×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 809

Hitachi Metals, Ltd.

July 06, 2017 7691

        นับวันปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าในเมืองไทยโดยเฉพาะเมืองใหญ่ๆ มีทิศทางว่าจะเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างก้าวกระโดด ยิ่งเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าการใช้ไฟฟ้าก็ยิ่งเป็นปัจจัยประกอบที่ขาดไม่ได้

        การผลิตไฟฟ้ายิ่งมากเท่าไหร่ก็ย่อมหมายถึงการต้องแลกมาด้วยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติไม่ว่าจะเป็น น้ำมัน ถ่านหิน แหล่งน้ำ พลังงานลม หรือแม้แต่พลังงานจากแสงอาทิตย์ไปเป็นแหล่งกำเนิดพลังงาน แต่จะผลิตไฟฟ้าจากแหล่งไหนก็ล้วนมีต้นทุนในการผลิตพลังงานไฟฟ้าอยู่มิใช่น้อย ดังนั้นการใช้ไฟฟ้าอย่างคุ้มค่าและปกป้องการสูญเสียจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญด้วยกันทั้งสองประการ

        บริษัท Hitachi Metals, Ltd. ได้เล็งเห็นประโยชน์ของการนำนวัตกรรม Amorphous Metal ซึ่งนำมาใช้เป็นตัวแกนกลางของหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งมีคุณสมบัติที่ช่วยแปลงโวลต์ไฟให้อยู่ในระดับเหมาะสมทั้งในบ้านเรือนหรือแม้แต่โรงงานอุตสาหกรรม และที่สำคัญ Amorphous Metal ยังช่วยขจัดความร้อนและการกินไฟตลอดเวลาของหม้อแปลงไฟฟ้า 

        Ryuichi Kamoshita General Manager บริษัท Hitachi Metals, Ltd. กล่าวถึงประโยชน์ของนวัตกรรมนี้ว่า “ผมคิดว่าหม้อแปลงไฟฟ้าในเมืองไทยมีจำนวนเกินกว่า 1 ล้านชิ้น ซึ่งในอนาคตความต้องการหม้อแปลงไฟฟ้าจะมีทั้งที่จะติดตั้งใหม่และที่จะต้องมีการเปลี่ยนใหม่จากอายุการใช้งาน ซึ่งทราบว่าในปัจจุบันมีบริษัทไทยที่ผลิตหม้อแปลงอยู่ 2 แห่ง ทางเรามีเป้าหมายอยากจะมีความร่วมมือกับบริษัทคนไทยที่ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า โดยอยากนำเสนอการใช้นวัตกรรมของ Amorphous Metal เข้ามาใช้ แน่นอนว่า ความก้าวหน้าของการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าของบริษัทไทยในปัจจุบันสามารถช่วยประหยัดไฟได้กว่าในอดีตถึง 20% และแม้การหันมาใช้ นวัตกรรมของ Amorphous Metal จะส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตและจำหน่ายสูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง แต่เราอยากให้ทาง ผู้ประกอบการไทย ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรม หรือเจ้าหน้าที่รัฐบาลได้ตระหนักและพิจารณานวัตกรรมของเรา โดยผมไม่อยากให้มองในแง่ของราคาอย่างเดียว แต่อยากให้มองในแง่การใช้งานระยะยาว 10-20 ปี แน่นอนว่าตอนแรกที่ซื้อจะรู้สึกว่าแพงกว่า แต่เมื่อใช้ไปประมาณ 5 ปีจะเริ่มคุ้มค่า เพราะมูลค่าของการช่วยลดการสูญเสียและประหยัดไฟจะวัดได้ในระยะยาว ที่ประเทศจีนตอนนี้ได้ใช้นวัตกรรมของเราประมาณ 50% สำหรับอินโดนีเซียเริ่มใช้ได้ 10-20% และเราก็คาดหวังว่าประเทศไทยจะเป็นต้นแบบของประเทศในแถบนี้ ทั้งในความร่วมมือการผลิตและการกระจายไปสู่ประเทศในแถบนี้ อาทิ ลาว เมียนมาร์ หรือกัมพูชา เพราะเชื่อว่าประเทศในแถบลุ่มน้ำโขง กำลังมีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจซึ่งมีแนวโน้มของการเติบโตซึ่งต่อไปปริมาณการใช้กระแสไฟก็จะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการเลือกใช้นวัตกรรมที่คำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัดกว่าในระยะยาวจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก”

X

Right Click

No right click