Environmental, Social, and Governance : ESG) โดยมีนายซุน ยู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารแห่งประเทศจีน (ฮ่องกง)

 

นายหลิว ย่ากัน ประธานกรรมการและกรรมการบริหาร อินดัสเตรียล แอนด์ คอมเมอร์เชียล แบงก์ ออฟ ไชน่า (เอเชีย) ลิมิเต็ด หรือ ICBC (Asia)

 

และนาย เจฟฟี่ ไบ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารไชน่า ซีติก แบงก์ อินเตอร์เนชั่นแนล ให้การต้อนรับ ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อเร็ว ๆ นี้

X

Right Click

No right click