บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ฉลองครบรอบ 73 ปี ในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ตอกย้ำความมั่งคงแข็งแกร่งแบรนด์ประกันระดับโลก นำทีมผู้บริหารระดับสูง พนักงาน และตัวแทนฝ่ายขาย ร่วมทำบุญตักบาตรอาหารแห้ง ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 18 รูป พร้อมนิมนต์พระครูสมุห์สมเกียรติ สุรญาโณ (พระอาจารย์กี้) เจ้าอาวาส วัดสบสวรรค์ ประพรมน้ำมนต์เสริมความสิริมงคลให้แก่บริษัทและพนักงานอีกด้วย

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมเพื่อสังคมตลอดวัน อาทิ หน่วยบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ สภากาชาดไทย ธนาคารขยะรีไซเคิล จาก Recycle Day ชุมชนแลกเปลี่ยนสินค้าแฟชั่น จาก Swoop Buddy จุดรับบริจาคอาหารเข้าธนาคารอาหาร จัดแพคถุงยังชีพ จากมูลนิธิ SOS ณ สำนักงานใหญ่ อาคารเพลินจิตทาวเวอร์

เจนเนอราลี่ กรุ๊ป ปรับโครงสร้างสายงานธุรกิจประกันภัยตามภูมิภาคเพื่อความคล่องตัวในด้านการบริหาร พร้อมแต่งตั้ง มร. วู้ดดี้ แบรดฟอร์ด (Mr. Woody Bradford) รับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เจนเนอราลี่ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้ง (Generali Investments Holding หรือ GIH) โดยมี มร.ฟิลลิป ดอนเนท (Mr. Philippe Donnet) ประธานกรรมการบริหารกลุ่มเจนเนอราลี่ รับตำแหน่งประธานกรรมการของ เจนเนอราลี่ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้ง

มร.อันเดรีย ซิโรนี ประธาน คณะกรรมการบริหารกลุ่มเจนเนอราลี่ อนุมัติโครงสร้างองค์กรใหม่ที่สะท้อนถึงธุรกิจหลักของกลุ่มฯ ตามที่ มร.ฟิลลิป ดอนเนท ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเจนเนอราลี่ เสนอต่อที่ประชุม โดยตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป กลุ่มเจนเนอราลี่จะดำเนินงานในฐานะกลุ่มบริษัททางการเงินที่ให้บริการครบวงจร โดยมุ่งเน้น 2 ธุรกิจหลัก อันได้แก่ ภาคธุรกิจประกันภัย และการบริหารจัดการสินทรัพย์

การปรับโครงสร้างครั้งสำคัญนี้ มุ่งขับเคลื่อนการเติบโตและตอบสนองต่อเป้าหมายทางธุรกิจหลักทั้งธุรกิจประกันภัยและธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์ให้ดียิ่งขึ้น สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ Lifetime Partner 24: Driving Growth ในการเป็นเพื่อนผู้เคียงข้างลูกค้าในทุกช่วงเวลาของชีวิต โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับความสำเร็จและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้เจนเนอราลี่สามารถคว้าโอกาสในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับแผนกลยุทธ์ในระยะต่อไป

โดยแต่งตั้งให้ มร. จูลิโอ แตร์ซาริโอล (Mr. Giulio Terzariol) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานธุรกิจประกันภัย บริหารงานในส่วนของ “ธุรกิจประกันภัย” อันมีเป้าหมายในการยกระดับประสิทธิภาพธุรกิจประกันภัยทั่วโลก มุ่งเน้นการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เสริมสร้างความสอดคล้องของกลยุทธ์ และสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับตลาดมากขึ้น เพื่อให้โครงสร้างองค์กรมีความกระชับและคล่องตัว โดยได้บูรณาการหน่วยธุรกิจ DACH (เยอรมนี ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์) และหน่วยธุรกิจต่างประเทศ จัดโครงสร้างให้เป็นส่วนหนึ่งของสายงานใหม่ ซึ่งประกอบด้วย 5 หน่วยธุรกิจระดับประเทศ ได้แก่ อิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ และ 3 ภูมิภาค ได้แก่ เมดิเตอร์เรเนียนและละตินอเมริกา ยุโรปตะวันออกตอนกลาง และเอเชีย โดยมี มร.ไฮเม่ อังคัสเตกุย เมลกาเรโจ (Mr. Jaime Anchústegui) ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารหน่วยธุรกิจต่างประเทศ จะได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานธุรกิจประกันภัย และเป็นตัวแทนในการประสานงานกับหน่วยงานกำกับดูแลท้องถิ่น บริหารความร่วมมือเชิงกลยุทธ์และการร่วมทุน ตลอดจนขับเคลื่อนโครงการประกันภัยระดับโลก และ มร. จิโอวานนี่ ลิเวรานี่ (Mr. Giovanni Liverani) ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารหน่วยธุรกิจ DACH จะเข้ามารับบทบาทใหม่

ด้านธุรกิจ “เจนเนอราลี่ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้ง” (Generali Investments Holding หรือ GIH) จะเข้ามาแทนที่หน่วยธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์และความมั่งคั่งเดิม โดยจะดูแลกิจกรรมการบริหารจัดการสินทรัพย์ทั้งหมดทั่วโลกภายในกลุ่มบริษัท ยกเว้นบางส่วนที่ดำเนินการในประเทศจีน GIH มุ่งเน้นการมอบประสิทธิภาพและบริการระดับโลกให้แก่ลูกค้าเดิม ควบคู่ไปกับการขยายธุรกิจไปยังลูกค้าภายนอกกลุ่มบริษัททั่วโลก และเพื่อให้เป้าหมายนี้บรรลุผล GIH จะอาศัยทั้งศักยภาพการลงทุนที่มีอยู่เดิม เสริมด้วยศักยภาพใหม่ ๆ ที่ได้จากการเข้าซื้อกิจการของบริษัท คอนนิ่ง โฮลดิ้งส์ จำกัด (Conning Holdings Limited) และบริษัทในเครือ รวมถึงความแข็งแกร่งจากความร่วมมือระยะยาวกับ คาเธย์ ไลฟ์ (Cathay Life) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเข้าซื้อกิจการดังกล่าวที่เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 โดยมี มร. วู้ดดี้ แบรดฟอร์ด (Mr. Woody Bradford) ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารเจนเนอราลี่ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้ง และจะยังคงบทบาทปัจจุบันในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานคณะกรรมการของบริษัท คอนนิ่ง โฮลดิ้งส์ จำกัด ทางด้าน มร.ฟิลลิป ดอนเนท ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเจนเนอราลี่ จะได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการบริหารเจนเนอราลี่ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้ง ขณะที่ มร. คาร์โล ตราบัตโตนี่ (Mr. Carlo Trabattoni) ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานบริหารจัดการสินทรัพย์และความมั่งคั่ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารเจนเนอราลี่ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้ง จะเข้ารับหน้าที่ใหม่ภายใต้สายงานบริหารสินทรัพย์

นอกเหนือจากนี้ ธนาคารเจนเนอราลี่ (Banca Generali) ภายใต้การบริหารของ มร.เจียน มาเรีย มอสซา (Mr. Gian Maria Mossa) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จะยังคงมุ่งเน้นการให้บริการที่ปรึกษาทางการเงินและโซลูชั่นการบริหารความมั่งคั่งอย่างคลอบคลุมต่อไป

มร .เดวิด ซิส (Mr. David Cis) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของกลุ่มเจนเนอราลี่ ซึ่งรายงานตรงต่อ มร.มาร์โก เซซานา (Mr. Marco Sesana) ผู้จัดการทั่วไป โดยจะเข้าร่วมในคณะกรรมการบริหารของกลุ่มฯ มุ่งเน้นยกระดับคุณภาพการบริการให้เป็นเลิศ ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) การจัดการกระบวนการทางธุรกิจ และการใช้แพลตฟอร์มเทคโนโลยีร่วม มาประยุกต์ใช้

ภายใต้โครงสร้างองค์กรใหม่นี้ สำนักงานใหญ่ของกลุ่มบริษัท (Group Head Office) ยังคงรับผิดชอบกำหนดยุทธศาสตร์หลักและเป้าหมายองค์กร ควบคู่ไปกับการบริหาร จัดการ และสนับสนุนหน่วยธุรกิจทุกด้านอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปรับแผนให้เหมาะสมกับแต่ละธุรกิจ

มร.ฟิลลิป ดอนเนท ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเจนเนอราลี่ กล่าวว่า “กลุ่มเจนเนอราลี่ ประสบความสำเร็จในการก้าวสู่ระดับโลกด้านธุรกิจประกันภัยและการบริหารสินทรัพย์แบบครบวงจร ด้วยความแข็งแกร่งทางการเงิน ความมุ่งมั่นต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการคำนึงถึงความยั่งยืน ในส่วนของสายงานบริหารสินทรัพย์นั้น การเข้าซื้อกิจการของบริษัทคอนนิ่งตลอดจนถึงความร่วมมือระยะยาวกับ คาเธย์ ไลฟ์ ช่วยให้เราสามารถขยายขอบเขตผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุน เสริมฐานลูกค้าต่างชาติ มุ่งขยายธุรกิจกับลูกค้าภายนอกกลุ่มบริษัท และการเพิ่มประสิทธิภาพด้านช่องทางการจัดจำหน่ายในตลาดสำคัญต่างๆ  เสริมความแข็งแกร่งให้กลุ่มเจนเนอราลี่ เป็นหนึ่งใน 10 ผู้บริหารจัดการสินทรัพย์ชั้นนำของยุโรป สำหรับสายงานประกันภัย มุ่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มบริษัทฯ ในตลาดหลัก ผ่านความเป็นเลิศด้านเทคนิค การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ และการปรับบริการให้ตรงกับความต้องการลูกค้าแม้ในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งนี้ ด้วยโครงสร้างองค์กรใหม่ที่เน้นธุรกิจประกันภัยและการบริหารสินทรัพย์ และความคล่องตัวในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น กลุ่มบริษัทฯ จะสามารถเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจในอนาคต สนับสนุนการกำหนดยุทธศาสตร์สำหรับแผนกลยุทธ์ในระยะยาว”

เจนเนอราลี่ กรุ๊ป ปรับโครงสร้างสายงานธุรกิจประกันภัยตามภูมิภาคเพื่อความคล่องตัวในด้านการบริหาร พร้อมแต่งตั้ง มร. วู้ดดี้ แบรดฟอร์ด (Mr. Woody Bradford) รับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เจนเนอราลี่ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้ง (Generali Investments Holding หรือ GIH) โดยมี มร.ฟิลลิป ดอนเนท (Mr. Philippe Donnet) ประธานกรรมการบริหารกลุ่มเจนเนอราลี่ รับตำแหน่งประธานกรรมการของ เจนเนอราลี่ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้ง

มร.อันเดรีย ซิโรนี ประธาน คณะกรรมการบริหารกลุ่มเจนเนอราลี่ อนุมัติโครงสร้างองค์กรใหม่ที่สะท้อนถึงธุรกิจหลักของกลุ่มฯ ตามที่ มร.ฟิลลิป ดอนเนท ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเจนเนอราลี่ เสนอต่อที่ประชุม โดยตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป กลุ่มเจนเนอราลี่จะดำเนินงานในฐานะกลุ่มบริษัททางการเงินที่ให้บริการครบวงจร โดยมุ่งเน้น 2 ธุรกิจหลัก อันได้แก่ ภาคธุรกิจประกันภัย และการบริหารจัดการสินทรัพย์

การปรับโครงสร้างครั้งสำคัญนี้ มุ่งขับเคลื่อนการเติบโตและตอบสนองต่อเป้าหมายทางธุรกิจหลักทั้งธุรกิจประกันภัยและธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์ให้ดียิ่งขึ้น สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ Lifetime Partner 24: Driving Growth ในการเป็นเพื่อนผู้เคียงข้างลูกค้าในทุกช่วงเวลาของชีวิต โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับความสำเร็จและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้เจนเนอราลี่สามารถคว้าโอกาสในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับแผนกลยุทธ์ในระยะต่อไป

โดยแต่งตั้งให้ มร. จูลิโอ แตร์ซาริโอล (Mr. Giulio Terzariol) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานธุรกิจประกันภัย บริหารงานในส่วนของ “ธุรกิจประกันภัย” อันมีเป้าหมายในการยกระดับประสิทธิภาพธุรกิจประกันภัยทั่วโลก มุ่งเน้นการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เสริมสร้างความสอดคล้องของกลยุทธ์ และสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับตลาดมากขึ้น เพื่อให้โครงสร้างองค์กรมีความกระชับและคล่องตัว โดยได้บูรณาการหน่วยธุรกิจ DACH (เยอรมนี ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์) และหน่วยธุรกิจต่างประเทศ จัดโครงสร้างให้เป็นส่วนหนึ่งของสายงานใหม่ ซึ่งประกอบด้วย 5 หน่วยธุรกิจระดับประเทศ ได้แก่ อิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ และ 3 ภูมิภาค ได้แก่ เมดิเตอร์เรเนียนและละตินอเมริกา ยุโรปตะวันออกตอนกลาง และเอเชีย โดยมี มร.ไฮเม่ อังคัสเตกุย เมลกาเรโจ (Mr. Jaime Anchústegui) ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารหน่วยธุรกิจต่างประเทศ จะได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานธุรกิจประกันภัย และเป็นตัวแทนในการประสานงานกับหน่วยงานกำกับดูแลท้องถิ่น บริหารความร่วมมือเชิงกลยุทธ์และการร่วมทุน ตลอดจนขับเคลื่อนโครงการประกันภัยระดับโลก และ มร. จิโอวานนี่ ลิเวรานี่ (Mr. Giovanni Liverani) ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารหน่วยธุรกิจ DACH จะเข้ามารับบทบาทใหม่

ด้านธุรกิจ “เจนเนอราลี่ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้ง” (Generali Investments Holding หรือ GIH) จะเข้ามาแทนที่หน่วยธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์และความมั่งคั่งเดิม โดยจะดูแลกิจกรรมการบริหารจัดการสินทรัพย์ทั้งหมดทั่วโลกภายในกลุ่มบริษัท ยกเว้นบางส่วนที่ดำเนินการในประเทศจีน GIH มุ่งเน้นการมอบประสิทธิภาพและบริการระดับโลกให้แก่ลูกค้าเดิม ควบคู่ไปกับการขยายธุรกิจไปยังลูกค้าภายนอกกลุ่มบริษัททั่วโลก และเพื่อให้เป้าหมายนี้บรรลุผล GIH จะอาศัยทั้งศักยภาพการลงทุนที่มีอยู่เดิม เสริมด้วยศักยภาพใหม่ ๆ ที่ได้จากการเข้าซื้อกิจการของบริษัท คอนนิ่ง โฮลดิ้งส์ จำกัด (Conning Holdings Limited) และบริษัทในเครือ รวมถึงความแข็งแกร่งจากความร่วมมือระยะยาวกับ คาเธย์ ไลฟ์ (Cathay Life) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเข้าซื้อกิจการดังกล่าวที่เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 โดยมี มร. วู้ดดี้ แบรดฟอร์ด (Mr. Woody Bradford) ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารเจนเนอราลี่ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้ง และจะยังคงบทบาทปัจจุบันในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานคณะกรรมการของบริษัท คอนนิ่ง โฮลดิ้งส์ จำกัด ทางด้าน มร.ฟิลลิป ดอนเนท ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเจนเนอราลี่ จะได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการบริหารเจนเนอราลี่ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้ง ขณะที่ มร. คาร์โล ตราบัตโตนี่ (Mr. Carlo Trabattoni) ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานบริหารจัดการสินทรัพย์และความมั่งคั่ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารเจนเนอราลี่ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้ง จะเข้ารับหน้าที่ใหม่ภายใต้สายงานบริหารสินทรัพย์

นอกเหนือจากนี้ ธนาคารเจนเนอราลี่ (Banca Generali) ภายใต้การบริหารของ มร.เจียน มาเรีย มอสซา (Mr. Gian Maria Mossa) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จะยังคงมุ่งเน้นการให้บริการที่ปรึกษาทางการเงินและโซลูชั่นการบริหารความมั่งคั่งอย่างคลอบคลุมต่อไป

มร .เดวิด ซิส (Mr. David Cis) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของกลุ่มเจนเนอราลี่ ซึ่งรายงานตรงต่อ มร.มาร์โก เซซานา (Mr. Marco Sesana) ผู้จัดการทั่วไป โดยจะเข้าร่วมในคณะกรรมการบริหารของกลุ่มฯ มุ่งเน้นยกระดับคุณภาพการบริการให้เป็นเลิศ ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) การจัดการกระบวนการทางธุรกิจ และการใช้แพลตฟอร์มเทคโนโลยีร่วม มาประยุกต์ใช้

ภายใต้โครงสร้างองค์กรใหม่นี้ สำนักงานใหญ่ของกลุ่มบริษัท (Group Head Office) ยังคงรับผิดชอบกำหนดยุทธศาสตร์หลักและเป้าหมายองค์กร ควบคู่ไปกับการบริหาร จัดการ และสนับสนุนหน่วยธุรกิจทุกด้านอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปรับแผนให้เหมาะสมกับแต่ละธุรกิจ

มร.ฟิลลิป ดอนเนท ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเจนเนอราลี่ กล่าวว่า “กลุ่มเจนเนอราลี่ ประสบความสำเร็จในการก้าวสู่ระดับโลกด้านธุรกิจประกันภัยและการบริหารสินทรัพย์แบบครบวงจร ด้วยความแข็งแกร่งทางการเงิน ความมุ่งมั่นต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการคำนึงถึงความยั่งยืน ในส่วนของสายงานบริหารสินทรัพย์นั้น การเข้าซื้อกิจการของบริษัทคอนนิ่งตลอดจนถึงความร่วมมือระยะยาวกับ คาเธย์ ไลฟ์ ช่วยให้เราสามารถขยายขอบเขตผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุน เสริมฐานลูกค้าต่างชาติ มุ่งขยายธุรกิจกับลูกค้าภายนอกกลุ่มบริษัท และการเพิ่มประสิทธิภาพด้านช่องทางการจัดจำหน่ายในตลาดสำคัญต่างๆ  เสริมความแข็งแกร่งให้กลุ่มเจนเนอราลี่ เป็นหนึ่งใน 10 ผู้บริหารจัดการสินทรัพย์ชั้นนำของยุโรป สำหรับสายงานประกันภัย มุ่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มบริษัทฯ ในตลาดหลัก ผ่านความเป็นเลิศด้านเทคนิค การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ และการปรับบริการให้ตรงกับความต้องการลูกค้าแม้ในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งนี้ ด้วยโครงสร้างองค์กรใหม่ที่เน้นธุรกิจประกันภัยและการบริหารสินทรัพย์ และความคล่องตัวในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น กลุ่มบริษัทฯ จะสามารถเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจในอนาคต สนับสนุนการกำหนดยุทธศาสตร์สำหรับแผนกลยุทธ์ในระยะยาว”

เนื่องในโอกาสวันคุ้มครองโลก วัตสัน แบรนด์สุขภาพและความงามชั้นนําของ เอเอส วัตสัน กรุ๊ป ได้ถือโอกาสเปิดตัวคอลเลกชันพิเศษ ‘Blue Beauty’ ภายใต้กลุ่มผลิตภัณฑ์ Naturals by Watsons ในตลาดฮ่องกง ไทย และไต้หวัน พร้อมกลยุทธ์ขยายตลาดไปยังมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์

ในแต่ละปี มหาสมุทรต้องประสบปัญหาขยะพลาสติกมากถึง 14 ล้านตัน ซึ่งเทียบเท่ากับน้ำหนักของปลาวาฬสีน้ำเงินกว่า 140,000 ตัว โดยภายในปี 2593 น้ำหนักของพลาสติกในมหาสมุทรคาดว่าจะมีน้ำหนักมากกว่าปลาที่อาศัยอยู่ โดยปัจจัยหลักของปัญหาเกิดจากการจัดการขยะที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ ขยะพลาสติกเหล่านี้มาจากบริเวณห่างจากชายฝั่งไม่เกิน 50 กิโลเมตร ซึ่งส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลอย่างน้อย 700 ชนิด และนำไปสู่การสูญเสียชีวิตของสัตว์ทะเลมากถึง 100 ล้านตัวต่อปี

คุณมาลีนา ไหง ประธานกรรมการบริหาร เอเอส วัตสัน  กล่าวว่า "พลาสติกในมหาสมุทรส่งผลกระทบในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตทางทะเลหรือสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของมนุษย์ วัตสันได้เข้าใจถึงปัญหานี้เป็นอย่างดี จึงได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ Blue Beauty รุ่นพิเศษของ Naturals by Watsons ที่ขวดของผลิตภัณฑ์ทํามาจากพลาสติกรีไซเคิล 100% จากมหาสมุทร โดยแนวคิดนี้ถือเป็นความพยายามครั้งสำคัญของเราในการส่งเสริมความยั่งยืนอย่างไม่หยุดยั้ง ความมุ่งมั่นของเราในครั้งนี้เป็นการสนับสนุนให้ลูกค้าร่วมรณรงค์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมให้พวกเขาดูแลความสวยงามของผิวพรรณพร้อมกับดูแลโลกของเราอย่างยั่งยืนไปพร้อม ๆ กัน"

สืบเนื่องจากการบรรลุเป้าหมายของโครงการรณรงค์สิ่งแวดล้อมในครั้งก่อน ที่การซื้อผลิตภัณฑ์ Naturals by Watsons แต่ละครั้งของผู้บริโภคจะมีค่าเท่ากับการปลูกต้นไม้หนึ่งต้น ปัจจุบัน วัตสัน ประเทศไทย ได้ขยายความมุ่งมั่นด้านสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุมระบบนิเวศทางทะเลมากยิ่งขึ้นในปี 2567 ภายใต้ความเข้าใจถึงบทบาทสําคัญของมหาสมุทรที่มีต่อระบบนิเวศและสุขภาพของผู้คนทั่วโลก วัตสันได้ร่วมมือกับมูลนิธิรักษ์ไทยเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ทางทะเล โดยทุกชิ้นของผลิตภัณฑ์ Naturals by Watsons ที่ถูกซื้อ วัตสันจะนำยอด 1 บาทต่อหนึ่งขวด ไปบริจาคให้กับโครงการทําความสะอาดขยะทะเลที่เกาะเต่าภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิรักษ์ไทย ที่มีเป้าหมายในการมุ่งลดมลพิษ อีกทั้งยังปกป้องสิ่งมีชีวิตในทะเล รักษาความงามและความหลากหลายทางชีวภาพของมหาสมุทรในประเทศไทย วัตสัน ประเทศไทยแสดงให้เห็นถึงพันธกิจในการดูแลและปกป้องสิ่งแวดล้อมทุกด้าน เพื่อให้มั่นใจว่าโลกจะมีสุขภาพดีขึ้นสําหรับคนรุ่นต่อไป

"ทุกการตัดสินใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่ ล้วนมีบทบาทสําคัญในการปกป้องโลกของเราทั้งหมด ความพยายามของเราจึงนำมาสู่การเพิ่มจํานวนผลิตภัณฑ์ Sustainable Choices กว่า 9,700 รายการ ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ส่วนตัว เราทําให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนได้มากขึ้น ด้วยการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทางเลือกในชีวิตประจําวัน เราหวังว่าจะช่วยให้ลูกค้าของเราดูดี ทําดีและได้รับความรู้สึกดี ๆ ไปพร้อมกับเรา จากการดูแลโลกใบนี้" คุณมาลีนา กล่าวเสริม

นางสาวสิรีรัตน์ คอวนิช (กลางซ้าย) ผู้บริหารสูงสุด ฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทนมอบเงินจำนวน 29,402,285 บาท สมทบทุนเข้าโครงการอุปการะเด็กในมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย เพื่อร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก ครอบครัวและชุมชนยากไร้ ซึ่งเผชิญกับปัญหาความยากจน รวมทั้งช่วยให้ครอบครัวและชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีได้ร่วมกันบริจาคผ่านการใช้คะแนนสะสม KTC FOREVER และบัตรเครดิตเคทีซี โดยมีดร.สราวุธ ราชศรีเมือง (กลางขวา) ผู้อำนวยการ มูลนิธิศุภนิมิตฯ ให้เกียรติรับมอบ ณ มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย เขตห้วยขวาง เมื่อเร็วๆ นี้ 

มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรสาธารณกุศลเพื่อการพัฒนาและการรณรงค์เพื่อสร้างความยุติธรรมในสังคม โดยดำเนินพันธกิจช่วยเหลือเด็ก ผ่านการทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชน เพื่อเอาชนะปัญหาความยากจนและความไม่ยุติธรรมในสังคม ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตเด็ก และชุมชนที่เปราะบางยากไร้ที่สุดโดยไม่มีการแบ่งแยกเพศ เชื้อชาติ ภาษาและศาสนา โดยมูลนิธิฯ มีเป้าหมายจะช่วยเหลือเด็ก 3 ล้านคนที่อยู่ในภาวะเปราะบางให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นภายในปี 2025 ปัจจุบันมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย มีพื้นที่ดำเนินงานใน 36 จังหวัดทั่วทุกภาคของประเทศไทย และมีเด็กในความอุปการะ 38,479 คน

บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์  จูเลียส แบร์ จำกัด (SCB Julius Baer) บริษัทร่วมทุนระหว่าง ธนาคารไทยพาณิชย์ และ จูเลียส แบร์ (Julius Baer) ประกาศแต่งตั้ง นายพีรพงศ์ จิระเสวีจินดา ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด คนใหม่ มีผลตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2567

“บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์  จูเลียส แบร์ จำกัด” (SCB Julius Baer) บริษัทร่วมทุนระหว่าง “ธนาคารไทยพาณิชย์” ธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรกของประเทศ และ “จูเลียส แบร์” (Julius Baer) ผู้นำธุรกิจบริหารความมั่งคั่งชั้นนำระดับโลกจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และหนึ่งในสี่ผู้ให้บริการธุรกิจไพรเวทแบงก์กิ้งรายใหญ่ของเอเชีย ประกาศแต่งตั้งนายพีรพงศ์ จิระเสวีจินดา ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด คนใหม่ เพื่อนำทัพไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ สร้างการเติบโตให้กับธุรกิจบริหารความมั่งคั่งระดับสูงในประเทศไทย

นายพีรพงศ์มีประสบการณ์การทำงานด้านการเงินการลงทุนมากว่า 27 ปี ในสถาบันการเงินชั้นนำ ครอบคลุมด้านการบริหารความมั่งคั่งในผลิตภัณฑ์การลงทุนและทรัพย์สินหลากหลายประเภท การสร้างกลยุทธ์การลงทุนให้กับลูกค้า รวมถึงการวางแผนการดำเนินงานเพื่อสร้างโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจให้กับองค์กร

นอกจากนี้ นางสาวลลิตภัทร ธรณวิกรัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนปัจจุบัน จะดำรงตำแหน่งกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด ซึ่งจะช่วยสนับสนุนประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ด้านนโยบายภาพกว้าง เพื่อความต่อเนื่องในการขับเคลื่อนแนวทางการทำงานและดำเนินธุรกิจขององค์กรต่อไป

ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ พร้อมนำความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์การวางแผนและบริหารความมั่งคั่ง ตลอดจนประสบการณ์ในการดูแลลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งระดับสูงทั่วโลกกว่า 130 ปี ของจูเลียส แบร์ มาผสานเข้ากับจุดแข็งของธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของประเทศ ที่มีความเข้าใจกลุ่มลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งระดับสูงในประเทศไทยอย่างลึกซึ้ง มาใช้ในการดูแลเพื่อเพิ่มคุณค่าและขยายโอกาสในการลงทุนทั่วโลกแบบไร้พรมแดน ให้แก่ลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งระดับสูงชาวไทยที่เติบโตขึ้นต่อเนื่อง

นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ และกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด กล่าวว่า “เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการประกาศแต่งตั้งนายพีรพงศ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ โดยนายพีรพงศ์ เป็นผู้บริหารที่คร่ำหวอดในแวดวงการเงินการลงทุนเป็นอย่างดี และมีประสบการณ์ในตลาดเงินตลาดทุนมานานกว่า 27 ปี ด้วยความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งในอุตสาหกรรมกองทุนรวมระดับประเทศ ครอบคลุมทุกมิติของการบริหารจัดการความมั่งคั่ง เราเชื่อมั่นว่าภายใต้การนำทัพของนายพีรพงศ์จะสามารถขับเคลื่อนและสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจบริหารความมั่งคั่งระดับสูง (UHNWIs/ HNWIs) ของไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ และยังคงจุดยืนของการเป็นผู้นำบริหารความมั่งคั่งแบบครบวงจรที่แรกและที่เดียวในประเทศไทยที่สามารถดูแลและให้บริการแก่ลูกค้าแบบมืออาชีพที่ได้มาตรฐานระดับเวิลด์คลาส ตอกย้ำความมุ่งมั่นYour Legacy. Our Promise.” ของ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ ผ่านการรักษาคุณค่าและช่วยให้ลูกค้าคนสำคัญสามารถวางแผนส่งต่อความมั่งคั่งได้อย่างยั่งยืน”

มร.จิมมี่ ลี (Jimmy Lee) ประธานประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ธนาคารจูเลียส แบร์ และกรรมการบริหาร จูเลียส แบร์ กรุ๊ป และกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด เปิดเผยว่า “เราเชื่อมั่นว่าความเชี่ยวชาญด้านการเงินการลงทุนของนายพีรพงศ์ ผนวกกับประสบการณ์ด้านการบริหารความมั่งคั่งระดับสูงของนางสาวลลิตภัทร แสดงให้ถึงความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ในการยกระดับบริการเวลธ์แมเนจเม้นท์ของเรา จากประสบการณ์ในการดูแลลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งระดับสูงระดับสากลอันยาวนานผสานกับความก้าวหน้าทางนวัตกรรมที่ช่วยเสริมแกร่งศักยภาพของเราให้โดดเด่นเสมอมา นับเป็นข้อพิสูจน์ถึงคำมั่นสัญญาของ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ ในการเสนอบริการและคำแนะนำที่เหนือระดับแก่ลูกค้า พร้อมช่วยให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าเราจะยังคงยืนหยัดเป็นเสมือนสัญลักษณ์แห่งความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือที่ลูกค้าสามารถเชื่อมั่นในศักยภาพท่ามกลางอุตสาหกรรมเวลธ์แมเนจเม้นท์ของเมืองไทยที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตอกย้ำบทบาทผู้นำธุรกิจบริหารความมั่งคั่งระดับสูงอย่างแท้จริง” 

เดินหน้าปลูกป่า 1 ล้าน ตร.ม. สร้างพื้นที่สีเขียว มุ่งสู่องค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนครบวงจร ตามปรัชญา “Go Beyond Dreams”

การมีภาระหนี้สินมากเกินกว่าจะจัดการไหว อาจส่งผลกระทบต่อการเงินในมิติต่าง ๆ ของชีวิตได้ ดังนั้น fintips by ttb เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จึงขออาสาพาไปพบกับ 3 เรื่องที่คนเป็นหนี้ต้องรู้ เพื่อหยุดปัญหาหนี้เรื้อรังได้อย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยให้พิชิตหนี้ได้ไวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งรักษาสุขภาพทางการเงินและสุขภาพใจได้อีกด้วย

สิ่งแรกขอชวนทุกคนมาเช็กปัญหาหนี้กันก่อน หากยังไม่แน่ใจว่าตัวเองกำลังเผชิญปัญหาหนี้อยู่หรือไม่ ให้ลองสำรวจตัวเองง่าย ๆ ด้วย 4 สัญญาณเหล่านี้

  1. รายได้ไม่พอรายจ่าย
  2. ชำระขั้นต่ำติดต่อกันหลายครั้ง
  3. จ่ายช้ากว่ากำหนด
  4. กดเงินสดมาจ่ายหนี้อื่น

ถ้าหากพบว่ามีสัญญาณเหล่านี้ และคิดว่าตัวเองเริ่มมีปัญหา สามารถติดต่อธนาคารที่ได้ทำการกู้สินเชื่อไว้เพื่อหาวิธีแก้หนี้อย่างยั่งยืนร่วมกันได้  และมาดูพร้อม ๆ กันได้เลย กับ “3 สิ่งที่ต้องรู้ หยุดปัญหาหนี้เรื้อรังได้ ให้พิชิตหนี้ได้ไวขึ้น”

1. มาตรการแก้หนี้ยั่งยืน คือ แนวทางแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนแบบครบวงจรโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดให้สถาบันการเงิน หรือธนาคารให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม โดยดูแลลูกค้าสินเชื่อที่ประสบปัญหาด้านการชำระหนี้ กำหนดสิทธิเพื่อคุ้มครองลูกค้าสินเชื่อ สนับสนุนวินัยด้านการเงิน และการบริหารจัดการหนี้ที่ดี

2. มาตรการแก้หนี้ยั่งยืนประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่

1) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา เพื่อให้สถาบันการเงิน หรือธนาคารช่วยเหลือลูกค้าที่มีปัญหาหนี้ ด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ สำหรับวางแผนการชำระหนี้ให้ลูกค้ารายย่อยและ SMEs ที่ไม่เคยผ่านการปรับโครงสร้างหนี้มาก่อน โดยธนาคารจะเสนอแนวทางปรับโครงสร้างหนี้ที่เหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า ซึ่งจะทำให้ลูกค้ามีเงินคงเหลือเพียงพอต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รวมทั้งธนาคารต้องเสนอแนวทางการช่วยเหลือ (Product Program) อย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อให้ลูกค้าที่เริ่มมีปัญหาในการชำระหนี้ไม่เป็นหนี้เสีย ส่วนสำหรับคนที่เป็นหนี้เสีย(Non-Performing Loan : NPL) จะไม่ถูกโอนขายหนี้ก่อน 60 วัน นับจากวันที่เสนอเงื่อนไขปรับปรุงโครงสร้างหนี้

นอกจากนี้ ยังมีโครงการคลินิกแก้หนี้สำหรับคนที่มีปัญหาหนี้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคล ที่ค้างชำระเกิน 120 วัน เมื่อเข้าร่วมโครงการจะได้รับการปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ให้ผ่อนเฉพาะเงินต้นนานสูงสุด 10 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยเพียง 3-5% ต่อปี และยกดอกเบี้ยค้างเดิมให้เมื่อชำระครบตามสัญญา รวมไปถึงยังมีทางด่วนแก้หนี้ และหมอหนี้เพื่อประชาชน ที่จะคอยช่วยให้คำปรึกษาด้านการแก้ปัญหาหนี้อย่างครบวงจร

2) การแก้ปัญหาหนี้เรื้อรัง เป็นแนวทางที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2567 โดยให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบปัญหาหนี้อย่างต่อเนื่อง (กลุ่มเปราะบาง) ให้สามารถจบหนี้ได้ โดยกำหนดให้คนที่เป็นหนี้เรื้อรังจากสินเชื่อส่วนบุคคลประเภทวงเงินหมุนเวียน แต่ยังไม่เป็นหนี้เสีย และมีการชำระดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวมในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งยังมีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 20,000 บาท จะได้รับความช่วยเหลือให้ปิดยอดหนี้ได้เร็วยิ่งขึ้น ผ่านการเปลี่ยนประเภทสินเชื่อเป็นแบบผ่อนชำระรายงวด (Installment Loan) เพื่อให้ปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงไม่เกิน 15% ต่อปี ทั้งนี้ ไม่รวมสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล และบัตรเครดิต

3)การคุ้มครองสิทธิลูกหนี้ เพื่อให้มีความเป็นธรรมกับลูกหนี้มากขึ้น ทั้งการให้ความรู้เรื่องสินเชื่อ การบริหารจัดการหนี้ และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและสร้างวินัยทางการเงินที่ดียิ่งขึ้น

3. สิทธิคุ้มครองเพื่อแก้หนี้อย่างยั่งยืน มีผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ประกอบด้วย

1) ไม่ต้องจ่ายค่า Prepayment Fee หรือค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด โดยจะต้องปิดยอดหนี้ก่อนวันที่ครบกำหนดในสัญญา รวมไปถึงสัญญาเก่าที่ยังมีผลอยู่ด้วยเช่นกัน โดยจะมีผลกับสินเชื่อทั้ง 5 ประเภท ได้แก่

  • สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ
  • สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ (Nano Finance)
  • สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ
  • สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล
  • สินเชื่ออุปโภคบริโภคอื่น ๆ เช่น สินเชื่อสวัสดิการ

2) ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยลูกค้าสินเชื่อจะไม่ถูกคิดค่าธรรมเนียมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ยกเว้นค่าประเมินราคาหลักประกัน ซึ่งจำเป็นต้องนำมาใช้ประกอบการพิจารณากำหนดเงื่อนไขการปรับปรุงโครงสร้างหนี้

3) ไม่มีการคิดดอกเบี้ยแบบทบต้นของสินเชื่อรายย่อยทั้งหมด รวมไปถึงกรณีที่บัญชีเดินสะพัดของสินเชื่อวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี หรือ Overdraft ซึ่งจะมีผลตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป

4) ลูกค้าสามารถตัดสินใจได้เองว่าจะกดเงินทันทีหรือไม่ หลังจากได้รับอนุมัติสินเชื่อบัตรกดเงินสดแล้ว นอกจากนี้ยังมีสิทธิ์ที่จะได้รับข้อมูลสำคัญที่ถูกต้องและครบถ้วน เพื่อสามารถใช้เปรียบเทียบข้อมูลได้ รวมถึงมีสิทธิ์ที่จะได้รับแจ้งเตือนให้มาชำระหนี้อย่างมีวินัย

ลองมาสำรวจสัญญาณปัญหาหนี้ดังกล่าวข้างต้นกันดู หากสำรวจตัวเองแล้วพบว่าเริ่มมีปัญหา อย่าลังเลที่จะติดต่อธนาคารที่เราเป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อหาวิธีแก้หนี้อย่างยั่งยืน ส่วนใครที่กำลังจะขอสินเชื่อ อย่าลืมทำความเข้าใจ อัตราดอกเบี้ย และคำนวณดอกเบี้ยที่จะต้องชำระ ไม่ว่าจะเป็นชำระคืนปกติตามกำหนด จ่ายขั้นต่ำ หรือผิดนัดชำระ เพื่อช่วยวางแผนการเงินให้ดียิ่งขึ้น

มาร่วมออกแบบชีวิตทางการเงินในวันนี้และในอนาคต เพื่อพิชิตเป้าหมายการมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ด้วยเคล็ดลับทางการเงินดี ๆ ได้ที่ “fintips by ttb” เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ

เพียงคลิก https://www.ttbbank.com/th/fintips-pr

หรืออ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/fintips-bot1-pr

ค้นหาตัวช่วยพิชิตหนี้ได้ ที่ https://www.ttbbank.com/phi-chit-nee-fintips-pr

กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว

เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารฯ กำหนด

ฉลองวันไหลสงกรานต์ครั้งแรกในกรุงเทพฯ ณ ลานหน้าเซ็นทรัลเวิลด์

มุ่งสร้างอาชีพอย่างมีคุณค่า ด้วยหลักพึ่งพาตนเอง โชว์ศักยภาพกลุ่มผู้สูงวัย – สตรี – คนรุ่นใหม่  

Page 5 of 605
X

Right Click

No right click