พร้อมร่วมฉลองรางวัลแชมป์ถ้วยพระราชทานฯ สุดยิ่งใหญ่

ชูกลยุทธ์ “เซตเทโชกุสร้างความผูกพันกับผู้บริโภค” พร้อมประสบการณ์ใหม่ทั้งร้าน

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ร่วมสนับสนุนทัพนักกีฬาไทยไปแข่งขัน Olympic 2024 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส กลางปีนี้ จับมือ “วีซ่า” จัดแคมเปญกีฬาโอลิมปิก 2024 พร้อมเชิญชวนชาวไทยร่วมส่งแรงใจไปเชียร์และร่วมลุ้นแชมป์ไปกับทัพนักกีฬาชาวไทย โดยเลือก กุลวุฒิ วิทิตศานต์ หรือ วิว แชมป์โลกแบดมินตันชายเดี่ยวคนแรกของไทย มาเป็นพรีเซนเตอร์บัตรเดบิตวีซ่า ttb all free Olympic Paris 2024 Limited Edition เนื่องจาก วิว เป็นคนมีความมุ่งมั่น มีวินัย และกล้าเปลี่ยนตัวเองเพื่อชีวิตที่ดีกว่าเดิม ทำให้จากเด็กโรคภูมิแพ้ในอดีตกลายมาเป็นแชมป์โลกแบดมินตันในวันนี้ มาเชิญชวนคนไทยให้กล้าลุกขึ้นมา “เปลี่ยน” สู่ชีวิตทางการเงินที่ดีกว่าเดิมทั้งวันนี้และอนาคต สอดคล้องกับความมุ่งมั่นของ ทีทีบี ที่พัฒนาโซลูชันการเงินให้ตอบโจทย์ตรงใจการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่มีความต้องการด้านการเงินที่หลากหลาย และช่วยให้คนไทยทุกช่วงวัยมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้าน

ในปีแห่งมหกรรมกีฬาระดับโลกโอลิมปิก ฤดูร้อนนี้ ทีทีบี ได้ร่วมกับ วีซ่า พันธมิตรทางการเงินที่แข็งแกร่ง และเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของ Olympic Paris 2024 เปิดตัว “บัตรเดบิตวีซ่า ttb all free Olympic Paris 2024” Limited Edition ลายหน้าบัตรโอลิมปิก 2 ลายพิเศษ บัตรเดบิตใบแรกและใบเดียวที่ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี เพื่อส่งมอบประสบการณ์การใช้จ่ายระดับโลกเทียบเท่าบัตรเครดิตให้กับคนรุ่นใหม่ที่กล้าเปลี่ยน...เพื่อโอกาสทางการเงินที่เหนือกว่าเดิม

บัตรเดบิตวีซ่า ttb all free Olympic Paris 2024 Limited Edition ลาย Olympic Paris 2024 หน้าบัตร 2 ลายพิเศษ มีจำนวนจำกัดเพียง 20,000 ใบเท่านั้น เป็นบัตรเดบิตใบแรกและใบเดียวที่ปลอดค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี พร้อมสิทธิพิเศษส่วนลดสูงสุด 20% ตลอดปี จากร้านอาหารชั้นนำมากกว่า 600 ร้าน สามารถแตะชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าหรือค่าทางด่วนได้ ฟรีค่าธรรมเนียม FX Rate 2.5% เมื่อใช้จ่ายในต่างประเทศ นอกจากนี้ ยิ่งใช้ยิ่งได้เครดิตเงินคืนและของรางวัลจาก Olympic Paris 2024 เมื่อมียอดใช้จ่ายครบตามที่กำหนด พร้อมสิทธิ์คูณสอง ลุ้นไป Exclusive Olympic Paris 2024 Trip ร่วมชมพิธีปิดอย่างใกล้ชิด ดื่มด่ำกับความบันเทิงตลอด 5 วัน 4 คืน สำหรับผู้สมัครบัตรเดบิตวีซ่า ttb all free Olympic Paris 2024 Limited Edition ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2567 และมียอดใช้จ่าย 5,000 บาทขึ้นไปภายใน 30 วันแรกหลังออกบัตรจะได้รับกระเป๋าเป้ Olympic Paris 2024 Drawstring Bag Limited Edition 1 ใบ มูลค่า 800 บาท เพิ่มเติมด้วย

ทีทีบี ขอเชิญชวนคนไทยร่วมส่งกำลังใจและแรงเชียร์ให้ทัพนักกีฬาไทย รวมถึง วิว กุลวุฒิ อีกหนึ่งตัวเต็งลุ้นเหรียญทองแบดมินตันชายเดี่ยว ที่เป็นตัวแทนชาติไปแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับโลก โอลิมปิก ปารีส 2024 ในครั้งนี้ พร้อมสนับสนุนคนไทยให้กล้าเปลี่ยน...เพื่อคว้าโอกาสสัมผัสประสบการณ์การใช้จ่ายระดับโลก ปลดล็อกทุกค่าธรรมเนียม ดื่มด่ำกับอิสรภาพทางการเงิน และสิทธิพิเศษเหนือระดับจากพันธมิตรชั้นนำเทียบเท่าบัตรเครดิต กับบัตรเดบิต Olympic Paris 2024 บัตรเดบิตใบแรกและใบเดียวที่จะช่วยให้ลูกค้าผู้ถือบัตรมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้านยิ่งกว่าเดิมอย่างแท้จริง

พร้อมสนับสนุนให้ทุกคนเอาชนะความกดดันและสนุกไปกับการเล่นกีฬา

"วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านธรรมชาติล่าง" ต.คลองใหญ่ อ.แหลมงอบ จ.ตราด จากชุมชนทางผ่านสู่เกาะช้าง สู่การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง โดยการสนับสนุนของ CPF ทั้งการช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ และดูแลคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ด้วยเป้าหมาย "สร้างคุณค่าร่วมทางสังคม" สร้างประโยชน์ในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

กระทั่งเป็น "โมเดลต้นแบบการเติบโตอย่างยั่งยืน" กลายเป็นชุมชนแห่งรอยยิ้ม ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว สนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง...

คลิกชมคลิป >>

 

ลั่นลุยโตต่อปี 67 ตั้งเป้ารายได้พุ่ง 18% พร้อมทุ่มงบลงทุน 535 ลบ.

ในโลกธุรกิจสมัยใหม่ การควบรวมกิจการ (Merger and Acquisition: M&A) ถือเป็นหนึ่งเครื่องมือทางธุรกิจเพื่อการสร้างการเติบโตระยะยาว ข้อมูลจากบริษัทที่ปรึกษา McKinsey & Company ระบุว่า ในทศวรรษที่ผ่านมา ธุรกรรมที่เกิดจากการควบรวมกิจการ (M&A) ทั่วโลกมีมูลค่ารวมถึง 8.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คำนวณจากบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก 2,000 อันดับแรก)

แม้ M&A จะเติบโตขึ้นอย่างมาก แต่นั่นเป็นเพียงกระดุมเม็ดแรก เพราะข้อมูลจาก Harvard Business Review บ่งชี้ว่า ภายหลังจากที่กระบวนการ M&A เสร็จสิ้นลง บริษัทเหล่านี้เผชิญหน้ากับอัตราความล้มเหลวระหว่าง 70-90% โดยส่วนหนึ่งมาจากความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมองค์กร (Cultural Clash)

เนื่องในวันที่ 1 มีนาคม 2567 ครบรอบหนึ่งปีที่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ควบรวมภายใต้ชื่อบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) True Blog ได้มีโอกาสพูดคุยกับทีมงานเฉพาะกิจ “Culture” ผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ในรูปแบบของ “ทรู คอร์ปอเรชั่น” ซึ่งภายใต้การนำของ ชนิสรา สมมติวงศ์ หัวหน้าแผนก Culture & People Solutions กลุ่มทรัพยากรบุคคล และ อดิศร อธิคมชาคร หัวหน้าแผนก Internal Communications กลุ่มกิจการองค์กร

 

4C, 3 เป้าหมาย, 6 โครงการ

ชนิสรา เล่าว่า จากเป้าหมายเพื่อทรานส์ฟอร์มสู่ Telco-Tech Company คณะผู้บริหารตระหนักดีว่า People หรือพนักงานคือหัวใจสำคัญต่อการขับเคลื่อนองค์กร ดังนั้น จึงได้มีการทำสำรวจ Organizational Health Index: OHI ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความสามารถในการพัฒนาสมรรถนะ และได้จัด workshop สำหรับคณะผู้บริหารและพนักงาน เปิดพื้นที่ให้คนทรูได้แลกเปลี่ยนความคิดผ่านการนำวัฒนธรรมองค์กรมาปรับใช้ในชีวิตการทำงาน เพื่อพัฒนากรอบการทำงานด้านวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งเปรียบเสมือนหางเสือเรือ ควบคุมองค์กรทิศทางให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจากความแตกต่าง ท้ายที่สุดจึงออกมาเป็น 4C ได้แก่ Compassion, Credibility, Co-creation, Courage อันถือเป็นพื้นฐานกำหนดคุณค่าองค์กรและพฤติกรรม จากกระบวนการที่คนทรูได้บ่มเพาะวัฒนธรรมองค์กรร่วมกัน

ภายใต้วัฒนธรรม 4C ยังได้มีการกำหนดกรอบการทำงานด้านวัฒนธรรมองค์กรโดยแบ่งออกเป็น 3 ธีม ดังนี้

  1. One Team with Trust and Respect รวมกันเป็นหนึ่งด้วยความเคารพและเชื่อมั่นในกันและกัน ผลักดันองค์กรไปข้างหน้า ผสานจุดแข็งของ 2 บริษัทไว้ด้วยกัน พัฒนา สรรค์สร้างและต่อยอด
  2. High Performance Organization ก้าวสู่องค์กรสมรรถนะสูง มีประสิทธิภาพในทุกมิติ
  3. Being Customer Centric ยึดความต้องการลูกค้าเป็นที่ตั้ง ส่งต่อบริการที่เป็นเลิศสู่ตลาดอย่างแท้จริง

อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรม 4C และ 3 เป้าหมาย จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย หากขาดกิจกรรมสนับสนุนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิง “พฤติกรรม” ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลัก นั่นคือ “พนักงานภายใน” ทีมงานจึงได้วางแผนและออกแบบกิจกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม โดยเเบ่งออกได้เป็น 6 โครงการ ดังนี้

  1. Change Stories สื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงผ่านเรื่องราวของคนทรู ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเน้นย้ำถึงความเข้าใจในวัฒนธรรม 4C
  2. On-ground Activity กิจกรรมลงพื้นที่เพื่อให้ผู้บริหารได้มีโอกาสในการสร้างปฏิสัมพันธ์ สื่อสารทิศทาง กลยุทธ์ และการเปลี่ยนแปลงขององค์กร โดยเฉพาะกับหน่วยงานแนวหน้า (frontliners)
  3. Performance Management System สร้างระบบการบริหารและประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อก้าวสู่องค์กรสมรรถนะสูง
  4. Culture Ignitor ตัวแทนด้านการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรจากหลากหลายหน่วยงาน เพื่อสนับสนุน ขับเคลื่อน พร้อมสร้างแรงบันดาลใจ และส่งเสริมความผูกพันภายในองค์กร
  5. Coaching Culture สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ผ่านกระบวนการโค้ชชิ่ง เพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะ และสมรรถนะ ของบุคคลากร
  6. Hackathon กิจกรรมระดมสมองและท้าทายตามโจทย์ที่วางไว้ ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด เพื่อสร้างวัฒนธรรม Co-creation อันเป็นคุณค่าสำคัญที่นำมาสู่นวัตกรรม

 

God is in Details

อดิศร อธิบายต่อว่า ด้วยความแตกต่างทั้งด้านวัฒนธรรม ระบบ กระบวนการ และโครงสร้างองค์กร ทำให้เกิดความท้าทายนานัปการ อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์การทำงานที่สร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ การจะเป็น One Team ได้นั้นจะต้องเริ่มจากการทำให้พนักงาน “เปิดใจ” และยอมรับในความต่าง

“เป็นธรรมดา ที่คนที่มาจากสองกลุ่ม ในวันที่ต้องมารวมตัวกัน ความรู้สึกลึกๆ ข้างในยังมี การแบ่งแยก กลุ่มฉันกลุ่มเธอ กลุ่มใครอยู่ หากเราเอางานเข้ามา แล้วหวังว่าจะทำให้คนสองกลุ่มที่มาจากต่างวัฒนธรรม เข้ากันได้ในช่วงเวลาสั้นๆ คงเป็นไปได้ยาก แต่ธรรมชาติทุกคนชอบความสนุก ชอบความเป็นกันเอง ชอบเสียงหัวเราะ ดังนั้น เราต้องดึงเอาความรู้สึกที่ดีเป็นจุดเชื่อม ทำให้คนสองกลุ่มมีปฏิสัมพันธ์กันและ เริ่มเปิดใจเข้าหากันมากขึ้น”

สำหรับโปรเจกต์ Culture นี้ เกิดจากความร่วมมือระหว่างทีม Internal Comms ภายใต้กลุ่มกิจการองค์กร และทีม Culture & People Solutions ภายใต้กลุ่มทรัพยากรบุคคล ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการ Co-creation และทำงานแบบ Cross functional โดยอาศัยจุดแข็งของแต่ละทีมมาผลักดันองค์กร ดังเช่น ทีม Internal Comms ที่อาศัยทักษะการเล่าเรื่อง (Storytelling) ทำให้วัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งที่จับต้องได้และพนักงานทุกคนเข้าใจ

อดิศร อธิบายคอนเซ็ปต์การทำงานว่า “เรียบง่าย แต่แฝงด้วยกุศโลบาย” คือ แนวคิดและการออกแบบกิจกรรมเชิงวัฒนธรรมที่ผ่านมา ยึดความต้องการของพนักงานเป็นที่ตั้งผ่านมุมมองแบบ Outside-in ไม่ยัดเยียด ตัวอย่างเช่น Happy PAYday เป็นกิจกรรม Flagship ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ “เติมความสุข” ในที่ทำงานให้คนทรู ขณะเดียวกัน ก็เป็นการเชิดชูวัฒนธรรมองค์กรที่นำไปสู่การสร้างสรรค์ร่วมกัน (Co-creation) เพื่อริเริ่มความเป็นไปได้ใหม่ๆ อย่างไร้ขีดจำกัด ซึ่งในเอพิโสดแรกที่จัดขึ้นในเดือนกันยายน 2566 เป็นกิจกรรมแข่งขันร้องเพลงคาราโอเกะ แบ่งตามกลุ่มงาน นำโดย ผู้บริหาร หรือ CxO ของแต่ละกลุ่ม ซึ่งผลออกมาเป็นที่เซอร์ไพรส์กับพนักงานทรูเป็นอย่างมาก ผู้บริหารทุกท่านเต็มที่กับกิจกรรม เผยความสามารถและอีกด้านอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งท้ายที่สุด กิจกรรมนี้ช่วยทำให้ช่องว่างระหว่างผู้บริหาร-พนักงาน หัวหน้า-ลูกน้อง ลดลง เมื่อช่องว่างเหล่านี้ลดลง นำมาสู่ความกล้า ​(Courage) ถือเป็น 4 ที่สำคัญที่สุดในช่วงระยะเปลี่ยนผ่าน บ่มเพาะพฤติกรรมที่กล้าออกความคิดเห็น ท้าทายตัวเอง (Challenge Status-quo) และยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง

“การหล่อหลอมวัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ชั่วข้ามคืน ดังนั้น จึงต้องเริ่มจากความเข้าใจ วันนี้ ผู้นำองค์กรได้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง พร้อมทั้งสนับสนุนในทุกไอเดียที่นอกกรอบ” อดิศร กล่าว

กิจกรรม Happy PAYday ดูเหมือนเป็นกิจกรรมที่เรียบง่าย แต่เบื้องหลังมีกระบวนการและวางกุศโลบายไว้อย่างเป็นระบบ ผู้บริหาร ผู้ร่วมงาน ได้ร่วมกิจกรรมโดยให้ตัวเองเป็นธรรมชาติที่สุด เอาความเป็นมนุษย์ แบ่งปันความรู้สึก แก้ปัญหาด้วยกัน ให้ทุกคนมีโมเมนท์ร่วมกันมากที่สุด อันเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างแรงเสริมเชิงบวกหรือ Positive Reinforcement

ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวดำเนินมาอย่างต่อเนื่องทั้ง Happy PAYday ตอน ฮาlloween รวมผี fun fair และ Happy PAYday ตอน Culture Play Day

ในปีที่ผ่านมา และเอพิโสดถัดไป กำลังเกิดขึ้นในทุกไตรมาสของปี 2567 ติดตามได้ที่ True Blog สำหรับแผนงานในปีนี้ทาง Internal Comms จะมุ่งเน้นในการส่งต่อ กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของบริษัท เพื่อให้พนักงานได้ตระหนักรู้ในบทบาทในการทำงานเป็น Team Player ไม่ใช่แค่ Team Member เพราะพนักงานเป็นทรัพยากรสำคัญของบริษัทที่จะขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายเดียวกันในการเป็นผู้นำเทเลคอม-เทคโนโลยีของไทย

 

ก้าวถัดไปสู่ Sustainable Culture

นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 จนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลาราว 1 ปีของเส้นทางการเปลี่ยนผ่านวัฒนธรรมองค์กร กิจกรรมต่างๆ ที่ผ่านมา ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี อัตราการเข้าร่วมกิจกรรมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งจากกิจกรรมออนกราวน์และออนไลน์ บรรยากาศภายในมีความสนุกขึ้น แสดงให้เห็นถึงการโอบรับวัฒนธรรมองค์กรและดีเอ็นเอใหม่ๆ เหล่านี้

“Happy PAYday เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เกิดการหลอมรวมองค์กรที่มีลักษณะ Top-Down และ Bottom-up ไปพร้อมๆ กัน” อดิศร กล่าว

ชนิสรา กล่าวถึงก้าวต่อไปของการสร้างองค์กรที่มีวัฒนธรรมที่หลอมรวมเป็นหนึ่งอย่างยั่งยืน (Sustainable Culture) ผ่านการออกแบบกิจกรรมและโครงการใหม่ๆ ที่สอดรับกับบริบทขององค์กรและมุมมองของผู้นำรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพสูง เช่น โครงการ Hackathon ที่เปิดโอกาสให้พนักงานได้ระดมสมองและท้าทายตามโจทย์ที่วางไว้ เพื่อนำมาสู่นวัตกรรมใหม่ๆ และ Reverse Mentoring โครงการที่ให้คนรุ่นใหม่มาพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองกับผู้บริหาร เพื่อลดช่องว่างระหว่างเจเนอเรชั่น

นอกจากนี้ เพื่อให้มีความเป็น One “Stronger” Team สอดรับกับบริบทแวดล้อมและเป้าหมายทางธุรกิจที่ต้องการเป็น Data-Driven Organization จึงได้มีการเตรียมความพร้อมหลักสูตรการพัฒนาบุคคล รวมถึงเครื่องมือและวิถีการทำงานในรูปแบบใหม่ เพื่อให้องค์กรเดินหน้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดปัดฝุ่น โครงการ “ปลูกรัก” เพื่อสร้างความสุขทั้งกายและใจให้พนักงาน ผ่าน 4 ด้าน ได้แก่ ปลูกรักสุขภาพดี ปลูกรักปลูกธรรม ปลูกรักปลูกความมั่งคั่ง และปลูกรักปลูกความผูกพัน

“การก้าวสู่ Telecom-Tech Company พนักงานและการสื่อสารด้วยหัวใจ (Humanized) คือส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน” ชนิสรา กล่าวทิ้งท้าย

พร้อมโชว์แผนปี’67 เปิดตัวโครงการแนวราบอัลตร้าลักชัวรี่ใหม่ 3 โครงการ

บมจ.พรอสเพอร์ เอ็นจิเนียริ่ง (PROS) ผู้ให้บริการรับเหมาติดตั้งงานระบบวิศวกรรมประกอบอาคาร งานจัดหาติดตั้ง รวมทั้งงานออกแบบระบบวิศวกรรม งานโครงสร้าง และสถาปัตยกรรม พร้อมเปิดกลยุทธ์ปี 2567 เดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจ ท่ามกลางความท้าทาย มั่นใจปีนี้ภาพรวมธุรกิจมีแนวโน้มฟื้นตัว รับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐและภาคเอกชน ขณะที่ PROS ได้ขยายงานไปสู่วิศวกรรมด้านพลังงาน และงานโรงพยาบาลเฉพาะทาง ปักธงเป้าหมายรับปีมังกร คาดรายได้เติบโตไม่ต่ำกว่า 20% จากปีก่อน

นายพงศ์เทพ รัตนแสงสรวง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรอสเพอร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ PROS หนึ่งในผู้นำด้านงานรับเหมาติดตั้งงานระบบวิศวกรรมประกอบอาคารรายใหญ่ของประเทศ เปิดเผยว่า ในปี 2567 บริษัทฯ พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจด้วย 5 กลยุทธ์ ดังนี้ 1. เดินหน้าธุรกิจก่อสร้างงานระบบวิศวกรรมประกอบอาคาร ซึ่งเป็น Core Business 2. ปรับการบริหารจัดการภายในองค์กรให้มีความกระชับมากยิ่งขึ้น 3.เน้นรับงานระยะสั้นรับรู้รายได้และกำไรเร็ว 4. เน้นรักษาฐานลูกค้าเดิมเป็นหลัก และเพิ่มฐานลูกค้าใหม่บางส่วน 5.ควบคุมบริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด 

โดยบริษัทฯ พร้อมเดินหน้าขยายธุรกิจที่มีศักยภาพและมีโอกาสเติบโตในอนาคต เช่น งานระบบพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ (Solar roof), โรงพยาบาลเฉพาะทาง (Healthcare Business), เทคโนโลยีการประหยัดพลังงานสำหรับระบบไฟฟ้าและระบบปรับอากาศในอาคาร เป็นต้น อีกทั้งยังมองเห็นถึงโอกาส จากการเข้าสู่ช่วงฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคงานก่อสร้าง ที่ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการออกแผนกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ การลงทุนของภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยวที่กำลังกลับมาคึกคักอีกครั้ง เช่น โครงการก่อสร้างที่พักข้าราชการทหาร, โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC), โครงการแลนด์บริดจ์, โครงการก่อสร้างสนามบินอันดามัน

ทั้งนี้ ณ สิ้นธันวาคม 2566 PROS มีงานในมือที่รอรับรู้รายได้ (Backlog) มูลค่ากว่า 1,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากการรับงานใหม่ในช่วงปลายปี ขณะที่ในช่วงไตรมาส 4/2566 มีการทยอยรับรู้รายได้อย่างต่อเนื่องตามการส่งมอบงาน ดันผลงานโค้งสุดท้ายของปี 2566 ปรับตัวดีขึ้น

ภาพรวมธุรกิจของ PROS ในปี 2566 ที่ผ่านมา ยังคงเดินหน้าอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่วนหนึ่งมาจากภาพรวมเศรษฐกิจการลงทุนในงานโครงการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่กลับมาฟื้นตัวอย่างเต็มที่ ในขณะที่ภาวะการแข่งขัน รวมถึงต้นทุนค่าวัสดุก่อสร้าง และค่าแรง เป็นปัจจัยที่บริษัทฯ ต้องบริหารอย่างใกล้ชิด

“ดังนั้น ในปี 2567 บริษัทฯ มุ่งเดินหน้าธุรกิจด้วยความระมัดระวัง ควบคุมต้นทุน บริหารความเสี่ยง รับงานที่เชี่ยวชาญ ไม่ได้โฟกัสที่ปริมาณงาน แต่เน้นรับงานที่สามารถสร้างรายได้และกำไร PROS เตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้าน เพื่อเดินหน้าธุรกิจรองรับนโยบายการลงทุนจากภาครัฐและภาคเอกชน วางทิศทางขยายสู่ธุรกิจที่มีโอกาสและมีแนวโน้มการเติบโต พร้อมตั้งเป้ารายได้เติบโตไม่ต่ำกว่า 20% จากปีก่อน”  นายพงศ์เทพ กล่าวทิ้งท้าย

X

Right Click

No right click