อาสาสมัคร เฟดเอ็กซ์ อุทิศเวลาเพื่อส่งเสริมค่านิยมด้านความยั่งยืน และปรับปรุงสภาพแวดล้อมในโรงเรียน

น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืช สัตว์ รวมถึงมนุษย์ ที่ใช้ในการอุปโภค บริโภค เกษตรกรรม อุตสาหกรรม ฯลฯ และยังช่วยรักษาความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ต่างๆด้วย หากแต่ปริมาณน้ำบนโลกนี้เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มถึงร้อยละ 97 ส่วนที่เหลืออีกเพียงร้อยละ 3 เป็นน้ำจืด ถ้าหากแบ่งในปริมาณน้ำจืดนี้เป็น 100% พบว่าเป็นธารน้ำแข็งและภูเขาน้ำแข็งมากถึง 70% ส่วนอีก 29% เป็นน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล และมีเพียง 1% เป็นน้ำผิวดิน

การเก็บกักน้ำไว้บนผิวดินเพิ่มเติมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ กลายเป็นทั้งเรื่องที่จำเป็นและเป็นความท้าทาย โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรมที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้น้ำเป็นจำนวนมาก วันนี้พามารู้จักกับหนึ่งในตัวอย่างการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนในภาคเกษตร ที่ โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา โครงการที่ริเริ่มดำเนินการโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ มาตั้งแต่ปี 2520 ด้วยการพลิกฟื้นผืนดินแห้งแล้งให้เกษตรกรทั้ง 50 ราย ได้มีอาชีพเลี้ยงหมูเป็นอาชีพหลัก และมีการเพาะปลูกพืชสวนพืชไร่เป็นอาชีพเสริม จนถึงปัจจุบันที่นี่กลายเป็นผืนดินอันอุดมสมบูรณ์ มีสวนผลไม้ สวนยาง แปลงผักปลอดสาร ฟาร์มเห็ด สุดแต่ความถนัดของเกษตรกรช่วยสร้างรายได้เสริมให้ตลอดปี

สำหรับการเลี้ยงหมูและการเพาะปลูกพืช ของเกษตรกรในหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า ซึ่งมีการใช้น้ำเป็นจำนวนมาก และที่ผ่านมาที่นี่ยังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง เกษตรกรจึงร่วมกับทีมงานของธุรกิจสุกร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ที่ช่วยสนับสนุนทั้งการผลิตหมูและทุกๆกิจกรรมของเกษตรกร ด้วยการร่วมกันคิดหาวิธีการกักเก็บน้ำไว้ใช้ให้ได้ตลอดทั้งปี ซึ่งหนึ่งในวิธีการที่เห็นผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมคือ “ธนาคารน้ำใต้ดิน (Groundwater Bank)”

ภักดี ไทยสยาม ประธานกรรมการ บริษัท หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า จำกัด เล่าว่า ธนาคารน้ำใต้ดิน ถือเป็นนวัตกรรมด้านสังคมที่เกษตรกรร่วมกับซีพีเอฟดำเนินการ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำใช้ ทำให้เกษตรกรจำเป็นต้องซื้อน้ำมาใช้มากถึง 50,000 คิว ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงถึงปีละ 1,000,000 บาท ส่งผลกระทบต่อรายของได้เกษตรกร ทุกคนได้ร่วมคิดหาวิธีที่จะกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับทั้งการเลี้ยงหมูและปลูกพืชได้ทั้งปี จึงเกิดเป็นแนวคิดการทำ “ธนาคารน้ำใต้ดิน” ของหลวงพ่อสมาน สิริปัญโญ ประธานสถาบันน้ำนิเทศศาสนคุณ ที่ใช้หลักการเติมน้ำไปเก็บในชั้นใต้ดิน ด้วยการขุดบ่อในบริเวณพื้นที่น้ำท่วม น้ำขัง น้ำหลาก หรือจุดรวมของน้ำเพื่อกักน้ำให้ซึมลงไปชั้นหิน เป็นการพักน้ำรวมไว้เหมือนธนาคาร

“เมื่อก่อนพอฝนตกจะเกิดน้ำท่วมขังและไหลทิ้งออกนอกพื้นที่ ไม่สามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์ได้ แต่ธนาคารน้ำใต้ดิน คือสถานที่เก็บน้ำฝนที่ตกลงมาไปกักเก็บไว้ใต้ดินในชั้นหินอุ้มน้ำให้ได้มากที่สุด จากบ่อที่ทุกคนร่วมใจกันประดิษฐ์ขึ้นมา ในรูปแบบนวัตกรรมทางธรรมชาติ จัดการน้ำที่ไหลอยู่บนผิวดินให้ลงไปเก็บไว้ใต้ดิน มีการเชื่อมโยงเป็นระบบเครือข่ายธนาคารน้ำ ร่วมกับแหล่งน้ำที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ เป็นการนำความรู้พื้นฐานการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ทั้งด้าน วิทยาศาสตร์ ธรณีวิทยา สังคม ชุมชน และธรรมชาติ ทิศทางการไหลของน้ำ การหมุนของโลกมาผนวกกัน เมื่อมีธนาคารน้ำใต้ดิน พอถึงฤดูแล้งระดับน้ำใต้ดินจะเพิ่มสูงขึ้น เกษตรกรสามารถนำน้ำจากใต้ดินขึ้นมาใช้ได้เพียงพอตลอดฤดูกาล” ภักดี กล่าว

ธนาคารน้ำใต้ดิน หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า เริ่มดำเนินการในปี 2563 หลังจากทีมงานได้ศึกษาดูงาน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และเชิญวิทยากรของสถาบันน้ำนิเทศศาสนคุณ มาให้ความรู้กับเกษตรกร พร้อมวางแผนสำรวจตำแหน่งที่จะทำธนาคารน้ำใต้ดินในหมู่บ้าน โดยทีมผู้เชี่ยวชาญของซีพีเอฟทำการสำรวจข้อมูลปริมาณน้ำใต้ดินเบื้องต้น จนเริ่มสร้างธนาคารน้ำใต้ดินรูปแบบบ่อปิดบริเวณรอบสำนักงานและพื้นที่ส่วนกลาง และทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิดที่บ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ของหมู่บ้าน โดยน้ำที่นำมาเก็บมาจากหลายแหล่ง ทั้งน้ำฝนที่ตกลงมา และน้ำจากการทำธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบปิด ต่อมาในปี 2564 ต่อยอดสู่ธนาคารน้ำใต้ดินรูปแบบรางระบายน้ำบริเวณถนนภายในหมู่บ้านฯ และในปี 2565 ผลักดันสู่แหล่งเรียนรู้ให้แก่ผู้ที่มีความสนใจได้มาศึกษาดูงาน

ปัจจุบันที่นี่มีธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดบริเวณพื้นที่ส่วนกลางรวม 31 บ่อ แบ่งออกเป็นรูปแบบบ่อปิด 30 บ่อ และแบบรางระบายน้ำ 1 บ่อ ส่วนธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดบริเวณรอบหมู่บ้านมีทั้งหมด 64 บ่อ แบ่งออกเป็นรูปแบบบ่อปิด 9 บ่อ และรูปแบบรางระบายน้ำจำนวน 55 บ่อ ช่วยลดปัญหาน้ำท่วมขังและเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับต้นไม้ภายในฟาร์ม ส่วนธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บ่อเดิม ความจุ 37,000 ลบ.ม. โดยทำการขุดบ่อเพิ่มเติมเพื่อเก็บกักน้ำให้ลึกถึงชั้นหินอุ้มน้ำ เชื่อมต่อจากบ่อเดิม อีก 1 บ่อ มีความจุ 17,000 ลบ.ม. ทำให้สามารถเก็บน้ำไว้ใช้ได้มากกว่า 18 เดือน จึงช่วยแก้ไขทั้งปัญหาภัยแล้ง การขาดน้ำ แก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังทั้งภายในและภายนอกฟาร์ม เพิ่มปริมาณระดับน้ำบาดาลในพื้นที่เก็บไว้ใช้อนาคต และเพิ่มความอุมดมสมบูรณ์ของพื้นดินสำหรับปลูกพืช ความสำเร็จนี้ได้ถูกต่อยอดไปยังฟาร์มหมูของธุรกิจสุกรซีพีเอฟภาคตะวันออกอีก 6 แห่ง รวมถึงขยายผลไปยังธุรกิจสุกรใน ซี.พี.ลาว ด้วย

“ธนาคารน้ำใต้ดินเปรียบเสมือนการฝากน้ำไว้กับดิน เป็นการเก็บน้ำส่วนเกินเพื่อเติมน้ำที่ขาด ช่วยแก้ปัญหาทั้งน้ำท่วมและภัยแล้งทุกปี และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำได้ถึงปีละ 1 ล้านบาท เกษตรกรและทีมงานซีพีเอฟทุกคนภูมิใจที่ ได้มีโอกาสเปิดรับผู้สนใจเข้ามาศึกษาดูงานธนาคารน้ำใต้ดินของเราและนำไปประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ที่นี่กลายเป็นแหล่งเรียนรู้นวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันยังได้รับเชิญเป็นวิทยากรให้ความรู้ และให้คำปรึกษาเรื่องการทำธนาคารน้ำแก่หน่วยงานต่างๆ และยังได้ไปร่วมงานสัมมนาบริหารจัดการน้ำนานาชาติด้วย” ภักดี กล่าว

หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้าพิสูจน์ ทำให้เห็นแล้วว่าน้ำบาดาลและแหล่งน้ำใต้ดินมีความสำคัญ และเป็นแหล่งขุมทรัพย์ที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการ หากมีการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับผู้ที่สนใจเข้าศึกษาดูงาน สามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 038-557-081

การเลี้ยงหมูแบบอิสระของพ่อแม่ ถือเป็นภาพชินตาที่ ชมพูนุท บุญทิม หรือ ใบพลู เห็นและสัมผัสมาตั้งแต่เกิด

บมจ.กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต ในฐานะผู้นำด้านบริษัทฯ ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม หรือ Green Insurer นำโดย คุณสุกัญญา อิสรานุวัฒน์ชัย รองประธานอาวุโส ฝ่ายสื่อสารการตลาดและภาพลักษณ์องค์กร (แถวหลังคนที่ 13 จากซ้าย) มอบถังคัดแยกขยะขนาดใหญ่ ภายใต้กิจกรรม Save Me, Free Waste ให้แก่สำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมืองพัทยา โดยมีคุณญฐาสุดา พลราชม ผู้อำนวยการส่วนควบคุมมลพิษ (แถวหลังคนที่ 11 จากขวา) เป็นตัวแทนรับมอบ ณ หาดจอมเทียน พัทยา จ.ชลบุรี

กิจกรรม Save Me, Free Waste เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมดีๆ จาก แคมเปญ “#WeCommitToClimateSS2” ที่สนับสนุนให้ทุกคนร่วมกันเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการใส่ใจสิ่งแวดล้อม และเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศน์ และสิ่งแวดล้อมทะเลของประเทศไทย โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถช่วยกันเก็บขยะตามชายหาด แม่น้ำลำคลอง รวมถึงขยะจากที่ต่างๆ พร้อมถ่ายภาพและนำมาคอมเม้นท์ในโพสต์กิจกรรม โดยทุก 1 ไลก์ 1 แชร์โพสต์กิจกรรม จะถูกแปลงเป็นเงิน 5 บาท เพื่อนําไปจัดซื้อถังขยะและติดตั้งตามชายหาด มูลค่ารวมสูงสุด 30,000 บาท ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะอยู่เคียงข้าง คุ้มครอง พร้อมใส่ใจ สิ่งแวดล้อม #WeCommitToClimate

สำหรับผู้ที่สนใจกิจกรรมต่างๆ จากแคมเปญ“#WeCommitToClimateSS2” สามารถเข้าร่วมได้ที่ Facebook: Hearts in action volunteers และ Facebook: Taophiangphor ทุกความร่วมมือเล็กๆ น้อยๆ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ เพราะแค่คุณปรับ โลกก็เปลี่ยนมาสร้างโลกให้ดีขึ้นไปด้วยกัน

จับมือหน่วยงานกรุงเทพมหานคร และมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ เนรมิตพื้นที่กว่า 65 ไร่ เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ป่าในเมือง ภายใต้โครงการปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้นของผู้ว่าฯ กทม.

นางสาวสิรีรัตน์ คอวนิช (กลางขวา) ผู้บริหารสูงสุด ฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทนมอบเงินจำนวน 13,288,008 บาท ให้กับ นายขรรค์ ประจวบเหมาะ (กลางซ้าย) ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย ซึ่งสมาชิกบัตรเครดิต เคทีซีร่วมกันบริจาคผ่านโครงการเคทีซีออนไลน์ โดยชำระผ่านบัตรเครดิตรายเดือน หรือใช้คะแนน KTC FOREVER ทุก 1,000 คะแนน แทนเงินบริจาค 100 บาท สมทบทุนเข้าโครงการ "เงินทุนฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ สภากาชาดไทย" เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ ป้องกัน บรรเทาทุกข์ และการฟื้นฟูเมื่อเกิดภัยพิบัติ และโรคอุบัติใหม่ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน ณ สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย เมื่อเร็วๆ นี้

โครงการเงินทุนฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ สภากาชาดไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเงินทุนฉุกเฉินนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ จากภัยธรรมชาติ ภัยตามฤดูกาล อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย และภัยที่เป็นอันตรายกับสุขภาพที่คาดการณ์ไม่ได้ เช่น โรคโควิด-19 ในกรณีที่ภาครัฐไม่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทั่วถึงทันที ครอบคลุม 76 จังหวัดทั่วประเทศ รวมถึงกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ซึ่งประกอบด้วยผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ผู้พิการ เด็ก ผู้ไร้ที่พึ่ง รวมถึงกลุ่มแรงงานข้ามชาติ เพื่อบรรเทาทุกข์ประชาชน

ผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบริจาคสมทบทุนได้ที่ https://www.ktc.co.th/promotion/donation/charitable-organization/thai-red-cross-010119 หรือติดต่อศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือติดต่อ KTC Phone โทร. 0-2123-5000

บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านนวัตกรรมเครื่องปรับอากาศชั้นนำระดับโลก

จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ สู่ไอเดียเชิงธุรกิจ แก่เยาวชนโครงการสนับสนุนทุนการศึกษานักเรียนในพระราชานุเคราะห์ฯ

บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร จัดกิจกรรม “ออริจิ้น เติมรัก เติมใจ ให้อนาคต” มอบทุนการศึกษาแก่บุตรพนักงานบริษัทพันธมิตร ประจำปี 2566 จำนวน 74 ทุน ทุนละ 5,000 บาท รวมทั้งสิ้น 370,000 บาท ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงระดับประถมศึกษา ปีที่ 6 เพื่อสนับสนุนด้านการศึกษาให้แก่เยาวชนได้เติบโตอย่างมีคุณภาพ รวมถึงเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายการศึกษาให้กับผู้ปกครอง

งานครั้งนี้ได้รับเกียรติจากคณะผู้บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) นำโดย นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วย นางอารดา จรูญเอก ประธานอำนวยการ ร่วมมอบทุนการศึกษาให้แก่บุตรพนักงานของบริษัทพันธมิตรทั้ง 8 บริษัท ที่เสมือนครอบครัวเดียวกันกับออริจิ้น ในการช่วยสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ได้แก่  บริษัท สยาม มัลติ คอน จำกัด, บริษัท เทคโนโลยี่ แอสโซซิเอชั่น จำกัด, บริษัท 3 พร จำกัด, บริษัท นิวอีเล็คตริคัล เทคโนโลยี่ จำกัด, บริษัท พรีบิลท์ จำกัด (มหาชน), บริษัท 7 มกรา พลัส จำกัด, บริษัท 7 มกรา จำกัด และ บริษัท ณัฐณิชา การโยธา จำกัด

โดยมีผู้บริหารจากบริษัทพันธมิตรทั้ง 8 บริษัท ให้เกียรติร่วมกิจกรรม ท่ามกลางบรรยากาศเป็นกันเองและอบอุ่น กิจกรรมมอบทุนการศึกษาครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งภายใต้โครงการ “ORIGIN GIVE” โครงการกิจกรรมเพื่อสังคม ที่ร่วมสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ทั้งด้านการศึกษา สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

ในโอกาสครบรอบการก่อตั้ง 45 ปี บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ TEAMG  ร่วมกับ มูลนิธิกลุ่มทีมรวมใจ จัดโครงการมอบทุนการศึกษาแก่บุตรพนักงาน ประจำปี 2566 และโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่รอบข้างบริษัท

นายอำนาจ พรหมสูตร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ TEAMG เป็นประธานในพิธีมอบทุนการศึกษาให้กับบุตรพนักงาน ในโอกาสครบรอบ 45 ปี เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาของบุตรพนักงานที่มีผลการเรียนดีและมีความประพฤติดีให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ประจำปีการศึกษา 2566 จำนวนทั้งสิ้น 53 ทุน ทุนละ 3,000 บาท พร้อมทั้งมอบทุนการศึกษาแก่โรงเรียนวัดนวลจันทร์ จำนวน 30,000บาท ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดนวลจันทร์ จำนวน 10,000 บาท และศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนวัดบุญศรีมุนีกรณ์ จำนวน 10,000 บาท รวมเป็นเงิน 209,000 บาท  โดยมี ดร.อภิชาติ สระมูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายชวลิต จันทรรัตน์ กรรมการบริษัท ร่วมเป็นเกียรติในพิธี ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารทีม เมื่อเร็ว ๆ นี้

X

Right Click

No right click