กลุ่มดุสิตธานี เดินหน้าขยายธุรกิจในประเทศจีนอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้เปิดโรงแรมแห่งที่ 11 ในจีน

เมื่อเร็ว ๆ นี้ เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ เอสซีจีซี (SCGC) ผู้นำตลาดเคมีภัณฑ์ระดับภูมิภาคที่มุ่งเติบโตทางธุรกิจควบคู่กับการสร้างความยั่งยืน

บมจ.กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต โดย คุณแซลลี่ โอฮาร่า ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (คนซ้าย) และคุณบุปผาวดี โอวรารินท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายทรัพยากรบุคคลและภาพลักษณ์องค์กรและการสื่อสารองค์กร (คนขวา) คว้า 2 รางวัลใหญ่ระดับโลก 3 ปีซ้อน จาก World Business Outlook ในสาขา Best Life Insurance Company Thailand 2023 และ Best Brand in Insurance Thailand 2023 ซึ่งรางวัลนี้ถือเป็นอีกหนึ่งอันทรงเกียรติของบริษัทฯ ที่ตอกย้ำความมุ่งมั่น และความสำเร็จด้านพัฒนาประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า การให้บริการที่ครบครัน รวดเร็ว รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า การพัฒนาด้านเทคโนโลยีเพื่อความสะดวกสบายของลูกค้า รวมถึงการเป็นผู้นำในด้านแบรนด์ของธุรกิจประกันชีวิต ที่มีความโดดเด่น และเป็นแบรนด์ที่อยู่ในใจของทุกคน โดยผ่านการนำเสนอเป้าหมายสูงสุดของบริษัทฯ ที่พร้อมอยู่เคียงข้างทุกความเชื่อมั่น ดูแลกันตลอดไป

บมจ.ชูวิทย์ฟาร์ม (2019) หรือ CFARM ยื่นแบบ Filing ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เสนอขายไอพีโอ 149 ล้านหุ้น เตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai)

นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท ชูวิทย์ฟาร์ม (2019) จำกัด (มหาชน) หรือ CFARM เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งแรกต่อประชาชน (IPO) พร้อมแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบ Filing) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. และยื่นคำขอให้รับหุ้นสามัญเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2566 เรียบร้อยแล้ว

“ปัจจุบัน ชูวิทย์ฟาร์ม (2019) หรือ CFARM มีทุนจดทะเบียน 431 ล้านบาท เตรียมเพิ่มทุนอีก 149 ล้านบาท ราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท รวมเป็นทุนจดทะเบียน 580 ล้านบาท โดยจะเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 149.00 ล้านหุ้น หรือไม่เกิน 25.69% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่ออกและจำหน่ายแล้วของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ และจะนำหุ้นสามัญทั้งหมดเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai” นายสมศักดิ์กล่าว

นายสุริยา ธรรมธีระ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวเสริมว่า การระดมทุนและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai จะเพิ่มศักยภาพ ขยายโอกาสต่อยอดธุรกิจให้มีความมั่นคง และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน นอกจากนี้ ยังได้รับความน่าเชื่อถือจากลูกค้า คู่ค้า และสถาบันการเงินมากยิ่งขึ้น สร้างความยั่งยืนให้องค์กรในระยะยาว

สำหรับวัตถุประสงค์หลักในการระดมทุน เพื่อก่อสร้างฟาร์ม ปรับปรุงโรงเรือน อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจฟาร์มปศุสัตว์ นอกจากนี้ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ รองรับการเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืนของธุรกิจ

ด้านนายชูรัตน์ จึงธนสมบูรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชูวิทย์ฟาร์ม (2019) จำกัด (มหาชน) หรือ CFARM เปิดเผยว่าบริษัทดำเนินธุรกิจฟาร์มปศุสัตว์ ประเภทฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อให้กับคู่สัญญาชั้นนำในประเทศไทยในรูปแบบเกษตรพันธสัญญาแบบประกันราคา เลี้ยงไก่เนื้อในโรงเรือนด้วยระบบปิดปรับอากาศ(Evaporative Cooling System : EVAP) ทุกโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อมีคุณภาพตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมาตรฐานที่กำหนดโดยคู่สัญญา อีกทั้งบริษัทได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (เลี้ยงไก่) ด้านประกอบกิจการเลี้ยงไก่เนื้อ ที่ออกโดยองค์การบริหารส่วนตำบลท้องถิ่นที่โรงเรือนตั้งอยู่ ปัจจุบันบริษัทได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 (ระบบบริหารงานคุณภาพ) , ISO 14001:2015 (ระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม) , ISO 45001:2018 (มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย) 

โดยในปัจจุบันบริษัทมีฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อทั้งสิ้น 8 ฟาร์ม ประกอบด้วยโรงเรือนจำนวน 121 โรงเรือน ตั้งอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีความสามารถในการเลี้ยงไก่เนื้อประมาณ 3.18 ล้านตัวต่อรอบการเลี้ยง หรือประมาณ 15.88 ล้านตัวต่อปี

สะท้อนความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจภายใต้หลักสิทธิมนุษยชน พร้อมสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศโมร็อกโก เมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น ได้แถลงแสดงความเสียใจต่อการสูญเสียอันน่าเศร้าครั้งนี้ และได้ทำการบริจาคเงินจำนวน 10 ล้านเยน หรือราว 2.43 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้คนและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติครั้งนี้ ผ่านสภากาชาดญี่ปุ่น

AIS ผู้นำเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของไทยและหัวเว่ย ได้ทำการทดสอบระบบโครงข่าย 5G ในรูปแบบ RedCap เชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ซึ่งผลการทดสอบสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยเป็นการทดสอบบนเครือข่ายพาณิชย์บนคลื่นความถี่ 700MHz และ 2600MHz และใช้อุปกรณ์เทอร์มินัลของ RedCap หลากหลายประเภท รวมถึงเครื่อง DTU (อุปกรณ์ส่งข้อมูล) และกล้องต่าง ๆ โดยมีการทดสอบการทำงานทั้งในด้านความเร็วสูงสุดในการดาวน์โหลดและอัปโหลด ประสิทธิภาพการทำงานขณะการเคลื่อนที่ การทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ RedCap กับอุปกรณ์ eMBB ซึ่งผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าทั้งเครือข่าย 5G ของ AIS และอุปกรณ์เทอร์มินัลของ RedCap สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่คาดการณ์ไว้ ถือเป็นก้าวสําคัญในการนำเทคโนโลยี RedCap ไปใช้งานในเชิงพาณิชย์

5G RedCap นั้นถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อการใช้งานกับแอปพลิเคชันประเภท IoT ทั้งการใช้งานในความเร็วระดับกลางและความเร็วสูง เช่น เซ็นเซอร์ในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ และกล้องวงจรปิด โดยเป็นการลดความซับซ้อนของระบบเครือข่ายแบบ Baseband อุปกรณ์ส่งสัญญาณ และเสาอากาศ โดยเทคโนโลยี RedCap นี้มีต้นทุนที่ต่ำกว่าและใช้พลังงานน้อยกว่าอุปกรณ์ 5G ประเภท eMBB เป็นอย่างมาก ซึ่งหากนำไปเทียบกับระบบ 4G แบบ CAT4 UEs แล้ว เทคโนโลยี RedCap ยังสามารถรักษาคุณสมบัติพื้นฐานของเทคโนโลยี 5G เอาไว้ได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการส่งข้อมูลจำนวนมาก และค่าความหน่วงที่ต่ำ นอกจากนี้ RedCap ยังสนับสนุนคุณสมบัติหลัก ๆ สำหรับภาคธุรกิจด้วย เช่น เทคโนโลยี Network Slicing และการระบุตําแหน่ง

นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าหน่วยธุรกิจงานปฎิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศของ AIS กล่าวว่า “นอกจากการพัฒนาด้านการบริการเพื่อคุณภาพที่ดีที่สุด เรายังพร้อมนำนวัตกรรมใหม่ล่าสุดเข้ามายกระดับเทคโนโลยี 5G ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในพันธกิจของเราที่ต้องการช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคตอย่างยั่งยืน และนี่เองที่ทำให้เราเดินหน้าผสานความร่วมมือทำงานกับพาร์ทเนอร์ระดับโลกอย่างหัวเว่ย ในการยกระดับโครงข่าย 5G ของประเทศไทยให้มีมาตรฐานระดับโลก และเป็นไปตามวิสัยทัศน์ของเราในการก้าวไปสู่ Cognitive Tech-Co (การเพิ่มความอัจฉริยะลงไปในบริการหรือลงไปในโซลูชัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า)"

เราประสบความเร็จในการทดสอบความสามารถของเทคโนโลยี 5G ในหลากหลายรูปแบบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งทั้งคลื่นความถี่ 2600MHz และ 700MHz ของ AIS นั้นสามารถมอบประสบการณ์การใช้งานเหนือระดับให้แก่ผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี และ AIS ยังคงตั้งเป้าหมายพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีรวมถึงแอปพลิเคชันต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและเพิ่มประสิทธิภาพของภาคการผลิต เทคโนโลยี RedCap นั้นถือเป็นก้าวสำคัญของเทคโนโลยี 5G ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายจากอุปกรณ์ของ 5G ได้ถึงร้อยละ 70 รวมถึงจะช่วยเร่งให้เกิดการนำ 5G ไปประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมให้รวดเร็วขึ้นอีกด้วย โดย AIS จะยังคงเดินหน้าร่วมมือกับหัวเว่ย และพันธมิตรในอุตสาหกรรม เพื่อร่วมกันหาวิธีที่จะนำเทคโนโลยี RedCap มาใช้ในการควบคุมการทำงานในภาคอุตสาหกรรม การใช้งานในภาคการผลิตพลังงาน สมาร์ทซิตี้ อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ และด้านอื่น ๆ ในอนาคต

ซึ่งหัวเว่ยกล่าวว่า “RedCap เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่จะเพิ่มศักยภาพให้กับเครือข่าย 5G และยังสามารถนําไปประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายรูปแบบ โดยหัวเว่ยจะเดินหน้าร่วมมือกับ AIS ในการร่วมกันสร้างเครือข่าย 5G คุณภาพสูง ผ่านความร่วมมือทางด้านนวัตกรรม ร่วมสร้างแอปพลิเคชันด้าน 5G ใหม่ ๆ กับพาร์ทเนอร์ในอุตสาหกรรม และสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทยต่อไป”

สุดยอดแอปพลิเคชั่น...หาจุดเติมน้ำดื่มฟรี-ลดขยะพลาสติก เพิ่มพลังเมืองอัจฉริยะ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.ต.ดร.วัฒนา มานนท์ คณบดีวิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (CADT: College of Aviation Development and Training ) และผู้อำนวยการสถาบันการบิน (DAA ) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เปิดเผยว่า งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบิน มีผู้ทำวิจัยไม่มากและหัวข้อส่วนใหญ่จะเป็นหัวข้อทั่วไปเกี่ยวกับปัจจัย แรงจูงใจ และพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่มีผลต่อการตัดสินใจในการใช้บริการสายการบิน ส่วนงานวิจัยเชิงลึกก็มีจำนวนน้อยเช่นกัน โดยส่วนใหญ่หัวข้อจะสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานในสาขานั้น ๆ เช่น หลักการบริหารการจราจรทางอากาศในสนามบินต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้น เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับบุคลากรที่อยู่ในอุตสาหกรรมการบิน ได้เข้าใจหลักการทำการวิจัย และเพื่อนำผลงานวิจัยไปเป็นแนวทางในการดำเนินการ หรือเป็นเครื่องมือที่ช่วยเหลือในการติดตามและประเมินผล รวมถึงนำไปใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาองค์กร สถาบันการบินจึงเปิดอบรมใน หลักสูตรเทคนิคการทำวิจัยในอุตสาหกรรมการบิน เพื่อส่งเสริมให้นักวิจัยรุ่นใหม่นำผลงานวิจัยไปปรับใช้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบินให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.ต.ดร.วัฒนา กล่าวด้วยว่า นับเป็นครั้งแรกของไทยสำหรับการเปิดอบรมในหลักสูตรเทคนิคการทำวิจัยในอุตสาหกรรมการบิน โดยได้แนวคิดมาจากความต้องการขององค์กรหนึ่งที่อยู่ในอุตสาหกรรมการบิน ที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับการลาออกของพนักงานจำนวนมาก เพื่อค้นหาปัญหาและหาแนวทางแก้ไข ทางองค์กรดังกล่าวจึงร้องขอให้ทางสถาบันเปิดคอร์สสอนการทำวิจัยให้กับบุคลากรภายใน เพื่อนำผลงานวิจัยไปเป็นแนวทางในการหาปัจจัยที่ส่งผลให้พนักงานลาออก และจะได้นำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยไปปรับปรุงแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด

จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ทำให้สถาบันมองเห็นถึงความต้องการด้านนี้ จึงเปิดอบรมในหลักสูตรการทำวิจัยฯ ขึ้น  โดยหัวข้อในการฝึกอบรมจะประกอบไปด้วย  การปูพื้นฐานการทำวิจัยด้านการบิน อาทิ  ภาพรวมของอุตสาหกรรมการบินโลก การวางแผนการวิจัยเพื่อความสำเร็จ เทคนิคการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้รายละเอียดเชิงลึกของอุตสาหกรรมการบิน ทั้ง 9 กิจกรรมของการบินพลเรือน จากวิทยากรผู้มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมการบินและผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการวิจัยและสถิติ

หลักสูตรที่เปิดอบรมนี้เป็นหลักสูตรติดอาวุธให้นักวิจัยมือใหม่ นอกจากจะเหมาะกับคนในอุตสาหกรรมการบินแล้ว ยังเหมาะกับนิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจการวิจัยด้านการบิน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร. 061-863-7991 E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. Line : @daa_dpu https://www.daatraining.com/ 

กรุงเทพประกันชีวิต ส่งมอบความห่วงใยเหนือระดับกับแบบประกันใหม่ “เพรสทีจ เฮลธ์ ปลดล็อค”

X

Right Click

No right click