“การเมือง – ดวง – บันเทิง” ครองหมวดยอดนิยม

แนะนักลงทุนจัดพอร์ตเป็นCore PortfolioและOpportunistic มุ่งหวังสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืน

จับมือชุมชนขยายผลฟื้นน้ำ สร้างป่า ลดฝุ่น PM 2.5 ลดเหลื่อมล้ำสร้างอาชีพ เติบโตยั่งยืนร่วมกัน

รมว.พิมพ์ภัทรา สั่งการ ดีพร้อม ผนึกกำลัง บสย. และ 4 สถาบันการเงิน เพิ่มโอกาสให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุน แจ้งผลภายใน 7 วัน คาดสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 8,000 ล้านบาท

เปิดประสบการณ์ใหม่โดนใจนักช้อป กิน ดื่ม – คิกออฟเดือน ก.พ. ด้วยแคมเปญรักษ์โลก

การพัฒนา SME อาจไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ก็มีปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของเอสเอ็มอีที่น่าสนใจที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาของผู้ประกอบการรายย่อยได้ เคล็ดลับหนึ่งที่สอดแทรกอยู่ในงานอบรมโครงการ “ตอกเสาเข็มเพื่อ SME” ปี 2567 ที่ทางศูนย์เซเว่น อีเลฟเว่น สนับสนุนเอสเอ็มอี ภายใต้การบริหารของซีพี ออลล์ หยิบยกขึ้นมาคือ “การสร้างแบรนด์” ได้จุดประกายให้เกิดคำถามต่อเนื่องที่เชื่อมโยงสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับผู้ประกอบการรายย่อยอย่างมีนัยยะสำคัญ

ผศ.ดร.วราภรณ์ คล้ายประยงค์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญกลยุทธ์ SME หนึ่งในวิทยากร ได้ขยายความเรื่องของ “การสร้างแบรนด์” สิ่งที่ SME ควรรู้ก่อนที่จะปั้นแบรนด์ให้ปัง เพื่อพิชิตใจผู้บริโภคอย่างน่าสนใจ โดยกล่าวว่า ในปัจจุบันมีการแบ่งแยกประเภทลูกค้าตามพฤติกรรมของลูกค้า แทนแบ่งแยกตามอายุ (Generation) เนื่องจาก Digital เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการใช้ชีวิต และภาพเหล่านี้ยิ่งชัดเจนมากขึ้นหลังเหตุการณ์โควิด 19 โดยมีวางกรอบกลุ่มผู้บริโภคใหม่ดังนี้ กลุ่มที่น่าจับตามองคือกลุ่ม Generation C (Connected Generation) ซึ่งมีประมาณ 75% ของประชากรวัยทำงาน ต่างกับ Generation X, Y และ Z ในอดีต ตรงที่อายุไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ

Gen C กลุ่มนี้จึงไม่ได้ถูกจำกัดด้วยอายุ แต่มุ่งเน้นไปที่ทัศนคติและกรอบความคิดในการนำเทคโนโลยีมาผสมผสานกับไลฟ์สไตล์ จากข้อมูล Parachute Digital. 2024 พบว่า กลุ่ม Gen C ส่วนใหญ่จะเสพข้อมูลผ่านเว็บไซต์โซเซียลมีเดีย โดย 42% ใช้แท็บเล็ตขณะดูทีวี และ 64% ของเวลาบนมือถือถูกใช้ไปกับ Application ต่างๆ เรียกว่า กลุ่ม Gen C มีความกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมในสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่อง โดยไม่เพียงแต่บริโภคเนื้อหาเท่านั้น แต่ยังสร้าง content ขึ้นมาด้วย

จากการวิจัยของ Think with Google พบว่า 90 % ของผู้บริโภค Gen C สร้างเนื้อหาบนโลกออนไลน์อย่างน้อยเดือนละครั้ง การแบ่งปันชีวิตกับโลกดิจิทัลผ่านเครือข่ายโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Twitter และ Instagram ความคิดสร้างสรรค์และกรอบความคิดดิจิทัลคือสิ่งที่ทำให้คน Gen C แตกต่างจากคนรุ่นอื่นๆ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คนเหล่านี้คือคนที่กิน นอน และหายใจผ่านสื่อดิจิทัล (ข้อมูลจาก : Appleton. 2024) ดังนั้น คนกลุ่มนี้จึงเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

เมื่อกลุ่ม Gen C มีขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการ SME หน้าใหม่จะทำอย่างไรเพื่อให้เข้าถึงคนกลุ่มนี้ หนึ่งในวิธีที่เห็นผลและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนก็คือ “การสร้างแบรนด์” โดยการสร้างแบรนด์ในสมัยนี้ง่ายและสะดวกสบายกว่าเมื่อก่อนมาก แบรนด์ที่ดีต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง

1.ทัศนคติในเชิงบวกกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง : การมองโลกในแง่ดีและสนับสนุนผู้บริโภคด้วยการสร้างมูลค่าเชิงบวกกับการขายที่ลำบากจะเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาความมั่นใจและสร้างความสัมพันธ์ในแบรนด์ เช่น ผู้ประกอบการจำหน่ายพลาสเตอร์ปิดแผล ซึ่งจะถูกใช้งานก็ต่อเมื่อเกิดบาดแผล หากผู้ประกอบการมีการนำข้อความดีๆหรือออกแบบลายที่ดูสดใส ก็จะช่วยสร้างอารมณ์และความรู้สึกที่ดีได้

2.มีความเป็นมิตร : ผู้บริโภคกำลังมองหาความไว้วางใจและมูลค่าในการซื้อสินค้า ที่มากกว่ามูลค่าทางตัวเงิน ผ่านการให้ความใส่ใจผู้บริโภค เช่น บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บริการด้วยใจ ดังนั้นเรื่องของคุณภาพ ความปลอดภัย และความสะดวกจึงยังคงสำคัญ แม้ว่าจะมีความอ่อนไหวต่อราคาเพิ่มขึ้น เช่น ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่คนไม่สามารถออกมาจับจ่ายซื้อสินค้าได้ ผู้ประกอบการก็มีบริการจัดส่งแบบเดลิเวอรี่ หรือมีการสอบถามเพื่อแสดงความห่วงใย

3.ผสานเทคโนโลยีทั้งในการทำงานและชีวิตประจำวัน : เมื่อกลุ่มผู้บริโภคส่วนใหญ่อยู่ในตลาดออนไลน์ ผู้ประกอบการก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะเข้าไปสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักผ่านช่องทางนี้ ซึ่งปัจจุบันมีหลากหลายแพลตฟอร์มออนไลน์ให้เลือกทำตลาด และมีค่าใช้จ่ายไม่สูง เหมาะกับผู้ประกอบการ SME หน้าใหม่ให้ได้ทำตลาดและสร้าง  แบรนด์ โดยผู้ประกอบการจะต้องศึกษารูปแบบและวิธีการขายในแต่ละแพลตฟอร์มให้ดี เพื่อสื่อสารให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย

4.ให้ความสำคัญกับงานและชีวิต : การที่กลุ่ม Gen C เข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้มองเห็นการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันที่มุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับธรรมาภิบาลขององค์กร ดังนั้น หากแบรนด์มีการสร้างการตระหนักรู้ถึงความใส่ใจขององค์กรที่มีต่อพนักงาน ก็จะยิ่งทำให้แบรนด์เข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น เพราะความสุขของพนักงานที่มีต่อการทำงานจะสะท้อนออกมาผ่านตัวสินค้าและบริการนั่นเอง

5.ให้ความสำคัญกับสังคม : ผู้บริโภคตระหนักถึงปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และต้องการเห็นธุรกิจดำเนินการด้วยความรับผิดชอบ กลุ่ม Gen C มักจะค้นหาข้อมูลของผู้ประกอบการและที่มาของสินค้าว่า สร้างผลกระทบในเชิงลบต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อมหรือไม่ รวมถึงมีการทำกิจกรรมหรือโครงการดีๆ เพื่อตอบแทนสังคมหรือรักษาสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญอย่างมาก

หากดำเนินการสร้างแบรนด์ครบทั้ง 5 เรื่องแล้ว ลำดับถัดไปคือการเลือกช่องทางในการสร้างแบรนด์ ผู้ประกอบการควรเลือกจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ที่มีการการันตีคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันมีช่องทางออนไลน์ที่เป็นสื่อกลางในการขายสินค้าจำนวนมาก หากผู้ประกอบการสร้างแบรนด์ผ่านช่องทางขายออนไลน์ของตัวเอง ก็สามารถการันตีสินค้าได้เช่นกัน และต้องมีการสื่อสารกับลูกค้าอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างความพึงพอใจ

“แอล ดับเบิลยู เอส” ระบุราคาที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑลปี 2566 โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5.49 ล้านบาทต่อหน่วย เพิ่มขึ้น 24% จากปี 2565 ในขณะที่จำนวนหน่วยเปิดตัวโครงการใหม่ ปี 2566 ลดลง 4% แต่มูลค่าการเปิดตัวโครงการใหม่เพิ่มขึ้น 18%

ในขณะที่ราคาที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ปี 2567 มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 5-10% ขึ้นอยู่กับทำเล ผลจากต้นทุนที่สูงขึ้นทั้งราคาที่ดินที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากพื้นที่ในการพัฒนาที่ดินในทำเลใกล้แนวรถไฟฟ้า และสิ่งอำนวยความสะดวกมีจำกัด ผนวกกับต้นทุนราคาวัสดุก่อสร้าง ต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวสูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ส่งผลให้ราคาที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในปี 2567

นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่นส์ จำกัด บริษัทวิจัยและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือบริษัท แอล พี เอ็น ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน) เปิดเผยรายงานการเปิดตัวที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ปี 2566 ว่า ในปี 2566 มีจำนวนโครงการเปิดตัวใหม่ในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ทั้งหมด 437 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการเปิดตัวโครงการทั้งสิ้น 544,265 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% และ 18% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับจำนวนโครงการที่เปิดตัวทั้งสิ้น 394 โครงการ และมูลค่าการเปิดตัวโครงการ 459,374 ล้านบาท ในปี 2565 ในขณะที่หน่วยเปิดตัวโครงการในปี 2566 มีจำนวนหน่วยเปิดตัวใหม่ทั้งสิ้น 99,012 หน่วย ลดลง 4% เมื่อเทียบกับจำนวนหน่วยเปิดตัว 103,466 หน่วยในปี 2565 ในขณะที่อัตราการขายเฉลี่ย ณ วันเปิดตัวโครงการในปี 2566 อยู่ที่ 17% ของมูลค่าโครงการที่เปิดตัว ลดลงจากปี 2565 ที่มีอัตราการขายเฉลี่ย ณ วันเปิดตัวที่ 20%

จำนวนโครงการและมูลค่าโครงการเปิดตัวที่เพิ่มขึ้นในปี 2566 เทียบกับปี 2565 ในขณะที่จำนวนหน่วยเปิดตัวในปี 2566 ลดลงเมื่อเทียบกับจำนวนหน่วยเปิดตัวในปี 2565 เนื่องจากราคาที่อยู่อาศัยต่อหน่วยในปี 2566 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับราคาที่อยู่อาศัยต่อหน่วยในปี 2565 ผนวกกับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ได้มีการเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยระดับราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการเปิดตัวโครงการในระดับราคาที่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ทำให้มูลค่าการเปิดตัวโครงการปรับตัวสูงขึ้น เมื่อเทียบกับจำนวนหน่วยเปิดตัวที่ลดลง

โดยการเปิดตัวโครงการใหม่ในปี 2566  เป็นการเปิดตัวคอนโดมิเนียม 96 โครงการ เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับจำนวนการเปิดตัวโครงการ 91 โครงการในปี 2565 ในขณะที่จำนวนหน่วยเปิดตัวอวยู่ที่  46,464 หน่วย ลดลง 10% เมื่อเทียบกับจำนวนหน่วยเปิดตัวที่ 51,680 หน่วย ในปี 2565 และคิดเป็นมูลค่าการเปิดตัว 155,968 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15%  เมื่อเทียบกับมูลค่าการเปิดตัวโครงการ 135,297 ล้านบาท ในปี 2565 โดยมีอัตราการขาย ณ วันเปิดตัวที่ 26% ลดลงจากอัตราการขาย ณ วันเปิดตัวในระยะเดียวกันของปี 2565 ที่  29% โดยที่ราคาขายเฉลี่ยของอาคารชุดพักอาศัย ในช่วงปี 2566 อยู่ที่ 3.36 ล้านบาทต่อหน่วย เพิ่มขึ้น 28.24% จากราคาขายเฉลี่ยต่อหน่วยที่ 2.62 ล้านบาท ในปี 2565

และเป็นการเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัยระดับราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท  234 โครงการ เพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับจำนวนโครงการที่เปิดตัวในปี 2565 ที่ 221 โครงการ ในขณะที่จำนวนหน่วยเปิดตัวในปี 2566 อยู่ที่  43,410 หน่วย ลดลง 3% เมื่อเทียบกับจำนวนหน่วยเปิดตัวในปี 2565 ที่มีจำนวนหน่วยเปิดตัวทั้งสิ้น 44,568 หน่วย ในขณะที่มีมูลค่าการเปิดตัว 192,264 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับมูลค่าการเปิดตัวโครงการใหม่ 180,462 ล้านบาท ในปี 2565 โดยมีราคาขายเฉลี่ยต่อหน่วยที่ 7.39 ล้านบาทต่อหน่วยในช่วงปี 2566 เพิ่มขึ้น 18% จากราคาขายเฉลี่ยที่ 6.26 บาทต่อหน่วย ในปี 2565 

ส่วนการเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัยที่ระดับราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไปมีทั้งสิ้น 116 โครงการ จำนวน 9,138 หน่วย คิดเป็นมูลค่า 196,033 ล้านบาท เพิ่มขึ้น  33% , 24% และ 36% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับการเปิดตัวโครงการ 87 โครงการ จำนวน 7,396 หน่วย คิดเป็นมูลค่า 144,246 ล้านบาท ในปี 2565 โดยมีอัตราการขาย ณ วันเปิดตัวเฉลี่ยที่ 11% ลดลงจากอัตราการขายเฉลี่ยที่ 18% ในระยะเดียวกันของปี 2565 โดยที่ระดับราคาขายเฉลี่ยของบ้านระดับราคาเกิน 10 ล้านบาทอยู่ที่ 21.5 ล้านบาทต่อหน่วย เพิ่มขึ้น 10.25% จากราคาเฉลี่ยที่ 19.5 ล้านบาทต่อหน่วย ในปี 2565 โดยที่มี 9 โครงการบ้านพักอาศัยที่เปิดตัวบ้านพักอาศัยที่ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาทและ ราคาเกินกว่า 10 ล้านบาทอยู่ในโครงการเดียวกัน, นายประพันธ์ศักดิ์ กล่าว

การเปิดตัวโครงการจำนวนมากในปี 2566 ทำให้มีจำนวนหน่วยที่อยู่อาศัยคงค้างในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล (Inventory) ณ สิ้นปี 2566 ประเภทบ้านพักอาศัยจำนวน 145,634 หน่วย เพิ่มขึ้น 12.6% จากจำนวนบ้านพักอาศัยคงค้าง 129,298 หน่วย ณ สิ้นปี 2565 ในขณะที่คอนโดมิเนียมมีหน่วยคงค้าง 84,200 หน่วย ลดลง 1.7% เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีหน่วยคงค้าง 85,675 หน่วย จำนวนหน่วยคงค้างดังกล่าวทำให้บ้านพักอาศัย ต้องใช้ระยะเวลาในการขายประมาณ 4-5 ปีและกลุ่มคอนโดมิเนียม ใช้เวลาในการขายประมาณ 1-2 ปี

ในขณะที่จำนวนและมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ทั้งประเทศ(Demand) LWS คาดการณ์มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในปี 2566 อยู่ที่ 1.06-1.08 ล้านล้านบาท หรือ ทรงตัวใกล้เคียงกับปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1-2 ในปี 2566 เทียบกับปี 2565 โดยในปี 2565 มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิรวม 1.06 ล้านล้านบาท โดยที่การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ 9 เดือนแรกปี 2566 ตามรายงานของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า มีจำนวนหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์ทั้งสิ้น 270,650 หน่วย ลดลง 4.2% จากจำนวนการโอนกรรมสิทธิ์ 282,648 หน่วย ของ 9 เดือนแรกปี 2565 ในขณะที่มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ 9 เดือนแรกอยู่ที่  766,791 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.6% จากมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ 755,178 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ 9 เดือนแรกของปี 2565 โดยที่ราคาเฉลี่ยในการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 อยู่ที่ 2.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.99 % จากราคาเฉลี่ยในการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยที่ 2.67 ล้านบาทต่อหน่วยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565

“ราคาขายเฉลี่ยของที่อยู่อาศัยที่เปิดตัวในปี 2566 ที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงราคาเฉลี่ยในการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในปี 2566 ที่มีแนวโน้มว่าราคาเฉลี่ยในการโอนกรรมสิทธิ์ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงสภาพตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2566 ที่ต้นทุนในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยที่ปรับตัวสูงขึ้นจากหลายปัจจัยทั้งราคาที่ดิน ราคาวัสดุก่อสร้าง รวมไปถึงต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น ทำให้ราคาที่อยู่อาศัยปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง และปัจจัยดังกล่าวทั้งราคาที่ดิน ราคาวัสดุก่อสร้าง ต้นทุนทางการเงิน ผนวกกับค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับตัวสูงขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลในปี 2567 ยังคงเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาที่อยู่อาศัยในปี 2567 ที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5-10% โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ และ ปริมณฑล ที่ราคาที่ดินมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นตามแนวรถไฟฟ้าและในทำเลที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการความต้องการของผู้ซื้อ ซึ่งที่ดินในทำเลดังกล่าว มีจำนวนจำกัด ทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย ส่งผลโดยตรงต่อราคาที่อยู่อาศัยในปี 2567 ที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้น” นายประพันธ์ศักดิ์ กล่าว   

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี เตรียมสำรองเงินสดในช่วงเทศกาลตรุษจีน ปี 2567 ระหว่างวันที่ 5 – 11 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อรองรับการใช้บริการของลูกค้าและประชาชน จำนวน 13,500 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการสำรองที่สาขา จำนวน 4,000 ล้านบาท และตู้เอทีเอ็ม จำนวน 9,500 ล้านบาท 

ทั้งนี้ ทีทีบี มีสาขาทั่วประเทศ จำนวน 532 สาขา และเครื่องเอทีเอ็ม จำนวน 3,015 เครื่องทั่วประเทศ (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2566)

ด้วยวาระแห่งการเฉลิมฉลองสู่การขึ้นปีใหม่ของชาวจีนทั่วโลก หรือคนไทยเชื้อสายจีน ถือเป็นหนึ่งในเทศกาลสำคัญและสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน “ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้”

จับจริง แจกจริง! "พฤกษา" ฉลองความสำเร็จ แคมเปญ ‘โปรแร๊งส์...ทะลุโลก’ มอบรางวัลรถยนต์ Tesla 2 คันสุดท้าย จากแคมเปญ ‘โปรแร๊งส์...ทะลุโลก’ ที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าร่วมสนุก ลุ้นรับโชคครั้งใหญ่ด้วยการแจกรถยนต์ไฟฟ้า Tesla รวม 3 คัน สำหรับลูกค้าที่จองและโอนกรรมสิทธิ์ช่วงวันที่ 1 ตุลาคม -  31 ธันวาคม 2566 ซึ่งได้มีการมอบรถยนต์คันแรกให้กับผู้โชคดีไปเมื่อช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา ก่อนจะประกาศรายชื่อผู้โชคดี 2 ท่านสุดท้าย  โดยมี นายปิยะ ประยงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) พร้อมคณะผู้บริหาร ร่วมแสดงความยินดี กับ ลูกค้าผู้โชคดี 2 ท่าน ได้แก่ นายศตวรรษ มงคล ซึ่งเป็นลูกค้าผู้โชคดีที่ซื้อบ้านจากโครงการ ภัสสร วงแหวนฯ-รามอินทรา และนางสาว LIN CHEN-YU  ลูกค้าผู้โชคดีที่ซื้อโครงการ พลัมคอนโด สุขุมวิท 62  ณ อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก 

โดยแคมเปญ ‘โปรแร๊งส์...ทะลุโลก’ เป็นแคมเปญที่พฤกษาตั้งใจสนับสนุนให้คนไทยทุกคนเป็นเจ้าของบ้านได้ง่ายขึ้น ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี สามารถทำยอดขายรวมจากแคมเปญนี้ราว 4,300 ล้านบาท อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่พลาดโอกาสจากแคมเปญที่ผ่านมา เพื่อเป็นการขอบคุณลูกค้าที่ให้ความไว้วางใจและร่วมเป็นสมาชิกครอบครัวพฤกษาด้วยกัน ในปีนี้ยังจะมีกิจกรรมดี ๆ ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมอบความสุขในช่วงต้นปีมังกร สำหรับลูกค้าที่จองหรือโอนกรรมสิทธิ์ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 มีนาคม 2567  ด้วยโปรโมชันฉ่ำ ๆ ต้อนรับตรุษจีน กับแคมเปญ “อั่งเปาหนัก ๆ จัดดอกเบา ๆ”  จะได้รับอั่งเปาทองคำมูลค่าสูงสุด 2 ล้านบาท และได้รับดอกเบี้ยคงที่ 1.99% ต่อปี นาน 3 ปี ผ่อนเริ่มต้นเพียงล้านละ 2,500 บาทต่อเดือน ให้วงเงินอนุมัติสูงสุด 110% พิเศษ !!! สำหรับลูกค้าที่เข้าร่วมแคมเปญนี้ ถ้ากู้ไม่ผ่าน พฤกษายินดีคืนเงินทุกกรณี พร้อมรับสิทธิจากโปรโมชั่นพิเศษ ฟรีทั้งค่าโอน ค่าจดจำนอง ค่าส่วนกลาง

พฤกษายังคงมุ่งมั่นส่งมอบบ้านและคุณภาพการอยู่อาศัยดีที่สุดให้กับคนไทย ภายใต้การพัฒนาที่อยู่อาศัยภายใต้แนวคิด ‘อยู่ดีมีสุข Live well Stay well’ เพื่อส่งมอบที่อยู่อาศัยที่ออกแบบและพัฒนาอย่างเข้าใจในความต้องการใช้งานที่อยู่อาศัยของทุกคนทั้งวันนี้และอนาคต  พร้อมใส่ใจสิ่งแวดล้อม เลือกใช้ วัสดุอุปกรณ์เพื่อการประหยัดพลังงาน ดูแลรักษาง่าย และช่วยลดค่าใช้จ่ายสำหรับผู้อาศัย พร้อมด้วยบริการเพื่อสุขภาพที่ดีจากโรงพยาบาลวิมุตพันธมิตรในเครือ ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดโครงการและแคมเปญใหม่ ๆ ได้ที่ www.pruksa.com หรือสอบถามเพิ่มเติม โทร. 1739

X

Right Click

No right click