มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย (Intelligent Traffic Information enter Foundation) หรือ  “iTIC” ร่วมกับ กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สมาคมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดสัมมนา“4th iTIC FORUM 2023: Power of Connectivity and Smart Mobility” เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้าน Connectivity and Smart Mobility ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยกระดับการพัฒนาระบบขนส่ง การจราจรอัจฉริยะและลดอุบัติเหตุในประเทศไทยแบบ real-time เนื่องจาก ประเทศไทยมีอุบัติเหตุเป็นอันดับ 9 ของโลก มีผู้เสียชีวิต 17,379 คน/ปี หรือ กว่า 48คน/วัน มีฝุ่นควันพิษมากเป็นอันดับที่ 30 ของโลก และกรุงเทพรถติดเป็นอันดับ 32 ของโลก

โดยมี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมกล่าวเปิดงานและปาฐกถา พิเศษ “ความพร้อมของการเชื่อมต่อ โครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทย” ว่าการสัมมนาในครั้งนี้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่มุ่งเน้น 4 แนวทางหลักคือ 1. เปิดประตูการค้า การท่องเที่ยว ด้วยการพัฒนารถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง ส่งเสริมและพัฒนาระบบโครงข่ายทางถนนและทางพิเศษให้ครอบคลุมความต้องการเดินทางของประชาชน และการส่งเสริมพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าทางน้ำที่มีต้นทุนต่ำที่สุด ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือแหลมฉบัง ตลอดจนการศึกษาโครงการ Land Bridge เชื่อมทะเลอันดามันและอ่าวไทย 2.เน้นความปลอดภัยลดอุบัติเหตุในการเดินทางของประชาชน 3.เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีและลดต้นทุนในการเดินทาง 4. เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น Green Transport ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และ PM 2.5 โดยส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกในการเดินทาง รวมทั้งการบูรณาการ ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาการจราจร กระทรวงคมนาคมได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน บริการครอบคลุมการเดินทางอาทิ รถไฟใต้ดิน บนดิน ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปัจจุบันเปิดให้บริการทั้งสิ้น 12 เส้นทาง ระยะทางรวม 276.84 กิโลเมตร ถนนทางหลวง ทางหลวงชนบท และทางหลวงท้องถิ่น รวมระยะทาง 707,364.25 กิโลเมตร

นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย (Intelligent Traffic Information enter Foundation) หรือ “ iTIC” กล่าวว่า มูลนิธิฯ พร้อมระดมพลังความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนขับเคลื่อนข้อมูล Big Data ระหว่างหน่วยงานต่างๆ นำมาประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูลแก้ปัญหาจราจรและลดอุบัติเหตุ แบบ real-time เช่น การปิดจราจร, อุบัติภัย, ไฟไหม้, เมฆฝน, และน้ำท่วม ภัยพิบัติ, หรือแม้กระทั่ง ฝุ่น PM2.5 ตลอด 24 ชั่วโมง ที่สำคัญ มีการแจ้งเตือนการเกิดอุบัติเหตุ ให้ผู้ขับขี่ที่เดินทางไปในบริเวณรัศมี 5 กิโลเมตรจากจุดเกิดเหตุด้วย ทั้งนี้ iTIC รายงานข้อมูลแบบ real time traffic โดยใช้ข้อมูลจาก Vehicle Probe กว่า 100,000 คัน วิ่งอยู่ทั่วประเทศมาประมวลผล แสดงบน Digital Map มีกล้อง CCTV รวมทั้งหมด 282 กล้อง อนาคตมีแผนขยายการเชื่อมต่อกล้อง CCTV จากเทศบาลเมืองภูเก็ต อุดรธานี หนองคาย เชียงใหม่ และอีกหลายจังหวัด กล้อง CCTV นอกจากใช้ประโยชน์ในการดูสภาพจราจรแบบ real time แล้ว ยังใช้ในการวิเคราะห์สาเหตุของอุบัติเหตุ มีการเสนอจุดฝืดของจราจร 20 จุดใน กทม. และจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุที่กทม. และที่ฉะเชิงเทรา

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  กล่าวถึง “แนวคิดใหม่ในการสัญจรของคนกรุง” การเดินทางที่ดีเป็นนโยบายของกทม. ที่มุ่งเน้นให้ผู้คนเดินทางให้เกิดความสะดวกสบายและปลอดภัย แต่ปัจจุบันยังพบว่าปัญหาการเดินทางของประชาชน คือ การเชื่อมต่อจุดหมายปลายทางของการเดินทาง บางเส้นทางโครงข่ายรถไฟฟ้ายังไปไม่ถึง ที่ผ่านมากทม.ได้มีการทำแพลตฟอร์ม Traffic Fongdu ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแจ้งเรื่องร้องเรียนถึงปัญหาต่างๆของประชาชนในกรุงเทพฯ ประมาณ 300,000 เรื่อง พบว่าปัญหาที่ประชาชนร้องเรียนเข้ามาส่วนใหญ่ คือ เรื่องปัญหาการเดินทางถนนและปัญหาบนทางเท้า ทั้งนี้กทม.มีแผนจะปรับปรุงทางเท้าใหม่ โดยใช้มาตรฐานใหม่ในการก่อสร้างทั้งวัสดุผิวทางเท้า,คอนกรีตเสริมเหล็กหนาประมาณ 10 ซม. ทั้งยังมีแผนดำเนินการก่อสร้างทางเดินสำหรับกันแดดและการฝนเพื่อเชื่อมต่อป้ายรถประจำทางและสถานีรถไฟฟ้า นอกจากนี้ขณะเดียวกันกทม.ยังมีโครงการแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพฯด้วยการติดตั้งระบบควบคุมสัญญาณไฟจราจรเป็นพื้นที่ (ATC) โดยเป็นการนำข้อมูล Probe Data มาใช้ในพื้นที่โครงการ ซึ่งจะช่วยลดความล่าช้าการเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วนลง 10% และลดความล่าช้าการเดินทางนอกชั่วโมงเร่งด่วนลง 30% โดย กทม.มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาจุดฝืด-จุดรถติด เพื่อแก้ปัญหาการจราจรและลดอุบัติเหตุในกรุงเทพฯ อย่างยั่งยืน 

นอกจากนี้ภายในงานสัมมนาช่วงเช้ามีการบรรยาย ดังนี้ โดยได้รับเกียรติจาก Vehicle Information and Communication Systems (VICS) และ Intelligent Transportation Society of Taiwan (ITS Taiwan) มาแชร์ประสบการณ์ความสำเร็จในการแก้ปัญหาจราจรและลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ตลอดจนเทคโนโลยีการเดินทางอัจฉริยะ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ (EA)  จะพูดถึง “ศักยภาพของเอกชนไทยในการขับเคลื่อนสมาร์ทโลจิสติกส์ รถ-เรือ-ราง” ด้วย Green Transportation

จากนั้นจะเป็นช่วง เสวนา นำโดย ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในหัวข้อ “โอกาสของไทยในการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมแห่งภูมิภาคเชื่อมไทยเชื่อมโลก” สร้างระบบ Feeder ไปยังสถานีขนส่งมวลชนได้อย่างไร โดยมีกรมการขนส่งทางราง, การรถไฟแห่งประเทศไทย, การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และบริษัท เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) ร่วมเสวนา

ในช่วงบ่าย รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รศ.ดร. วิศณุ ทรัพย์สมพล จะนำเสนอ “แนวคิดใหม่ในการสัญจรของคนกรุง” จากนั้น บริษัท ช.การช่าง โดย ดร.สุภามาส ตรีวิศวเวทย์ จะมาพูดเรื่อง “การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางอัจฉริยะและสังคมที่ยั่งยืนในประเทศไทย”

บริษัท ไอโออิ กรุงเทพ ประกันภัย โดย คุณ ฮิเดโอะ อิวาซาวะ จะมาพูดถึงการใช้ข้อมูลในการสร้างคุณค่าร่วมกันและเสวนา นำโดย นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข พูดถึงประสบการณ์และยกตัวอย่างการลดอุบัติเหตุและช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บบนถนน ของจังหวัดขอนแก่น Model ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ว่าทำอย่างไร โดยมี กรมทางหลวง, กรมทางหลวงชนบท, กรมการขนส่งทางบก ร่วมเสวนา

สุดท้ายเป็นการเสวนาหัวข้อ “พลังของข้อมูลในระบบคมนาคมขนส่ง สู่อนาคต” นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทรรศการโดยผู้สนับสนุนหลัก, SME และ Start up ถึง 30 บูท ปิดท้ายด้วย Big Surprise  ช่วงท้ายของงาน โดยมีผู้สนใจทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนกว่า 300 รายเข้าร่วมงานสัมมนาดังกล่าว

18-19 พฤศจิกายนนี้ เปิดจองชั้นสวย พร้อมรับวิวแม่น้ำ ส่วนกลางใหญ่

แพ็ค 3 แคมเปญเสิร์ฟความคุ้มค่าตลอดเดือนพฤศจิกายน

ตอกย้ำความสำเร็จตัวจริงเรื่องประกันภัย ทิพยประกันภัยจัดใหญ่จัดเต็มในโอกาสฉลองครบรอบ 72 ปี มอบสิทธิ์ลุ้นชิงทองคำ รวม 72 รางวัล มูลค่ารวมกว่า 400,000 บาท เพียงซื้อหรือต่ออายุประกันภัย

กติกาการรับสิทธิ์ชิงรางวัล

  • สิทธิ์ชิงรางวัล 1 สิทธิ์ สำหรับลูกค้าซื้อกรมธรรม์ใหม่หรือต่ออายุกรมธรรม์เดิม ตั้งแต่ 7 พ.ย. 66 - 31 ธ.ค. 66
  • สิทธิ์ชิงรางวัล 2 สิทธิ์ สำหรับลูกค้าซื้อกรมธรรม์ใหม่ ผ่าน TIPINSURE.COM
  • สิทธิ์ชิงรางวัล 3 สิทธิ์ สำหรับลูกค้าซื้อกรมธรรม์ใหม่ อาทิ ซื้อประกันภัยรถยนต์ TIP Premium Plus หรือ TIP Lady หรือซื้อประกันภัยในช่วงวาระพิเศษ หรืองานอีเวนต์ต่างๆ
  • สิทธิ์ชิงรางวัลสำหรับผู้เอาประกันภัย 1 ท่าน ตามชื่อบนหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย
  • สำหรับลูกค้าผ่านช่องทางเว็บไซต์ TIPINSURE.COM หรือ สาขาทิพยประกันภัยทั่วประเทศ

กำหนดการชิงรางวัล

ระยะเวลาร่วมแคมเปญ : 7 พ.ย. 66 - 31 ธ.ค. 66

วันจับรางวัล : 9 ม.ค.67 ภายในเวลา 18.00 น. ณ สำนักงานใหญ่ บมจ.ทิพยประกันภัย ถ.พระราม 3 กรุงเทพฯ

วันประกาศผล : 11 ม.ค.67 ทาง Facebook ทิพยประกันภัย ภายในเวลา 19.00 น.

  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด
  • กรุณาอ่านเงื่อนไขกิจกรรมเพิ่มเติมที่ https://www.tipinsure.com/Promotions/content/tip72y

ทิพยประกันภัย บริษัทประกันวินาศภัยอันดับ 1 ที่มีผลิตภัตณ์และบริการหลากหลายตอบโจทย์ครบทุกความต้องการ คุ้มค่า คุ้มราคา มีบริการแจ้งอุบัติเหตุ และเคลมประกันรถยนต์ออนไลน์ ตลอด 24 ชั่วโมง ปลอดภัย ไร้กังวล ชำระเงินออนไลน์ได้อย่างมั่นใจ ด้วยมาตรฐานความปลอดภัยในการส่งผ่านข้อมูลแบบ SSL ที่มีความปลอดภัยสูง อีกทั้งมีบริการที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้า อาทิ ประกันภัยรถยนต์ ประกันภัยเดินทาง ประกันภัยสุขภาพ ประกันภัยสัตว์เลี้ยง ประกันภัยที่อยู่อาศัย และประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล เป็นต้น เลือกซื้อประกันออนไลน์ต้อง TIPINSURE เพราะนอกจากจะทำให้ประหยัดเวลาและสะดวกยิ่งขึ้นแล้วยังสามารถระบุข้อมูลหรือปรับวงเงินความคุ้มครองตามความต้องการได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ช่องทาง WWW.TIPINSURE.COM หรือ สาขาทิพยประกันภัยทั่วประเทศ  ชมคลิปโฆษณา คลิก :  https://youtu.be/iwUgAbZy6SI?si=wN1sXsdSK3zP0L7t

เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง ช่วยเด็กและเยาวชนค้นหาศักยภาพตนเอง  เปิดมุมมองด้านอาชีพ พร้อมเดินหน้าผลิตบุคลากร รองรับการขาดแคลนกำลังคนด้านการบิน ตั้งเป้าปี 2567 เปิดรับสมัคร 150 คน ขณะที่ นักเรียนเข้าร่วมค่าย ฝากจัดค่ายต่อเนื่อง เผยมีประโยชน์ต่อเด็กได้เข้าใจหลักสูตร การเรียนการสอนการบินมากขึ้น

วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (CADT: College of Aviation Development and Training) และสถาบันการบิน (DAA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หรือ DPU ได้จัดกิจกรรม ‘ค่ายการบิน Youth Flying Club #3’ เมื่อวันที่ 28 ตค.2566 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการจัดมาอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้เข้าสู่ปีที่ 2 และจัดเป็นครั้งที่ 3 เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้แก่เด็กและเยาวชนที่สนใจเกี่ยวกับการเรียนการสอนด้านการบิน ได้มาเรียนรู้ เพิ่มเติมประสบการณ์ และช่วยค้นหาตัวเองว่าเหมาะกับอาชีพด้านการบิน

ผศ.น.ต.ดร.วัฒนา มานนท์ คณบดีวิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (CADT: College of Aviation Development and Training) และผู้อำนวยการสถาบันการบิน (DAA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หรือ DPU กล่าวว่าปี 2566  CADT ได้จัดค่ายการบิน Youth Flying Club #3 ขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งใน 2 ครั้งแรกได้รับการต้อนรับดีมาก เด็กและเยาวชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนการสอน การฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการบินมากขึ้น ในปีนี้จึงมีการจัดค่ายที่พิเศษมากกว่าเดิม โดยเน้นการฝึกปฏิบัติ เพิ่มเติมประสบการณ์ เป็นการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง ไม่ว่าจะเป็น การฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ การบินจำลอง ห้องผู้โดยสาร สาธิตการดับเพลิง การควบคุมจราจรทางอากาศ รวมถึงการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้  และซักถามจากรุ่นพี่ ซึ่งเด็กและเยาวชนมีความกระตือรือร้นมากกว่าทุกปี

“การบิน เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์ เพราะเป็นเรื่องการเดินทาง ยิ่งในปัจจุบันสามารถท่องเที่ยว หรือไปทำธุรกิจด้วยการเดินทางบนเครื่องบินได้ง่ายขึ้น รวดเร็วมากขึ้น และในปี 2566 นี้ อุตสาหกรรมการบินเริ่มกลับมาเติบโตมากขึ้น ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเกือบ 20 ล้านคน และมีจำนวนไฟล์ทบินมากขึ้น เกือบวันละ 2,000 ไฟล์ทบินทั่วประเทศ แบ่งเป็นสนามบินสุวรรณภูมิ มี กว่า900 ไฟล์ทบินต่อวัน และสนามบินดอนเมืองประมาณ 500 กว่าไฟล์ทบินต่อวัน  ดังนั้น ความต้องการของบุคลากรด้านการบินเพิ่มสูงมากขึ้น” ผศ.น.ต.ดร.วัฒนา กล่าว

ในช่วงโควิด-19 อุตสาหกรรมการบินได้รับผลกระทบอย่างมาก เพราะงดการเดินทาง ทำให้มีการปลดพนักงาน หรือพักงานพนักงาน และบางคนเมื่อออกจากงานแล้วได้ไปทำธุรกิจของตัวเอง หรือไปทำงานอื่นๆ ที่พวกเขาชอบมากกว่า ทำให้ไม่ได้กลับมาสู่อุตสาหกรรมการบินอีก ทั้งที่ ตอนนี้มีความต้องการกำลังคนด้านการบิน ทั้งนักบิน เจ้าหน้าที่และพนักงานบริการภาคพื้นดิน มากขึ้น

ผศ.น.ต.ดร.วัฒนา กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมีความต้องการบุคลากรทางการบินจำนวนมาก และจากการวิเคราะห์สถานการณ์พบว่าอุตสาหกรรมการบินดีขึ้นกว่าเดิม และคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอีก 3-4 ปีข้างหน้า หากไม่เกิดโรคระบาดร้ายแรง หรือเหตุการณ์ที่คาดเดาไม่ได้อีก ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนของ CADT DPU ไม่ได้เน้นเพียงการฝึกปฏิบัติงาน รวมถึง มีการวิเคราะห์ว่าสถานการณ์อุตสาหกรรมการบินดีขึ้น และในอนาคต 3-4 ปีข้างหน้า ไม่สามารถคาดการณ์ได้ จึงต้องเตรียมพร้อมบุคลากรให้สามารถทำงานด้านการบินและมีทักษะอื่นๆ ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเป็นผู้ประกอบการ หรือทำธุรกิจของตัวเอง

“การเรียนการสอนของ CADT  DPU ได้มีการพัฒนาขีดความสามารถด้านการผลิตบุคลากรด้านการบิน ท่ามกลางอุตสาหกรรมการบินในไทยและภูมิภาคอาเซียนที่กำลังเข้าสู่สภาวะฟื้นตัว คาดการณ์ว่าจะขยายตัวแบบก้าวกระโดดในปี 2567 เจ้าหน้าที่สายการบินในต่างประเทศ บางสายการบินงดเที่ยวบิน เพราะไม่มีเจ้าหน้าที่ภาคพื้น  ปี 2566 มีจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้น 83%  และปี 2567 คาดว่าจะรับนักศึกษาจำนวน 150 คน การจัดค่ายถือเป็นการคัดเลือกเด็กที่สนใจจริงๆและทำให้เกิดความเข้าใจ 2 หลักสูตรวิชาธุรกิจการบินและหลักสูตรวิชาการจัดการเทคโนโลยีการบิน  ได้ลองฝึกปฏิบัติ สัมผัสห้อง Cabin เครื่องบินจริง ห้อง Simulator ของจริง อุปกรณ์จริง และการควบคุมจราจรอากาศ ช่วยให้เด็กค้นพบศักยภาพ ความถนัดของตัวเอง และได้ไอเดีย ว่าพวกเขาเหมาะกับการทำงานด้านใดในสายอุตสาหกรรมการบิน ได้มุมมองอาชีพมากขึ้น” ผศ.น.ต.ดร.วัฒนา กล่าว

ทั้งนี้ นอกจากการจัดการเรียนการสอนผลิตบัณฑิตบุคลากรสายการบินแล้ว CADT  DPU ยังมีการเปิดหลักสูตรเทรนนิ่ง อบรม เพื่ออัพสกิล รีสกิลคนในสายอุตสาหกรรมการบิน ด้วยเป้าหมายในการเป็นศูนย์รวมการอบรมด้านการบิน สร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และมั่นใจว่านักศึกษาที่จบจากวิทยาลัยมีความพร้อม และศักยภาพในการพัฒนาตัวเอง ทำงานในองค์กร หน่วยงานต่างๆทั้งในและต่างประเทศได้

น.ส.กัสตูรีย์ เวชกะ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประทีปศาสน์ จ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า ตนเดินทางมาจากบ้านเกิดที่จังหวัดสงขลา เพื่อมาเข้าร่วมค่ายการบินของ CADT  DPU ซึ่งเท่าที่ได้ดูรายละเอียดและมาสัมผัสของจริง ค่ายการบินมีประโยชน์สำหรับตนอย่างมาก เพราะตนอยากเป็นทำงานเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่/พนักงานบริการภาคพื้นดิน (Ground Hostess/ Ground Staff)  และทุกกิจกรรมที่ทางค่ายจัด ทำให้ได้รับประสบการณ์จากเครื่องมืออุปกรณ์ การฝึกปฏิบัติจริงๆ  รู้ถึงศักยภาพและความถนัดของตัวเองว่าหากเราจะทำอาชีพนี้จริงๆ เราจะสามารถทำได้หรือไม่

“กิจกรรมการฝึกปฏิบัติในแต่ละฐาน สนุก ได้ความรู้ และที่สำคัญได้ฝึกปฏิบัติจากห้องเครื่องบินจริงๆ ซึ่งห้องฝึกปฏิบัติของ CADT  DPU มีความทันสมัย เปิดมุมมองและการเรียนรู้ใหม่ๆ ยิ่งเราเป็นเด็กต่างจังหวัด การได้มาเห็นมาเรียนรู้ทำให้ได้รับประสบการณ์ที่ดี แต่หากจะเพิ่มเติมกิจกรรม อยากให้มีพื้นที่ที่ได้พูดคุยกับรุ่นพี่ที่ทำงานในสายนี้จริงๆ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง” น.ส.กัสตูรีย์ กล่าว

ด้านนายปัณณวิชญ์ กอบตระกูล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง จ.ระยอง กล่าวว่าตนอยากเป็นนักบิน เพราะอยากทำงานบนเครื่องบินที่ได้เห็นท้องฟ้า และบรรยากาศในการทำงานที่แตกต่างไปจากเดิม เนื่องจากแต่ละประเทศแตกต่างกัน การทำงานบนเครื่องบินคงไม่เหมือนกับในห้องทำงานบนพื้นดินที่เห็นทุกๆ อย่างเหมือนเดิม ดังนั้น เมื่อทางมหาวิทยาลัยต่างๆ เปิดค่ายการบิน ตนจะเข้าร่วม และค่ายการบิน ของ CADT  DPU เป็นมหาวิทยาลัยที่สามที่ได้เข้าร่วม ซึ่งมีกิจกรรมที่สนุกสนาน และได้ฝึกปฏิบัติในห้องซิมูเลเตอร์ของจริง รุ่นที่แตกต่างจากที่เคยไปเข้าค่ายมาก อีกทั้งทำให้ได้เพื่อนใหม่ ได้เรียนรู้หลักสูตรการเรียนการสอน และรับฟังประสบการณ์จากรุ่นพี่และอาจารย์ผู้สอน

“ค่ายการบิน ของ CADT  DPU มีประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชนที่สนใจหลักสูตรการบินอย่างมาก เพราะเป็นการเรียนรู้จากสถานที่จริง อาจารย์ผู้สอน และรุ่นพี่จริงๆ ที่คอยให้คำแนะนำ ชี้แนะ อีกทั้งได้ทดสอบทำข้อสอบร่วมด้วย อยากให้มีการจัดค่ายแบบนี้ไปเรื่อยๆ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ และค้นพบตัวเองว่าเหมาะกับการเรียนหลักสูตรนั้นๆ หรือไม่ ที่สำคัญ ทำให้พวกเขาตัดสินใจได้ดีขึ้น ว่าควรเรียน  หรือควรทำอาชีพอะไร เป็นข้อมูลที่จะเพิ่มเติมให้แก่พวกเขา เพราะนอกจากเรื่องของการเรียนการสอนแล้ว การตัดสินใจเลือกเรียนจะดูไปถึงการฝึกงานว่ามีที่ไหนบ้าง อุปกรณ์เป็นอย่างไร และดูว่าจบแล้วจะทำงานได้หรือไม่” นายปัณณวิชญ์ กล่าว

เช่นเดียวกับ นายรัชพล บุนนาค  นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ปีที่ 3 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามธุรกิจ ในพระอุปถัมภ์ฯ กล่าวว่าครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่ได้เข้าร่วมค่ายการบิน ซึ่งทั้ง 2 ค่ายมีความแตกต่างกัน CADT  DPU มีอุปกรณ์การเรียนการสอน มีห้องจำลอง ห้องปฏิบัติงานที่ทันสมัย เหมือนได้ทดสอบขับเครื่องบินจริงๆ ถือเป็นเรื่องที่ดีและมีประโยชน์กับตนมากๆ ที่อยากเป็นนักบิน

“ผมอยากเป็นนักบินมาตั้งแต่เด็ก โดยได้รับแรงบันดาลใจจากการไปเที่ยว ยิ่งเมื่อได้มาเข้าค่ายการบิน CADT  DPU ยิ่งทำให้อยากเรียนหลักสูตรการบินมากขึ้น ตอนที่ได้ฝึกปฏิบัติ และมีรุ่นพี่ อาจารย์มาให้คำแนะนำรู้สึกดี และสนุกมาก อยากให้เปิดค่ายแบบนี้ไปตลอด เปิดมุมมองให้เด็ก ได้ทดลอง เรียนรู้ว่าเหมาะกับเราจริงๆ หรือไม่ ดังนั้น หากเพื่อนๆ คนไหนที่สนใจอยากเป็นนักบิน อยากให้ลองสมัครเข้าค่ายการบิน CADT  DPU จะทำให้ได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่แตกต่างจากการนั่งดูผ่านคลิปวิดีโอ หรืออ่านจากข้อมูล”นายรัชพล กล่าว

ขณะที่ น.ส.ลภัสนันท์ จิรานุศักดิ์ ผู้ปกครองของนายรัชพล บุนนาค กล่าวว่ารู้จักค่ายดังกล่าวผ่านลูก ซึ่งเขาสนใจอยากเข้าร่วมค่าย เพราะเขามีความฝันอยากเป็นนักบิน ทำงานเกี่ยวกับการบิน ครั้งนี้เป็นการสมัครเข้าค่ายครั้งที่ 2 ของเขา แต่เป็นครั้งแรกของแม่ ที่ได้มีโอกาสมาร่วมค่ายกับลูก ทำให้ได้เรียนรู้หลักสูตร  เห็นสถานที่ สภาพแวดล้อมของวิทยาลัย อุปกรณ์การเรียนการสอน และห้องปฏิบัติการต่างๆ ซึ่งแตกต่างจากที่เราดูคลิปวิดีโอทางโซเซียลมีเดีย เพราะทุกอย่างเป็นของจริง อีกทั้งได้ข้อมูลจากคณบดี จากนักศึกษารุ่นพี่ แต่ละท่านให้ข้อมูลที่ดีและมีประโยชน์อย่างมาก แม่จะนำข้อมูลไปแลกเปลี่ยนกับลูก เพื่อช่วยในการตัดสินใจของเขา

“เชื่อว่าลูกจะได้รับประสบการณ์มากมาย จากการเข้าค่ายการบิน CADT  DPU เพราะการได้มาเห็นทุกอย่าง ได้ลงมือปฏิบัติ ฝึกแก้ปัญหาเฉพาะหน้าจริงๆ เรียนรู้จริงๆ ย่อมดีกว่า ขณะที่ผู้ปกครองได้เข้ามาร่วมจะได้มุมมองความคิด และนำข้อมูลไปแลกเปลี่ยนกับลูกได้ การที่มหาวิทยาลัยเปิดค่ายกิจกรรม จะมีประโยชน์อย่างมากทั้งผู้ปกครอง และตัวเด็ก อยากให้จัดกิจกรรมที่หลากหลาย ให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง” น.ส.ลภัสนันท์ กล่าวในตอนท้าย

บริษัท เคหะสุขประชา จำกัด (มหาชน) ลงนามความร่วมมือ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ “เอ็นที” (NT) ร่วมกันยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารโทรคมนาคมของโครงการบ้านเคหะสุขประชา และพื้นที่การประกอบอาชีพทั้ง 6 รูปแบบหลัก รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นในชุมชน ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ตลอดจนเป็นโครงข่ายเชื่อมโยงแต่ละชุมชนเพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจที่มั่นคงในทุกมิติ

นายพิษณุพร อุทกภาชน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคหะสุขประชา จำกัด (มหาชน) เผยว่า การพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภาคที่อยู่อาศัยของเคหะสุขประชา จะมุ่งเน้นให้ผู้เช่าหรือผู้มีรายได้น้อยได้รับการเสริมสร้างทักษะที่เหมาะสมกับการประกอบอาชีพทั้ง 6 รูปแบบหลัก เพื่อต่อยอดสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชมที่ครบวงจรและเอื้อต่อการพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ ซึ่งองค์ประกอบที่จำเป็นและทำให้การดำเนินการนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือการยกระดับด้านการสื่อสาร เพื่อให้ประชาชนได้มีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี รวมไปถึงสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยและการทำงานที่ได้คุณภาพ

ซึ่งนอกเหนือจากการสร้างความมั่นคงภาคที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องแล้ว เคหะสุขประชา ยังได้มีการดำเนินการความร่วมมือกับ “เอ็นที” (NT) หรือ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นพันธมิตรผู้มีศักยภาพในการให้บริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคม รวมถึงระบบ 5G และดาวเทียม ตลอดจนการนำเอาดิจิทัลมาให้บริการสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ

นายพิษณุพร อุทกภาชน์ กล่าวเสริมต่ออีกว่า ความร่วมมือในครั้งนี้จะมีระยะเวลาการดำเนินการรวม 3 ปี ที่สององค์กรจะได้นำจุดแข็งและความเชี่ยวชาญที่มีมาบูรณาการร่วมกัน ในแง่มุมของการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่มีเครือข่ายโทรคมนาคม-อินเทอร์เน็ตมาตรฐานมาใช้ในพื้นที่พักอาศัย, ใช้ในพื้นที่การทำงาน เช่น ตลาดสุขประชามาร์เก็ต ,ศูนย์การค้าเคมอลล์ , พื้นที่การเกษตรและอื่น ๆ  ใช้อำนวยความสะดวกเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในชุมชน อาทิ การพัฒนาศูนย์สาธารณสุข-ศูนย์การเรียนรู้ต่าง ๆ เป็นต้น

ด้าน นายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจลูกค้าองค์กร บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เปิดเผยว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ NT และ เคหะสุขประชา มีเป้าหมายร่วมกันที่จะเสริมสร้างความมั่นคงและยกระดับมาตรฐานการใช้ชีวิตให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในโครงการเคหะสุขประชาในทุกพื้นที่ทั่วประเทศแบบบูรณาการ ซึ่ง NT เอง พร้อมที่จะนำโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคม รวมถึงนวัตกรรมทางการสื่อสารที่มีมาให้บริการเพื่อสนับสนุนให้โครงการนี้ประสบผลสำเร็จ สามารถส่งเสริมให้ผู้ที่มีรายได้น้อยได้มีโอกาสที่จะมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง และเข้าถึงเทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต และเพียงพอที่จะดำรงชีพได้อย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้ระบบสื่อสารโทรคมนาคมในปัจจุบัน นอกจากจะช่วยให้การใช้ชีวิตประจำวันของผู้อยู่อาศัยง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยเปิดโลกกว้างให้ได้เรียนรู้และเปิดช่องทางในการหารายได้เสริม หรือแม้แต่อาจจะกลายเป็นรายได้หลักได้อีกทางหนึ่งด้วย สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่   NT มีความภูมิใจเพราะได้มีส่วนร่วมต่อการช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนไทย

ล่าสุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ นำโดยท่านอธิการบดี และคณะอาจารย์ เดินทางเยือนบริษัท สหฟาร์ม จำกัด สำนักงานใหญ่ เพื่อร่วมแสดงความยินดีและประกาศแจ้งผู้บริหาร เนื่องด้วยสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีมติอนุมัติมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ดร.) ให้แก่ คุณน้ำผึ้ง จารุวรรณ โชติเทวัญ ประธานสายบัญชี การเงิน การตลาดต่างประเทศ และเลขานุการประธานกรรมการบริหาร บริษัท สหฟาร์ม จำกัด

 

ทั้งนี้ ดร.จารุวรรณ โชติเทวัญ ยังถือเป็น ดร. คนแรกที่อายุน้อยที่สุดที่เคยได้รับมอบและเป็นคนแรกของสาขาวิชาการตลาดดิจิทัลที่มีคุณสมบัติโดดเด่นของตัวแทนคนรุ่นใหม่ที่ทางมหาวิทยาลัยต้องการสนับสนุนเพื่ออนาคตของสังคมต่อไป

 

ในการนี้หลังจากเสร็จพิธีรับมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้และสหฟาร์ม ยังได้มีวาระประชุมหารือถึง โครงการเกษตรอาหารสุขภาพร่วมกัน ในงานครบรอบ 90 ปี แม่โจ้ ณ ห้องประชุมของบริษัท สหฟาร์ม พร้อมกันอีกด้วย

นายมนู ตระกูลวัฒนะกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีคอน จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันธุรกิจรับสร้างบ้านได้รับความไว้วางใจเพิ่มมากขึ้นจากกลุ่มผู้บริโภค สืบเนื่องจากปัญหาที่ผู้บริโภคมักเจอกับการทิ้งงานหรือการก่อสร้างที่ไม่เป็นไปตามสัญญาและไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ต้องเพิ่มงบประมาณในการก่อสร้างแบบที่ไม่ได้วางแผนรับมือมาก่อน ดังนั้น การตัดสินใจเลือกใช้บริการจากบริษัทรับสร้างบ้านที่มีชื่อเสียงและประสบการณ์สั่งสมมาเป็นเวลานาน จึงเป็นทางออกที่ผู้บริโภคไว้วางใจ ที่สำคัญตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ซีคอน ยังไม่ได้ปรับขึ้นราคาแต่อย่างใด จึงถือเป็นปีทองของผู้บริโภค ทั้งนี้ ซีคอน ได้นำแนวคิด ESG เพื่อการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนที่คำนึงถึงมิติด้านสิ่งแวดล้อม การคืนกลับสู่ชุมชน และการบริหารงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกลไกธุรกิจ เข้ามาผสมผสานเพื่อสร้างสรรค์กลยุทธ์ทางธุรกิจจากปัจจุบันสู่อนาคต

เกี่ยวกับภาพรวมการดำเนินธุรกิจของซีคอนนั้น นายมนู กล่าวว่า “ในปี 2566 ซีคอนมีโปรเจคงานที่ต้องดำเนินการก่อสร้างรวมมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท ครอบคลุมทั้ง งานของซีคอน รับสร้างบ้าน และงานของซีคอน ไอดี ที่รับออกแบบ และสร้างตามแบบของลูกค้า ซึ่งแบ่งเป็นมูลค่างานก่อสร้างของ ซีคอน รับสร้างบ้าน ประมาณ 89% และซีคอน ไอดี ประมาณ 11% โดยรวมถือว่ายังมียอดขายที่ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นและพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภคนั้นคือความเร็วในการส่งมอบบ้านที่พัฒนาขึ้น เนื่องจากบริษัทฯ ได้ก่อสร้างโรงงานผลิตโครงสร้างชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปแห่งที่ 2 เสร็จเป็นที่เรียบร้อย เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการนำเสนอแบบบ้านประหยัดพลังงานสู่ตลาดซึ่งสอดรับต่อไลฟ์สไตล์เทรนด์ของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน เพราะเชื่อว่าหากเริ่มต้นด้วยการวางแผนสร้างบ้านในทิศทางที่เหมาะสม คัดสรรวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มฟังก์ชันการระบายความร้อน รับแดด รับลม ก็ทำให้บ้านทุกหลังกลายเป็นบ้านประหยัดพลังงานได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ซีคอนจะลงรายละเอียดให้ตั้งแต่การวางผังส่วนต่างๆ ของบ้านจนถึงเป็นที่ปรึกษาในมิติต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าได้บ้านตรงตามต้องการ”'

ด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมแบบบ้านใหม่ออกสู่ตลาดในช่วงท้ายปี 2566 นั้น ล่าสุด ซีคอน ได้เผยโฉมแบบบ้านใหม่กับ 2 สไตล์ คือ Cottage Style และ Modern Contemporary Styleทั้งแบบชั้นเดียว และ 2 ชั้น ในชื่อแบบบ้าน Cottage 167, Loft 301 และ Orchard 435 อีกทั้งยังเพิ่มช่องทางการบริการทางด้านออนไลน์เพิ่มขึ้น โดยได้มีการเพิ่มเพจย่อยของแต่ละศูนย์ที่มีอยู่เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าในต่างจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่การให้บริการของซีคอน เพื่อให้เข้าถึงได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น “ช่วงอายุมีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกแบบบ้านของผู้บริโภค ปัจจุบันแบบบ้าน Modern Contemporary Style ยังเป็นแบบบ้านยอดนิยมอันดับ 1 และแนวโน้มบ้านที่มีแบบตัวอาคารที่เรียบง่ายหรือ Minimal Style เน้นประโยชน์การใช้สอยของพื้นที่ พร้อมทั้งบ้านดูโปร่ง โล่งสบาย ยังเป็นที่นิยมของลูกค้าเช่นกัน และที่เห็นเป็นเทรนด์เพิ่มมากขึ้นคือการที่ลูกค้าได้ร่วมออกแบบบ้านกับสถาปนิกที่คนชื่นชอบและนำแบบบ้านดังกล่าวมาให้ซีคอนก่อสร้างให้ ในส่วนนี้เราก็ยินดีร่วมเป็นทีมก่อสร้างเพื่อให้โปรเจคสำเร็จได้อย่างมีคุณภาพ” นายมนู กล่าวถึงแบบบ้านใหม่และเทรนด์ความนิยมของผู้บริโภค

ทั้งนี้ ซีคอน คาดการณ์ภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านของไทยในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2566 ว่า “สถานการณ์ความตึงเครียดด้านสงครามของทั้งรัสเซีย-ยูเครนและอิสราเอล-ปาเลสไตน์ เป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการธุรกิจรับสร้างบ้านต้องเฝ้าระวัง เพราะล้วนแต่ส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนราคาพื้นฐาน ดังนั้นการปรับตัวรับมือและการวางแผนในการบริหารจัดการเพื่อควบคุมต้นทุน จึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก ด้านปัจจัยภายในประเทศเกี่ยวกับนโยบายการขึ้นค่าแรงนั้นในส่วนของธุรกิจรับสร้างบ้าน แรงงานที่มีอยู่ล้วนแต่เป็นแรงงานฝีมือซึ่งได้รับค่าตอบแทนสูงอยู่แล้วจึงอาจไม่ส่งผลกระทบชัดเจน ด้านราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้นมาเป็นระยะนั้น เนื่องจากซีคอนมีโปรเจครับสร้างบ้านอยู่ในมือค่อนข้างมาก จึงมีพันธมิตรทางธุรกิจชั้นนำที่หลากหลายซึ่งแต่ละที่ล้วนร่วมดำเนินธุรกิจกันมาอย่างยาวนาน ความเชื่อมั่นดังกล่าวและแผนการซื้อที่ชัดเจนจึงทำให้สามารถบริหารต้นทุนการซื้อดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ”  

นอกจากนี้ ซีคอน ยังได้ส่งท้ายปีกับกิจกรรม CSR เพื่อส่งเสริมด้านการศึกษาด้วยการมอบทุนการศึกษาและปรับปรุงสถานศึกษา พัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ ให้แก่เด็กนักเรียน 2 โรงเรียนใน จ.เพชรบุรี ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านพุสวรรค์ และโรงเรียนบ้านสองพี่น้อง เพื่อเป็นกำลังที่ดีของชาติต่อไปในอนาคต “โรงเรียนทั้ง 2 แห่งเป็นโรงเรียนที่ขาดแคลนงบประมาณในการซ่อมบำรุงและปรับปรุงอาคารรวมทั้งสภาพแวดล้อม ซีคอนเชื่อว่าสภาพแวดล้อมที่ดีจะทำให้ผู้อยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นๆ ทั้งเด็กนักเรียน ครู และชุมชน มีสุขภาพจิตที่ดี สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญในฐานะผู้ให้ทั้งคณะผู้บริหารและพนักงานของซีคอนก็จะมีจิตสาธารณะซึ่งพลังบวกเหล่านั้นก็จะย้อนกลับมาสร้างให้บุคลากรของเรา ส่งมอบบริการสู่มือผู้บริโภคได้อย่างมีศักยภาพยิ่งขึ้นเช่นกัน” นายมนู กล่าวสรุป

ผู้ชนะเลิศในโครงการ ‘สุดยอดโรงเรียนสุขภาพดี AIA Healthiest Schools’ ปีที่ 1

X

Right Click

No right click