โรงงานในเครือ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) คว้ารางวัลดีเด่นด้านอนุรักษ์พลังงาน ประเภทโรงงานควบคุม และรางวัลดีเด่นด้านพลังงานสร้างสรรค์ จากกระทรวงพลังงาน ในงาน Thailand Energy Awards 2022 โดยได้รับเกียรติจาก นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กำกับดูแลงานกระทรวงพลังงาน นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย นางสาวอรพินทร์ เพชรทัต ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมแสดงความยินดีกับ นายกิตติพงศ์ ศรีชุม ผู้จัดการผลิต บริษัท คอสมอส บริวเวอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด และทีมงานที่ได้ใช้ความรู้ความสามารถแสดงความคิดสร้างสรรค์ชูนวัตกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพฯ ที่ผ่านมา

มูลค่ารวม 10,200 ลบ. 28-29 ต.ค. นี้ ย้ำเบอร์หนึ่งผู้นำอสังหาฯ ลักซ์ชัวรี่และซูเปอร์ลักซ์ชัวรี่ไทย

นำเสนอสินค้าใหม่อยู่ตลอดเวลา สำหรับ โออิชิ อีทโตะ (OISHI EATO) ล่าสุดเอาใจสายแซนวิช สร้างสรรค์และเปิดตัวน้องใหม่บนเชลฟ์ ขอแนะนำ ใหม่ !!! โออิชิ อีทโตะ แซนวิช ไส้ปูอัดสลัดไข่ มาพร้อมขนมปังแซนวิช สดใหม่ เนื้อนุ่ม และไส้แน่น ๆ ประโยชน์เน้น ๆ แท็กทีมมากับปูอัด – สลัดไข่ รสชาติเข้มข้น กลมกล่อม สไตล์ญี่ปุ่น สามารถรับประทานแบบเย็นได้ทันทีโดยไม่ต้องอุ่นร้อน สะดวก อร่อย เหมาะสำหรับเริ่มต้นยามเช้า หรือช่วงเวลาระหว่างวันที่เร่งรีบ โดยวางจำหน่ายทั่วประเทศแล้ววันนี้ ในราคาชิ้นละ 27 บาท ที่ เซเว่น อีเลฟเว่น ทุกสาขา ติดตามข้อมูลข่าวและโปรโมชั่นอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ แฟนเพจโออิชิอีทดตะ : www.facebook.com/OishiEatoThailand 

บาร์เทอร์คาร์ด ประเทศไทย (Bartercard Thailand) ผู้นำแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการแบบไร้เงินสด นำโดย นางสาวเรวดี วัฏฏานุรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บาร์เทอร์คาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด เตรียมความพร้อมในการจัดงาน The 74th Bartercard Trade Show งานมหกรรมการซื้อขายประจำปีสุดยิ่งใหญ่ของ Bartercard Thailand ที่ได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ครั้งนี้ถือเป็นการจัดงานครั้งที่ 74 โดยงานจะจัดขึ้นในวันเสาร์ ที่ 11 พฤศจิกายน 2566 ตั้งแต่เวลาเวลา 10.00 – 16.00 น. ณ อีเว้นท์ฮอลล์ ชั้น G สวนลุมไนท์บาซาร์ รัชดาภิเษก

จากความสำเร็จของการจัดงานครั้งที่ 73 ที่ผ่านมา มีผู้ร่วมออกบูธแสดงสินค้าและบริการทั้งหมดกว่า 150 บูธ สร้างการแลกเปลี่ยนด้วย Bartercard ผ่านการใช้ Bartercard Mobile App เป็นสื่อกลาง ในระยะเวลาร่วม 6 ชั่วโมง รวมมูลค่ากว่า 10 ล้านเทรดบาท สำหรับการจัดงาน The 74th Bartercard Trade Show ในครั้งนี้ บาร์เทอร์คาร์ดยังคงมุ่งมั่นที่จะร่วมผลักดันให้ผู้ประกอบการได้สร้างคอนเนคชันและต่อยอดธุรกิจให้เกิดการแลกเปลี่ยนซื้อขายได้มากขึ้นกว่าครั้งที่ผ่าน ๆ มา พร้อมรับโปรโมชันพิเศษส่งท้ายปีจากสถาบันการเงินชั้นนำ จึงเปิดโอกาสให้สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่รายใหม่ที่สนใจ สามารถสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกกับ Bartercard เพื่อออกบูธภายในงาน Trade Show ครั้งที่ 74 ได้ โดยสมาชิกจะได้รับสิทธิประโยชน์ดังต่อไปนี้

  1. 1. ได้รับวงเงินสินเชื่อปลอดดอกเบี้ย เริ่มต้น 50,000 – 200,000 เทรดบาท เพื่อนำไปใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการจากกลุ่มสมาชิก Bartercard ซึ่งมีอยู่มากกว่า 3,000 ธุรกิจ และยังสามารถชำระคืนได้ด้วยสินค้าและบริการตนเองแทนการใช้เงินสด
  2. การดูแล ให้คำแนะนำ และทำการตลาดเพื่อช่วยขยายโอกาสให้กับธุรกิจของสมาชิก ทั้งในการเพิ่มยอดขายและลดค่าใช้จ่าย
  3. 3. มีโอกาสได้เข้าร่วมงานมหกรรม งานรวมตัวของผู้ประกอบการในหลากหลายธุรกิจ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เกิดการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนระหว่างธุรกิจได้โดยตรง

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจการสมัครสมาชิกกับ Bartercard หรือรายละเอียดงาน The 74th Bartercard Trade Show สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-024-1000 และ Facebook: Bartercard Thailand หรือ เว็บไซต์ https://www.bartercard.co.th 

Surface Laptop Go 3 เปิดให้สั่งจองล่วงหน้าแล้ววันนี้

คอนโดรั้วติดเซ็นทรัล เวสต์เกตหลังเปิดขาย 2 เดือน กวาดยอดขายแล้วกว่า 800 ล้านบาท

ช่วยลดขยะอาหาร-สร้างรายได้ให้เกษตรกร พร้อมตอบโจทย์การช่วยแก้ปัญหา SDGs 2 – ZERO HUNGER ยุติความหิวโหย สร้างความมั่นคงทางอาหาร

เคทีซีแจ้งงบการเงินรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา กำไรสุทธิ 5,534 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.2% โดยกำไรสุทธิไตรมาส 3/2566 เท่ากับ 1,857 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.7% พอร์ตสินเชื่อรวมขยายตัว 10% อยู่ที่ 106,701 ล้านบาท จากปัจจัยสนับสนุนของการบริโภคภาคเอกชน เดินหน้าผลักดันทุกพอร์ตผลิตภัณฑ์เติบโตควบคู่การคัดกรองคุณภาพในระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมและยอมรับได้ คาดทำกำไรทั้งปีได้ตามเป้าหมาย

นายระเฑียร  ศรีมงคล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เผยว่า “ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ความต้องการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ดีต่อเนื่อง ได้ส่งผลให้อุตสาหกรรมสินเชื่อผู้บริโภคขยายตัวมากขึ้น รวมถึงเป็นปัจจัยบวกให้ผลการดำเนินงานของเคทีซีเติบโตต่อเนื่อง โดยมีสัดส่วนของลูกหนี้บัตรเครดิตเทียบกับอุตสาหกรรมอยู่ที่ 14.9% และมีส่วนแบ่งตลาดของปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเท่ากับ 12.1% ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2565 ในขณะที่สัดส่วนของลูกหนี้สินเชื่อบุคคล (ไม่รวมสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน) อยู่ที่ 6.2% เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรม”

ในส่วนของธุรกิจเคทีซีตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา พอร์ตบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลขยายตัวตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยมีมูลค่าพอร์ตรวมเท่ากับ 106,701 ล้านบาท เติบโต 10% อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อรวมของกลุ่มบริษัท (NPL) รวมเท่ากับ 2.3% ซึ่งอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ โดยพอร์ตบัตรเครดิตยังขยายตัวได้ดีตามปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรที่เพิ่มขึ้นจากอุปสงค์การใช้จ่ายเพื่อการบริโภค รวมทั้งพอร์ตสินเชื่อบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” ที่เติบโตสูงขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน โดยเน้นให้พอร์ตเติบโตคู่ไปกับการคัดกรองคุณภาพลูกหนี้ในระดับความเสี่ยงที่เหมาะสม ด้านสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” มียอดสินเชื่อใหม่มูลค่า 1,929 ล้านบาท

ผลการดำเนินงานของเคทีซี ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 งบการเงินรวมมีกำไรสุทธิในช่วง 9 เดือน และไตรมาส 3/2566 เท่ากับ 5,534 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 2.2%) และ 1,857 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 4.7%) ตามลำดับ ฐานสมาชิกรวม 3,331,065 บัญชี แบ่งเป็นพอร์ตสมาชิกบัตรเครดิต 2,616,269 บัตร เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรเครดิตและดอกเบี้ยค้างรับรวม 69,225 ล้านบาท ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรรวม 9 เดือนเท่ากับ 192,270 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.7% NPL บัตรเครดิตอยู่ที่ 1.3% พอร์ตสมาชิกสินเชื่อบุคคลเคทีซี 714,796 บัญชี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตร    กดเงินสด “เคทีซี พราว” และดอกเบี้ยค้างรับ  30,246 ล้านบาท  เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” เท่ากับ 2,058 ล้านบาท NPL สินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 3.1% ยอดสินเชื่อลูกหนี้ใหม่ (New Booking) ของ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” ในไตรมาส 3/2566 เท่ากับ 794 ล้านบาท และรอบเก้าเดือนของปี 2566 มีมูลค่า 1,929 ล้านบาท สำหรับสินเชื่อลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อมีมูลค่า 3,369 ล้านบาท โดยมียอดปล่อยสินเชื่อใหม่ของรถขนาดใหญ่ที่ใช้ในอุตสาหกรรม (Commercial Loan) ในรอบ 9 เดือนของปี 2566 ที่ 1,446 ล้านบาท ทั้งนี้ เคทีซียังคงชะลอการปล่อยสินเชื่อประเภทนี้ หลังจากที่เห็นสัญญาณของหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น

“สำหรับไตรมาส 3/2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 9.8% เท่ากับ 6,461 ล้านบาท จากรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียม ขณะที่ค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น 13.4% เท่ากับ 4,170 ล้านบาท จากการที่พอร์ตสินเชื่อขยายตัว ทำให้มีการตั้งสำรองมากขึ้น เป็นผลให้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Losses - ECL) จำนวน 1,477 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.7% ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่สูงขึ้น ขณะที่ต้นทุนทางการเงินปรับขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงิน”  

ทั้งนี้ ข้อมูลวันที่ 30 กันยายน 2566 เคทีซีมีเงินกู้ยืมทั้งสิ้นเท่ากับ 62,730 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.8% โดยมีสัดส่วนโครงสร้างแหล่งเงินทุนเป็นเงินกู้ยืมระยะสั้น (รวมส่วนของเงินกู้ยืมและหุ้นกู้ที่ครบกำหนดชำระภายในหนึ่งปี) 23% และเงินกู้ยืมระยะยาว 77% มีวงเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินรวม (Total Short -Term Credit Line) 29,371 ล้านบาท (รวมวงเงินจากธนาคารกรุงไทย 19,061 ล้านบาท) ใช้วงเงินระยะสั้นไป 5,221 ล้านบาท และมีวงเงินคงเหลือ (Available Credit Line) จำนวน 24,150 ล้านบาท ต้นทุนการเงิน 2.7% และอัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 2.07 เท่า ลดลงจากงวดเดียวกันของปี 2565 ที่ 2.14 เท่า และต่ำกว่าภาระผูกพันที่ 10 เท่า

“เคทีซียังดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ตามแนวทางการบริหารจัดการด้านการให้สินเชื่ออย่างเป็นธรรมของธนาคารแห่งประเทศไทย โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 บริษัทฯ ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ในทุกสถานะจำนวน 1,802 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1.8% ของพอร์ตลูกหนี้รวม”

“สำหรับความคืบหน้าด้านมาตรการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็น (Consultation Paper) เกี่ยวกับร่าง “หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม” (Responsible Lending: RL) และร่าง “กลไกการกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงสำหรับสินเชื่อรายย่อย” (Risk-Based Pricing :RBP) ไปเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับพฤติกรรมเจ้าหนี้และลูกหนี้ ผ่านการยกระดับมาตรฐานกระบวนการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบตลอดวงจรหนี้นั้น แนวทางการปฏิบัติของเคทีซีเองมีความชัดเจน โดยให้บริการสินเชื่อด้วยความรับผิดชอบเสมอมา และมีหลักเกณฑ์การโฆษณาและเสนอขายที่เป็นแนวทางเดียวกับธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ จึงมั่นใจว่าหลักเกณฑ์ที่จะออกมาบังคับใช้ จะไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญใดๆ ต่อการดำเนินงานของเคทีซี”

“ในส่วนของการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt: PD) ที่จะบังคับใช้เดือนเมษายน 2567 เป็นต้นไป เคทีซีจะให้ทางเลือกแก่ลูกหนี้ที่สนใจ โดยสำหรับลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้เรื้อรัง (Severe Persistent Debt)  สามารถเปลี่ยนสินเชื่อหมุนเวียนเป็นแบบมีระยะเวลา (Term Loan) และคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี โดยกำหนดให้การผ่อนชำระสามารถปิดจบใน 5 ปี ซึ่งแนวทางนี้ลูกหนี้ต้องสมัครใจเข้าร่วมโครงการด้วยตนเองและปิดวงเงินเดิมที่มี โดยหากลูกหนี้เคทีซีที่เข้าเกณฑ์ทุกรายเข้าร่วมโครงการฯ จะมีผลกระทบต่อรายได้ดอกเบี้ยลดลงประมาณ 18 ล้านบาทต่อเดือน”

“ในปี 2567 เคทีซีวางเป้าเติบโตใน 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจบัตรเครดิต สินเชื่อบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” และสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” ด้วยเชื่อว่าสินเชื่อแต่ละประเภทยังเป็นที่ต้องการในตลาด อีกทั้งจะส่งเสริมธุรกิจ MAAI by KTC (มายบายเคทีซี) ธุรกิจบริการระบบบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าให้เติบโตมากขึ้น รวมทั้งหลอมรวม 3 องค์ประกอบหลักคือ คน-กระบวนการ-เทคโนโลยี เข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อขับเคลื่อนเคทีซีให้เติบโตมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายการทำธุรกิจปี 2567 ให้มีกำไรสูงขึ้นกว่าปี 2566 พอร์ตสินเชื่อรวมขยายตัว 10% ภายใต้การบริหารความเสี่ยงที่ยอมรับได้อย่างเหมาะสม  NPL รวมอยู่ในระดับเดียวกับปี 2566 ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซีเติบโต 15% จากปี 2566  สินเชื่อบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” ตั้งเป้าเติบโต 5% และสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” ตั้งเป้ายอดอนุมัติสินเชื่อใหม่ปี 2567 ที่ 6,000 ล้านบาท”

จากผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและผนวกกลยุทธ์บริหารความเสี่ยงเชิงรุก

บมจ.กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต โดย คุณแซลลี่ โอฮาร่า ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (คนซ้าย) และคุณบุปผาวดี โอวรารินท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายทรัพยากรบุคคล และภาพลักษณ์องค์กรและการสื่อสารองค์กร (คนขวา) คว้ารางวัลใหญ่ระดับเอเชีย จาก Insurance Asia Awards 2023 ในสาขา ESG Initiative of the Year ซึ่งรางวัลดังกล่าวถือเป็นความภาคภูมิใจของบริษัทฯ ที่ประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือสังคม สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนตลอดมา อีกทั้งยังตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านบริษัทประกันที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม “Green Insurer” และสอดคล้องเป้าหมายหลักของบริษัทฯ ที่มุ่งมั่นเคียงข้างทุกความเชื่อมั่น ดูแลกันตลอดไป ทั้งนี้รางวัล Insurance Asia Awards เป็นรางวัลเชิดชูเกียรติแก่บริษัทประกันภัย และประกันชีวิตชั้นนำ ที่มีโครงการริเริ่มโดดเด่น นวัตกรรมอันเป็นเลิศ และมีคุณค่าต่อภาคธุรกิจประกันในระดับภูมิภาคระดับเอเชีย

X

Right Click

No right click