WMS Asia 2019

October 15, 2019

บริษัท แบรนดิ คอร์ปอเรชัน จำกัด (BRANDi) จัดงาน WMS ASIA 2019 (WORGD MARKETING SUMMIT ASIA 2019) ครั้งแรกในประเทศไทย บนความร่วมมือของ KOTGER IMPACT (KI) สมาคมการ จัดการแห่งประเทศไทย (TMA) และ THE STANDARD เมื่อเร็วๆ นี้ ณ โรงแรมสยาม เคมปินสกี้ กรุงเทพฯ จากความตั้งใจที่อยากให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงการพัฒนาเพื่อไปสู่สิ่งที่ดีกว่าในฉบับ ของตนเอง โดยคำนึงถึงมิติทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันนำไปสู่เป้าหมายในการพัฒนาโลกที่ ดีกว่า

ซึ่งในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ ฟิลิป คอตเลอร์ (PHILIP KOTLER) บิดาแห่งการตลาดยุค ใหม่ มาเป็นผู้บรรยายหลัก ภายใต้ธีมการจัดงาน “FORGET EX-GROWTH. FOCUS NEXT-GROWTH.” โดย ได้นิยามและกำหนดกลยุทธ์การเติบโตรูปแบบใหม่ให้กับภาคธุรกิจ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่ ปกติ “Unconventional Growth in Unusual World” จากสูตรสำเร็จในการทำธุรกิจแบบเดิม ๆ ที่แสวงหา ผลกำไรที่มากขึ้น

โดยการพยายามลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น สู่การทำธุรกิจรูปแบบใหม่ในโลกที่ ผู้บริโภคไม่ได้เลือกซื้อสินค้าและการให้บริการ จากการคำนึงถึงราคาเพียงอย่างเดียว แต่ให้ความสนใจกับธุรกิจ ที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อพวกเขา

โดยหนึ่งในช่วง Highlight พิเศษของงาน คือ การเปิดตัวดัชนีชี้วัดโลกที่ดีกว่า (BETTER WORLD INDEX: BWi) ซึ่งเกิดจากการพัฒนาร่วมกับระหว่าง ศาสตราจารย์ ฟิลิป คอตเลอร์ และ บริษัท BRANDi เพื่อใช้เป็นกรอบในการพัฒนาองค์กรในแบบฉบับของตนเอง โดยยกระดับการวัดเป้าความสำเร็จจาก Single Bottom Line สูU Triple Bottom Line จึงกล่าวได้ว่า BWi นับเป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยงความสำเร็จ ผ่านความร่วมมือทั้งจากภาคธุรกิจ ภาครัฐ และภาคประชาชน สู่การเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ (Economic Growth) สังคม (Well-being) และสิ่งแวดล้อม (Environmental Enhancement) ควบคู่กันไปแบบไม่ทิ้ง ใครไว้ข้างหลัง

 

การจัดงาน WMS ASIA 2019 ในครั้งงนี้ได้รับความสนใจจากบุคคลสำคัญทั้งในระดับประเทศ และ ระดับสากล ไม่ว่าจะเป็นวิทยากรร่วม อาทิ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (รองนายกรัฐมนตรี), คุณซาตู ซุยก์การี เคลฟเวน (เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชอาณาจักรฟินแลนด์ประจำประเทศไทย), คุณเบอร์กิท ฮานส์ล (ผู้จัดการธนาคารโลกประเทศไทย), คุณวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ (ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ เครือเบทาโก), คุณพิพัฒพงศ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา (กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธาน

เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด), คุณธีรนันท์ ศรีหงส์ (ประธานสมาคมการจัดการ ธุรกิจแห่งประเทศไทย) และผู้ร่วมงานที่ล้วนนั่งแท่นผู้บริหารระดับสูงในองค์กรชั้นนำกว่า 300 คน โดยได้ร่วมกันนิยาม “Better Thailand index” หรือดัชนีชี้วัดประเทศไทยที่ดีกว่าร่วมกัน  จึงนับเป็นก้าวสำคัญของ การปรับกระบวนทัศน์ใหม่ ทางด้านกลยุทธ์การเติบโตในศตวรรษที่ 21 ของประเทศไทย ที่แสดงจุดยืนของการ ดำเนินธุรกิจที่ขับเคลื่อนโดยมีแบรนด์เป็นศูนย์กลางเพื่อสร้าง “โลกที่ดีขึ้น” ในแบบที่สามารถนำไปปฏิบัติจริง และวัดผลได้จริง

เครือข่ายระดับโลกมุ่งหวังให้ประเทศไทยก้าวสู่การบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชเพื่อการเกษตรยั่งยืน ด้วยนวัตกรรมการผลิตอาหารจากธรรมชาติ เพื่อความเป็นอยู่และสุขภาพที่ดีขึ้น

โพลีเฮอร์บ เติบโตท่ามกลางกระแสการแข่งขัน ล่าสุดจัดงานฉลองครบรอบ 8 ปี อย่างคึกคัก ตอกย้ำความพร้อมเดินหน้าสู่อนาคตที่ยิ่งใหญ่เคียงข้างสมาชิกชนิดเต็มร้อย เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จร่วมกัน

คีย์เวิร์ดสำคัญของยุคสมัยในช่วงเวลานี้คงหนีไม่พ้นคำว่า ‘ดิสรัปชั่น’ คำสำคัญที่สืบเนื่องจากพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า และสร้างความท้าทายต่อการตัดตอนความสำเร็จของอดีตที่เคยมีมา

“หิวกันแล้วใช่ไหมครับ ออนไลน์กันดีกว่าว่ามื้อนี้จะกินอะไรดี” คำพูดนี้คงไม่ใช่สิ่งใหม่อีกต่อไปแล้วสำหรับ พ.ศ. นี้

ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมามีข่าวหนึ่งที่อยู่ในความสนใจของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันมาก ก็คือ ข่าวที่กรมสรรพากรจะพิจารณายกเลิกสิทธิประโยชน์ทางภาษีของ RMF และ LTF

บางทีการทำโฆษณาอย่างโจ่งแจ้งเพื่อบอกต่อผู้บริโภคว่าแบรนด์เราทำความดีอะไรบ้างเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กรก็ไม่สามารถการันตีได้ว่าผู้บริโภคจะเชื่อในสิ่งที่แบรนด์พยายามจะบอกเสมอไป

หากพูดถึง AACSB International เชื่อว่า Business School ทั่วโลกต่างก็รู้จัก และมีจุดมุ่งหมายตรงกันที่จะได้ชื่อว่า ผ่านการรับรองมาตรฐานของ AACSB กันแทบทั้งสิ้น วันนี้เมื่อมีโอกาสได้พูดคุยกับ 1 ใน 2 Business School ในประเทศไทยที่ได้รับตรา AACSB มาครอบครองอย่าง NIDA Business School หรือคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จึงไม่ขอพลาดที่จะอัปเดต Goal ต่อไปของ Business School ชั้นนำของประเทศแห่งนี้กัน

Time to go Online

ผศ.ดร.วิพุธ อ่องสกุล คณบดีคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เริ่มต้นกล่าวถึง ทิศทางในการพัฒนา Business School แห่งนี้ว่า

ขณะนี้การศึกษาทั่วโลกกำลังให้ความสนใจกับเทรนด์การศึกษาออนไลน์ซึ่งกำลังมาแรง แต่ถ้าพิจารณาในแง่ของสังคมไทยโดยรวม เราอาจจะยังไม่พร้อมกับการศึกษาออนไลน์ แต่หากพิจารณาในบริบทของคนรุ่นใหม่ยุคนี้ ต้องยอมรับว่าพวกเขาคุ้นเคยกับสื่อออนไลน์กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเสพข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ อ่าน E - Book หรือฟังเพลง ดูคลิปผ่าน YouTube ไปจนถึงการสื่อสารกันในกลุ่มเพื่อน คนในครอบครัวผ่าน Social Media ทุกรูปแบบ เพราะฉะนั้น การเรียนผ่านสื่อออนไลน์ก็จะไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไป 

ด้วยเหตุนี้ NIDA Business School จึงตกลงใจที่จะเดินหน้าเต็มที่กับการบุกเบิกและวางมาตรฐานการศึกษาออนไลน์ในประเทศไทย โดยได้จัดทำหลักสูตร International MBA เป็น ASEAN Perspective ในรูปแบบของ Double Degree โดยร่วมมือกับ Kelley School of Business Indiana University สถาบันที่เป็นต้นแบบและได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในด้านการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ โดยผู้เรียนหลักสูตรนี้จะได้รับปริญญา Master of Science in Specific Area อย่าง Marketing หรือ Finance จากทาง Kelly School และรับปริญญาในหลักสูตร MBA จากทางนิด้า ซึ่งหลักสูตรนี้คาดว่าจะเปิดรับสมัครนักศึกษาเป็นรุ่นแรกในปีการศึกษาหน้าเป็นรุ่นแรก

นอกจากนั้น ดร.วิพุธ ยังเปิดเผยถึงแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนเพิ่มเติม ด้วยการนำแนวทาง Competency Development มาใช้เพื่อดึงศักยภาพแท้จริงของผู้เรียนออกมาและส่งเสริมให้ตรงจุด คู่ขนานไปกับการเรียนด้วย เพราะทางคณะต้องการให้ผู้เรียนได้รับทั้งความรู้ และทักษะในการพัฒนาศักยภาพที่โดดเด่นของตนเองให้เป็นประโยชน์ในหน้าที่การงานของตน และเป็นประโยชน์กับองค์กรและประเทศชาติด้วย โดย ดร.วิพุธ สรุปว่า ตอนนี้ Business School ของนิด้ามีภารกิจบริหารจัดการรถไฟ 3 ขบวน 3 Tracks ขบวนแรก เป็นการรักษาคุณภาพการเรียนการสอนในหลักสูตรปกติที่นิด้าไว้ ขบวนที่ 2 เป็นภาคส่วนของ Extra Curriculum ซึ่งก็คืองานด้าน Competency Development ที่ได้เซ็ทธีมไว้ ซึ่งจะมี HR Expert เข้ามามีส่วนร่วมในการบ่มเพาะ ปลูกฝัง ให้คำแนะนำนักศึกษาตั้งแต่วันแรกของการเรียน และขบวนที่ 3 ก็คือ Track Online ที่ผู้เรียนสามารถเรียนคู่ขนาน ทั้งที่นิด้า และเรียนออนไลน์ จนกระทั่งได้ดีกรีจาก 2 สถาบันชั้นนำในระดับประเทศและระดับโลกไปพร้อมกัน

Build Strong Internship Program

Internship หรือการฝึกงาน นับเป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัดที่ NIDA Business School ให้ความสำคัญ ดร.วิพุธ ได้กล่าวถึงนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาและขานรับกระแส ASEAN ร่วมกับการเสริมสร้างระบบ Internship ให้เข้มแข็งเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์สูงสุดว่า ตอนนี้ทางคณะฯ ได้เริ่มไป Recruit นักศึกษาชาวเมียนมาร์ โดยเสนอว่าจะมอบทุนการศึกษาให้ ซึ่งโปรเจคนี้คาดว่าจะขยายไปในประเทศ CLMV ทั้งหมดอย่างครอบคลุมได้ในเวลาไม่นาน

โดยทุนการศึกษาที่ทางคณะฯ มอบให้ คณบดีท่านนี้เชื่อว่าจะดึงดูดใจผู้รับทุนได้แน่นอน เพราะนอกจากนักศึกษาชาวเมียนมาร์จะได้เรียนฟรีแล้ว สิ่งที่จะมอบให้เพิ่มเติม คือ การมอบโอกาสให้เขาได้เรียนในภาคพิเศษ ส่วนในวันจันทร์-วันศุกร์ ก็จะให้เขาได้มีโอกาสไปฝึกงาน กับบริษัทที่มีแนวโน้มว่าจะขยายธุรกิจไปในเมียนมาร์ และเข้าไปในตลาดหลักทรัพย์ของเมียนมาร์ที่คาดว่าจะเปิดขึ้นในปี พ.ศ. 2558 ด้วย ซึ่งเท่ากับ 2 ปี ที่นักศึกษาชาวเมียนมาร์มาศึกษาที่นิด้า เขาจะได้รับทั้งปริญญา MBA จากนิด้า และมีโอกาสไปฝึกงาน ได้เรียนรู้ระบบงาน ซึ่งเมื่อมาบวกกับความได้เปรียบที่เขามี Local Knowledge ด้วยแล้ว เมื่อบริษัทที่เขาไปฝึกงานจะไปเปิดตัวในตลาดหลักทรัพย์ที่พม่า บริษัทก็จะได้บุคลากรคุณภาพซึ่งเป็นคนท้องถิ่นไปด้วย ดร.วิพุธ จึงมั่นใจว่าการให้ทุนการศึกษาในรูปแบบนี้จะช่วยส่งเสริมทั้งขีดความสามารถในการขยายความร่วมมือและการพัฒนานักศึกษาของนิด้า และยังสอดคล้องกับการที่ประเทศของเราจะก้าวเข้าสู่ AEC ในปี พ.ศ. 2558 อีกด้วย

เสริมศักยภาพเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง

ตอนนี้ NIDA Business School ยังได้จัดตั้ง ศูนย์เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ขึ้น โดยการก่อตั้งศูนย์เป็นความร่วมมือกันระหว่าง Institute for Strategy and Competitiveness ของ ไมเคิล อี พอร์เตอร์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ Harvard Business School โดยพันธกิจหลักของศูนย์ฯ เรา คือการมีบทบาทช่วยส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทย โดยล่าสุด เราได้จัดพิมพ์ Thailand in Doing Business 2014 ขึ้น ซึ่งเป็นการนำเสนอหลักเกณฑ์ในการทำธุรกิจในด้านความยาก ความง่าย ของการทำธุรกิจทุกสาขา โดยต้นตำรับเป็นของ World Bank ที่ทำ Review ในทำนองนี้ขึ้นมาทุกปี โดยทาง NIDA Business School คาดหวังว่าจะให้ Booklet เล่มนี้จะช่วยเผยแพร่ความรู้และให้เคล็ดลับตลอดจนแนวทางในการทำธุรกิจ ทั้งสำหรับ SMEs และผู้ที่อยากเริ่ม Start Up ธุรกิจใหม่ๆ ด้วย


เรื่อง : กองบรรณาธิการ

29 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การศึกษาด้านบริหารธุรกิจ โดยเฉพาะในระดับ MBA มีผู้บริหารองค์กรในทุกระดับ เข้ารับการศึกษา

คณะบริหารธุรกิจ นิด้า (NIDA Business School) เป็นบัณฑิตวิทยาลัยการบริหารธุรกิจแห่งแรกของประเทศไทย

X

Right Click

No right click