4 วัน ในค่ายวิศวะไฟฟ้า E-Camp เป็นประสบการณ์สนุกสนานและท้าทายของเหล่าเยาวชน จากกว่า 50 โรงเรียนทั่วประเทศ สู่โลกของวิศวกรรมไฟฟ้า จัดโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชมรม Electronics ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สวทช. และ NECTEC เพื่อให้น้อง ๆ นักเรียนมัธยมได้สัมผัสกับวิศวกรรมไฟฟ้ามากขึ้น ทั้งในทางทฤษฎีและทักษะการปฏิบัติ ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปัจจุบันทิศทางการพัฒนาของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทั้งความก้าวหน้าของนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาระบบสารสนเทศต่างๆ ทั้งนี้ รัฐบาลได้มีการส่งเสริมด้านการศึกษาเพื่อเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่โรงเรียนกับอุดมศึกษาจะต้องมีการเชื่อมต่อกัน พร้อมทั้งร่วมมือกับภาคเอกชน ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมต่าง ๆ ร่วมกันผลักดันการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาของเยาวชนให้เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกวันนี้และอนาคต ผนึกกำลังในการพัฒนาคนไทยคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน และสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศในบริบทโลก โดยเปิดสอนป.ตรี สาขาไฟฟ้ากำลัง และไฟฟ้าสื่อสาร ส่วนป.โท เปิดสอนไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิคส์ ( Electrical Engineering and Electronics) และ สถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture)

ศุภณัฐ วงศ์มิตรไมตรี (เมฆ) หนุ่มนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ประธานชมรมอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า กิจกรรม E-Camp คณะวิศวะมหิดลจัดต่อเนื่องตลอดมาเป็นปีที่ 19 แล้วครับ โดยปีนี้เปิดรับสมัครน้อง ๆนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 จาก 50 โรงเรียนใน กทม. และต่างจังหวัดทั่วประเทศ รวม 120 คน และผ่านการคัดเลือก จำนวน 60 คน โครงการมุ่งเน้นให้ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจให้น้องเยาวชนำประสบการณ์ไปใช้ในชีวิตประจำวันและการเลือกศึกษาต่อในอนาคตด้วย ระยะเวลาค่าย 4 วัน 3 คืน วันแรก เราได้ถ่ายทอดความรู้ เรื่อง “ไฟฟ้ารอบตัว” จากนั้นไปที่ Lab ไฟฟ้า เพื่อเรียนรู้เรื่องวงจรการต่อหลอดไฟ แล้วจับกลุ่มแบ่งทีมเพื่อทำความรู้จักกันครับ วันที่สอง เป็นกิจกรรมเรียนรู้เรื่องวงจรไฟฟ้า “Circuit” และ “Digital” จากนั้นลงมือปฏิบัติต่อแบบวงจรที่ Lab Digital วันที่สาม ทีมพาน้อง ๆ เดินทางไปซื้ออุปกรณ์แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่บ้านหม้อ ช่วงบ่ายกลับมาบัดกรีวงจรไฟฟ้า ส่วนวันสุดท้าย เป็นการเรียนรู้ Kidbright ซึ่งเป็นบอร์ดสมองกลฝังตัวประกอบด้วย เซนเซอร์พื้นฐาน มีจอแสดงผลแบบเรียลไทม์ มีลำโพง สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย นับเป็นบอร์ดวงจรที่พัฒนาขึ้นเพื่อกระตุ้นศักยภาพการคิดเชิงระบบและการคิดเชิงสร้างสรรค์ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมสันทนาการ ซึ่งในการทำกิจกรรมแต่ละหัวข้อ มีพี่ ๆ นักศึกษาวิศวะมหิดล 60 คน ประกบน้อง ๆ แบบ 1 ต่อ 1 อย่างใกล้ชิด ทำให้น้องได้เรียนรู้อย่างเต็มที่อย่างเป็นกันเองด้วยครับ

พรอิง สิริพิทยาวงศ์ (ต้องตา) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กล่าวว่า เทคโนโลยีไฟฟ้ามีความสำคัญต่อประเทศ เป็นพลังงานหล่อเลี้ยงชีวิต ธุรกิจอุตสาหกรรม อนาคตอยากเป็นวิศวกรค่ะ เพราะจะได้มีโอกาสสร้างสรรค์สิ่งดีมีประโยชน์แก่คนอื่นและเมืองที่เราอยู่ในหลายด้าน ปกติจะติดตามข่าวสารด้านวิศวกรรม นวัตกรรมใหม่ ๆ อยู่ตลอด ดีใจค่ะ ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วม ในโครงการ E-Camp ได้รับความรู้ใหม่ๆ ที่ในห้องเรียนไม่ได้สอน และได้ลงมือทำจริงๆ ได้เจอเพื่อนๆ จากหลายโรงเรียน มีพี่ ๆ วิศวะมหิดลคอยให้คำแนะนำ สนุกมากค่ะ ที่สำคัญได้ค้นหาศักยภาพของตัวเองในทางวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นการหาคำตอบให้ตัวเองด้วยว่าสิ่งไหนคือสิ่งที่เราชอบจริง ๆ ตอนนี้ได้คำตอบแล้วค่ะ ซึ่งหนูมุ่งมั่นที่จะศึกษาต่อทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และทำงานเป็นวิศวกรในอนาคตต่อไปค่ะ

รัชพล ช่วยไธสง (แต้ม) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กล่าวว่า โลกยุคดิจิทัลมีผลิตภัณฑ์มากมาย ซึ่งใช้วงจรไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เซ็นเซอร์อยู่รอบตัวเรา และคงจะพัฒนารวดเร็วยิ่งขึ้นในยุคการสื่อสาร 5G ที่กำลังมาถึง สนุกกับค่าย E-Camp มากครับ กิจกรรมที่ชอบที่สุดคือ การต่อวงจรหลอดไฟ เพราะทำให้ผมรู้สึกทึ่งว่าเราทำได้ ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยมีความรู้ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์มาก่อน โดยมีพี่นักศึกษาช่วยให้คำแนะนำ เมื่อได้มาเข้าค่ายครั้งนี้ทำให้ผมได้มีมุมมองใหม่ๆ รู้สึกว่าโลกนี้มีหลากสีสันที่น่าสนใจ และไม่ได้ยากอย่างที่เราคิด พร้อมกับได้รับความรู้และประสบการณ์ที่ดี จริงๆ แล้ว เด็กไทยเรามีศักยภาพที่จะพัฒนาไปไกล เพียงแต่ขาดโอกาสที่จะเข้าถึง กิจกรรมนี้ช่วยเปิดโลกแห่งการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ

 “กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร-KKP" มุ่งขยายพอร์ตสินเชื่อ 7-9% พร้อมควบคุมคุณภาพหนี้ ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว เผยครึ่งปีหลัง 2562 สินเชื่ออสังหาฯ เอสเอ็มอี และรายย่อยเติบโตเกือบทุกประเภท ด้านตลาดทุนยังแกร่ง อาศัยโมเดลธุรกิจหลากหลาย รักษารายได้ในสภาวะตลาดผันผวน ธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์ครองมาร์เก็ตแชร์อันดับหนึ่ง ด้านธุรกิจ Wealth Management และธุรกิจจัดการกองทุน รับเงินลงทุนเพิ่มจากลูกค้าส่งผลให้มี AUA (Asset Under Advice) ร่วม 6 แสนล้านบาท เป็นผลจากผลิตภัณฑ์หลากหลายและบริการลงทุนในต่างประเทศช่วยตอบโจทย์นักลงทุนช่วงตลาดหุ้นไทยซบเซา ในขณะที่ทีมวิจัยบล.ภัทร เชื่อจีดีพีเติบโตลดจาก 2.8% เหลือ 2.2% จากเหตุไวรัสโคโรน่า ภัยแล้ง และความล่าช้าของพรบ.งบประมาณ

 Image preview

นายอภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร  เปิดเผยว่า

“ปี 2562 ที่ผ่านมามีปัจจัยภายนอกที่ทำให้เศรษฐกิจเกิดความผันผวนหลายประการ เช่น สงครามทางการค้าระหว่างจีน-สหรัฐ แต่ผลประกอบการของกลุ่มธุรกิจฯ ถือว่าออกมาในระดับที่น่าพึงพอใจ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากกําไรสุทธิ และกำไรเบ็ดเสร็จที่รวมผลจากการวัดมูลค่าหลักทรัพย์เผื่อขายของธุรกิจตลาดทุน เพราะธุรกิจฝ่ายตลาดทุน หลายส่วนได้รับประโยชน์จากความผันผวนในตลาด เช่นธุรกิจการลงทุนของฝ่ายค้าหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Equity and Derivatives Trading) นอกจากนั้น ส่วนอื่นๆ ของธุรกิจตลาดทุนก็ทำได้ดีเช่นกัน เช่น ธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าสถาบัน ที่บล.ภัทร ครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 ในปีที่ผ่านมา ธุรกิจวานิชธนกิจ ที่มีธุรกรรมรายการใหญ่หลายรายการ อาทิ AWC และธุรกิจ Wealth Management และธุรกิจจัดการกองทุน ซึ่งปัจจุบันมีสินทรัพย์ภายใต้คำแนะนำหรือการจัดการ (Asset Under Advice: AUA) ร่วม 6 แสนล้านบาท และเติบโตขึ้นมาจากปีก่อนหน้า ประมาณ 1 แสนล้านบาท จากความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบริการการลงทุนในต่างประเทศ หุ้นกู้อนุพันธ์รูปแบบต่างๆ หรือแม้กระทั่งสินทรัพย์นอกตลาด (Private Markets) ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในสภาวะที่ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนต่ำ”

 

ด้านนายฟิลิป เชียง ชอง แทน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) (Philip Chen Chong Tan, President, Kiatnakin Bank Plc.) ได้กล่าวถึงผลการดำเนินงานในส่วนของธุรกิจธนาคารพานิชย์ว่า

“สินเชื่อของธนาคารสําหรับปี 2562 มีการขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 จากสิ้นปี 2561 โดยมาจากการขยายตัวในสินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี และสินเชื่อรายย่อยเกือบทุกประเภท ยกเว้นสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่มีการ หดตัวในปี 2562 ตามยุทธศาสตร์การกระจายความเสี่ยงของธนาคาร และสินเชื่อบรรษัท ซึ่งมีการจ่ายหนี้คืนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 ยิ่งกว่านั้น ผลจากการพัฒนาระบบคัดกรองสินเชื่อและติดตามเร่งรัดหนี้ ยังทำให้ธนาคารสามารถควบคุมคุณภาพสินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมจากร้อยละ 4.1 เมื่อสิ้นปี 2561 มาเป็นร้อยละ 4.0 ณ สิ้นปี 2562 ทั้งนี้ การเติบโตอย่างมีคุณภาพของสินเชื่อในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวในระยะเวลาที่ผ่านมา ทำให้ธนาคารเชื่อว่าแม้จะมีปัจจัยท้าทายทางเศรษฐกิจหลายประการ แต่ภายใต้ระบบการดำเนินงานภายในที่ได้พัฒนาขึ้น จะส่งผลต่อเนื่องทำให้สินเชื่อของธนาคารสามารถเติบโตได้ในช่วงร้อยละ 7-9 สำหรับปี 2563”

 

นายปรีชา เตชรุ่งชัยกุล ประธานสายการเงินและงบประมาณและประธานสายตลาดการเงิน ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ให้รายละเอียดผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 4 ปี 2562 เปรียบเทียบกับงวดไตรมาส 4 ปี 2561 ว่า

“กลุ่มธุรกิจฯ มี กําไรสุทธิ ไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเท่ากับ 1,680 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 จากงวดเดียวกันของปี 2561 เป็นกําไรสุทธิของธุรกิจตลาดทุน ซึ่งดําเนินการโดยบริษัท ทุนภัทร จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย จํานวน 310 ล้านบาท มีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ จำนวน 3,118 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 จากงวดเดียวกันของปีก่อน ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ อยู่ที่ 1,250 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.8 จากงวดเดียวกันของปีก่อน และรายได้อื่น 642 ล้านบาท รวมเป็นรายได้จากการดำเนินงานทั้งสิ้น 5,010 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 จากงวดเดียวกันของปี 2561 ทางด้านสินเชื่อของธนาคารสําหรับปี 2562 มีการขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 จากสิ้นปี 2561 โดยมาจากการขยายตัวใน สินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี และสินเชื่อรายย่อยเกือบทุกประเภทยกเว้นสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่มีการหดตัวในปี 2562 ในด้านคุณภาพของสินเชื่อ อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม ณ สิ้นปี 2562 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 ปรับ ลดลงจากสิ้นปี 2561 ที่อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) คํานวณตามเกณฑ์ Basel III ซึ่งรวมกําไรหลังหักเงินปันผลจ่ายครึ่งแรกของปี 2562 อยู่ที่ร้อยละ 16.60

 

โดยเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับร้อยละ 12.88 แต่หากรวมกําไรถึงสิ้นไตรมาส 4/2562 หลังหักเงินปันผลจ่ายครึ่งแรกของปี 2562 อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงจะเท่ากับร้อยละ 17.83 และเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับร้อยละ 14.11”

 

สำหรับการประเมินสภาวะเศรษฐกิจของปี 2563 ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ และหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน)  ได้ให้มุมมอง ดังต่อไปนี้

“บล.ภัทร ประเมินว่าสำหรับปี 2563 แม้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น ตามวงจรเศรษฐกิจและการส่งออกที่เริ่มส่งสัญญาณดีขึ้น แต่แนวโน้มเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยก็ยังมีความเสี่ยง บล. ภัทร ได้ปรับประมาณการการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2563 จาก ร้อยละ 2.8 เหลือร้อยละ 2.2 จากสามปัจจัยเสี่ยงหลักคือ (1) การระบาดของไวรัสโคโรน่าที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการท่องเที่ยว (2) ความล่าช้าของกระบวนการงบประมาณที่ส่งผลกระทบต่อการเบิกจ่ายงบประมาณ และ (3) วิกฤตภัยแล้ง

(1) การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน มีความรุนแรงขึ้น จนนำไปสู่การห้ามการเดินทางออกนอกประเทศของนักเดินทางแบบกรุ๊ปทัวร์ของจีน และอาจจะมีผลกระทบต่อเนื่องต่อจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาเอง และนักท่องเที่ยวชาติอื่นๆที่เดินทางมาไทย ในปี 2562 การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวในประเทศมีสัดส่วนเป็นกว่าร้อยละ 12 ของจีดีพี และนักท่องเที่ยวชาวจีนคิดเป็น 28% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติ (ทั้งในแง่จำนวนคนและปริมาณการใช้จ่าย) หากยังไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ ก็อาจนำไปสู่ผลกระทบที่มากขึ้นต่อการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภายในประเทศ นอกจากนี้ อาจมีผลกระทบจากการลดลงของการจ้างงานหรือรายได้ในภาคบริการด้วย

(2) ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2563 ประสบกับความล่าช้า และต้องรอการวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญ ปัจจุบัน ร่าง พรบ. นี้ล่าช้าไปแล้วถึง 4 เดือน และอาจต้องเลื่อนเวลาใช้บังคับออกไปอีก ในช่วงที่ผ่านมา การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายปรับลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนอย่างมีนัยสำคัญ หากมีความล่าช้าออกไปอีกจะกระทบต่อเศรษฐกิจจากเม็ดเงินที่ไม่ถูกฉีดเข้าสู่ระบบตามที่ควรจะเป็น

(3) วิกฤตภัยแล้งที่หนักสุดในรอบหลายปีของประเทศไทย เนื่องมาภาวะฝนแล้งจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ในปีที่ผ่านมา จนระดับน้ำในแหล่งเก็บน้ำสำคัญอยู่ในระดับที่น่ากังวล คาด

ว่าภัยแล้งครั้งนี้จะทำให้ผลผลิตภาคการเกษตรลดลง และภาคอุตสาหกรรมอาจต้องลดปริมาณการผลิตเพื่อประหยัดน้ำ และรับต้นทุนของวัตถุดิบและการบริหารน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนั้น ผลกระทบในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม ยังอาจกระทบถึงธุรกิจเกี่ยวเนื่องและนำไปสู่การใช้จ่ายที่ชะลอตัวลง จนอาจส่งผลต่อปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง

ทั้งนี้ บล. ภัทร คิดว่ามีความจำเป็นต้องใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งผ่านนโยบายการคลังและนโยบายเงิน เพื่อพยุงเศรษฐกิจจากปัจจัยเสี่ยงระยะสั้นเหล่านี้ โดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี”

การ์ทเนอร์ระบุถึงแนวโน้มเทคโนโลยีที่สำคัญซึ่งจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอนาคต

ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ให้การต้อนรับ น.ต.ศรายุทธ พัฒนศักดิ์ นายกสมาคมกีฬายิมนาสติกแห่งประเทศไทย และนักกีฬายิมนาสติกแห่งประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะขอบคุณและรายงานผลการแข่งขันกีฬาในฐานะที่ธนาคารออมสินเป็นผู้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานจนได้รับเหรียญรางวัลจากการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 30 ณ ประเทศฟิลิปปินส์ โดยคว้ารางวัล 1 เหรียญทอง 5 เหรียญเงิน และ 2 เหรียญทองแดง นอกจากนี้ยังได้แสดงความยินดีกับ น้องมิลค์ วรรรญา วรรณผ่อง ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน ในการแข่งขันรายการบังคับโดรนชิงแชมป์โลกบุคคลหญิง "FAI WORLD DRONE RACING CHAMPIONSHIPS 2019" ที่เมืองหนิงโป ประเทศจีน

ทั้งนี้ธนาคารได้มอบสลากออมสินพิเศษ เพื่อแสดงความยินดีและเป็นกำลังใจให้กับนักกีฬาทุกคนประสบความสำเร็จในการแข่งขันกีฬาในระดับที่สูงขึ้นต่อไป ณ หอประชุมเพชรรัตน ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็วๆนี้ 

AIS PLAY ตอกย้ำความเป็นผู้นำอันดับ 1 VDO Platform รายเดียวที่มีครบทุกความบันเทิงระดับโลกทั้ง ถ่ายทอดสดความบันเทิง, ทัวร์นาเมนต์, อีเว้นท์สำคัญทั้งไทยและต่างประเทศ ศูนย์รวมความบันเทิงสุดเอ็กซ์คลูซีฟเพื่อคนไทย

ชมไอเดียเจ๋ง เยาวชนค่าย “CREATIVE AI CAMP by CP ALL” ปีที่ 2

ดึง AI พัฒนาคุณภาพชีวิต ตอบโจทย์ความยั่งยืนตามเป้า UN

 

นอกจากให้เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มข้นแล้ว ค่าย CREATIVE AI CAMP ปีที่ 2 ภายใต้แนวคิด I AM AND AI FOR I AM” ซึ่งจัดขึ้นโดย บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่นในประเทศไทย และพันธมิตร ยังให้เด็กๆ ทั้ง กลุ่ม ได้สร้างสรรค์ไอเดียการนำ AI มาสร้างประโยชน์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs)ขององค์การสหประชาชาติ (UN) รวมถึงรองรับปัญหาสำคัญๆ ของโลก เช่น สังคมผู้สูงอายุ ด้วย

 

หลังจากทั้ง 8 กลุ่มได้สร้างสรรค์ไอเดียการใช้ AI พัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งการขจัดความหิวโหย (Zero Hunger) การจัดการพลังงาน การศึกษา คณะกรรมการได้คัดเลือกผลงานยอดเยี่ยม กลุ่ม เป็นผลงานชนะเลิศ ได้แก่ 1.กลุ่ม Salut กับไอเดีย AI ตอบโจทย์ด้านการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health & Well Being2.กลุ่ม Pimmium กับ AI ที่มาช่วยให้ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษา และ 3.กลุ่ม Move On เป็น While Loop ที่มาช่วยให้ชุมชนมีโอกาสในการขายสินค้า OTOP มากขึ้น

 

น้องปริม-ณัฐกฤตา ฟองคำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ร.ร.ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ตัวแทนจากกลุ่ม Salut เล่าว่า ในด้าน Good Health & Well Being และการแพทย์นั้น เริ่มมีการนำ AI เข้ามาใช้บ้างแล้ว เช่น การใช้ AI รักษามะเร็งเฉพาะจุด แต่สำหรับไอเดียของกลุ่มเธอคือการพัฒนาแอปพลิเคชันที่เข้ามาช่วยดูแลเรื่องโภชนาการให้แก่ผู้ใช้ ทั้งการเป็นสแกนเนอร์ที่สามารถบอกได้ว่า สินค้าอาหารชนิดดังกล่าวมีคุณค่าทางโภชนาการอย่างไร แล้วมาประมวลผลกับโรคที่ผู้ใช้เป็นอยู่ ว่าสามารถรับประทานได้หรือควรหลีกเลี่ยง หากต้องหลีกเลี่ยง ควรรับประทานสินค้าอาหารที่คล้ายคลึงกันชนิดใดแทน ตัวแอปยังมี AI Chatbox ให้ผู้ใช้ปรึกษาปัญหาด้านโภชนาการและสุขภาพได้ เสมือนมีนักโภชนาการส่วนตัว

 

AI ไม่ใช่เรื่องไกลตัว เป็นเรื่องใกล้ตัวเรามาก สิ่งสำคัญคือต้องเข้ามาสัมผัส เรียนรู้ เปิดใจ และลองศึกษา หนูเองก็มีความรู้เริ่มจากศูนย์ คือเคยเป็นเพียงผู้ใช้เท่านั้น ค่ายนี้ทำให้มีโอกาสได้เรียนรู้เรื่อง AI อย่างลึกซึ้ง อย่างที่ไม่มีใครคอยสอนในชีวิตประจำวัน จนสามารถต่อยอดเป็นไอเดียเหล่านี้” ตัวแทนจากกลุ่ม Salut กล่าว

 

ด้านน้องมิ้ม-ธรารสิริ ไพบูลย์วัฒนกุล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ร.ร.ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ตัวแทนจากกลุ่ม Pimmium เล่าถึงไอเดีย AI สร้างสรรค์ของกลุ่มว่า คือการพัฒนาเกมด้านการศึกษา เพื่อสร้างชุมชนด้านการศึกษาอย่างยั่งยืน โดยตัวเกมจะมี Machine Learning เข้ามาช่วยจัดหมวดหมู่ความรู้ และทดสอบความรู้ของผู้เล่นว่าอยู่ในระดับใด จากนั้น AI จะพัฒนาเกมระดับถัดไปขึ้นมา โดยอิงจากความสามารถของผู้เล่นและเกมระดับก่อนหน้า เพื่อให้ผู้เล่นค่อยๆ เกิดการพัฒนาความรู้ที่เหมาะสมกับตัวเอง

 

ขณะที่น้องต้นกล้า-พศวัต เพ็งพริ้ง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ตัวแทนจากกลุ่ม Move On เป็น While Loop เล่าว่า ไอเดียของกลุ่มคือการช่วยให้ชุมชนสามารถพัฒนาสินค้า OTOP ได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะมีการเก็บข้อมูล Big Data จากการซื้อสินค้าของคนในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น จากนั้นจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์ แล้วคาดการณ์เทรนด์ ส่งกลับไปให้ชุมชนจนสามารถพัฒนาสินค้า OTOP ให้สามารถขายได้ดี ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค นำรายได้กลับมาสู่ชุมชน

 

ด้านก่อศักดิ์  ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย ระบุว่า ค่าย CREATIVE AI CAMP ปีที่ 2  ได้รับความร่วมมือจากพันธมิตร หลากหลายด้าน อาทิ พันธมิตรการศึกษาชั้นนำด้าน AI ระดับโลกอย่าง Advanced Robotics Center มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS), Department of Information Management  Peking University (มหาวิทยาลัยปักกิ่ง), สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM), บริษัท ไอโนว์พลัส จำกัด และ บริษัท แอ็คโคเมท จำกัด ทำให้เยาวชนมีโอกาสได้เรียนรู้จากวิทยากรระดับโลกและสามารถสร้างสรรค์ไอเดียด้าน AI อย่างเต็มศักยภาพ สำหรับ ทีมที่ได้รับรางวัลจะมีโอกาสได้เข้าร่วมค่ายต่อเนื่องอีก ค่ายในเดือนมีนาคม กับวิทยากรจากทั้งไทย จีน และสิงคโปร์ เพื่อต่อยอดไอเดียดังกล่าวให้กลายเป็น Prototype Project

 

“ไอเดียด้าน AI ของเด็กๆ ในวันนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะอาจกลายเป็นไอเดียที่พัฒนาจนสามารถไปขับเคลื่อน สร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศอย่างยั่งยืนได้ ช่วยแบ่งเบาภาระงานต่างๆ ของคน ไม่ใช่แทนที่คน ซีพี ออลล์และพันธมิตร จะยังคงมุ่งมั่นสนับสนุนค่ายลักษณะนี้ต่อไป สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของเราที่ต้องการร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสเพื่อทุกคน” ก่อศักดิ์ ย้ำ

บริติช เคานซิลปั้นคอร์ส Secondary IELTS

อัดแน่นความรู้และเทคนิคโค้ชเด็กม.ปลายสอบ IELTS ให้ได้คะแนนสูง

 

 

สำหรับน้อง ๆ ที่มีเป้าหมายเรียนต่อมหาวิทยาลัยต่างประเทศหรือหลักสูตรอินเตอร์ของมหาวิทยาลัยไทยอาจต้องเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ ในการฝึกฝนภาษาอังกฤษเพื่อสอบ IELTS ซึ่งเป็นหนึ่งองค์ประกอบสำคัญในการคัดเลือกของมหาวิทยาลัยชั้นนำ โดยหากได้ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มาเป็นไกด์ช่วยวางแผนการเรียนก็จะทำให้รู้ว่าต้องเดินหน้าไปทิศทางไหนและปูทางการเรียนอย่างไรเพื่อพิชิตข้อสอบ IELTS

 

เพราะต้องการให้น้อง ๆ มีพื้นฐานภาษาอังกฤษที่แน่นทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน บริติช เคานซิล ได้เปิดคอร์ส Secondary IELTS สำหรับน้อง ๆ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยเฉพาะ ซึ่งได้เตรียมเนื้อหาการสอนที่ครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ ตามแนวข้อสอบ ด้วยครูผู้สอนที่มีวุฒิการสอนจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (หรือเทียบเท่า) และมีประสบการณ์การสอนมากกว่า 2,000 ชั่วโมง โดยจะเป็นโค้ชคนสำคัญในการแนะนำและสอนเทคนิคการทำข้อสอบอย่างใกล้ชิด

 

คอร์ส Secondary IELTS เปิดสอนตลอดปี ใช้ระยะเวลาการเรียน 10 สัปดาห์ โดยน้อง ๆ จะได้รับการพัฒนาและฝึกฝนทักษะด้านภาษาอังกฤษอย่างถูกต้องและแม่นยำผ่านแบบฝึกหัดที่หลากหลาย รวมถึงฝึกทำตัวอย่างข้อสอบ IELTS ของปีที่ผ่านมาด้วยการจับเวลาแบบสอบจริง ขณะเดียวกัน น้อง ๆ จะได้เพิ่มเติมคลังคำศัพท์และความเข้าใจ  ในหัวข้อต่าง ๆ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการทำข้อสอบส่วนของ Speaking และ Writing และด้วย บริติช เคานซิล เป็นผู้แทนการจัดสอบ IELTS อย่างเป็นทางการ มีประสบการณ์อย่างยาวนานด้านการสอนภาษาอังกฤษ จึงมั่นใจได้ว่าหลักสูตรของคอร์สนี้ตรงกับแนวข้อสอบ และช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษได้ตรงกับมาตรฐานที่ผู้ออกข้อสอบต้องการ

 

อย่างไรก็ดี เพื่อให้น้อง ๆ มีความมั่นใจมากขึ้น บริติช เคานซิล มี เคล็ดลับดี ๆ ที่จะทำให้น้อง ๆ ได้คะแนนสอบ IELTS สูงตามที่ต้องการอย่างแน่นอน!

 

1.ฟังให้ออกทุกสำเนียง เพราะการสอบ Listening ของ IELTS จะให้ฟังรอบเดียว และสำเนียงภาษาอังกฤษที่ใช้ในการสอบมีหลากหลายสำเนียง ทั้ง BritainNorth America, Australia, New Zealand เป็นต้น ดังนั้น น้อง ๆ จึงต้องฝึกทักษะการฟังเยอะ ๆ ไม่ว่าจะผ่านทางคลิปภาษาอังกฤษจาก Youtube, ภาพยนตร์แบบ Soundtrack และปิด Subtitle หรือช่องข่าวภาษาอังกฤษ หรือฟังจากเจ้าของภาษาโดยตรง

 

2.อ่านคำสั่งให้ดี น้อง ๆ ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนว่าโจทย์กำหนดคำสั่งมาอย่างไร และให้ตอบไปในทิศทางไหน ไม่ว่าจะเป็นข้อสอบ Listening หรือ Writing ยกตัวอย่างข้อสอบ Writing หากโจทย์ระบุว่าต้องการให้ตอบกี่คำ            

 

 

 

ก็ต้องเขียนคำตอบให้อยู่ในขอบเขตนั้น เช่น ถ้าคำสั่งบอก 150 Words สำหรับ Task 1 ก็ควรจะเขียนให้อยู่ใน 150 คำ เพราะหากเขียนเกินจำนวนคำที่โจทย์บอกก็จะมีผลต่อคะแนนที่อาจลดลงได้

 

3.ซ้อมทำ พร้อมตั้งเวลา ข้อสอบ Listening ใช้เวลาทั้งหมด 40 นาที ซึ่งน้อง ๆ จะมีเวลาฟัง 30 นาที และมีเวลาเขียนคำตอบลงกระดาษอีกแค่ 10 นาที ดังนั้น ลองตั้งเวลาขณะฝึกทำแบบฝึกหัด เพื่อหาจังหวะของตัวเอง ซึ่งการตั้งเวลาไม่เพียงช่วยให้ทำข้อสอบได้ดีภายใต้แรงกดดัน แต่ยังช่วยให้ได้รู้จุดอ่อนและจุดแข็งของตัวเอง เช่น ถ้าไม่สามารถทำข้อสอบ Reading เสร็จได้ทันเวลา ก็ควรฝึกด้านการอ่านเพิ่มเติมด้วยเทคนิคต่าง ๆ

 

4.พัฒนาเทคนิคของตัวเอง เมื่อรู้ว่าแต่ละพาร์ทของข้อสอบต้องทำอะไรบ้าง น้อง ๆ ก็สามารถพัฒนาเทคนิคของตัวเองที่ช่วยทำข้อสอบให้เร็วขึ้นได้ อย่างการทำข้อสอบ Listening ก็อาจใช้เทคนิคการขีดเส้นใต้คำที่เป็น Keyword ซึ่งจะทำให้จดจ่ออยู่กับคำนั้น และสามารถจับคำได้จากบทสนทนา หรือถ้าต้องการทำข้อสอบ Writing แบบเร็ว ๆ ก็ให้อ่านคำถามก่อนแล้วค่อยมาอ่านเนื้อหา อย่างไรก็ดี เทคนิคการทำข้อสอบมีหลากหลาย ให้ทดลองหาวิธีที่เหมาะกับตัวเอง หรือให้ผู้เชี่ยวชาญแนะนำเพื่อจะได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว และตรงกับจุดแข็งมากที่สุด

 

5.เขียนให้เหมือนเจ้าของภาษา เพราะการอ่านมีผลกับการเขียน ลองฝึกอ่านงานภาษาอังกฤษหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นคู่มือ โฆษณา นิตยสาร ประกาศหางาน บทความต่าง ๆ หรืองานวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ หลังจากนั้นลองฝึกเขียนสัก 2-3 ประโยคโดยใช้ศัพท์ใหม่ที่ได้มา เมื่อเขียนเป็นประโยคได้แล้ว ขยับไปสู่การเขียนเป็นย่อหน้าแล้วประกอบให้เป็นบทความสั้นๆ วิธีนี้จะช่วยพัฒนาการทำข้อสอบในส่วนของ Writing ได้เป็นอย่างดี

 

6.หาเพื่อนร่วมเรียน เพื่อนที่มีทักษะภาษาอังกฤษดีมาก ๆ จะช่วยประเมินการใช้ภาษาของเราได้ โดยเฉพาะการสอบ Speaking โดยอาจลองซ้อมพูดกับเพื่อนและขอ Feedback หรืออัดเสียงของตัวเองแล้ววิเคราะห์ดูว่าตัวเองพูดเร็วไปหรือไม่ ตอบตรงคำถามหรือไม่ ซึ่งการฝึกและปรับปรุงการพูดจะทำให้สมองเริ่มคิดเป็นภาษาอังกฤษมากขึ้น และสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วกว่าเดิม

 

เกี่ยวกับ บริติช เคานซิล

บริติช เคานซิล คือ องค์กรนานาชาติเพื่อส่งเสริมการศึกษา ศิลปะ และวัฒนธรรมแห่งสหราชอาณาจักร เราทำงานกับประเทศต่าง ๆ กว่า 100 ประเทศทั่วโลกผ่านงานด้านศิลปะ วัฒนธรรม ภาษาอังกฤษ การศึกษา และภาคประชาสังคม ในปีที่ผ่านมาเราสื่อสารโดยตรงกับผู้คนมากกว่า 80 ล้านคน และสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ สื่อวิทยุโทรทัศน์ และสิ่งพิมพ์กับผู้คนกว่า 791 ล้านคน เราสร้างประโยชน์แก่ประเทศที่เราทำงานด้วยผ่านทรัพยากรทางวัฒนธรรมของ  สหราชอาณาจักร เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนให้ดีขึ้นโดยการสร้างโอกาส สร้างเครือข่าย และสร้างความไว้วางใจระหว่างกัน บริติช เคานซิล ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2477 ภายใต้พระบรมราชานุญาตและพระราชบัญญัติองค์การอิสระแห่ง สหราชอาณาจักร เราได้รับเงินสนับสนุนร้อยละสิบห้าโดยรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักร

อีไอซีวิเคราะห์ ใครคือผู้ได้รับผลกระทบจากภาษีที่ดิน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ภาครัฐเตรียมจัดเก็บในปีนี้ (ใช้ทดแทนภาษีบำรุงท้องที่ โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง) เน้นจัดเก็บตามมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างด้วยอัตราภาษีที่แตกต่างกันไปตามการใช้ประโยชน์ ซึ่งภาครัฐได้กำหนดข้อยกเว้นและข้อลดหย่อนให้กับผู้ถือครองที่ดิน เช่น เจ้าของบ้านหลังหลัก ผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย

หากพิจารณาต้นทุนภาษีที่ดินที่ต้องเสียเพิ่มขึ้นจากภาษีที่ดินเดิม สามารถจำแนกผลกระทบทางตรงของผู้ที่เกี่ยวข้องกับตลาดอสังหาฯ ได้ดังนี้ (1) กลุ่มที่ได้รับผลกระทบสูง ได้แก่ เจ้าของที่รกร้าง/ผู้เก็งกำไรที่ดิน ซึ่งภาระภาษีอาจมีสูงถึง 16% ของรายได้จากส่วนต่างราคา (พิจารณาจากการขยายตัวของราคาที่ดินเฉลี่ยช่วง 5 ปีที่ผ่านมาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล) และสถาบันการเงินที่มีอสังหาฯ รอการขาย (NPA) จำนวนมากและเป็น NPA ที่มีสภาพคล่องต่ำ (ใช้ระยะเวลามากกว่า 5 ปีในการขาย ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ภาครัฐให้สิทธิลดหย่อนภาษี)

(2) กลุ่มที่ได้รับผลกระทบปานกลาง ได้แก่ ผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย ซึ่งภาระภาษีที่ดินฯ รวมกันไม่ถึง 1% ของมูลค่าขายโครงการ หากผู้พัฒนาฯ สามารถขายโครงการได้หมดภายใน 3 ปี (ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ภาครัฐให้การลดหย่อน) แต่ผลกระทบอาจรุนแรงขึ้นหากมีสต็อกเหลือขายจำนวนมากหลังพัฒนามา 3 ปีและผู้พัฒนาฯ มีภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยสูง ทำให้ความสามารถในการรับมือกับผลกระทบ (Buffer) ต่อภาระภาษีจะมีอยู่ต่ำ เจ้าของอาคารที่อยู่อาศัย/พาณิชย์ให้เช่า ผลกระทบจะแตกต่างกันตามอัตราผลตอบแทนจากการให้เช่า (Rental yield) โดยอาคารที่มี Yield สูงจะได้รับผลบวกจากภาษีใหม่ที่ประหยัดลงจากภาษีโรงเรือนฯ ขณะที่กลุ่ม Yield ต่ำอาจจะต้องจ่ายภาษีมากขึ้นกว่าเดิม

(3) กลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบ/ได้รับผลกระทบต่ำ ได้แก่ เจ้าของที่อยู่อาศัยเพื่อใช้อยู่จริง ได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับบ้านหลังหลักที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท (บ้านพร้อมที่ดิน) ขณะที่บ้านหลังที่สองขึ้นไป ภาระภาษีค่อนข้างต่ำหากเทียบกับฐานะหรือความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัย ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยปล่อยเช่าและผู้ซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อเก็งกำไร ต้นทุนภาษีจากการถือครองที่อยู่อาศัยเพื่อลงทุนค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับรายได้ค่าเช่าและการเพิ่มขึ้นของราคาที่อยู่อาศัย เช่น ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯและปริมณฑล ต้นทุนภาษีคิดเป็นประมาณ 0.4-0.7% ของอัตราผลตอบแทนจากการเช่า และประมาณ 1% ของผลตอบแทนที่ได้จากส่วนต่างราคาซื้อขาย

ผลกระทบทางอ้อมที่อาจเห็น คือ (1) ปริมาณที่ดินที่เข้าสู่ตลาดเพื่อขายอาจมีมากขึ้น และ (2) ส่วนต่างของราคาที่ดินที่ศักยภาพสูงกับศักยภาพต่ำอาจมีมากขึ้น ในระยะยาวภาษีที่ดินฯ อาจช่วยลดความเสี่ยงจากการเร่งพัฒนาโครงการของผู้ประกอบการลงได้บ้าง รวมถึงการระมัดระวังมากขึ้นของผู้ให้สินเชื่อ ท้ายที่สุดอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงภาวะอุปทานส่วนเกินลงได้บ้าง ซึ่งจะสนับสนุนตลาดอสังหาฯ เติบโตอย่างยั่งยืนมากขึ้น

 

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ภาครัฐเตรียมจัดเก็บตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป มุ่งเน้นจัดเก็บภาษีตามมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยอัตราภาษีแตกต่างกันไปตามประเภทการใช้ประโยชน์ โดยตั้งแต่ปี 2020 ผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีหน้าที่ต้องเสียภาษีที่ดินฯ ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยทางการจะจัดเก็บภาษีที่ดินฯ ตามมูลค่าที่ดินฯ ด้วยอัตราภาษีที่แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์การใช้ที่ดิน (รายละเอียดตามรูปที่ 1) ทั้งนี้ภาษีที่ดินฯ จะถูกนำมาใช้ทดแทนภาษีโรงเรือนและที่ดินที่มีมาตั้งแต่ปี 1932 (พ.ศ.2475) ซึ่งจัดเก็บภาษีในอัตรา 12.5% ของรายได้ค่าเช่าที่ได้จากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และภาษีบำรุงท้องที่ที่มีมาตั้งแต่ปี 1965 ซึ่งจัดเก็บภาษีตามจำนวนไร่และราคาปานกลางของที่ดิน โดยราคาปานกลางของที่ดินที่ใช้ในปัจจุบันเป็นราคาปานกลางฯ ที่ใช้ในการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ตั้งแต่ปี 1978-1981[1]

ทั้งนี้ภาครัฐมีการบรรเทาภาระภาษีในส่วนที่เพิ่มขึ้นในช่วงปี 2020-2022 โดยผู้เสียภาษีจะชำระภาษีในปี 2020 เท่ากับภาระภาษีเดิม บวกด้วย 25% ของภาระภาษีส่วนเพิ่ม ในปี 2021 จะชำระภาษีเท่ากับภาระภาษีเดิม บวกด้วย 50% ของภาระภาษีส่วนเพิ่ม ในปี 2022 จะชำระภาษีเท่ากับภาระภาษีเดิม บวกด้วย 75% ของภาระภาษีส่วนเพิ่มเสีย และในปี 2023 ผู้เสียภาษีจะเสียภาระภาษีตาม พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ เต็มจำนวน 

รูปที่ 1 อัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยสรุป

 

 

ที่มา การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของราชกิจจานุเบกษา สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และศูนย์ข้อมูลกรุงเทพฯ

 

อย่างไรก็ตาม ทางการได้ลดหย่อนภาษีที่ดินฯ สำหรับที่ดินบางประเภทเพื่อความเหมาะสมกับเศรษฐกิจและการดำเนินกิจการของภาคธุรกิจ ซึ่งช่วยให้ผู้เสียภาษีสามารถปรับตัวได้ดีขึ้น ภายหลังจากที่ พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ ถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่เดือน มี.ค. 2019 ทางการได้ทยอยประกาศกฎหมายลำดับรองออกมาหลายฉบับ โดยเฉพาะฉบับล่าสุดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2019 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ก.) ลดภาษีที่ดินฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดหย่อนภาษีที่ดินฯ สำหรับที่ดินฯ บางประเภทให้เหมาะสมกับสภาพความจำเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม เหตุการณ์ กิจการ หรือสภาพแห่งท้องที่ โดยการลดหย่อนครั้งนี้ ผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯ เพื่ออยู่อาศัยจะได้รับการลดค่าภาษี 90% โดยจ่ายค่าภาษีเพียง 10% ของมูลค่าภาษีเต็มจำนวน ซึ่งมีเงื่อนไขดังนี้

  1. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่นำมาพัฒนาเป็นอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียมตามกฎหมายอาคารชุดไม่เกิน 3 ปีจากวันที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง
  2. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่นำมาพัฒนาเป็นโครงการจัดสรรตามกฎหมายจัดสรรที่ดินเพื่ออยู่อาศัยไม่เกิน 3 ปีจากวันที่ได้รับอนุญาตจัดสรร
  3. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายจัดสรรและอาคารชุด ก่อนวันที่ 13 มี.ค. 2019 และยังไม่ได้ขาย (สต็อกจะได้รับการลดค่าภาษีเป็นเวลา 2 ปี คือปี 2020-2021

นอกจากนี้ ที่ดินฯ ที่เป็นอสังหาฯ รอการขาย (NPA) ของสถาบันการเงินก็ได้รับการลดหย่อนค่าภาษีที่ดินฯ ด้วยเช่นกัน โดยลดค่าภาษี 90% ไม่เกิน 5 ปีจากวันที่ได้กรรมสิทธิ์

ผู้เก็งกำไรที่ดินและสถาบันการเงินมีโอกาสได้รับผลกระทบทางตรงจากภาระภาษีที่ดินฯ มากที่สุด ขณะที่เจ้าของบ้านเพื่ออยู่อาศัยจริงและลงทุน รวมถึงเจ้าของอาคารที่อยู่อาศัย/พาณิชย์ให้เช่าได้รับผลกระทบทางตรงจากภาระภาษีที่ดินค่อนข้างต่ำ ทั้งนี้ผลกระทบทางตรงจากภาระภาษีที่ดินฯ จะมีความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ของที่ดินฯ และระยะเวลาของการถือครองที่ดินฯ รวมถึงภาระภาษีเกี่ยวกับที่ดินตามกฎหมายเดิม หากพิจารณาเฉพาะผลกระทบที่มีต่อผู้ที่ถือครองที่อยู่อาศัย รวมถึงผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย เจ้าของอาคารพาณิชย์ให้เช่า และสถาบันการเงินจะสามารถจำแนกผลกระทบเบื้องต้นออกเป็น 3 กลุ่ม (ผลกระทบอาจมีการเปลี่ยนแปลงหากกฎหมายลูกเกี่ยวกับกระบวนการจัดเก็บและการจำแนกประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้รับการอนุมัติของกระทรวงที่เกี่ยวข้องและประกาศในราชกิจจานุเบกษาอย่างเป็นทางการ) ได้แก่

รูปที่ 2 ระดับของผลกระทบจากภาระภาษีที่ดินฯ ต่อผู้ซื้อที่อยู่อาศัย ผู้พัฒนาโครงการ เจ้าของอาคารพาณิชย์ให้เช่า และสถาบันการเงิน

 

 

 

หมายเหตุ : ผลกระทบอาจมีการเปลี่ยนแปลงหลังจากที่กฎหมายลูกทั้งหมดถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษาอย่างเป็นทางการ

ที่มา การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, CBRE, กรมที่ดิน และศูนย์ข้อมูลกรุงเทพฯ

 

กลุ่มที่ได้รับผลกระทบสูงจากภาษีที่ดิน

  I.        ผู้ที่ซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไร/สะสมความมั่งคั่ง สำหรับภาษีที่ดินฯ ในกรณีที่ดินว่างเปล่า แม้ว่าจะมีอัตราภาษีเช่นเดียวกันกับที่ดินเชิงพาณิชย์อยู่ในช่วง 0.3-0.7% แต่อัตราภาษีจะมีการเพิ่มขึ้น 0.3% ในทุก 3 ปี และอัตราภาษีรวมสูงสุดไม่เกิน 3% ซึ่งจะเป็นต้นทุนภาษีที่สูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินในแต่ละที่ว่าเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด

ทั้งนี้หากเทียบกับราคาที่ดินในกรุงเทพฯ และปริมณฑลตามฐานข้อมูลของ ธปท. ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ที่ดินเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียงปีละ 1.9% ขณะที่ต้นทุนภาษีที่ดินฯ คิดเป็น 16% ของผลได้ที่ได้จากส่วนต่างราคา หากเสียภาษีที่ดินในอัตรา 0.3% ของมูลค่าที่ดิน ซึ่งถือว่ามีผลกระทบค่อนข้างมาก

ดังนั้นกลุ่มผู้ลงทุนควรต้องพิจารณาคัดเลือกที่ดินที่มีศักยภาพในการเติบโตของราคาในอนาคตให้สูงกว่าต้นทุนภาษีที่ดิน (โดยปกติที่ดินที่มีศักยภาพมีการเติบโตของราคาในอัตราสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่จัดเก็บโดย ธปท. เช่น ที่ดินแถบถนนพหลโยธินและรามอินทราที่ราคาประเมินขยายตัวเฉลี่ยปีละ 6-8% เป็นต้น) นอกจากนี้ ระหว่างที่ถือครองไม่ควรปล่อยให้เป็นที่ดินรกร้างเพื่อลดค่าใช้จ่ายภาษีระหว่างที่ถือครองที่ดิน

II.            สถาบันการเงิน โดยเฉพาะสถาบันการเงินที่มีทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ประเภทอสังหาฯ อยู่จำนวนมาก ทั้งนี้ผลกระทบของภาระภาษีที่ดินฯ จะแตกต่างกันไปตามพอร์ต NPA ของแต่ละสถาบันการเงิน โดยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมาก คือ สถาบันการเงินที่มี NPA ที่เป็นอสังหาฯ และถือครองมากกว่า 5 ปี ในสัดส่วนสูง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ เช่น โรงงาน ที่ดินเปล่า เป็นต้น นอกจากนี้ หากทรัพย์ที่ถือครองมากกว่า 5 ปีส่วนใหญ่เป็นอสังหาฯ เชิงพาณิชย์หรือที่ดินรกร้าง ภาระภาษีก็จะอยู่ในอัตราที่สูงที่ 0.3-0.7% ของมูลค่าประเมิน เทียบกับกลุ่มที่อยู่อาศัยและเกษตรกรรมที่มีอัตราภาษีเพียง 0.02-0.1% และ 0.01-0.1% ตามลำดับ (จากการสอบถามข้อมูลเบื้องต้นจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง)

ทั้งนี้สถาบันการเงินมีแนวโน้มที่จะขาย NPA ให้ได้ภายใน 5 ปีแรกของการถือครอง เนื่องจากสถาบันการเงินได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีที่ดินฯ โดยเสียภาษีเพียง 10% ของภาระภาษีที่ต้องจ่ายในช่วง 5 ปีแรกที่ถือครอง แต่หลังจากถือครองมากกว่า 5 ปีไปแล้ว หากสถาบันการเงินยังไม่สามารถขาย NPA ได้ ค่าใช้จ่ายทางภาษีก็จะเพิ่มขึ้น เช่น NPA ที่เป็นบ้านพร้อมที่ดินมูลค่า 10 ล้านบาท มีภาระภาษีในช่วง 5 ปีแรกอยู่ที่ปีละ 200 บาท และภาระภาษีจะเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 2,000 บาทในปีที่ 6 เป็นต้นไป ขณะที่ NPA ที่เป็นโรงงานมูลค่า 10 ล้านบาท มีภาระภาษีในช่วง 5 ปีแรกอยู่ที่ปีละ 3,000 บาท และภาระภาษีจะเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 30,000 บาทในปีที่ 6 เป็นต้นไป เป็นต้น ในระยะต่อไป สถาบันการเงินอาจระมัดระวังการให้สินเชื่อมากขึ้นจากปัจจุบันที่ระมัดระวังอยู่แล้ว แม้ว่าจะมีอสังหาฯ ค้ำประกันอยู่ก็ตาม เนื่องจากค่าใช้จ่ายภาษีที่เพิ่มขึ้นจากการกลายเป็นหนี้เสียของสินเชื่อเหล่านั้น

กลุ่มที่ได้รับผลกระทบปานกลางจากภาษีที่ดิน

   I.            ผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย โดยรวมจะได้รับผลกระทบไม่มาก หากโครงการของผู้ประกอบการสามารถพัฒนาและขายได้หมดภายใน 3 ปีแรกที่ได้รับใบอนุญาตจัดสรรสำหรับโครงการบ้านแนวราบและใบอนุญาตก่อสร้างสำหรับโครงการคอนโดมิเนียม เนื่องจาก (1) ทางการให้สิทธิลดหย่อนภาระภาษีที่ดินฯ ในช่วง 3 ปีแรก โดยจ่ายภาษีเพียง 10% ของเม็ดเงินภาษีที่ต้องจ่ายจริง ซึ่งคิดเป็นภาระภาษีรวมกัน 3 ปีไม่ถึง 0.2% ของมูลค่าขายของโครงการ และ (2) ผู้ประกอบการโดยทั่วไปถือที่ดินก่อนพัฒนาโครงการ (Land bank) ประมาณ 1-2 ปี ขณะที่ที่ดินคิดเป็นต้นทุนประมาณ 20-30% ของมูลค่าขายโครงการ ทำให้ค่าใช้จ่ายภาษีที่ดินฯ จากการถือครอง Land bank มีไม่ถึง 0.5% ของมูลค่าขายของโครงการ

อย่างไรก็ตาม ภาระภาษีที่ดินฯ อาจเพิ่มสูงขึ้น หากผู้ประกอบการไม่สามารถบริหารสต็อกเหลือขายภายใน 3 ปีนับตั้งแต่ขออนุญาตจัดสรร/ก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียมที่ไม่สามารถแบ่งการก่อสร้างเป็น phaseได้แบบที่อยู่อาศัยแนวราบ นอกจากนี้ ผลกระทบจากภาษีจะมีความรุนแรงมากขึ้น หากผู้ประกอบการมีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับรายได้จนส่งผลให้อัตรากำไรต่ำและทำให้ Buffer ต่อภาระภาษีที่ดินมีน้อยลง

นอกจากนี้ ในช่วงปี 2020-2021 ซึ่งเป็นช่วง 2 ปีแรกที่เริ่มการจ่ายภาษีที่ดินฯ มีแนวโน้มที่ผู้พัฒนาโครงการจะเร่งระบายสต็อกที่ค้างอยู่ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่มีสัดส่วนที่อยู่อาศัยเหลือขายจำนวนมาก ส่วนหนึ่งเพื่อได้รับประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีที่ดินฯ สำหรับที่อยู่อาศัยเหลือขายที่มีการขอใบอนุญาตก่อสร้าง/จัดสรรก่อนวันที่ 13 มี.ค. 2019 มิเช่นนั้นผู้ประกอบการจะต้องมีค่าใช้จ่ายภาษีที่ดินฯ สูงขึ้น

ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจและการปรับตัวต่อมาตรการ LTV ของผู้ซื้อบ้าน เมื่อผู้ประกอบการต้องมาเผชิญกับภาระภาษีที่ดินฯ แม้ว่าจะคิดเป็นต้นทุนที่ไม่สูงมากนัก แต่ก็อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยเสริมที่ทำให้ผู้ประกอบการระมัดระวังการเปิดตัวใหม่มากขึ้น โดยมุ่งเน้นเปิดตัวโครงการที่มีศักยภาพมากขึ้น รวมถึงการเร่งระบายหน่วยเหลือขายเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเมื่อภาษีที่ดินฯ เริ่มจัดเก็บ

 II.            เจ้าของอาคารที่อยู่อาศัย/พาณิชย์ให้เช่า เช่น หอพัก อะพาร์ตเมนต์ สำนักงานให้เช่า และพื้นที่ค้าปลีกให้เช่า เป็นต้น แม้ว่าภาษีที่ดินฯ กรณีใช้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อการพาณิชย์จะมีอัตราภาษีสูงกว่าเพื่อการเกษตรหรือเพื่ออยู่อาศัย แต่หากเปรียบเทียบกับภาระภาษีที่ดินใหม่ กับภาษีโรงเรือนฯ ในปัจจุบันที่อัตรา 12.5% ของรายได้ค่าเช่า จะพบว่าต้นทุนทางภาษีของผู้ประกอบการจะเพิ่มขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลตอบแทนจากการให้เช่า โดยอาคารให้เช่าแห่งไหนอัตราผลตอบแทนจากการให้เช่าอยู่ในระดับสูง ต้นทุนภาษีอาจปรับลดลงด้วยซ้ำ แต่หากอัตราผลตอบแทนจากการให้เช่าอยู่ในระดับต่ำ มีโอกาสที่ภาระภาษีอาจเพิ่มขึ้น กดดันผลตอบแทนสุทธิของผู้ประกอบการให้ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะอาคารในพื้นที่ที่ราคาที่ดินอยู่ในระดับสูงและมีการแข่งขันสูงระหว่างผู้ประกอบการ

เช่น กรณีอาคารสำนักงานให้เช่าในพื้นที่ย่านศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) ของกรุงเทพฯ ที่มีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเบื้องต้น (Gross yield) โดยเฉลี่ยประมาณ 5-9% (จากข้อมูล CBRE และมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย) โดยคิดเป็นรายได้จากค่าบริการ 50% และรายได้จากการเช่า 50% โดยรายได้ส่วนหลัง ผู้ประกอบการต้องเสียภาษีโรงเรือนฯ คิดเป็น 0.3-0.6% ของมูลค่าอาคาร ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราภาษีที่ดินฯ ที่ 0.3-0.7%

 

รูปที่ 3 ตัวอย่างการเปรียบเทียบภาระภาษีตามกฎหมายที่ดินเดิมกับกฎหมายที่ดินใหม่ กรณีอาคารสำนักงานให้เช่า

 

 

หมายเหตุ : ผลตอบแทนเบื้องต้นจากการลงทุนเป็นอัตราเฉลี่ยในพื้นที่ใจกลางกรุงเทพฯ จากการสำรวจของ CBRE และ มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย

ที่มา การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ CBRE, มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

 

กลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบ/ได้รับผลกระทบต่ำจากภาษีที่ดิน

   I.            เจ้าของที่อยู่อาศัยเพื่อใช้อยู่จริง จำแนกเป็น

a.     เจ้าของบ้านหลังหลัก ซึ่งทางการได้ยกเว้นการจัดเก็บภาษี โดยมีเงื่อนไขว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และมูลค่าบ้านพร้อมที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาท หรือบ้าน ไม่นับรวมที่ดินไม่เกิน 10 ล้านบาท ขณะที่บ้านพร้อมที่ดินมูลค่าเกินกว่า 50 ล้านบาทก็มีภาระภาษีอยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับฐานะหรือรายได้ของผู้ถือครอง เช่น บ้านพร้อมที่ดินมูลค่า 100 ล้านบาท เสียภาษีเพียง 20,000 บาท/ปี หรือ 1,667 บาท/เดือน

b.       เจ้าของที่อยู่อาศัยหลังที่สองขึ้นไปเพื่อใช้อยู่อาศัย (ไม่ใช่บ้านหลังหลัก) แม้ว่าภาระภาษีที่ต้องจ่ายตามภาษีที่ดินฯ จะเพิ่มขึ้นจากภาษีบำรุงท้องที่ (ซึ่งเป็นกฎหมายภาษีที่ดินเดิม) แต่เม็ดเงินภาษีที่ดินฯ ที่ต้องจ่ายยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับรายได้ของผู้ที่สามารถซื้อบ้านในมูลค่าเหล่านั้น นอกจากนี้ ภาครัฐยังมีการบรรเทาภาระภาษีในส่วนที่เพิ่มขึ้นในช่วง 3 ปีแรกที่มีการเก็บภาษีที่ดินฯ

เช่น กรณีบ้านพร้อมที่ดินราคา 10 ล้านบาทที่ไม่ใช่บ้านหลังหลัก ปัจจุบันเสียภาษีบำรุงท้องที่ปีละ 834 บาท ขณะที่ตาม พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ เจ้าของบ้านต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 2,000 บาท (อัตราภาษีที่ดินฯ 0.02% ของมูลค่าบ้าน 10 ล้านบาท) ซึ่งคิดเป็นค่าใช้จ่ายไม่ถึง 0.2% ของรายได้ของผู้ที่สามารถกู้ซื้อบ้านในราคา 10 ล้านบาท (รายได้ของผู้กู้ซื้อต้องไม่น้อยกว่า 1 แสนบาทต่อเดือน)

II.            ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อปล่อยเช่าเพื่อการอยู่อาศัย/เก็งกำไร จากข้อมูลเบื้องต้นของกระทรวงการคลัง ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อปล่อยเช่าเพื่อการอยู่อาศัย/เก็งกำไร ภาระภาษีที่ต้องจ่ายตามภาษีที่ดินฯ จะเหมือนกับเจ้าของที่อยู่อาศัยหลังที่สองขึ้นไป โดยมีอัตราภาษีที่ดินฯ อยู่ที่ 0.02% ของมูลค่าที่อยู่อาศัย (กรณีราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท) คิดเป็นต้นทุนภาษีจากการถือครองที่อยู่อาศัยที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับรายได้ค่าเช่าและการเพิ่มขึ้นของราคาที่อยู่อาศัย ดังนั้นภาษีที่ดินฯ ไม่ได้มีผลมากนักต่อความต้องการที่อยู่อาศัยเพื่อการลงทุน (ยกเว้นในช่วงแรกที่มีการจัดเก็บภาษีที่ดินฯ ที่ผู้ลงทุนซื้อที่อยู่อาศัยยังไม่มั่นใจในภาระภาษีว่าจะมีมากน้อยเพียงใด)

กรณีซื้อมาเพื่อเก็งกำไร เช่น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตามฐานข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1.7% สำหรับคอนโดมิเนียม 2.0สำหรับทาวน์เฮาส์ และ 2.6% สำหรับบ้านเดี่ยว โดยค่าใช้จ่ายจากภาษีที่ดินฯ จะคิดเป็นประมาณ 1% ของผลตอบแทนที่ได้จากส่วนต่างราคาซื้อขาย (Capital gain yield) เฉลี่ยที่ 1.7-2.6% ต่อปี ทั้งนี้ผลกระทบจากต้นทุนภาษีที่กล่าวมามีโอกาสที่จะน้อยกว่าที่กล่าวมาข้างต้น หากผู้ลงทุนเลือกเก็งกำไรในกลุ่มที่อยู่อาศัยที่มีศักยภาพ ซึ่งราคามีแนวโน้มขยายตัวมากกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด

กรณีซื้อมาเพื่อปล่อยเช่า เช่น กรณีคอนโดมิเนียมมูลค่า 5 ล้านบาท ที่ซื้อเพื่อปล่อยเช่า/เก็งกำไร ต้องเสียภาษีที่ดินฯ ในอัตรา 0.02% ของมูลค่าคอนโดฯ หรือ 1,000 บาท/ปี (เทียบกับในปัจจุบันที่ภาระภาษีเกี่ยวกับที่ดินต่ำมาก เนื่องจากข้อบกพร่องในการจัดเก็บภาษีโรงเรือน ขณะที่ภาษีบำรุงท้องที่ก็อยู่ในอัตราต่ำมาก) คิดเป็นภาระค่าใช้จ่ายประมาณ 0.4-0.7ของอัตราผลตอบแทนจากการให้เช่า (Gross rental yield) ที่เฉลี่ยประมาณ 3-5%

แต่หากผู้ให้เช่าที่อยู่อาศัยในกรณีตัวอย่างข้างต้น เคยต้องเสียภาษีโรงเรือนฯ จากรายได้ค่าเช่าที่ 12.5% ของรายได้ทั้งปี หรือคิดเป็น 0.4-0.6% ของมูลค่าที่อยู่อาศัย การปรับเปลี่ยนการจัดเก็บภาษีเป็นภาษีที่ดินฯ ที่อัตราขั้นต่ำที่ 0.02% ของมูลค่าที่อยู่อาศัยจะส่งผลด้านบวกต่อผู้ให้เช่าที่จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายภาษีลงไปได้ประมาณปีละ 17,000-30,000 บาท

 

รูปที่ 4 : ตัวอย่างการเปรียบเทียบภาระภาษีตามกฎหมายที่ดินเดิมกับกฎหมายที่ดินใหม่ กรณีที่อยู่อาศัยให้เช่า

 

 

หมายเหตุ : ผลตอบแทนเบื้องต้นจากการลงทุนเป็นอัตราเฉลี่ยในพื้นที่กรุงเทพฯ จากการสำรวจของ Numbeo และ Global Property Guide

ที่มา การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ ของ Numbeo, Global Property Guide และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

 

ผลกระทบทางอ้อมที่อาจเห็น คือ (1) ปริมาณที่ดินที่เข้าสู่ตลาดเพื่อขายอาจมีมากขึ้น และ (2) ส่วนต่างของราคาที่ดินที่มีศักยภาพสูงกับศักยภาพต่ำอาจมีมากขึ้น ผลจากต้นทุนภาษีที่ดินฯ ที่เพิ่มขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ถือครองที่ดินว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์บางส่วนอาจทยอยขายที่ดินออกมาในตลาด โดยเฉพาะที่ดินมรดกที่ถือครองมายาวนาน ซึ่งในอดีตมีต้นทุนในการถือครองที่ดินไม่มากนัก แต่ภาษีที่ดินฯ ที่กำลังจะเริ่มจัดเก็บอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยสนับสนุนให้ผู้ถือครองที่ดินบางส่วนปล่อยที่ดินเข้าสู่ตลาดเพื่อซื้อขายมากขึ้น ส่งผลให้การขยายตัวของราคาที่ดินโดยเฉลี่ยอาจมีแนวโน้มขยายตัวช้าลงไปบ้าง โดยเฉพาะที่ดินที่มีศักยภาพต่ำ (มีการเพิ่มขึ้นของราคาค่อนข้างช้า) ขณะที่ที่ดินที่มีศักยภาพ (มีการเพิ่มขึ้นของราคาค่อนข้างเร็ว) ต้นทุนภาษีที่ดินฯ แทบไม่ส่งผลกระทบ เนื่องจากราคาของที่ดินที่เร่งตัวไปเร็วกว่าต้นทุนภาษี ทำให้ความต้องการถือครองที่ดินดังกล่าวยังมีต่อเนื่อง ผลักดันให้ราคาที่ดินของที่ดินศักยภาพยังมีแนวโน้มขยายตัวสูงต่อเนื่องได้

โดยสรุป ภาษีที่ดินที่กำลังจัดเก็บในปีนี้ ผลต่อทั้งผู้ซื้อที่อยู่อาศัยเพื่ออยู่จริงและเพื่อการลงทุนจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ซึ่งจะส่งผลกระทบไม่มากนักต่ออุปสงค์ในตลาดที่อยู่อาศัย (ปัจจัยจากเศรษฐกิจและความระมัดระวังในการให้สินเชื่อบ้านจะเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบมากกว่าภาษีที่ดินฯ)

ขณะที่ผู้พัฒนาโครงการอาจต้องมีการปรับตัวอันเกิดจากภาระภาษี โดยต้องมุ่งเน้นบริหารการขายโครงการให้เหลือหน่วยเหลือขายน้อยที่สุดภายในช่วง 3 ปีแรกที่ได้รับใบอนุญาตก่อสร้าง/จัดสรร เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ได้รับการลดหย่อนภาษีที่ดินฯ รวมถึงในช่วงปี 2020-2021 จะต้องเร่งระบายสต็อกซึ่งคงค้างมาก่อนหน้าที่ภาษีที่ดินฯ จะมีผลบังคับใช้ เช่นเดียวกันกับสถาบันการเงินต้องระมัดระวังการให้สินเชื่อมากขึ้นเพื่อไม่ให้ภาระ NPA มีมาก

ดังนั้นมีโอกาสที่ในระยะยาวการจัดเก็บภาษีที่ดินฯ อาจช่วยลดความเสี่ยงจากการเร่งพัฒนาโครงการของผู้ประกอบการลงได้บ้าง (โดยมุ่งเน้นแต่โครงการที่มีศักยภาพอย่างแท้จริง) รวมถึงการระมัดระวังมากขึ้นของผู้ให้สินเชื่อ ท้ายที่สุดก็อาจเป็นปัจจัยตัวหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงภาวะอุปทานส่วนเกิน (Oversupply) ลงได้บ้าง ซึ่งจะสนับสนุนให้การใช้ที่ดิน รวมถึงตลาดที่อยู่อาศัยเติบโตได้อย่างระมัดระวังและยั่งยืนมากขึ้น

 

4 ทีมคว้ารางวัล...การแข่งขันหุ่นยนต์นักสู้แห่งประเทศไทย 2019 (Battle Robot Warrior 

 

              วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เปิดเวทีจัดการแข่งขันหุ่นยนต์นักสู้แห่งประเทศไทย หรือ Battle Robot Warrior 2019 สำหรับคนมีไฟ มืออาชีพและคนรุ่นใหม่ได้แสดงศักยภาพด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และลับคมความคิดสร้างสรรค์ ในงานวิวกรรมแห่งชาติ 62 ณ อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี โดยมี 37 ทีมผู้เข้าแข่งขันนำผลงานหุ่นยนต์ประดิษฐ์หลากดีไซน์เข้าร่วมประลองความสามารถ ไหวพริบและฝีมือการบังคับหุ่นยนต์ ท่ามกลางเสียงลุ้นเชียร์ และเสียงโลหะกระทบกันดังสนั่น เรียกความสนใจจากผู้ชมรอบสนามอย่างคับคั่ง

 

              ดร.ธเนศ วีระศิริ นายก วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กล่าวว่า การแข่งขันหุ่นยนต์นักสู้ชิงแชมป์ประเทศไทย ปีนี้คึกคักและตื่นเต้นท้าทาย โดยได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่และมืออาชีพอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์ของการแข่งขันหุ่นยนต์นักสู้แห่งประเทศไทย Battle Robot Warrior 2019 เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยนำความรู้ความสามารถด้านวิศวกรรมมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบสร้างหุ่นยนต์ วิเคราะห์ วางแผนและการแก้ไขปัญหา  ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและความรักสามัคคีของผู้เข้าร่วมแข่งขัน ตลอดจนนำองค์ความรู้ที่ได้ไปต่อยอดเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ให้กับประเทศไทย

 

            การแข่งขันหุ่นยนต์ครั้งนี้เป็นรุ่น 10 กก. มีการกำหนดคุณสมบัติหุ่นยนต์ดังนี้ 1. หุ่นยนต์ต้องมีขนาดตัวไม่เกิน 350x350x350 มม. และสามารถยืดกลไกเพื่อการต่อสู้ หรือเปลี่ยนแปลงขนาดได้ไม่เกิน 500x500x500 มม. 2. แหล่งจ่ายไฟฟ้าไม่เกิน 24 โวลต์ 3.แหล่งจ่ายลมไม่เกิน 6 บาร์ 4. บังคับหุ่นยนต์แบบไร้สาย 5. ไม่จำกัดวัสดุในการสร้างหุ่นยนต์ และต้องติดตั้งอุปกรณ์อาวุธในการต่อสู้ที่ควบคุมด้วยรีโมทคอนโทรลอย่างน้อย 1 อย่าง 6. หุ่นยนต์สามารถเคลื่อนไหวได้ทุกรูปแบบ โดยใช้รูปแบบสนามแข่งและกติกาตามกฎเกณฑ์มาตรฐานการแข่งขันระดับประเทศ ส่วนสนามแข่งขนาด 3 ตรม. มีค้อนยักษ์หนัก 2.5 กก. อยู่ 2 มุม ทุบลงมาให้หุ่นยนต์คอยหลบหลีกระหว่างการประจัญบาน

 

ผลการแข่งขัน ผู้ชนะ 4 ทีมได้แก่ รางวัลชนะเลิศ คือ ทีมมินิ ฟรีไตล์,  รางวัลอันดับ 2 ทีมเอสพีอาร์ซี 2  และรางวัลอันดับ 3 มี 2 ทีม คือ ทีมเอสพีอาร์ซี 1 และทีมฟาร์เมอร์ โรโบติก

 

ธวัชชัย มินา (นุ) ตัวแทนทีมมินิ ฟรีไตล์ ผู้คว้าแชมป์ชนะเลิศ ซึ่งมีสมาชิกหนุ้มสาว 3 คน กล่าวว่า การลงมือทำอะไรต้องทำให้ดีที่สุด คิดแล้วต้องลงมือทำ และปรับปรุงทดสอบให้ได้ตามที่เราต้องการ ด้วยความรักและความชื่นชอบที่มีต่อหุ่นยนต์ ทำให้ผมและเพื่อน 3 คน ใช้เวลาว่างหลังเลิกงานและวันหยุดเพื่อพัฒนาหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพดีกว่าเดิม โดยเลือกออกแบบหุ่นยนต์ที่ใช้อาวุธด้วยการหนีบและยกคู่ต่อสู้เพื่อหยุดการเคลื่อนไหว และได้พัฒนาคุณภาพของเหล็กที่ใช้ทำหุ่นยนต์ ทั้งออกแบบเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบขับเคลื่อนภายในตัวหุ่นยนต์ ใช้งบประมาณ 12,000 บาท

 

ทีมของเรารู้สึกดีใจมากครับที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันหุ่นยนต์นักสู้ครั้งนี้ สิ่งสำคัญคือการฝึกฝนให้เกิดความคุ้นชินเชี่ยวชาญกับหุ่นยนต์ที่เราสร้าง จนสามารถสั่งการเคลื่อนไหวให้เป็นหนึ่งเดียวกันกับผู้บังคับได้ และต้องวิเคราะห์จุดอ่อนคู่ต่อสู้เพื่อจู่โจมเป้าหมายโดยได้รับความเสียหายน้อยที่สุด ใช้ความคล่องตัว ทักษะ และความแม่นยำ หยุดคู่ต่อสู้ได้อย่างรวดเร็ว

 

วิบูรณ์ วังกราน (แพน) ตัวแทนทีมเอสพีอาร์ซี 2  รางวัลอันดับที่ 2 สมาชิกทีม 12 คน กล่าวว่า บางคนเข้าใจว่าหุ่นยนต์นักสู้คือการแข่งขันที่ใช้ความรุนแรงและไม่มีประโยชน์ แท้จริงแล้วเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นใหม่มาก หุ่นยนต์นักสู้มีทั้งความตื่นเต้นท้าทาย ทำให้สามารถเข้าถึงคนรุ่นใหม่ และดึงดูดให้คนสนใจเข้าถึงเทคโนโลยีนวัตกรรมได้ง่ายขึ้น จึงสร้างแรงบันดาลใจ ฝึกให้เราทำงานเป็นทีม รู้จักออกแบบ วิเคราะห์ วางแผน ระหว่างแข่งขันคู่ละ 2 รอบ เมื่อหุ่นยนต์เสียหายจากการปะทะต่อสู้ เราต้องซ่อมภายในเวลาอันจำกัด แก้ปัญหาฉุกเฉิน

 

 

สุทัศน์ ฉิมพันธ์ (ทัศน์) ตัวแทนทีมเอสพีอาร์ซี 1 รางวัลอันดับที่ 3 กล่าวว่า เป็นการแข่งขันที่ได้ประสบการณ์ตรงและได้เห็นพัฒนาการความก้าวหน้าของหุ่นยนต์คู่แข่ง  รู้สึกประทับใจมากที่ได้เห็นทีมน้องๆ ระดับชั้นประถมศึกษาก็มาร่วมการแข่งขัน ซึ่งหุ่นยนต์ของเขามีความแข็งแกร่งและออกอาวุธได้ไม่แพ้มืออาชีพเลย เหนือสิ่งอื่นใดคือมิตรภาพ การรู้แพ้รู้ชนะ น้ำใจนักกีฬาที่คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในแง่ผู้ชมก็รู้สึกสนุกสนานไปกับการต่อสู้ชิงไหวชิงพริบด้วยกลยุทธ์ต่างๆ หล่อหลอมให้สังคมไทยเป็นสังคมนวัตกรรมมากยิ่งขึ้น

 

นันทศักดิ์ พรรณขาม (เอ็ม) ตัวแทนทีมฟาร์เมอร์ โรโบติก ซึ่งคว้ารางวัลรองอันดับที่ 3 อีกทีมหนึ่ง กล่าวว่า ในทีมเรามี 5 คน หุ่นยนต์นักสู้เป็นกีฬาที่น่าสนใจ ทั้งความตื่นเต้นเร้าใจ โดนใจคนรุ่นใหม่และคนรักหุ่นยนต์  ได้เรียนรู้และใช้หลักการออกแบบหุ่นยนต์กับศาสตร์ต่างๆ ทั้งเครื่องกล ดิจิทัล ไฟฟ้า วัสดุ เป็นการแข่งขันที่เราได้ใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ทำให้กล้าคิด กล้าทำ นำไปต่อยอดพัฒนาหุ่นยนต์ไทยได้อีกหลายด้านครับ

 

นับเป็นอีกหนึ่งการพัฒนายกระดับวงการหุ่นยนต์นักสู้ของไทยสู่เวทีโลกในอนาคต

JMT ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/62 อนุมัติออกหุ้นกู้ 5,000 ลบ.

 

นายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานกรรมการ บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT, นายปิยะ พงษ์อัชฌา (ที่ 3 จากซ้าย) กรรมการ, นายสุทธิรักษ์ ตรัยชิรอาภรณ์ (ที่ 4 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วย คณะกรรมการบริษัทฯ ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกร่วมกันภายหลังการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2562 ณ อาคารเจมาร์ท บี ชั้น 2 ถนรามคำแหง เมื่อเร็วๆ นี้ โดยที่ประชุมมีมติอนุมัติการออกหุ้นกู้เพิ่มอีกจำนวน 5,000 ล้านบาท เพื่อรองรับโอกาสการเติบโตของธุรกิจบริหารหนี้ในอนาคต

Page 2 of 5
X

Right Click

No right click